สภาวะจิตวิญญาณ
๓ พ.ค. ๒๕๔๘ ที่สันติอโศก คณะทำงานวิจัยของคุณรินธรรม ได้เข้าสนทนาสัมภาษณ์ พ่อท่าน เกี่ยวกับ สภาวะ จิตวิญญาณ ซึ่งมีเนื้อหา ที่น่าสนใจยิ่ง ดังที่จะได้นำมาถ่ายทอด สู่กันดังนี้

ทีมงาน : พ่อท่านคะ จิตวิญญาณคืออะไรคะ
พ่อท่าน : จิตวิญญาณคืออะไร ต้องพูดตั้งแต่พยัญชนะไปก่อน คำว่า จิตวิญญาณ เป็นคำ ภาษาบาลี ๒ คำ คำว่า จิต คำหนึ่ง คำว่า วิญญาณ คำหนึ่ง ทีนี้คำว่าจิตวิญญาณเนี่ย มันหมายถึงลักษณะ ธรรมชาติ อย่างหนึ่ง ที่เป็นนามธรรมอย่างยิ่ง ถ้าเผื่อว่าอยู่ในตัวคนเนี่ย เรามักจะเรียกว่าจิต แต่ถ้า ออกจากตัวคน ไปแล้ว เขาก็จะเรียกว่าวิญญาณ ออกจากตัวคน ไปแล้ว คนตายแล้ว ก็ออกจาก ตัวคนไป เขาจะเรียกว่า วิญญาณ มักจะเรียกว่า วิญญาณ เขาจะไม่เรียกว่าจิต เอ้อ....จิตคนนั้น คนนี้ ล่องลอยไป ตรงนั้นตรงนี้ หรือว่าจิตคนนั้น คนนี้ แสดงตัว อย่างโน้น เขาจะไม่เรียกกัน ใช่ไหม เราจะได้ยินว่า เขาไม่เรียกกัน เขาจะเรียกกันว่า วิญญาณทั้งหมด แต่ถึงกระนั้นก็ดี พระพุทธเจ้า ก็ละเอียด ยิ่งกว่านั้น วิญญาณท่าน ก็เข้าใจ แม้ว่าจะไม่อยู่ในตัวคน จะเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่อยู่นอกตัว นี่แหละ ท่านก็เคยตรัสบอกว่า วิญญาณัง อนิทัสสนัง อนันตัง สัพพโต ปภัง ถ้าเผื่อมัน อยู่นอกตัว มันเป็นลักษณะที่มัน ไม่สามารถ ที่จะบอกเป็นภาษาได้ จะบอกให้คน รับรู้เป็นภาษา ไม่ได้ จึงชื่อว่า อนิทัสสนัง ส่วนอนันตัง เพราะมัน ไม่ได้อยู่เป็นลักษณะ อย่างนั้นอย่างนี้ อยู่ในกรอบนั้น กรอบนี้ อยู่ในขอบเขตนั้นเขตนี้ อนันตัง มันไม่มีกรอบ มันไม่มีขอบเขต มันไม่มีที่จัดสรร เป็นรูปเป็นร่าง เหมือนกับ อยู่ในหม้อ อยู่ในถ้วย อยู่ในขวด อยู่ในคูหาสยัง ถ้ามันอยู่ในร่างกายเรานี่มันก็เป็น คูหาสยัง อยู่ในคูหาสยัง มันก็อยู่อย่างนั้น แหละ มันก็อยู่ได้ แต่พอ ออกไปจากร่างแล้ว มันไม่ได้ อยู่ในกรอบ ไม่ได้อยู่ในขวด ไม่ได้อยู่ ในถ้ำ ไม่ได้อยู่ในขอบเขตอะไร ไม่มีรูปร่าง คือ มัน อสรีรัง อนันตัง คือ มันไม่มีขอบเขต ไม่มีที่กั้น ส่วนสัพพโต ปภัง มันก็กระจาย เหมือน แสงสว่าง กระจายไป ทั่วไปหมด อย่างนั้นน่ะ สัพพโตปภัง นี่คือ ลักษณะของวิญญาณ ท่านก็ตรัสไว้ พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ จำกัด ความว่า วิญญาณัง อนิทัสสนัง อนันตัง สัพพโต ปภัง ก็ขยายความถึงลักษณะได้อย่างนี้

แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม เมื่ออยู่อย่างนั้นก็มีลักษณะเป็นตัวของตัวเอง วิญญาณนี่ เป็นตัว ของตัวเอง ท่านพิสูจน์แล้ว วิญญาณนี่ แม้เวลา ลักษณะที่อยู่ข้างนอกนี่พิสูจน์ยาก แต่เมื่อ มาอยู่ในตัวคนเนี่ย เราก็เรียนรู้ ในตัวเราได้ เมื่ออยู่ในตัวคน คนก็มักจะเรียกว่าจิต ท่านก็เรียกว่า จิตด้วย เรียกว่าจิต สามารถ ที่จะมีลีลาต่างๆ ถึงเรียกว่าจิต ถ้าจะเรียก โดยเฉพาะ ลงไปแล้ว ก็เรียกว่า วิญญาณ และ วิญญาณ มีลักษณะ อะไร วิญญาณ เป็นลักษณะ ธาตุรู้ จิตก็อันเดียวกัน ที่จริงก็อันเดียวกัน จิต หรือ วิญญาณ ก็เป็นธาตุรู้ เพราะฉะนั้น เมื่อเวลาอยู่ในตัวคน แล้วเราอยาก เรียกว่าจิตก็จิต เราอยาก จะเรียกว่า วิญญาณ ก็เรียก สุดท้ายก็เลยเอามารวมกันเสีย จิตวิญญาณก็ตกลง ก็หมายถึง สิ่งนั้นล่ะ ธรรมชาติอย่างนั้นล่ะ จิตวิญญาณ ซึ่งก็คือ ธาตุชนิดหนึ่ง เป็นธรรมชาติรู้

ทีนี้ในตัวคนเราเนี่ย พระพุทธเจ้าท่านชาญฉลาด ท่านรู้ว่าจิตวิญญาณที่พูดกันเนี่ยเป็น ปรมาตมัน เป็นอาตมัน เป็นอัตตา เป็นสภาวะ ที่มีพลังงาน มีฤทธิ์มีเดช มีโน่นมีนี่ มีลักษณะ พิเศษอะไร ก็แล้วแต่ ต่างๆนานา ท่านก็พิสูจน์ จนกระทั่งสุดท้าย ท่านพิสูจน์ในตัวคนเนี่ย ที่จิตวิญญาณ อยู่ในนี้แล้ว จนกระทั่ง ท่านพิสูจน์แล้ว จากจิตวิญญาณ ที่ในตัวเราเนี่ย มันก็เป็นวิทยาศาสตร์ เพราะว่า มันอยู่ ในตัวเรา ร่างกาย ตัวเรานี่ เป็นอุปกรณ์วัตถุ เรียกว่า เป็นหลอดทดลองอยู่แล้ว แล้วเราก็มีสิ่งที่ เราจะพิสูจน์ คือธรรมชาติ ของจิตวิญญาณ เป็นสิ่งที่จะพิสูจน์ เป็น subject สำคัญ แล้วท่านก็ได้ พิสูจน์ เรียนรู้ จนกระทั่งสุดท้าย ก็เข้าใจได้ว่า จิตวิญญาณก็คือธาตุรู้ แต่ในธาตุรู้นี้ มันมีธาตุโง่ด้วย ในจิตวิญญาณเนี่ย มันมีธาตุโง่ อยู่ในนั้น มากมาย นอกจาก ธาตุโง่แล้ว มันก็ยังเป็นอารมณ์ มันก็ยัง เป็นอะไร ต่ออะไรไปลีลาต่างๆนานา มีพลังงาน แยกแยะไปเป็นทั้ง ลักษณะพลังงาน ของกิเลส พลังงานของโลภ โกรธ หลง พลังงาน ที่จะเป็นอะไร ต่ออะไรต่างๆนานา ที่แจกย่อยไปอีก เป็นเจตสิก หรือ อาการของจิต เริ่มเรียกว่าเจตสิก อาการต่างๆ ลักษณะ อาการต่างๆ ของจิต แตกแยกย่อย เป็นทั้งแบบกุศล แยกย่อยเป็นทั้งแบบอกุศล แต่ถ้าคนไม่สามารถ รู้จักมัน ก็เรียกไม่ออก แยกไม่ออก ว่า จะเป็นกุศล หรืออกุศล เป็นอัพยากฤต ก็เลยต้องศึกษา ผู้ใด ศึกษาดีแล้ว ก็จะรู้แจ้ง เห็นจริงได้ เป็นวิทยาศาสตร์ทีเดียวว่า จิตวิญญาณคืออะไร จบคำตอบ จิตวิญญาณคืออะไร

ทีมงาน : แสดงว่าจิตวิญญาณเนี่ยแยกคำแล้วคือความหมายเดียวกัน
พ่อท่าน : เป็นตัวเดียวกัน แต่จิตกับวิญญาณเอามาใช้ต่างกัน แล้วก็นิยมต่างกันอยู่บ้าง อย่าง วิญญาณ ตามที่กล่าวแล้ว พอออกไป ข้างนอกตัว คนเขาไม่เรียกว่า เป็นจิตหรอก เขาไม่เรียกนั่น จิตล่องลอย อยู่ตรงนั้น จิตคนนั้นคนนี้ เขาก็ไม่เรียก เขาจะเรียกว่าวิญญาณ แต่อยู่ในตัวคนนี่ เขาเรียกว่าจิต แต่มันก็วิญญาณ นั่นแหละ เพราะฉะนั้น ก็เลยอยู่ในตัวคน ก็เรียก ทั้งจิตก็เรียก วิญญาณ ก็เรียก ก็เลยเรียกรวมซะเลยว่า จิตวิญญาณ ดังที่กล่าวแล้ว แล้วจิตเนี่ย พระพุทธเจ้า ท่านก็ตรัสในจำกัดความของจิต เอาไว้เหมือนกันนะ จิตหรือมโน อีกคำก็คือ มโน จิต มโน วิญญาณ พวกนี้เป็น synonym เป็น คำที่ใช้แทนกันได้ ที่จริงคำอื่นๆ มีอีก แต่เอาล่ะเอาแค่ ๓ คำนี้ก็วุ่นแล้ว เวียนหัว พอสมควรแล้ว มโนท่านก็ตรัสเอาไว้ว่า มันเป็น อสรีรัง คือมันเป็น นามธรรม มันไม่มีรูปร่าง ไม่มีตัวตน สัมผัสได้ยาก รู้ได้ด้วยการสัมผัส แล้วก็มีเครื่องหมาย ให้รู้ได้ จึงเรียกว่า สามารถรู้ได้ เมื่อเป็น นามธรรม และมันเป็น นามรูป หรือนามกายมันเป็นสิ่งที่ถูกรู้ก็ได้ โดยเฉพาะ เมื่อมีสัมผัส มีอาการ ในตัวมันเองที่จะรับรู้สึก ต้องใช้ญาณทัสสนะของเราหรือวิชชา ปัญญา หรือ ภูมิปัญญา ของเรา ในตัวเรา เป็นสิ่ง ของเรา ที่จะเข้าไปตามรู้ ตามอ่านตามสัมผัส จนกระทั่งรู้จักรู้แจ้งรู้จริง เพราะมันจะมี ลักษณะ เครื่องหมาย มีนิมิต ให้เรารู้ได้ว่า อ้อ....อย่างนี้นะ เครื่องหมายอย่างนี้ มันเป็น อาการ ของโลภ อาการของโกรธ อาการของสุข อาการของทุกข์ อาการของความเฉยๆ อาการ ของอะไร ก็แล้วแต่ ก็ลีลาสารพัด ความชอบไม่ชอบ ความพยาบาท ความกตัญญู ความกุศล - อกุศล ต่างๆ เป็นหลายลักษณะ มากมาย

มันเป็น อสรีรัง ทูรังคมัง เอกจรัง คูหาสยัง อะไรพวกนี้ ซึ่งความหมายก็ชัด ท่านตรัสไว้ ถ้าเข้าใจแล้ว ผู้ที่มี สภาวะจริง เรียนรู้แล้วก็จะรู้ดี ทูรังคมัง จริงๆ ไปได้เหมือนกับเรานี่ จะคิดจะใช้จิตนี่ ไปไหน ๆๆๆ คำนึง ไปถึงโน่น ถึงนี่ ถึงไหน ไปได้สารพัด ถ้าเราจำได้ แล้วก็ส่งจิตไปถึงอันนั้นอันนี้ เหมือนกับ ไปสัมผัส แต่ความจริง ก็เหมือนจิตส่งไป อย่างนี้ล่ะ เป็นพลังกระแสอะไรไปเฉยๆ แต่มันก็ไม่ได้ ออกจากตัวเรา ไปจริงหรอก แต่ถ้าเผื่อว่า ฝึกจริงๆ ก็สามารถที่จะส่งกระแส ไปสัมผัสได้ เหมือนกันนะ อันนี้ยากมาก เรียกว่า โทรจิต อะไร อย่างนี้ก็ได้ ทูรังคมังที่มีสมรรถนะโทรจิต เป็นจิตที่ไปตาม ไปสัมผัส รู้กันได้ไกล ทูรังคมัง ไปได้ไกล ส่วนเอกจรัง ที่จริงจะไปไหนก็แล้วแต่ จิตก็เป็นตัวเรา แม้จะออกไปแล้ว เนี่ย ถ้าออกไป จากตัวเราแล้วเนี่ย เอกจรัง ไม่มีใครรู้ ใครเห็นได้ด้วยหรอก เอกจรัง คือไปเดี่ยว เป็นเรา คนเดียว ที่ไป รู้เห็นอยู่คนเดียว ไม่มีใคร ไปร่วมรู้ร่วมเห็นด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าใคร บอกว่า เขาสามารถ ไปเห็นจิตวิญญาณคนตายไปแล้ว ไปเห็น จิตวิญญาณ ของคนนั้นคนนี้ ที่นั่นที่นี่ อะไรต่างๆ นานา อยู่ตรงนั้นตรงนี้ เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เช่น เห็นจิตวิญญาณ พ่อของคนนั้น ที่ตายไปแล้ว ผอมโซ เพราะหิวโหย ไม่มีใครส่งอะไรไปให้กิน เป็นต้น เป็นการ โกหก ทั้งนั้น เพราะ จิตวิญญาณ ที่ออกไป จากตัวแล้วเป็น เอกจรัง จะไปจะมาหรือไปยังไง อยู่ยังไง ก็แล้วแต่ อยู่เฉพาะตน ไปเฉพาะตน มาเฉพาะตน เอกะเดียว ไม่มีใครรับรู้ด้วย แล้วก็ไม่ได้ รับรู้ด้วยใคร เอกจรัง อันนี้แหละ เป็นเรื่อง ที่ลึกซึ้ง แล้วคนก็ไปเดาผิดเดาถูก อย่าว่าแต่เดา ว่าจะเที่ยวได้ไปเห็นตัว เห็นตนเลย ทั้งๆที่ พระพุทธเจ้า ตรัสชัดๆว่า ไม่มีตัวตน เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนหรอก พระพุทธเจ้าตรัสรู้ มาหมดแล้ว วิญญาณไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีรูป ไม่มีร่างอะไร อสรีรัง ไม่มีรูปร่าง และไม่มีตัวตนอะไร แต่คน ก็อุปาทาน ไปปั้นเป็น มโนมยอัตตา เห็นเป็นตัวเป็นตน เห็นเป็นรูป เป็นร่าง มโนมยอัตตา เพราะเขา คิดว่า ก็ออกจาก ร่างเราไปแล้ว ก็คงเป็นรูปร่างเหมือนอย่างคนนั้นคนนี้ ที่มีรูปหล่อ ผิวขาว ตั้งแต่ ก่อนตาย หรือ แก่เหี่ยวย่น ตามที่มีร่างกายก่อนตาย เป็นรูปร่าง เหมือนอย่างที่เคยเป็น นี่แหละ มีหัว มีแขน มีขา จิตวิญญาณ ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่าง อสรีรัง แต่เขาก็อุปาทานว่า เอ้า....ก็คนนี้ตาย ก็ต้อง มีรูปร่าง อย่างนี้ เห็นหน้า ก็รู้เลยว่านี่คนนี้ จิตวิญญาณของคนนี้อะไรอย่างนี้เป็นต้น ก็เดา กันไป เอาน่ะ อุปาทานมันไปเชื่อเอง แต่ความจริง ไม่มีรูปร่าง ร่างกาย เนื้อหนัง กระดูกแท้ๆ ก็ไม่ได้ตาม ไปกับ วิญญาณ ทิ้งเป็นรูปร่างอยู่ที่นี่ กับโลกนี้ แต่ก็หลงผิดฟั่นเฝือกัน ถ้าเป็น เช่นที่ว่าแล้ว ถ้ารูปร่าง อย่างนี้ ตายไป ก็ยังมี รูปร่างอย่างนี้ ถ้าไปเกิดอีก ก็ต้อง รูปร่างเก่า น่ะสิ ก็เมื่อตายไป ก็เป็นรูปร่าง นั้นอยู่ ตายไปแล้วก็รูปร่างนั้น ใช่ไหม พอมาเกิด อีกทีหนึ่ง ก็รูปร่างเก่าน่ะสิ รูปร่าง ก็ต้องถาวรสิ ก็ต้อง เที่ยงแท้ อย่างที่เป็นก่อนตายแน่ ถ้าตายไปแล้ว ก็รูปร่างนั้นยังอยู่น่ะ ถ้าเกิดอีก ก็ต้องรูปร่างนั้น อีกน่ะสิ หน้าตาก็อย่างนั้น อีกน่ะสิใช่ไหม นี่มันก็เดากันไป เรื่อยๆ แต่ความจริง มันไม่ใช่ มันไม่ใช่ ตัวตน มันไม่มีตัวตน ด้วยซ้ำไป อนัตตา ไม่มีตัวตน และเอกจรัง ไปเดี่ยวๆ อยู่เดี่ยวๆ อย่างนี้เป็นต้น คูหาสยังก็คือ อยู่ในคูหา อยู่ในสัดส่วนหนึ่งได้ ก็คืออยู่ในตัวร่างเราเนี่ย คูหาสยัง เหมือนอยู่ใน คูหา อยู่ในที่ ที่เป็นถ้ำ เป็นภาชนะ ที่เป็นสัดส่วนให้อยู่ อะไรอย่างนี้ได้ เพราะใน รายละเอียดเหล่านี้เนี่ย ก็ได้อธิบาย สู่กันฟังมาแล้ว

สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษายังไม่ได้พิสูจน์จนกระทั่งมีญาณทัศนะ หรือว่ามีความรู้ที่สัมผัสรู้จริง รู้เอง จริงๆ จน แยกแยะได้ว่า อ้อ....จิตวิญญาณ มีลักษณะอย่างนี้ แล้วก็เป็นอยู่อย่างนี้ แล้วก็มี ของแฝง แล้วก็ มีของปลอม มีของที่เป็น อุปาทาน เป็นของไม่มีจริงหรอก แต่ก็โมเม ปั้นมา จนเป็นจริงได้ เห็นจริงๆ สัมผัสได้จริงๆ แต่เป็น ของไม่มีจริง ที่เห็นที่สัมผัสนั้นเป็น อุปาทาน ทั้งสิ้น ซึ่งพลังงาน ทางจิตวิญญาณ มันเป็นได้ ถึงขนาดนั้น สามารถ ที่จะมีพลังงาน ปั้นก่อกันขึ้นมาเป็น มามี จนน่าทึ่ง น่าอัศจรรย์ อะไรต่ออะไรก็ได้ คนก็เลย ยิ่งไม่รู้เรื่องใหญ่ ก็ยิ่งงง ยิ่งเดา ยิ่งคิดไปตามเรื่อง ตามราว ผกผัน ไปตามเรื่อง ก็เลยเป็นเรื่องเป็นราว ที่วุ่นวายมาก แล้วก็เป็นภัยต่อความรู้สึก เป็นภัยต่อคน ที่ไม่รู้ ที่อวิชชา เมื่อไม่รู้จิตตัวเอง ก็ไปปั้นจิตตัวเอง แล้วก็ยึดมั่น ถือมั่น แล้วก็ปรุงแต่งอะไรต่ออะไร ขึ้นมา จนกลายเป็น เรื่องอะไรพิลึกพิลั่น จนกลายเป็นเรื่อง หลอกตนเอง หลอกคนอื่น หลอกชาวบ้าน ติดยึด กันอยู่ ล้างไม่ได้ วางไม่ออก เป็นอะไรต่ออะไร จนเกิด ความวุ่นวาย เพราะความไม่รู้นี้ ก็เกิด ความวุ่นวาย อยู่ในโลกอย่างนี้

ทีมงาน : พ่อท่านคะ แต่เวลาใช้คำว่าวิญญาณ วิญญาณครู วิญญาณนักปกครอง วิญญาณแพทย์ มันไม่ได้ แปลว่าธาตุรู้ ใช่หรือเปล่าคะ
พ่อท่าน : เขาพูดปนๆเปๆ วิญญาณที่ว่านั้น จริงแล้วความหมายที่เขาหมายที่ถามมาเมื่อกี้ ที่เขา เอาไปใช้ กันว่า นี่เป็นวิญญาณของครู วิญญาณของแพทย์ วิญญาณของผู้นั้นผู้นี้ ที่มีศักดิ์ศรี มีความเอาจริง เอาจัง เขาหมายถึงเป็นการหยั่งรู้ลึกไปถึงสิ่งหนึ่ง ของมนุษย์ คือ วิญญาณ มันเป็น ความสำคัญของชีวิต ก็คือ วิญญาณ เขาก็เลยเอาคำว่า วิญญาณเนี่ย มาใช้แทน ความหมายว่า มันเป็น สิ่งที่สำคัญ หรือ จำเป็น ที่ลึกที่สุด เป็นตัวประธานใหญ่เลย ในตัวคน เขาก็เลยเอาคำว่า วิญญาณ มาใช้แทนความหมายอย่างนี้ เป็นความรู้ หรือ เป็นความยึด เป็นความเป็น อย่างนั้น ชนิดถึงเลือด ถึงวิญญาณ ดังนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ที่เป็นแพทย์ ก็ต้องมีสิ่งที่ลึก ในความ เป็นแพทย์ เนื้อแท้เลือดแท้ ลึกๆ ถึงเลือดแท้ เนื้อแท้ที่สำคัญ ของความเป็นแพทย์ ของ ความเป็นครู ของความเป็นอะไร ก็แล้วแต่ จะต้อง ถึงเลือด ถึงเนื้อ ถึงวิญญาณ ถึงจุดสำคัญ จุดประธาน ของสิ่งนั้นๆ เขาก็เอามาใช้แทน เท่านั้นเอง

ทีมงาน : พ่อท่านคะ สรุปว่าคนที่จะมีวิญญาณมนุษย์น่ะ ก็ต้องเหมือนกับวิญญาณครู หรือเปล่าคะ คือ ก็ต้อง มี ความเป็นมนุษย์ ที่เป็นเนื้อแท้ของมนุษย์ ที่ดีด้วยอย่างนั้น ได้หรือเปล่าคะ
พ่อท่าน : โดยความหมายของพยัญชนะแล้ว มโนหรือมนู มันแปลว่า ความสูงของจิตใจ มนุสโส หรือ มนู - มโนเนี่ย เป็นธาตุรู้ ธาตุวิญญาณที่สูง ที่ดีแต่เดิม เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อยัง ไม่มีกิเลสเข้าเนี่ย มโน หรือจิต มโน-มนูหรือมนะเนี่ย มันก็เป็นธาตุรู้ที่ดีงาม เมื่อไม่มีกิเลส เข้าไปสิงสู่ ไม่มีกิเลสเข้าไปปนปรุง อยู่ในนั้น ไม่มีอิทธิพล ของกิเลสเป็นมนูเป็นมโน ที่เอามาใช้งาน ด้วยปัญญา เอามาใช้งาน เป็นสิ่งที่ มีความรอบรู้ ก็จะเป็นคุณงาม ความดี เป็นคุณค่าที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์โลกต่อมนุษย์ ได้มาก ทีนี้ คำว่า มนุษย์ มันก็ไม่ได้ หมายความว่า เป็นจิตวิญญาณทั่วไป ของสัตว์โลกเฉยๆ เพราะผู้ที่ จิตวิญญาณ เจริญขึ้นมา เป็นระดับ มนะ มนูหรือมโน มนุสสะแล้ว หรือว่า จิตวิญญาณสูง จิตวิญญาณ ชั้นสูง เพราะฉะนั้น จะมีภูมิปัญญา มีความรอบรู้ ในกุศลธรรม อกุศลธรรม ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะ รู้จักกุศลธรรม แล้วให้พลังงาน ของจิตวิญญาณนี้ทำงาน หรือเอาไปใช้ เป็นพลังงาน ที่ดี ที่มีคุณค่า ที่ประเสริฐได้ยิ่งกว่า สัตว์สามัญ หรือสัตว์ชั้นต่ำ ถ้าเอามาใช้ ก็ใช้ได้ดี ใช้ได้มาก ใช้ได้สูงใช้ได้วิเศษ จึงเรียกว่าจิตวิญญาณ ของมนุษย์ หรือ มโน มนุสโส เนี่ย เป็น จิตวิญญาณ อีกระดับหนึ่ง ที่ไม่ใช่จิตวิญญาณ จัดอยู่ในพวกของ สัตว์โลกทั่วไป สามัญทั่วไป มันประกอบ ไปด้วยปัญญา ประกอบไปด้วย ความรอบรู้ถึงคุณค่า และสามารถ ที่จะให้พลังงาน จิตวิญญาณ เนี่ย ทำงานคุณค่า ทำงานที่ประเสริฐ ทำงานที่ดีงามให้แก่โลก ให้แก่ มวลมนุษยชาติ ด้วย ให้แก่สิงสาราสัตว์ ผืนดินน้ำลมไฟ อะไรก็ได้ ทั้งนั้นแหละ เพราะว่า มีความรอบรู้ มีความเฉลียว ฉลาด และแบ่งกุศล - อกุศลเป็นด้วย

ทีมงาน : ที่พ่อท่านว่าประเสริฐ มีปัญญา รู้ถูกรู้ผิดรู้กุศลอกุศลเนี่ย ถือว่าคนนี้มีสุขภาวะ จิตวิญญาณ ได้ไหมคะ
พ่อท่าน : เอ้อ....รู้เท่านั้นไม่พอ ผู้ที่จะมี ถือว่ามีสุขภาวะทางจิตดีเนี่ย ก็ต้องเข้าใจคำว่า สุขด้วย ภาวะ ที่เรียกว่า สุข ในโลกทั่วไป เขามีสุขเดียว สุขที่สมใจ ในโลกธรรม เขารู้อยู่สุขเดียว ทีนี้ในทาง โลกุตระ หรือ ในทางธรรมชั้นสูง แต่ยังไม่เป็นโลกุตระก็ตาม เขาก็มีความรู้ไป เหมือนกันว่า สุขที่บำเรอ โลกธรรม บำเรอ ว่าได้ลาภมาสมใจ ได้ยศมาสมใจสุข ได้สรรเสริญ สมใจสุข ได้เสพกามสมใจ ในทวาร ๕ สุขสมใจ ในอัตตา ตนเอง สุข อย่างนั้นเป็นสุขโลกีย์ ธรรมดา แต่ทีนี้มีปราชญ์มีผู้รู้ว่าสุขอย่างนั้น มันเป็น ภาระ มันเหน็ดเหนื่อย มันเป็นเวร เป็นภัย ด้วย เขาก็เลยหาวิธีหยุดที่จะโลภ โกรธ หลง หยุดที่จะไป แสวงหาลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข แต่เขาก็ยังไม่มีความสามารถที่จะรู้ถึงขั้น เป็นสุข แบบโลกุตระ เขาก็ได้วูปสโมสุขเหมือนกัน คือสุข ในจิตที่สงบ เพราะฉะนั้น มันมีสุขของโลกียะ แบบปรุงแต่ง ด้วยโลกธรรม ด้วยกามคุณ ๕ ด้วยอัตตา ๓ กับสุขของโลกียะ เหมือนกัน แต่เป็น แบบสงบ คือทำให้จิตสงบ ด้วยวิธีต่างๆ ได้ ทำสมาธิแบบนั่งหลับตา สะกดจิต เป็นต้น เขาก็หาวิธี ให้จิตมันหยุดไปแย่งชิงลาภ ยศ สรรเสริญ หรือว่าจะไปยินดียินร้ายกับลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข เขาก็พยายามที่จะไม่ไป หลงสุข ของโลกียะได้เหมือนกัน แต่วิธีทำของเขา ยังไม่เป็น โลกุตระ คนอย่างนี้ ลัทธิอย่างนี้ ก็สามารถ ที่จะรู้สุข ที่สงบเหมือนกัน ก็จะรู้จักสุขที่สงบ แต่สุขที่สงบ เหล่านี้ เนี่ย มันยังไม่เป็น วูปสโมสุข หรือ อุปสโมสุข แบบโลกุตระ หรือสุขที่เกิดใหม่ สุขที่เกิดจริงๆ เกิดแบบ โอปปาติกโยนิ เป็นการเกิดของ จิตวิญญาณ โอปปาติกะคือจิตในจิตที่ผุดเกิด ลอยเกิดเฉพาะ จิตในจิต เกิดทันที โตทันที ไม่มีซาก ไม่มีเศษ ของรูปวัตถุใดๆ ตามธรรมชาติของคน ที่ไม่รู้เรื่อง ของจิต (อวิชชา) ไม่มีวิชชาแบบพุทธ โอปปาติกะก็เกิดกันเป็นปกติสามัญ กล่าวคือ เมื่อจิต ได้รับอาหาร ที่เป็น อกุศลธรรม จนถ้วนครบเต็มสัดส่วน ของสถานะนั้นๆ จิตก็เกิดเป็น "สัตว์นรก" ได้รับทุกข์ตาม อกุศล นั้นๆ เป็นต้น แต่โอปปาติกะ หรือการผุดเกิด ชนิดนี้ มันเกิด อย่าง "อวิชชา" ตามธรรมชาติ หรือ ถ้าได้อาหาร ที่เป็นกุศลธรรม แบบโลกีย์ จนถ้วนครบ เต็มสัดส่วน ของสถานะนั้นๆ จิตก็เกิดเป็น "เทวดา แบบสมมุติเทพ" ได้รับสุข ตามกุศล โลกีย์นั้นๆ เยี่ยงเดียวกัน และถ้าคนผู้ใด ปฏิบัติแบบพุทธ อย่างสัมมาทิฏฐิ จิตได้อาหาร ที่เป็น กุศลธรรม แบบโลกุตระ จนถ้วนครบ เต็มสัดส่วนของ สถานะ นั้นๆ จิตก็เกิดเป็น "เทวดา แบบอุบัติเทพ" ตามกุศลโลกุตระนั้นๆ เช่น "อาริยชน-โสดาบัน" เป็นต้น ก็ได้รับสุข เรียกว่า "อุปสมสุขหรือวูปสมสุข" คือ สงบสบาย หลุดพ้นจากอบายภูมิแล้วเด็ดขาด จิตไม่มีกิเลส ที่จะสุขหรือทุกข์ เพราะอบาย (อทุกขมสุข) เกิดในจิตอีกแล้ว (นิพพานของโสดาฯ)

เพราะฉะนั้น "สุข"ที่เกิดโดยทำให้จิต"เกิด" จริงๆ เป็นโอปปาติกโยนิได้ เกิดเพราะมีสิ่งที่ ตายในจิต สิ่งที่ตาย ก็คือ พวกกิเลส ตัณหา อุปาทาน ที่ศาสนาพุทธสอน ถึงขั้นรู้จัก รู้แจ้ง รู้จริงถึงที่เกิด เหตุที่เกิด เรียกว่า ชาติสัมภวะ หรือ ชาติปภวะ ชาติปภวะ ชาติสัมภาวะ หรือ ชาติปภวะ คือ เหตุที่เกิด

ตามทฤษฎีของพุทธนั้น ผู้ปฏิบัติถึงขั้น "มนสิการ" เป็นจริงๆ คือ ผู้ปฏิบัติจนทำใจตนเอง ในใจ ของตน อย่างมี ญาณ ทั้งรู้จริง ทั้งทำได้ ตามเจตจำนง จนถึงขั้นโยนิโส คือมีญาณหยั่งรู้ลงไป ถึงที่เกิด หรือ ถึงเหตุ (สมุทัยอาริยสัจ) คือ มันต้องปฏิบัติจนสามารถ มีญาณเข้าไปจับ "ตัวเหตุที่เกิด" เรียกว่า ชาติสัมภวะ หรือ ชาติปภวะ จับตัวเหตุที่เกิดได้ แล้วก็ประหาร ตัวนี้ได้ เมื่อประหารตัวที่ "ทำให้เกิด" นี่ตายลงได้ ที่ต้อง ประหารมัน ก็เพราะว่า มันเป็น อุปาทาน มันเป็นกิเลส มันเป็นตัณหา มันเป็น พลังงาน อย่างหนึ่งอยู่ในจิต มันทำตัวเหมือนจิต จนเจ้าของจิต ส่วนมากหลงว่า มันเป็น จิตตัวเองเลย มันแปลงตัว เป็นจิตเลย ยึดครองจิต แต่จริงๆ มันไม่ใช่จิต พระพุทธเจ้าท่าน เรียกว่า อาคันตุกะ เป็นภาษาไทย เราจะเรียกว่าอะไร อาคันตุกะ เรียกว่า แขก คนไทยเข้าใจกันนะว่า มันเป็น แขก ผู้ที่จรมา จากที่อื่น มาสิงสู่ อยู่ที่ใจเรา แต่มัน ไม่จรไปนะ ท่านพุทธทาสเรียกว่า "แขกจร" แต่มันไม่จร ไปนะ มันมาแล้ว มันไม่ไป มันยึดครองจิตเรา มันอยู่ ประจำเลยนะ มันเป็นแขกประจำ แท้ๆเลย ประจำอย่าง เหนียวแน่นด้วย เอาออกยากมาก แต่พระพุทธเจ้า ก็พาทำ จนเอาออกได้ ประหารตายได้ จนมันไม่เกิดอาการนี้พลังงานนี้ ในจิต จนดับสูญดับสิ้น ดับสนิท ดับไม่เกิดอีกเลย อสังกุปปัง ดับแล้ว ดับเลย ไม่เกิดอีก ตายแล้วตายเลย ได้สนิทแท้เที่ยงถาวร เพราะงั้น ถ้าผู้ใด สามารถ ที่จะดับ ตัวนี้ได้ ก็ถือว่า จิตสะอาดขึ้น เป็นจิตตัวใหม่จิตลักษณะใหม่จึงเรียกว่า "เกิดใหม่" เกิดอย่าง โอปปาติกะ คือผุดเกิดกันอยู่ในจิตเท่านั้น โดยเจ้าของจิตไม่ได้ตาย แต่ก่อนนี้ ถูกพลังงาน พวกนี้ อาการพวกนี้ ลักษณะพวกนี้ครอบครองอยู่ ครอบครอง แล้วมีอำนาจ ด้วยนะ ทำตามใจมันเลย จิตวิญญาณเอง อ่อนแอ สู้มันไม่ได้ สู้เจ้านี่ไม่ได้ เจ้านี่เป็นนาย พอทำให้ตายได้แล้ว ก็เป็นอิสระ เป็นใหม่ เป็น จิตวิญญาณ ลักษณะใหม่ ตั้งแต่เริ่มต้น จิตวิญญาณ ในลักษณะหยาบ ในลักษณะต่ำนั้น คือ ยังมี กิเลสครอบครอง จึงไม่ใช่ จิตวิญญาณ เพราะจิตวิญญาณ หมดอำนาจ ถูกพลังงานกิเลส ควบคุม ใช้อำนาจ แทนหมด พลังงานอย่างนี้ล่ะอยู่ในจิตวิญญาณ พลังงานที่มันเป็นแขกนี่ล่ะ เป็นอาคันตุกะ นี่ล่ะ จนกระทั่ง เราสามารถฆ่าอาคันตุกะนี้ ไปได้เป็นชั้นๆ พระพุทธเจ้าท่านรู้จัก เบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย เพราะฉะนั้น ไอ้ตัวโจรร้าย ที่ร้ายจัด เรียกว่า พวกอบาย พวก สัตว์อบายพวกนี้ คุณก็ปราบ ให้ตายซะก่อน เมื่อสัตว์ ในระดับอบาย ตายก็พ้นภพที่เป็นอบาย เป็น จิตวิญญาณใหม่ ที่ภพภูมิสูงขึ้น เกิดใหม่ อยู่ในภูมิ ใหม่ขึ้น พวกนั้นตายสนิท เห็น "ความตาย" รู้จัก ความตายของกิเลส ซึ่งมันหมด พลังงาน ในจิตเราแล้ว มันไม่มี ฤทธิ์แรง ไม่มีอำนาจ ไม่มีบทบาท ใดๆ อีกแล้วในจิต รู้จักความดับ พวกนี้ ไม่เกิดอีกได้ ก็เกิดเป็นชั้นๆ ไปเรื่อยๆ ดับเป็นชั้นๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ จากอบายภูมิ จากภูมิอื่นๆอีก ภูมิที่เป็นกาม หรือกามภูมิ ภูมิแห่งลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข โลกธรรม หรือว่าโลกียารมณ์ ในระดับไหน ระดับไหน ก็ค่อยๆ รู้ภูมิขึ้นไป เลื่อนชั้นขึ้นไป ตามภูมิ เป็นลำดับๆ

เพราะงั้นสุขอันหลังเป็นสุขโลกุตระเนี่ย เริ่มต้นตั้งแต่โสดาบันนี่ดับอบายภูมิหรือดับสัตว์อบาย ตายหมดแล้ว พลังงาน ที่มันเป็นสัตว์อบายตายไปแล้ว พลังงานจิตวิญญาณ ที่เป็นพลังงาน สะอาดขึ้นเนี่ย เป็นโลกุตระ เนี่ย ก็จะมีสุขอันสงบเกิดใหม่ อธิบายความด้วยคำว่า "เกิด" เนี่ย แล้วก็ หลงว่าเป็น "สุข" เนี่ย มีภาษาเรียกว่า "สุข" อยู่ ๓ ตัว ที่เป็นลักษณะควรเข้าใจให้ชัดๆ จะได้ไม่สับสน
๑. สุขอย่างสมมุติเทพ
๒. สุขอย่างอุบัติเทพ
๓. สุขอย่างวิสุทธิเทพ

เทวดานี่คือ สัตว์ที่มีความสุข มีสวรรค์ เทวดานี่คือสัตว์ที่เสพสุข สัตว์เมืองสวรรค์ เพราะงั้น สวรรค์ อย่าง สมมุติเทพ ก็คือ โลกียะธรรมดา ผู้ได้สมใจ ตามที่ตนอยากได้ (ตัณหา) หรือ ตามที่ตน ยึดติดอยู่ (อุปาทาน) ก็"สุข" นี่คือ "สุขโลกีย์" อย่างที่อธิบายไปแล้ว ทางโลกีย์ ก็จะรู้ แค่นั้น แม้จะเป็น กัลยาณธรรม กัลยาณชน จะสุขเพราะได้ทำคุณงามความดีสมใจ หรือ ได้สงบ ด้วยวิธีโลกีย์ใดๆ ก็ตาม "สุข" ได้ก็แค่นั้น เรียกว่า "สุขอย่างสมมุติเทพ" ยังไม่มีการ ดับเหตุ ยังไม่รู้ชาติสัมภวะ หรือ ชาติปภวะ ยังไม่รู้ ต้นเหตุแห่งการเกิด ยังไม่รู้ สมุทัยอาริยสัจ ถ้าจะเรียกชัดๆเป็นภาษาที่รู้กันทั่ว ก็ต้องเรียกว่า สมุทัยอริยสัจ ก็คือตัวของต้นเหตุเกิดเนี่ย ชาติสัมภวะ-ชาติปภวะ ถ้าไม่สามารถรู้ตัวนี้ แล้วก็ลดละ ทำลายกำจัด หรือ ปหานะตัวนี้ จนมันดับสิ้นได้ ก็ไม่มีทางสิ้นสุด แต่เมื่อมาเรียนรู้ จนสามารถดับ สามารถ ลดละจนกระทั่ง กิเลสมันลดละ จางคลาย จิตก็เป็น จิตสะอาดขึ้นๆ เป็นจิตที่ถือได้ว่า เปลี่ยนแปลงใหม่ "เกิดใหม่" เป็นการอุบัติหรืออุปปัตติ เป็น อุปปัตติเทพ เป็นเทพที่เกิดจริง เพราะมี การเปลี่ยนแปลง ที่ต้นเหตุจริง จิตวิญญาณ กำจัดกิเลส ถูกตัวจริง ลดอำนาจลดพลังงาน ของกิเลส ลงจริง อย่างแม่นตรง ถูกต้อง ถูกตัวตน ของกิเลส จึงสะอาดขึ้นๆ จริง ไปตามลำดับ เกิดเป็นเทพ ที่เกิดจริง ก็ไล่ๆระดับขึ้นมา เป็นเทพที่สูงขึ้นๆ เกิดความสงบในจิตใจขึ้นจริง ตามลำดับ แห่งผล ที่ได้จริง รู้จักความหยุดหย่อน ไม่ต้องไปเสพรสโลกีย์ ไม่ต้องไปยินดี ในโลกีย์ แต่มายินดี ในรสของ ธรรมรส ที่เดินทางไปหาวิมุติรส รสที่มันสงบระงับลงมาเรื่อยๆ นี่คือการเกิดเป็น "อุบัติเทพ" สูงขึ้นๆ ตามความสะอาดขึ้นๆ เพราะกิเลส ลดลงๆ จึงเป็น "ความสุขที่สงบเพราะกิเลส ลดลงๆ จริง" นี่คือ "สุขอย่างอุบัติเทพ"

สุดท้าย "วิสุทธิเทพ" คือจิตสงบบริสุทธิ์ จิตวิสุทธิ จิตสะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสเกลี้ยงสะอาด บริบูรณ์ กิเลสาสวะ หมดสิ้น ก็สงบสนิท เป็นความสุข อันสงบจริงๆ สงบปราศจาก อาการ สุขโลกีย์ - ทุกข์โลกีย์ เป็น อทุกขมสุข เป็นอุเบกขาเลย ซึ่ง"อุเบกขา"ที่วิเศษนี้ ไม่ใช่สุขสงบ แบบอยู่นิ่งๆ อยู่เงียบ ไม่เอาด้วย อยู่เฉยๆ ไม่มีอะไรรบกวน ไม่ใช่อย่างนั้นเลย สุขสงบ แบบโลกุตระนี้ ในจิตสงบจาก กิเลส ต่างหาก ซึ่งไม่ใช่จิตอยู่นิ่งๆ จิตอยู่เฉยๆ จิตจืดๆชืดๆ ไม่ใช่เลย ตรงกันข้ามทีเดียว กลับเป็นจิต เบิกบาน ร่าเริง จิตแข็งแรงมีพลังทำงาน จิตอิสระ จากกิเลส จึงมีบทบาทได้ยิ่งๆมากๆขึ้น ไม่ถูก อำนาจชั่ว ของกิเลส มาคุมแล้ว จึงไม่ใช่ จิตที่อยู่นิ่งๆ แต่เป็นจิตยิ่งแอ็คทีฟ ยิ่งมีพลังงานสูง ในการทำดี ได้ยิ่งๆขึ้น และมีบทบาท ลีลา ยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ แต่สุขเพราะ ไม่มีกิเลสแล้ว สงบจากกิเลสนั้นๆ แล้ว เพราะงั้น ความสุข อย่างโลกุตระ จึงเป็นความสุขของ นักวิทยาศาสตร์ ทางจิต ที่สามารถพิสูจน์ ความจริง อันนี้ได้ อย่างรู้แจ้ง เห็นจริง อย่างมีของจริงสัมผัส มีความรู้ของจริง เป็นเทพที่มีความสุข อย่างแท้ๆ จริงๆ เมื่อจิตสะอาดบริสุทธิ์สัมบูรณ์ จึงเป็นสุขที่วิเศษ เรียกว่า "สุขอย่างวิสุทธิเทพ"

เมื่อกิเลสาสวะสิ้น จิตสะอาดสัมบูรณ์ ไม่มีกิเลสเกิดอีกแล้วนี้ ก็คือ"วิสุทธิเทพ" เป็นเทพผู้ วิสุทธิ หรือ ผู้สะอาด บริสุทธิ์ ผู้มีอรหัตตผล นั่นเอง

ทีมงาน : ทีนี้ดิฉันอยากจะทราบว่ามีหลักการอะไรคะที่จะทำให้จิตวิญญาณสูงขึ้น หลักการค่ะ
พ่อท่าน : หลักการก็รู้อยู่แล้วไง อาตมาอธิบายมามากแล้ว ถ้าคุณเข้าใจลักษณะของ อาการกิเลส กิเลส ชั้นต่ำ อยู่กับโลกต่ำๆ ด้วยญาณของตน ยังมีสุขทุกข์ แบบโลกีย์ หรือ ปฏิบัติแล้วเกิดสุขทุกข์ แบบโลกุตระ ซึ่งโลกุตระมันก็เป็นธาตุจิตวิญญาณ จิตเจตสิก นั่นแหละ ทีนี้โลกียะนี่แหละ จิตมัน ไปหลง ยินดีในหยาบ ซึ่งที่จริงในสามัญสำนึกของ คนในโลก เขาก็รู้ว่าไอ้นี่มันต่ำมันหยาบ อบายมุข อบายภูมินี่ มันต่ำ คนสามัญ ทั่วไป ต่างก็พอรู้ๆกัน ในระดับอบาย ในระดับหยาบจัดๆจ้านๆ พวกนี้ มันต่ำ มันหยาบ ก็รู้อยู่ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น คนจึงสามารถที่จะรู้ สิ่งเหล่านั้นได้ว่า เป็นขั้นต่ำ และ ถ้ามันไม่หยาบ เท่านั้น แล้วสูงขึ้น ไปอีกระดับหนึ่ง ก็เป็นขั้นกลาง และสิ่งที่สูงยิ่งๆ ขึ้นกว่า ขั้นกลาง ไปเป็นขั้นสูง ขั้นสูงสุดอะไรเนี่ย เป็นระดับๆ

ทีนี้ในความหมายของโลก โลกวิทูเนี่ย ก็อย่างที่อาตมาพยายามที่จะแบ่ง ชื่อ "โลก" ไว้ คือ โลกอบาย โลกกามารมณ์ โลกธรรม โลกอัตตา ซึ่งเป็นนามธรรม มากๆเลย ถ้าเข้าใจ สภาพของโลก ที่เกี่ยวกับ กามคุณ ๕ เป็นทาสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ว่าเป็นอย่างไร เป็นโลกที่ยังติดในโลกธรรม ว่าเป็น อย่างไร โดยเฉพาะ ทุกโลก มันก็มีส่วนเนื่องๆ เกี่ยวๆ กันอยู่อย่างซับซ้อน กันไปทั้งนั้น ในเรื่องของ สิ่งที่ซ้อนอยู่ ในลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข คือ ซ้อนอยู่ในโลกธรรม ที่มันมีลักษณะยังต่ำ ยังหยาบ ในระดับ อบายก็มี กามคุณ ๕ ก็มี อัตตาก็มี ที่ซ้อนอยู่ในลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ที่เป็นโลกธรรม หรือ ซ้อนอยู่ ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซ้อนอยู่ในอัตตาตัวตน ซึ่งถ้าหยาบ ก็นับว่าเป็นอบายได้ อยู่ทั้งสิ้น สูงเป็นขั้นกลาง ก็ได้ และสูงขึ้นขั้นสูงก็ได้ ซึ่งมีส่วนที่จัดอยู่ ในความหมาย ของโลกต่างๆ ดังกล่าว คือ โลกอบาย โลกกามารมณ์ โลกธรรม โลกอัตตา ดังนี้เป็นต้น

เรารู้แล้วว่าอันนี้มันหยาบมาก ถ้ากามหรือกามารมณ์หยาบ มันก็จัดอยู่ในอบาย เหมือนกัน สูงขึ้น ในระดับ สกิทาคามี ก็ยังมีกามอยู่ แต่กามขั้นกลาง ก็ต้องไม่หยาบ เท่าขั้นอบาย เป็นต้น

โลกที่ติดในลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขที่หยาบจัดจ้านหน้าด้าน มันก็อยู่ในอบาย เหมือนกัน โลกธรรม ขั้นกลาง ก็ต้องไม่หยาบ เท่าขั้นอบาย ซึ่งรู้กันได้ โดยระดับ หยาบ-กลาง-ละเอียด

โลกที่ติดยึดอยู่ในการโกรธ การโลภ ก็ตาม โลภะ ราคะ โทสะ รุนแรง หยาบ มันก็อยู่ในอบาย เหมือนกัน ถ้าลด กิเลสไปได้ขนาดหนึ่ง ก็เป็นขั้นกลาง และเหลือน้อย ก็เป็นขั้นปลาย มีระดับ เช่นกัน

หลงในสรรเสริญเยินยอจนน่าเกลียด แล้วก็ไม่ชอบใจในเรื่องของนินทา กล่าวติเตียนว่าร้าย รุนแรง อะไร หยาบๆ อยู่ ไม่มีบันยะบันยัง อดทนก็ไม่เก่ง อะไรอย่างนี้ มันก็คือ อบายเหมือนกัน

เพราะฉะนั้น ในระดับสูงขึ้นมาเราก็รู้ได้ว่า อาการของจิต อารมณ์ของจิตที่มันจะผนวกกันกับ ไอ้เจ้า พวกโลภ โกรธ หลง พวกนี้ แล้วก็เกี่ยวข้องกับ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขเนี่ย ก็แชร์กันไป เป็นระดับๆ แบ่งดีกรี แบ่งน้ำหนักไปเรื่อยๆๆๆ เพราะในพระสกิทาคามี ก็จะเรียนรู้ ในความหยาบ กลาง ละเอียดนี้ อยู่เยอะ เราตัดกรอบตัดเขตตัดเคิร์ฟของอบาย เรื่องอบายนี้ ขอละไว้ ในฐานที่เข้าใจ เป็นที่รู้กัน ในสามัญว่า อันนี้เป็น โลกหยาบๆ เราตัดขาดได้ เพราะฉะนั้น ในเรื่องของระดับ ของ จิตวิญญาณ ที่ไม่เป็นอบาย ก็เป็นโลกสามัญ โลกียะ สามัญ ที่เขายังติด ในกามารมณ์ ติดใน โลกธรรม ติดในอัตตา อะไรพวกนี้ อยู่ในระดับ ที่มันไม่หยาบนัก ก็ตาม คุณก็ต้องไล่ดีกรี มันขึ้นไป เลยว่า มันจะสูงขึ้นไป สกิทาคามี -ก็ลดกามลดปฏิฆะ ไปเรื่อยๆ จนกว่า คุณจะหมด กามราคะ สังโยชน์ ปฏิฆะสังโยชน์ ในสิ่งเหล่านี้ ไม่ชอบไม่ชัง ไม่ผลักไม่ดูด ในเรื่องของลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ที่เป็นกาม เป็นอัตตา กามสุข อัตตทัตถสุขต่างๆ เมื่อเราสามารถ ที่จะไล่ระดับ รู้ระดับหยาบ กลาง ละเอียด เพราะฉะนั้น คุณจะต้องรู้ ความต่างของอาการทางจิต ลีลาของโลภ ลีลาของราคะ ต่างจากลีลาของโทสะ อย่างไร เราก็ต้องมีลิงคะ มีความรู้ ในความแตกต่าง ฐานะของมัน หรือแม้แต่ มันต่างกัน ในดีกรีของมัน ต่างกัน ในความมาก ความน้อย ในความเข้มข้น ความเจือจาง ในความหนัก ความเบา อะไรพวกนี้ มันก็มีลักษณะลิงคะ คือ ลักษณะความต่าง เหมือน วัยเด็ก วัยกลางคน วัยแก่ วัยอะไรแล้วแต่ มันก็คล้ายๆกัน ที่มีความต่าง ในสัดส่วน พวกนั้น เพราะฉะนั้น ในโลกของ โลกกามารมณ์ โลกของโลกธรรมก็เหมือนกัน มันก็จะมี สัดส่วน ความเข้มข้น กับ ความจางบาง เป็นระดับๆไป เราสามารถที่จะลดความเข้มข้น ของโลกทั้งหลายแหล่ พวกนี้ ลงได้ จนกระทั่ง หมดสังโยชน์ ๕ คุณก็หมดแล้ว โลกโลกียะ หยาบ อบายนี่หมดไป ตั้งแต่เราเป็น โสดาบัน สกิทาก็ลดให้หมด โลกของ กามารมณ์ และปฏิฆะ ในโลกของโลกธรรม เป็นผู้ที่ไม่มี กามารมณ์ ไม่มีติดยึด ในลาภสักการะ ลาภซึ่งเป็น ทรัพย์ศฤงคาร บ้านช่อง เรือนชาน ไม่ติดยึดแล้ว เป็น อนาคาริกชน เป็นคนที่ชั้นของโลก ขั้นกลางพวกนี้ ก็หมดไป เป็นระดับ เหลือแต่นามธรรม ที่ยัง หลงในดี หลงในอุปกิเลส หลงในสังโยชน์สูง รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะต่างๆ ซึ่งเป็นอวิชชา อยู่ที่จะต้อง ศึกษา แล้วก็ล้างมันให้หมด มันก็เป็นชั้นๆไปอย่างนี้ ภาษาเหล่านี้ เป็นภาษา ที่สื่อบอก สภาวะ ที่ผู้รู้ก็จะรู้ไปตามลำดับความจริง ถ้าคุณไม่สามารถ ที่จะลดละ ด้วยความจริง เข้าใจ ความหมายเฉยๆ เราก็คะเนเอาคำนึงเอา จินตนาการเอา ตามความหมาย ไปเรื่อยๆ แต่ถ้าผู้ที่ศึกษา ปฏิบัติแล้วจริง ก็จะรู้ความจริงของสัจธรรม ความจริง ของ ปาตุภาวะ ก็ภาวะที่ปรากฏ กับญาณ ที่เราไปสัมผัสรู้ มันก็จะรู้ของจริง คุณทำได้จริง มันก็เป็น ของจริง ที่คุณจะรู้ เหมือนเดินขึ้นบันได ไปเรื่อยๆ คุณก็จะสัมผัส กับของจริง ไปตามลำดับ แต่คุณยังขึ้นบันได ไปไม่ถึงตรงนั้น คุณก็ได้แต่คิด เออ.... บนยอดนั้น คงมีอย่างนั้นๆ ตามความหมายที่รู้ไป มันก็จะรู้ความต่ำ ความสูง ระดับของโลก ต่างๆ ด้วยปริยัติ - ปฏิบัติ - ปฏิเวธ

ทีมงาน : หมายความว่าต้องทำก่อน
พ่อท่าน : ใช่ ต้องปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริงเอง

ทีมงาน : เริ่มปฏิบัติยังไงคะ
พ่อท่าน : อ้าว....ก็มันเป็นชั้นๆ ตั้งแต่ชั้นต่ำชั้นกลางชั้นสูงไปตามลำดับ นั่นไง ก็ไล่ไปเรื่อยๆ แม้แต่ ดีกรีของ ความต่ำของโลกธรรมโลกียารมณ์ กามารมณ์ต่างๆ หรือโลกธรรมโลกียารมณ์ ในโลกธรรม ระดับ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขโลกีย์ต่างๆ ก็ต้องมีอาการของจิต ที่ยังติดยึด ที่ยังหลงใหล ได้ปลื้ม ที่ยังโลภ ยังโกรธ ยังหลง ยังผลัก ยังดูดอยู่กับมัน เยอะแยะ มันจะหนา เท่าไหร่ มันจะบางเท่าไหร่ มันก็ต้อง มีปัญญา สามารถวัด สามารถที่จะกำหนดรู้ว่า ไอ้นี่ มันจางแล้ว มันมีเหลือเท่านี้ มันดีแล้ว ดีกว่า แต่ก่อนนี้ มันหยาบมันหนากว่านี้ คุณก็จะต้อง มีธาตุรู้ ขั้นญาณที่จะรู้ระดับ แห่งความเป็น อาริยะ ของตนๆ ถ้าเราไม่รู้ระดับ ความเป็นอาริยะ ของตน เราก็หลงสิ หลงตัว ไม่รู้แจ้งเห็นจริง เป็นคนหลง ตัวเองแค่ได้โลกียธรรม นึกว่าตัวเอง เป็นพระอรหันต์ อะไรอย่างนี้ หลงเยอะแยะเลย ถ้าเผื่อว่า คนไม่รู้จริง แต่ถ้าคนที่เรียนรู้ เป็นระดับ เป็นสภาวะ ที่จริง อ่านพวกนี้ด้วยญาณ มีญาณ ตัวเอง ต้องมีญาณ มีวิชชา ของตัวเอง ที่จะเข้าไปหยั่งรู้ ว่าเออ....มันมีอาการอยู่เท่านี้จริงๆนะ เมื่อนั่น เมื่อนี่ ก็พิสูจน์ ยืนยันได้ กระทบสัมผัสต่อสิ่งต่างๆ ที่เป็นเหตุ ที่มันจะพา ให้เกิด กิเลส ต่างๆนานา กิเลสกาม กิเลสโลกธรรม กิเลสอัตตามานะ อะไรก็แล้วแต่ ถ้าเรา สามารถที่จะมีญาณอ่าน มันก็จะ อ่านรู้ ความจริง เปรียบเทียบไป แล้วๆเล่าๆ ที่มันมีของจริงปรากฏ ให้แก่เรา ได้ศึกษา ความจริง เป็นนักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ว่าเดาเอา ไม่ใช่ว่าคาดคะเนเอา ไม่ใช่ประมาณเอา ประเมินเอา พวกสาย นั่งหลับตา ส่วนมากนี่เดาๆเอา ประเมินเอา เดาๆ มันไม่ใช่ อย่างนั้นมันไม่ถูกต้อง ไม่แม่นแท้ ไม่ใช่ รู้แจ้งเห็นจริง ศาสนาพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ประเมินเดาๆเอา ไม่ใช่ฐานะ แห่งการด้นเดา อตักกาวจรา คาดคะเน ใช้เหตุใช้ผล ประเมินประมาณเอา ไม่ใช่แบบนั้น ต้องรู้จัก รู้แจ้งเห็นจริง ของจริง สัดส่วน สภาวะ ที่จริง อย่างละเอียดชัดเจนทุกอย่าง ทุกระดับ

ทีมงาน : พ่อท่านคะ สมมุติว่าจิตวิญญาณที่ไม่อยู่ในตัวคนนี่ มันจะเป็นธาตุรู้ได้ไหมคะ
พ่อท่าน : มันรู้อยู่ที่ตัวของตัวเอง ปัจจัตตัง ตัวเองเดียวๆ เอกจรัง ไม่มีใครร่วมรู้ด้วย

ทีมงาน : แม้จะออกจากร่างแล้วใช่ไหมคะ
พ่อท่าน : ใช่ มันต้องรู้สิ มันทุกข์มันสุขไง มันต้องรู้สิ ถ้าไม่รู้มันก็ไม่ใช่ธาตุวิญญาณ วิญญาณ คือ ธาตุรู้ ต้องขั้น ดับเป็นปรินิพพาน ตายหมด สันตติโน่นแหละ จึงจะไม่มีวิญญาณ ออกจากร่าง

ทีมงาน : แต่มันก็ไม่สามารถจะเปลี่ยนพฤติกรรมอะไรได้ เพราะมันไม่มีตัวที่จะรองรับ
พ่อท่าน : ใช่ นอกจากวิบากของตัวเองที่จะไปจะเป็น จนกระทั่งหมดวิบาก ไม่มีอะไรสามารถ เปลี่ยนแปลง วิญญาณ หรือสิ่งที่ออกจากร่างกาย หลังตายนี้ ไปได้เลย และจิตวิญญาณของ ตัวเอง ที่ออกจากร่าง ไปแล้ว ตัวเองก็ไม่สามารถจะปฏิบัติจะประพฤติ ให้เปลี่ยนแปลง วิญญาณ ตนเอง ได้อีกด้วย นอกจากธรรมชาติ แห่งวิบากเท่านั้น ที่จะเป็นไปตามกาละ ใช้หนี้บาป-เสวยบุญไป จนกว่า จะหมดกาลวิบาก สมมุติว่า จะต้อง ใช้หนี้บาป หนักเท่านี้-นานเท่านั้น คุณก็จะต้องใช้จนครบ ไม่มี การหย่อน ไม่มีการลด ไม่มีการไปอ้อนวอน ร้องขอ ลดหรือเพิ่มจากใครๆได้ แม้แต่พระเจ้า ก็ไม่สามารถ ที่จะนิรโทษ อะไรใดๆ หรือแม้หมด สวรรค์แล้ว จะต่ออายุสวรรค์อีกก็ไม่มี ไม่มีใคร หรือ อำนาจใด ต่ออายุได้ ไม่มีทั้งนิรโทษ ไม่มีทั้งจะต่ออายุสวรรค์อีก

ทีมงาน : พ่อท่านคะ การที่จะพัฒนาสุขภาวะจิตวิญญาณ ที่จะทำให้บรรลุธรรมเป็นขั้นๆ ที่พ่อท่าน บอกมา มันเกี่ยวกับ สุขภาพกายไหมคะ
พ่อท่าน : อ๋อ....ช่วยสิ สุขภาพกายช่วย ถ้าสุขภาพกายไม่ดี สุขภาพกายมันไม่แข็งแรง อย่างสมมุติว่า คนเฒ่า คนแก่ โอ....ปฏิบัติธรรมยาก อย่างนี้เป็นต้น มันชัดๆอยู่แล้ว คนป่วย อย่างนี้ ทำอะไรได้ยาก อ่อนแอ ทางจิตก็อ่อนแอตามไปอีกเยอะ แต่สุขภาวะจิตนี่แหละ สำคัญกว่า ถ้าสุขภาวะจิตดี มันช่วย สุขภาพกายด้วย สุขภาพกายที่สมบูรณ์ แข็งแรงดีแน่ แต่ถ้ามีสัมมาทิฏฐิที่ดี ว่า เราทำใจในใจเป็น ทำใจในใจ ของเรา อย่าไปท้อแท้ อย่าไปหดหู่ อย่าไปเศร้า อย่าไปเจ็บใจ-น้อยใจ-เสียใจ อย่าทำ ใจทุกข์ ต้องสร้างญาณ ให้เป็นผู้รู้จัก ภาวะต่างๆ เป็นพวกมีจิตที่เข้าใจ ลักษณะที่ เขาเรียกว่า ปฏิบัติอย่าง สุขาปฏิปทา อย่าทำใจ ให้ปฏิบัติไปทุกข์ไปด้วย คืออย่าปฏิบัติชนิดทำใจให้เป็น ทุกขาปฏิปทา ทำใจ ให้สุข อยู่เสมอ ส่วนจะ ขิปปาภิญญา หรือ ทันธาภิญญา ก็แล้วแต่บุคคล ไม่ปฏิบัติอย่าง ทุกขาปฏิปทา ทำให้เป็น เพราะฉะนั้น ทำใจของเราให้มันกำไรก่อน เรียกว่า สุขาปฏิปทา ปฏิบัติอย่าง เป็นสุข งั้นถ้าผู้ใด ทำใจในใจเป็น ก็จะปฏิบัติ อย่างจิตที่สุข แล้วก็มี กำลังดี ถ้าทุกขาปฏิปทา ไปแล้ว มันก็ทุกข์ นั่นแหละ มันก็ไม่ดีแน่ มันไม่ฉลาด ถ้าทำใจ ให้สุขาปฏิปทา แล้วมันก็เป็นกำไร แล้วใน เบื้องต้น ก็ไม่ทุกข์ไง ดังนั้น แม้เราจะป่วย ก็ทำใจ เบิกบาน เจ็บก็อย่าหดหู่ เจออุปสรรค ก็อย่าห่อเหี่ยว ทำใจเต็มๆ เบิกบานๆ สุขไว้

ทีมงาน : แต่เท่าที่ดูเนี่ย คนป่วยถ้าสมมุติว่าคนที่จิตวิญญาณไม่ดี คือจิตวิญญาณอ่อนแอ ขี้อ้อนอะไร ก็ตามเนี่ย เขาก็จะไม่หายป่วย ใช่ไหมคะ แล้วก็ปฏิบัติธรรมไม่ได้ แต่คนป่วย ที่เขาจิตวิญญาณดีเนี่ย เขาก็จะต่อสู้ได้
พ่อท่าน : ใช่ ช่วยได้มาก ก็ถูก อันนั้นก็ถูก

ทีมงาน : อย่างเวลาเราเชิญใครๆมาพูดเนี่ยนะคะ รู้สึกว่าจะเห็นจิตวิญญาณเป็นหลัก
พ่อท่าน : อันนั้นก็ถูก จิตวิญญาณนี่เป็นหลักอยู่แล้ว แต่ทีนี้คุณถามถึงกาย จะเป็นเหตุปัจจัย ด้วยไหม....เป็น แม้แต่ คนที่จิตวิญญาณดีนี่แหละ มันก็ไม่มี กำลังพอ กำลังมันเนื่องกัน มันเกี่ยวกัน

ทีมงาน : เช่น ทำให้หิว ทำให้เหนื่อยอะไรอย่างนี้ค่ะ
พ่อท่าน : ใช่ ทำให้หมดแรงก็ได้

ทีมงาน : คือเวลาคนที่ตอบ ที่เราสัมภาษณ์มาเนี่ยก็จะมี ๒ ฝ่าย คือส่วนใหญ่ก็จะบอกว่า จิตวิญญาณ เป็นหลัก น่ะค่ะ แต่บางคนพอพูดไปพูดมา ก็บอกว่า ถ้าสุขภาพไม่ดีเนี่ย ก็ปฏิบัติธรรม ยาก บางคน ก็บอกว่า ถ้าจิตวิญญาณไม่ดีเนี่ย ร่างกายก็ไม่ดีไปด้วยค่ะ อะไรมันจะเป็นน้ำหนัก กว่ากันคะ
พ่อท่าน : อ้าว....จิตวิญญาณเป็นประธานถูกแล้ว กายนี่มันเป็นอุปกรณ์ของจิตวิญญาณนะ ก็แน่นอน ที่สุด มันก็ต้อง จิตวิญญาณนำกาย คุณจะเอี้ยวแขน ไกวขา อ้าปาก เคี้ยวกลืน หรือเดิน ยืน นั่ง นอน ทุกอิริยาบถ ก็จิตวิญญาณสั่งทั้งสิ้น แม้จะดูเหมือนมันเป็นไปเอง อัตโนมัติ แต่จริงๆนั้น จิตวิญญาณ เป็นตัวสั่งการ ทั้งสิ้น ดูเหมือนจิตคุณจะไม่ได้สั่งมัน แต่แท้ๆ นั้น จิตสั่งทั้งนั้น เพราะจิตใต้สำนึก ของคุณ ก็สั่งคุณทำงาน คุณไม่รู้ตัวมัน เท่านั้นเอง ยิ่งจิตไร้สำนึก มันก็ยังทำงาน คุณก็ยิ่ง ไม่รู้ตัวเลย กายก็ช่วย จิตวิญญาณ ให้ดีขึ้นได้ด้วย ไม่ใช่แต่จิตวิญญาณ ช่วยกายเท่านั้น

ทีมงาน : พูดอีกแง่หนึ่งก็คือว่า เขาบอกว่ากายเป็นปัจจัยให้การปฏิบัติพัฒนาจิตวิญญาณได้ ใช่ไหมคะ
พ่อท่าน : ช่วยแน่นอน เกื้อกูลกันแน่นอน

ทีมงาน : แล้วจิตวิญญาณก็เป็นเหตุปัจจัยให้กายดีด้วยได้ไหมคะ
พ่อท่าน : อ๋อ....แน่นอนอยู่แล้ว อันนั้นชัดเจนที่สุดอยู่แล้ว เพราะว่าจิตวิญญาณเป็นประธาน สิ่งทั้งปวง แน่นอน อยู่แล้ว

ทีมงาน : ที่ไปสัมภาษณ์มา บางคนเขาจะบอกว่ากายกับจิตมันจะสัมพันธ์กันใช่ไหมคะ แต่ถ้า เขาสามารถ แยกจิตได้ ถ้ากายเจ็บป่วย แต่จิตเข้มแข็งเนี่ย สามารถเอาจิต เข้าไปคุมกาย ให้มันดีขึ้น ได้ใช่ไหมคะ
พ่อท่าน : มันก็เป็นได้พลังงานจิตมันพิเศษ มันก็สามารถทำได้ และไม่ได้หมายความว่า กายมันไป ช่วยเหลือจิต อันนี้ มันจิตช่วยเหลือกาย มันไม่ใช่กาย ไปช่วยเหลือจิต

ทีมงาน : แล้วจิตก็สำคัญ เป็นหลัก
พ่อท่าน : อ๋อ....จิตเป็นประธานอยู่แล้วไง จิตยิ่งใหญ่อยู่แล้ว แต่จะไปทำลายกายทำไมล่ะ ก็ถ้าเผื่อ ให้มัน ดีได้ จะต้องให้มันเสื่อมทำไมล่ะ เพราะว่า จิตนี่มันดี กายช่างหัวมันเถอะ แล้วก็ปล่อย ให้มัน อา....เพๆพังๆ โกโลโกโลก ไปอย่างนั้น มันจะโง่อะไรกัน ขนาดนั้นน่ะ กายมันเป็นเครื่องใช้ไง ถ้าเรามี เครื่องใช้ที่ดี ทำไม เราจะต้องไปให้เครื่องใช้มันบุบๆ บู้ๆ บี้ๆ ไปกระตุกกระตักอะไรต่ออะไร ทำไมล่ะ ก็ให้มัน เรียบร้อย ให้มันแข็งแรง

ทีมงาน : แสดงว่าชาวอโศกแต่ก่อนเนี่ยปฏิบัติไม่ครบถ้วนหรือปฏิบัติผิดหรือเปล่าคะ
พ่อท่าน : ผิดยังไงล่ะ

ทีมงาน : เพราะแต่ก่อนเนี่ย ก่อนยุคหมอวิชัยเนี่ย พวกเราจะไม่พูดเรื่องกายเลย เราจะปฏิบัติ ธรรมะ อย่างเดียว จะอดอาหาร จะอดนอน จะไม่ออกกำลังกายเลย
พ่อท่าน : อ๋อ....ใช่ ตอนนั้นไม่มีหรอก ออกกำลังกายไม่มี

ทีมงาน : สมัยก่อนไม่มีนะคะ ไม่มีพูดเรื่องสุขภาพเลย สุขภาพกายค่ะ
พ่อท่าน : เอ้อ

ทีมงาน : แล้วมันผิดใช่ไหมคะ
พ่อท่าน : มันยังไม่ครบ มันยังไม่ผิดทีเดียว แต่คุณจะต้องมุ่งทางจิตก่อนนะ จิตเก่งก่อน เพราะจิตนี่ เป็นตัวนำ ถ้าจิตของคุณ ไม่รู้ไม่มีกำลังก่อน คุณมาช่วยแต่กายก่อน จิตของคุณ ก็ช้า

ทีมงาน : แล้วทำไมพวกเราถึงป่วยกันเยอะล่ะคะ
พ่อท่าน : ป่วยก็เพราะว่ามันยังไม่เก่งตรงจิต คนเราเนี่ยปฏิบัติธรรมแล้วนี่นะ ถึงอย่างไรๆ ก็แล้วแต่ ถ้าเผื่อว่า ไม่มีความรู้ในเรื่องด้านจิตเนี่ย ก็ป่วยทั้งนั้นแหละ ถ้าไม่มีความรู้อย่างดี อย่างครบ จิตมัน แรงไป มันก็ป่วย จิตมันน้อยไปมันก็ป่วย มันไม่ใช่ของง่ายๆ

ทีมงาน : อาจจะเป็นเพราะตอนนั้นพวกเราเพิ่งเริ่มปฏิบัติใหม่หรือเปล่าคะ ดิฉันไม่มี ความรู้สึกว่า พวกเราป่วย เยอะเหมือน ทุกวันนี้เลยนะคะ
พ่อท่าน : ไม่ๆๆ

ทีมงาน : ทุกวันนี้รู้สึกว่าเราห่วงสุขภาพมาก เราป่วยกันเยอะเลยค่ะ
พ่อท่าน : ไม่ใช่หรอก จริงๆแล้วพวกเราไม่ได้ป่วยกันเยอะหรอก รู้ได้ยังไงว่าพวกเราป่วยเยอะ

ทีมงาน : ก็เขาบอกเองค่ะ
พ่อท่าน : เอ้....ป่วยอะไรกัน ไม่ได้ป่วยเป่ยอะไรมากมายหรอก จริงๆพวกเราไม่ได้เป็น คนป่วย อะไร มากมาย หรอก จริงๆน่ะ แต่ก็พูดกันไปว่าป่วยอะไร้

ทีมงาน : อ๋อ....ที่จริงไม่ได้ป่วย แค่เหนื่อยใช่ไหมคะ
พ่อท่าน : เอ้อ....ไม่ได้ป่วยเป่ยอะไรมากมายหรอก มันเป็นโรคจิตอีกอย่างหนึ่งแค่นั้นเอง

ทีมงาน : รู้อาการมากไปหรือเปล่า
พ่อท่าน : เอ้อ....มันเป็นโรคจิตอีกอย่างหนึ่งเท่านั้นเอง มันจิตขี้อ้อน มันจิตขี้เหลี่ยมคู มันจิตที่ อะไรล่ะ จิตมีเหลี่ยม จิตขี้อ้อนจิตอะไรพวกนี้ มันไม่ได้ป่วยเป่ยอะไรหรอก อาตมาเคยพูดเคยอธิบาย พวกเรานี่ อยู่อย่างนี้ อยู่ในชาวอโศกเนี่ย ป่วย....ว่างั้นเถอะ เป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ แต่พอออกไปจาก ชาวอโศก แล้ว ไม่เห็นจะต้องไปรักษาอะไร ไม่ป่วย หายป่วย เห็นไหมเล่า เยอะไป

ทีมงาน : เป็นเพราะอะไรคะ
พ่อท่าน : ก็จิตมันขี้พ้อ ขี้อ้อน ขี้ต่อรองอะไรก็แล้วแต่ อย่างนั้นน่ะ พอออกไปตรงโน้น ไม่มีใครเขา เอาใจแล้ว เพราะว่า ที่นี่มีมันอำนาจ ต่อรองว่า.... ก็ฉันขยัน ฉันดี ฉันอย่างโน้น อย่างนี้ ไม่อะไร ให้ฉัน ไม่ให้ฉัน ฉันก็ป่วย ก็ทำตัวเองน่ะ เป็นไซโคซีส เป็นนิวโรซีส เป็นโรค ทางจิต

ทีมงาน : พ่อท่านคะ ทีนี้เนื่องจากว่าหลักธรรมที่พ่อท่านเน้นนี่ คือการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ปฏิบัติ ตามมรรคองค์ ๘ ที่ต้องมี อิริยาบถต่างๆ อันนี้เป็นเหตุ หรือเปล่าคะ ที่ทำให้ชาวอโศก มีกลุ่ม เหนียวแน่น มีงาน เพื่อส่วนรวม ส่วนกลาง มีกิจกรรมขึ้นเยอะมาก
พ่อท่าน : ใช่ ถูกต้องที่สุด เพราะปฏิบัติมรรคองค์ ๘ ถูกต้อง มันจึงเกิดสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาสังกัปปะ ก็สอดคล้องกัน ปฏิบัติถูก เพราะว่าเราอ่านนัยะ อ่านอาการ ทางจิตออก อ่าน เจตสิก ต่างๆ ตรรกะ วิตรรกะ สังกัปปะ อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา อะไรพวกนี้ หรือแม้แต่ สังขาร ภายใน วจีสังขาราพวกนี้ เราอ่านออกไปเรื่อยๆ สามารถปรับสังกัปปะ วาจา โดยเฉพาะ กัมมันตะ-อาชีวะ การงาน ต่างๆ อาชีพต่างๆ มันจึง เกิดเป็นไปได้ สอดคล้องกับโลกุตระ สอดคล้องกับ การมี การงาน ที่ทำให้ลด กิเลสยิ่งขึ้น มันไม่เป็นการงานที่เพิ่มกิเลส มีงานร่วมกันทำ เพื่อส่วนรวม ส่วนกลาง โดยแต่ละคน มักน้อย ได้ยิ่งๆขึ้น สันโดษได้แท้จริง ไม่สะสม แต่ละคน ลดตัว ลดตน ลดความหลงใหญ่ หลงมาก สำหรับตัวเอง และสามารถอยู่ ร่วมรวมกันทำงาน แบบไม่ต้องรวย ไม่ต้องมีเงิน ก็อยู่ได้ ถ้าปฏิบัติมรรคองค์ ๘ ไม่สัมมาทิฏฐิ ก็จะไม่มีกลุ่มเหนียวแน่น ไม่มีงาน เพื่อส่วนรวม ส่วนกลาง ไม่มีกิจกรรม ขึ้นเยอะเพิ่มขึ้นๆแน่ ยกตัวอย่าง ง่ายๆ อย่างสายอื่น เขาเนี่ย ที่การงานของเขา ไม่ได้เป็น บุญนิยม การงานของเขา เป็นทุนนิยม จัดจ้าน ยิ่งขึ้นๆๆๆ เขาก็จะปลุกเร้า ให้คนไปหาเงิน ให้ได้ มากขึ้นๆ ให้ขยันๆทำงานโลภแบบทุนนิยม ให้ไปโลภ กอบโกย รวยๆ มาจาก ข้างนอก เสร็จแล้ว ก็มาทำทาน ยิ่งทาน เขาก็ยิ่งปลุกเร้า ให้หลงติด ในทาน ชูทาน เป็นเลิศ คือเขาฉลาด ที่จะครอบงำคน ให้คน ไปเป็นบริวาร ที่จะต้องมาเป็น สมุน หาเงินมา support เขา มาก ๆๆๆๆ ขึ้น เพราะฉะนั้น คนที่ไป ปฏิบัติธรรมนั้น ก็เลย กลายเป็น สั่งสมความโลภใส่ตัว หนักขึ้นๆ โดยไม่รู้ตัว กิเลสหนาหลายชั้น บาปหลายทอด โลภจาก ที่ไปทำบาป เพราะไปกอบโกย ไปแย่งไปชิง ไปเอาเปรียบ แบบ ทุนนิยม หาเงิน มามากๆ จากทางโลก เขามาได้มากๆๆแล้ว การเอาเปรียบมาได้ มากๆ ก็บาป ขั้นที่หนึ่งแล้ว ยังไม่พอยังมาโลภในบุญอีก บุญที่เป็นอัตตาเขาก็ไม่รู้ เป็นอุปทาน เขาก็ไม่รู้ เพราะ ถูกหลอก ว่าเป็น วิมาน เป็นอะไรต่ออะไร เขาก็ปั้นเรื่อง ปั้นราวสารพัด เพื่อปลุกเร้าคน ให้ไปหาเงิน มาให้เขามากๆ โลภในบุญอีก กิเลสโลภก็หนาขึ้นเป็นบาปขั้นที่สอง อย่างนี้เป็นต้น เขาก็เลย กลายเป็น โลภจัด เข้าไปใหญ่เลย ถ้าเผื่อว่าไม่สามารถที่จะเข้าใจมรรคองค์ ๘ ผลของ มรรค องค์ ๘ อย่างชัดเจน เป็นโลกุตระ หรือจริงๆ ไม่มีสัมมาทิฏฐิ มันก็จะไม่เกิดผล เพราะงั้น ที่เราทำมาเนี่ย มันมีสัมมาทิฏฐิ มีมรรค องค์ ๘ และปฏิบัติมรรคองค์ ๘ มาถูกทาง มันถึงเป็น สภาพที่ ยืนยันได้ พิสูจน์ได้ เกิดกลุ่มคน ที่เป็น พุทธบริษัท ๔ มีศีล ไม่มีอบายมุข ไม่มีรูป - รส - กลิ่น - เสียง - สัมผัส ที่หรูหรา อลังการ ลดละ มักน้อย สันโดษ ไม่แย่งลาภ-ยศ-สรรเสริญ -โลกียสุข เป็นกลุ่มบริษัท ๔ ที่แน่นเหนียว มองเห็นได้เลย เป็นกลุ่มคน ที่ลดโลภ โกรธ หลง เห็นได้แล้วก็มีระบบ เกิดระบบ ขึ้นมา

ทีมงาน : พ่อท่านพัฒนาคนก่อน ให้คนพัฒนาจิตวิญญาณก่อน แล้วมันถึงเกิดระบบ
พ่อท่าน : ใช่

ทีมงาน : แต่ทีนี้แล้วระบบนี่มันช่วยพัฒนาคนด้วยไหมคะ
พ่อท่าน : ใช่สิ มันเนื่องกัน มันปฏิสัมพัทธ์กัน มันช่วยเกื้อกูลกันและกัน มันมีผลทั้ง ๒ ด้าน เอื้อกัน และกัน เหมือนกาม กับอัตตาเนี่ยมันเอื้อกัน ถ้ามันยิ่ง เสริมอัตตาก็เสริมกาม เสริมกามก็ยิ่ง เสริมอัตตา เสริมอัตตา ก็ยิ่งเสริมกาม ถ้าลดกามก็ลดอัตตา ลดอัตตามาอีก ก็ลดกาม ลดกามก็ไปลด อัตตาอีก ลดกามได้อีก ก็ลดอัตตาอีกๆ ลดกามได้ก็ลดอัตตาอีกๆ

ทีมงาน : อ้าว....ไม่ใช่ลดกามแล้วไปออกอัตตาหรือคะ
พ่อท่าน : ถ้าลดได้จริงถูกทิศทางถูกสัดส่วน ไม่ออกหรอก แต่ถ้าทำไม่ถูกก็ใช่ เผื่อว่าไม่รู้จัก อัตตา แล้วก็ ไม่รู้จัก ลดอัตตา มันก็ไปกันใหญ่เหมือนกัน อย่างนั้นก็ใช่อยู่เหมือนกัน

ทีมงาน : มันจะเปลี่ยนจากกามออกมาใส่อัตตา
พ่อท่าน : ใช่ มันเปลี่ยนจากกามมาหาอัตตาก็ใช่ ก็ต้องลดอัตตา ลดกามแล้วก็มาลดอัตตา แล้วก็มา ลดกาม ลดกามได้อีก ก็จะไปลดอัตตาสูงขึ้นอีก ที่มันเหลืออีก ก็ลดไปอย่างนี้ ได้เรื่อยๆ

ทีมงาน : พ่อท่านคะ ทีนี้ลูกศิษย์พ่อท่านแท้ๆเลยเนี่ย ปฏิบัติกับพ่อท่านเนี่ย พัฒนา จิตวิญญาณ มาแล้ว ก็มีผล แบบมรรคองค์ ๘ อย่างพวกเรานี่ค่ะ ทำไมยังไปหลงเทวนิยมอยู่
พ่อท่าน : โอ้โฮ...เทวนิยมมันเป็นรากฐานของจิตวิญญาณมนุษย์ในโลกแต่ดึกดำบรรพ์มาเลย

ทีมงาน : แสดงว่าถึงแม้ปฏิบัติถูกนี่ ทิฏฐิอาจจะผิดก็ได้นะคะ ใช่ไหมคะ
พ่อท่าน : มันมีส่วนที่มันไม่ถูก ส่วนที่มันไม่ถูกก็เหลือก็มีอยู่ได้ แต่ส่วนที่มันถูกมันก็ได้ผลไปไง มันก็ได้ผล ไปเรื่อยๆ ตามส่วนที่มันถูก ส่วนที่มันไม่ถูกมันก็เป็นตัวแฝงอยู่ไป มันก็ไม่หลุด อยู่นั่นแหละ ทีนี้ถ้าเผื่อว่า เราได้ที่ถูกไปแล้ว มันก็มาเป็นฐาน ให้ไปเรื่อยๆ เราก็ค่อยรู้ไปเรื่อยๆ และ ค่อยลดไป ตามลำดับๆไง

ทีมงาน : หมายถึงปฏิบัติถูก
พ่อท่าน : อื้อ ไม่ใช่ว่าโอ้โฮ....คุณมิจฉาทิฏฐิ พอพ้นมิจฉาทิฏฐิคุณก็พรวดเป็นอรหัตมรรคเลย ไม่ใช่ มันก็ต้อง ไล่เรียงไปตามลำดับสิ คุณก็ต้อง ได้โสดาปัตติมรรค แล้วก็เออ.. ได้โสดา ปัตติผล ได้ โสดาปัตติผล แล้วก็ได้อรหัตมรรคเลย ไม่ใช่อย่างนั้นหรอก มันก็ต้องได้ไล่เรียงไป ได้โสดาปัตติมรรค แล้วก็ได้ สกิทาคามี มรรค ค่อยๆไล่ไปเป็นลำดับ ได้โสดาปัตติผลแล้ว ก็ได้สกิทาคามีมรรค ได้สกิทาคามีมรรคเสร็จ ก็ได้ สกิทาคามีผล แล้วก็ได้ อนาคามีมรรค แล้วก็ได้ อนาคามีผล แล้วจึงเป็น อรหัตมรรค อรหัตผล มันต้อง มีอย่างนั้น งามด้วยเบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย ไม่ใช่คุณได้ โสดาปัตติมรรค แล้วเสร็จได้อรหัตผล พรวดเลย มันไม่ใช่ อย่างนั้น

ทีมงาน : แสดงว่าเทวนิยมนี่ยังเหลือส่วนมีได้ แม้แต่คนที่เป็นอนาคามีเลยหรือเปล่าคะ
พ่อท่าน : อ๋อ....ใช่ มันจะจางคลายไปเรื่อยๆ บางจางไปเรื่อยๆ

ทีมงาน : มันยังมีอยู่ในโสดาบัน สกิทา อนาคา ก็ยังมีเหลืออยู่เหรอคะ
พ่อท่าน : มันก็ยังมีเหลืออยู่บ้าง นอกจากว่าบางทีบางอย่างคนที่ไม่สามารถรู้ก็เหลือ คนที่ สามารถรู้ มีปฏิภาณ มีปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถรู้ ก็จะลดได้หมด ได้ไว ผู้มี จินตามยปัญญาดีๆ ก็อาจ จะเข้าใจ ความเป็นเทวนิยมได้ดี อาจจะหมดก่อนเป็น สกิทาคามี ก็ได้ เพราะฉะนั้น จะบอกว่า เอ้อ.... นี่ยังมี เทวนิยม อยู่แล้ว ก็ตัดเคิร์ฟ (Curve) เลยว่า นี่ไม่ใช่พุทธ มันก็เป็นไปไม่ได้ทีเดียว เป็นแต่ว่า ส่วนที่ยังเป็น เทวนิยม อยู่นั้นๆ มันก็คือ ไม่ใช่ อเทวนิยม ดังนั้นส่วนนั้นก็ยังไม่ใช่พุทธไง

ทีมงาน : ก็บอกว่าแค่โสดาบันก็ต้องยึดพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์แล้วไงคะ
พ่อท่าน : อ้าว...ก็ยึดพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ แล้วเป็นไงล่ะ

ทีมงาน : ทำไมไปยึดเทวนิยม
พ่อท่าน : ก็เขาก็เป็นบ้างสำหรับคนที่ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ มันเป็นรากฐานนะเทวนิยมนี่ มันเป็น รากฐาน ของ จิตมนุษย์ มาแต่ไหนแต่ไร มันไม่หมด ไปจากโลก มันนิรันดร์ เทวนิยม มันมีอยู่ ในโลก นิรันดร์ ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีมา เป็นช่วง เป็นระยะหนึ่ง เสร็จแล้ว ก็ว่างศาสนาพุทธ

ทีมงาน : เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะมาเป็นพุทธ จะมานับถือที่จริงเขานับถือจริงๆนะคะ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เนี่ย แต่ก็ยังมีส่วนหนึ่งไป....
พ่อท่าน : .....นับถือเทวนิยมอยู่ คุณต้องเข้าใจคำว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่เป็น บัญญัติ ที่เป็นแค่ สมมุติสัจจะ ที่ยังไม่ใช่ตัวพระพุทธแท้-พระธรรมจริง -พระสงฆ์ที่เป็นอรหันต์ เขานับถือ ได้แค่ ภาษา แค่อุปาทาน ตามที่เขาจะเข้าใจได้ มันยังไม่ใช่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่เข้าถึง ปรมัตถธรรม เขานับถือ ได้แค่สมมุติธรรมจริงๆ แล้วเขาก็นำมาผสมผเส ปนเปกันไป จนแยกออก ยากมาก

ทีมงาน : เหมือนที่เขาเอาเทวนิยมมาใส่ในพระไตรปิฎกนี้ใช่ไหมคะ
พ่อท่าน : ใช่ จะเห็นได้ว่าคำแปลในพระไตรปิฎก ที่มีคำแปลเป็นภาษาที่เห็นภาษา ก็เข้าใจ ได้ว่า ส่อถึง ความเป็น เทวนิยมอยู่ เพราะผู้แปล ยังไม่เข้าใจ ความเป็นเทวนิยม -อเทวนิยม สัมบูรณ์

ทีมงาน : พ่อท่านคิดว่าวิถีชีวิตของพวกเรานี่ค่ะ รวมทั้งกฎระเบียบอะไรพวกนี้ เอื้อต่อการ พัฒนา จิตวิญญาณ ยังไง วิถีชีวิตเนี่ยค่ะ แล้วรวมทั้ง กฎระเบียบนี่ ทำไมต้องมีกฎระเบียบ ถ้าสมมุติว่า ศีล หรือว่า การปฏิบัติตามมรรคองค์ ๘ เนี่ยมันช่วยพัฒนาคนอยู่แล้ว หรือวิถีสังคม
พ่อท่าน : อ๋อ.....มันก็ต้องมีปลีกย่อยก็ต้องมีหลักเกณฑ์อะไรต่ออะไรต่างๆนานา มันก็จำเป็น ถ้าไม่งั้น เป็นพระ เป็นเจ้านี่ ต้องมีวินัยเพิ่มเติม ขึ้นมาอีก ก็ต้องมี มันก็ต้องมีหลักเกณฑ์ มีกรอบ ที่จะต้อง เหมาะสม กับบุคคล ฐานะบุคคล จริตบุคคลอะไรพวกนี้ด้วย มันเป็น เรื่องจริง เราจะไปห้ามไม่ได้หรอก คนนี้ทำไม จริตอย่างนี้ คนนี้ทำไมเป็นยังงี้ ฐานะของ บุคคลอย่างนี้ มันจะต้องอย่างนี้ มันก็สมฐานะเขา มันก็เป็นไป ตามจริง

ทีมงาน : อ๋อ....เพราะฉะนั้นคนที่มีจิตวิญญาณดีนี่ บางทีก็สร้างปัญหาให้คนอื่นได้เหมือนกัน ใช่ไหมคะ
พ่อท่าน : อ้าว....แน่นอนสิ ถ้าเผื่อว่าเราไม่สามารถที่จะเข้าใจเขาเข้าใจเราอย่างเพียงพอ บางที ก็เป็นได้ เอาง่ายๆ ถ้าสมมุติว่า ผู้ที่จิตวิญญาณดีแล้วนี่ แต่ก็ไม่สามารถ รู้คนนี้ว่า เอ้.... เขาอยู่ใน ฐานะ ขนาดไหน อะไรยังไง จริตยังไง นิสัยยังไง ติดยึดยังไง ไม่สามารถรู้ ไม่รู้ เราก็ประมาณ ไม่ถูก คนจิตดี ก็ตาม ประมาณ ไม่ถูก อ้าว....ก็ไปบาดใจเขา แล้วก็ได้อย่างนี้ มันเป็นธรรมดา มันผิดพลาดได้

ทีมงาน : เหมือนที่พ่อท่านว่าพระอรหันต์โง่หรือเปล่าคะ
พ่อท่าน : อื้อใช่ ไม่ใช่โง่หรอก ท่านไม่รู้ ท่านไม่มีโลกวิทูเรื่องนั้น โลกวิทูท่านมีเท่านั้น แต่ท่านก็ จริงใจ ท่านประมาณ ไม่ถูกเท่านั้นเอง ความมีสัปปุริสธรรม ของท่าน ยังไม่สมบูรณ์พอ ไม่สามารถ หยั่งรู้ อะไร ต่ออะไร ได้ครบถ้วน รู้โลกนั้นยังไม่พอ มันก็บกพร่องได้ธรรมดา พระอรหันต์ผิด ในส่วนที่ท่าน ยังไม่รู้ ในโลกวิทู ที่ท่านยังไม่รู้ จะว่าท่านโง่ ที่ท่านไม่รู้เท่าทันพอ ในเรื่องโลก แง่นั้นๆ ก็ได้

ทีมงาน : พ่อท่านคะ ถ้าอย่างนั้นก็แสดงว่าไม่ใช่ว่าเป็นพระอรหันต์แล้วปฏิบัติธรรมทุกอย่าง ที่พระพุทธเจ้าสอน ได้หมด
พ่อท่าน : ได้ยังไง

ทีมงาน : ได้รักษาจิตอย่างเดียว
พ่อท่าน : อื้อ พระอรหันต์นี่คือรักษาจิตตัวเองได้อย่างเดียว

ทีมงาน : หมดกิเลสของท่านเองอย่างเดียว
พ่อท่าน : ใช่

ทีมงาน : แต่หลักธรรมะที่สอนในพระไตรปิฎก สัปปุริสธรรมหมวดต่างๆเนี่ย อปริหานิยธรรมอะไร เนี่ย
พ่อท่าน : บางอย่างท่านไม่รู้เรื่อง อย่างสูตรที่มีภาษายากๆอย่างนี้บางทีท่านก็ไม่รู้เรื่อง พระอรหันต์ มากมาย ที่ไม่รู้เรื่องของปริยัติหรือบัญญัติหรือสูตรต่างๆทั้งหมดของพระพุทธเจ้า แต่ท่านก็เป็น อรหันต์ได้ เพราะจิต ของท่านหมดกิเลสาสวะ ท่านรู้ของตัวท่านเอง กิเลส ของท่าน ท่านรู้ของท่าน ท่านทำ กิเลสของท่าน ตายสนิท หมดได้ แต่ถ้าจะไปรอบรู้ อะไรอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับ กิเลสของท่าน มันเหนือกว่า กิเลสของท่าน อย่างกิเลสของคนอื่น ที่มันไม่เคยมี ในตัวท่าน ท่านไม่เคยไปติด ไปยึด ท่านก็เข้าใจไม่ได้ ก็มี เรื่องราวลีลา ที่พิสดาร กว่าที่ท่าน เคยพบ เคยเป็นเคยมี แล้วท่านจะรู้ได้ยังไง พระอรหันต์ ไม่ใช่ผู้รอบรู้ โลกวิทู ได้เท่า พระพุทธเจ้า อย่างพระโพธิสัตว์ ผู้ได้บำเพ็ญ ผ่านพบมามาก รอบรู้ โลกวิทู มากกว่า ก็รู้มากกว่า ทั้งอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ ปฏิภาณ

ทีมงาน : พ่อท่านคะ ถ้าอย่างนั้นฤๅษีที่ปฏิบัติธรรมแบบฤๅษี ก็เป็นผู้ไม่รู้เหมือนกัน.....
พ่อท่าน : โอ้ย....ฤๅษีนี่ไม่ได้เรื่องหรอก ก็ดูอย่างพระป่าสิ ไม่ได้ช่วยอะไรใครได้ สักเท่าไหร่ ขนาดรู้แล้ว ยังไปลบ ความรู้ของตัวเอง ไปอีกด้วยซ้ำ ฤๅษีน่ะ วิธีการของฤๅษีน่ะ มันย่ำแย่แล้ว ส่วนมาก จะไป หลงว่า มันจะมีแม็คจิกต่างๆ โอ้ย....จะมีจิตวิเศษสามารถหยั่งรู้ ไอ้โน่น ไอ้นี่ได้ อะไรต่างๆนานา เป็นจริง ก็มี เป็นการคาดคะเน ด้นเดาก็เยอะ จะเป็นการรู้ได้บ้างก็ตาม แต่แม้ว่า คุณจะไปรู้ เอ้า....สมมุติว่า ของคุณ มีโทรจิตที่เก่งนะ สามารถที่จะรู้จิตคน คนนั้น อย่างนั้น อย่างนี้ แล้วคุณจะรู้ได้ไหมว่า โลก มันมี ลีลาอย่างไร แล้วคุณจะไปแก้ไขปรับปรุง ให้เขาพ้นจากลีลา อันนั้นมาได้อย่างไร เพราะคุณ ไม่รู้ เท่าทันโลก โลกวิทู คุณไม่รู้จัก ไม่เท่าทัน พวกนี้ คุณก็ได้แต่สอนให้เขาห่างออกไป หลบลี้ หนีโลก อย่างนั้น ไปให้ไกลเท่านั้น นี่แบบ ฤาษี เพราะว่า มันไม่รู้โลก มันหนีไปจากโลกีย์เขา มันไม่เหมือน พุทธ ที่ศึกษา อย่างมี ผัสสะ อยู่กับโลก และพ้นโลกไปตามลำดับโสดา - สกิทา - อนาคา - อรหันต์ เขาไม่เข้าใจ ความเป็นสังขาร ของโลกต่างๆหรอก

ทีมงาน : พ่อท่านคะ คำว่าวิญญาณหรือจิต คือตัวรู้ของพ่อท่านเนี่ย ไม่ใช่หมายถึงรู้โลก แต่หมายถึง รู้กิเลส
พ่อท่าน : รู้กิเลสด้วย แล้วก็รู้โลกด้วย มีทั้งโลกวิทู รู้ทั้งจิตตัวเองกิเลสตัวเอง ทั้ง ๒ ตัว อุภโตภาค ทั้ง ๒ ส่วน

ทีมงาน : แต่ว่าโลกวิทูนี่เป็นส่วนเสริม
พ่อท่าน : โลกวิทูเป็นส่วนเสริม ใช่....เป็นตัวรอง ต้องเป็นไมเนอร์ไม่เป็นเมเจอร์

ทีมงาน : เพราะฉะนั้นถ้าเขาจะใช้คำว่าสุขภาวะทางปัญญาเนี่ย มาแทนสุขภาวะ จิตวิญญาณ เนี่ย
พ่อท่าน : สุขภาวะจริงๆ แล้วก็ต้องมีปัญญาขั้นญาณแล้วก็จะต้องมีเจโตที่เข้าใจ"สุข" ที่เหนือชั้นกว่า คือ สุขปรมัตถ์ ที่เป็นสุขโลกุตระ ถ้าสุขเสพสม สุขอย่าง สมมุติเทพ เราไม่ควร จะไปส่งเสริมหรอก สุขภาวะนี่ เราต้องแบ่งความสุข ๓ สุข อย่างที่อาตมาอธิบายให้ได้ ว่า สวรรค์ของ สมมุติเทพ สวรรค์ของ อุบัติเทพ สวรรค์ของวิสุทธิเทพ ต้องอธิบายสุขให้ครบ สุขคือสวรรค์ของคน ๓ ชนิดนี้ งั้นถ้าเผื่อว่า ไม่สามารถรู้ชัด ก็ยากที่จะช่วยคน ให้มีสุข อย่างดี จริงๆ มันซ้อนอีกนะ สมมุติเทพเนี่ย มันยังมี กัลยาณชน เพราะงั้น สุขในระดับ ที่เขาสุข เพราะเขาทำบุญ เขาทำดี เขาทำกุศลได้ ก็เป็นสุข อีกเหมือนกัน เขาก็พากเพียร ทำสุข โอ้โฮ ....เสียสละสร้างสรรอะไรต่ออะไร มักน้อย สันโดษ ลงไปได้ จะกดข่ม ด้วยจิตยังไง จะปฏิบัติธรรม ด้วยศีล หรือว่าจะพยายาม พากเพียร ด้วยการปฏิบัติ กรรมฐาน เขายิ่งทำได้ เขาก็ยิ่งยินดีปรีดา ในสิ่งที่เขา ได้ช่วยเหลือคน ได้เสียสละ ได้อะไรต่ออะไร ได้อดทน ได้แข็งขัน กตัญญูกตเวที คือกุศลธรรม มันมีเยอะแยะ เขาก็สุขเพราะ กุศลธรรมนี่ ก็ได้ แต่มันก็ ยิ่งติด ยิ่งยึดมากขึ้น ติดยึดความดี ติดยึดบุญกุศล มันเป็นอัตตา หนักหนายิ่งขึ้นได้ เพราะยังเป็น โลกีย์ อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้าเราอธิบายสุขเราก็อธิบายสุขพวกนี้ แม้แต่ "สมมุติเทพ" มันก็จะมีสุข อย่างโลกีย์ หยาบๆ เลย หรือมหรสพ กีฬาอบายมุข ก็ยิ่งปรุงแต่ง ยิ่งเพิ่มรส จัดจ้าน เขาก็ "สุข" อยู่ทั้งนั้น หรือยิ่งพวกซาดิสม์ เขาก็สุขของเขา พวกมาโซคิสม์ เขาก็สุข อื้อฮือ.... มันได้สมใจ ตามความหลงติดยึด (อุปาทาน)ของตน แม้มันทำชั่วทำร้าย ทำให้คนอื่น ทุกข์ แต่ตัวเอง ก็ยัง "สุข" ก็ล้วนเป็นความหลง ความติดยึด ทั้งสิ้น ซึ่งความสุขอย่างนั้น คนปุถุชนก็ "สุข" อย่างโลกีย์ สามัญ เสพสมสุขสม ในลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขก็ว่าไป ตามปกติในโลก

หรือจะเป็นกัลยาณชน "สุข" เพราะมีคุณงามความดีมันก็ยังเป็นโลกีย์ ยังเป็นสุข "สมมุติเทพ" ดังนี้ ก็ต้อง รู้จักสุข ในลักษณะต่างๆให้ครบ มันจะเรียก สุขภาวะ มันสุขอะไรล่ะ คุณจะเอาสุข ระดับไหน คุณจะต้อง อธิบายสุขนี้ออกไปอย่างละเอียด แล้วก็สุขในชั้นที่จะเป็นโลกุตระ ถึงความเป็น "อุบัติเทพ" จริงๆ แล้วคำว่า "อุบัติเทพ" เนี่ย มันต้องมีจิต เกิดจริงๆ "อุบัติ" คือมี "การเกิดของจิต" เพราะถ้า ไม่สามารถ ที่จะทำให้จิต เกิดเป็น "โอปปาติกโยนิ"ได้ ไม่ใช่แค่ กดข่มจิตไว้ ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งคือ พยายาม ควบคุมตนเอง ไปอย่าง รวมๆให้"ตนทำดี-ไม่ทำชั่ว" ด้วยกรรมวิธีอะไรก็แล้วแต่ แต่ละ อาจารย์ แต่ละฤๅษี เขามีวิธี แตกต่างกันไปบ้าง โดย ทรมานตน กดข่มตนเอง บังคับตนเอง สำทับ ตนเอง สำนึกตนเอง หยุดหรือยิ่งให้แก่ตนเอง ไม่ทำ หรือทำอะไรต่ออะไร ให้ตนไม่ทำชั่ว-ทำแต่ดี มันก็มีวิธีเยอะแยะ อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น ก็"สุข" เพราะ คุณงามความดี "สุข" เพราะลด งดทำชั่วได้ นี่ก็เป็นกัลยาณธรรม ซึ่งจะมีลัทธิต่างๆ เยอะแยะ สอนกันอยู่ ทั้งนั้น อันยังนับเป็น โลกียธรรม เท่านั้น ส่วนโลกุตระ นั้น ต้องถึงขั้น มีญาณ หรือมีวิชชา รู้จักรู้แจ้งรู้จริง ในภาวะของ ความเป็นจิตเป็นวิญญาณ เป็นเจตสิก เป็นรูป เป็นนิพพาน ซึ่งสามารถระงับ ถูกตัวตนของ "เหตุอาริยสัจ"ในจิต ฆ่าสิ่ง ที่เป็นตัวการ ในจิตเลย ต้องกำจัด ต้องประหาร ต้องทำลาย ต้องมี การกระทบ กับภาวะนั้น จริงๆ "ปหฏ" แล้วลดกิเลสในจิตนี้ได้จริงๆ จึงจะเป็นสุขแบบ "อุบัติเทพ" กิเลส ลดลงๆ แล้วค่อยๆ "สุข" ขึ้นๆ เป็นความเจริญอย่างโลกุตระ มีความสุข เพราะสงบ สงบเพราะ กิเลส ลดลงไป เรื่อยๆ จนสุดยอด ของความสุขก็ "วิสุทธิเทพ" สงบสนิท ไม่มีกิเลส เกิดมากวน ในจิต อีกเลย เพราะฉะนั้น "สุข" แบบสุขภาวะ ที่ควรจะเป็น มันก็ต้องควรจะเป็นแบบ "โลกุตระ"

ทีมงาน : ก็คือ ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป
พ่อท่าน : โสดาบันขึ้นไป เป็นสุขภาวะขั้นอาริยะ เมื่อมีความเข้าใจแล้วก็มีความยินดี มีความ ไม่สงสัยว่า สุขสงบ นั้นอย่างไร มีจิตที่ยินดีในสุข อันเป็น อุปสโมสุข หรือ วูปสโมสุข นี้แล้วจริง เนี่ย คนที่ได้ อย่างนี้จริง เป็นสัจจะของเขา จริงแล้ว เขาก็จึงอยู่กับสุขนี้ ได้โดยไม่ต้อง กดข่ม โดยไม่ต้อง ระมัด ระวัง ไม่ต้องระแวง ยิ่งฆ่ากิเลสได้ดับได้สนิท แม้จะเป็นฐานโสดาบัน เขาก็ชัดเจน เขาก็อยู่กับ อบายมุขนี้ได้ เพราะอบายมุข เหล่านี้ มันสัมผัส แล้วมันไม่เกิด อารมณ์อีก มันอุเบกขา จิตเป็นกลาง อทุกขมสุข และสุขถาวรด้วย เพราะฉะนั้น ในพุทธบริษัท หรือในเมืองอาริยะ มันก็จะเป็นเมือง ที่ไม่มี อบายมุข เพราะว่าไม่มีใครเสพ อบายมุขแล้ว จะเอามาทำไมล่ะ ทุกคนก็เข้าใจอยู่แล้วว่ามันไร้ค่า มันไม่มีประโยชน์อะไร กับตน กับสังคม มันจะเป็นสุข มันก็ไม่ได้เป็นสุขอะไรแล้ว แล้วก็รู้ว่า มันผลาญเวลา มันผลาญแรงงาน ผลาญ ทุนรอน เสียประโยชน์ ที่ประเสริฐของคน มันก็ไม่เอา มันก็ ยั่งยืน ถาวร เพราะจิตใจทำกิเลส ออกไปจริงแล้ว และ ปัญญาก็รู้แจ้ง รู้จริงว่า ควรละ ควรเว้นขาดได้ โดยไม่ขาดสุข และ ไม่ต้องทุกข์ อย่างสัมบูรณ์ มันก็เป็นเมือง ที่เป็นสังคม ที่มีศาสนาพุทธ สังคม อาริยะ สังคมโลกุตระ หรือเมืองพระศรีอาริย์จริงๆ ศรีอาริยะจริงๆ เป็นคนอาริยะ เป็นโลกของ คนอาริยะ อาริยะ ตั้งแต่ โสดาบันขึ้นไป เพราะปิดอบายภูมิแล้ว ซึ่งทุกวันนี้ เราพอจะยืนยัน ได้บ้าง หมู่บ้าน ชุมชนเรา ชาวอโศก หลายชุมชนของเรา ไม่มี"อบายมุข" ส่วน error ก็แน่นอน มันอาจจะแวบ มาบ้าง แต่ก็ไม่อยู่ ถาวรแน่ มีแค่จรผ่านเล็กๆน้อยๆ ก็ว่ากันไปเถอะ error ที่ไหนก็ต้องมี ในโลก อันกว้างไกล ไม่เที่ยงแท้นี้ error นี่พระพุทธเจ้าอยู่ทั้งองค์ก็ยังมี error ได้ตั้งเยอะตั้งแยะ แต่ว่า ค่าเฉลี่ยแล้วนี่ มันก็บริสุทธิ์ ๘๐-๙๐ % ยืนยันได้ ถึงแม้ที่สุด หมู่บ้านนั้น จะมีสิ่งที่แปดเปื้อน error ไปบ้าง ถึง ๑๐ - ๒๐ % ดีตั้ง ๘๐ % มันก็แหม .... วิเศษนักหนาแล้วจริงๆ แต่ทุกวันนี้ เราชาวอโศกนี่ ยังเป็นได้ โอ้โฮ... มันไม่มีอะไร ที่เป็น อบายมุข จริงๆ มันก็ error เล็กน้อยไม่กี่เปอร์เซ็นต์เลย ไม่ถึง ๕ % ด้วยซ้ำ โดยเฉพาะ อบายมุขนะ ถึงแม้ยังงั้น เราก็มีความเจริญ สูงไปถึง ขั้นของคนผู้มีอาชีพ ระดับพ้น.... ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา ซึ่งหมายความว่า ขั้นที่ทำงานฟรี ไม่รับรายได้ สำหรับ ตนเองเลย รู้จัก คุณค่าของความเป็นคน ไม่ต้อง สะสม เป็นคนที่มีวรรณะสูง มีวรรณะมักน้อย - สันโดษ มีวรรณะ ไม่สะสม-ขยันหมั่นเพียร จะศีลเคร่ง ก็สามารถอยู่ได้สบาย เป็นธูตะ ศีลเคร่ง ขนาดนั้น ก็ไม่ฝืน ไม่ทน ไม่ทุกข์ ปฏิบัติได้อย่างคนปกติ และมี การขัดเกลาตัวเอง ไปตาม ฐานานุฐานะ มีธัมมานุธัมม ปฏิปัตติ ไปตามระดับ ก็เป็นคน เลี้ยงง่าย สุภระ บำรุงง่าย สุโปสะ อะไรอย่างนี้ คือ ผู้มี "วรรณะ ๙" ตามสเป็ค ของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นวรรณะ ที่พิสูจน์ ยืนยันได้ ถ้าคุณเข้าใจ คุณจะเห็นชัดๆเลยนะว่า โอ้.... เลี้ยงง่าย ก็เป็น อย่างนี้ บำรุงง่าย ก็เป็นคนส่งเสริม ให้เจริญ ในโลกุตระได้ง่ายๆ พูดยังไง ก็เข้าใจ๊ เข้าใจ ปฏิบัติก็เป็นไป ได้ดี มักน้อยคือ คนแบบนี้ๆ สันโดษ คืออย่างนี้ๆ ซึ่งไม่ใช่โดดเดี่ยว หรือหนีไปอยู่ เดี่ยวๆเลยนะ ก็ขัดเกลาตัวเองไป ก็ยังขัดเกลา อยู่ ก็เห็นว่า ยังมีสัลเลขะ ไปก็มักน้อยได้ สันโดษไปได้ ตามลำดับๆ ที่เจริญขึ้น จนกระทั่งถึง ปาสาทิกะ คือ เป็นคนที่มี อาการที่น่าเลื่อมใส ไม่ว่าอาการ ทางกายกรรม - วจีกรรม - มโนกรรม ของคน ที่มีอาการที่น่าเลื่อมใส มันก็จะมี สัญลักษณ์ มันจะเป็น ซิมเบิล (Symbol) เป็นของจริงของแท้ ต่อไปในอนาคต มันก็จะมีปลอม - ตัวปลอม จะปลอมยังไง ก็จะรู้กัน ในอนาคต นี่มันแปลก มันจะมี อะไร ที่เราคาดไม่ถึงทีเดียว ไอ้นี่มันอโศก หรือเปล่า วะเนี่ย มีปลอมมีจริง เดี๋ยวนี้ คนข้างนอก เขาก็เริ่มรู้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ ประสีประสา เท่าไหร่นะ แต่เขาก็รู้นะ ว่าแปลก มันแปลกกว่าเขา มันมีอะไรแปลกต่างไป ก็อย่างเขา เขาก็เป็นอย่างนี้ เอ๊ะ.... อะไรวะ มันบอกไม่ถูก มันมีทั้งรูป ที่แปลกไป มีทั้ง นามธรรม มีลีลา มีรังสี มีรัศมีอะไรต่างๆ มันมีสัญลักษณ์แล้ว

ทีมงาน : คนที่มีจิตวิญญาณดีเป็นยังไง
พ่อท่าน : จิตวิญญาณดี มันก็จะมีลักษณะ ๙ นี่บ่งบอกได้ชัด เพราะวรรณะมันบอกอยู่แล้ว วรรณะ นี่ก็คือ ชาติชั้น ของคน ชาติชั้นของมนุษย์ที่แท้จริง ไม่ใช่มีชั้นวรรณะ แบบอินเดีย แบบอะไรที่ ยึดติดกัน เป็นชาติชั้น ของความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงไปตามลำดับ และมีความเป็น คุณค่า ในระดับชั้น ที่บ่งบอก คุณลักษณะ เลี้ยงง่าย บำรุงง่าย อะไรต่างๆ จริงไปทั้ง ๙ ลักษณะ ก็คือคนนั่นน่ะ มีชาติชั้น ที่สูงๆๆ ขึ้นไป เบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย ขึ้นไป ตามคุณภาพ คุณลักษณะคุณวิเศษ ที่แท้จริง


 

-บันทึกจากปัจฉาสมณะ สารอโศก อันดับที่ ๒๘๔ มิถุนายน ๒๕๔๘ -