ทำไมพ่อท่านทุ่มเทให้ ว.บบบ.?

ในรายการ สงครามสังคมธรรมะการเมือง โดย พ่อท่านฯ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ มีผู้ตั้งประเด็น มาถามพ่อท่านว่า... โปรดเมตตาอธิบาย ให้ลูกฟังทีเถิด ว่าทำไม ต้องใช้ทองคำ ในการทำเข็มติดเสื้อ ของ ว.บบบ. เอาเงินไปจ่าย ค่าดาวเทียม ไม่ดีกว่าหรือ? 

พ่อท่านตอบว่า.... “จ่ายค่าดาวเทียมก็ต้องทำอยู่แล้ว แต่ว่าอันนี้ก็ต้องทำ เมื่อมีทุน มีแรงเหลืออยู่ พอจะทำได้อีก ก็เอามาเสริม มาทำอันนี้ ถ้าเป็นแต่ก่อนนี้  เป็น ๒๐ ปีที่แล้ว อาตมาทำไม่ได้ เพราะยังไม่มีทุน มาทำถึง ๒ ล้าน เพื่อที่จะทำเข็มนี้ แต่เดี๋ยวนี้ มีผู้อุปถัมภ์ค้ำชู ที่พอจะทำได้ อาตมาทำงานศาสนามานี่ จะไม่เรี่ยไร ยังไงให้เป็นตายอย่างไร ก็ไม่เรี่ยไร และไม่คิด จะหาเงินด้วย

มันเป็นเรื่องที่อาตมา ต้องทุ่ม ต้องทำ พยายามพากเพียร ที่จะให้เกิดสิ่งนี้ และวิธีที่ทำนี่ เป็นวิธีของ ศาสนาพุทธเลย ให้แต่ละคนเกิดสำนึก มุ่งมั่นเตือนตน พากเพียรใฝ่ดีเอง ไม่ต้องมีใครบังคับ เตือนสติกันอยู่  ที่พ่อท่าน ออกอากาศนี่ ก็เป็นการเตือนสติ ตลอดเวลา เท่านั้นเอง พอแล้ว ส่วนใครจะปล่อยปะละเลย ก็ตัวใครตัวมัน ใครจะขวนขวายเอา ก็เป็นบุญ ของแต่ละคน เพราะฉะนั้น ที่มาท้วง มาเตือน ว่าเงินนี่ไปทำดาวเทียม ไม่ดีกว่าหรือ แต่นี่ก็พอเป็นไปได้ จึงมาทำอันนี้ เพิ่มเติม คิดว่าอนุญาตนะ!

พ่อท่านยังได้สาธยายเรื่องว.บบ.ในหลายวาระ......
เรื่องของวิชชาลัย บรรดาบัณฑิตบุญนิยม หรือตัวย่อ คือ ว.บบบ. ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๒ ตัวย่อ ว. คือวิชชาลัย ส่วน บ. แรกคือ บรรดา หรือประดา ส่วน บ. ที่สองคือ บัณฑิต จำกัดความว่า เป็นบัณฑิตบุญนิยม บ. ที่สาม คือ บุญนิยมนั่นเอง

บรรดา คือเราไม่ได้จำกัดว่าเป็นใคร แม้แต่ศาสนาอื่น จะเข้ามาสอบเป็นบัณฑิต อันนี้ก็ได้ มันเป็นการทดสอบ การศึกษา ทดสอบสร้างให้เกิด ภาวะบัณฑิต ที่แท้จริงแก่คน เรามีใบรับรอง ที่เขาเรียกกันทั่วไปว่า ปริญญาบัตร หรือ ประกาศนียบัตร แต่ของเรา เรียกว่า “ปัญญาบัตร”  และมี “บัตรประจำตัวรุ่น” ผู้ใดสอบได้ แต่ละรุ่นก็เข้ารุ่น ที่สำคัญ คือจะมี “เข็มตราพระธรรม” ถือว่าเป็น บัณฑิตเลย มีเข็มนี่ติด จะติดเป็นประจำเลยก็ได้ หลังเข็มจะบอกรุ่นไว้ด้วย เป็นทองคำแท้ ไม่ใช่ทองชุบ นำหนักเกือบบาทหนึ่ง หนัก ๑๓.๒๗ กรัม ซึ่งหนึ่งบาท หนัก ๑๕ กรัม เดี๋ยวนี้ ๑ บาท ราคาสองหมื่นห้าพันบาท ตกอันหนึ่ง ก็เกิน สองหมื่นห้าพันบาท

พ่อท่านดำริงานนี้ขึ้นมาเพื่อ “สร้างคน” ให้คนพัฒนาเป็นชีวิตที่ดี ประเสริฐ ที่เรียกว่า  “อาริยะ” เป็นความเจริญ ในระดับโลกุตระ ซึ่งเป็นชีวิตที่พ้นทุกข์ ลดทุกข์ได้ ลดได้จริง แล้วก็เป็นคนดีของสังคม ลดกิเลส ตามทฤษฏีของ พระพุทธเจ้า ลดกิเลสแล้ว เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งพ่อท่านเห็นว่า เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ ในความเป็นมนุษย์ ที่ตั้งใจทำ ตั้งแต่ออกมาจาก ชีวิตโลกๆ ที่เคยวิ่งไล่ล่า ลาภ-ยศ-สรรเสริญ-โลกียสุข  ออกมา ก็เห็นว่าดี ทำมาได้ตั้งแต่ อายุ ๓๖ ปี เราทำได้ผล จนเกิด กลุ่มหมู่อโศก เรียกว่า บุญนิยม เราพยายามให้เป็นหลัก เป็นฐาน เป็นกรอบการศึกษา เป็นระบบการศึกษาเปิด ที่ไม่ชื่อว่า อยู่ในกรอบ ของกระทรวง เราพยายามทำแบบของเราเองโดยตรง จะกำหนดความรู้ขึ้นมา ให้เป็นลักษณะ ที่เป็นอาริยะ อย่างที่ตั้งใจ เข้าใจ มั่นใจ โดยไม่มีกฎระเบียบ ทางโลก มาวุ่นวาย ก็เลยคิดโครงสร้าง การศึกษานี้ขึ้นมา แล้วตั้งชื่อว่า “วิชชาลัย บรรดาบัณฑิตบุญนิยม” ชื่อย่อว่า “ว.บบบ.” แล้วก็ร่างโครงร่าง เป็นการเรียน อย่างอิสระ เมื่อทำอันนี้ขึ้นมาแล้ว ก็มาทำ รายการโทรทัศน์ว่า “เรียนอิสระ (ตามสำนึก)” ให้สำนึกเอง มุ่งมั่นเอง พ่อท่านก็ถ่ายทอด ทางสื่อสาร เป็นทางอากาศ สื่อออกไป อยู่ตลอดเวลา ใครสำนึกเห็นว่า ควรศึกษา ก็ศึกษาเอา ถึงเวลาปีหนึ่ง ก็มาสอบทีหนึ่ง ซึ่งเปิดกว้าง ไม่กำหนดอายุ เปิดรุ่นแรก มีอายุ ๗ ขวบ ๘ ขวบ จนถึง ๘๐ กว่า และเรียกผู้มาเรียนว่าเป็น “บัณฑิตาราม” เป็นการศึกษา ที่พัฒนา กาย วาจา และเน้นที่จิต ต้องพัฒนาขึ้นให้ได้

โดยมีเกณฑ์ของผู้สมัครเรียน คือ
๑.ต้องกินมังสวิรัติมาแล้ว ๕ ปี และ ๕ ปีที่ว่า ไม่ได้หมายความ ขาดหก ตกหล่น ไม่ได้เลย สรุปแล้ว คือ ตั้งใจกิน มังสวิรัต ิได้อย่างน้อย สองในสาม ของที่เรากินมา หรือคิดเป็น ๗๐% ใน ๕ ปี ก็คือกินมาได้ ๓ ปีกว่า นอกนั้น ก็ขาดหก ตกหล่นได้ ไม่ได้เคร่งครัดเกินการณ์ ให้เข้าใจว่า มากินมังสวิรัตินี่ เพื่อตัดกิเลส
๒.ถือศีล ๕ 
๓. ไม่มีอบายมุข

ผู้ที่มีคุณสมบัติอย่างที่ว่า คือเป็นมนุษย์ ไม่มีอบายมุข ถือศีล ๕ กินมังสวิรัติ สามเงื่อนไขนี้ ถ้ามนุษย์มี และปฏิบัติอย่างนี้ได้ ปีหนึ่ง ไม่ต้องมากมาย ปีหนึ่งได้ซัก ๒๐ คน ถ้าลงทุนไป ห้าล้านบาทก็คุ้ม ก็พอแล้ว พ่อท่านกล้าทุ่มเลย ก็ลองดูว่า รุ่นหนึ่ง ก็ลงทุน ไม่ถึงห้าล้านบาท ในปีแรกมาสมัครเกือบ หนึ่งพันคน เราถือว่า ให้เกียรติกัน ในความเป็นคน เขาก็ต้อง มีสำนึกของเขา

เป็นงานมาปฏิบัติ จรณะ ๑๕ นั่นเอง เป็นหลักการ มีการทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น มีการฟัง รายการธรรมะ มีการบำเพ็ญคุณ บำเพ็ญธรรม มีการสังสรร กับนักปฎิบัติ ด้วยกัน คนทั่วไป ที่ยังไม่มีคุณสมบัติถึง แม้ไม่มาสอบ ก็มาร่วมปฏิบัติได้ จะมีการแบ่งกลุ่ม ก็ไปขอเข้ากลุ่มได้ เพียงแต่ไม่ได้ถูกคิดคะแนน เท่านั้นเอง

พ่อท่านสาธยาย ต่อไปว่า ถ้าชีวิตนี้ได้ช่วยคน ให้มีคุณธรรม ให้มีคุณสมบัติดังกล่าว ประเทศ ก็จะมีอาริยะ ไม่เป็นภาระสังคม จะทำให้สังคม ไม่วุ่นว่าย ไม่ได้มักมากหรอก ปีหนึ่งได้ ๑๐-๒๐-๓๐ คน ร้อยคน มาถึงวันนี้ หลายสิบปีแล้ว ก็ได้เป็นโล้ เป็นพายอยู่ มาถึงวันนี้ ก็มีหมู่กลุ่มชุมชน ทั่วประเทศ เกือบร้อยกลุ่ม มายืนยัน ปฏิบัติ ศีล-สมาธิ-ปัญญา ขั้นต่ำ คือศีล ๕ ศีล แต่ก็จะมี ศีล ๘ ศีล ๑๐ ตามฐานะ ไม่กินเนื้อสัตว์ ไม่มีอบายมุข

เมื่อพ่อท่านเห็นว่า เป็นสิ่งประเสริฐ จึงทุ่มเทลงทุน ลงแรง จึงเกิดเป็น ว.บบบ.ขึ้นมา รุ่นแรก ในต้นปี ๒๕๕๕ รุ่นที่สอง ที่กำลังจะจัด เป็นรุ่นปี ๒๕๕๖ จะมีรุ่นสาม รุ่นสี่ ตามมา ในปีต่อไป ซึ่งในปีแรก จะใช้วัน โพชฌังคาริยสัจจายุ คือ เกิดจาก วันที่พ่อท่าน อายุ ๗๗ ปี  ๗ เดือน ๗ วัน เป็นวันที่มีเลข ๗ สี่ตัว และกำหนด จะจัด ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม ถึงวันที่ ๓ มกราคม ของทุกปี นี่คือ ที่ไปที่มา ของ วิชชาลัย บรรดาบัณฑิตบุญนิยม

ผู้ที่จะมาร่วมศึกษา ตั้งใจมาเป็นนิสิต วิชชาลัยนี้ มาสมัครได้ ตั้งแต่ ๕-๖-๗ ขวบ เขียนหนังสือไม่เป็น ก็มาสมัครได้ จะต้องหาผู้ช่วย มาเขียนให้ ก็บอกเขาให้เขียน ให้สอบให้ นอกนั้น ไม่ตอบข้อสอบ ก็ปฏิบัติประพฤติ มีหลักคือ ศีลเต็ม-เข้มงาน-สืบสานวิชชา อย่างพระอรหันต์ ถือว่าเป็นศีลบุคคล หรือผู้ใดปฏิบัติศีลได้เต็ม ระดับโสดาบัน ก็มีศีล ๕ เต็ม เป็นปกติ ไม่ละเมิด มันมีขีดหยุด ขีดพอ ศีลนี่ มีคุณสมบัติ ให้จิตดับกิเลสจนเต็ม ตัดอบายต่างๆ ไปตามลำดับ

ในการสมัคร จะเปิดตั้งแต่ ๑-๒๕ ธ.ค. ๕๕ สมัครได้ที่สมณะ ที่รับสมัคร ตามพุทธสถาน หรือ สังฆสถานทั้ง ๙ แห่งของชาวอโศก ถ้ามาตามเวลา ก็จะไม่ตกหล่น ถ้ามาสาย ใกล้เวลา ก็อาจตกหล่นได้ ผู้ที่จะสมัคร ไม่เสียเงิน เสียทองอะไร ในปีหนึ่ง จะมีการมาสอบไล่ ทั้งหมด 7 วัน โดยแบ่งเป็น สองส่วน คือ  ๔ วันแรก เรียกว่าการ “บำเพ็ญคุณ” ๓ วัน (๒๘-๓๐ธค ๕๕) หลังเป็นการ “บำเพ็ญธรรม”(๓๑ธค-๓มค.๕๖) จะมีคุรุ มีอาจารย์ มีพี่มีน้อง พาทำ แล้วให้คะแนน นอกไปจาก ๗ วัน ที่มาสอบไล่แล้ว ก็สำนึกเอาเอง เป็นการเรียนอิสระตามสำนึก จะมีการจับกลุ่มกันทำ เป็นระยะ ตามสำนึก มากน้อยแล้วแต่ ศาสนาพุทธไม่บังคับ ให้เป็นไปตามสำนึก มีญาณปัญญา มีอุตสาหะ วิริยะ ให้รู้ว่าดีก็ควรทำ เพราะการปฏิบัติธรรม มรรคองค์ ๘ ทำที่ไหนก็ได้ พระพุทธเจ้า ไม่เกี่ยงเวลา สถานที่ ไม่เกี่ยงบรรยากาศ หากมุ่งมั่น ลดละกิเลสจริงๆ จนเกิดมรรคผล ได้ทุกขณะ ไม่ใช่ว่า ต้องไปแต่หาที่สงบ แล้วก็นั่งหลับตา สะกดจิต เข้าไป  แต่สงบก็เป็นเพียงอุปการะ

ผู้ที่ปฏิบัติธรรม อยู่ในวิชชาลัยบรรดาบัณฑิตบุญนิยม เข้าง่ายออกง่าย ไม่มีสัญญาอะไร เข้ามาแล้ว ก็ตั้งใจเอา ให้ขยัน อุตสาหะ พากเพียรเอา ให้อิสระ เต็มที่ สำนึกเอง แล้วไม่ได้บังคับ ขอให้ได้ผล พ่อท่านเน้น ที่ผลจริง ไม่เน้นปริมาณ ปีหนึ่งรุ่นหนึ่ง ร้อยคนมาสอบ พันคนมาสอบ รุ่นหนึ่ง สมัคร ๘๐๐ กว่าคน ไม่ได้เสีย ค่าสมัครอะไร เขาก็ไม่เสียดาย แต่มาสอบ ๗๐๐ กว่าคน ถือว่าเป็นผลสำเร็จ สอบผ่านกันได้แล้ว ๕๐๐ กว่าคน

สอบผ่านนี่ ไม่ได้เข็มทั้งหมด ผู้ได้เข็มตราพระธรรม และปัญญาบัตร จะได้อยู่แค่ ๑๕๔ คน แบ่งเป็น สองแผนก คือ แผนกวิชญ์ ๗๗ คน กับ แผนกชาญ ๗๗ คน ผู้ที่เคยเรียนจบป.ตรี เป็นต้นไป มาสมัคร เราให้สมัครใน “สายวิชญ์” ส่วนผู้ที่ไม่จบป.ตรีมาสมัคร เราเรียกว่า “สายชาญ”

ส่วนผู้ที่สอบผ่าน คือได้คะแนน ตั้งแต่ ๕๐ % ขึ้นไป แต่คะแนน ต่ำกว่าผู้ที่ สอบได้เข็ม ตราพระรรม จะได้บัตรประจำตัวนิสิต ซึ่งบอกรุ่น ที่มาสอบ ให้เป็นเครื่องหมาย และจะได้เสื้อ ตราพระธรรม ที่มีตราของ ว.บบบ. ทุกคน แต่คน ๑๕๔ คนแรก จะได้เสื้อสีเข้ม (สีกรมท่า) ส่วนนอกนั้น ทุกคนที่สอบได้ จะได้เสื้อ สีอ่อน

ผู้ที่สอบได้แล้ว หรือสอบตก ก็มาสอบซ้ำได้ มาสอบได้ทุกปี ผู้ที่สอบได้เข็มแล้ว ในปีต่อไป ก็จะสอบอีกก็ได้ ถ้าสอบได้อีก ก็จะได้เข็ม ตราพระธรรมอีก แต่จะได้จำกัด รวมแล้วไม่เกิน ๔ เข็ม เมื่อสอบได้ครบ ๔ เข็ม จะได้ตำแหน่ง เรียกว่า “บูรณ์บุญบัณฑิต” ส่วนปัญญาบัตรนั้น จะแจกในปีแรก ที่สอบได้ และ จะแจกปีสุดท้าย ที่สอบได้ คือแจกตอน ได้เข็มที่ ๔  รวมปัญญาบัตร ทั้งหมด สองใบ สำหรับตำแหน่ง บูรณ์บุญบัณฑิต

ผู้ผ่านการสอบได้ รุ่นที่ ๑ หากจะมาสอบ เอาเข็มที่สอง จะต้องได้คะแนน ๗๐% ขึ้นไป ส่วนผู้ที่จะได้ เข็มที่สาม ต้องได้คะแนน ตั้งแต่ ๘๐% ขึ้นไป ส่วนผู้ที่จะได้ เข็มที่สี่ ต้องได้คะแนน ตั้งแต่ ๙๐% ขึ้นไป  มีเกียรตินิยมด้วย ในแต่ละปี ถ้าคะแนน ตั้งแต่ ๙๐ % ขึ้นไป เทียบได้กับเกียรตินิยม อันดับหนึ่ง เรียกว่า “บุญบัณฑิต” ถ้าคะแนน ตั้งแต่ ๘๐ % แต่ไม่ถึง ๙๐ % เรียกว่า “คุณนิยม”

ผู้ที่เป็นคุรุ ทั้งสมณะ สิกขมาตุ ก็ช่วยกันอยู่ ต่อไปในอนาคต มีบูรณ์บุญบัณฑิต ขึ้นมา หรือเป็นบัณฑิต ที่สูงขึ้นมา ก็จะมาเป็นพี่เลี้ยง หรือผู้ช่วย มารับผิดชอบ ช่วยงาน

มาขอใบสมัครไปกรอกได้ หรือจะโหลดเอาได้จากเว็บ จะไปสมัครโดยตนเอง หรือ ทางไปรษณีย์ก็ได้ สมัครได้ ๙ แห่ง (พุทธสถาน ๗ แห่ง สังฆสถานอีก ๒ แห่ง) ส่วนเวลา ที่จะสอบ ให้ไปที่ราชธานีอโศก เริ่มการสอบปีนี้ กำหนดตั้งแต่ วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๕๖ รวม ๗ วัน

สอบเสร็จแล้ว ต้องรีบทำบัตร พร้อมกันกับแจกเลย ในวันท้ายของงาน เป็นงาน จุลกฐิน ผู้ใดมีน้ำใจ ก็มาช่วยกัน ทางธุรการ ก็ขอบคุณล่วงหน้า ผู้จะมาช่วย ให้แจ้งไปที่ราชธานีอโศก

และจะมีหนังสือ ที่จะอ่านประกอบ ในการเรียนการสอบ ในแต่ละปี ซึ่งในปี ๒๕๕๖ กำหนดให้เป็นหนังสือ “ธรรมที่เป็นพุทธ” หนา ๓๐๐หน้า ใครมาสมัคร จะได้รับแจก ได้ฟรีเลย

551212-