น้ำฉี่ที่ร่ายกายไม่ต้องการ แพทย์ไทยรุมกินโต๊ะดอกเตอร์ญี่ปุ่น โต้เรื่องทฤษฎีดื่มฉี่เพื่อรักษาโรค เผยหมอญี่ปุ่นได้เคยติดต่อ ขอมาบรรยายในไทย แต่เมื่อ ขอเอกสาร ทางวิชาการ เพื่อพิสูจน์กลับไม่มีให้ หมอราชวิถีอ้างหลักวิชาการ "ฉี่" เป็นของเสียที่ร่างกายขับถ่ายออก ไม่น่าจะมีประโยชน์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วิ เคราะห์หาสาร อินเตอร์เฟรอน ในฉี่แล้วไม่พบ หลังจากที่มีนายแพทย์ชาวญี่ปุ่น ดร.เรียวอิจิ นากาโอะ เดินทางมาเผยแพร่ทฤษฎีการดื่มปัสสาวะเพื่อรักษาโรคภัยต่างๆ รวมทั้งโรคเอดส์นั้น ปรากฏว่า ได้รับ ความสนใจ จากประชาชนทั่วไป เป็นอย่างมาก และมีจำนวนมากที่เริ่มทดลอง เพราะตาม ทฤษฎีดังกล่าว ระบุว่า หากดื่มเป็นประจำทุกวันแล้ว จะทำให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย อีกทั้งยังมีสรรพคุณ ทำให้ดู หนุ่มสาวขึ้นมาได้ ซึ่งเรื่องนี้นายแพทย์จำรูญ มีขนอน รองปลัด กระทรวง สาธารณสุข ในฐานะโฆษกกระทรวง ให้สัมภาษณ์ กับผู้สื่อข่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข เคยได้รับการติดต่อจาก ดร.เรียวอิจิ โดยขอเข้า ร่วมบรรยาย ถึงวิธีการรักษาโรคเอดส์ ทางกระทรวงจึงขอเอกสารผลการศึกษาวิจัย เพื่อนำมาศึกษาก่อนว่า เป็นไปได้ แค่ไหนอย่างไร เพราะหากพูดว่า ปัสสาวะ รักษาโรคได้ ควรต้องสามารถพิสูจน์ได้โดยวิธี วิทยาศาสตร์ แต่ปรากฏว่าไม่มีการตอบรับหรือส่งหลักฐานทางวิชาการ ว่าปัสสาวะ รักษาโรคได้ ด้านนายแพทย์ยงยุทธ อุทยานะกะ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต ร.พ.ราชวิถีให้ข้อคิดว่าปัสสาวะนั้น เป็นน้ำ ที่ร่างกาย ขับออกมา โดยไต อันเป็นกระบวนการหนึ่ง ในการขับถ่าย ของเสีย ของมนุษย์ โดยขับถ่าย น้ำเกลือแร่ และของเสีย อันเกิดจาก การเผาผลาญ ในร่างกายรวมทั้งกรดด่างในอันที่จะรักษา ภาวะ ดุลกลาง ต่อการ ดำรงชีพ ดังนั้นสารต่างๆ ที่ออกมา จากปัสสาวะ จึงเป็นสิ่งที่ร่ายกายของคนนั้นๆ ในภาวะนั้นๆ ไม่ต้องการ ตนไม่คิดว่า สารประกอบ ที่ร่างกายขับออกมา ในรูปปัสสาวะนั้น จะเป็นประโยชน์ ต่อการรักษา โรคใดๆ นอกจากนั้น ตนมีความรู้สึกว่า คนบางคน ค่อนข้างหลงใหล ในธรรมชาติ จนผิดปกติวิสัย นายแพทย์ ยงยุทธ กล่าวในที่สุด มีรายงานข่าวจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยว่า กรมวิทยาศาสตร์ได้นำปัสสาวะมาตรวจหาสาร อินเตอร์เฟรอน ตามที่ ดร.เรียวอิจิ ได้ค้นพบว่า สารตัวนี้ สามารถรักษาโรคได้ ซึ่งปรากฏว่า จากการตรวจ ในเบื้องต้น ไม่พบสารดังกล่าว แต่อย่างใด พร้อมทั้งกล่าวว่า ปกติแล้ว สารต่างๆ ที่ถูกขับออกมา ปัสสาวะ จะเป็นสารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้ว แต่ก็ยังมีสาร บางชนิด ที่อาจใช้ เป็นประโยชน์ทางอื่นได้ เช่น ปุ๋ย แต่จะนำ มาใช้กับคนอีกครั้งนั้น ไม่น่าเป็นไปได้ พบกันฉบับหน้าค่ะ -สารอโศก อันดับ ๒๔๗ กันยายน ๒๕๔๘ - |