-
มะตูมแห้ง -
ข้อควรระวังในการดื่มชาสมุนไพร วาสนา ชินวรากร เขียน อรนง แปล แม้ว่าสมุนไพรจะเป็นพืชธรรมชาติ แต่ก็เหมือนยาทั่วไปนั่นคือมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ เมื่อสองปีก่อน รองศาสตราจารย์ รุ่งรวี ได้ศึกษาเกี่ยวกับ ผลข้างเคียง ของมะขามแขก ซึ่งเป็น สมุนไพรที่นิยมมากในการช่วยลดน้ำหนัก เพราะเป็นเสมือน ยาระบายอ่อนๆ อย่างไรก็ตาม จะต้อง ใช้มะขามแขก ในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆ ในการที่จะได้สรรพคุณเท่าเดิม มิฉะนั้น อาจทำให้เกิด อาการท้องผูกขึ้นได้ ดังนั้น จึงขอแนะนำไม่ให้ใช้สมุนไพรแต่ละอย่างเกินหนึ่งสัปดาห์ต่อหนึ่งครั้ง เพื่อให้ร่างกาย ได้พักบ้าง ฟ้าทะลายโจร เป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ชาวจีนใช้ฟ้าทะลายโจรมาแต่โบราณในการรักษาอาการบวม อักเสบและโรคบิด ประเทศไทยใช้ ฟ้าทะลายโจร เพื่อบำบัดไข้หวัดและอาการเจ็บคอ รองศาสตราจารย์ รุ่งรวีได้สังเกตดูคนเหล่านั้น ที่ใช้ยานี้อย่างสม่ำเสมอ ดูเหมือนจะเป็นหวัดได้ง่าย และบ่อยมากกว่า ซึ่งอาจารย์สันนิษฐานว่า การใช้ยามากเกินไป อาจเป็นสาเหตุ ให้ระบบภูมิคุ้มกันธรรมชาติ ด้อยประสิทธิภาพในการต่อสู้กับโรคหวัด ยาของจีนในกลุ่มฟ้าทะลายโจร ได้จัดอยู่ในประเภทยาเย็น หรือจำพวกหยิน ซึ่งเชื่อกันว่า มันจะทำ ให้เกิดความเย็น ในร่างกายและไม่ควรใช้ในฤดูหนาว อาจารย์เล่าว่า ดิฉันได้เห็น การเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วของแม่ที่ใช้สมุนไพรตัวนี้ ก่อนการใช้ยา แม่มีเหงื่อออกมาก และร้อนง่ายมาก แต่หลังจาก ที่ได้กินยาฟ้าทะลายโจร ไปช่วงเวลาหนึ่ง โดยไม่ได้แจ้ง ให้ดิฉันทราบ แม่พบว่าแม่รู้สึก เหมือนกับหนาวยะเยือก ตลอดเวลา จนเมื่อทราบ ดิฉันจึงจัดการ ให้แม่หยุดใช้สมุนไพรนี้ แม้แต่หญ้าหนวดแมว ซึ่งเชื่อกันว่ามีผลในการขับปัสสาวะ และในการรักษาโรคเกาต์ ข้อย้ำของ สูตรโบราณนี้คือ สมุนไพรนี้ ต้องไม่ต้ม, ไม่เคี่ยว และควรใช้ เฉพาะใบอ่อนๆเท่านั้น การใช้ใบที่แก่ไป และการใช้อุณหภูมิที่สูงจะทำให้ระดับของโปแตสเซียมซัลเฟตเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลกับ ความกดดัน ของหัวใจ เพราะการขาดความรู้ในลักษณะของการรักษาโดยสมุนไพรนี้เอง ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และผู้ป่วย ที่มีภาวะแทรกซ้อน ทางอายุรกรรม เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ ซึ่งควรจะขอรับคำแนะนำก่อนใช้ยา คุณธีรเดช อุทัยวิทยรัตน์ ผู้ฝึกหัดด้านยาอายุรเวช กล่าวว่า ปรัชญาของอายุรแพทย์ แผนโบราณ คือ รักษาโดยธรรมชาติ ซึ่งในการรักษา แต่ละแบบ ต้องพิจารณา หลายองค์ประกอบ เช่น สภาพ ร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ไปจนถึงองค์ประกอบ ทางภูมิอากาศ และภูมิศาสตร์ เขากล่าวถึงการใช้ขิง ผลของความร้อนของขิงอาจจะเหมาะสมกับคนที่มีธาตุเย็นเท่านั้น และ อาจไม่เหมาะกับสถานที่ ที่มีสภาพอากาศร้อน รองศาสตราจารย์ รุ่งรวี กล่าวว่า ชาสมุนไพรทุกประเภท แม้จะมีส่วนที่เป็นประโยชน์ แต่ก็มีผล ต่อตับและไต ในระดับหนึ่ง ซึ่งทำให้ร่างกาย ต้องทำงานหนัก เพื่อขับมันออก ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้มีความรู้ ความ เข้าใจในสมุนไพรน้อยก็คือ การขาดการศึกษา ทางวิทยาศาสตร์ ในเรื่องสารพิษตกค้าง ของการใช้สมุนไพร ในระยะยาว ตัวอย่างเช่น มีการทำวิจัย ถึงประโยชน์ของชาใบหม่อนมาอย่างต่อเนื่อง จากหลายๆ บริษัทที่ขาย ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น แต่ว่า เรารู้น้อยมาก ว่ามันเกิดอะไรขึ้น ถ้าสารที่ได้จาก ชาใบหม่อน ตกค้างอยู่ในร่างกายเราเป็นเวลานาน หญ้าหวานที่นิยมในการใช้ให้ความหวานในขณะนี้ก็เช่นกัน ผลระยะยาวของมัน ยังไม่ได้มีการศึกษา อย่างแน่ชัด คำแนะนำของดิฉันก็คือควรหาข้อมูลที่เชื่อถือได้ก่อนที่จะใช้สมุนไพร, ห้ามใช้นานกว่า หนึ่งเดือน ในการใช้ แต่ละครั้ง และสร้าง ความสมดุล ของเวลา ที่ใช้และหยุดใช้ช้ำ รองศาสตราจารย์ รุ่งรวี กล่าว คุณภาพของกระบวนการผลิตและบรรจุ ถุงชาสมุนไพรเป็นอีกองค์ประกอบที่ต้องใส่ใจจำ ร.ศ. พร้อมจิตร สรลัมป์ จากมหาวิทยาลัย มหิดล ผู้ทำการสำรวจ ผู้ผลิตชาสมุนไพร รายย่อยในไทย กล่าว และอาจารย์ยังพบว่าส่วนใหญ่เป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรมครัวเรือน และคุณภาพ ต่ำกว่า มาตราฐาน เหมือนกับที่ผลิต จากอุตสาหกรรมในครัวเรือน รองศาสตราจารย์พร้อมจิตกล่าวต่อไปว่า สุขอนามัยเป็นอีกประเด็นหนึ่ง เริ่มตั้งแต่ การคัดเลือก วัตถุดิบ จนสู่กรรมวิธี การผลิตสมุนไพรเหล่านั้น ซึ่งการขาด ความระมัดระวัง อาจเป็นเหตุปัจจัย หนึ่ง ที่ทำให้เกิดแบคทีเรียหรือกากของเชื้อราในผลิตภัณฑ์ได้ และ หากวัตถุดิบ ไม่ได้รับการเก็บ รักษา อย่างเหมาะสม ประโยชน์ของสมุนไพร ก็จะสูญหาย ไปหมด ตัวอย่าง เช่น ใบสะระแหน่ที่แห้งได้ง่ายในอุณหภูมิห้อง แต่รางจืดต้องใช้อุณหภูมิสูงมิฉะนั้น จะเสี่ยงต่อ การเกิดเชื้อรา ส่วนการเก็บ สรรพคุณที่มีประโยชน์ ในฟ้าทะลายโจร นั้น ใบจะต้อง ผึ่งให้แห้งในที่โล่ง และอย่าตากแดดเป็นอันขาด รองศาสตราจารย์ พร้อมจิต ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความแตกต่างประการสำคัญๆ ระหว่างผู้ผลิต รายย่อย ในท้องถิ่น และผู้ผลิตรายใหญ่ ของประเทศทางตะวันตก ว่าอย่างหลัง ให้ความสำคัญ ในการบรรจุสมุนไพรลงถุงชา เพื่อรักษาคุณภาพ ให้ได้มาตรฐาน, ผู้ผลิต รายย่อยบางราย บรรจุ สมุนไพร อัดแน่นจนเต็มถุงเกินไป ทำให้สารสกัด ไม่สามารถ ละลายน้ำได้ ปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมชาสมุนไพรของไทย ไม่ได้รับการตรวจอย่างเข้มงวดจากรัฐบาล องค์การ อาหารและยา หรือ อย. จัดผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ในจำพวกอาหาร และเนื่องจากชาสมุนไพร ประกอบ ด้วยสมุนไพรเดี่ยว จึงไม่จำเป็นต้องให้อย. รับรองในการที่จะวางขาย ผลิตภัณฑ์นี้ และนับว่า เป็นการส่งเสริม โดยไม่ตั้งใจในการทำให้ผู้ประกอบการบางราย ผลิตและจำหน่าย ชาสมุนไพร โดยไม่ต้องรับรองถึงประโยชน์ ของมันเลย แม้จะยังมีข้อพร่องไปบ้างในอุตสาหกรรม นี้ รองศาสตราจารย์พร้อมจิต เชื่อว่าประเทศไทย ยังสามารถวิจัย และพัฒนาชาสมุนไพร รวมทั้งชาผลไม้ ซึ่งเป็นผลผลิต ทางด้านกสิกรรม ตัวใหม่ๆ ออกมา รองศาสตราจารย์ รุ่งระวี เห็นด้วยและชื่นชมกับผลิตภัณฑ์แนะนำเมื่อไม่นานมานี้ นั่นก็คือ ชาถั่วดำ และ ชาถั่วเขียว ว่าเป็นการทดลองและวิจัยที่มีคุณค่า เพราะมีประโยชน์ ในการช่วยเพิ่มเอสโตรเจน อย่างไรก็ตาม ในการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ๆต้องขึ้นอยู่กับหลักฐานและผลทางวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ และต้องไม่เป็นไป เพื่อหวังที่จะได้เงินมาอย่างง่ายๆ (ไม่เห็นเงินเป็นใหญ่กว่า คุณภาพ สินค้า) (จาก คอลัมน์ outlook ใน น.ส.พ. BANGKOK POST ฉบับวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๒) - สารอโศก อันดับที่ ๒๗๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ -
|