เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๗ กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และ การแพทย์ ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้มาศึกษาการใช้น้ำมูตรบำบัด ในชาวอโศก โดยใช้แบบสอบถาม การใช้น้ำปัสสาวะ ของชาวอโศก กองการแพทย์ ทางเลือก ได้รายงานผลการศึกษา ดังนี้ การศึกษาการใช้น้ำมูตรบำบัดในเครือข่ายอโศก ราตรี ชีพอุดมวิทย์, สาวิตรี เทียนชัย, ภัคภร ช่วยคุณูปการ, นงเยาว์ วรชัย,
ชุติมา ปกป้อง ในการศึกษาการใช้น้ำมูตรบำบัดในเครือข่ายชาวอโศกเพื่อศึกษาปัสสาวะบำบัด หรือ น้ำมูตรบำบัด (Urine therapy) หรือ การใช้ปัสสาวะของตัวเอง เพื่อวัตถุประสงค์ ในการรักษาโรค และส่งเสริมสุขภาพ ในกลุ่มชาวอโศก เพื่อทราบถึงวิธีใช้ เหตุผลที่ใช้ และผลข้างเคียง จากการใช้ปัสสาวะบำบัด การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive study) ณ จุดเวลา (Cross-sectional study) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ชุมชนชาวอโศก ที่มีการใช้ น้ำปัสสาวะบำบัด จำนวน ๒๐๔ คน โดยใช้แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยได้พัฒนา ขึ้นเอง กับชาวชุมชนอโศก ที่สมัครใจ ให้ความร่วมมือ ในการตอบแบบสอบถาม และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๐๔ ราย อายุเฉลี่ย ๕๑.๓ (๑๔.๑) ปี พิสัย ๑๘-๘๗ ปี เป็นหญิง ๖๑.๓% การศึกษาระดับ ประถมศึกษา ๔๒.๖% มัธยมศึกษา ๒๑.๑% โดยที่ ๖๘.๘% อาศัยอยู่ในเขตเมือง/เทศบาล กลุ่มตัวอย่างทราบข้อมูลเรื่องปัสสาวะบำบัดมาจากพระ ๔๖% จากญาติธรรม ๔๐% จากการอ่านหนังสือ ๓๖% และจากพระไตรปิฎก ๒๙% สำหรับวิธีการใช้ ใช้ดื่ม ๙๖% (โดยเฉลี่ยดื่มครั้งละ ๑ แก้ว ๑.๕ ครั้ง/วัน) ใช้ทา ๒๘% ใช้หยอดตา ๓๒% ใช้สระผม ๑๙% ใช้อาบ ๑๒% โดยที่ปัจจุบัน ๗๕% ยังคงใช้การดื่ม ปัสสาวะในการรักษา ๑๒% ยังใช้ทา ส่วนสาเหตุหลักที่จูงใจให้ใช้น้ำมูตรบำบัด ๕๘% ตอบทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ๓๘% ตอบมีผู้แนะนำให้ใช้ และ ๒๙% คิดว่าไม่มีผลข้างเคียง โดยที่ ๕๒% ใช้ปัสสาวะ บำบัดเพื่อรักษาโรค ๔๐% ใช้เพื่อให้มีสุขภาพดี แข็งแรงและ ๓๑% ใช้เพื่อป้องกันโรค หลังใช้น้ำมูตรบำบัดแล้ว ประมาณ ๑๐% มีผลข้างเคียง คือ ท้องเสีย ๕ ราย (๒.๕%) ไข้ อ่อนล้า คัน อย่างละ ๒ ราย (๑%) ส่วนใหญ่ของผู้ใช้ ๘๗% เห็นผลจากการใช้น้ำปัสสาวะบำบัด และ ๘๔% ได้แนะนำ ให้ผู้อื่นใช้ด้วย - สารอโศก อันดับที่ ๒๗๕ กันยายน ๒๕๔๗ - |