ชื่อใหม่ น.ส.ละอองบุญ จรัณยานนท์
ชื่อเดิม วินิตา จรัณยานนท์
เกิด ๑๕ มี.ค. ๒๔๙๐
พี่น้อง ๘ คน เป็นคนที่ ๗
ภูมิลำเนาเดิม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
สถานภาพ โสด
การศึกษา ปริญญาตรี สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาชีพเดิม รับราชการ
สถานที่ทำงาน ๑. สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท วังสุนันทา สมัยนั้นขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรี
๒. ร.พ.ประจำจังหวัดอุบลราชธานี สรรพสิทธิประสงค์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
๓. ที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัดสุรินทร์-จังหวัดหนองคาย สังกัดกระทรวงมหาดไทย

พบอโศกเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕ โดยได้พบหนังสือแสงสูญ ฉบับฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ประทับใจเนื้อหาสาระ เป็นธรรมะที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังที่ไหนมาก่อน อธิบายธรรมะของพระพุทธเจ้า ที่เป็นของยากมาเป็นธรรมะที่เข้าใจได้ง่าย และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

*** ประทับใจชาวอโศก เป็นผู้ที่ทำงานเสียสละให้แก่สังคมอย่างแท้จริง อยากจะเป็นสมาชิกผู้หนึ่งในสังคมนี้ด้วย

๒๕๒๕ สมัครเป็นสมาชิกหนังสืออโศกทุกเล่ม ซึ่งได้แก่ แสงสูญ สารอโศก ดอกหญ้า อ่านหนังสืออโศกทุกเล่ม ชอบมาก

๒๕๒๖ เริ่มหัดลดละสิ่งฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย เลิกเล่นไพ่ เลิกซื้อหวย เลิกดูหนังโรง ลดการเที่ยวเตร่ เลิกอ่านหนังสือนิยายรายสัปดาห์

ช่วงเข้าพรรษา หัดกินอาหารมังสวิรัติ ๓ เดือน ยังมีอาหารเนื้อสัตว์ปะปนบ้างบางครั้งคราว

๒๕๒๗ ในช่วงเข้าพรรษา กินอาหารมังสวิรัติได้บริสุทธิ์ตลอด ๓ เดือน

๓๑ ธ.ค. ๒๕๒๗ ไปร่วมงานปีใหม่ที่ปฐมอโศกเป็นครั้งแรก ได้สมัครเป็นสมาชิกสมาคมผู้ปฏิบัติธรรม

๑ ม.ค. ๒๕๒๘ บอกตนเองว่า เริ่มปฏิบัติธรรม ถือศีล ๕ ละอบายมุข กินมังสวิรัติ ลดละสิ่งฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย
- หาโอกาสไปฟังธรรมที่สันติอโศก ในวันเสาร์-อาทิตย์บ่อยๆ
- พบปะ สร้างความคุ้นเคยกับสมณะ สิกขมาตุ และญาติธรรม โดยไปร่วมงานพุทธาภิเษกฯ งานปลุกเสกฯ งานอโศกรำลึก งานมหาปวารณา งานปีใหม่ เป็นต้น
- ไปช่วยงานส่วนกลาง โดยช่วยงานถอดเท็ปธรรมะ ในขณะที่ยังรับราชการอยู่
ค่อยทยอยลดมื้ออาหาร จนในที่สุด ก็กินอาหารเพียงวันละ ๑ มื้อ และเริ่มเข้ามาอยู่วัดเป็นครั้งคราว

๑ ส.ค. ๒๕๒๙ ลาออกจากราชการ
๙ ส.ค. ๒๕๒๙ เข้ามาอยู่ที่พุทธสถานสันติอโศก ในฐานะอาคันตุกะจร และได้เลื่อนฐานะเป็นอาคันตุกะประจำ และอารามิกาตามลำดับ

เมื่อมาอยู่กับชาวอโศก
๙ ส.ค. ๒๕๒๙ ช่วยงานเคาะกระดาษ ทำหนังสืออยู่พักหนึ่ง แล้วต่อมาก็ไปช่วยงานที่ ชมร.จตุจักร ตั้งแต่วันแรกของการเปิดร้าน ต่อมามีการเปิดร้านที่ ชมร. สาขา ร.พ.เปาโล ก็ไปช่วยงานที่ ชมร. สาขา ร.พ.เปาโล
๑๓ เม.ย. ๒๕๓๑ กลับบ้านที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อทำกสิกรรมไร้สารพิษซึ่งพ่อท่านได้นำทฤษฎีการทำกสิกรรมแบบฟูกูโอกะมาเทศน์ ทำให้เกิดจิตที่จะทำกสิกรรมไร้สารพิษอย่างแรงกล้า

ก่อเกิดกลุ่มญาติธรรมชาวอโศกที่จังหวัดสุรินทร์ โดยมีสวนธรรมชาติอโศกเป็นศูนย์ประสาน ต่อมาได้ถวายที่ดิน สวนธรรมชาติอโศก ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๑๑ ไร่แด่พ่อท่านเพื่อเป็นสมบัติของกองทัพธรรมมูลนิธิ

๑ มิ.ย. ๒๕๓๙ เข้ามาอยู่ที่ราชธานีอโศก มีบทบาทหน้าที่ตามลำดับดังนี้
-นิสิตสัมมาสิกขาลัยวังชีวิต
-คุรุสัมมาสิกขาลัยวังชีวิต
-ร่วมทีมงานทำอาหารถวายพ่อท่าน
-บรรณารักษ์ห้องสมุด
-ทีมงานฝ่ายต้อนรับ
-ทีมงานกสิกรรมไร้สารพิษ
ปัจจุบัน ทำหน้าที่ฝ่ายต้อนรับ และทำกสิกรรมไร้สารพิษ

*** ปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงาน (หรือการปฏิบัติธรรม) ยังมีความเพียรน้อย ชอบทำแต่งานภายนอก จนลืมทำงานภายใน เพราะสติตามไม่ทัน
*** แนวทางแก้ไข ยอมรับความจริงว่าตนเองไม่แววไว รู้เท่าทันกิเลสได้ยาก ฝึกฝนตนเรียนรู้กิเลสไปเรื่อยๆ ให้กำลังใจตัวเอง มีความเพียรที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น
*** ข้อปฏิบัติที่คิดว่ายากที่สุด การลดกิเลสยากทุกตัว ไม่ว่าลดราคะ โทสะ โมหะ
*** คติประจำใจ ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน และสามารถเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้
*** เป้าหมายชีวิต อยู่ในหมู่กลุ่มอโศกให้ได้ตลอดชีวิต
*** ข้อคิดข้อฝากให้หมู่กลุ่ม รีบเข้ามาอยู่ด้วยกันในพุทธสถานต่างๆของชาวอโศกเถิด ทุกพุทธสถานล้วนเป็นบ้านของเรา ทุกบ้านล้วนมีงานมากมาย ทุกงานล้วนเป็นงานบุญทั้งสิ้น รีบมาช่วยกันสร้างบ้านโลกุตระ ให้เป็นปึกแผ่น เพื่อเป็นมรดกฝากไว้ให้แก่โลก แก่อนุชนรุ่นหลัง ก่อนที่แผ่นดินจะกลบหน้าเรา...

- สารอโศก อันดับที่ ๒๘๑ มีนาคม ๒๕๔๘ -