ตอน...
บุญนิยม ทำให้เกิดคนจนมหัศจรรย์
ทุนนิยม ทำให้คนรวยอำมหิต


กันยายน ๒๕๔๘
เดือนกันยายนนี้ เรื่องชื่อและนามสกุลที่ทวนกระแสโลกีย์ ยังคงเป็นที่สนใจของนักข่าว จากหนังสือพิมพ์มติชน ได้โทรมา สัมภาษณ์ พ่อท่านที่อุบลฯ (๑ ก.ย.) และไปเก็บข้อมูลที่สันติอโศก เพิ่มเติมจากญาติธรรม ก่อนตีพิมพ์เป็นเรื่องราวสั้นๆ ในหนังสือพิมพ์มติชน (๑๔ ก.ย.)หน้า ๓๓ หัวข้อเรื่อง ชื่อนั้นสำคัญไฉน? "สันติอโศก"แหล่งรวมมนุษย์นามแปลก ข้าพเจ้า ขอข้ามผ่าน ในรายละเอียด ผู้สนใจติดตามได้จากห้องสมุดสันติอโศก หรือห้องสมุดทั่วไปที่เก็บหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวไว้

เกี่ยวกับสาหร่ายที่ชาวเรานิยมรับประทานกัน ได้มีข้อมูลใหม่ว่า สาหร่ายที่บริโภคกัน มาจากการเพาะเลี้ยง และมีสารเคมี ปนเปื้อน มาจากการตรวจของหน่วย ต.อ. จึงได้สอบถามความเห็นพ่อท่านเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติในหมู่ร้านค้าของชาวอโศก ควรจะเป็นอย่างไรจึงจะเหมาะ (๑ ก.ย.)

ที่บ้านราชฯยังคงเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งชาวบ้านเกษตรกรกลุ่มคณะต่างๆ ได้ทยอยกันมาขอรับการอบรม แม้แต่เจ้าหน้าที่จาก กระทรวง เกษตรฯ ก็ยังได้รับการจัดสรร จากผู้บังคับบัญชา ให้ได้มาศึกษาเรียนรู้ ถ้าในระดับชาวบ้านด้วยกัน พวกเราก็พอ จะรับทำกันได้เอง แต่ในระดับข้าราชการ ที่มีความรู้ และยศตำแหน่ง อะไรขึ้นมาบ้าง ดูเหมือนพวกเราจะเกรงๆ และมัก จะนิมนต์พ่อท่าน ให้ได้ช่วยมาโปรด หรือพบกับบรรดา ข้าราชการเหล่านี้ ซึ่งพ่อท่านก็รับนิมนต์เทศน์ให้ทุกทีไป ส่วนการอบรม ชาวบ้านเกษตรกร ก็รับนิมนต์เทศน์ให้เป็นปกติอยู่แล้ว ซึ่งมีหลายกลุ่มหลายรุ่นมากกว่า บางทีก็เอาคนจาก สองหน่วยงาน ที่ส่งมาผสมเข้าในรุ่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ลูกค้าของ ธ.ก.ส. ที่กำลังจะกู้เงินจากธนาคาร ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร สัจธรรมชีวิตก่อน รวมถึงหน่วยงาน จปฐ. ความจำเป็นพื้นฐานของจังหวัดอุบลฯ ได้นำชาวบ้านผู้มีรายได้น้อย มาเข้ารับ การอบรมด้วย ในที่นี้ข้าพเจ้าขอข้ามผ่านในรายละเอียด ผู้สนใจติดตามได้จากฝ่ายเผยแพร่ วันที่ ๒,๕,๙,๑๖, ๒๒,๒๙ ก.ย. ๒๕๔๘ ส่วนใหญ่พ่อท่านเทศน์ เป็นภาษาอีสานตลอดกัณฑ์ มีเพียงเทศน์กับ เจ้าหน้าที่จากกระทรวงเกษตรฯ ๕ ก.ย. ที่ใช้ ภาษากลาง

ขณะที่งานอบรมก็มาก งาน"ส้างบ้านแปงเมือง"ก็เยอะ มีทั้งการขนหิน การขนดินลูกรัง การทำถนน การสร้างโรงเรือนใช้งาน สร้าง เรือเรือน รวมถึงการตบแต่งต่างๆ ต้องอาศัย เครื่องกลหนัก และจำนวนคนที่เข้ามาช่วยงานเหล่านี้ นอกจากผู้ใหญ่แล้ว ก็มีนักเรียนฐานช่างส่วนหนึ่งเข้ามาร่วมเป็นแรงงานด้วย ปัญหาเกิดขึ้น เมื่อฝ่ายบริหารเห็นว่า ผู้ใหญ่บางคน ที่ช่วยงาน ขาดการ ร่วมทำกิจวัตร และมีทิฐิว่า เพียงเข้ามาช่วยงานพ่อท่าน ไม่ได้คิดจะปฏิบัติธรรมอะไร ผู้ใหญ่บางคน ก็เป็นตัวอย่าง ที่ไม่ดี ชักนำเด็กไปสู่ หนทางอบายมุข ทำให้พ่อท่าน ต้องเทศน์กัณฑ์พิเศษ ในช่วงค่ำ ๕ ก.ย. แล้วถ่ายทอดสัญญาณเสียง ไปยัง พุทธสถานอื่นๆ เนื่องด้วยลักษณะแบบนี้ ชุมชนอื่นๆก็มีบ้าง ผลที่ตามมา จากการเทศน์กัณฑ์พิเศษนี้ ในวันรุ่งขึ้น ๖ ก.ย. คณะทำงาน ฐานช่างทั้งหมด ได้รวมตัวกันมา ขอขมาพ่อท่าน รวมทั้งได้ร่วมกัน ลงรายมือชื่อ สัญญาว่าจะปฏิบัติ ตามระเบียบ ให้ได้

วันอาทิตย์พ่อท่านจะไปเทศน์ที่อุทยานบุญนิยม โดยพ่อท่านเริ่มดำริที่จะให้เขียนป้ายหัวข้อที่จะแสดงธรรม ติดประกาศไว้ ล่วงหน้า ทำอย่างที่สันติอโศก เคยทำ เมื่อหลายสิบปีก่อน และพ่อท่านคิดชื่อ หัวข้อเรื่องที่จะเทศน์เอง "ยิ่งจน ยิ่งพ้นทุกข์" เป็นหัวข้อชื่อเรื่องแรก ที่พ่อท่านให้เขียนป้ายโฆษณาไว้ที่ อุทยานบุญนิยม "ทำทานอย่างไร จึงจะได้นิพพาน" เป็นหัวข้อ เรื่องต่อมา ของเดือนกันยายนนี้ (๑๑, ๑๘ ก.ย. ตามลำดับ) ขณะที่วันอาทิตย์ ปลายเดือน พ่อท่านจะต้อง เดินทางไป ร่วมประชุม ที่สันติอโศก และปฐมอโศก เมื่อไปที่สันติอโศก (๒๕ ก.ย.) ก็ได้ร่วมบันทึก รายการ "พุทธที่ ไปนิพพาน" กับสมณะ เพาะพุทธ จันทเสฏโฐ เพื่อไปออกอากาศ ทาง ไททีวี. ซึ่งทั้งสามรายการ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ มีเนื้อหา ที่น่าสนใจอย่างมาก แต่ในที่นี้ ข้าพเจ้า ขอข้ามผ่าน ผู้สนใจติดตามได้ จากฝ่ายเผยแพร่

คณะทำงานสื่อของบ้านราชฯ ได้ถ่ายทำวิซีดีการบริหารกายของพ่อท่าน แล้วนิมนต์พ่อท่านช่วยให้คำบรรยายประกอบ ในท่า ต่างๆ ๑๐ ก.ย. ทำกันอย่างง่ายๆ ในห้องคอมฯ โดยมีนักเรียน เป็นผู้ตัดต่อภาพและเสียงประกอบ มาถึงวันนี้หลายคน คงได้ดู และ ฟังคำบรรยายนั้นแล้ว

ที่บ้านราชฯไฟฟ้าดับบ่อย ส่วนใหญ่ดับประเดี๋ยวเดียวก็ติดและใช้งานได้ แต่วันที่ ๑๙ ก.ย. ไฟฟ้าดับไปนาน พ่อท่านยังคง เปิดไฟ สำรอง ใช้ทำงาน จนหมดแบตเตอร์รี่ แล้วต่อด้วย ใช้เทียนพรรษาแท่งใหญ่ ที่มีผู้มาถวายจุดแทน พอให้ได้มีแสง เพื่อทำงานต่อได้

ก่อนปลายเดือนได้แวะไปเยือนชาวศีรษะอโศก(๒๑ ก.ย.) ตลอดพรรษานี้ยังไม่ได้มาเยือนศีรษะอโศกเลย พอดีกับอาคารใหม่ (บริเวณ โรงครัวเก่า) ใกล้จะเสร็จ จึงถือเป็นฤกษ์ ไปฉลองอาคาร ซึ่งจะใช้เป็นห้องสมุด และฝ่ายธุรการของการศึกษา โดยพ่อท่าน ได้ไปบิณฑบาต ให้ชาวชุมชน และเด็กๆ ได้ใส่บาตรกัน จากนั้น จึงได้มาเทศน์ ก่อนฉันอาหาร ซึ่งได้มีการโหวต หาชื่อของอาคาร หลังใหม่นี้ด้วย ที่สุดได้ชื่อว่า ศาลาฮวมธรรม เนื่องจากศาลาด้านข้างๆ ชื่อบุญถ่วม หลังฉันแล้วได้ เอื้อไออุ่น เปิดโอกาส ให้สนทนาซักถามปัญหา ก่อนเดินทางกลับบ้านราชฯ

๒๒ ก.ย. ที่สันติอโศก คณะทำงานทดลองใช้สารชำระล้าง เพื่อทดแทนสารเคมี N 70 ได้นำผลการทดลองมานำเสนอ ให้พ่อท่าน ได้ดู ประกอบด้วย สบู่ซักผ้า ครีมล้างจาน ครีมขัดห้องน้ำ โดยใช้สารละลายด่าง โซเดียมไฮดรอกไซด์ ทำปฏิกิริยาเคมี กับน้ำมันพืช สำหรับ ครีมขัดห้องน้ำ ใช้ถ่าน ๑,๐๐๐ องศา เพิ่มเข้าไปด้วย และได้แจก ให้ชาวอโศก ทดลองใช้ ๑๐๐ คน โดยมีแบบสอบถาม ให้ผู้ใช้ช่วยกรอกข้อมูล ถึงผลที่เกิดขึ้น จากการใช้ ส่งกลับมาด้วย สารชำระล้างทดลอง ดังกล่าว ได้ผ่าน การตรวจสอบวิเคราะห์ จาก มอก.มาแล้ว ไม่พบสารพิษตกค้าง ผลจะเป็นอย่างไร ก็คงต้องติดตามกันต่อไป

คุณพิมพ์บูชา รัศมีวิเชียรทอง อดีตนักเรียนพุทธธรรมวันอาทิตย์สันติอโศก สอบได้ทุนของ ก.พ.ไปเรียนเศรษฐศาสตร์ ปริญญาโท ที่ต่างประเทศ อยู่ในระหว่าง เลือกมหาวิทยาลัย ที่จะเรียน ด้วยประสงค์จะนำเอา เศรษฐศาสตร์บุญนิยม เข้าไป ทำด้วย จึงได้มาปรึกษาพ่อท่าน ๒๔ ก.ย. จากการสนทนา ทำให้เกิดคำว่า คนรวยอำมหิต และ คนจนมหัศจรรย์

สุขภาพตาของพ่อท่าน จากการไปพบหมอสุขุมา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคตา ซึ่งได้ดูแลรักษาดวงตาพ่อท่านมาหลายปีแล้ว นับตั้งแต่ ตรวจพบ ศูนย์จอประสาทตาเสื่อม (Macular degeneration) คืออาการจอประสาทตา บริเวณ แมคคิวลา (macular) หรือ เนื้อเยื่อกลางจอตา จะค่อยๆถูกทำลายไปเรื่อยๆ โดยทั่วไป มักเป็นในผู้สูงอายุ โรคนี้เป็นสาเหตุของ อาการ ตาบอดสนิท ในผู้สูงอายุชาวอเมริกัน ที่พบบ่อยที่สุด

นักวิจัยเชื่อว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่สาเหตุโดยตรงยังไม่ทราบแน่ชัด ส่วนใหญ่เป็นที่ตาทั้ง ๒ ข้าง อาจเป็นพร้อมกัน หรือ อีกข้างเป็นก่อน เนื่องจากโรคนี้ มักค่อยๆเป็น และไม่มีอาการเจ็บปวด ผู้ที่เป็น จึงมักไม่รู้ตัว จนกระทั่ง เมื่อตามองไม่เห็นแล้ว

โรคนี้มี ๒ ชนิด ชนิดที่พบบ่อยเป็นชนิดมีเลือดซึม(เปียก) (exudative macular degeneration) โดยเส้นเลือดฝอย ที่ไปยัง แมคคิวลา ใต้จอประสาทตา มีความผิดปกติ คือตีบแคบลง และแข็งตัว ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยง บริเวณแมคคิวลา ถ้าเส้น เลือดฝอย มีเลือดซึมออกมา เซลล์ของจอตา บริเวณแมคคิวลา จะถูกทำลาย มีผลทำให้ตามัว และตรงกลาง เห็นภาพไม่ชัด

ชนิดที่สองเป็นชนิดแมคคิวลาฝ่อ(แห้ง) (atrophic macular degeneration) เกิดจากมีการรบกวนเซลล์รับสี ในบริเวณ แมคคิวลา โดยไม่มีเลือดออก เหมือนชนิดเปียก จอประสาทตาเสื่อม ทั้งสองชนิด จะค่อยๆทำลาย การเห็นภาพตรงกลาง ไปเรื่อยๆ ในเบื้องต้น ผู้ป่วยอาจสังเกตว่า การอ่านหนังสือ หรือการมอง ในระยะไกล เช่น ป้ายถนนไม่ชัด ถ้าเป็นทั้งสองข้าง ในที่สุด จะไม่สามารถทำกิจกรรม ที่ต้องอาศัยความคมชัด ของสายตาได้เลย

ข้อมูลข้างต้นนี้ได้จากหนังสือ ความรู้เรื่องโรค ทางแก้ ดูแล ป้องกัน จัดพิมพ์โดย บริษัท รีดเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศไทย) จำกัด

สำหรับพ่อท่านเป็นแบบแรก คือเส้นเลือดฝอยมีเลือดซึม ทำให้ตามัวและตรงกลางเห็นภาพไม่ชัดหรือบอดมืดสนิท

หลังจากหมอสุขุมาได้ทำการตรวจรักษาแล้ว หมอแนะให้เฝ้าระวังตาข้างซ้ายอีกข้างหนึ่งที่ยังไม่มีอาการ คอยสังเกต ถ้ามีอาการ ผิดปกติ ในการมอง ให้มาพบหมอด้วย นอกจากนี้หมอสุขุมา ยังได้บอกถึงผลกระทบ ที่ตามมาก็คือ อาการต้อกระจก ซึ่งเกิด หลังการรักษา รอเวลาให้สุกพอ ที่จะทำการรักษา ต่อไป จากการพบ หมอสุขุมา ๒๔ ก.ย.ที่ผ่านมา หมอสุขุมา ได้ประมาณ คร่าวๆว่า น่าจะทำการรักษา ต้อกระจก ได้ประมาณ ปีใหม่ไปแล้ว มีนาคม ปี ๒๕๔๙ [ทำแล้วเมื่อ วันพุธที่ ๑๖ พ.ย. ๒๕๔๘ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดย น.พ.อัธยา อยู่สวัสดิ์]

ช่วงปลายเดือนยังคงมีการประชุมต่างๆประจำเดือน ไม่ว่าจะเป็นประชุมชุมชนสันติอโศก(๒๔ ก.ย.) ประชุมพาณิชย์บุญนิยม (๒๖ ก.ย.) ประชุม ๗ องค์กร (๒๕ ก.ย.) รวมถึงประชุม ชุมชนปฐมอโศก (๒๖ ก.ย.) ในที่นี้ข้าพเจ้าขอข้ามผ่าน ในเนื้อหา การประชุมต่างๆนั้น

๒๗ ก.ย. ๔๘ ที่สันติอโศก คณะทำงานวิจัยเรื่อง "การสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณ : ศึกษากรณีชุมชนชาวอโศก" ได้มา บอกเล่า บรรยากาศ การไปนำเสนอ งานวิจัย ทำให้ได้รู้มุมมองของนักวิชาการหลายท่าน ที่มีต่อสันติอโศก ในทางที่ดี และ คำแนะนำต่างๆ กับคณะทำวิจัยนี้ เป็นอีกข่าวสารหนึ่ง ที่ชาวอโศก ควรรับรู้ปฏิกิริยา ที่นักวิชาการ มองชาวอโศก เป็นอย่างไร

ที่สนามบินดอนเมือง ก่อนเดินทางกลับอุบลฯ ๒๘ ก.ย. ขณะกำลังนั่งรอการเช็คอินท์ บริเวณที่นั่งสำหรับพระภิกษุ พบพระ รูปหนึ่ง ได้มาทักทาย สนทนากับพ่อท่าน มาทราบภายหลังว่า คือ พระ ดร. มหาจรรยา ซึ่งอยู่ที่วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่



สาหร่าย กับการปฏิบัติธรรม ละ อัตตา
๑ ก.ย. ๒๕๔๘ ที่ห้องทำงานในเรือ(พี้..นิพพาน) บ้านราชฯ ขณะพ่อท่านกำลังทำงาน ได้รับโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่หน่วยงาน ต.อ. (ตรวจสินค้า และผลิตภัณฑ์ ของชาวอโศก) คนหนึ่ง ได้เรียนคุณแซมดิน เรื่องการตรวจสอบ และการงดจำหน่ายสาหร่าย ในร้านค้า ของชาวอโศก จากการสนทนาดังนี้

เจ้าหน้าที่ ต.อ. : กราบนมัสการค่ะพ่อท่าน คือเรื่องสาหร่ายน่ะค่ะ จากนโยบายที่เรางดจำหน่าย ใช่มั้ยคะ จนกว่าทางฝ่าย ตอ. กลาง จะหาแหล่ง ที่ปลอดภัยได้ ซึ่งจะไปแจ้ง ในที่ประชุม ตอนนี้จากที่ อย.ให้มา ก็มาจากประเทศจีนน่ะค่ะ ซึ่งใกล้แหล่ง จำหน่าย ที่พวกเราเคยไปซื้อ ทาง อย. ก็จะบอกกันว่า จีนเป็นย่าน ที่มีความเสี่ยงแล้ว ถ้าเกิดว่า เรายังจะซื้อมาจำหน่ายต่อไป เราจะต้องตรวจกันประจำ ว่าจะผ่านหรือไม่ผ่านนี่ เพื่อความชัวร์ค่ะ ที่เขาแจ้งเรามาว่า มีการตรวจทุกวัน แล้วเขาก็จะมาส่ง ๒ ร้าน อยู่ในย่านทรงวาด ซึ่งเราก็คิดจะเก็บมาตรวจอีกที เพื่อยืนยันใช่มั้ยคะ เราก็ต้องคอยตรวจ อยู่บ่อยๆ อันนี้คือ อยากเรียน คุณแซมดิน -พ่อท่านว่า สาหร่ายนี่เป็นสินค้าต่างประเทศ มันจะเหมาะ ในการนำมาขายหรือไม่คะ.....

พ่อท่าน : แล้วคุณจะไปหาของในประเทศที่ไหนมาขายล่ะ

เจ้าหน้าที่ ต.อ. : คือมีแนวคิดของคนบางคนที่บอกว่า นโยบายที่เป็นภาระนี่ เป็นสินค้าที่มีความเสี่ยง เราก็ไม่ต้องขายไปเลย

พ่อท่าน : ก็คิดกันเอง แล้วแต่คณะกรรมการในบริษัทนั่นแหละ ก็คุยกัน จะขายดีหรือไม่ดี ก็เท่านั้นเอง มันมีข้อด้อยเท่านี้แหละ มีข้อดี เท่านี้แหละ อะไรก็ว่ากันไป ข้อด้อย ก็แค่เราจะไปสนับสนุน ต่างประเทศทำไม เท่านั้นเอง ก็มันมีของต่างประเทศ ตั้งเยอะตั้งแยะ ที่เราขายอยู่ ไม่ใช่เหรอ คิดมาก

เจ้าหน้าที่ ต.อ. : ค่ะ แต่ทีนี้ ถ้าตามหลักการเดิมก็คือ ถ้าเป็นการยืนยันถึงที่สุด ก็คือต้องเก็บตรวจ เพื่อที่จะบอกให้ชัดเจน อีกทีหนึ่ง แต่ทีนี้ ก็มีบางคนว่า สินค้าต่างประเทศ มันก็มีความเสี่ยง และเป็นภาระ ก็คือให้เลิกไปเลย ไม่ต้องไปตรวจอีกแล้ว อะไรอย่างนี้ค่ะ

พ่อท่าน : ก็โหวตกันๆ ไม่ใช่มานั่งพูดกันคนสองคน แล้วก็เถียงกันไม่รู้จบ ก็เข้าคณะเลย ก็บอกแล้วมันมีขบวนการกลุ่มของเรา มาโหวตกัน แล้วมีมติ แล้วก็หัดวางใจ ปฏิบัติธรรม ลดละความเห็นของตน เมื่อหมู่เอาอย่างนี้

เจ้าหน้าที่ ต.อ. : เข้าประชุมใช่มั้ยคะ

พ่อท่าน : เออ..ก็เท่านั้นแหละ

เจ้าหน้าที่ ต.อ. : พ่อท่านคะ สมมุติว่าอันนี้คือในกลุ่มของ ต.อ.นะคะ ที่มีสองความคิด ถ้าในที่ประชุมของส่วนกลาง ก็คือ บอกว่าให้เราไปหาแหล่งปลอดภัย สมมุติว่าที่ประชุมออกมาว่า เอ่อ..แล้วเราก็มาแจ้งอีกที...

พ่อท่าน : เหมือนกันนั่นแหละ ก็ให้คณะกลุ่มส่วนกลาง ทีนี้ก็กรรมการของบริษัทเขาเองนั่นแหละเป็นตัวหลัก จะขายไม่ขาย ก็บริษัท เป็นส่วนกลาง ซึ่งคนอื่น ก็ไม่หรอก ทาง ต.อ.เอง จะไป มีอำนาจอะไร บังคับเขามากมายเล่า ก็มันมีการขาย ของต่างชาติ ก็ตั้งเยอะ ตั้งแยะหลายอย่าง มันไม่มีเมื่อไหร่เล่า

เจ้าหน้าที่ ต.อ. : เพราะฉะนั้น อีกฝ่ายหนึ่งก็คือบอกว่า ต้องไปตรวจให้เขาชัดเจน ไม่ใช่ว่าเอาหลักการต่างประเทศ มาจัด อย่างนี้ ก็ไม่ใช่ ใช่มั้ยคะ คือบางอย่าง มันก็พอเป็นไป

พ่อท่าน : ถ้ามันมีของไทยที่มันพอทดแทนได้พอสมควร ทดแทนอยู่ในฐานะพอสมควร ไอ้อย่างนั้นมันก็แน่นอน เราจะไป ส่งเสริม ต่างประเทศทำไม แต่ถ้ามันไม่มี มันหาไม่ได้ เราก็ต้องใช้ของต่างประเทศเขา ก็มันจำเป็นน่ะ

เจ้าหน้าที่ ต.อ. : แล้วจริงๆมันก็มีค่ะ แต่มีไม่เยอะหรอกค่ะ มันก็มีอยู่ แต่มันมีพอประมาณน่ะค่ะ

พ่อท่าน : มันมีพอประมาณมันลำบากกว่าเยอะแยะใช่มั้ยล่ะ ถ้ามันลำบากอยู่ มันย่ำแย่อยู่ก็เอาเท่านี้ก่อนเถอะน่า นั่นแหละ ก็ไปวิจัยกัน มันมีข้อมูล ต่างๆนานา หลายอย่าง ใครเห็นเป็นอย่างไร ก็สุดท้าย ก็เอามติของหมู่

เจ้าหน้าที่ ต.อ. : ก็มีคนหนึ่งคือเขาจะเอาจริงจังน่ะค่ะ รู้สึกจะทุกข์ค่ะ

พ่อท่าน : ก็นั่นแหละ นิสัยของคนให้เขาขัดเกลามั่ง เขาจะเอาแต่ใจตัวได้ไง มันต้องเอาคะแนนหมู่ ต้องตามคะแนนหมู่ มันเป็น การปฏิบัติธรรม ในตัวด้วย มันเป็นวิธีการที่.... สุดท้ายแล้วแหละ ก็ใช้ขบวนการกลุ่ม แล้วก็ใช้วิจัยกัน ลงมติ เมื่อได้มติแล้วก็จบ

เจ้าหน้าที่ ต.อ. : คือเรื่องทางนิติบุคคลเรื่องจะต้องพลิกไปว่าหมู่เขาเอากลางๆ คือไปตรวจให้เรียบร้อยก่อนน่ะ ซึ่งถ้าตรงนี้ พวกดิฉัน อาจจะทำตามนั้นเลย แต่ถ้าดิฉันทำ ตรงนั้นเลยนี่ คนที่เขาคิดว่า ค้านด้านต่างประเทศ...ที่เขาจะจัดการ

พ่อท่าน : ก็ไม่เป็นไร คุณทำก่อนแล้วก็มาเสนอเขา เขาก็ไปดำเนินการในคณะกรรมการของเขา คณะจะสุดท้าย คณะไหน ก็แล้วแต่ เขาก็ทำของเขา เขาจะไป เบรคตรงไหน เขาจะไปหยุดตรงไหน ก็เรื่องของเขานี่ มันไปขายสุดท้าย ก็ที่ร้าน ที่บริษัท

เจ้าหน้าที่ ต.อ. : แต่เขาจะมาเบรคเรื่องไม่ให้ไปตรวจน่ะค่ะ

พ่อท่าน : เอ้า มาเบรคเราได้ยังไง ถ้าเราจะทำ เราเห็นดี ถ้าส่งไปทางโน้น เขาไม่เห็นดีเขาก็หยุด ถ้าเขาเห็นดี เขาก็เอา เราเห็นดี เราก็ทำไป ตามประสาเราสิ คนอื่น เขาไม่เห็นดี ไปถึงตรงโน้น เขาก็หยุดของเขาเอง ถ้าเขาไม่หยุด เขาต่อไปอีกให้ถึงที่สุด เมื่อไปถึง บริษัทพลังบุญ เป็นบริษัทสุดท้าย เป็นกรรมการสุดท้าย เมื่อไปถึงโน้น เขาก็หยุด เขาก็มีสิทธิ์ ก็เพราะบริษัทของเขา คณะกรรมการของเขา มีมติของเขา เขาไม่ขาย ใครจะไปบังคับเขาล่ะ

เจ้าหน้าที่ ต.อ. : ตรงนั้นไม่มีปัญหา แต่เราจะไปตรวจ แต่ถูกขวางอย่างเยอะน่ะค่ะ

พ่อท่าน : ก็แล้วแต่สิ ก็พวกนั้นเขาอยากทำการขวาง ก็คุณอยากจะทำ คุณก็ส่งไป ถ้าทางนั้นเขาอยากไปขวางทางโน้นได้อีก ก็ให้เขา ขวางไป เขาจะได้แต่ขวาง จนกระทั่ง สุดท้าย ก็แล้วแต่เขาสิ

เจ้าหน้าที่ ต.อ. : กราบนมัสการพ่อท่านเท่านี้นะคะ

พ่อท่าน : พวกอัตตาก็ยังงี้ จะไปตามไล่เบี้ยเขาให้ฉันทำ เอาอย่างที่ฉันเห็นฉันดี มันก็เป็นเรื่องของเขาไป ดี เป็นการปฏิบัติธรรม ไปในตัว.



ถ้ารักจะอยู่ ต้องดีให้ได้
จากปัญหาที่คณะทำงานฐานช่าง ทั้งผู้ใหญ่และเด็กนักเรียน มีพฤติกรรมย่อหย่อนในศีล และละเมิดในกฎเกณฑ์ของชุมชน โดยยกอ้าง เหตุผลสำคัญ ของพฤติกรรมย่อหย่อน ว่าเป็นเพราะต้องทำงาน ที่หนักเหนื่อย เมื่อถูกติงเตือน ก็กลับมีทิฐิว่า ไม่ได้มาปฏิบัติธรรม เพียงมุ่งมาทำงานให้ เท่านั้น ทำให้ฝ่ายบริหาร เห็นว่า ควรให้พ่อท่านได้เทศน์ เพื่อสกัดการลุกลาม บานปลายขยายวงออกไป จึงได้นิมนต์พ่อท่านให้เทศน์ ในช่วงทำวัตรเย็น ๕ ก.ย. แล้วส่งสัญญาณเสียง ไปยังพุทธสถาน และชุมชนอื่นๆ เนื่องจากปัญหา ทำนองอย่างนี้ จะมีกันในหลายที่ หลายแห่งด้วย จากเนื้อหาบางส่วน ที่พ่อท่านได้กล่าวไว้ ดังนี้

"อาตมาก็ทำงานมาตั้งสามสิบกว่าปีแล้ว อายุก็ ๗๒ ขึ้นมาแล้วนะ ซึ่งอาตมาก็ภาคภูมิใจในธรรมะของพระพุทธเจ้าจริงๆ พูดเมื่อไหร่ ก็พูดด้วย ความชื่นชม ด้วยความตื้นตันใจ ว่าคนเรานี่ แหม..ได้ธรรมะ พระพุทธเจ้าแล้วนี่ มันเป็นความประเสริฐ มันเป็นความสุข มันเป็นความดีงาม ที่หาอะไรเทียบไม่ได้

อาตมามองคนในโลกนี้..น่าสงสารมาก โดยเฉพาะคนไทยที่เป็นชาวพุทธ แต่ไม่รู้ค่าของพุทธ ก็น่าเห็นใจเขาเหมือนกัน เพราะว่า เขาไม่ได้รับการศึกษามาถูกต้อง แล้วเขาก็ไม่เห็นค่าของศาสนาอย่างจริงจังซักเท่าไหร่กันจริงๆ ก็เลยไม่ค่อยจะได้มรรค-ได้ผล อะไรของศาสนา เมื่อไม่ได้มรรค -ได้ผลจริงๆนี่ จะไม่มีจิต ตัวที่เป็นปัญญา ที่รู้จริงๆ เห็นจริงๆ ซาบซึ้งจริงๆว่า มันเป็นสิ่ง ประเสริฐแท้ ขนาดไหน

แต่อาตมาก็ยังดีใจ ยังภูมิใจ ที่มีคน คือพวกเรานี่ชาวอโศกนี่มาเห็น มาเข้าใจ แล้วหลายคนก็ไม่มีปัญหาหมดสงสัยในธรรมะ ทางนี้ ที่อาตมาพาไปนี่ ก็ตั้งหน้า ตั้งตาปฏิบัติ ประพฤติไปตามที่อาตมาพาทำ ก็มีมรรค-มีผลกัน เดินหน้าไป แต่ก็ยังมีพวกเรา บางคนที่แฝงๆ ปนๆ อยู่ในหมู่ของเรานี่ ไม่เห็นจริง บางคน ก็เหมือนกับ ไม่มีทางจะไป แต่ก็ยังมีคุณภาพพออยู่ได้สูสี บางคน ก็อยู่ๆ ไปงั้นน่ะ ไม่เอาจริง นอกจากไม่เอาจริงแล้ว ยังบอกว่า ไม่ได้มาปฏิบัติธรรมน่ะ ก็มาทำงาน เห็นมันดี ก็ทำๆไปงั้นแหละ ซึ่งอาตมาสงสาร คนชนิดนี้จังเลย ที่บอกไม่มาปฏิบัติธรรม ไม่เอาธรรมะนี่ โอ้โฮ..อาตมาเห็นว่า ทำไมหนอ ความคิดหรือว่า จิตใจ ถึงได้มืด มันเป็นของดี สุดยอด ยิ่งกว่าเพชร ยิ่งกว่าทอง เห็นกันอยู่ ก็อยู่ในนี้ มันเห็นนะ คนข้างนอกเขามาเห็น ทุกคน ก็ยอมรับ เดี๋ยวนี้กระแสของทางสังคม ข้างนอกนี่ มีมาคณะนั้น คณะนี้ วันนี้คณะที่มา....ระดับนักบริหาร เป็นข้าราชการชั้นสูงๆ เขามากัน นั่งเครื่องบินมา เพื่อมาดูงานพวกนี้ โดยเฉพาะนะ ดูรถเขามาแต่ละคัน ดูซินี่ รถจัมโบ้ ชนิดงามเฟี้ยวเลย ก็มาฟัง มาดู มาสัมผัส

ทุกวันนี้อาตมาพูดอย่างชนิดที่เรียกว่า ไม่ค่อยจะปิดบังอำพรางอะไรแล้ว ค่อนๆจะโอ่อวดด้วยซ้ำ เพราะว่ามันถึงเวลาที่จะต้อง เปิดเผย และต้องพยายาม ระดมกำลังเรากัน ขณะนี้นี่ เราต้องการความจริง เราไม่ได้ต้องการความใหญ่ เราต้องการความจริง จริงอยู่..ความใหญ่ ถ้าได้ เราก็เอา แต่ว่าเราจะไม่เน้น ความใหญ่ ความโต ที่เน้นวัตถุเกินไปน่ะ ถึงเวลาอันควร..ถ้าได้ ก็ดีนะ

ท่านเดินดิน เดินทางไปดูงาน ของฝ่ายมหายาน ที่ไต้หวัน เขาใหญ่อลังการ ร่ำรวย แล้วเขาก็เคร่งครัดมาก มีระเบียบวินัย เพี้ยนๆๆ หมดเลย นั่นก็เป็นผล ทางงาน ก็ได้เจริญ ถ้าได้อย่างนั้น เราก็เอา หากมีสัดส่วนที่เป็นไปแล้วด้วยดี แต่เราคง ไม่ได้หรอก เพราะว่าทิศทางที่ อาตมาพาทำนี่ มันไม่ใช่ทิศทาง ที่จะไปทำงาน "สงเคราะห์" อย่างนั้น เราเน้น"สร้างคน" เน้นขัดเกลา เป็นเรื่องหลัก แม้แต่ในพวกเราเอง ก็ถูกขูด ถูกขัด จนบางคนก็ไม่อยู่แล้ว มันขัดใจเหลือเกิน คืออัตตาของตัวเอง นั่นแหละ โดนขัดใจ แต่ขอยืนยันนะว่า การขัดใจในพวกเรานี่ เป็นสิ่งประเสริฐ เป็นสัลเลขธรรม ขอย้ำอีก ว่าในพวกเรา ที่ขัดใจกันนี่ มันเป็นสิ่งประเสริฐ ไม่ได้ขัดเหมือนกับ ข้างนอกเขา ข้างนอกเขาขัดเพื่อที่ จะเอาชนะคะคาน ขัดแย้ง ขัดเพื่อที่ จะเอาเปรียบ เอารัด ขัดเพื่อที่จะถล่มเข่นฆ่ากัน มันคนละเรื่องกับเรา พวกเรานี่ ขัดเกลาเพื่อ ให้พวกเรานี่ พัฒนาขึ้น แล้วคนที่ หย่อนลงไป เหลวไหลลงไปนี่ กลับโต้ตอบมา แล้วย้อนอย่างอวดดีด้วยนะ โอ้โฮ...ทำไมถึงได้เป็นอย่างนั้น

อาตมารู้สึกหดหู่ใจ ทำไมไม่รักดีกันขนาดนั้น อาตมาได้ข่าวมาว่า หลายคนนี่มีอำนาจ มีการต่อรอง แล้วก็ละเมิดอันนั้น ละเมิดอันนี้ ไปมากขึ้น ซึ่งอาตมา ก็ขอประกาศ ในวันนี้เลยนะว่า คนที่จะอยู่ที่นี่ ต้องปฏิบัติธรรม ถ้าไม่ปฏิบัติธรรมก็ออกไป ถ้าใครบอก"อยู่ที่นี่" จะทำงานเท่านั้น ไม่เอา เพราะที่นี่..ทำงาน ก็เพื่อปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ทำงาน เพื่อที่จะละเมิด แล้วก็มาเป็น ตัวอย่างที่เลวๆ ทำให้เด็กๆเล็กๆ ใครต่อใคร ก็แล้วแต่ เอาอย่าง แล้วก็ฉุดสิ่งที่อาตมา สร้างมาได้ยาก ได้เย็น อาตมา เหน็ดเหนื่อย มาตลอด อาตมาไม่ยอมที่จะให้มาทำลายอย่างนี้ ละเมิด มีโทรทัศน์ส่วนตัว นี่ได้ข่าวว่า อยู่ในรถ มีโทรทัศน์ดู เอาออกเชียวนะ ส่วนตัวแต่ละบ้าน ยังไม่ให้มีเลย อวดดีอย่างไง จะเก่งดูโทรทัศน์เอง มันมอมเมาขนาดไหน มันเลวร้าย ขนาดไหนโทรทัศน์ พวกคุณไม่รู้ เท่าที่อาตมา รู้หรอก มันเป็นอาวุธ ที่เลวร้ายที่สุดเลย ชนิดหนึ่งของสังคม โทรทัศน์เป็น เครื่องมือ นายทุน แล้วเป็นเครื่องมือของผีร้าย อาตมาเหน็ดเหนื่อย ต้องเซ็นเซอร์อะไรต่ออะไร มาไว้ให้ดู เหนื่อยนะ ไม่ใช่ไม่เหนื่อย เซ็นเซอร์เพราะมันมีเรื่อง บ้าๆบอๆ เรื่องกีฬา เรื่องมหรสพ ที่เฟ้อๆ เยอะแยะ โฆษณาเลอะเทอะ มอมเมากัน หนักหนาสาหัส

มนุษยชาติจะต้องมีที่อาศัย มีคนที่จะเป็นกลุ่มคนที่เป็นอาริยะ หรือเป็นกลุ่มคนที่ดี ซึ่งอาตมาก็ภาคภูมิใจในที่นี่ ในกลุ่มคน พวกเรา ที่มีคุณลักษณะที่ดี ซึ่งอาตมา ก็อวดอ้างกับ คนที่มา ว่านี่เป็นหมู่ชนอาริยะ ไม่มีอบายมุข ไม่มีสิ่งที่เฟ้อ ถ้าไม่พยายาม ที่จะฟังกันบ้าง ว่ามันมีหลักเกณฑ์นะ ไม่ให้ไปทำตามอำเภอใจ ไปเปิดดูอะไรเอง ซึ่งอาตมาก็พยายาม ที่จะบอกกล่าวกัน ด้วยหวังดี และตั้งใจดี ที่จะบอกกล่าว

ถ้าเผื่อว่าราชธานีอโศกนี่เคร่งครัดอย่างนี้ แล้วพวกเราก็จะออกไปกัน ไม่อยู่แล้วกรอบอย่างงี้ ก็ไปเลย ที่บ้านราชฯนี่ ขณะนี้ มีเท่านี้ เราก็จะเอาเท่านี้ ไม่ใหญ่กว่านี้ ไม่ดีกว่านี้ ไม่เจริญกว่านี้ ทางด้านวัตถุก็ตาม ผู้คนก็เถอะ ใครอยู่ได้เท่าไหร่ก็เอา ขอให้ เป็นคนดีในเกณฑ์ พอแล้ว ไม่มากกว่านี้ ก็ไม่เป็นไร ได้เท่านี้ก็เอา จะแค่นี้ ไปอีกร้อยปี อาตมาก็เอาแค่นี้แหละ ไม่มีปัญหา เพราะฉะนั้น ใครอย่ามาอ้างเป็นอันขาดว่า จะเอางานนี่มาเป็นหลัก เอางานนี่จะใหญ่ เพื่อที่จะมาต่อรอง ขอยืนยันว่า งานไม่ใช่ เรื่องใหญ่ คนเป็นเรื่องใหญ่ เราจะต้องพัฒนาตัวเองทุกคน ต้องพัฒนาตัวเอง ให้มีคุณธรรม นั่นเป็นเป้าหมายหลัก

อาตมาไม่เห็นทางว่าสังคมโลกมนุษย์นี่จะไปรอดด้วยวิธีใดๆ จะใหญ่จะโต จะร่ำจะรวย จะมีวัตถุสมบัติอะไรมากอย่างไง อาตมาก็ว่า ไปไม่รอด ตราบใด ที่คนมันมีกิเลส มีแต่จะเดือดร้อน ยิ่งรวย ยิ่งหรูหรา ยิ่งมอมเมา -แล้วเอามาอวดกัน นั่นแหละ ยิ่งบ้า

แต่ถ้าคนมีคุณธรรมแล้ว แม้มันจะน้อยจะเล็กจะกระจอก ดูเหมือนอดอยาก มันก็อยู่รอด มันก็เป็นสุข แม้จะจนจะยาก แต่ถ้า ร่ำรวยแล้ว ไม่มีคุณธรรม จิตใจไม่ดี ก็สร้างทุกข์ ให้สังคมตลอด เดือดร้อนตลอด วุ่นวายตลอด สังคมที่ไหนก็ตาม จะเป็น อย่างนั้น

ตอนนี้ก็ขอตีกรอบ บ้านราชฯจะตั้งหน้าตั้งตาเคร่งครัด เพื่อที่จะสร้างคนต่อไป คนมาดูงานนี่ เขาไม่ได้มาดูไอ้ตึกรามบ้านช่อง วัตถุ ที่ก่อที่สร้างอะไร ซักเท่าไหร่หรอก แต่มันเป็น องค์ประกอบหนึ่งเท่านั้นเอง อาตมาก็ทำไป ตามที่ควรจะเป็น แต่เขาไม่ได้ทึ่ง หรือไม่ลึกซึ้ง สิ่งพวกนี้หรอก เขาลึกซึ้ง"คน" พวกเรานี่ต่างหาก

พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ค้นพบ ว่าความเป็น"คน"นี่ มันไม่มีอะไรดีเท่ามีโลกุตรธรรม ถ้าวัตถุดีพระพุทธเจ้าจะทิ้งมาทำไม ท่านมี เวียงวัง ท่านมีทุกอย่าง ทรัพย์ศฤงคาร ทุกอย่าง ท่านจะทิ้งมาทำไม ทิ้งอย่างไม่แยแสเลย แต่ความเป็น "โลกุตรธรรม" นี่ซิ ที่ประเสริฐ ที่ดีที่สุด ที่คนต้องเอาให้ได้

ตอนนี้นี่สังคมข้างนอก เขาเพ่งเล็งมาดูเราเยอะขึ้น เราก็ต้องมีอะไรให้เขาดู สิ่งที่ดูไม่ใช่ตึกราม ไม่ใช่วัตถุ สิ่งที่จะให้เขาดู คือ มนุษย ที่มีคุณธรรม มีจริตนิสัย มีพฤติกรรมที่ดี ดีแบบโลกุตระ

ทุกวันนี้นี่เราเป็นอยู่ได้ สังคมเขาไม่เอาเราตาย เขาไม่เหยียบเราแบน ก็เพราะคุณธรรม เขาจำนนเราขึ้นมาทุกวัน ๆ ๆ ๆ สังเกต ดูซิ ไม่ว่าชาวบ้าน ไม่ว่าปัญญาชน ระดับบริหาร เขามาที่นี่ เขาก็สัมผัสกับวัตถุบ้าง เขาก็ดูว่า มันน่าทึ่งมันใหญ่พอสมควร แตกต่างจากที่อื่น พอสมควร แต่สิ่งที่เขา ชื่นชมนั้น มันไม่ใช่พวกนี้ ใช่ไหม เขาไม่กล่าวเลย ขนาดชาวไร่ชาวนา ยังไม่กล่าว แต่เขากลับซาบซึ้งพวกเรา ซาบซึ้งชีวิตพวกเรา ซาบซึ้งคุณธรรมพวกเรา ใช่ไหม ให้เปิดใจ อะไรต่ออะไรทุกเจ้า ไม่เคยมีใครบอก โอ๋..ที่นี่มันโอ้โฮ...หรูหรา ใหญ่โต มีหินเยอะ ปั้นต้นไม้ใหญ่เยอะ เขาอาจจะแปลกตา เขาอาจจะประทับใจนิดหน่อย แต่ที่ลึก กว่านั้น คือ "คน" คือสังคมแห่งอาริยะ เขาไม่เห็นกลุ่มคน ที่อยู่กันอย่างที่นี่ ใช่ไหม เพราะงั้นอย่าเบลอ อย่าเข้าใจผิด แต่อาตมา ไม่ได้ดูถูกวัตถุ ทีเดียวนะ เราต้องอาศัยวัตถุ อยู่เหมือนกัน

อาตมาเป็นโพธิสัตว์ก็ต้องมีอะไรพอสมควรหละ อย่างสิ่งมหัศจรรย์ของโลก บางอย่างคืออนุสรณ์ความเลวของคนคนหนึ่ง ที่สร้าง สิ่งนั้นขึ้นมา เลวอย่างที่เห็นแก่ตัว เห็นแก่ความรัก ของตัวเอง แล้วเอาเงินทอง ของประชาชน มาสร้างมาลงทุน สร้างเสร็จแล้วฆ่าช่างหมด เลวไหม ? เพื่อไม่ให้ช่าง ไปสร้างที่อื่นต่อ กลัวจะไปดี กลัวจะมี อันอื่นมาแข่ง เป็นอนุสรณ์ ของความเลวทราม ของคนๆหนึ่ง

หรือสิ่งมหัศจรรย์บางอย่าง กว่าจะทำกันขึ้นมาได้ คนก็ตายไปเป็นหมื่นเป็นแสนคน ทุกวันนี้นี่ ให้คนไปเดินไปชม ว่าเป็น ของใหญ่ ของแปลก ของหรูหราเท่านั้น มีประโยชน์อะไร เสียวัสดุ เสียแรงงาน คนต้องตายลงไปในที่นั้น เท่าไหร่ เพื่อสร้าง สิ่งนั้นขึ้นมา แสดงถึงความขี้กลัว ของตัวเอง กลัวคนมาบุก มารุก ก็เลยสร้างเสียจน ใหญ่โตมโหฬาร มันไม่ได้เป็น ความประเสริฐอะไรเลย

ศาสนาพุทธปฏิบัติธรรมอยู่ที่งาน สัมมาสังกัปปะก็คืองานทางจิต สัมมาวาจาก็คือการปฏิบัติธรรมอยู่ทางวาจา สัมมากัมมันตะ ก็คือการปฏิบัติธรรม เกี่ยวกับการงาน สัมมาอาชีวะ ก็คือการปฏิบัติธรรมเกี่ยวกับอาชีพ นี่เป็นของพุทธแท้ๆเลย เพราะฉะนั้น การทำงาน กับการปฏิบัติธรรม มันแยกไม่ออก คนที่ปฏิบัติธรรม คนนั้นก็ขยัน หมั่นเพียร เอาใจใส่ในการงาน แต่ไม่เผลอใจ ไม่ห่างใจ เป็นแม่โค ที่เลี้ยงลูกด้วย เล็มหญ้าให้ตัวเองกินด้วย ประโยชน์ตนด้วย ประโยชน์ท่านด้วย เลี้ยงลูกไปพลาง เล็มหญ้า ให้แก่ตัวเองไปพลาง นั่นคือการปฏิบัติธรรมของพุทธ มีประโยชน์ทั้งสองด้าน ทั้งการงาน ทั้งปฏิบัติตน แต่การปฏิบัติธรรม ของตนเองเป็นเอกนำ การปฏิบัติงาน ถือว่าเป็นรอง ของการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การปฏิบัติงานมาเป็นเอก และเอาธรรมะ ปฏิบัติธรรมเป็นรอง แล้วก็ไปเอางานมาอ้าง ต่อรองอำนาจ เพื่อให้ตัวเอง ไม่ปฏิบัติธรรม ขอประณาม ผู้ที่คิดอย่างนั้นทั้งนั้น คือ "ชั่ว" ฟังให้ดีๆ

ทุกวันนี้อาตมาเทศน์ถึงขนาดว่า เอ้อ..ถ้ามีหมู่บ้านอย่างนี้ในประเทศไทย ซักสองหมื่นหมู่บ้าน ห้าหมื่นหมู่บ้าน ประเทศไทย จะเป็นยังไง? พูดมาหลายครั้งแล้ว ตอนนี้ พูดบ่อย อธิบายไปแล้วก็ยืนยัน ก็ถามคุณแซมดินถามใครๆกัน ว่าจะเป็นอย่างไง ทุกคนก็เห็นว่าดี เห็นด้วยทั้งนั้น เพราะมันสุดยอดแล้ว หมู่บ้านที่ไม่มีอบายมุข ใดๆเลย ทั้งหมู่บ้าน คนกินเหล้า ไม่มีสักคน แม้แต่ สูบบุหรี่ก็ไม่มีสักคน ทั้งหมู่บ้าน ล้วนถือศีล ศีล ๕ ศีล ๘ แม้แต่ศีล ๑๐ ฆราวาสของเรา ก็ทำได้กันจริงๆ คือ ไม่รับเงิน รับทองกันแล้ว ไม่มีใครฆ่าสัตว์ กันทั้งหมู่บ้าน ถ้าใครลักขโมย ก็ต้องออกไปจากหมู่บ้าน ผิดผัวเขาเมียใคร ก็ต้องออกไป จากหมู่บ้าน เป็นต้น ที่สำคัญ ทำงานฟรี ไม่รับเงินเดือนกัน กินใช้ร่วมกัน เป็นสมบัติส่วนกลาง ทั้งที่ดินบ้านช่องอาคาร เงินทองเป็น "สาธารณโภคี" จะหาได้ที่ไหนในโลก..?

ปัญหาที่มีกันอยู่โลกทุกวันนี้ก็เพราะมันทำไม่ได้อย่างนี้ ทำไมไม่พยายามประคับประคอง สิ่งดีนี่ ช่วยกันประคับประคอง บ้างประไร จะต้องมา เป็นคนทำลาย มาเป็นคนฉุด มาทำให้ด่าง ให้พร้อยทำไม ทำไม หัวใจสีอะไรน้อ

พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า "บาปแม้น้อย อย่าทำเสียเลย" ท่านตรัสนี้ไม่ใช่เรื่องสามัญเลย ซึ่งเป็นคำสูง เป็นคำตรัสที่วิเศษมาก สุดยอด แห่งคนทีเดียว ถ้าใครเตือนตนเองได้ บาปแม้น้อยอย่าทำ ! มันจะวิเศษขนาดไหน ก็คิดดู

อาตมาก็อยากจะขอร้องนะ ช่วยอาตมาบ้าง ขอร้อง มาอยู่ด้วยกันก็ดีแล้ว คนที่มาแล้ว อาตมาก็ว่ามีบุญแล้วหละ ที่ได้มาอยู่ มาทำอะไร ต่ออะไรร่วมกัน ร่วมก่อ ร่วมสร้าง ร่วมพัฒนาตน มันก็ดีแล้ว ก็น่าจะตั้งใจ เสียโอกาสทำไม

ก็ขอบคุณจริงๆ จากใจจริงของอาตมา พวกเรานี่แต่ละคนมาเสียสละ อันนี้ต้องขอบคุณ จะคนละมาก คนละน้อยอะไรก็ตามใจ ถ้าไม่มีพวกคุณ อาตมาก็ทำอะไร ไม่สำเร็จหรอก แต่ที่ทำอะไรได้ถึงขนาดนี้ก็เพราะ พวกเราทุกคน ชาวอโศก คนละเล็ก คนละน้อย คนละมาก ก็ต้องขอบคุณ กันมากๆ แน่นอน ที่ได้พยายาม ทำอะไรกัน ต่างๆนานา เกิดจากพฤติกรรม ของมนุษย์ จริงๆ ที่ทำให้อะไรต่ออะไร ให้มันเกิดได้ เป็นได้ ที่อาตมาจะตอบแทนสิ่งที่ดี ที่ได้ทำอันนี้ ก็ถึงได้มาเทศน์ ได้มาบอกว่า พัฒนาเถิด ปรับปรุงตนเองเถิด อย่าปล่อยปละ ละเลยตนเองเลย ไม่ใช่อาตมาโกรธเกลียด ไม่ใช่อาตมาจะมาประจาน ธรรมะ ของพระพุทธเจ้านี่ ไม่มีเสน่ห์ตรงนี้ ที่พูดแต่ทุกข์ มองความไม่ดี พูดเหตุแห่งทุกข์ มองเหตุแห่งความไม่ดี หรือเหตุแห่งความชั่ว แล้วก็ล้าง สิ่งที่พาชั่ว เป็นศาสนาที่เขาเรียกว่า ทุกข์นิยม

พระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสว่า ผู้ที่มีมรรค-ผลเท่านั้นที่จะทนอยู่ได้ คนไม่มีมรรค-ผล จริงๆ ทนไม่ได้ ขอยืนยัน ถ้าเป็นพุทธจริง ก็ต้อง เป็นอย่างนี้ มันจะต้องขัดเกลา จะต้องบอกเหตุแห่งทุกข์ มันจะต้องบอก สิ่งที่ไม่ดี ต้องรีบเอาสิ่งที่ไม่ดีออก สิ่งที่ดีไม่เป็นไรหรอก อยู่กับตัวใคร มันจะอยู่นาน อยู่ช้า มันไม่ได้ทำร้าย ทำเลวอะไร กับเรากับสังคม แต่สิ่งที่ไม่ดี มันอยู่กับคนนี่ ต้องรีบเอาออก จึงมีแต่จะเจริญถ่ายเดียว พระพุทธเจ้า ก็ยังตรัสว่า "จงฟังบัณฑิต ผู้ตำหนิ หรือผู้ข่มแล้ว ข่มอีกนั้นเถิด จักได้ดี แต่ถ่ายเดียว" นี่ก็เป็นคำตรัสที่ชัดเจน ท่านไม่เคยบอกว่า "จงฟังคนที่ชมเรา คนที่ ประเล้าประโลมเรา ชมแล้วชมอีกนั่นเถิด จักได้ดี แต่ถ่ายเดียว" ไม่มี นี่เป็นเอกลักษณ์ ของศาสนาพุทธ คือศาสนาช่างติ แต่ระวัง.. ติกันก็จะต้องมีเวลา มีมารยาท มีศิลปะ มีวิธีติบ้างนะ อาตมาเทศน์มานี้ก็ติรวด"

วันรุ่งขึ้น ๖ ก.ย. ๒๕๔๘ สมณะถักบุญ อาจิตปุญโญ ได้นำคณะทำงานฐานช่างทั้งหมด ทั้งผู้ใหญ่และเด็กนักเรียนประมาณ ๑๕ คน มากราบนมัสการ ขอขมา กับพ่อท่าน โดยมีลายเซ็นของแต่ละคน ประกอบคำขอขมา สำนึกผิด เป็นลายลักษณ์อักษร เหมือนเป็นสัญญาต่อพ่อท่าน ที่จะปรับปรุงตนเอง ในการนี้ ได้มีตัวแทน คณะทำงานฐานช่าง เป็นนักเรียน เป็นผู้อ่าน คำขอขมานั้น ซึ่งมีลายเซ็นของทุกคน เซ็นกำกับรับรองไว้ท้ายข้อความ ก่อนส่งให้พ่อท่าน ไว้เป็นหลักฐาน คำขอขมาที่ว่านั้น มีใจความดังนี้

"กราบนมัสการพ่อท่าน ทีมงานช่างได้ประชุมตกลงกันว่า ทีมงานแต่ละคนสำนึกในความผิด ของตัวเอง ในแต่ละคนแล้ว และ พร้อม ที่จะปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตัวเอง และจะรักษาศีล ๕ อยู่ในกฎระเบียบ ของชุมชนคนวัด จะเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม ใหม่ทั้งหมด เพราะว่า ป็นบาปมากเลยครับ กับการทำผิด ในครั้งนี้ ลูกๆได้รับ ความเมตตา จากพ่อที่พวกเราศรัทธา รักและ เคารพ ทั้งที่พ่อก็เหนื่อยกับงานที่มีมากพออยู่แล้ว แล้วต้องมาคิดเรื่องนี้อีก ลูกๆก็เลยพร้อมใจกัน ที่จะช่วยงานพ่อ ให้มากที่สุด ลดละกิเลส รักษาศีล ๕ ลูกๆก็เหมือนได้เกิดใหม่ เป็นคนใหม่ และจะตั้งใจ ช่วยงานของพ่อให้ดีที่สุด จะช่วยพ่อสร้างบ้าน สร้างหมู่ และงานของพ่อ ให้มากที่สุดครับ กราบขอโทษพ่อ ที่ลูกได้กระทำความผิด ต่อชาวอโศก ทำลายสิ่งที่พ่อท่านสร้าง และชาวอโศกสร้างมา

เพื่อความสบายใจของลูกๆ ก็เลยต้องมีลายเซ็น ได้แต่สำนึกในความผิด และจะได้เป็นคำสัญญาต่อพ่อจากลูก ว่าต่อไปจะเป็น ลูกที่ดี ของพ่อ จะไม่ทำให้พ่อเหนื่อย มากกว่านี้ครับ

กราบขอบพระคุณพ่อท่านที่ให้โอกาสแก่ลูกๆ ทีมงานช่าง" (ต่อท้ายด้วยลายเซ็นของทุกคน)

พ่อท่านได้กรุณาให้ข้อคิดปิดท้ายว่า "ก็ขอบคุณทุกคนอยู่นะ ที่ช่วยกันทำงาน แต่ว่าเป้าหมายหลัก หรือว่างานแท้ของอาตมานั้น งานสร้างคน ไม่ใช่งานไปติดที่งาน เห็นงานเป็นเอก เห็นงานเป็นเด่น เอางานมาลบล้าง สิ่งที่สูญเสีย หรือว่าผิดพลาด ในทางธรรม มันไม่ได้หรอก คือไปหลงใหล ไปเผลอไผล ไปต่อรอง เอาอำนาจทางงาน มาต่อรองทางธรรมนี่ มันก็ตาย มันก็ไป ไม่รอดนะ...

จริงงานเราก็ต้องทำ แล้วมันก็ต้องอาศัยงาน เราเป็นอยู่แล้วเราไม่ปลูกข้าวก็ไม่มีข้าวกิน ก็ตาย ไม่อาศัยงานไม่ได้หรอก ไม่รู้จักเช็ด จักปัด จักกวาดก็ตาย มันก็เกื้อกูลกัน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การปฏิบัติธรรม มันต้องเป็นหลัก เป็นเอก เพราะงั้น ตั้งใจ ดีๆ ตั้งสติดีๆ อย่าไปเผลอไผลผิดพลาด อย่างไงๆ เมื่อมันผิดพลาด มันก็ผิดพลาดกันได้ คนเรากิเลสมันมี อินทรีย์ยังไม่แข็ง มันก็ต้องผิดพลาดได้บ้าง ผิดพลาดมันก็ต้องยอมรับ อย่าไปทำให้มันเป็นเชิง แหม... อวดดี หยามหยัน หรือว่าเป็นเชิง อย่างไง ล่ะ ...ประชดประชัน แดกดัน อะไรมันไม่ดี แล้วต้องรู้ว่าเอ้อ ....มันสิ่งไม่ดี อะไรทำออกไปแล้ว จะทำด้วยตั้งใจเจตนา ไม่เจตนา ก็ตาม ก็ต้องรู้ว่าเอ้อ..อันนี้มันไม่ดีนะ มันผิดพลาด มันไม่เข้าท่า แล้วก็ต้องอย่าไปทำ เชิงอวดดี ต้องสำนึกละอาย มีหิริ มีโอตตัปปะ แล้วเราก็ฝึกให้เจริญ

เอ้า..เข้าใจก็ดีแล้ว นะ..พยายามตั้งใจ คือตอนนี้นี่เรามันมีความจำเป็นนะ...อาตมาว่า จำเป็นที่เราจะต้องเร่งรัดพัฒนา ไม่ว่า ทั้งงาน ไม่ว่าทั้งคน คนก็จะต้อง พัฒนาให้เจริญ เพราะว่านี่เห็นได้ อยู่ที่นี่บ้านราชฯนี่ ยิ่งชัด คนมันเข้ามา โอ้โฮ.. แต่ละวัน ไม่รู้กี่คณะ มา..ไม่บอกมากัน เยอะด้วย เดี๋ยวก็มา เดี๋ยวก็มา จนจะรับแขกกัน ไม่หวาด ไม่ไหวแล้ว ไปต่อรองที่จะให้เราอบรม เราก็ไม่มีพลังพอ ก็ต้องผัด ต้องผัดวัน ผัดครั้งผัดคราว อะไรต่ออะไรไป

แต่ถึงอย่างไรมันก็ต้องอบรมเขานั่นแหละ ที่จริงพวกนั้นจะมาเป็นคนเช่นพวกเราในอนาคต พวกที่เราอบรมนี่ อย่างมากนะ มาอบรม ร้อยคน เราได้แค่ สามสิบนะ โอ้.... เข้าใจ ศรัทธา ซักสามสิบ พอแล้ว ร้อยหนึ่งได้ผลสามสิบ ก็พอแล้วจริงๆ แต่จริงๆ จะได้มากกว่านั้นอยู่นะ เป็นแต่เพียงว่า เขาเข้าใจหมดน่ะ อาตมาว่า ร้อยหนึ่งนี่ มาอบรมนี่ แปดสิบได้ ที่เข้าใจ แต่ที่จะทำได้นี่ อาจจะไม่ถึงสิบ ทำได้แต่ไม่ถึงสิบ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าได้ถึงสิบก็ดี ยี่สิบก็ดี อาว..พวกเราก็ติดตามอยู่ ก็ค่อยๆ เร่งช่วยเขา ผู้ที่มา อบรมแล้ว ก็คอยตาม พยายามตาม

เอ้า..ก็ช่วยกันดูแล แล้วก็ทำขบวนการกลุ่มให้ดี แต่การทำขบวนการกลุ่มไม่ใช่ว่า ตั้งกลุ่มมาเพื่อทำสังฆเภท แหม.... มาอวดดี แล้ว ฉันจะต้องอื้ม ... ไม่ใช่อย่างงั้น มันบาปตายเลย มันไม่ได้ มันต้องเป็นมวล มันต้องรวมกันประสาน ต้องอยู่รวมกันหมด ทุกคน ไม่ว่าฝ่ายไหนๆ ก็ต้องมาประชุมรวม เพื่อที่จะต้องเข้าใจว่า เอ้อ.... อันนี้อันนั้น อันไหนจะทำอันไหน อันไหน จะแบ่ง อันไหน อันไหนจะเมื่อไหร่ อันไหนก่อน อันไหนหลัง อะไรอย่างนี้เป็นต้น อันนี้จะต้อง ยอมให้อันนี้ก่อน อันนี้เราต้อง ถอยหลังก่อน พักไว้ก่อน อะไรพวกนี้ จะต้องดูเหตุการณ์ จะต้องดูองค์ประกอบข้างใน แล้วยังจะมีอะไรต่ออะไร ที่ต้องทำ เยอะแยะนะ...

ก็เป็นไปตามประสาของมัน มันจะได้อะไรต่ออะไรก็แล้วแต่ เอ้า...คิดดี ตั้งใจก็ดีมาก นี่พยายามทำให้เป็นหลักเป็นฐานให้มันดี"

กราบขอบพระคุณพ่อท่านมากครับ



ท่าทีในการร่วมกิจกรรมกับองค์กรอื่น
ที่มีความเชื่อที่ต่างจากหลักพุทธธรรม

๑๓ ก.ย. ๒๕๔๘ ที่ราชธานีอโศก ได้รับโทรศัพท์ปรึกษาการจะไปร่วมกิจกรรม กับ องค์กรทางศาสนาหนึ่ง ที่มีหนังสือเชิญมา โดย จะออกค่าใช้จ่าย ต่างๆให้หมด การใช้ดุลยพินิจ ในการร่วม หรือไม่อย่างไร มีรายละเอียดจากการสนทนาดังนี้

คุณแซมดิน : กราบนมัสการพ่อท่านครับ มีองค์กรศาสนาหนึ่ง จะเชิญคณะของเราไปร่วมงานที่อินเดียด้วยนะครับ เป็นงาน ของเขา นะครับ ที่มาจากทั่วโลก มีประธานาธิบดี อินเดีย มาต้อนรับนะครับ ตั้งแต่วันที่ ๑๐-๑๖ ตุลาคม ผมเคยไปครั้งหนึ่ง แล้วนะครับ สมัยติดตาม พล.ต.จำลอง เขาจะพาขึ้นไปที่ เทือกเขาอาบู แล้วเขาจะมี การอภิปราย แล้วก็จะนั่งสงบ และจะมี การทำกิจกรรมแบบของเขา หมดเลยนะครับ แต่มันจะเป็นพิธีแบบ มาจากทั่วโลก ก็เป็นการต้อนรับ แบบเป็นทางการ ปีนี้ เขาก็จะมาเชิญเรา ไปด้วยนะครับ ๗ วันครับ ผมน่ะไม่ควรไปอยู่แล้ว เพราะเคยไปมาแล้ว แต่ทีนี้ว่า คณะของเราควรจะไป หรือไม่อย่างไร

พ่อท่าน : ฟังๆดูแล้ว เขาต้องการขยายงานของเขาเพื่อให้กว้างออกไป ซึ่งลัทธิของเขาเราก็รู้ เราเข้าใจอยู่แล้ว เราไม่ได้ติดอก ติดใจอะไร ถ้าไป เราจะเป็นประโยชน์ อะไรบ้าง ก็พิจารณา

คุณแซมดิน : ของเราก็คงไม่ค่อยจะเป็นประโยชน์อะไร เท่าที่ผมไป ผมก็ไปนั่ง ก็เข้าใจเขานะครับ วิธีที่จะมองสื่อจากพระเจ้า อะไร ของเขานะครับ จากดวงตา จากแสงนะครับ เราก็ไม่ได้ทำอยู่แล้ว ที่ไปคราวนั้นก็ติดตาม พล.ต.จำลองไป คือเขามาชวน ให้ผู้ว่าฯ จำลองไปด้วย เป็นแขก ผู้มีเกียรติน่ะครับ ผมคิดว่า ถ้าความเห็นผม มันคงไม่ค่อย เป็นประโยชน์อะไรเท่าไร

พ่อท่าน : อาตมาฟังดูแล้ว มันก็จะเป็นความเข้าใจของเขา เรามองเห็นแล้วว่าไม่ค่อย เกิดประโยชน์อะไร มันคนละสายกัน คนละทางกัน ถ้าไป... หนึ่ง มันก็เสียสตางค์เขา แม้เขาเต็มใจจะเสีย ก็ช่างเขาเถอะ เราไม่น่าจะไปให้เสียสตางค์เขาเปล่าๆ แล้วเรา ก็เห็นแล้วว่า ไม่เป็นประโยชน์อะไรด้วย เสียเวลา แล้วจะหาวิธี ปฏิเสธเขาอย่างไรล่ะ

คุณแซมดิน : ผมก็คิดว่าจะหาวิธีปฏิเสธเขาอย่างไรดี

พ่อท่าน : ก็ปฏิเสธเขาไปดีๆ บอกว่าแหม พวกเราก็งานเยอะ คนของเราก็ไม่มาก เบียดงานของเรา ตอนนี้ก็แยกหลายสาย หลายคน วิ่งหอบ คนจะไปทำงาน ก็ไม่ค่อยจะพอ ไม่มีทั้งเวลา ไม่มีทั้งแรงงาน ไม่มีทั้งผู้คนเล้ย มันคงไปไม่ได้หรอก ก็ว่าไป

คุณแซมดิน : ครับ อีกงานหนึ่งผมเห็นว่า น่าจะสนับสนุนได้นะครับ คือโครงการสงบภายใน สู่สันติภาพโลก เขาขอให้เราช่วย สงบนิ่ง ๑ นาที

พ่อท่าน : อ๋อ ได้ เราทำอยู่แล้ว

คุณแซมดิน : คือตั้งแต่วันที่ ๑๘-๒๑ กันยายน ทุกพุทธสถานนะครับ ขอให้เราช่วยแจ้งข่าวไปด้วยอย่างนี้ ผมคิดว่า จะตอบรับ ไปได้เลยนะครับ วันที่ ๒๑ กันยายน เป็นวัน สันติภาพโลกนะครับ แต่เขาจะเพิ่มวันอาทิตย์ อีกวันหนึ่ง เพราะเห็นว่าคนมาโบสถ์ คนมาวัดอยู่แล้ว ๑๘ กันยายน เป็นวันอาทิตย์ครับ

พ่อท่าน : ไม่มีปัญหาหรอก เรื่องนี้เราทำของเขามาอยู่แล้ว

คุณแซมดิน : เรื่องนี้เราตอบรับเขาไปได้ ส่วนเรื่องจะเชิญไปอินเดียด้วย เราตอบปฏิเสธเขาไปดีกว่านะครับ เดี๋ยวผมต้องหา วิธีตอบ ไม่ให้เสียมิตร

พ่อท่าน : ก็อย่างที่อาตมาพูดมานั่นแหละ ถ้ามีเหตุผลอื่นอีกก็ผนวกเข้าไป

คุณแซมดิน : ครับเดี๋ยวผมลองร่างเหตุผลแล้วตอบเขาไป กราบขอบพระคุณครับ พ่อท่านครับ

หลังจากวางสายโทรศัพท์แล้ว ข้าพเจ้าซักถามต่อ

ข้าพเจ้า : อ้าว พ่อท่านไม่ทำอย่างในลักษณะประสานหรือครับ

พ่อท่าน : มันไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร เพราะสายนี้เขาเป็นเทวนิยมเต็มรูปเลย ก็ได้แต่แค่สมถะ แล้วเราก็ไม่มีปัญหาอะไร สำหรับ สมถะ เราก็ใช้กันอยู่ พอสมควรแล้ว นอกจาก จะเป็น เทวนิยม ที่จะต้องใช้ความสงบแล้ว เขาก็ยังจะมีเรื่องพิลึกพิลือ เป็น Magic เป็นเรื่องอะไรต่ออะไรของเขา โอ้โฮ..เป็นมโนมยอัตตา เป็นพลังพิเศษ เป็นอะไรต่ออะไร ของเขาไปใหญ่เลย ซึ่งจะทำให้พวกเรา ไขว้เขว สับสนไปเปล่าๆ

ข้าพเจ้า : อ๋อ เขาไม่ได้ไปแสดงมวล แสดงพลังอย่างเดียว ไปเพื่อจะได้ไปปฏิบัติอย่างเขาด้วยหรือครับ นึกว่าเหมือนกับ ไปแสดง พลังสันติภาพ ขององค์กรต่างๆ ทั่วโลก

พ่อท่าน : เปล่าๆ ไป....ก็ต้องไปทำพิธีอะไรของเขา ซึ่งเราไม่เป็นเรื่องอะไรกันเลย มันจะเกะกะ เป็นภาระเสียมากกว่า ที่จริงก็คือ เขาจะให้เราทำ เป็นให้ได้ อย่างเขานั่นแหละ

ข้าพเจ้า : อ้าว แล้วเราไม่บอกเขาไปตรงๆว่า วิธีการอย่างนี้เราทำด้วยไม่ได้ มันจะได้ไม่ต้องไปหาเหตุผลอื่น

พ่อท่าน : เขาก็รู้ แต่เราก็ประสานอยู่ เราคิดคนละทางเขาก็รู้

ข้าพเจ้า : ไม่ใช่ก็บอกเหตุผลเขาไปตามตรงว่า วิธีการอย่างนี้มันเป็นสิ่งขัดขวางต่อหลักคำสอนของเรา ดีกว่าไปอ้างเหตุผลอื่น บางที มันดูเหมือน เราพูดไม่จริง หรือ ใส่หน้ากากคบกัน

พ่อท่าน : เอ้อ อันนี้ก็คิดไม่ถึง เราก็น่าจะบอกเขาไปอย่างนั้น ก็น่าจะดี แต่มันเหมือนเราตัดเยื่อ ตัดใยเขาเลยนะ

ข้าพเจ้า : ก็เราร่วมบางส่วนไงครับ ส่วนที่เราร่วมได้เราก็ร่วม แต่ส่วนที่เราร่วมไม่ได้ก็ขอไว้เถอะ เหมือนกับ ถ้าจะบังคับ ให้คน นับถือ ศาสนาอิสลาม มากราบพระพุทธรูป มันย่อมไม่ควร เราอาจจะยกตัวอย่างทำนองอย่างนี้ไป

พ่อท่าน : เปล่า เขาไม่ได้บังคับให้เราไปทำพิธีกับเขา เขาให้เราไปดู ไม่ได้บังคับทีเดียว

ข้าพเจ้า : อ๋อ ให้ไปดู แม้ไปแล้วไม่ได้ไปทำตามเขาก็ได้

พ่อท่าน : ได้ มันเป็นการเผยแพร่งานของเขา เขาลงทุนนะนี่ เขาหาทางโฆษณา

ข้าพเจ้า : ถ้าเขาไม่ได้บังคับให้เราไปทำพิธีตามเขา แล้วในมุมที่คิดว่าไปเพื่อประสานล่ะครับ

พ่อท่าน : ไปก็เสียเวลาเรา แล้วก็เสียเงินเขาด้วย เราไปเขาก็จ่ายเงินให้ แต่เขาก็ไม่เสียดายหรอก เพราะเขาถือว่าเป็นการโฆษณา แต่เราเอง เราเห็นว่า มันไม่น่าจะเสีย ถ้าคนอื่นได้ไป เขาก็จะได้ประโยชน์ของเขา ถ้าเขาเสียเงินให้เรา เขาก็ไม่ได้ประโยชน์ อะไรอยู่แล้ว เพราะเราไป ก็ไม่ได้ไปทำอะไรกับเขา เขาก็เสียฟรี เสียเวลาเราอีกด้วย



มีเสียงคลื่นอยู่ในหัวสมอง
ก็เป็น มโนมยอัตตา อย่างหนึ่ง

๑๔ ก.ย. ๒๕๔๘ ที่ราชธานีอโศก ช่วงเวลาค่ำ ขณะพ่อท่านกำลังทำงานที่ห้องทำงานในเรือ ได้รับโทรศัพท์จากญาติธรรมหญิง คนหนึ่ง ซึ่งเคยมีจิตเพ่งโทษ ถือสาหมู่ หลายเรื่อง แล้วได้ห่างหายจากหมู่ไปนาน จากการสนทนาจึงทราบว่า เธอมีอาการ ผิดปกติทางจิตแล้ว ขอนำส่วนของการสนทนาสั้นๆ ในการแนะนำผู้ป่วย ที่มีอาการ ในลักษณะเช่นนี้ รายอื่นๆ หากท่านผู้อ่าน อาจจะได้พบเจอ หรือไม่ได้พบเจอก็ถือเป็นความรู้อย่างหนึ่งให้กับท่านผู้อ่านก็แล้วกัน

หญิง : พ่อท่านคะ ทำไมมันมีคลื่นอยู่ในหัวสมองดิฉันจังเลย
พ่อท่าน : อะไรนะ (คลื่นค่ะ) คลื่น คลื่นยังไง

หญิง : คลื่นอยู่ในหัวตลอดเลย ไม่ทราบว่าเป็นของท่าน หรือของเขา
พ่อท่าน : เป็นอะไรนะ

หญิง : เป็นภาษาพูด อยู่ในหัวตลอดเลย
พ่อท่าน : พูดอยู่ในหัว เออะๆๆ มันจะมีอะไรล่ะ มันก็เป็นพวกหลอนอะไรต่ออะไร เราก็ต้องพยายามทำจิตของเราให้สงบ แล้วก็ อย่านึกว่าไอ้สิ่งเหล่านี้มันมีจริงเป็นจริง มันจะเกิด อย่างนั้นแหละ มันจะเป็นอะไรต่ออะไรไป ต่างๆนานา ต้องคิดถึงความจริง ให้ได้ว่า จริงๆแล้ว มันต้องมีเหตุ มีปัจจัย ถึงจะมีเสียง มีคลื่น มีโน่น มีนี่ มีอะไรต่ออะไร ที่มันมีขึ้นมาอย่างนั้น มันเป็นเรื่องของ การหลอน เป็นมโนมยอัตตา จริงๆ ต้องพิจารณา แล้วพยายามปล่อยวาง ต้องพิจารณา ถึงความจริงอันนี้ ให้ชัดเจนเลย ถ้าเรา ไปเชื่อว่า มันเป็นจริง มันมีอยู่อีก มันก็จะมีอยู่ตลอดกาลแหละ

หญิง : พ่อท่านรู้ถึงพฤติกรรมของโรคเลยใช่ไหมคะ (ใช่) ช่วงนี้ดิฉันปวดหัวมากเลยค่ะ ทำงานไม่ได้

พ่อท่าน : นั่นแหละก็ต้องพยายามพิจารณา ปล่อยวาง อย่าไปอึดอัดขัดเคืองกับมัน ทำอะไรต่ออะไรไปเรื่อยๆ อย่าพยายาม ไปเอาใจใส่ ให้ไปอยู่กับงาน หรืออะไรต่ออะไรไป ที่เป็นเรื่องปกติ ธรรมดาสามัญของเราไป

หญิง : สภาวะอย่างนี้ทุกคนจะต้องเจอไหมคะ
พ่อท่าน : ไม่หรอก น้อยคนจะเจอ

หญิง : ของพ่อท่านเจอแบบนี้บ้างไหมคะ
พ่อท่าน : ไม่ ไม่ ไม่เคยเจอ อาตมาไม่มี

หญิง : พ่อท่านรู้ไหมว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้ ที่ว่ามันเป็นอาการหลอน มันมีภาษาเหมือนพ่อท่านพูด เหมือนเป็นที่ระบบประสาท แต่จริงๆแล้ว เป็นอยู่กับเรา ตลอดเวลาเลย มันมีมาตรงขาบ้าง ตรงแขนบ้าง ตรงไหล่บ้างบางที

พ่อท่าน : ก็เป็นได้ อย่างที่ว่านั่นแหละ ต้องพิจารณาให้เห็นความจริง อย่าไปเอาใจใส่มันนั้นเป็นสำคัญหนึ่งก่อน แล้วพยายาม ใช้ปัญญาพิจารณา ให้เห็นความจริงว่า อันนี้มัน ไม่ใช่ของจริงหรอก มันเป็นของหลอกของลวง มันเป็นของหลอน ทางวิทยาศาสตร์ เขาก็รู้ชัดในเรื่องนี้ เอ้าก็พากเพียรปฏิบัติดู

หญิง : ค่ะ กราบนมัสการพ่อท่านค่ะ



เรียน Agricultural Economics
เพื่อเอา บุญนิยม เข้าไปทำ

๒๔ ก.ย. ๒๕๔๘ ที่สันติอโศก คุณพิมพ์บูชา รัศมีวิเชียรทอง อดีตนักเรียนพุทธธรรมวันอาทิตย์สันติอโศก สอบได้ทุนของ ก.พ. ไปเรียน เศรษฐศาสตร์ปริญญาโท ที่ต่างประเทศ อยู่ในระหว่าง เลือกมหาวิทยาลัยที่จะเรียน ด้วยประสงค์จะนำเอา เศรษฐศาสตร์ บุญนิยม เข้าไปทำด้วย จึงได้มาปรึกษาพ่อท่าน จากการสนทนา ทำให้เกิดคำว่า คนรวยอำมหิต และ คนจนมหัศจรรย์

พิมพ์ : ตอนนี้พิมพ์ต้องเลือกมหาวิทยาลัยเเล้วค่ะพ่อท่าน เเล้วคุณเเม่ได้บอกข่าวเรียบร้อยเเล้วค่ะ วันที่พบพรมาคุยกับพ่อท่าน คุณเเม่บอกว่า พ่อท่านบอกว่า เป็นโอกาสดี ที่จะเอาเรื่อง บุญนิยมไปทำ เเต่ปัญหาก็คือว่า มหาวิทยาลัยที่เมืองนอกเนี่ยค่ะ Economics เป็นที่รู้กันน่ะค่ะว่า Economics อย่างเดียวมันก็มี เเล้วมันยังเเยกอีก อันเป็น Agricultural Economics พิมพ์ก็เลย อยากถามพ่อท่าน ว่า ถ้าเผื่อ Agricultural Economicsนี่น่ะค่ะ มันจะเอาบุญนิยม เข้าไปทำง่ายกว่า Economics โดยเฉพาะหรือเปล่า

พ่อท่าน : Agriculture มันจะแคบ อาตมาว่าเป็นการค้า มันจะดีกว่ามั้ง

พิมพ์ : เป็นการค้า คือยังไงคะ หมายความว่าเป็นในเชิงทางการค้า
พ่อท่าน : เออ เชิงการค้า เชิงทางธุรกิจ เชิงทางการผลิตที่จะได้กำไรขาดทุน อาตมาว่าอันนี้จะชัดกว่า ถ้าไปเอา Agriculture มันก็ จะอยู่ในวงเเคบ อยู่ในวง ของอันนั้นน่ะ อาตมาคิดว่า เราทำได้โดยไม่จำเป็นจะต้อง ไปคิดในส่วนกว้าง อะไรมากมาย เเต่ถ้าเป็นเรื่องของธุรกิจการค้า เรื่องพวกนี้อาตมาคิดว่า มันจะทำความเข้าใจ กับสังคมได้ หรือเป็นหลัก ให้เเก่สังคมมากกว่า หรือว่า เราทำตั้งเเต่เล็กไป ถ้าทำ Agricultural Economics มันจะเป็น Microeconomics ใช่ไหม เเต่ถ้าเป็นการค้า มันจะเป็น Macroeconomics

พิมพ์ : อย่างพิมพ์ได้ดูใน Course outline ของ Economics กับ Agricultural Economics อย่างที่พ่อท่านบอกก็มีส่วน ที่ว่า Agricultural Economics มันจะเกี่ยวกับ เรื่อง Product market ซึ่งหมายความว่าจะต้องดูตลาดสินค้าอย่างไร จะต้องผลิต สินค้าอย่างไร

พ่อท่าน : ที่จริงทำอย่างนั้นก่อนก็ได้นะ เเล้วค่อยคืบหน้าไป จะทำอันนี้ก่อนตอนปริญญาโท ปริญญาเอกค่อยไปทำกว้างกว่านั้น ก็ดีนะ เอาๆก็ดี ดีเหมือนกัน เอาๆ ขนาดนี้ อาตมามองนะ ไม่รู้จะถูกหรือไม่ถูก ตามหลักวิชาหรือเปล่าไม่รู้นะ อาตมาว่า ถ้าจับ Agricultural Economics นี้มันน่าจะตีตรา ไปได้ว่าเป็น Microeconomics ใช่มั้ย

พิมพ์ : ใช่ค่ะ

พ่อท่าน : ก็ทำอันนี้ก่อนก็ได้ ทำอันนี้ก่อนก็ได้ ต่อไปถ้าจบ เเล้วค่อยขยายเป็น Macro-economics อีกทีหนึ่ง

พิมพ์ : พ่อท่านคะ จากที่พิมพ์ดู Course ของ Economics โดยเฉพาะ มันเหมือนกับที่พิมพ์เรียนตอนนี้น่ะค่ะ เเต่เรียนลึกลงไป กว่าเดิมค่ะ

พ่อท่าน : ใช่ใช่เจาะลึกลงไปกว่าเดิม มันมีจุดกว้างจุดลึก

พิมพ์ : ถ้าสมมุติเป็น Agricultural Economics มันก็จะฉีกไปอีกด้านหนึ่งเลย คือมุ่งไปทางด้านการเกษตร เเต่พ่อท่านพูด ก็ถูกนะคะ เพราะว่า มันจะเป็น สินค้าการเกษตรในเชิงว่า จะทำอย่างไร เพื่อที่จะทำให้เกษตรกรขายได้

พ่อท่าน : ใช่ อาตมาว่าเป็น Microeconomics ถ้าจะเอา Agricultural Economics เข้าไป จะเจาะเข้าไปทาง Microeconomics ก็ดี เอาเถอะ เอาล่ะ อาตมาว่า เหมาะสม ปริญญาโท ทำอย่างนี้ก็ดีเหมือนกัน ต่อไปถึงค่อยไปขยาย ลักษณะ ที่มันจะออกไปเป็น Macroeconomics อีกทีหนึ่ง มีความรู้ อย่างนี้ก่อน ไม่งั้น มันจะกว้าง เกินไป มันจะสับสน มันซับซ้อนอยู่ ขณะนี้อาตมากำลังขยายผล ขยายความหมายกับสังคม เรื่องของชื่อ บนหน้าปกหนังสือ เราคิดอะไร เช่นฉบับนี้ ทุนนิยมนั้น รวยกระจุก จนกระจาย วงเล็บ มหัพภาค เเต่มี Question mark (?) ต่อท้ายนะ บุญนิยมนั้น จนกระจุก วงเล็บ จุลภาค ไว้ตรงนี้ เเต่ไม่ถึงขนาดว่า จุลภาค ไม่ถึงขั้นเป็น Economics นะ ยังใช้เเค่ Micro เฉยๆ ยังไม่ต่อหางด้วยคำว่า Economics นะ เเต่เเน่นอน จนกระจุกนี่มันก็อยู่ในจุลภาค อยู่ใน Micro เเน่นอน แต่ว่าช่วยคนอื่นๆทั่วไป รวยกระจาย เเล้วก็มี Question mark ต่อท้าย

พิมพ์ : ทำไมต้อง Question mark ด้วยล่ะคะ พ่อท่าน

พ่อท่าน : ก็มันซับซ้อนน่ะ ให้เขาคิดไง ฉบับต่อไปอีกจะเป็น บุญนิยม คนทำจุลภาค คนได้ประโยชน์ มหัพภาค จนกระจุก รวยกระจาย เเต่..ทุนนิยม คนได้ประโยชน์ จุลภาค คนทำมหัพภาค รวยกระจุก จนกระจาย คือใช้ภาษาที่มันต่างกันน่ะ ใช้ภาษา ต่างกัน บุญนิยม โคลอน (:) ไม่ใช้คอมม่า (,) คนทำ ใช้คำว่า คนทำ เเล้วก็ขีด (-) จุลภาค คือมันจะซับซ้อนในภาษาน่ะ คนได้ประโยชน์ คนทำ คนได้ประโยชน์ คือคนจะได้สะดุด อย่างหนึ่งด้วยว่า เราเจตนา ที่จะตีเรื่องนี้เข้ามา ให้สำคัญ คนที่เขา ติดตาม อ่านอยู่ สัมผัสอยู่ เขาก็รู้ว่า เอ๊..มันสำคัญอะไรกันนักกันหนา เรื่องนี้ ทำไมซ้ำซาก

พิมพ์ : เเล้วอีกสองเล่ม พูดประมาณนี้เหมือนกัน ใช่ไหมคะ พ่อท่าน
พ่อท่าน : ใช่เลย ใช้คำว่า เศรษฐศาสตร์บุญนิยม หรือ เศรษฐกิจบุญนิยม กับ เศรษฐกิจทุนนิยม

พิมพ์ : มีอาจารย์ฝรั่งที่จุฬาฯ เขาเอา paper นี้ไปสอนนิสิตค่ะ
พ่อท่าน : เอา paper ไหน เอาจากไหน

พิมพ์ : ก็ไม่เชิงเป็น paper คือเขามาสัมภาษณ์ คุณอาเล็ก ดาบบุญน่ะค่ะ เเล้วเขาเอาไปเขียนเกี่ยวกับเรื่อง การเปรียบเทียบ ระหว่าง เศรษฐศาสตร์บุญนิยม กับ เศรษฐศาสตร์ทุนนิยมค่ะ เเต่มันไม่ใช่เป็นเหมือนกับว่า เขาวิเคราะห์นะคะ มันเป็น เหมือนกับว่า เอาข้อมูล มานำเสนอว่า เออ..มีที่นี่ด้วย อะไรอย่างนี้น่ะค่ะ เเล้วก็เอาไปให้ นิสิตปริญญาโทเรียน เพื่อนพิมพ์เอง นะคะ เรียนอยู่โปรเเกรมเกี่ยวกับ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ค่ะ

พ่อท่าน : เขาจะเอานัยยะอะไร ด้านไหน ประเด็นไหน ที่ไปเรียน

พิมพ์ : อ่านดูเเล้ว เหมือนกับว่า เเค่บอกว่า เอ้อ ระบบเศรษฐกิจบุญนิยม เป็นอย่างไง เขาเปรียบเทียบ ระหว่างบุญนิยมกับ ทุนนิยม คือเขาเอาหนังสือของ...เอาไปเขียนอีกที

พ่อท่าน : เศรษฐกิจมันน่าจะเป็นกิริยา คือเป็นภาคที่เป็นตัวปฏิบัติ เป็นตัวประพฤติ เป็นตัวกระทำ เศรษฐศาสตร์ คือ หลักวิชา ความรู้ ใช่มั้ย ภาษาก็บ่งชัดอยู่เเล้ว เศรษฐศาสตร์ เป็นเชิง เป็นหลักความรู้ เเต่เศรษฐกิจนี่มันคือ เป็นตัวปฏิบัติ ประพฤติ อาตมา จึงใช้คำว่า เศรษฐศาสตร์ คือนาม เศรษฐกิจนี้คือกิริยา เเต่ทีนี้ เขาจะเข้าใจ ยังไงกันก็ไม่รู้นะ พวกวิชาการ เขาจะพูดกัน เอาเถอะ ถึงอย่างไรก็เเล้วเเต่ มันก็ไม่มีความต่างอะไร มากมายหรอก เป็นเเต่เพียงว่า เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจก็คือ เอามาปฏิบัติ ให้ตรงตามทฤษฎี เศรษฐกิจก็คือ เอามาปฏิบัติให้ตรงตามทฤษฎี เท่านั้นเอง ทีนี้ก็เอาคำว่า บุญนิยมกับทุนนิยม มาผสมเข้า เอาคำว่า จุลภาค กับ มหัพภาค มาผสมเข้า มาขยายความเข้า นี่เเหละเป็น ๓ แง่ใหญ่ๆเลย หนึ่ง เศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ สอง บุญนิยม ทุนนิยม สาม จุลภาค มหัพภาค นี่เเหละ ๓ ตัว เงื่อนไขหลัก ๓ อันนี่เเหละ เพราะฉะนั้น ในสภาพของเศรษฐกิจ ทุนนิยมนี่นะ ก็เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป เป็นภาคปฏิบัติทั่วไป เรียบเรียงเป็นความรู้ เป็นศาสตร์อะไร ก็ทำกันขึ้นมา ตั้งเเต่เริ่มต้น นับกันว่า เศรษฐศาสตร์เกิดตั้งเเต่ Adam Smith อะไรก็เเล้วเเต่ ที่บอกว่าเป็นต้นตอ เเต่ต้นตอเเน่ๆ มันทุนนิยม ร้อยเปอร์เซ็นต์ เลย Adam Smith นี่เเหละ หมายความว่า เเกจะต้อง Maximize profit เด็ดขาดเลย ต้องการอย่างนั้นเลย ใช่มั้ย ไม่ใช่ประโยชน์สูง ประหยัดสุดด้วย ประโยชน์สูง อย่างเดียว ประโยชน์สูงกำไรสุดด้วย จนกระทั่ง มันมีพัฒนาการ มาเอา คุณธรรม เอาอะไรต่ออะไร ก็เเล้วเเต่ นี่กลายมาเป็น นีโอคลาสสิค มาเรื่อยๆๆ นักเศรษฐศาสตร์ ที่คนนั้นคนนี้ ขยายผลมา จนกระทั่งมา ทีนี้มันมีภาษาคำว่า macroeconomics กับ microeconomics Microeconomics ก็คือเเค่เศรษฐกิจ เฉพาะบุคคล เฉพาะครอบครัว เฉพาะกลุ่มเท่านั้น

พิมพ์ : ใช่ค่ะ

พ่อท่าน : ส่วน macroeconomics นั้นเป็นเศรษฐกิจกว้าง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ เศรษฐกิจเกี่ยวโยงกับส่วนใหญ่ สากล อะไร อย่างนี้ ทีนี้นัยยะของคำว่า micro หรือ macro ก็คือจุลภาค กับมหัพภาค ถ้าเศรษฐกิจบุญนิยมนี่นะ มันหมายถึง จะให้เกิดคนจน เศรษฐกิจมันหมายถึง ให้เกิดคนจน คนมักน้อย คนสันโดษ

พิมพ์ : ให้เกิดเหรอคะ

พ่อท่าน : เออ ให้เกิด คนจนมหัศจรรย์ เศรษฐกิจบุญนิยม ให้เกิดคนจนมหัศจรรย์ ส่วนเศรษฐกิจทุนนิยมนี่น่ะ ให้เกิด คนรวย มันไม่มหัศจรรย์หรอกคนรวย มันอำมหิต ถ้าจะว่าเเล้ว อันหนึ่งให้เกิดคนจนมหัศจรรย์ เเต่อีกอันหนึ่ง ให้เกิด คนรวย อำมหิต ใช้อย่างนั้นก็ได้ พูดซะให้จะแจ้งใจเลย

นิ่ม (กล่าวเสริม) : พูดให้ชัดเจนเลย

พ่อท่าน : แต่ทีนี้เมื่อคำว่า จุลภาค และ มหัพภาค เอามาขยายความกันเเล้ว ทีนี้ยุ่งละสิ คนจนนี่ยังไงๆ ก็ทำให้เป็น มหัพภาค ยาก ! เพราะเป็น "คนจนที่เป็นอาริยะ" หรือ "คนจนมหัศจรรย์" นั่นเอง คนจนที่มีสมรรถนะ มีความรู้-สร้างสรร-เสียสละ-จริงใจ ไม่ใช่คนจนปุถุชน หรือจนอย่างสิ้นไร้ ไม้ตอก จึงจะมีคนจนมหัศจรรย์ได้เป็น "กระจุก" เท่านั้น แต่กระนั้นก็ตาม คำว่า "กระจุก" ของบุญนิยม ก็ยังมากมาย "กระจาย" อยู่ในสังคมมนุษย์ ยิ่งกว่า"คนรวย" แบบทุนนิยมโลกียะแน่ๆ เพราะ "คนจนมหัศจรรย์"นี้ จริงใจ และตั้งใจที่จะสละออก ยิ่งขึ้นๆอยู่เรื่อยๆ สู่ความมักน้อย-สันโดษอีก จนกว่าจะเป็น อาริยะสูงสุด ไม่ใช่ยังตั้งใจจะ "โลภให้มาก-มักมาก" (มหัพปิจฉะ) ยิ่งขึ้นๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนชาวทุนนิยม ตามวิสัยปุถุชนเขาเป็นกัน แน่นอน

เพราะ"คนจนมหัศจรรย์"นั้นมีมากหลายระดับขั้น ที่จะเพิ่มกระจายไปสู่สังคมยิ่งขึ้นๆ "คนจน"ที่ยังไม่จนมาก คือ คนจนโสดาบัน ซึ่งเป็นคนจน แต่ก็ยังรวย อยู่พอสมควร เป็นอาริยะขั้นแรก ความโลภและความหวง จึงยังมีมากกว่าอาริยะระดับอื่น แต่จิต ก็มีทาน และมีความพากเพียร เพื่อจะเป็น"คนจน" ยิ่งขึ้นๆ ต่อไป แต่บุญบารมี ยังมีแค่นี้ คือกล้าจนได้เท่านี้ กล้าเสียสละ ได้แค่นี้ อาจจะไม่รวยเท่าโสดาบันที่ชื่อว่านางวิสาขา-อนาถบิณฑกเศรษฐี ก็ตาม คนจนที่"กล้าจน" เท่าที่ตนทำได้ ก็จะมีมาก เป็นอันดับหนึ่ง ส่วนคนจนสกิทาคามี คือ คนจนที่จนลงไปได้มากขึ้นๆก็จะมีอีกไม่น้อยในสังคม และคนจนที่เกือบ หมดเนื้อ หมดตัว ไม่สะสม เงินทอง วัตถุทรัพย์อีกแล้ว คือ คนจนอนาคามี ก็จะมีอีกพอสมควร ในชุมชนสาธารณโภคี สำหรับคนจน ขั้นสุดท้าย ซึ่งหมดเนื้อหมดตัว สิ้น"ความเป็นตัวตน" (อนัตตา) คือ คนจนอรหันต์ ก็จะมียากจึงน้อย คนจนมหัศจรรย์ ได้แก่ ผู้บรรลุธรรม แต่ละขั้น แม้จะเรียกว่าเป็น "กระจุก" แต่ก็จะ "กระจาย" อยู่ในสังคม เอื้อมเอื้อเกื้อกว้าง มากกว่าคนรวย ปุถุชนทุนนิยม

เพราะคนรวยน้ำใจ ซึ่งก็คือ คนจนมหัศจรรย์นี่แหละ มันจะ"กระจาย" อยู่ในสังคมเกื้อกว้างออกไปๆ เป็นคนที่ขยันพยายาม สร้างสรร -เสียสละ กระจายสะพัดออกไป ด้วยจิตมุ่งมั่น ที่จะอบรมตน ให้เจริญสู่ความมักน้อย -สันโดษแท้จริง เป็นคนมุ่งมั่น ไม่สะสม ไม่กอบโกย ไม่เอา กำรี้กำไร หรือไม่เอาเปรียบ คนเช่นนี้ จะต้องจนแน่นอน จนมหัศจรรย์ จนวิเศษยิ่ง คือเป็นคน มีมีคุณธรรมมาก มีประสิทธิภาพมาก มีการสร้างสรรมาก เสียสละมาก เป็นผู้ที่ก่อเกิด ทำประโยชน์ให้เเก่คนอื่นได้มาก แต่นัยะลึก เขาก็มีความรู้ยิ่ง ในความเป็นคนมีประโยชน์ ต่อสังคมมากด้วย ประโยชน์(อัตถะ) หรือกำไร (อัตถะ) หรือรายได้ (อัตถะ) ของเขาก็คือ การได้ทานแก่ผู้อื่น การได้เสียสละแก่สังคม นั่นคือ ประโยชน์แท้กำไรจริง ของคนบุญนิยม "การได้ให้ไป" คือ "การได้มา" ของคนจนชนิดนี้ เป็น "การให้ที่จริงใจ" ด้วย การได้ประโยชน์ เช่นนี้นี่เอง คือนามธรรมที่สลับซับซ้อน ซึ่งต้อง เข้าใจใน "ความจริง" ของตัวเองว่าบริสุทธิ์ เขาเป็นคนสร้างสรร แล้วก็เสียสละ เกื้อกูลคนอื่น เขาเป็นคน มีประโยชน์ ซึ่งอธิบาย เป็นภาษาสากล คนก็รู้ว่าคนๆนี้ มีประโยชน์ เป็นคนที่สร้างสรร-เสียสละ ไม่ได้สะสมกอบโกย ไม่ได้เอาเปรียบเอารัด มีแต่ ให้คนอื่น คนอื่นได้รับ ประโยชน์จากเขา เขาจึงเป็น"คนมีประโยชน์" แท้แน่ๆ มันก็เป็นสามัญ ใครก็รู้ เข้าใจกันทั้งนั้น ภาคปฏิบัติ ที่ทำได้ จึงวิเศษ ไม่ได้เป็นเรื่องลึกลับอะไร แค่ลึกซึ้ง เท่านั้น พูดยังไง ก็เข้าใจ ใช่ไหม

พิมพ์ : ใช่ค่ะ

พ่อท่าน : เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจบุญนิยมนั้น คนจนกระจุก คนรวยกระจาย ส่วนเศรษฐกิจทุนนิยมนั้น คนรวยกระจุก คนจนกระจาย เพราะพวกนี้ จะโลภมาก ไม่มีสิ้นสุด เเล้วก็สะสม การสะสมของ ลัทธิทุนนิยมเนี่ย ถ้าเขาสะสมเขาได้ทรัพย์มา เขาก็เอามา ใส่ตุ่มฝังดิน ทรัพย์นั้น ก็ขาดเเคลน ในสังคมเท่านั้นเอง เพราะเงินหายไป มันก็แค่เสียหายขั้นหนึ่ง มันเป็นเพียง ทำความลำบาก ให้เเก่สังคมประตูเดียว เเง่เดียว เเต่ถ้าว่าทรัพย์ที่คนรวย ได้มาหมื่นล้าน เเล้วก็ไม่ฝังดิน แต่เอาไปลงไว้ ที่ตลาดหลักทรัพย์ เอาลงไปไว้ที่ธนาคาร เอาไปลงในธุรกิจนั้น กิจการนี้ มันก็ไปอาละวาดหนักอีก หลักทรัพย์ของเขา หมื่นล้าน ก็ไม่ได้หมด เเต่ไปอาละวาด ดูดมาอีกจากคน จากสังคม โหดร้ายมากมายซับซ้อน นี่คือเศรษฐกิจทุนนิยม เมื่อเอาไปไว้ที่ ธนาคาร ร้อยหนึ่ง พันหนึ่ง ธนาคารก็จะต้อง เอาเงิน พันหนึ่งเนี่ย ไปดูดรายได้ ล่าผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะสามารถ ทุนก็ยังเป็นของคุณ เพราะคุณเป็นเจ้าของ เขาเอาพันหนึ่ง ของคุณไปไม่ได้ เเต่เขาจะเอาพันหนึ่ง ของคุณนี่ไปอาละวาด ต้องดูดมา จะต้องให้มีผลประโยชน์มาเพื่อ... หนึ่งเป็นดอกเบี้ย ให้เเก่คุณ สอง มาปันผลให้เเก่ คนนั้นคนนี้ สาม มาเสียภาษี ให้เเก่รัฐบาล สี่ มาให้เงินเดือนเเก่พวกพนักงาน ตั้งเเต่ประธานไปยันภารโรง ห้า มาให้เเก่ค่าน้ำ-ค่าไฟ-ค่าโสหุ้ย สารพัด ที่เขา จะต้องจ่าย เเม้เเต่ค่า เอ็นเทอร์เทน เเม้เเต่ค่าโฆษณา เเม้เเต่ค่าอะไร โอย...อาตมาจาระไน ไม่หมด ต้องไปให้นักเศรษฐศาสตร์ เองนั่นเเหละ จาระไนว่า ค่าโสหุ้ย มันจะมีเท่าไหร่ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า เงินที่ไปฝากไว้ธนาคาร โอ้โห.... มันเป็นตัว อาละวาด ขูดรีดจากสังคมมา อย่างหนักหนา สาหัสแค่ไหน? คิดดูซิ

พิมพ์ : เเต่ในทางเศรษฐศาสตร์ พอพ่อท่านพูดคำว่าอาละวาด ศัพท์เศรษฐศาสตร์เขาบอกว่า ยิ่งอาละวาดเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะมัน มีตัว multiplier เยอะ

พ่อท่าน : นั่นเเหละๆ นี่มันยิ่งอำมหิต ยิ่งโหดร้าย เเละอำมหิตหนัก หากเข้าใจในความหมายทางคุณธรรม เพราะงั้นบอกเเล้ว มันเป็น เป้าหมายของเขา เป็น maximize profit ใช่มั้ย มันจึงยิ่งอำมหิต เเละโหดร้ายที่สุด นี่เเหละ คือมุมมอง ของบุญนิยม กับทุนนิยม นี่อาตมาก็พูดสรุปๆ brief ให้นักเศรษฐศาสตร์ ฟังนิดหน่อย เพราะงั้น คำว่า จุลภาค กับ มหัพภาคนั้น ก็จะเข้าไป เกี่ยวข้อง กับพวกนี้น่ะ นักวิชาการ ช่วยอาตมาคิด อาตมามีเเต่ ภาคปฏิบัติ พิสูจน์ เเล้วก็มาหาความจริง พูดเป็นภาษา ลูกทุ่ง พูดวิชาการ อะไรไม่เป็น เอาภาษานักวิชาการ มาพูดได้บ้าง สองสามคำนี้ ก็โก้นักหนาเเล้วล่ะ

นิ่ม : อันนี้ไปตีหัวเขาเลยล่ะ

พ่อท่าน : ตีหัวซิ เพราะฉะนั้นจะบอกว่า จะมาพูดโดยดัดจริตว่า มันคนละเรื่องกันไม่ได้เลย มันไปด้วยกัน มาด้วยกันได้ ที่จริง มันมาด้วยกัน ไปด้วยกันได้ ตามสัจธรรม เช่น เเน่นอน ทุนนิยมนี่ เขาต้องการมาก เขาเป็น"ผู้เอา" บุญนิยมเราก็เป็น"ผู้ให้" ต้องการน้อย คนละแนวคิด แต่สอดคล้องกัน ในภาคปฏิบัติ มันไม่ทะเลาะกัน ไม่แย่งกัน ฝ่ายหนึ่งให้ อีกฝ่ายหนึ่งเอา

พิมพ์ : อ๋อ มันจึงไปด้วยกันได้

พ่อท่าน : เพราะฉะนั้นอันนี้ไม่เกิดการทะเลาะเบาะเเว้งไม่เกิดการฆ่าเเกง เพราะถึงอย่างไรๆ บุญนิยมก็ยอมเสียเปรียบ อยู่เเล้ว บุญนิยม ก็ให้อยู่เเล้ว เเละบุญนิยม ยังมีหลัก ของเขาอยู่เเล้วว่า เขาพึ่งตัวเองให้รอด ส่วนเกิน เอามาช่วยผู้อื่น ให้แก่สังคม มันเป็นคุณค่า นี่เป็นหลักเกณฑ์สำคัญ

พิมพ์ : นี่สมมุติว่า ถ้าทุนนิยมมาเบียดเบียนบุญนิยมจะอยู่ไม่ได้ จะเป็นไปได้มั้ยคะ พ่อท่าน

พ่อท่าน : ก็เป็นไปได้ ถ้าเผื่อว่าบุญนิยมอ่อนเเอ คนๆนั้นอ่อนเเอ เเพ้อำนาจครอบงำ เเต่คุณจะรุกราน จนเกินกฎหมายไม่ได้นี่ เราไม่ให้คุณ คุณจะมาทำอะไร คุณปล้น ก็ปล้นไม่ได้ ฉันไม่ให้คุณจะทำยังไง นอกจาก เขาจะล่อหลอก เขาจะมีวิธีกดดัน เขาจะมีวิธีใช้อำนาจบาตรใหญ่ หรืออะไร ก็ตามเเต่วิธีการของ ทางทุนนิยม ที่เขาจะทำ เพราะฉะนั้น บุญนิยม ก็จะต้องเเข็งเเรง รู้เท่าทัน ที่จะรักษาตัวรอด และเรามักน้อย สันโดษ สงบ ไม่หลงสวรรค์ โลกีย์หลอก พวกนี้เเหละ เป็นหลักการ ของธรรมะ ซึ่งถ้าใครมีคุณธรรม ของความมักน้อย สันโดษ เเละสงบ เเล้วก็ไม่หลงใหล สวรรค์ของโลก ของโลกีย์เขาเเล้ว คน บุญนิยม ก็หลุดรอด ไม่ถูกเบียดเบียน เเต่ถ้าตัวเอง ยังหลงสวรรค์โลก เขาหลอกอยู่ คุณก็ถูกบ่วง ถูกเหยื่อล่อ พลัดเข้าไป ตามกระเเสเขา เขาก็เบียดเบียนเอา เเต่ถ้าว่ามีปัญญาพอที่จะ ไม่หลงสวรรค์ ที่เขาเอามาล่อ มากระเเทก กระทุ้ง คุณก็ไม่อ่อนเเอ ก็รอด และ อีกอย่าง ต้องรู้จักประนีประนอม หรือยอม อย่างฉลาด ไหนๆ เราก็ไม่เอาชนะ คะคานใคร เพราะรู้แล้วว่า มันเป็นเรื่องของ อัตตามานะ ถ้าอะไรยอมได้ ไม่เสียธรรม ก็ยอมไป เราก็จะอยู่สบาย มักน้อย สันโดษ สงบ ไม่ถือว่าถูกเบียดเบียน เพราะคนโลก เขาก็เป็นวิสัย ธรรมชาติของเขา ที่เขาจะต้องเอาเปรียบ ต้องเอาชนะ เขาไม่รู้หรอกว่า นั่นคือ ไม่ดี ไม่ควรทำ

นิ่ม : บุญนิยมไม่มีสิทธิ์ชนะ แต่มีคุณค่า

พ่อท่าน : ทุนนิยมนี่ยิ่งสูงยิ่งไร้คุณค่า เพราะยิ่งเอาเปรียบยิ่งอยู่ในตำเเหน่งที่ตั้งราคา ตั้งอัตราค่าตัวให้เเก่ตนเอง อัตรา เอาเปรียบ คิดดูซิ ระดับล่าง เงินเดือน ยังไม่เกินห้าพันบาท เเต่ระดับบนนี่ ได้เงินเดือน เดือนละล้านบาท ที่อาตมาพูดนี่ ค่านี้ไม่เกินความเป็นจริง สมัยนี้นะ ระดับล่างภารโรงเนี่ยะห้าพัน ห้าพันนี่ มากเเล้วนะ เเต่ระดับบนนี่ ล้านสองล้าน คิดดูซิ ไอ้ gap ตรงนี้มันขนาดไหน อาตมาจึงพูดว่า คุณต้องกินข้าว เม็ดทองคำรึไง เเต่ละเม็ด-เเต่ละเม็ดนี่ ต้องเป็นทองคำเหรอ คุณถึง เอาตั้งล้าน สองล้าน มันก็กินข้าวราคาเท่ากัน ในตลาดเดียวกัน มันถึงจะมีวิตามิน มันถึงจะมีธาตุ ที่จะเอาไป เลี้ยงสมอง หรือทำอะไร ตามประสิทธิภาพของคน คุณไม่ได้กินข้าวเม็ดทองคำนี่ คุณถึงต้องเอา ตั้งล้าน ความจริงมันก็กินข้าวแท้ๆ ราคาเดียวกันกับ ภารโรงเเหละ ราคาในตลาด เศรษฐกิจเดียวกัน เอ้อ.. เเล้วทำไม ต้องไปตั้งให้ตัวเอง หรือตั้งให้กันเป็นล้าน นี่คือ การยิ่งไร้คุณค่า เพราะมูลค่าที่เอาไป มันทำลายคุณค่าหมดสิ้น แถมเป็นลบอีก พันทวี

พิมพ์ : ก็มันยังมีค่าที่เขาบอกว่าเป็นตัวเขาไงคะ
พ่อท่าน : นั่นเเหละ ค่าตัวนั่นเเหละ นี่คือช่องว่าง เพราะฉะนั้นบุญนิยมนี่คนยิ่งสูง ประสิทธิภาพสูง มันสมองสูง คุณธรรมก็ ต้องสูง เเล้วคุณธรรมสูง คืออะไร ยิ่งไม่เอา เอาน้อยๆ กินน้อยใช้น้อย เเต่ใช้เเรงไม่ขาด สุขภาพเเข็งเเรง เสียสละยิ่งมาก

พิมพ์ : หมายความว่าอย่างคนที่ได้เงินเดือนสูงเนี่ยะก็จะต้องคุณธรรมสูงด้วย
พ่อท่าน : ใช่ คนมีคุณธรรมสูงต้องเงินเดือนสูง แต่ท่านยิ่งจะไม่เอามาเป็นของท่านมาก ยิ่งจะเอาแต่น้อย สละให้ผู้น้อยที่เขา ด้อยกว่า ด้อยปัญญา ด้อยสมรรถภาพ ที่จะช่วยตัวเอง

พิมพ์ : เเล้วก็คนที่จะมีคุณธรรมก็คือคนที่กินน้อยใช้น้อย
พ่อท่าน : ใช่ สำหรับตัวท่านกินน้อยใช้น้อย เสียสละมาก ได้เงินเดือนอัตราค่าตัวท่านสูงจริง ตามคุณค่าของท่าน อัตราค่าตัว ของท่านตีเป็นมูลค่า ก็ต้องสูงด้วย เเต่ท่าน ยิ่งไม่เอา ยิ่งไม่เอา คุณค่าก็ยิ่งสูงขึ้นไปอีก ท่านยิ่งสละให้เเก่สังคม ท่านยิ่งเกื้อกูล ให้เเก่สังคม ท่านยิ่งไม่เอาความเห็นเเก่ตัว มาให้เเก่ตัว ไม่ไปบำเรอตัวเอง ไม่ไปฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ไม่ไปสุรุ่ยสุร่าย ไม่ไปสร้าง อำนาจ ไม่ไปสร้างรูปรอย ลักษณะที่กิริยาอาการ ไฮโซมากมาย ให้ฟุ้งเฟ้ออะไรอีก ก็ยิ่งเป็นคุณค่า ที่ซับซ้อน ที่ทำให้สังคม มีตัวอย่าง ที่ดีที่งาม อย่างในหลวง ทรงปะชุนรองเท้า เสื้อผ้าหน้าเเพร ไม่ค่อยเปลี่ยน ทรงเป็นองค์ตัวอย่าง อะไรต่ออะไร ต่างๆนานา ตรงนี้มันเป็น คุณค่า ที่ตีราคายิ่งเเพงนะ ก็ไม่ถึงดูเป็นมอซอ ไม่ถึงเลวร้ายอะไรหรอก แต่เห็นจริงว่า ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ขนาดรู้จักปะ รู้จักชุน รู้จักรักษา รู้จัก repair รู้จัก re-use อะไรพวกนี้ รู้จัก recycle อะไรอย่างนี้นะ โอ้ มันสุดวิเศษ

พิมพ์ : พ่อท่านคะ ตกลงตอนนี้ ก็คือว่า เลือก Agricultural Economics จะไปทางที่บุญนิยม....
พ่อท่าน : ใช่ ใช่ เอาอันนี้ก่อนก็ได้ อาตมามองว่า Agricultural Economics เป็น Microeconomics
พิมพ์ : ค่ะ เป็น Microeconomics

พ่อท่าน : มันเจาะลงเฉพาะในเรื่องกสิกรรม
นิ่ม : มันจะไม่ทำให้เขาจะดึงเราออกไปนอกทาง
พ่อท่าน : เออ ใช่ มันเข้าเป้าด้วย เข้าเป้าของชาวอโศกด้วย เพราะว่าอาตมาเน้นเนื้อกสิกรรม

นิ่ม : ถ้าเราไปเล่น economics ธรรมดาเนี่ยะ โอ้โฮ เขาจะจูงคุณไปทางตะวันตกอะไรก็ได้

พ่อท่าน : เออ ถ้ายิ่งไปเล่นตัวเงินด้วยนี่เเหละ โอ้โฮ..ที่นี้อันนี้เเหละ Macroeconomics มันเรื่องของการเงินอย่างกว้างเลย ถ้ามี พื้นฐานบุญนิยมก่อน สร้างโครง บุญนิยม คนเข้าใจบุญนิยมได้บ้างแล้ว เรื่องเกี่ยวกับการเงิน ของบุญนิยมนี่ มันจะไปทาง Macroeconomics ก็จะไปได้ดี ง่ายขึ้น

พิมพ์ : คือพิมพ์ต้องกลับมาใช้ทุนด้วยนะคะ พ่อท่าน พิมพ์ต้องกลับมาใช้ทุนให้ประเทศไทย ๔ ปี เพราะว่าพิมพ์ได้ทุนของ ก.พ. ไป ๒ ปี ถ้าสมมุติว่าเราไม่ใช้เป็นเงินนะคะ เเต่ถ้าใช้เป็นเงิน ๓ เท่า ถ้ากลับมาใช้ทุนก็ ๒ เท่า ที่กระทรวงเกษตร ของกรม ส่งเสริมสหกรณ์

พ่อท่าน : ก็ดีเหมือนกันนะเกษตร

พิมพ์ : ค่ะ ถ้าพิมพ์เรียน Agricultural Economics เพราะพิมพ์กลับมาใช้ทุนทำงานที่กรมนี้ มันน่าจะเข้าเค้ามากกว่า
พ่อท่าน : ดี ดี มองดูเเล้วดี ที่พูดไปเเล้วเข้าใจเพิ่มขึ้นมั้ย มีเหตุปัจจัย....

พิมพ์ : พิมพ์ไม่รู้ว่าพิมพ์คิดถูกหรือเปล่า ถ้าจะเอาบุญนิยมเข้าไปทำเนี่ย เพราะว่าบุญนิยมก็ต้องขับเคลื่อนด้วยภาคการเกษตร ด้วย
พ่อท่าน : ใช่ เป็นหลักเลยล่ะ เป็นหลักเลยล่ะ
พิมพ์ : ค่ะ พิมพ์ก็คิดว่าน่าจะนำไปใช้ได้ อะไรยังงี้

พ่อท่าน : ดี ดี อาตมาก็ว่าอาตมาเข้าใจอันนี้อยู่เเล้ว ดีเเล้วล่ะ เจาะ microeconomics ก่อน เเล้วค่อยมาขยาย ปริญญาเอก ค่อยทำ macroeconomics

พิมพ์ : ตอนเเรกพิมพ์สับสนว่าพิมพ์จะเเยกเป็น Economics หรือ Agricultural Economics ดี เพราะว่าอย่างของอเมริกานี่ เขาจะเเยก rank เลยว่า Economics ก็ส่วน Economics. Agricultural economics. ก็ Agricultural economics. อีกอันหนึ่ง เขาไม่ได้จัด Agricultural Economics. อยู่ใน Economics. เขาเเยกออกมา เป็นเฉพาะของเขาเลย

พ่อท่าน : ยิ่งเรียนนี่ ยิ่งเจาะลึกเลยน่า

พิมพ์ : พิมพ์ก็ว่าอย่างนี้ คือหลักของเขาจะต้องเรียน macroeconomics เเละ microeconomics เป็นพื้นฐานของ เศรษฐศาสตร์ อยู่เเล้ว เเต่ว่ามันจะมีที่เจาะก็คือ ทางการเกษตร โดยเฉพาะ อะไรอย่างนี้เเหละค่ะ เเต่ว่าปัญหาก็คือ.... พ่อท่านคะ เกษตรอเมริกา มันจะเป็นระบบฟาร์ม เมื่อมันv เป็นระบบฟาร์ม ก็คือเข้าข่าย ของทุนนิยม พอสมควร เพราะว่า ทำเป็นรูป...

พ่อท่าน : จะทำให้มันเป็น mass product

พิมพ์ : ใช่ค่ะ เป็น mass product นะคะ พิมพ์ก็เลยว่ายังงี้มันจะเอาบุญนิยมเข้าไปยังไง

พ่อท่าน : ไม่รู้ล่ะ ก็ไปเรียนเพื่อเข้าใจ เรารู้ของเราอยู่เเล้วว่าของเรา mass product ของเรานี่เป็นพวกพึ่งตนได้ก่อน พอเพียงก่อน เกินเเล้วเราก็จะสะพัดเเจกจ่าย ขาย ซึ่งคนเดียวก่อน เเละทำคนเดียวนะ คนนี้พึ่งตนเองรอด เเล้วก็เหลือขาย ถ้าสองคน ก็เหลือ สามคนก็เหลือ รวมกันเป็น ชุมชนก็เหลือ ก็เป็น mass product อย่างที่เเข็งเเรงเป็นปึกเเผ่นที่สุดเลย ฟังให้ดี นักเศรษฐศาสตร์

นิ่ม : Technology เป็นจิตวิญญาณ

พ่อท่าน : เอ้อ Technology เป็นจิตวิญญาณ เราจะเข้ากันผนวกไปด้วยกันมาด้วยกันสัมพันธ์กันอย่างไม่มี conflict เเละ stable.. sustainable เลย

พิมพ์ : เเสดงว่าคำว่า mass product ของบุญนิยมเเละทุนนิยมนี่นะ มันไม่เหมือนกันตรงที่ว่า mass product ของทุนนิยม...

พ่อท่าน : มีเเต่เเนวระนาบ ส่วน Mass product ของบุญนิยมนี่มีเเนวลึกเป็นตัวหลัก เเล้วมันจะเกิด mass product ขึ้นมาจาก หลักตัวลึกนี่ เป็นตัวเเกน เเล้วมัน จะเกิด mass product ขึ้นมาตามธรรมชาติของสามัญจริง ความจริงของเเก่น ถ้าเเก่นเท่านี้ มันควบคุม mass product ควบคุม ส่วนกว้างเอง ว่ากว้างได้เท่านี้ เเต่ Mass product ของทุนนิยมนี่นะ มันไม่มีอะไรคุม มันมีกิเลสเท่านั้น ปีนี้ต้องให้ได้ ห้าพันล้าน ปีหน้าต้องได้ สองหมื่นล้าน progress เข้าไปอีก ปีหน้าต้องได้เ เสนล้าน มัน progress อัตราก้าวหน้า มัน โอ้โฮ ยกกำลังเลยนะ geometric progression



รายงานการนำเสนอผลการวิจัยเรื่องการสร้างเสริมสุขภาวะจิตวิญญาณ
ศึกษากรณี ชุมชนชาวอโศก

๒๗ ก.ย. ๒๕๔๘ ที่สันติอโศก คณะทำงานวิจัยเรื่อง"การสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณ : ศึกษากรณีชุมชนชาวอโศก" ได้มาบอกเล่า บรรยากาศ การไปนำเสนอ งานวิจัย ให้ พ่อท่านได้ทราบ จากส่วนหนึ่ง ของการสนทนา บอกเล่าดังนี้

ทีมงาน : เมื่อวานพวกเราไปเสนอรายงานการวิจัย มีผู้ทรงคุณวุฒิมาให้คำแนะนำ ๑๖ ท่าน พอทีมงานรายงานจบ ก็ได้รับ คำแนะนำ เยอะเลยค่ะ เขาอยากจะให้พวกเรา ทำเรื่องนี้ให้ชัดเจน พอที่จะให้คนข้างนอก อ่านแล้วก็ปฏิบัติตามได้

พ่อท่าน : ปฏิบัติตามได้ แต่มันยาก ความเป็นจริงแล้วเขาปฏิบัติตามยากไง เพราะว่ามันสูงกว่าฐานของเขา สูงกว่าสามัญ สำนึก ของเขา มันเป็นเรื่องลึกซึ้ง เขาก็อยากจะให้เรา ลดหย่อนลงมา เขาว่ามันเคร่ง มันสุดโต่ง เขาก็ว่าอย่างนี้ ทั้งนั้นแหละ แต่ก็จำเป็น

ทีมงาน : เขาแนะนำให้อธิบายเชื่อมโยงให้ดี
พ่อท่าน : อธิบายให้เขาทำตามได้ มันก็ถูกแล้วล่ะ ของเราฐานนี้ อย่างนี้ ตามไม่ได้ หนึ่ง. เขาไม่รู้จัก เขายังไม่เข้าใจ สอง. เขาเข้าใจแล้ว อาจจะซาบซึ้งด้วยซ้ำ แต่มันสุดโต่ง มันเกินไป มันมากไป เข้มไป เคร่งไป มันควรจะลดลงมา แม้เขาเข้าใจแล้ว แต่เขาก็บอกมันไม่ไหว เพราะฉะนั้นคำพูดของเขาที่บอกว่า เขียนให้เขา ปฏิบัติตามได้หน่อย ก็คือ ลดลงมาให้หน่อยได้ไหม มันสุดโต่งไป

ทีมงาน : ไม่เลย เมื่อวานไม่มีใครว่าสุดโต่งเลยค่ะ

พ่อท่าน : มีใครมาบ้าง
ทีมงาน : คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช บอกว่าระบบบุญนิยมนี่เป็นจุดแข็งของชาวอโศก กิจกรรมบุญนิยม ๑๑ ด้าน เป็นปฏิบัติการ สร้างสุขภาวะ ของชุมชน งานประเพณี ก็เหมือนกัน เราทำกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นเชิงชุมชน คุณหมอว่า ทั้งโลกนี้ มีอยู่น้อยมาก อยากให้เราแสดงให้เห็นว่า นี่แหละคือ กระบวนการของชุมชน ในการสร้างความสุข คุณหมอให้ความสำคัญ เสียจนเรารู้สึกว่า ต้องแก้ไขรายงานให้ดี คุณหมอพูดขนาดว่า ติดงานอื่นก็ต้องมา เพราะว่างานชิ้นนี้ จะเป็นประโยชน์ ต่อสังคม คุณหมอนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ก็เหมือนกัน อุตส่าห์มา แล้วก็ต้องรีบกลับไปที่ วุฒิสภาอีก คุณสุนัยก็มา คุณสุนัยนี่ เป็นคน คอมเมนท์คนแรก

พ่อท่าน : คอมเมนท์ว่าไง
ทีมงาน : เขาบอกว่าให้เขียนประเด็นไหนบ้าง ให้ดึงออกมาให้ชัด อย่างเรื่องการใช้ที่ประชุม การเรียนรู้จากตัวแบบ ที่เขา คอมเมนท์น่ะ เราเอาไปเขียน ในบทสรุป ได้เลยค่ะ

ทีมงาน : คุณหมอนิรันดร์ก็บอกว่าต้องขยายวิธีคิดในเชิงสังคมออกมาให้ชัด ต้องโยงให้เห็นว่าเราทำงานอย่างไร มีกระบวนการ อย่างไร วิเคราะห์การพัฒนาคน มาพัฒนาสังคม ทำอย่างไรให้คนทำงาน โดยไม่เอาเงินเดือน และร้านนั้นไม่ขาดทุน เพราะอะไร คุณหมอบอกว่า เรามีของดีอยู่ ถ้าสื่อให้ดี งานวิจัยจะมีประโยชน์มาก และจะเป็นหนังสือ ที่มีคุณค่า ทำให้งานวิจัย ของเราต่อยอด ในสิ่งที่สอดคล้องกับ ความเป็นจริง คุณหมอพูดถึง ขนาดว่า งานบุญนิยม ๑๑ อย่างคือหัวใจของสังคม เป็นองค์รวม ของการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ทีมงาน : มันเกินวัตถุประสงค์ของการวิจัย วัตถุประสงค์เราเก็บข้อมูลเฉยๆ
พ่อท่าน : ดีแล้วล่ะ เราอย่าไปอ้าขาผวาปีก มันจะเบ่งออกไปมาก มันจะน่าเกลียด ให้เขาอยากได้ ให้เขาเสนอของเขาเองน่ะ ดีแล้ว มันดูไม่น่าเกลียด

ทีมงาน : ดร.วิลาสินี พิพิธกุล บอกว่าชุมชนอโศกสร้างกลไกของบุญนิยมขึ้นมา มันท้าทาย แล้วก็สกัดกั้นทุนนิยม อยากให้เน้น ให้เห็นชัดเจน ว่าบุญนิยม มีส่วนช่วยสร้าง สุขภาวะทางจิตวิญญาณ ได้อย่างไร อาจารย์สนใจ ที่เราบอกว่า มีการทบทวน การระลึกรู้ การควบคุมตัวเองตลอดเวลา อยากให้บอกว่าใช้อย่างไร แล้วได้ผลกับ เยาวชน ของชุมชนอโศกเอง อย่างไร ช่วยให้ เยาวชน ที่อยู่นอกชุมชน ควบคุมตัวเองได้หรือเปล่า เรื่องศีลก็เหมือนกัน เขาอยากรู้ว่า เราเอาศีลมาเป็น ข้อกำหนด ให้คนปฏิบัติ ได้อย่างไร ทำให้คน ยอมรับได้อย่างไร

ทีมงาน : รู้สึกว่า ดร.วิลาสินีจะมองเรื่องการปฏิบัติธรรม คนที่มาติดตามงานวิจัยเรื่องนี้แหละค่ะ ได้มาพบพ่อท่านด้วย มากับ ทีมงาน สามสี่คน ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน อาจารย์ก็พานิสิต นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ไปราชธานีอโศก เห็นว่านิสิตได้ประโยชน์ มากยิ่งกว่า การเรียนรู้ เรื่องการสื่อสารอีก ได้เรียนรู้วิถีชีวิต ของพวกเรา

พ่อท่าน : ถ้าคนเคยมาก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ทีมงาน : อาจารย์ว่าการปฏิบัติธรรมเป็นหัวใจของงานชิ้นนี้เลยนะคะ ที่พูดถึงว่าชาวอโศกพยายามทุกวิถีทางที่จะพัฒนา จิตวิญญาณ ให้มีอำนาจเหนือสิ่งที่กระทบอารมณ์จิต เขาอยากให้เขียน ด้วยว่า สิ่งที่มากระทบ มันมาจากไหนบ้าง มันมากระทบ มากน้อยแค่ไหน แล้วชาวอโศกมีวิธีจัดการกับมันอย่างไร

พ่อท่าน : แล้วคุณไม่ได้เขียนหรือ

ทีมงาน : เราให้เขาอ่านเล่มย่อค่ะ แค่ไม่กี่หน้า เล่มเต็มก็ยังเขียนไม่เสร็จค่ะ ดีมากเลยที่ได้รับคำแนะนำมา จะได้สรุปให้ตรง ประเด็น
พ่อท่าน : ดีแล้วล่ะ ได้คำแนะนำมาน่ะ มันเป็นประโยชน์ ดีแล้วนี่ มันมีอะไรล่ะสมบูรณ์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ มันไม่มีหรอก เพราะฉะนั้น มันก็ต้องได้รับคำแนะนำ ก็ดีแล้ว เขาแนะนำมาน่ะ

ทีมงาน : เรายังไม่ได้เชื่อมโยง ไม่ชัดเจนน่ะค่ะว่าชาวอโศกนำหลักการทางศาสนาพุทธมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

พ่อท่าน : มันไม่ชัดเหรอ เขียนยังไง มันต้องออกมาในชีวิตประจำวัน ของเราน่ะชีวิตประจำวันแน่นอน

ทีมงาน : มันเป็นฉบับย่อค่ะ เขาไม่ได้อ่านฉบับเต็มนี่คะ ในฉบับเต็ม เรายกตัวอย่างชีวิตชาวอโศก แล้วจะมีสรุปตบท้ายด้วยว่า คนนี้ นำหลักธรรมข้อไหนมาใช้

ทีมงาน : เขาก็บอกว่าอยากอ่านเล่มโตๆ

ทีมงาน : บทสุดท้ายของเรา ต้องสรุปอีกทีให้เห็นภาพชัดเจน ทุกคนพูดเหมือนกันหมดว่าอยากให้เขียนให้ชัดเจน ศ.สุกัญญา สุดบรรทัด ก็บอกว่า สันติอโศกไม่อยู่นิ่ง ไม่ปิดตาย อยู่กับที่ ทั้งๆ ที่เป็นคนเคร่งศีลมากนะคะ แต่ว่ามีการเคลื่อนไหวทางสังคม อย่างเช่นเรื่อง การคัดค้านเอาเหล้า เข้าตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่เคลื่อนไหว ก็มองเห็น ความนิ่ง อยากให้เขียนออกมา ให้เห็นตรงนี้

ทีมงาน : มีแต่ท่านดุษฎี เมธังกุโรแนะนำแปลกกว่าคนอื่น

พ่อท่าน : ท่านดุษฎีมาด้วยหรือ
ทีมงาน : มาค่ะ ต้องขอบคุณท่านมากเหมือนกัน ท่านบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ ต้องมา ก่อนหน้านี้ ท่านมีงาน ที่กรุงเทพฯ อยู่แล้ว วันที่เราเสนอรายงาน จะเป็นวันที่ท่าน อยู่ครบเจ็ดวันพอดี ท่านต้องกลับวัดที่ชุมพร ดิฉันก็เลยถามท่าน เรื่องเดินทาง หลังการประชุม ว่าท่านจะเดินทางอย่างไร คุยกัน ก่อนวันประชุมนะคะ ท่านบอกว่า ไม่ต้องห่วง ท่านไม่อยากรีบ อยากอยู่ฟัง ให้จบงาน แล้วก็ยังไม่รู้ว่า จะพูดกันถึงกี่โมง เพราะฉะนั้น ก็จะแก้ปัญหาโดย กลับไปชุมพรก่อน แล้วเดินทาง มากรุงเทพฯ ใหม่

พ่อท่าน : ท่านว่ายังไงบ้าง

ทีมงาน : ท่านบอกว่าพอเราแยกตัวออกจากคณะสงฆ์ แล้วก็ไม่ค่อยทะเลาะกับรัฐบาล ไม่ทะเลาะกับคณะสงฆ์ ทำให้มีพลัง ทำงานข้างในมาก แล้วก็เป็น จุดเด่นของเรา เรามีปัจจัยสี่ ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับ สังคมข้างนอกเลยก็ได้ เราอยู่ของเราเองได้ ท่านบอกว่า งานวิจัยนี่ เราจะทำเองก็ได้ ไม่ต้องขอทุนก็ได้ ดิฉันฟังแล้ว ก็อยากจะบอกท่านว่า ที่จริงน่ะ ทำเองไม่ได้ มันเก็บข้อมูล ไม่ได้สักที ถึงต้องขอทุนเขา

ทีมงาน : แต่ที่จริงหลายคนก็พูดนะคะว่าตอนนี้อโศกออกไปช่วยสังคม
พ่อท่าน : ใช่ๆ เพราะว่าแต่ก่อนนี้เขาไม่รู้ เขาไม่เข้าใจว่าทำไมเราไม่ออกไปสู่สังคม แต่ก่อนนี้ เราสร้างเนื้อสร้างตัวของเราก่อน เราจะไปเที่ยว ได้วุ่นวายกับคนอื่น อะไรเขามากมาย เรายังเป็นคนเตี้ย จะไปเตี้ยอุ้มค่อมไม่ได้

ทีมงาน : แล้วท่านก็บอกว่าถ้าเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา สังคมจะอยู่กันไม่ได้ ทนไม่ได้ แต่ชาวอโศกอยู่ได้ ท่านพูดเป็นเชิงว่า พวกเรา พึ่งตนเอง
พ่อท่าน : นี่จริงนะ อันนี้จริง

ทีมงาน : ท่านพูดถึงการบริหารด้วยค่ะ ท่านบอกว่าอโศกไม่เป็นเผด็จการ มีสังฆะ มีการประชุมกันในทุกระดับ ไม่มีพ่อท่านอยู่ ก็ทำต่อได้ พ่อท่านอยู่ ก็ทำต่อได้ คนธรรมดา หลายๆ ความคิดจะมีการปรับปรุง อยู่ตลอดเวลา แล้วก็พูดถึง "ปปัญจธรรม" ธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ แล้วก็ทิฏฐิ ท่านบอกว่า สันติอโศก เก่งมาก ในการที่พยายามจะสู้กับ เรื่องตัณหา แต่ว่าตัวมานะ ตัวทิฏฐิ นี่ไม่แน่ใจ

พ่อท่าน : คนที่เข้าใจว่าเรามีมานะนี่ไม่เข้าใจความยั่งยืน ไม่เข้าใจความยืนหยัด เราไม่เปลี่ยนแล้ว เขาต้องการให้เรา เปลี่ยนแปลง อะไร เราก็ยืนหยัดอยู่อย่างนี้ ก็เลยหาว่า เราดื้อด้าน ดึงดัน ไม่ยอม นี่คือความเข้าใจผิดของเขา

ทีมงาน : ดิฉันกลับเข้าใจว่ากิเลสหยาบๆ ของเราทำได้ แต่ว่ามานะอัตตาอาจจะยังเยอะอยู่

พ่อท่าน : ถึงไงก็น้อยกว่า ถ้าพวกเรามีมานะอัตตาเท่าๆ พวกเขานะ ป่านนี้ตีกันแหลกลาญหมดแล้ว เพราะพวกเราขัดเกลา ยิ่งกว่าอะไรดี แต่เขาเข้าใจไม่ได้

ทีมงาน : สายกลางของเขากับสายกลางของเราก็ไม่เหมือนกัน

พ่อท่าน : ไม่เหมือนหรอก ในเราคิดอะไรตั้งแต่เล่มต้นๆ อาตมาขึ้นหัวเลยว่าความเป็นกลางหรือสายกลาง จะต้องเอียง ไปข้างคนดี ไม่มีใครเถียงนะ แต่ไม่มีใครเอาด้วย อาตมาเคยถามว่า ความเป็นกลาง มันหมายถึง คุณลักษณะบวก หรือ ลักษณะลบ

ทีมงาน : บวกค่ะ

พ่อท่าน : เมื่อเป็นคุณลักษณะบวก มันก็ควรจะต้องมีแนวโน้ม มีทิศทาง เพื่อที่จะไปทางบวก ทางสายกลางของเขานี่... ถ้าคุณ อยู่ชั่ว คุณจะต้อง ดึงดีลงมา ถ้าคุณชั่วลงไปอีก คุณก็ต้องดึงดีของเขา ลงมาอีก คุณจะดีมากขึ้นไป ก็ไม่ได้ คิดแบบนี้กันทั้งนั้น แต่คนชั่ว มันไม่คิดอย่างนี้ เขาไม่ได้คิดว่า ชั่วมากกว่านี้ไม่ได้ ไม่ได้คิดว่า จะขึ้นไปหาดี มีแต่คนจะดึงดี ลงมาหาชั่ว มันไม่ใช่ กลาง ไม่ใช่สองหาร ระหว่างชั่วกับดี กลางคือดี คือสัมมา คือ เลิกจากมิจฉา พระพุทธเจ้า ก็ตรัสไว้ชัด ตั้งแต่กัณฑ์แรกเลย ปฐมเทศนา ไปดูได้

อาตมาพยายามจะอธิบาย ต้องอธิบายให้ชัดเจนตรงที่ว่า จุดกลางคือจุดสูงสุด คือโลกุตระ ต่ำลงมาก็ดีน้อยลงไปเรื่อยๆ ต่ำลงไป หาโลกีย์ เพราะฉะนั้น ถ้าคุณจับ จุดกลางนี้ไม่ได้ คุณไม่รู้จัก ทางสายกลาง หรือความเป็นกลาง

นี่คือ จุดกลางของเขตแบ่งระหว่างโลกีย์กับโลกุตระ (ใช้มือกางออกแล้วจิ้มเข้าที่ตรงกลาง คือจุดกลาง) เราเองเราอยู่ตรงนี้ แล้วเรา ก็พยายามไปทางดี ทางโลกุตระ (ชี้จากจุดกลางไปด้านหนึ่ง ไม่ไกลนัก) เราไปได้นิดเดียวแค่นี้เอง ทำไมเขามองว่า เราสุดโต่ง เพราะเขาอยู่ไกล จากเรามาก ไกลเกินครึ่ง (ชี้ไปอีกทางหนึ่ง ไกลกว่า จุดกลางมาก) เขาจะต้องดึงเรามาอยู่จุดกลาง ระหว่างระยะห่าง ของเขากับเรา แล้วจะดึงเราไปหาเขา

ทีมงาน : แต่เขาไม่ยอมเดินเข้ามาหาจุดกลางนั้นบ้าง

พ่อท่าน : เขาว่ามันไกลไป มันโต่งไป มันไม่ไหวหรอก เราเองเพิ่งได้แค่นี้เอง ของเรายังไม่สูงสุดเลย สูงสุดมันอยู่ตรงนี้ เรายัง ไม่ถึงเลย นิพพานอยู่ตรงนี้ แต่เขาอยู่โน่น ไกลจน สุดๆแล้วนะ มันไกลสุดไกลแล้ว เขาจะดึงเราลงมา อนุโลมให้เขาหน่อย เพื่อให้เขาทำด้วยได้ อย่างนี้มันไม่ไหวหรอก

ทีมงาน : ส่วนใหญ่เขาวาดหวังเกินกว่าจุดประสงค์ที่เราทำน่ะค่ะ เขาอยากจะให้สังคมได้ประโยชน์จากงานวิจัยนี้เต็มๆเลยค่ะ

ทีมงาน : ศ.ดร.สุภางค์ จันทวานิช ช่วยอธิบายค่ะว่าเราทำเกินวัตถุประสงค์ไปแล้ว ถ้าจะเอาไปใช้ในสังคมก็ต้องเป็น โครงการใหม่ อีกโครงการหนึ่ง อาจารย์ช่วยอ่านให้ ตั้งแต่แรกค่ะ แล้วก็แก้ไขมาหลายครั้ง ถ้าไม่ได้อาจารย์แนะนำ ก็คงไม่เป็นรูป เป็นร่าง ได้ขนาดนี้ อาจารย์พูดตรงกับวัตถุประสงค์ ที่เราทำวิจัย คือทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น แล้วจะได้พัฒนาตัวเองได้ ก็เลยถอดเทป มาอ่านให้พ่อท่านฟังเลยนะคะ แค่บางส่วน

ตอนที่รับที่จะช่วยดูงานนี้ให้คุณรินธรรม ดิฉันว่าเรามีความเข้าใจร่วมกันอยู่บ้างว่าการทำงานชิ้นนี้นี่ส่วนหนึ่ง ก็ให้ชาวอโศก เข้าใจ ตัวเองมากขึ้น และดิฉันเอง ก็คิดว่า ให้คนข้างนอก เข้าใจชาวอโศกมากขึ้น แล้วก็นำสิ่งที่เรียกว่า การปฏิบัติในเรื่อง ของสุขภาวะ ด้านจิตวิญญาณของ ชาวอโศก มาเทียบเคียงกับ หลักคำสอน ของพระพุทธศาสนา. . . ข้อมูลมันดีมาก แล้วมัน ก็เยอะมาก ตอนนี้นักวิจัยอยู่ในสภาพ ข้อมูลท่วมอยู่ กำลังตะเกียกตะกาย ให้พ้นจากข้อมูล เราจะนำเสนอ ยังไงถึงจะกระชับ และกะทัดรัด ดิฉันเสนอให้ทำรายงาน ออกเป็น ๒ ฉบับนะคะ ฉบับแรกนี่ ก็ให้ยาว ๔๐๐-๕๐๐ หน้า ตามที่มันมีอยู่ เพราะว่า จะเก็บอย่างนี้อีก ก็คงยากแล้ว ต่อไปวันข้างหน้า ข้อมูลเหล่านี้ ก็จะมีประโยชน์นะคะ แล้วก็ทำรายงานฉบับหนึ่ง ตัดออกมา ให้เหลือประมาณ ๔๐ หน้าก็พอแล้ว ในฉบับย่อนี่ จะเริ่มให้มัน มีแนวว่า มันจะส่อว่า เอาไปประยุกต์ยังไงก็ได้ ก็คล้ายๆ เปิดปลั๊กเอาไว้ แต่ยังไม่ต้องชวนคน มาเสียบนะ เปิดปลั๊กเอาไว้ว่า ตรงนี้อย่างนี้ๆ เพื่อที่ว่า ถ้าหลังจากนี้ ทำอย่างไรต่อ มันจะได้ มองเห็นแนวทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประยุกต์นะคะ เรื่องที่ ๓ คือการวิเคราะห์ หลักธรรม โดยสรุปจาก ที่นำเสนอ บอกว่าใช้ จรณะ ๑๕ กับมรรคมีองค์ ๘ คือดิฉันก็พยายาม คาดคั้นทุกครั้ง ให้บอกว่า สันติอโศก ใช้อะไรอยู่ ไม่อย่างนั้น จะไม่ยอมรับ ไม่ยอมเชื่อ ในที่สุด คณะวิจัยก็บอกมาว่า มีจรณะ ๑๕ กับมรรคมีองค์ ๘ ตรงนี้นะคะ ดิฉันคิดว่า ต้องการการมอง แบบคนนอกแล้ว ถึงได้นิมนต์ ท่านดุษฎี มาช่วย เพราะที่เขาบอกว่า จรณะ ๑๕ กับ มรรคมีองค์ ๘ และที่มันแตกมา ทำโน่นทำนี่ เป็นบุญนิยมนี่ ท่านเห็นด้วยไหม ท่านโอเคไหม ท่านโต้แย้งไหม มันอาจจะไปตรงกับ หลักธรรมอื่น เพิ่มเข้าไปอีก ซึ่งทำให้ดี เป็นเครดิตของ สันติอโศก หรือว่าอันนี้ ราคาคุยเกินไป ไม่ครบถ้วน ดิฉันคิดว่า อันนี้เราจะมาหักล้าง หรือว่าเราจะมาคุยกัน แต่มันเป็น คุณูปการมากกว่า และอันนั้นคิดว่าสำคัญ เพราะอะไร เพราะนัยะ ที่จะเกิดหลัง ที่งานนี้เสร็จแล้ว เราก็ทราบดีว่า สันติอโศก ถูกมหาเถรสมาคม บังคับให้ทำ อย่างโน้น อย่างนี้ จนออกมาแข็งแกร่ง.... เรายืนหยัดได้ เรามั่นคงได้ด้วย การมี สัมมาทิฐินี่ เราสามารถ ที่จะทำให้บทบาท ของสันติอโศก ในยุคสมัยที่ ทุนนิยม มันครองสังคมโดยรวม เข้ามาขณะนี้ สิ่งที่ปฏิบัติ ยึดถืออยู่นี่ มันอาจจะไม่ถึงกับ ต้านได้เต็มที่ แต่ก็ยังเป็นจุดหนึ่ง ดิฉันมองว่า สันติอโศกจะเริ่มเป็น กระบวนการ สังคมนะคะ ถ้ามองแบบ สังคมวิทยา ไม่ได้มองว่า เป็นกลุ่มศาสนา ที่คนที่มีอุดมการณ์ ร่วมกัน มีความคิดอะไร ด้วยกันนี่ จะสามารถเข้ามาได้มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างเดือนหรือไท ไม่จำเป็นต้องคนมีความทุกข์ แต่จากคนที่ร่วมอุดมการณ์ เข้ามาอยู่ด้วยได้ แล้วก็ถ้าหากว่า สรุปออกมาได้ดีนะคะ มีหลักธรรม ที่ยืนยันออกมาอย่างนี้ว่า เราไม่ใช่เดียรถีย์ ไม่ใช่ผิด ประหลาด พิสดารอะไร เพียงแต่ว่า เราเน้นเรื่องศีล เราเน้นเรื่อง การละกิเลสนะ ซึ่งอาจจะเหมาะสม ในยุคที่กิเลส มันบ่าไหล มากขนาดนี้นะคะ ก็อาจจะเป็นจังหวะที่ดี ที่สันติอโศก จะตั้งหลักขึ้นมาได้ จะเป็นวัดใหม่ หรือไม่เป็นวัด อาจจะไม่ใช่ ประเด็นที่ ชาวสันติอโศกสนใจแล้ว แต่ว่าขอใช้ ภาษาฝรั่งว่า Legitimacy (ถูกต้องตามกฎหมาย, ให้มีสิทธิ ตามกฎหมาย) จะได้กลับคืนมา

พ่อท่าน : เวลาอาตมาเขียนหนังสือ อาตมาถึงต้องอ้างพระไตรปิฎกเยอะไปหมด

ทีมงาน : ท่านอื่นก็แนะนำคล้ายๆกัน สรุปว่าต้องเขียนให้เห็นว่าสิ่งที่เราทำกันอยู่ช่วยพัฒนาจิตวิญญาณอย่างไร

ทีมงาน : พ่อท่านคะ ขอถามนอกเรื่องนิดหนึ่งค่ะ ถ้าเผื่อเรารู้ว่า ในหมู่กลุ่มของเราน่ะค่ะ ผู้คนชักจะมองกันในแง่ไม่ดี เราจะแก้ไข ตรงนั้นยังไง

พ่อท่าน : ก็เอามาตรวจสอบ ถ้าไม่ดีเราก็แก้ไข ก็ปรับปรุง มันห้ามไม่ได้หรอก นี่มันเป็นสัญชาติมนุษย์ พระพุทธเจ้าอยู่ทั้งองค์ ก็ยังซัดกันอยู่นัวเนีย มันเรื่องธรรมดา เราต้องเข้าใจ ความจริงของมนุษย์ มนุษย์มันยังเข้าข้างตนเองน่ะ ยังมีอัตตา มันก็ต้อง มีอย่างนั้น เป็นธรรมดา แต่มันไม่ใช่ ค่ารวม ที่จะตีราคาว่า นี่ไม่ดีหรือว่าดี มันเป็นเรื่อง ปลีกย่อย ในกลุ่มสังคมต้องมีอยู่แล้ว คนมันยัง ไม่หมดอัตตามานะได้ง่ายๆ มันเป็นเรื่องธรรมดา จะไปห้ามไม่ได้หรอก พฤติกรรมของมนุษย์ ก็ต้องมีลักษณะพวกนี้ เป็นธรรมดาธรรมชาติจริงๆ เราต้องมองให้เห็นค่า เป็นประโยชน์นะ นี่แหละคือ สัลเลขธรรม ธรรมะอันขัดเกลากัน เพราะฉะนั้น สิ่งพวกนี้ มันเป็นโจทย์ทั้งสิ้น ถ้าใครไม่รู้ทันโจทย์ พวกนี้คุณก็แพ้ แล้วคุณก็เผลอ ตาย เสียคะแนน แปลว่า กิเลสของเราก็ขึ้นของตนเองไป

ทีมงาน : ดิฉันเป็นห่วงว่าเดี๋ยวเขาจะเครียด แล้วก็อยู่กันไม่ได้ เดี๋ยวก็จะออกไปกันอีก

พ่อท่าน : อ๋อ!..มันก็มีออกบ้าง พิสูจน์มาตั้งยี่สิบสามสิบปี มันก็ออกๆ เข้าๆ เป็นธรรมชาติ ออกไปแล้ว สิบปี ก็ยังกลับมา มันเป็น เรื่องธรรมชาติ แต่เราดูแล้วว่าออกกับเข้า อันไหนมันมากกว่ากัน ถ้าพวกเข้ามันมากกว่าอยู่แล้ว มันไม่มีอะไรหรอก

ทีมงาน : พ่อท่านคะ แล้วคนที่ยังมีกิเลสอยู่ ถือว่าเป็นเทวนิยมอยู่หรือเปล่าคะ

พ่อท่าน : เทวนิยมเป็นลัทธิหรือศาสนาแบบหนึ่ง ไม่ใช่หมายว่ามีกิเลสหรือไม่มีกิเลส และอเทวนิยมก็เป็นศาสนาอีกแบบหนึ่ง กิเลสมีได้ทั้ง ชาวเทวนิยม และ ชาวอเทวนิยม มันก็เป็นธรรมดา แม้แต่มีความรู้ในอเทวนิยมแล้ว มันก็ยังมีส่วนที่ยังหลุดๆ ร่วงๆ หลงๆ ไปเป็น เทวนิยมอยู่บ้าง มันก็เป็น ธรรมชาติของคน มันไม่ประหลาดอะไร ไม่ได้หมายความว่า แหม!..มาศึกษาทางนี้แล้ว จะมีความรู้เป็น อเทวนิยมถ้วนหมด ไม่มีบกพร่อง ไม่ตกหล่นเลย ผู้เข้าใจอเทวนิยม ครบถ้วนก็มี ไม่ครบถ้วนก็มี แต่ถ้าจะพูด ให้ชัดๆ ก็พูดได้ว่า คนที่ยังเป็นเทวนิยมนั้นไม่มีทางล้างกิเลสจนหมดเกลี้ยงเป็นอนัตตาได้

ทีมงาน : พ่อท่านคะ แล้วคนที่เป็นโสดาบันจะต้องมีญาณ ๗ ด้วยใช่ไหมคะ
พ่อท่าน : บางทีมันมีญาณรู้ แต่สำนึกนอกมันไม่รู้ มันยังไม่สามารถที่จะเอาตัวรู้นั้นออกมาชัดๆข้างนอก แต่ว่ามันจะรู้นัยๆลึกๆ ว่ามันเป็นของ ไม่ธรรมดาสามัญนะ กิเลสมันมี แล้วกิเลสมันลดได้ อาจจะไม่รู้ตัวหรอกว่ามันลดแล้ว แต่กิเลสมันลด ก็รู้ว่าเราเอง เราเบาบางลง รู้ แต่จะไม่สมบูรณ์แบบในการรู้อย่างเต็มรูปเท่านั้นเอง

ทีมงาน : บอกใครไม่เป็นใช่ไหมคะ
พ่อท่าน : ใช่ บอกใครไม่เป็น แยกแยะวิจัยไม่ออกเลย พระพุทธเจ้าท่านตรัสได้ชัดเจน ก็เพราะว่าท่านละเอียดลออ ท่านชัดหมด ทุกอย่าง แบ่งเป็น ๗ ข้อ โอ้โฮ....!ไม่ใช่ง่ายๆนะ ญาณทั้ง ๗ นี่ถ้าศึกษาจริงๆ แล้วมันช่วย มันจะเข้าใจเลย แต่ถ้าแม้ไม่ศึกษา ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่ได้เป็นโสดาบัน ไม่เข้าใจญาณ ๗ อธิบายญาณ ๗ นี้ไม่ออก แต่เขามีภูมิธรรม เขามีผลของเขาถึงแล้ว ได้แล้ว อาตมายืนยันได้เลยนะว่าชาวอโศกเราฐานโสดาบันมีมากมาย แต่ไปถามสิ ไม่รู้เรื่องหรอก


ปิดท้ายบันทึกฉบับนี้ จากโอวาทปิดประชุมชุมชนปฐมอโศก ๒๖ ก.ย. ๒๕๔๘ จากเนื้อหาบางส่วนดังนี้ พวกเราคงรู้กันดีว่า พวกเราได้ดี เพราะประชุม พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า หมั่นกันประชุม พรั่งพร้อมกันประชุม พรั่งพร้อมกันเลิกประชุม มันวิเศษ จริงๆ เป็นเรื่องที่ต้อง รับรู้ร่วมกัน มีอะไรก็มาพูดคุยกัน ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันตัดสิน เรื่องของขบวนการกลุ่ม เป็นเรื่อง ยิ่งใหญ่

เราถูกมองว่ายิ่งใหญ่ แต่จริงๆ เราเล็กนิดเดียว แต่แน่น และมีเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ อัตลักษณ์ มีพร้อมหมด และแสดงตัว ออกไปสู่ สังคมข้างนอก เรารู้ตัวดี ว่าเราเล็ก ทำงานคนก็น้อยไม่พอ ดึงกันไปดึงกันมา งานก็มากก็กว้าง ภายในงานก็มากแล้ว ยังไปผสมผสานกับข้างนอกอีกจึงดึงกันใหญ่ พอเราออกไปข้างนอก เขาก็ยิ่งรับรู้ได้ เห็นว่าพวกเราใหญ่ รวย ทั้งๆที่เรา ประกาศ ตัวว่าเราจน เขาก็ไม่เข้าใจง่ายๆ ยังคิดว่าเราอุดมสมบูรณ์ รวย ใหญ่ แน่น แต่ความจริงแล้ว มันก็เป็นอย่างที่เป็น แต่ความจริง ซ้อนลึกลงไปอีก จริงเหมือนกันที่พวกเราอุดมสมบูรณ์ เรารวย รวยน้ำใจ รวยสมรรถภาพ รวยการสร้างสรรและสละ เพราะเรา ทำสละนี่แหละ เขาจึงไม่เชื่อว่าเราจน คนจนแจกไม่ได้ เพราะคนรวยยังไม่แจกเลย นี่คือจิตวิทยาสังคม มันซับซ้อน สิ่งเหล่านี้ เป็นของแปลกของประหลาด เราต้องสร้าง มนุษย์ชาติแบบนี้ เพื่อพิสูจน์ความจริงให้เห็นว่า ในความเป็นจริง ของสัจธรรม ในความเป็นจริงของมนุษย์ พฤติกรรมหรือวิถีความเป็นอยู่ของมนุษย์ ไม่ใช่อย่าง ที่เขาเข้าใจ ลัทธิทุนนิยม ลัทธิโลกีย์ ที่เขาเข้าใจมันไปไม่ได้ มันทุกข์ลำบาก เบียดเบียน แย่งชิง ทรมาน ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย เหลวไหล ผลาญพร่า นี่ไม่ได้ ลงโทษเขานะ พูดสัจธรรมให้ฟัง มันไปไม่รอด แต่ของเราประหยัด ไม่ผลาญพร่า รู้จักแก่นสาร แจกจ่ายเจือจานเอื้อเฟื้อ ไม่ทะเลาะ เบาะแว้ง แย่งชิง มันคนละเรื่องกันเลย เกิดจากสัจธรรมที่จิตวิญญาณ เมื่อจิตวิญญาณเป็นจริง แล้วก็มา ปรากฏ ความเป็นจริง อย่างที่ มันเกิดมันเป็น อาตมาก็มาอ่านจากความจริงที่พวกเราเกิดพวกเราเป็น ไม่ได้ไปนั่งเทียน นั่งพยากรณ์ นั่งคิด เอาเองในหัวสมอง ว่าจะต้องเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่ อาตมาอ่านจากความจริงที่พวกเราเกิดพวกเราเป็น เห็นได้จากของจริง โดยดวงตาโดยปัญญา ของอาตมา พออาตมาพูดออกมาพวกคุณเห็นตามไหม ว่าพูดอย่างนี้มีสภาวะ มีความเป็นไปได้จริง แต่คุณอาจจะมองยังไม่ลึก ไม่ละเอียดเท่าที่อาตมามองแล้วหยิบมาพูดเท่านั้นเอง แต่ความจริง อาตมาพูดนี่ความจริง ไม่ได้พูด ตรรกะ ไม่ได้พูดถึง แนวความคิด สิ่งที่ควรจะเป็น ไม่ใช่ เอาสิ่งที่เป็นแล้วมาเปิดเผย มาชี้ ยืนยันขึ้น แล้วพวกเราก็รับฟัง อ๋อ ใช่ ใช่ ใช่ เพราะฉะนั้น "ความจน" ชนิดนี้ มันมหัศจรรย์จริงๆ และมีความเป็นปึกแผ่น แน่นเหนียว

ธรรมดา..คนจนจะทะเลาะกันใช่ไหม นั่นคือ คนจนที่ไม่มีจะกิน คนจนที่ไม่ใช่คนจนมหัศจรรย์ ก็แย่งกัน ไม่รวมกัน ส่วนคนรวย เขาก็ยังแบ่งกันบ้าง แต่ก็ทะเลาะกัน อยู่ดีแหละคนรวย มันก็แย่งกันรวยอยู่ต่อไป ไม่ยอมเสียเปรียบ ไม่ยอมแบ่งแจก เมื่อกิเลส ไม่ยอมเผื่อแผ่ มันก็โลภเห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัว อยู่ตามสถานะ แห่งความจริง ของโลกีย์ ไม่ว่าคนรวยคนจน แต่มันยิ่งจน ยิ่งแย่งกัน กระเบียดกระเสียร ไม่ว่าคนจนหรือคนรวยล้วนอยากรวยเหมือนกันทั้งสิ้น

แต่พวกเราจน เป็นการจนมหัศจรรย์ ไม่แย่งกัน ไม่อยากรวย อาตมาเคยยกตัวอย่างเอาไก่ไปขังในเข่งเดียวกัน อัดๆ เบียดๆ เมื่อมันหิว มันจะจิกกันใหญ่เลย มันหิวมันกระหาย จะทะเลาะกัน มันหิว ลองดูสิ มันอดมันอยากมันหิวขึ้นมา แม้แต่สัตว์อื่น ก็เหมือนกัน เอาไปขังรวมกัน ให้มันอดมันอยากมันจะกัดกันเอง มันก็จะทะเลาะ กินเนื้อกันเอง แต่พวกเรา"จน"ก็ไม่มีปัญหา เพราะว่า เราจนเพราะเต็มใจ"จน" รู้จักความจน ทำตนให้จน "จน"อย่างมีความรู้มีวิถีดำเนินชีวิต ไม่ได้ยากแค้น ไม่ได้ขี้เกียจ ไม่ได้ผลาญพร่า ไม่ได้ฟุ้งเฟ้อ "จน"ก็กินอยู่อย่างพอเป็นไป อุดมสมบูรณ์ด้วยซ้ำ ไม่ได้เดือดร้อนอะไร นี่เป็นความซับซ้อน ของสัจธรรม เป็นแนวลึกซึ้ง ที่พวกเราได้ทำมาจริง พิสูจน์แล้วจริง

ทุกวันนี้จะเห็นได้ว่า ข้างนอกเขาก็เข้าใจเราขึ้นมา มีคนมาทำวิจัย ทำวิทยานิพนธ์ตลอดเวลา มีมากขึ้นทุกทีๆ ตอนนี้มีเด็ก คนหนึ่ง เรียนเศรษฐศาสตร์ อาตมาก็ยุให้ทำวิจัยเศรษฐศาสตร์บุญนิยมให้ได้ แต่แล้วก็ทำในประเทศไทยไม่ได้ ถ้าจะทำวิจัย เศรษฐศาสตร์ของอโศกนี่ไม่ได้ ไม่รับเลย จะเป็นไปได้อย่างไร"มาจน" เพราะเศรษฐศาสตร์ที่เขาเรียนมาแต่แรกเริ่ม เป็นเรื่อง ของทุนนิยมทั้งนั้น จะต้องร่ำรวยทั้งนั้น เขาไม่เอาความจน อย่าเสนอเข้าไปเลย ถ้าไปทำปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ ที่ต่างประเทศ เอาเรื่องนี้เลย เขาเลยตั้งหัวข้อเรื่องว่า Agricultural Economics (เศรษฐศาสตร์ในกสิกรรม) เพราะว่า เศรษฐศาสตร์ มันมี ๒ นัย คือ Microeconomics และ Macroeconomics

Microeconomics คือ เศรษฐศาสตร์เฉพาะตัว ศึกษาเศรษฐศาสตร์ของคนนี้ เฉพาะกลุ่มเฉพาะเรื่อง

Macroeconomics คือ เศรษฐกิจในวงกว้าง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างสังคมโลก เศรษฐกิจของมวลชน

ด้านการงาน ด้านสังคมของพวกเรา ที่เราได้สร้างได้ทำกันขึ้นมาตอนนี้ทุกด้าน ไม่ว่าจะด้านเศรษฐศาสตร์ ตอนนี้อาตมา กำลัง กระหน่ำย้ำนัยะของเศรษฐศาสตร์ออกไปสู่สังคม วิจัย จุลภาค กับ มหัพภาค ด้วย

คำว่า จุลภาค คือ micro ส่วน มหัพภาค คือ macro แต่ถ้าเอาไปรวมกับเศรษฐกิจเข้าจะมีความหมายซ้อนลึกไปอีกอย่าง อาตมา พูดถึงอยู่ในหนังสือ "เราคิดอะไร" สามเล่มต่อกันมาในหัวข้อ จนกระจุก-รวยกระจาย ถ้าจนกระจุก จะเป็น macro หรือเป็น micro เพราะมันคนรวยมันเป็นจุลภาค คือกลุ่มน้อยนะ ถ้าจน คนจนจนกระจุก แต่ทำให้คนรวยกระจาย แล้วคุณ จะเรียก Macroeconomics หรือเปล่า หรือคุณจะเรียก Microeconomics ล่ะ ในด้านผลของมัน ผลของเศรษฐกิจ ซึ่งมัน เป็นเรื่องลึกซึ้ง เป็นเรื่องยาก ก็กำลังทำความเข้าใจกันอยู่ เขาก็ต้องมาศึกษา เศรษฐศาสตร์บุญนิยม ทำไมมันซับซ้อน หกคะเมน ตีลังกาอย่างนี้ อย่างเศรษฐศาสตร์สากล เศรษฐศาสตร์ทุนนิยมทุกวันนี้ของเขาทำอย่างไรๆ ก็กลายเป็น..รวยกระจุก -จนกระจาย ผู้ทำ..จน ผู้ได้ประโยชน์..รวย และผู้ได้ประโยชน์ คือ จุลภาค ผู้ทำ คือ มหัพภาค ผู้ทำคือส่วนใหญ่ ผู้รวยคือ ส่วนน้อย ซึ่งมันซับซ้อนมากทีเดียว

อาตมาก็เลยกลายมาเป็นคน... เศรษฐศาสตร์ก็ต้องมาเรียน มาสอน มานำ มาศึกษา ตอนนี้ ก็ศึกษาอยู่

ก็ดี พวกเราก็ทำงานกันมาถึงวันนี้แล้วก็ค่อยๆเป็นค่อยๆไป คิดว่าพวกเราจะพยายามกันในเรื่อง"ขยะ"กันบ้างนะ "ผู้ใด ไม่แยกขยะ ผู้นั้นกำลังทำลายชุมชน"

- รักข์ราม -
๒๗ ต.ค. ๒๕๔๘

- สารอโศก อันดับที่ ๒๘๘ ตุลาคม ๒๕๔๘ -