เปิด. สรุปย่อการอบรมเรื่อง "ทรัพย์สินทางปัญญา" เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๖ เวลา ๑๐.๐๐ น.- ๑๒.๐๐ น. ณ พุทธสถานสันติอโศก บรรยายโดย คุณดุษณีย์ วนิชพิมลอนันต์ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสิทธิบัตร ว.๘ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็นประเภทได้ดังนี้ ๑.ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิที่เกิดขึ้นโดยทันทีจากการสร้างสรรงาน หรือความคิดสร้างสรร ในสาขา วรรณกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนตร์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ รวมทั้งโปรแกรม คอมพิวเตอร์ และงานฐานข้อมูล ๒.สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ ๓.เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ๔.ความลับทางการค้า หมายถึง ข้อมูลการค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป และมีมูลค่า ในเชิงพาณิชย์ และมีการดำเนินการตามสมควรเพื่อรักษาความลับนั้น ๕.ชื่อทางการค้า หมายถึง ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น โกดัก ฟูจิ ๖.สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์ ซึ่งสามารถบ่งบอกว่า สินค้าจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ หรือมีคุณลักษณะ เฉพาะของ แหล่งภูมิศาสตร์นั้น เช่น ส้มบางมด มีดอรัญญิก ซึ่งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ดังกล่าว จะนำมา ขอจดทะเบียนไม่ได้ เพราะถือเป็นของส่วนรวม ในระหว่างการบรรยาย มีคำถามที่สำคัญน่าสนใจ ดังนี้ คำถาม ทำไมต้องมีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา คำถาม ควรจดทะเบียนในนามของใคร คำถาม การจดทะเบียนสิทธิบัตรมีหลักเกณฑ์อย่างไร คำถาม สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถขอรับสิทธิบัตรได้หรือไม่ คำถาม งานที่เป็นลิขสิทธิ์ ต้องนำไปจดทะเบียนตามกฎหมายหรือไม่ คำถาม ความลับทางการค้า ต้องนำไปจดทะเบียนหรือไม่ สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย หรือผู้ที่มีข้อสงสัยและต้องการสอบถามเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้จากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาชาวอโศก (ติดต่อคุณบัวบูชา คุณข้าพุทธ และคุณฟ้าใส) - ข้าพุทธ - สารอโศก อันดับที่ ๒๖๗ ธันวาคม ๒๕๔๖ |