ไต้ร่มอโศก: ศูนย์รวมข่าวคราวของญาติธรรมจากทั่วสารทิศ
เพื่อเสริมสร้างกำลังใจ ให้กรรมฐาน และแก้ปัญหา
ของนักปฏิบัติธรรม โดย...จิ้งจกส์

หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 232
ฉบับ เดือนมกราคม 2544
หน้า 1/1


จัดการกับชีวิต ด้วยคติไม่ฟุ้งเฟ้อ…มีศีลธรรม…มีน้ำใจ รับใช้เต็มที่ ไม่เกี่ยง ไม่งอน!

จัดการกับตัวเอง ตั้งนโมด้วยศีล ๕ รู้เป้าหมาย รู้เจตนารมณ์ ของศีล ทำให้บริสุทธิ์สูงขึ้น กาย…วจี…มโนกว่านี้ๆ ๆ

ปฏิบัติศีลจากระดับอนุบาล สู่ประถม…สู่มัธยม! ขันชะเนาะตัวเอง…น้อยลงๆ ๆ ในทุกๆ ด้าน อกุศลกรรมในกรรมบถ ๓ ต้องรู้เท่าทัน

จัดการกับผู้อื่น…มีความจริงใจ มีความหวังดี มีอดทน มีรอคอย มีอภัย

จัดการกับเด็กๆ อารมณ์เย็น แจ่มใส ไม่เอา แต่ใจ สั่งสอนมีจังหวะ วจีกรรมไม่พร่ำเพรื่อ เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกทำ สำเร็จด้วยฝีมือตัวเอง

คำขอร้อง ของพ่อท่าน

วันนี้ ระบบที่พ่อท่านกำลังพาทำ พาพิสูจน์ ให้ชาวโลกได้เห็นสัจธรรม ก็คือ การเผยแพร่ศาสนา ที่ใช้”ระบบบุญนิยม” เข้ามาจัดการในทุกๆ เรื่อง

บริษัท ของอโศกทั้งหลาย ก็เป็นระบบบุญนิยม พนักงานรับเงินเดือนน้อย บางแห่งก็ไม่รับเลย

ภาระ ของบริษัท จึงมิใช่อยู่ที่คนทำงาน ญาติธรรมทุกคน ก็ต้องมีส่วนสนับสนุน

๒๕ มี.ค.๒๕๔๓ พ่อท่านให้ข้อคิด “ระบบบุญนิยม ของเราถ้าเป็นอย่างนี้ อีก ๓๐ ปี จะชัดเจน ตอนนี้อาตมา ๖๕ ถ้า ๙๕ จะไหว หรือ เพราะฉะนั้น ถ้าจะให้อาตมาเห็นทัน ก็ต้องเร่งตัวเองให้เหลือ ๒๐ ปี ๑๐ ก็ยิ่งดี”

ญาติธรรมถาม “จะเร่งตรงไหน?” พ่อท่านตอบ “ลดละตัวเองติดอบาย ติดกาม ติดในโลกธรรม นั่นแหละ”

สรุป ของพ่อท่านก็คือ ตั้งใจปฏิบัติให้มากขึ้น!

อโศกสร้างคน คนสร้างเมือง

“๑. รู้สึกปลงอะไรๆ ได้มากขึ้นกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต

๒. จิตใจสงบมากขึ้น แต่ก่อนมีปัญหาอะไรเข้ามาในจิตใจ จะทำให้ว้าวุ่นมาก เครียด โมโหง่ายขึ้น ไม่สบายใจ แต่เดี๋ยวนี้มีความพยายามดับควมวุ่นวายสับสนในจิตใจได้มากขึ้นจริง สบายใจขึ้น

๓. ความรู้สึกเหมือนกับว่าเรามีที่พึ่งทางใจอบอุ่นมาก บางครั้งเครียดมากจากการทำงาน เรื่องส่วนตัว ก็พยายามดับทุกข์ที่เกิดกับจิตใจ ก็ทำให้สบายใจได้เร็วขึ้นไม่ฟุ้งซ่านอีก

๔. เดี๋ยวนี้เป็นคนที่ใจเย็นกว่าเดิมไม่ค่อยโมโหใคร เวลาที่ใครทำให้โกรธ ก็ไม่ค่อยโกรธ พยายามข่มจิตใจ

๕. เดี๋ยวนี้ก็หัดที่จะขัดใจตนเองให้มาก ถ้าอะไรไม่ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ หรือ ต้องการจะได้ก็จะไม่โมโห แล้ว เดี๋ยวนี้ถ้าใครขัดใจในบางเรื่องก็จะไม่ค่อยโกรธเขา มันต้องข่มจิตใจ…”

นันทัชพร กลั่นเชื้อ (อ.เมือง จ.นครสวรรค์)

ถอดรหัสชีวิตให้เป็นการมองตน

การมองโลกในแง่ดี วิธีการหนึ่งก็คือ “การหัดชื่นชม” “หัดประทับใจ” ในเรื่องที่เจอะเจอ

บางคนทั้งชีวิต มี แต่พบเห็นเรื่องไม่ดี ของคนโน้นคนนี้ เรื่องดีๆ กลับไม่พบ (ความจริงเขาหาไม่พบต่างหาก)

จากญาติธรรม นิตจารีย์ แซ่ซิม (อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร)

“อ่านแล้ว รู้สึกประทับใจ แนวการสอน ของพ่อท่าน ที่ฝึกลูกๆ ให้วางใจ ปรับตัวกับสภาวะน้ำท่วม (ท่านถือว่าเป็นโจทย์ที่จะฝึกตนเอง) ประทับใจการเกื้อกูล แม้สัตว์เล็กๆ ที่หนีน้ำ ก็เมตตาช่วยชีวิตเค้าให้อยู่รอด”

บทชีวิตทุกบท ล้วนเป็นบทเรียนฝึกฝนให้เราปฏิบัติธรรม “การปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์” เป็นสิ่งจำเป็นต้องฝึกฝน น้ำท่วมที่ราชธานีฯ อาจสูญเสียทางรูปธรรม แต่เราจะต้อง”ถอดรหัส” ที่อุบัติขึ้น ให้เป็น “ธรรมที่เป็นไป เพื่อ ละหน่ายคลาย”

การมองตนไม่โทษใคร แต่ปรับที่จิตใจนี้แหละเป็นธรรมะขึ้นสูง (พระอภิธรรม) แม้ใครที่ร้ายกับเรา เราก็ต้องอโหสิ มีเมตตานะฮะ จุ๊ย์ๆ ๆ

ธรรมะลงตัวเป็นไฉน ?

จากญาติธรรม พรสวรรค์ หินคำ (อ.ศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์) เล่าความปรารถนา ของหัวใจ

“ต้องการทำกิจกรรมร่วมกับวัด แต่ภาระมากมายหวังไว้วันหนึ่งจะต้องทำให้ได้…”

ฮะ ธรรมะที่เป็นไปตามครรลอง เราก็เริ่มมีโอกาสรับผิดชอบงาน ของวัดมากขึ้นๆ ๆ (ไม่ใช่สัก แต่มีตำแหน่งหน้าที่) หากเราทำ”ประโยชน์ตน” ลงตัว “ประโยชน์ท่าน” ก็จะทยอยมาเพิ่ม “ประโยชน์ท่าน” ยิ่งเพิ่มกรรมดีก็ยิ่งมีโอกาสสะสม ในอีกด้าน เราก็จะยิ่งได้ทำ “ประโยชน์ตน” ยิ่งขึ้นๆ ๆ จนเป็นวงกลมวัฏจักรเช่นนี้ๆ เราจะเบาว่างขึ้นเรื่อยๆ

นี่คือการปฏิบัติธรรมที่งตัว จุ๊ย์ๆ ๆ

เจริญลูกเดียว

จิ้งจกเกาะอยู่ข้างหางเสือเรือที่ราชธานีฯ ขณะที่เรือใหญ่จอดทอดสมอ มีการประชุม ของญาติธรรม ๑๐๐ กว่าคน ที่ประชุม กำลังโหวตว่า ประชุมทุกเดือน ควรประชุมกี่โมงดี ถกกันพอหอมปากหอมคอ “ประชุม ๖ โมงเช้า ประชุมตอนบ่าย ประชุมตี ๔ ?”

ผลโหวตออกมา “ตี ๔“ ชนะขาดลอย ได้ญาติธรรมมีไฟแบบนี้ ถ้าเป็นบริษัทก็มี แต่เซ็งลี้ฮ้อ ! จุ๊ย์ๆ ๆ

การทำงานต้องปฏิบัติธรรมเป็น

วาระที่ ๕ สมณะให้โอวาท

“…ชีวิต ของสังคมในโลกคนเรานี้ ค่อนข้างจะมีความบีบคั้นสูง และ ธรรมะก็จะเป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตเรามาก หากเราหัดฝึกฝนควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ ก็จะเป็นประโยชน์แก่เรา และ คนรอบข้างเป็นอย่างมาก การที่เรามาประชุม และ ทำงานกิจกรรมร่วมกันก็จะเป็นการฝึกอย่างหนึ่ง คือ ฝึกทำงานร่วมกับ หมู่กลุ่ม จะได้ลดอัตตา ลดมานะ ลดทิฐิ หัดยอม ทำ แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ การที่เรา ลดทิฐิได้ ก็จะทำให้เรา เกิดแรงศรัทธาศาสนา เพิ่มขึ้น...”

เก็บตก สรุปโอวาทสมณะถิรจิตโต ในรายงานการประชุมสามัญประจำเดือน ชมรมสัมมาสิกขาพุทธธรรม (สส.พธ.) ครั้งที่ ๖/๒๕๔๐ (๑๖ พ.ย.๔๐ ณ ลานหินศาลาพระวิหารพันปีเจดีย์บรมสารีริกธาตุ)

อาหารจานสำคัญ...ผัสสาหาร !

จากญาติธรรม คำผุย ร่มเย็น (อ.เมือง จ.อุบลฯ ) เล่าประสบการณ์ทางจิตมา “ตอนนี้ก็พยายามฝึกปฏิบัติ ได้บ้างไม่เข้มแข็ง เมื่อเวลาเจอผัสสะ ใจจะท้อแท้หดหู่ แต่ทุกครั้งที่ได้รับหนังสือ ได้เห็นรูป ของพ่อท่านในหนังสือ ใจจะมีพลัง มีความชุ่มชื่นลึกๆ ในใจ…”

จิตไม่เข้มแข็ง ก็ต้องเริ่มฝึกปฏิบัติพื้นฐาน ถือศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ ฝึกกินมังสวิรัติ ฝึกกินน้อยใช้น้อย ฝึกใช้ชีวิต ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย

“โลภะ” เป็นด่านแรก ต้องตรวจตน

“โทสะ” เป็นด่านที่ ๒ ที่ต้องฝึกตามด่านแรก อย่างใกล้ชิด แล้ว เราจะค่อยๆ แข็งแกร่งขึ้น ตามวันเวลาที่หมุนผ่าน

พวกเรา โลภะ ส่วนใหญ่ก็เห็นไปจมอยู่กับเรื่องกิน ผู้ชายก็เพิ่มอีกตัวคือ “กาม” ส่วนโทสะก็เป็นตัวที่ ๒ การทำงานด้วยกัน จะทำให้มีโอกาสฝึกฝน

คติก่อนจาก “เสือหลับ ไม่มีโอกาสฆ่ามันได้!” จุ๊ย์ๆ ๆ

วิสาสา ปรมา ญาติ

“ดิฉันชอบอ่านบันทึกจากปัจฉาสมณะมากที่สุดเลยค่ะ เพราะมีโอวาท มีคำสอน ของพ่อท่านแทรกอยู่ในนั้น และ ชื่นชมท่านผู้เขียน หรือ สมณะผู้บันทึกมากค่ะ ท่านเก็บข้อมูลได้ละเอียดจริงๆ เลย ขนาดเราผู้อยู่ห่างไกล พอได้อ่านแล้ว ก็เหมือนได้อยู่ใกล้ๆ กับวัดกับพ่อท่านกับชาวอโศกเลย อีกคอลัมน์ที่ชอบก็คือ รายงานจากพุทธสถานต่างๆ ค่ะ เหมือนได้รู้เหตุการณ์บ้านเมืองอ่านแล้ว รู้สึกว่าไม่ตกข่าว ชาวอโศก ไม่เชยด้วย หัวข้ออื่นๆ ก็ดีนะคะ ยังไงๆ ก็อ่านทั้งเล่มแหละค่ะ ได้รับปุ๊บมีเวลาก็รีบอ่านเลย ไม่รู้ว่าคนไกลวัดท่านอื่นๆ จะเป็นเหมือนดิฉัน หรือ เปล่า เหมือนกับว่ากลัวเขาจะไม่ให้เป็นชาวอโศกถ้าไม่อ่านอะไรทำนองนั้น น่ะค่ะ กลัวจะถูกทิ้ง ถูกตัดออกจากกองมรดก ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่มีใครตัดเราได้หรอกนอกจากตัวเราเอง (ออกห่างธรรม) เพียง แต่ ปฏิบัติให้อยู่ในข่ายถือศีล ๕ ละอบายมุข กินมังสวิรัติ เป็นชาวอโศกได้ตลอดกาลแน่นอน…”

ญาติธรรม อุ๋ย เคียงขวัญ (อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี) ชอบมากที่อ่านสารอโศก สารอโศกเดิมนั้น เจตนาต้องการถ่ายทอดกิจกรรม ความเป็นไป ของพวกเราใน แต่ละพุทธสถาน โดยความเป็นญาติธรรม ก็มักจะสนใจ อยากรู้อยากเห็นวัด ของเราทำอะไร แต่ญาติธรรมห่างๆ ก็มักจะไม่สนใจเรื่องพวกนี้

คุณเป็นญาติธรรมประเภทไหนเอ่ย? จุ๊ย์ๆ ๆ

ธรรมะกับควาย ๔ กระเพาะ !

“ โดยปฏิบัติหน้าที่ ของตนให้ดีที่สุด โดยยึดถือตามแนวทางที่ได้ศึกษา และ ได้อ่านจากวารสารดังกล่าว รวมทั้งได้ฟังธรรมจากเท็ป ของพ่อท่านโพธิรักษ์เป็นประจำทุกวัน ซึ่งนับว่าเป็นกุศลที่เกิดมาแล้ว ได้พบธรรม ขององค์พระสัมมาสัมพุทธที่ถูกต้อง และ แท้จริงจากพระโพธิสัตว์ ชีวิตไม่วุ่นวาย”

ญาติธรรม สืบพงษ์ คำไหว้ (อ.เมือง จ.ขอนแก่น) เล่าวิธีการเพิ่มพลังให้กับตัวเอง เส้นทางเอก เรามีหน้าที่

๑. ค้นหากิเลสในตนให้เจอ (สติ) ๒.ให้เหตุผลทั้งสอนทั้งหว่านล้อมให้คลาย (ธรรมวิจัย) ๓. ตั้งหน้าตั้งตาฝึกฝน (วายามะ)

การอ่านหนังสือ การฟังเท็ป ก็เป็นการฝึก”ธรรมวิจัย” นั่นเอง ยังไม่เจอ ฟังไปอาจเห็นตาม เห็นเหตุเห็นผล เขาเรียก “วิปัสสนึก” เมื่อเจอโจทย์ ของจริง แล้ว ให้เหตุผลเฝ้าสอนย้ำเตือน นี่แหละ กำลังก้าวเข้าสู่ “วิปัสสนา”

การหลบมุม การไม่เจอะเจอ ช่วงนั้น เราเรียก “การพักผ่อน” แต่บางคนตั้งชื่อโก้

“ไปฝึกพลังให้แข็งแกร่ง” ญาติธรรมจะเดินถนนสายไหน? จุ๊ย์ๆ ๆ

หมายเหตุ ควายเมื่อกินแล้ว ยามว่างจะขย้อนออกมาเคี้ยวเอื้อง บดให้ละเอียดตลอดวัน

เมื่อถึงเวลา...มาเอง

จากญาติธรรมใหม่เอี่ยม วรรณี โลหะกาญจนโชติ (เขตจอมทอง กทม.) “ดิฉันได้ยินชื่อ ‘สันติอโศก’ ตั้ง แต่อายุประมาณ ๑๐ กว่าฃวบ จนปัจจุบันดิฉันอายุ ๓๕ ปี ดิฉันได้มีโอกาสไปที่สันติอโศก เมื่อประมาณ ๒ เดือนที่แล้ว เนื่องจากมีแรงบันดาลใจ อยากไปเยี่ยมญาติท่านหนึ่ง ซึ่งบวชเป็นสิกขมาตุอยู่ที่นั่น ดิฉันได้รับหนังสือหลายเล่มจากท่าน พอกลับถึงบ้านก็เริ่มอ่าน ดิฉันตั้งใจที่จะอ่านให้จบทุกเล่ม พออ่านจบดิฉันมีความรู้สึกว่า สมองโล่ง จิตใจปลอดโปร่ง ใจเย็นขึ้น ความรู้สึกดีๆ เกิดขึ้นมากมาย และ คิดว่า อยากจะอ่านหนังสือดีๆ เหล่านี้อีก…”

อุทาหรณ์เรื่องนี้ ทำให้มองเห็นว่า เหตุปัจจัยเป็นเรื่องสำคัญ ชวนแทบตายก็อาจไม่มา แต่พอถึงเวลาปุ๊บปั๊บแทบไม่น่าเชื่อ คนที่ขยันชวนคนอื่นมาปฏิบัติ จะได้ใจเย็นกว่าเดิมนะฮะ เพราะเมื่อถึงเวลาก็มาเอง และ …ต้องระวัง ถ้าไม่อ่านกิเลสในตัวเอง กลับเห็น แต่ข้อผิดพลาด ข้อบกพร่องคนรอบข้าง เห็นบ่อยๆ เมื่อถึงเวลาก็…ไปเสียเอง ! จุ๊ย์ๆ ๆ

ไฟเผาขยะ ตบะเผากิเลส

จะไม่พูดจาส่อเสียด (ญาติธรรม ใจ พันเดช)
จะทำเกษตรไร้สารพิษตลอดไป (ญาติธรรม ทองคำ สุนทร)
จะรักษาศ๊ล ๕ ให้บริสุทธิ์ (ญาติธรรม แป ทักษิณสิทธิ์)
รักษาวาจาให้คำพูดไม่เป็นอันเสียหายต่อหมู่กลุ่ม (ญาติธรรม ไข ชมพันธ์)
ถือศีล ๕ กินมังสวิรัติตลอดชีวิต (ญาติธรรม เพ็ญศรี สิงหเสนา)
จะปลูกผักกินเอง โดยวิธีเกษตรชีวภาพ และ เผยแพร่ให้ชาวบ้านให้มากเท่าที่มีโอกาส (ญาติธรรม เกษม เพ็ชรสังข์)
จะมาร่วมกิจกรรมทุกครั้ง จะกินเจทุกวันพระ (ญาติธรรม บุปผา นิจผล)
จะสละเวลา และ แรงกาย เพื่อ หมู่กลุ่ม (ญาติธรรม ละเอียด ชนะศรีสวัสดิ์)
จะไม่ตบยุง (ญาติธรรม พเยาว์ คชสิทธิ์)

คติประจำเดือนนี้… รักสะอาดกำจัดขยะ รักตบะกำจัดกิเลส

end of column