วิทยุชุมชน "สื่อพื้นบาน ภูมิปัญญาเพื่อท้องถิ่น"

วิทยุชุมชน เป็นเรื่องของคนที่ต้องการ รักษาสิทธิ ต้องการใช้สิทธิ และ ต้องการสื่อสาร เพื่อสิ่งที่ดีต่อชุมชน ไม่ใช่เรื่องของการได้มีเพียงแค่สถานี หรือ รายการ แต่เป็นเรื่องของการสร้างสมดุลแห่งอำนาจ ในการสื่อสาร ของประชาชน

วิทยุชุมชน เป็นของประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชน

หลักการ

วิทยุชุมชน เป็นสมบัติสาธารณะในชุมชน ที่ให้สิทธิ์กับคนในชุมชน ได้บริหารจัดการ โดยไม่แสวงหาผลกำไร เป็นช่องทางการสื่อสาร เพื่อชีวิตของคนในชุมชน และ เปิดโอกาสให้ทุกกลุ่มองค์กร หรือ ผู้ด้อยโอกาสในชุมชน

ปรัชญา แนวคิด

การที่ชุมชนต้องมีสถานีวิทยุเป็นของตนเอง และ วิทยุชุมชนคือ การนำเรื่องราวที่คนในชุมชน พูดในเรื่องของคนในชุมชน ให้ชุมชนฟัง เมื่อชุมชนเป็นเจ้าของสถานีเอง มีสิทธิอำนาจสถานีวิทยุ การกำหนดรายการ เป็นของประชาชน ของชุมชนโดยแท้

ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไข และ ข้อจำกัด ด้านจรรยาบรรณ ความรับผิดชอบ และกติการ่วมกันของชุมชน

ดังนั้น วิทยุชุมชน จึงเป็นเรื่องของคนที่ต้องการรักษาสิทธิ ต้องการใช้สิทธิ และ ต้องการสื่อสาร เพื่อสิ่งที่ดีต่อชุมชน ไม่ใช่เรื่องแค่การได้มี เพียงแค่สถานีหรือรายการ แต่เป็นเรื่องของการสร้างสมดุลแห่งอำนาจ

หัวใจของวิทยุชุมชน

คนในชุมชน เป็นผู้ผลิต หรือ ผู้ฟัง**
เข้าถึงง่าย หมายถึง

-ปิด เปิด ง่าย
-ใช้ภาษาถิ่น
-ต้นทุนต่ำ
-เครื่องมือที่ใช้ไม่ซับซ้อน
-ผลิตรายการจากสถานการณ์ใกล้บ้าน

เป็นสมบัติสาธารณะ (สมบัติทางอากาศ)
ใช้ระบบอาสาสมัครในการดำเนินการ
ไม่แสวงหากำไร แต่สร้างทุนทางสังคม
คนในชุมชน ร่วมกันจัดตั้ง และ ร่วมเป็นเจ้าของคลื่นความถี่

โครงสร้างสถานี

1. ไม่ซับซ้อน ไม่ใช่โครงสร้างหลักเชิงอำนาจ
2. เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาค
3. แบ่งบทบาทหน้าที่ ตามเนื้อหาที่จำเป็น และสอดคล้องกับชุมชน
4. เน้นระบบอาสาสมัครเข้ามาทำงาน และ เชื่อมโยงกับทุกส่วนภูมิภาค
5. เน้นให้เกิดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ (ตั้งแต่การจัดตั้งสถานี ไปจนถึงขั้นดำเนินการ)
6. มีความยืดหยุ่น เปิดโอกาสให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ และความจำเป็นของชุมชน

ตารางเปรียบเทียบวิทยุชุมชนกระแสหลัก กับ วิทยุชุมชน

วิทยุกระแสหลัก
วิทยุชุมชน
รัฐเป็นเจ้าของ เอกชนรับช่วงสัมปทาน ชุมชนเป็นเจ้าของ
เงินลงทุนสูง ประมาณ 10 - 20 ล้านบาท
-อาคารถาวร
-ผลิตรายการโดยเจ้าหน้าที่ราชการ-เอกชน
-กำลังส่งของเครื่องส่ง 1 กิโลวัตต์
-ค่าไฟฟ้า ประมาณเดือนละ 20,000 บาท
ลงทุนน้อย ประมาณ 60,000 บาท ต่อสถานี
-อาคารของชุมชนเป็นที่ตั้งสถานี
-ผลิตรายการโดยอาสาสมัครในชุมชน
-กำลังส่งของเครื่องส่ง 20 - 30 วัตต์
-เสียค่าไฟฟ้า ไม่เกินเดือนละ 500 บาท
แสวงหากำไรเชิงธุรกิจ ไม่แสวงหากำไรเชิงธุรกิจ เน้นการสร้างทุนทางสังคม (พัฒนาคน พัฒนาชุมชน)
นำเสนอเรื่องใหญ่ๆ ไกลตัว และซับซ้อน นำเสนอเรื่องตรงใจ ใกล้ตัวชาวบ้าน
ชุมชนมีส่วนร่วมยาก เนื้อหา กำหนดโดย
เจ้าของรายการ หรือ เจ้าของสถานี
ชุมชนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน (ตั้งแต่ ก่อตั้งสถานี ไปจนถึงการบริหารสถานี และจัดรายการ)
ผังรายการ ออกอากาศทั้งวัน ออกอากาศตามความพร้อม และความต้องการ ของชุมชน
รัศมีการออกอากาศ 70 - 80 กิโลเมตร รัศมีการออกอาอาศ 10 - 30 กิโลเมตร

รัฐให้ข้อมูลทางเดียว

มีการให้ข้อมูลเป็นจริง ไม่ปิดกั้น บิดเบือน

ผู้ครอบครองคลื่นวิทยุในปัจจุบัน

กองทัพบก
ตำรวจ
อสมท.
กรมประชาสัมพันธ์

139 คลื่น*

44 คลื่น

62 คลื่น

147 คลื่น

*ขยายเวลาให้นายทุน ทำธุรกิจสื่อสาร จนร่ำรวยมหาศาล

ประชาชนเป็นผู้ฟังเพียงฝ่ายเดียว

ถ้ายังปล่อยให้สื่อรัฐ (กระแสหลัก) ดำเนินการอยู่ฝ่ายเดียว โดยประชาชนไม่มีอิสระในการสื่อสาร จะมีผลทำให้เกิด ความรุนแรงในสังคม อย่างไม่มีวันจบสิ้น

องค์ประกอบคณะทำงานเพื่อพัฒนาวิทยุชุมชน

ชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง
สภานะภาพ ภาระกิจ
     
1.
นายวสันต์ พานิช
กรรมการสิทธิมนุษยชน และ ประธานคณะอนุกรรมการ เพื่อการศึกษาและตรวจสอบ เกี่ยวกับปัญหาการแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน
ประธานคณะทำงาน
2.
นายกฤษณพร เสริมพานิช
ผู้อำนวยการกองงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์
แห่งชาติ ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์
คณะทำงาน
3.
นางจันทิมา เชยสงวน
ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์
คณะทำงาน
4.
นางจิราพร พงษ์เสถียร
ผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน ผู้แทนกรมไปรษณีย์โทรเลข
คณะทำงาน
5.
นายมนัส ทรงแสง
ผู้อำนวยการกองตรวจสอบและเฝ้าฟังวิทยุ ผู้แทนกรมไปรษณีย์โทรเลข
คณะทำงาน
6.
พ.ต.อ.สมชาย พัฒนกำจร
รองผู้บังคับการตำรวจสื่อสาร ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
คณะทำงาน
7.
ดร.วิลาสินี พิพิธกุล
อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะทำงาน
8.
นางสาวจิริกา นุศาลัย
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
คณะทำงาน
9.
นายอนุ สง่าเรืองฤทธิ์
ผู้ประสานงานอาวุโส สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม
คณะทำงาน
10.
รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.)
คณะทำงาน
11.
นายไพโรจน์ พลเพชร
เลขาธิการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
คณะทำงาน
12.
นายอุดมศักดิ์ ถนอมพงศ์
ผู้แทนเครือข่ายวิทยุชุมชนภาคใต้
คณะทำงาน
13.
นายวิเชียร คุตตวัส
ผู้แทนเครือข่ายวิทยุชุมชนภาคตะวันตก
คณะทำงาน
14.
นายจรัล รุ่งเรือง
ผู้แทนเครือข่ายวิทยุชุมชนภาคตะวันออก
คณะทำงาน
15.
นางสางจันทรพนา สิทธิพันธุ์
ผู้แทนเครือข่ายวิทยุชุมชนภาคกลาง
คณะทำงาน
16.
นางศรีพรรณ ปัญญาสุข
ผู้แทนเครือข่ายวิทยุชุมชนภาคเหนือตอนบน
คณะทำงาน
17.
นายไพศาล เจียนศิริจินดา
ผู้แทนเครือข่ายวิทยุชุมชนภาคเหนือตอนล่าง
คณะทำงาน
18.
นายวีระพล เจริญธรรม
ผู้แทนเครือข่ายวิทยุชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
คณะทำงาน
19.
นายวีระ นิจไตรรัตน์
ผู้แทนเครือข่ายวิทยุชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง
คณะทำงาน
20.
นายสันทนา ธรรมสโรช
ผู้แทนเครือข่ายวิทยุชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
คณะทำงาน
21.
ดร.เอื้อจิต วิโรจนไตรรัตน์
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและประสานงานเครือข่าย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คณะทำงาน

ผู้ประสานงานวิทยุชุมชนภาคอีสาน

ภาคอีสานตอนบน นายวีระพล เจริญธรรม tel. 098 425 923
ภาคอีสานตอนกลาง นายปิยะราช อินทรพานิช tel. 099 447 658
ภาคอีสานตอนล่าง นายสันทนา ธรรมสโรจน์ tel. 044 471 851

แจ้งผลการการรับฟังวิทยุชุมชนทุกทิศทั่วไทย แนะนำ เทคนิค สาระ ความคิดเห็นในรายการ