- มะตูมแห้ง -
ข้อควรระวังในการดื่มชาสมุนไพร วาสนา ชินวรากร เขียน อรนง แปล ชาเริ่มต้นเป็นที่รู้จักกันในรูปของยา และต่อมาได้พัฒนาเป็นเครื่องดื่ม และเป็นจุดเริ่มต้นของ หนังสือ คลาสสิกของโลกที่ชื่อว่า The Book of Tea ซึ่งเขียนมาประมาณราวศตวรรษหนึ่งแล้ว และ ก็เกือบ ๑๐๐ ปีเช่นกัน ที่ความสนใจของมนุษย์เกี่ยวกับชาสมุนไพรยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่พวกเขา จิบน้ำชาที่หอมหวานนั้นด้วยความเชื่อที่ว่าจะมีสุขภาพดี... กลัวว่าจะปัสสาวะขัดหรือ? ซึ่งร้านขายผลิตภัณฑ์สุขภาพมากมาย ได้นำเสนอชาสมุนไพรเพื่อเป็นการป้องกัน และรักษา อาการ เหล่านั้น เช่นสมุนไพรที่ขึ้นชื่อในขณะนี้คือ ฟ้าทะลายโจร เพราะเชื่อกันว่าสามารถ รักษาการไอ การจาม และเจ็บคอได้ดี, ชาดอกคำฝอย (Safflower Tea) กล่าวกันว่า สามารถทำให้ ระดับ คลอเรสเตอรอล ในเลือดลดลงได้ และยังมีชาใบหม่อน (Mulberry Leaf) ที่สามารถที่จะบรรเทา อาการเครียดได้ น่าเสียดายที่แม้ว่าสมุนไพรเหล่านี้ได้รับความเชื่อถือ แต่สมุนไพรบางตัว ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และอาจขึ้นอยู่กับหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือเท่านั้น เภสัชกร และนักสมุนไพรเตือนว่า เพียงแค่สมุนไพรเหล่านี้เป็นผลผลิตของธรรมชาติ ก็ไม่ได้ หมายความว่ามันจะไม่มีโทษกับผู้ใช้ และควรระวังผลเสียในระยะยาวของการใช้สมุนไพร บางชนิดด้วย ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านกล่าวว่า ไม่ใช่เพียงแค่คุณจะใส่สมุนไพรเพียง ๑ กำมือ ลงในหม้อต้มชาและจิบชาสมุนไพรนั้น จะเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีได้ รองศาสตราจารย์รุ่งรวี เต็มสิริฤกษ์กุล แห่งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่า เคยมี บริษัทหนึ่งได้มาขอคำแนะนำจากดิฉัน เกี่ยวกับชาสมุนไพรตัวใหม่ ที่เขาวางแผน เพื่อนำสู่ตลาด ในประเทศไทย และให้ชื่อสมุนไพรมาประมาณ ๑๐ ชนิด ซึ่งดิฉันไม่สามารถยอมรับ ชื่อเหล่านั้น ได้เลย ตั้งแต่ต้น...... อาจารย์กล่าวต่อว่า ด้วยความไม่เข้าใจของบริษัทที่ว่า พืชประเภทเดียวกัน ถ้านำมาผ่าน กระบวน การปรุง/ผลิตที่ต่างกัน ก็จะให้ผลที่ต่างกันด้วย ตัวอย่างเช่น : ในพืชบางชนิด ซึ่งพบสารเคมี ที่เป็นพิษ ได้ในใบสดๆ จะระเหยเมื่อนำมาตากให้แห้ง แต่ในพืชบางอย่าง การตากแห้ง หรือการ ผึ่งแดด จะเป็นการทำลายสารอาหารที่มีประโยชน์ วิธีที่ดีที่สุดในการสกัดน้ำมันสำคัญ (Essential Oil) ในสมุนไพรที่ต่างชนิดกันนั้น จะมีหลากหลาย รูปแบบ ต่างกันออกไป เช่นบางครั้งต้องสกัดในน้ำชา แต่บางครั้งก็โดยการจุ่มในแอลกอฮอล์ หรือน้ำมัน บางอย่างจะสกัดได้ดีในที่อุณหภูมิสูง ในขณะที่มีบางอย่างเมื่อได้รับความร้อนสูง จะทำให้ สารบางอย่างที่สำคัญถูกทำลายไปได้ ขณะนี้มีการแนะนำให้นำเหงือกปลาหมอ มากินเป็นยาอายุวัฒนะ (ยากินให้อายุยืน) รองศาสตราจารย์ รุ่งรวี กล่าวว่า ในยาไทยแผนโบราณ เหงือกปลาหมอ ถูกนำมาใช้ขณะที่ยังดิบๆ หรือปรุงร่วมกับ สมุนไพรอย่างอื่น เช่นพริกไทยดำ และการสั่งยานี้ จะสั่งในปริมาณ หรือขนาด ที่จำกัดมากๆ นอกจากนี้ในตำรับยาโบราณจะใช้เหงือกปลาหมอทั้งต้นมาต้ม และนำน้ำที่ต้มนั้น มาผสมน้ำอาบเพื่อรักษาโรคผิวหนัง ซึ่งยังไม่พบหลักฐานใด ในตำราโบราณ แนะนำให้ใช้ในรูป ชาสมุนไพรเลย อย่างไรก็ตามในวันนี้ชาสมุนไพรเหงือกปลา-หมอ เป็นที่เชื่อกันอย่างแพร่หลายว่า เป็นตัวต่อสู้ กับโรคหวัด, หืดหอบ, อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย, ทำให้เจริญอาหาร และระบบภูมิต้านทานโรค ดีขึ้น "ดิฉันเห็นด้วยว่าเหงือกปลาหมอมีคุณค่ามหาศาล แต่วิธีการปรุงและขายในรูปเครื่องดื่ม และกล่าว อ้างว่ามีสรรพคุณเหมือนกับยานั้น เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค"รศ.รุ่งรวีกล่าว เช่นเดียวกับเรื่องของมะระขี้นก และบอระเพ็ด ซึ่งกำลังมีการพยายามศึกษา และตรวจสอบ สรรพคุณ ทางยาโบราณอยู่นั้น ก็ปรากฏว่ามีการนำมาขายในรูปชาสมุนไพรแล้ว ซึ่งที่น่าเป็นห่วง ก็คือว่าสรรพคุณการรักษาโรคของสมุนไพรตัวนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ยืนยันเลย เร็วๆนี้มี รายงาน อภิปรายเรื่องมะระขี้นก อาจจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคเอดส์ ทำให้ความต้องการของ เมล็ด มะระขี้นกสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากนั้นไม่นาน เราก็เห็นว่าถูกนำมาขาย ในรูปชาสมุนไพรแล้ว ตรงจุดนี้ ประเด็นอยู่ที่ว่าเครื่องดื่มชาสมุนไพรนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว การดื่มชาสมุนไพร บางชนิดอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงของสุขภาพได้ ร.ศ.รุ่งรวี กล่าวว่า ยังจะต้องมีการศึกษาถึงพิษของสมุนไพร ที่อาจจะได้ในขณะสกัดสมุนไพร บางประเภทต่อไป แต่ตอนนี้ก็เป็นที่ยอมรับกันอย่างทั่วไปว่า ในเมล็ดของมะระขี้นก สุกมีสารพิษ ชื่อว่า สะโปนินและแม้ว่าการศึกษาจะสรุปว่า ชาสมุนไพรไม่มีสารมีพิษเจือปน เภสัชกรกล่าวว่า สรรพคุณที่จะได้จากเครื่องดื่มชาสมุนไพรนั้น จะเป็นแค่เพียงครึ่งหนึ่งของสรรพคุณยาทั้งหมด เนื่องจากสรรพคุณในส่วนที่ไม่ละลายน้ำของสมุนไพรนั้น จะไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ บอระเพ็ดได้รับการกล่าวขวัญว่ามีสรรพคุณในการรักษาโรคเบาหวาน ในตำรับยาแผนโบราณ จะนำบอระเพ็ดมาผสมกับอย่างอื่นด้วยเพื่อให้แน่ใจในสัดส่วนความสมดุลของตัวยา ส่วนประโยชน์ ของบอระเพ็ดในรูปของเครื่องดื่มชายังไม่มีใครทราบ รองศาสตราจารย์รุ่งรวีกล่าว โอภาส เชตกุล แห่งมูลนิธิสุขภาพเพื่อคนไทยกล่าวว่า แม้จะมีการอ้างถึงสรรพคุณ/ประโยชน์ ของเครื่องดื่มชาสมุนไพรอย่างมากมาย แต่ก็เป็นการอ้างที่ปราศจากหลักฐาน ความชัดเจน อย่างพอเพียง ยกตัวอย่างเช่น ดอกคำฝอย เจ้าของร้านขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ หลายราย ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ชาสมุนไพรสีแดงนี้เป็นที่ต้องการสูงมาก เนื่องจากเป็นที่เชื่อกันว่า สามารถ จะลด ระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ดอกคำฝอย ในรูปของเครื่อง ดื่มชานี้ จะมีสรรพคุณดังกล่าวจริงหรือไม่ ข้อสันนิษฐานนี้อาจมาจากการสังเกต น้ำมันปรุงอาหาร ที่ไม่อิ่มตัวของเมล็ดพืชชนิดเดียวกัน ที่สามารถลดระดับของคลอเรสเตอรอล ในเลือดได้ แต่รองศาสตราจารย์รุ่งรวีตั้งข้อสังเกตว่าชาดอกคำฝอยดูเหมือนจะให้ผลดีในการช่วยขับปัสสาวะ -สารอโศก อันดับที่ ๒๗๐ เมษายน ๒๕๔๗ - |