เก็บเล็กผสมน้อย - กอไผ่ -


ดูแลสุขภาพลำไส้...
ง่ายเกินคาด

- เลือกกินอาหารที่อุดมด้วยแป้งไม่ขัดขาว และ ไฟเบอร์ เช่น ข้าวกล้อง, ซีรีส,ถั่วลันเตา
- กินผักและผลไม้ให้ได้วันละ ๕ มื้อ เช่น ถ้าดื่ม น้ำผลไม้สด ๑ แก้ว ก็ให้นับเป็น ๑ มื้อ
- หาเวลาบริหารร่างกายครั้งละ ๒๐-๓๐ นาที อาทิตย์ละ ๒-๓ ครั้ง
- เลือกกินอาหารที่มีส่วนประกอบของแบคทีเรีย ซึ่งช่วยเสริมการทำงานของลำไส้ เช่น กล้วย, หัวหอม, โยเกิร์ตธรรมชาติและนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม

- ดูแลร่างกายให้มีความชุ่มชื้น ไม่ขาดน้ำด้วยการดื่มน้ำสะอาดวันละ ๖-๘ แก้ว เพื่อช่วยทดแทนของเหลวที่ร่างกายสูญเสียไป
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียดและอย่าเร็วเกินไป
(ผู้หญิงรายปักษ์ ฉ.๔๙ ปีที่ ๔ ๒๕๔๗)



คราบถุงเท้า แช่ด้วยผงซักฟอกสัก ๑๐-๑๕ นาที แล้วใช้สบู่ลายถูกตรงรอยเปื้อน ขยี้ด้วยมือ รอยเลอะจะหายเกลี้ยง

คราบโคลน ปล่อยให้โคลนแห้งก่อน แล้วใช้แปรงปัดออก จึงซักด้วยน้ำเย็นหลายๆครั้งจนหมด แล้วซักด้วย ผงซักฟอก หรือ อีกวิธีหนึ่งคือ ขยี้ผ้าที่เปื้อนโคลนด้วยมะนาว แล้วซักตามปกติ

คราบยางผลไม้ ใช้น้ำมันก๊าดเทลงบนคราบ แล้วขยี้ให้ยางออก ล้างด้วยน้ำเปล่า แล้วนำไปซักตามปกติ หรือ ฝานมะนาว เป็นชิ้นบางๆ แล้วถูกตรงรอบเปื้อนที่เป็นคราบดำ แล้วรีบมาซักต่อทันที



การรับประทานแคลเซียมให้ถูกวิธี
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่ใช้บำรุงกระดูกให้แข็งแรง การรับประทานให้ถูกวิธีจะให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจาก แคลเซียมดูดซึมได้ยาก ดังนั้น ควรรับประทานแคลเซียมตอนท้องว่าง (ก่อนอาหาร ๑ ชั่วโมง หรือหลังอาหาร ๒ ชั่วโมง) เพื่อเพิ่มการดูดซึม ไม่ควรรับประทานแคลเซียมกับอาหารจำพวกรำข้าว อาหาร ที่มีออกซาเลทสูง(ยอดผักต่างๆ) ธัญพืช (whole grain cereals) ซึ่งจะลดการดูดซึมของแคลเซียม นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง มีการใช้แคลเซียม ในการรักษา ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง ซึ่งต้องการแคลเซียม ออกฤทธิ์ ไปจับกับฟอสเฟตในอาหาร ทำให้ฟอสเฟตไม่ถูกดูดซึมเข้าร่างกาย ในผู้ป่วยโรคนี้ ต้องรับประทาน แคลเซียม พร้อมอาหารจึงจะได้ผลดี

ภ.ญ.วิภาจรี นวสิริ เภสัชกร สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
(จาก น.ส.พ.เดลินิวส์ ๑๐ ส.ค.๒๕๔๘)

- สารอโศก อันนดับ ๒๘๖ สิงหาคม ๒๕๔๘ -