- กอไผ่ -

ไดอารี่ทำสุขภาพย่ำแย่

นักจิตวิทยาทำเอาวงการคนรักไดอารี่ช็อกไปตามๆกัน เมื่องานวิจัยล่าสุดระบุว่าการบันทึกไดอารี่ เป็นสิ่งที่ทำลายสุขภาพของตัวผู้บันทึกเอง ล้มความเชื่อเดิมที่ว่าการเขียนไดอารี่เป็นการระบายความเจ็บปวดที่ง่ายที่สุด

อีเลน ดันแคน นักจิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ คาเลโดเนียน หัวหน้าทีม วิจัยบอกว่า งานวิจัยชิ้นนี้ได้เปรียบเทียบสุขภาพ ของคนที่บันทึกไดอารี่ เป็นประจำ จำนวน ๙๔ คน กับคนที่ไม่ได้บันทึกไดอารี่เลย จำนวน ๔๑ คน โดยกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัย สตาฟฟอร์ดไชร์ ซึ่งทุกคนจะต้องตอบคำถาม เกี่ยวกับพฤติกรรม การบันทึกไดอารี่ของพวกเขา และกรอกแบบสอบถาม ด้านสุขภาพด้วย

ทีมงานได้สอบถามความถี่ ระยะเวลาในการบันทึก อีกทั้งยังถามเรื่องการบันทึก อาการ ป่วยไข้ลงในไดอารี่ด้วย และจากสถิติที่พบ แสดงให้เห็นว่า คนบันทึกไดอารี่ มีคะแนน สุขภาพ แย่กว่าคนที่ไม่ได้บันทึก โดยส่วนใหญ่ จะมีอาการปวดศีรษะ

ดังนั้น ดันแคนจึงเชื่อว่าแทนที่การเขียนจะระบายความทุกข์ออกไป แต่กลายเป็นว่า คนเขียน ยังต้องทนทุกข์ต่อไป ซึ่งมันอาจะเป็นผลมาจากการรำพึงรำพัน อย่างซ้ำซาก ของตัวเอง ก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม เธอยอมรับว่าการทดลองครั้งนี้ ยังบอกไม่ได้ว่าระหว่างการเขียนไดอารี่ หรือปัญหาด้านสุขภาพอย่างไหนเกิดขึ้นก่อนกัน แต่เธอจะหาคำตอบที่เหลือได้ ในการทดลองครั้งต่อไปที่จะเริ่มในเร็วๆนี้

จาก น.ส.พ.คม ชัด ลึก ๑๔ ก.ย. ๒๕๔๗


เบต้าแคโรทีนกับวิตามินเอ

เบต้าแคโรทีน เป็นโปรวิตามินเอที่ได้รับจากการกินผัก ผลไม้ โดยเฉพาะที่มีสีเหลืองจัด แดงสด เช่น หัวแครอท มะละกอ ฟักทอง ยิ่งสีเข้ม ยิ่งมีปริมาณเบต้าแคโรทีนสูง เมื่อเบต้า แคโรทีน เข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในปริมาณเท่าที่ร่างกายต้องการ การรับประทาน วิตามินเอ ในรูปแคโรทีนจะปลอดภัย ไม่เกิดการสะสมของวิตามินเอ เพียงแต่ ทำให้ตัวเหลือง ซึ่งไม่มีอันตราย เมื่อหยุดกินแคโรทีน อาการตัวเหลืองจะหายไป

ดังนั้น ผู้ที่จะกินวิตามินเอ เพื่อจุดประสงค์ใดๆก็ตาม ควรเลือกรับประทานแคโรทีน จากธรรมชาติ จะปลอดภัยกว่ากินวิตามินเอแคปซูล ซึ่งหากกินมากเกินกว่าปริมาณ ที่ร่างกาย ต้องการ จะสะสมและก่อให้เกิดอันตรายได้

ภญ. พุดชมพู ตันนาภัย กลุ่มงานเภสัชกรรม
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)

- สารอโศก อันดับที่ ๒๗๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ -