โฮมไทวัง ๒๕๔๘ ที่บ้านราชเมืองเรือ
เมื่อ ๔ - ๕ มิ.ย.'๔๘

บ่ายวันศุกร์ที่ ๓ มิ.ย.'๔๘ สัมมาสิกขาลัยวังชีวิต ทั้ง ๖ วิชชาเขต เริ่มทะยอยกันเข้าพื้นที่ เพื่อร่วมงาน โฮมไทวัง ชาววังชีวิตต่างก็ตั้งใจมาร่วมงานที่มีความหมายเป็นพิเศษสำหรับปีนี้ ซึ่งเป็นปีที่พ่อท่านสมณะ โพธิรักษ์ ผู้เป็นที่เคารพรักบูชาของพวกเราทุกคน มีอายุย่างขวบปีที่ ๗๒

 

"เดินตามรอยเท้าพ่อ"
สมณะเดินดิน ติกขวีโร นำหมู่สมณะ สามเณร เเละสิกขมาตุ รวม ๒๕ รูป เล่าถึงมรรคผลของเเต่ละท่าน ที่ได้เดินตามรอยเท้าพ่อท่านมาว่า ได้รับสัจจะของชีวิต ได้รับประสบการณ์ของชีวิตอย่างไรบ้าง ท่านละ ๒-๓ นาที รายการนี้ให้ความสนุกสนานประทับใจในแต่ละรอยเท้าที่ดำเนินตามพ่อท่านมา ด้วยมุมมองของ แต่ละจริต ในเเต่ละท่านที่ได้ผ่านมาด้วยตัวท่านเอง นิสิตเเต่ละคนเก็บประโยชน์กัน อย่างเต็มที่ ในบรรยากาศ ของความเป็นภราดร.....

เสาร์ที่ ๔ มิ.ย.'๔๘
"คณะคุรุรับโอวาทจากพ่อท่าน"
พ่อท่านขยายถึงเจตนารมณ์ที่ต้องการให้มีการมารวมกันของ"นิสิต" ว่าต้องการให้เป็นเเก่นเป็นเเกนของ สาธารณโภคี เป็นมนุษย์บุญนิยมในเกรดระดับยอดให้กับหมู่มวลของเรา ในเเต่ละถิ่นที่ ดังนั้น นิสิตจึงเป็น ผู้ที่อยู่ประจำถิ่น ไม่จรไปจรมา เรียนรู้เหตุการณ์ บุคคล ชุมชน มีพัฒนาการ ร่วมกันไปเป็นกระบวนการกลุ่ม มีการเรียนรู้ความจริงจากตัวเอง จากใกล้ตัวออกไปกว้างขึ้นๆ ไม่ใช่ไปรู้เเต่เรื่อง โลกย์กว้าง โดยเฉพาะ ท่านไม่ต้องการให้ไปเสียเวลากับการศึกษา ที่ทำลายล้าง สิ่งดีงาม ในจิตวิญญาณคน ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้ หมายความว่า พ่อท่านปฏิเสธการศึกษาทางโลกทั้งหมด เเต่ให้รู้ว่าเราศึกษา เพื่อให้ได้ ปรโตโฆษะ (น้อมรับฟังผู้อื่น) ได้โยนิโสมนสิการ(ย่อยให้ลึก ให้ถ่องแท้ ให้เกิดความเข้าใจทำให้เเยบคาย)

ผู้เป็น ม.วช. คล้ายเป็นนักบวชลำลอง ถือศีลเเปด ไม่มีคู่ กินมื้อเดียว(เเม้ยังทำไม่ได้ก็ต้องพยายาม) การเรียน ของ ม.วช. ไม่ใช่เเค่เรียน ๖ ปี เพื่อเอาใบปัญญาบัตร เพื่อยืนยันว่า "ฉันจบเเล้ว" ปัญญาบัตรนี้ เอาไปหากิน ทางโลกย์ ไม่ได้ (เว้นเเต่ไปขาย เป็นทองเเลกธนบัตร) การเรียนของม.วช. ต้องรู้จักอ่านใจ ตัวเอง ตามกิเลส ที่เเฝงอยู่ เเละ ตามปหานมันให้เด็ดขาด ให้ดับสนิท รู้จักใช้สิ่งที่เป็นเครื่องอาศัย ซึ่งหากใครยึดถือ สิ่งอาศัยไว้ โดยปล่อยวาง ไม่ได้ ก็จะกลายเป็น อาลัย พ่อท่านย้ำเตือนให้รู้จักใช้ปัญญา เราอาศัยวิญญาณ ธาตุรู้ เจโตฯ ของเราเพื่อทำงาน ซึ่งเเม้เเต่รูปนามขันธ์ ๕ ก็ไม่ยึดถือในที่สุด

สำหรับผู้เหมาะสมที่จะได้ปัญญาบัตร คือคนที่ไม่อยากได้ปัญญาบัตรเเล้ว เพราะมั่นใจว่า เรามีสิ่งดี ที่เหนือกว่า เเล้ว ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ามาเป็นม.วช. พ่อท่านให้อยู่ในฐานะโสดาบันลำลองไว้ ดังนั้น นิสิต จึงต้องมีสำนึก ระวัง อย่าทำให้ความเป็นนิสิตม.วช.ต้องมัวหมอง ทั้งนี้พ่อท่านได้วางเเนวทางไว้ว่า
ผู้ที่จบปัญญาบัตรตรี น่าจะมีภูมิธรรมต่ำสุดระดับสกิทาคามี
ผู้ที่จบปัญญาบัตรโท น่าจะมีภูมิธรรมต่ำสุดระดับอนาคามี
ผู้ที่จบปัญญาบัตรเอก น่าจะมีภูมิธรรมต่ำสุดระดับอรหันต

ซึ่งไม่เหมือนอย่างโลกย์ๆ ที่มีเเต่ปากเปล่า ปฏิบัติไม่ได้ตรงตามที่ตนพูด ยังมัวเมาในอบายมุข เเละ สิ่งเสพติด ต่างๆ นับเป็นความล้มเหลวอย่างสมบูรณ์เเบบ พูดขาวเเต่ทำดำ ใช้ไม่ได้

สำหรับคุรุจะเป็นผู้ช่วยนำพา ช่วยเหลือเกื้อกูล เเม้บางเรื่องจะไม่มีความรู้ เเต่ก็พร้อมจะช่วยเป็นสื่อ ให้นิสิต ได้เรียนรู้ สัมผัสให้เกิดการรู้การเป็น หรือเเม้คุรุจะมีความรู้ก็ไม่ข่มเบ่ง จะรู้จักให้ อย่างอ่อนน้อมถ่อมตน อย่างมี ความปรารถนาดี ด้วยความรักเเละมีใจเป็นผู้ให้ ไม่ใช่มานั่ง กรอกความรู้ให้กัน มาบังคับกัน ซึ่งเเม้ บังคับกันก็ดี เเต่ไม่ดีลึก หากไม่บังคับเเล้วเขามีจิตสำนึกได้นั้น ดีเยี่ยม เรื่องนี้พ่อท่านให้ฝึกประมาณกันเอง สอนกันไม่ได้ ผู้จะเป็นคุรุของม.วช. ต้องเป็นตลอดเวลา เพราะคุรุจะเป็นทั้งเพื่อน ทั้งพี่ ทั้งพ่อ ทั้งเเม่ บางครั้ง อาจจะเป็นน้อง ด้วยซ้ำไป คุรุโดยสัจจะเป็นผู้เหนือกว่า เเต่คุรุที่ดีจะไม่เเสดงความเหนือกว่า ไปข่ม ไปเบ่ง ทับเขา หากเเต่จะเป็น ผู้ให้ ผู้คอยเกื้อกูลดูเเล รู้จักใช้ศิลปวิทยา บางครั้งอาจอนุโลมให้บ้าง เเต่อย่าให้ เสียธรรม การเรียนของม.วช. ก็เป็นการช่วยเหลือกันไปตลอดชีวิตนั่นเเหละ


"สัมภาษณ์นิสิตใหม่ ปี ๒๕๔๘"
พ่อท่านเป็นประธานการสอบสัมภาษณ์ จนถึงประมาณ ๖ โมงเช้า จากนั้นสมณะเดินดิน ติกขวีโร ดำเนินการต่อ จนจบการสอบสัมภาษณ์ สรุปได้ดังนี้

ลำดับ วิชชาเขต ผู้สมัครสอบ ชาย หญิง สอบผ่าน สอบไม่ผ่าน เหตุที่สอบไม่ผ่าน คณะคุรุมีความเห็นว่า
ราชธานีอโศก
-
ปฐมอโศก
๑๖
๑๓
๑๖
-
ศีรษะอโศก
-มีคุณสมบัติไม่ครบ
-มีปัญหาทางสุขภาพที่มีผลต่อการเรียน
-ควรดูเเลเอาภาระครอบครัว ให้สามารถพึ่งตนเองได้ก่อน
สันติอโศก
-
สีมาอโศก
-
-
ศาลีอโศก
-

รวม ผู้เข้าสอบทั้งสิ้น ๔๐ คน สอบผ่าน ๓๗ คน เป็นชาย ๑๐ คน เป็นหญิง ๒๗ คน

ประเด็นต่างๆที่คณะคุรุจากทุกวิชชาเขต ที่ประกอบด้วยสมณะ สิกขมาตุ เเละฆราวาส ได้ร่วมกันพิจารณา เเล้วมีมติออกมา ให้ถือเป็นข้อตกลงร่วมกัน ที่จะนำไปปฏิบัติสำหรับปีการศึกษานี้ ดังนี้

๑. กรณีที่นิสิตม.วช.ทุกวิชชาเขต ทำผิดศีลข้อ ๓ เเล้วรีบเเจ้งบอกด้วยมีสำนึก มีหิริ-โอตตัปปะ ก็ต้องให้ออก จากการเป็นนิสิต ม.วช.

๒. กรณีที่นิสิตม.วช.ทุกวิชชาเขต ทำผิดศีลข้อ ๓ เเล้วปกปิดไว้ ไม่เเจ้งบอก ทำให้ผิดศีลข้อ ๓ เเละข้อ ๔ ถือว่า ไม่มีสำนึกขาดหิริโอตตัปปะ จะพิจารณาให้ออกจากการเป็นนิสิต ม.วช. เเละให้ออกจากชุมชน ทุกเเห่ง ของชาวอโศก อย่างน้อย ๑ ปี

๓. กรณีรักเพศเดียวกัน พิจารณาให้ออกจากการเป็นนิสิตตลอดไป

สำหรับผู้กระทำ ให้ออกจากชุมชนของชาวอโศก

ส่วนผู้ถูกกระทำ ให้เเต่ละวิชชาเขต เจ้าของพื้นที่พิจารณาโทษเป็นรายๆไป

เเละเพื่อการดูเเลเอาภาระกัน โดยหมู่ช่วยกันดูเเล นิสิตผู้ที่ยังมีคู่สามีหรือภรรยา อยู่ในชุมชนเดียวกัน ควรต้อง กำหนดที่พักอาศัยให้เเยกกันอยู่ ให้เป็นรูปธรรมชัดเจน เป็นที่รับรู้ของหมู่โดยทั่วกัน ทั้งนี้อยู่ใน ดุลพินิจของ เเต่ละวิชชาเขต จะพิจารณาตามความเหมาะสม โดยถือการให้ความสำคัญ ในความบริสุทธิ์ ของศีลข้อ ๓ เเละ ข้อ ๔ เป็นสำคัญ

เเละสุดท้าย

๔. การพิจารณาผู้ที่จะเข้ามาเป็นคุรุของม.วช.ทุกวิชชาเขต จะผ่านการคัดกรองจากวิชชาเขตนั้นๆมาเเล้ว ขั้นตอนหนึ่ง เเล้วนำเข้าสู่การพิจารณาโดยหมู่สมณะ สิกขมาตุ และคณะคุรุจากทุกวิชชาเขตร่วมกัน หากรับได้ จึงค่อยนำเรียนเสนอพ่อท่านพิจารณากลั่นกรองอีกครั้ง

 


"๗๒ ปีพ่อท่าน" วังชีวิตจะไปในทิศทางใด ?
ช่วงแรก จะเป็นการจุดประกาย โดย สมณะแก่นหล้า วัฑฒโน สมณะมือมั่น ปูรณกโร สิกขมาตุ กล้าข้ามฝัน อโศกตระกูล สมณะนาไท อิสรชโน ดำเนินการจุดประกายโดย สมณะฟ้าไท สมชาติโก

ช่วงต่อมา แบ่งกลุ่มเป็นแต่จะวิชชาเขต ระดมสมองกันว่า

"๗๒ ปีพ่อท่าน ม.วช. แต่ละวิชชาเขต จะพัฒนาไปสู่ทิศทางใด" แต่ละวิชชาเขตได้ออกมานำเสนอ สิ่งที่ตน จะกลับไปบำพ็ญร่วมกันอย่างเอาจริงเอาจัง ให้เห็นเป็นรูปธรรม ในหัวข้อเด่นจะมี ๓ อาชีพกู้ชาติ ที่จะร่วม กันทำให้เป็นรูปรอยที่ชัดเจนถวายเป็นปฏิบัติบูชาแด่พ่อท่าน นอกจากนี้มีการนำเสนอกิจกรรม ที่นำไปสู่ การร่วมผนึกกันให้เหนียวแน่นภายในชุมชนของตนของตน ไม่ว่าจะเป็นด้านความสะอาด สะสาง สุขลักษณะ สะดวก และสร้างนิสัย ทั้งนี้มีการดูแล ส่งเสริมสุขภาพ เพิ่มความแข็งแรงของสุขภาพกาย และ สุขภาพใจ ด้วยกุศโลบายหลากหลายรวมอยู่ด้วย

พร้อมทั้งกำหนดประเมินผล ระยะที่ ๑ กันในงานมหาปวารณา'๔๘ ที่จะถึงนี้ ในเดือนพฤศจิกายน ที่ปฐมอโศก ซึ่งเป็นมติที่ไทวังทุกวิชชาเขตเห็นพ้องต้องกัน ว่าจะมาเล่าสู่กันฟัง ว่าแต่ละแห่ง ดำเนินการ กันไปถึงไหนอย่างไรกันบ้าง?


"เอื้อไออุ่นตามประสา พ่อๆลูกๆพญาแร้ง"
รายการนี้เป็นที่อบอุ่นประทับใจ ตั้งแต่วัยคลานต้วมเตี้ยมจนถึงผู้อายุยาว ที่มาร่วมบรรยากาศกันเองๆ ใต้เฮือน ศูนย์สูญ แม้ว่าขากลับเดินถึงที่พักจะต้องหอบเหนื่อยก่อนจะหลับเป็นตายจนเช้าวันรุ่งขึ้นเลยก็ตาม

พ่อท่านขยายความหวังสู่ลูกๆฟังว่า หากสามารถบำเพ็ญอิทธิบาทได้สำเร็จ

ตั้งแต่อายุ ๗๒ ถึง ๘๔ ปี จะเขียนหนังสือให้เรียบร้อยเป็นเรื่องเป็นราวโดยท่านคิดให้ฟังดังๆว่า

จะรวมเล่ม นัยปก (น.ส.พ.เราคิดอะไร)

จะรวมเล่ม คอลัมน์ ข้าพเจ้าคิดอะไร (น.ส.พ.เราคิดอะไร)

จะเขียนขยาย โสดาบัน คืออย่างไรกันแน่

จะเขียน "ศาสนาพุทธ" โดยจะยกเป็นประเด็นๆเปรียบเทียบว่าอันใดใช่ อันใดไม่ใช่

และช่วงอายุ ๘๔ ถึง ๙๖ ปี จะพักการเขียนหนังสือ จะไปเยี่ยมลูกๆชาวอโศกที่อยู่ตามเครือแหต่างๆ เดินทาง ไปพักอยู่ด้วยหมุนเวียนไปทุกๆที่

ส่วนเกินจากอายุ ๙๖ ปี ยังไม่คิด

มีผู้ถามพ่อท่านว่า สิ่งที่พ่อท่าน จะฝากไว้ให้หมู่เราชาวอโศก หากพ่อท่านต้องจากเราไปจริงๆ คืออะไร

พ่อท่านตอบว่า อย่าทำสังฆเภท เพราะเป็นอนันตริยกรรม

ซึ่งสังฆเภทนี้ไม่ใช่จะเกิดได้แต่ในหมู่นักบวช ฆราวาสก็ด้วยเหมือนกัน อย่าแตกหมู่ แตกกลุ่ม อย่าดัง แล้วแยกวง อปริหานิยธรรม ๗ ข้อ ทำให้ได้

มีผู้ถามอีกว่า ไปร่วมงานโฮมไทวัง แล้วไม่ได้อะไรในหลายปีที่ผ่านมา พ่อท่านจะว่าอย่างไร

พ่อท่านตอบว่า แสดงว่าตะแกรงเขาห๊าง ห่าง เขาคงจะไม่ได้อะไรอีกแล้วละ ไม่รู้จะทำอย่างไร สำหรับผู้ที่คิด อย่างนี้

มีผู้ถามถึงกรณีที่เป็นม.วช. รับเข็มจากพ่อท่านไปแล้ว ไปอยู่ที่นั่นที่นี่ ไม่เป็นหลักแหล่ง ไม่ได้ร่วมกิจกรรม ม.วช. แต่ก็อยากเก็บเข็ม ม.วช. ไว้เป็นที่ระลึก จะได้หรือไม่

พ่อท่านตอบ ให้มีจิตสำนึกในความเป็น ม.วช. ให้ตระหนักในบทบาทของนิสิตที่ควรจะเป็น

ทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่า พ่อท่านกำลังสอนให้ลูกๆรู้จักแยกแยะดี-ชั่วด้วยปัญญาของตน และข้อฝากจากพ่อท่าน ถึงลูกๆชาวไทวังและชาวอโศกทุกคนว่า อย่าไปมีหนี้สิน การเป็นหนี้สิน พ่อท่านบอกว่า เป็นความซวย ของชีวิตแล้ว

อาทิตย์ที่ ๕ มิ.ย.'๔๘
สมณะเดินดิน ติกขวีโร นำสวดมนต์ แล้วเกริ่นกล่าวรำลึกถึงพ่อท่าน และสิ่งที่เราลูกๆ ควรขวนขวาย บำเพ็ญ ให้ได้ให้ถึงในขณะที่พ่อท่านยังมีชีวิตอยู่ พร้อมทั้งขยายวิธีการตรวจตน ด้วยองค์คุณของ โสดาบันว่า เราเป็น อย่างไร เป้าหมายชัดเจนหรือไม่ ในทุกๆเช้าที่เราตื่นขึ้นมา จากนั้นมีการตกลงกัน ในการจัดขบวน ที่จะเดินจงกรม เจริญสติไปยังริมแม่มูล หลังจากแยกย้ายกันไปทำ ธุระส่วนตัว ๕ นาที แล้วจัดขบวน แต่ละวิชชาเขตให้สมณะ และ สิกขมาตุที่ปรึกษา นำเดินจงกรมไปยังริมแม่น้ำมูล เป็นแถวต่อเนื่องกันไป

เมื่อไปถึงริมมูล บรรยากาศยามเช้าสดชื่น แจ่มใสมาก ท้องฟ้าโปร่ง อากาศกำลังสบายทั่วบริเวณ มีแสงแดด อ่อนๆ หยดน้ำค้างบนใบหญ้าพราวอยู่ทั่ว กลิ่นหอมของดอกไม้ โชยมาเป็นระยะๆ ตลอดทาง ที่เดินผ่านมา ลูกๆชาวอโศกพากันนั่งลง เป็นระเบียบเรียบร้อย อย่างสงบ ฝ่ายเครื่องเสียง เตรียมอำนวย ความสะดวก เต็มที่ สักครู่หนึ่งพ่อท่านนำหมู่สมณะมาร่วมสมทบ ขึ้นบนเรือ แกบ่เฒ่า เมื่อพ่อท่านนั่งเป็น ประธาน อยู่บนเก้าอี้ ที่หัวเรือเรียบร้อยแล้ว สมณะเดินดิน ติกขวีโร นำสวดมนต์บูชา พระรัตนตรัยแล้ว นำกล่าวตั้งสัจจะอธิษฐาน และปฏิญาณตน ซึ่งในพิธีกรรมนี้ มีหยาดน้ำตา ของหลายชีวิตรินไหล ออกมา ด้วยความรู้สึก ประทับใจ และ ยินดีเต็มใจ ที่จะบำเพ็ญ เพียรพยายามในเส้นทางสายนี้ต่อไป และต่อไป จนถึงที่สุด

จากนั้นพ่อท่านนำกล่าวถึงวิถีธรรมชาติที่เราทุกคน ต้องไปถึงนั่นคือ ความมีอายุยาว และความตายในที่สุด ท่านได้พูดถึงความมหัศจรรย์ของร่างกายคนว่าทำงานอย่างไร แตกตัวอย่างไรเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถ เรียนรู้ ได้หมด ในความซับซ้อนของมัน เช่นเดียวกับทั่วมหาจักรวาลนี้ก็ยังมีสิ่งที่เรายังรู้ได้ไม่หมด

พ่อท่านจะทำสุดกำลังในแต่ละชาติ ไม่ได้ทำแต่ชาตินี้ชาติเดียว แต่ละนาทีของชีวิตขอให้สำนึก ให้มากว่า อย่าพร่องในคุณค่า คุณลักษณะ คุณสมบัติ และคุณธรรมทุกคน ผู้มีวรรณะ จะเป็นผู้มีคุณ ผู้อวรรณะ จะเป็น ผู้มีโทษ เราจะทำตนให้เกิดคุณธรรม คุณประโยชน์ คุณค่า คุณลักษณะ และที่สำคัญ ทำให้ได้ถึง คุณวิเศษ ไม่มีใครมาบังคับเรา เราวิริยะเอง ไม่มีใครมาทำให้เรา เราเพียรเอง เราจะทำให้เกิดคุณภาพ ในตนเอง จนถึง ระดับ มีคุณวิเศษ ซึ่งเป็นระดับโลกุตระ คุณวิเศษของ พระพุทธองค์เป็นปรมัตถธรรม ถึงจิตถึงวิญญาณ เกิดจริงๆ ฟูมฟักขึ้นมา (อัตตาเป็นสิ่งไม่ดี ให้เรียนรู้ ลดละออกให้ดี) คุณวิเศษนี้ เป็นสิ่งได้อาศัยยามพึ่งตนไม่ได้ ขณะนี้ให้ทำเผื่อๆไว้ เป็นเครื่องอาศัยที่แท้จริง

พ่อท่านอายุยาวแล้วยังไม่ท้อถอย ยังเต็ม ยังไม่ย่อหย่อน ชีวิตคือการสร้างสรร เกื้อกูลแบ่งแจกกัน จิตที่ ไม่เบียดเบียน เป็นธาตุรู้ เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ

จากนั้นพ่อท่านพูดถึงความบกพร่องของพวกเราที่ทิ้งขว้างของ ไม่รู้จักประณีตประหยัดเชื่อมโยงกับ เรื่อง "ขยะ" ว่าโลกทุกวันนี้กำลังเดือดร้อนเพราะขยะ สำหรับในชาวอโศกเราก็ขอให้ช่วยกันเอาภาระ อย่าให้มา เป็นรูป อัปลักษณ์ในสังคมของเรา

พ่อท่านขอบคุณทุกคนที่ได้ร่วมมือร่วมใจกันมา เป็นมรดกที่ยิ่งใหญ่มาก เราจะรังสรรค์มรดกของ พระพุทธเจ้า ต่อจากพ่อท่านไป ให้ได้ต่อเนื่อง ทำได้เป็นจริงมากเท่าไหร่ก็จริงเท่านั้น ให้มีคุณวิเศษ คุณธรรม คุณภาพ ยิ่งๆทุกคนเทอญ

สิ้นสุดพิธีการเวลา ๖.๕๗ น. มีผู้นับจำนวนผู้มาร่วมพิธีนี้ขณะเดินกลับว่า มีจำนวนทั้งสิ้น ๔๐๔ ท่าน


นิสิตใหม่รับเข็มและบัตรประจำตัว
ลูกๆชาวอโศกทุกคน รับหยาดน้ำใจจากพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์

พ่อท่านเกริ่นกล่าวว่าท่านพยายามจะสร้างมดลูกให้โตๆ ให้ดีๆ เพื่อให้พวกเราได้เข้ามาอยู่ในแวดวง คนที่ไม่รู้ ก็ดิ้นหนีออกไป แท้งบ้างอยู่รอดบ้าง บางทีบางคนก็ดิ้นซะจนทำเอามดลูกจะพังก็มี พ่อท่าน สร้างวงสายศีล เพื่อบ่มเพาะ สร้างโอปปาติกะที่เป็นอาริยะ มีจิตเป็นประธาน จะได้คุณภาพ มากน้อย แค่ไหน ก็แล้วแต่ แต่ละคน ผู้ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจก็ปล่อยเขา พยายามอย่าไปยั่วยุเขามาก เพราะธรรมดา ของโลก เป็นเช่นนั้นเอง ทำอย่างไร เราจะอยู่อย่างธรรมดาๆ หมู่ฝูงรักเรา เรามีพฤติกรรมไม่ดีใดๆไหม ปรับปรุงตัวเอง ที่สำคัญตัวเราอย่าหลงตัวเอง ก็แล้วกัน คนอื่นๆไม่มีอิทธิพลกับเราจริง กรรมเป็นของเรา จริงกว่า ผู้เอาภาระ ดูแลกรรมของตนเองให้ดี คนชนิด นี้แหละที่จะเป็นที่พึ่งของโลก คนที่ไปเรียนข้างนอก ไม่มีแง่เชิงคิด อย่างนี้หรอก ผู้ที่มาแล้วอยู่แล้ว เอาให้ดี ไม่ต้องไปติดยึดเรื่องอื่นๆให้มากนัก ให้ถือหลัก Demand Supply (อุปสงค์ อุปทาน) ให้มั่น ขอให้พวกเราทุกคน ตั้งใจในการทำกรรมดี จะด้วยการตั้งจิต อธิษฐานก็ดี เป็น ๑ ในบารมี ๑๐ ทัศ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา ต้องรู้ ไม่งมงาย ต้องตรง คม ชัด ลึก เกิดเป็นพลังขับเคลื่อน ในตัวเรา เป็นวิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน ระลึกรู้บอก ตัวเอง เสมอๆให้ชัดๆตรงๆ ให้แม่นเป้า แล้วทุกอย่าง ก็มารวมลงเป็นทาน คือ เมตตา(ผู้อื่น) เป็นเครื่องอาศัย เพื่อยังชีพ อุเบกขา เป็นสิ่งที่ต้องทำให้เกิด ในตนเองเพื่อตน

ขอให้ทุกคนเจริญด้วยบารมี ๑๐ ทัศ ทุกๆคน

จากนั้นเป็นพิธีการมอบเข็มและบัตรนิสิตใหม่'๔๘ และมอบหยาดน้ำใจจากพ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ กับลูกๆ ทุกคน บรรยากาศพ่อๆลูกๆไม่เป็นทางการใดๆ ทำให้เข็มม.วช.ที่เป็นพิเศษสำหรับนิสิตปี'๔๘ นี้(เป็นทองคำ) ลดความเด่นลงไปมากทีเดียว แต่พ่อท่านก็ย้ำเตือน อย่าทำหาย ให้รักษาไว้ดีๆ

ในที่สุด ม.วช.ทุกวิชชาเขต ก็ไปรับประทานอาหารกัน หลังจากนิสิตใหม่แต่ละวิชชาเขต นิมนต์พ่อท่าน ถ่ายรูป เป็นที่ระลึกแล้ว เมื่ออิ่มท้อง อิ่มอก อิ่มใจ ก็มีแรงพากันขึ้นรถเดินทางกลับมาร่วมงาน อโศกรำลึก'๔๘ กันต่อที่ สันติอโศก

- อ่อมแซ่บ รายงาน -

- สารอโศก อันดับ ๒๘๓ พฤษภาคม ๒๕๔๘ -