โครงการพลังกู้ดินฟ้า 1/1 โครงการพลังกู้ดินฟ้า Close

หน้าแรก >[04] กสิกรรม > คกร. > โครงการพลังกู้ดินฟ้า ประชาเป็นสุข >โครงการ และที่ตั้งสำนักงานโครงการ

ชุมชนต้นแบบ

[1] ที่ตั้งสำนักงาน และประวัติความเป็นมา [2] แผนภูมิแสดงกระบวนการเกิดชุมชนต้นแบบ

 

ชุมชนต้นแบบที่กล่าวถึงในเอกสารโครงการนี้ และ เป็นเป้าหมายที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของโครงการนั้น ต้องใช้เวลาพอสมควรในการทำงาน และเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และ หรืออาจจะยาวนาน ระหว่างเครือข่าย คกร. และกสิกรกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีองค์ประกอบใหญ่ 2 ส่วน คือ

1. ผู้นำกสิกร ที่ผ่านการอบรมบ่มเพาะอย่างเข้มข้น โดยเครือข่าย คกร. (ดูกิจกรรมที่ 2 ,3, 8 ) ซึ่งเน้นหนักไปทางการเลิก ละ อบายมุข และชีวิตที่ไร้สารพิษ

2. กสิกร ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหรือฐานในระดับชุมชน (ดูกิจกรรมที่ 4) ที่ผ่านการอบรม โดยเครือข่าย คกร. หรือยังไม่ผ่านก็ได้ แต่มีแนวคิดเห็นที่จะเปลี่ยนแปลงสู่ทิศทางเดียวกัน

การที่จะกลายมาเป็น ชุมชนต้นแบบ ที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ที่จะสามารถทำหน้าที่ ได้อย่างที่ควรจะเป็นในอนาคต เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า ชุมชนต้นแบบ จะมีกำเนิด พัฒนาการและปฏิบัติการอย่างไร เพื่อไปสู่ชุมชนต้นแบบ ที่พึงปรารถนา อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนคือ

1.ขั้นต้น คือ การสร้างชุมชนต้นแบบ ได้แก่ ขั้นคัดคน/แกนนำ เพื่อสร้างผู้นำกสิกร ซึ่งเป็นช่วงของกระบวนการ การทำงานและเรียนรู้ร่วมกัน อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ระหว่างเครือข่าย คกร. กับ ผู้นำกสิกร ซึ่ง จะเป็นแกนหลักสำคัญ ในการขับเคลื่อนชุมชนต้นแบบ ให้ไปสู่เป้าหมายในท้ายที่สุด

(ผู้ปฏิบัติภารกิจหลักในขั้นนี้=เครือข่าย คกร. และผู้นำกสิกร เป็นผู้ได้รับการฝึกอบรม)

2. ขั้นที่สอง คือ ชุมชนต้นแบบขั้นต้น หมายถึง ขั้นสร้างกลุ่ม (ของชุมชนต้นแบบ) โดยผู้นำกสิกร จากกระบวนการการทำงาน และเรียนรู้ร่วมกันในด้าน สัมมาทิฐิและเศรษฐกิจพอเพียงระหว่าง ผู้นำกสิกร ที่ผ่านการอบรมบ่มเพาะอย่างเข้มข้น โดยเครือข่าย คกร. ดูกิจกรรมที่ 2 และ 3 และ 8 และ กสิกร ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหรือฐานในระดับชุมชน=ดูกิจกรรมที่ 4 โดยเครือข่าย คกร.ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง

(ผู้ปฏิบัติภารกิจหลักในขั้นนี้= ผู้นำกสิกร ดูกิจกรรมที่ 4 ประกอบด้วยละเครือข่าย คกร.
ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง)

ทั้งนี้ ในขั้นนี้ เครือข่าย คกร.ยังคงทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการตลาดและการแปรรูป และ หรือ ด้านประกันคุณภาพ เมื่อมีกสิกรในกลุ่มนี้มีผลิตผลกสิกรรมไร้สารพิษ ที่มีปริมาณมากกว่าที่บริโภคเอง (ในส่วนนี้ ธ.ก.ส. และองค์กรอื่นๆ อาจเข้ามาหนุนช่วย ตามความเชี่ยวชาญ)

3. ขั้นที่สาม คือ ชุมชนต้นแบบขั้นกลาง ได้แก่ ขั้นขยายเครือข่ายในชุมชน โดยชุมชนต้นแบบขั้นต้น

เมื่อผ่านขั้นที่สองแล้วอาจอนุมานได้ว่า น่าจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ชุมชนต้นแบบขั้นต้น ที่จะทำหน้าที่ขับเคลื่อนขยายสมาชิก กสิกรรมไร้สารพิษแบบบุญนิยม ในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง ซึ่งในส่วนนี้ก็คือ ภารกิจในการขับเคลื่อนของชุมชนต้นแบบขั้นต้น ก็คือ สิ่งที่ระบุไว้ในเอกสารโครงการ วัตถุประสงค์ข้อ 3.10

(ผู้ปฏิบัติภารกิจหลักในขั้นนี้=ชุมชนต้นแบบขั้นต้น ในข้อ 2 ข้างต้น)

และในขั้นนี้ เครือข่าย คกร.ยังคงต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการตลาด และ การแปรรูป และ/หรือ ด้านประกันคุณภาพ เมื่อมีกสิกรในชุมชนต้นแบบนี้ มีผลิตผลกสิกรรมไร้สารพิษ ที่มีปริมาณมากกว่าที่บริโภคเอง ควบคู่ไปกับการให้ความรู้ด้านต่างๆ เหล่านี้

สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งในขั้นที่สามนี้ก็คือ ภารกิจของ เครือข่าย คกร. คือ การจัดตั้งเครือข่าย ใน 2 ระดับคือ หนึ่ง การจัดตั้งเครือข่ายในแนวนอน คือ ระหว่าง ชุมชนต้นแบบขั้นต้น เข้าด้วยกัน และ สอง การจัดตั้งเครือข่ายในแนวตั้ง คือ ระหว่างชุมชนต้นแบบขั้นต้นกับ เครือข่าย คกร.

เป้าหมายของการจัดตั้งเครือข่ายนี้น่าจะเป็นการบรรลุถึง การสร้าง ธุรกิจชุมชน ร่วมกัน และใช้ธุรกิจชุมชน เป็นแกนสำคัญในการขับเคลื่อน อุดมการณ์ บุญนิยม (ผู้ปฏิบัติภารกิจหลักในขั้นนี้= ชุมชนต้นแบบขั้นต้น ในข้อ 2 ข้างต้น ร่วม กับ เครือข่าย คกร.)

และ เครือข่าย คกร. อาจต้องเข้ามาช่วยด้านการอบรมกสิกร ที่มีศักยภาพอย่างเข้มข้น เหมือนกับกระบวนการสร้างผู้นำกสิกร ที่ผ่านการอบรมบ่มเพาะอย่างเข้มข้น โดยเครือข่าย คกร.=ดูกิจกรรมที่ 2 และ 3 และ 8 ในข้อ 1 ข้างต้น

(ในส่วนนี้ ธ.ก.ส. และองค์กรอื่นๆอาจเข้ามา หนุนช่วยตามความเชี่ยวชาญ)

4. ขั้นที่สี่ ชุมชนต้นแบบขั้นสมบูรณ์ หรือ ชุมชนต้นแบบที่พึงปรารถนา

ผลของกระบวนการทำงานในขั้นที่สาม ในช่วงเวลาหนึ่ง ที่อาจจะยาวนานพอสมควร (5 ปีขึ้นไป) ก็น่าจะบรรลุถึงสิ่งที่เรียกว่า ชุมชนต้นแบบขั้นสมบูรณ์ หรือ ชุมชนต้นแบบที่พึงปรารถนา ที่จะสามารถทำหน้าที่ได้คล้ายกับ เครือข่ายของ คกร. การถอนตัวในเกือบทุกด้าน ของคกร. ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น ซึ่งในท้ายที่สุด เครือข่ายของชุมชนต้นแบบ ขั้นสมบูรณ์ ก็สามารถพึ่งตนเองได้ และ มีฐานะของการเป็นพันธมิตร ที่มีศักดิ์และศรีเท่าเทียมกันกับ เครือข่าย คกร. ที่ในอดีตเป็นผู้มีส่วนอย่างสำคัญ ต่อการเกิดของชุมชนต้นแบบ

สรุปแห่งสรุป

1. กำเนิดชุมชนต้นแบบ ระยะเวลา 1-3 เดือน
2. ชุมชนต้นแบบขั้นต้น ระยะเวลา 6-9 เดือน
3. ชุมชนต้นแบบขั้นกลาง ระยะเวลา 1-3 ปี
4. ชุมชนต้นแบบขั้นสมบูรณ์ ระยะเวลา 5 ปี ขึ้นไป แต่อาจถึง 7-10 ปี

ดังนั้นสำหรับโครงการฯนี้ ในปีแรก น่าจะบรรลุเพียงข้อ1 และ ข้อ 2 แต่อาจเห็นข้อ 3 ในบางชุมชนต้นแบบจ ากที่มีในโครงการฯจำนวน 20+ โครงการฯ ราว 2-3 ชุมชน

แผนภูมิแสดงกระบวนการเกิดชุมชนต้นแบบ


เกิดชุมชนต้นแบบ