ทรัพย์แท้...ของมนุษย์ ตอนที่ ๗ หน้า ๒
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๓๔
เนื่องในงานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ ๑๕ ณ พุทธสถาน ศาลีอโศก

ต่อจากหน้า ๑

นั่นเป็นเรื่องของโลกียะ แต่ก่อนความเห็นของเราเป็นอย่างนั้น ความรู้สึกของเราเป็นอย่างนั้น ศรัทธา จริงๆ อย่างนั้น เราศรัทธาอย่างนั้นจริงๆ แล้วเราก็ปฏิบัติตามระบบอย่างนั้นจริงๆ มีหลักเกณฑ์ มีศีล มีระบบของชีวิตอย่างนั้นล่ะ ปฏิบัติอย่างนั้นไม่อาย ถ้าได้น้อยอาย เราขายได้ราคาไม่ดี อายเพื่อน แหม คนนี้มันขายได้ราคาดีกว่าเรา มันได้เปรียบมากกว่าเรา โอ๊ย เราน้อยหน้าน้อยตา หิริโอตตัปปะ กลับกัน กลับกันกับโลกุตระ แหม ขายได้ราคาต่ำ ของเราไม่มีค่าซิเนาะ ของเราได้ราคา ขายได้แพง เท่าไหร่ แหม เจ๋ง ของคุณนี่หรือ ทำเห็ดมา คุณขายได้กิโลเท่าไหร่ กิโลละ ๒๐ ของฉันได้ ๔๐ โก้ ขูดเขาได้มากกว่า นั่นอย่างนั้นนะ เอาละของคุณ คุณภาพของคุณ จะมากกว่าก็ตาม คุณภาพ จะดีกว่าก็ตาม ทางโลกุตระ คุณภาพดีกว่า ขายได้ต่ำกว่าอีก คุณขายเท่าไหร่ ขาย ๒๐ ฉันขาย ๓ บาท คุณภาพดีกว่าด้วย เราเห็นว่า อย่างนี้ดีกว่า เจริญกว่า ประสบผลสำเร็จยิ่งกว่า เห็นไหมว่า มันกลับกันไปหมดเลย มันตีลังกากลับกันไปหมดเลย

เพราะฉะนั้น คุณก็ละอายแบบโน้นน่ะ อย่างโลกๆ ชาวโลกเขาก็หิริ โอตตัปปะนี่ แหม เวลาเอาเปรียบ เขาไม่ได้มากเราอาย ได้เปรียบมากๆ ฉัน...แหม เที่ยวเชิดหน้า ยืดอก คนโลกเป็นอย่างนั้น แต่ของเรา ตาย! เราไปขูดรีดเขาแบบนี้ เราตาย เราไม่กล้า...โอตตัปปะกลัว  สุตะของเราก็มาเป็น สุตะอย่าง พระพุทธเจ้า ความรู้เป็นพหุสูตแบบนี้ ไม่ใช่พหุสูตรแบบ...เขาบอก ปราชญ์ พหุสูตทางโลก พวกนั้น ยิ่งแย่ใหญ่เลย พวกปาด ปาดหนึ่ง ปาดเยอะเดี๋ยวนี้ปาดมี แต่ความสามารถ ความรอบรู้ที่เอาเปรียบ เอารัดเขา แล้วก็เก่ง โอ้โห ลิ้นกะลาวน อาตมาเรียก จอมโจรบัณฑิต จอมโจรบัณฑิตนี่ที่จริงนะ แต่เขายังไม่รู้สึกเท่าไหร่หรอก เพราะเขายังฟังภาษา ของอาตมาไม่ค่อยออก ยังฟังภาษาไม่ค่อยออก จริงๆ อยู่ในโลกเดี๋ยวนี้ เป็นจอมโจร มหาจอมโจรบัณฑิต ยาก แล้วก็อยู่อย่างนั้นล่ะ โลกมันก็ไม่มี การสงบ ไม่มีความสุขไปได้น่ะ เขาไปมีสุตะ สุตะแบบนั้น มีความรู้แบบนั้น ซึ่งความรอบรู้แบบ โลกียะแบบนั้น มันพัง มันยิ่งพัง ต้องมาเรียนสุตะของพระพุทธเจ้า เรียนสุตะของพระพุทธเจ้าแล้ว เราก็จึงจะจาคะ เห็นว่าเราจาคะ นี่คือ ความเจริญ ไม่ใช่ว่าจะไปเอาเปรียบ ต้องเสียสละ เจริญจริงๆ มีปัญญา มีความรู้ อย่างนี้จริงๆ

นี่ก็ทบทวนซับซ้อน แล้วก็ย้ำกับพวกเราว่า เราเข้าใจเราเป็นหรือยัง จงให้ถึงซึ่งความเป็นนักเป็น อย่าได้แค่เช่น นักปราชญ์เท่านั้นน่ะ มันจริงๆน่ะ อาตมาเอง อาตมาพูดอะไรออกมา หรือว่าคิด อะไรออกมาพวกนี้ มันไม่ใช่ว่า อาตมาพูดออกมาเล่นโก้ๆ แต่งสำนวน โศลกกวี หลักปรัชญาอะไร มันโก้ๆ ไม่ใช่ มันออกมาจากพวกเรานี่แหละ แล้วอาตมาก็จะต้องเอามาเน้น ให้พวกเราทำ ให้พวกเรา ได้พยายามไล่น่ะ ให้พยายามไล่ให้ได้ ทำให้ลึก ทำให้ดีจริงๆ

ทีนี้ทรัพย์อาตมาได้อธิบายกันมา นี่ทบทวนนะ ทบทวน ย้ำที่อธิบายมาแล้วตั้งแต่ ในงานปลุกเสกฯ โน่นแน่ะ ทบทวนน่ะ ทรัพย์ที่เป็นยอดมหาทรัพย์ ที่มนุษย์ควรได้ควรเป็นนั่นคืออะไร คืออรหัต อรหัตตา ทรัพย์นั้นคืออรหัต น่ะ อรหัตตานี่ก็คือ อรหะนั่นแหละ อะระหะ ตัวเราจะต้องมีอรหะ อรหัง นี่ อรหะ อาตมาก็พยายามแปล เปรียญก็ฟังอาตมาด้วย อาตมานี่ไม่ใช่เป็นเปรียญนะ อรหัตต์ อรหังนี่ อาตมาพยายามวิเคราะห์ ดูเหมือนในหนังสือทางเอก จะวิเคราะห์เหมือนกัน ตามประสา อาตมา เขาอ่านแล้วเขาจุกเลย พวกนักเปรียญนี่เขาอ่าน...แหม วิเคราะห์ ภาษาบาลี ของเขาเละเลย จะแยกวิเคราะห์ตัวเป็น อะกับระหะ อะระกับหะ อะไรอย่างนี้ มันก็แยกได้อย่างนั้น มันมาสงเคราะห์ กันล่ะนะ อะก็ไม่ ระหะก็แปลว่าลึกลับ อะไรนี่นะ อรหะ มันก็ไม่ลึกลับแล้วน่ะ เป็นคนที่ไม่ลึกลับแล้ว อะไรๆก็ไม่ลึกลับ อะไรๆก็รู้รอบรู้แจ้งหมด มันไม่มีอะไรลึกลับเลย แต่รู้ ว่าอะไรมันลึกซึ้ง มันไม่ลึกลับ มันรู้หมด อรหะนี่รู้หมด สิ่งที่พึงควรรู้ รู้หมด ไอ้ที่จะไปสร้างจรวด มันอาจจะไม่รู้กับเขาหรอกนะ แล้วเราก็ไม่จำเป็น จะต้องไปสร้างจรวดอะไรก็ได้ แต่ว่าไอ้สิ่งที่เรารู้นี่ เอามาให้คนพิสูจน์แล้ว อยู่เย็นเป็นสุขกันได้ ไม่ต้องสร้างจรวด ก็อยู่เย็นเป็นสุข เราไม่ต้องไป เอาอะไรมากหรอก ไม่ต้องคิด สร้างลิปสติกใช้ เป็นสุขไหม ชีวิตนี้ไม่ต้องสร้างข้าว จะอยู่เย็นเป็นสุขไหม อ้าว ไม่เป็นสุขเหรอ ไม่ต้องคิดสร้างลิปสติก ก็ไม่เห็นจะไม่เป็นสุขอะไร ก็เป็นสุขได้ ไม่ต้องออกแบบเสื้อกันอีก เอาผ้ามาพันๆนี่ก็ได้ ที่จริง แต่เอาเถอะ มันออกได้แล้ว มันไม่จำเป็นหรอก เสื้อมันก็ทำเป็น ๒ แขน มีคอ มีอะไรต่ออะไร ไม่ต้องไปปรับปรุง ไม่ต้องไป ดีไซน์เนอร์ ดีไซร์แน่ร์ ขึ้นมาอะไร มากกว่านี้ ไอ้แค่นี้ก็มาทำใช้กันแล้ว น่ะ เป็นสุขไปตลอด สังคมนี้ไปตลอดตายได้ไหม ได้ ไม่ต้องไปปรุง ไปแต่งอะไร ที่มันเกินเรื่องเกินราว ที่โลกเขาปรุงแต่งกันเกิน นี่ เราพอวิเคราะห์ได้ เราพอเลือกเฟ้น เอาได้ และอะไรสำคัญ ที่อาตมาว่า คุณไม่ต้องไปทำข้าว ไม่ต้องไปสร้างข้าว ไม่ต้องไปทำน้ำให้ดี ไม่ต้องไปทำดินให้ดี จะอยู่กันรอดไหม ไม่รอด ทุกวันนี้ มันคนยิ่งทำน้ำให้เน่า ทำดินให้เน่า ทำดินให้เสีย ทำอากาศให้เสียเยอะกว่าเยอะ เยอะจริงๆ คนจะทำให้ดีขึ้นมานี่น้อย พูดกันมาก แต่ทำให้มันดีจริงน่ะน้อย ไอ้คนพูดนั่น ยังทำให้อากาศเน่า อากาศเสีย ยังทำให้ดินเสีย ยังทำให้ น้ำเสีย ยังทำให้อะไรๆเสียอยู่ ทั้งๆที่เขาพูดนั่นนะ เป็นนักวิชาการพูด วันหนึ่งพูดไม่รู้เท่าไหร่ แต่ตัวพฤติกรรมของเขานั่น ทำให้เสียยังตั้งอีกเท่าไหร่ สนับสนุนส่งเสริมกับผู้ที่ทำให้เสีย อีกตั้งเท่าไหร่ เขาอยู่บนที่ไหน เขากำลังทำอะไร เขาพูดนั่นอย่างหนึ่งนะ พูดนั่น ถูกสอดคล้องอยู่นะ รู้ว่าอะไร กำลังเสื่อมทราม เสื่อมโทรม รู้พูดต้านกั้น แต่พฤติกรรมชีวิตของเขา นั้นน่ะ เขาก็คือคนหนึ่ง ที่ทำสิ่งที่เขากำลังว่า ต่อว่านั่นแหละ เขากำลังด่าตัวเองอยู่ เขาก็ด่านะ ด่าคนที่ทำเลว ทำชั่วพวกนี้ ลงไปในสังคม ลงไปในโลก เขาก็กำลังด่านะ แต่เขาก็คือคนหนึ่ง กำลังทำให้มันชั่วมันเลว อยู่นั่นแหละ เขาด่าใคร ด่าตัวเองอยู่ ระวัง พวกคุณ ระวังด่าตัวเองจริงๆ เห็นไหม ด่าตัวเองอยู่ เขาไม่ได้ทำอย่างที่เขาพูด มันน่าอายไหม นี่เขาไม่รู้ตัวน่ะ

เพราะฉะนั้น เราเองเราจะมาพยายามให้ได้ทรัพย์อันสมบูรณ์ คืออะหะ ระหะนี่คือลึกลับ ไม่ลึกลับแล้ว รู้ รู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร รู้แล้วก็ทำได้ด้วย ไม่ใช่รู้เท่านั้น ทำได้ด้วย ที่สุดแห่งที่สุด อรหัตตา เขาก็ว่าอาตมา มาแปล อรหัตตา เขาก็ว่าไม่ใช่หรอก อรหัตตก็อรหัตต เท่านั้นแหละ ตาก็คือไอ้ตัว suffix อะไรล่ะ เอาตัวมาเติมหลัง เอาตัวมาต่อหลังปัจจัยใช่ไหม ตัวต่อหน้า เขาเรียก อุปสัค ตัวต่อหลังเขาเรียกปัจจัย เอามาต่อหลัง ขยายความอรหะ อรหัตตเท่านั้นเอง อาตมาไปแยก อรหัตตะ เป็นอรหะ อันหนึ่ง อัตตาอันหนึ่ง เขาก็ว่า มันทำภาษาเขาเสียหมด อาตมาว่าไม่เสีย มันแหงๆ คุณว่าไม่ใช่ ก็เรื่องของคุณ คุณก็เอาคำนั้นไปอธิบายกันซี ก็อาตมา จะเอาคำนี้ แยกวิเคราะห์ศัพท์อันนี้ มาใช้กับทางนี้เรานี่ แล้วเราก็ใช้มันได้ผลนี่ แม้เป็นอรหัตตา ตัวเรา อัตตาคือตัวเรา เรามีอรหะแล้ว เรามีสิ่งที่ไม่ลึกลับแล้ว เรามีสิ่งที่ดีแล้ว มีสิ่งที่สูงสุดแล้ว เป็นตัวเรา เป็นอรหะ อรหังแล้วก็ตาม มันยังมีอัตภาพ มันยังมีอัตตาอยู่ จนกว่า จะปรินิพพาน มันจึงจะหมด อัตภาพ หมดอัตตาทุกอย่าง ไม่มีเลย อัตตาใหญ่ อัตตาน้อย ไปอยู่กับสวรรค์ ไปอยู่กับวิมาน ไปอยู่กับ พระเจ้าที่ไหนก็ไม่มี ไม่มีปรมาตมันที่ไหนอีก หมดอัตตาจริงๆ ต่อเมื่อปรินิพพาน แต่ตราบใด ที่ยังไม่ได้ปรินิพพาน ยิ่งยังมาเกิดเป็นร่างเป็นกาย มีนิพพานแล้วละ เป็นสอุปาทิเสสนิพพาน เป็นนิพพาน แล้วกิเลสหมด สอุปาทิเสสนิพพาน นี่กิเลสเกลี้ยงแล้ว แต่ยัง เหลือขันธ์๕ ขันธ์๕ เป็นอัตตา ขันธ์ ๕ นี่มีอรหัง มีอรหัง มีความไม่ลึกลับ ก็เอาความรู้แจ้ง รู้รอบ ที่ไม่ลึกลับนี่มาเป็นทรัพย์ ทรัพย์อันยิ่งนะ อรหะนี่ ทรัพย์อันยิ่ง เอามาแจก ฮู้ว์ รับยากกันจัง น่ะ รับอรหะนี่ น่ะ รับยาก ... แจก พยายาม จะแจกยังไง ก็แจกให้ได้ ให้คนรับอรหะ นี่เป็นทรัพย์ มหาทรัพย์ เป็นทรัพย์อันยิ่งนี่ไป ให้ได้น่ะ ผู้ที่มีอรหัตตา จึงเป็นผู้สร้าง เป็นผู้ให้ มาสร้างคน ให้ได้อรหะ นี่

เพราะฉะนั้น ผู้ใดที่ยังไม่ถึงขั้นนี้ ก็ช่วยกันสร้าง ถ้าพวกคุณสร้างคนเก่ง สร้างคนโลกุตระนะ นี่สร้างเก่งแล้ว อาตมาก็จะลงไปทำสิ่งที่พวกคุณไม่ค่อยสร้าง ไปทำธรรมชาติ ไปทำดิน น้ำ ไฟ ลม คุณทำคนยังไม่เก่ง สร้างคนโลกุตระยังไม่เก่ง คุณก็ช่วยสร้างดิน สร้างน้ำ สร้างลม สร้างไฟ สร้างธรรมชาติ สร้างอะไรต่อะไร สิ่งแวดล้อม ที่สิ่งอาศัยกันไป สิ่งที่จะปรุงแต่ง ปรุงสร้างอะไร พอใช้อาศัยเป็นอาหาร เป็นข้าว ผ้า ยา บ้าน ปัจจัย ๔ ก็สร้างกันไปก่อน หรือมีสิ่งปรุงแต่ง เป็นเครื่อง อาศัย เป็นเครื่องใช้สอย อะไรพวกนี้ พอสมควร เราก็ทำ ถ้าเราเข้าใจหลักสำคัญ ของชีวิตแล้ว แล้วเราก็พยายามสร้าง สิ่งที่เป็นหลักของชีวิต แล้วเราก็กระจายลาภ ลาภธัมมิกา แบ่งแจกกัน แล้วก็พยายามที่จะศึกษา ให้มีศีลสามัญญตา ให้มีทิฏฐิสามัญญตา นี่เป็นเรื่องของรัฐศาสตร์ รัฐศาสตร์จะสอน ศีลสามัญญตา จะพยายามปรับศีลสามัญญตา พยายามปรับ ทิฏฐิสามัญญตา การศึกษาเป็นเรื่อง ทิฏฐิสามัญญตาอย่างยิ่ง การศึกษาในระดับ ภาคปฏิบัติ ก็มีศีลสามัญญตา อย่างยิ่ง เสร็จแล้ว ผลของทิฏฐิสามัญญตา กับศีลสามัญญตา ก็จะเกิดลาภ คนที่มีศีล คนที่เจริญ มีศีล มีศรัทธา มีศีล มีหิริโอตตัปปะ มีสุตะ มีจาคะ มีปัญญา ก็จะเกิดลาภธัมมิกา ก็จะเกิดกาย เมตตากายกรรม ก็จะเกิดวจี วจีกรรม เมตตาวจีกรรม ก็จะเกิด เมตตามโนกรรม เป็นแก่นแกนของ สาราณียะ คือ สาระนั่นแหละ แก่นสารของสังคม แก่นสารของมนุษยชาติ จะเกิด

อาตมาหยิบเอาสาราณียธรรม ๖ มา พยายามย้ำยืนยันกับพวกเรา อาตมาเห็นว่า นี่เป็นแก่นสาร ของหลักเกณฑ์ของสังคม หลักเกณฑ์ของมนุษยชาติเลย สาราณียธรรม ๖ ซึ่งมันดู มันนิดเดียว แต่ยิ่งใหญ่นะ ศีลสามัญญตาก็ยิ่งใหญ่ ทิฏฐิสามัญญตา ก็ยิ่งใหญ่ ลาภธัมมิกา ยิ่งๆใหญ่ มันเกิดมาจาก แกนเมตตาทั้งนั้น เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ที่เป็นเมตตาที่จริง เมื่อจิตเมตตาจริง มันก็เกิดลาภธัมมิกาได้ง่าย จะเกิดลาภธัมมิกาได้ ก็เกิดจากทิฏฐิ และศีล

เพราะฉะนั้น ทิฏฐิที่เป็นตัวต้น เป็นประธานของหลักประพฤติ หลักปฏิบัติ คือมรรคองค์ ๘ ต้องทำ ให้ทิฏฐิเป็นสัมมาทิฏฐิ ให้มันสอดคล้องกัน ทิฏฐิให้เป็นสามัญญตา ทิฏฐิให้เป็น ครรลองเดียวกัน มีความเห็นเป็นครรลองเดียวกัน มันจะมีความต่าง มันจะมีความแย้งอยู่บ้าง แต่ก็จะโดยค่ารวมแล้ว มันจะไปในทิศ ทางเดียวกันเป็นที่สุด มันจะมีขัดแย้งอยู่บ้าง แน่นอน จะมาเอาลงตัวกันเหมือน เดียวกันเป๊ะหมดไม่มีหรอก ความเห็นต้องขัดแย้งกันอยู่บ้าง แต่มันจะไม่ขัดแย้งกัน อย่างรุนแรงอะไร มันจะมาขัดแย้งกัน จะตีลังกากลับ คนละพวก คนละเหล่า เหล่าเดียวกัน มันก็จะมีการขัดแย้งน้อย เล็กๆ น้อยๆ ซ้อนๆๆ จนกระทั่ง ความขัดแย้งนั้น มันปรับตัวของมัน เป็นหนึ่งเดียวกัน ไปเป็นที่สุด พอลงท้ายแล้ว มันก็จะเป็นทิฏฐิเดียวกัน เป็นตัวเดียวกัน หรือเป็นความปกติ เป็นศีล ศีลนี่คือ ความปกติ เป็นความปกติที่เป็นอย่างนี้ อยู่อย่างนี้เป็นปกติเดียวกัน เหมือนกันหมด ตามหลักเกณฑ์ของศีล ที่มีทั้งหยาบ กลาง ละเอียด เยอะแยะศีล มีทั้งจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล แล้วก็มีศีลนานาสารพัด โอวาทปาฏิโมกข์ศีล ที่ท่านสอนเอาไว้ว่า เลิกอย่างนี้ จงทำอย่างนี้ เลิกอย่างนี้ จงทำอย่างนี้ ทั้งหมดนั่นแหละ มีบาปสมาจาร กับอภิสมาจารเท่านั้น แล้วเราก็จะปฏิบัติ ตามไปเรื่อยๆ ตราบใดที่เรายังมีชีวิต เราก็มีเรียนศีล ขึ้นไปเรื่อยๆ

แม้แต่อาตมาก็ยังทำศีลอยู่ ศีลโพธิสัตว์ ยิ่งมีลึกซึ้ง ละเอียดมากมาย แม้แต่อาตมา ก็ยังปฏิบัติศีล หลายศีล ที่ปฏิบัติได้แล้ว ปฏินิสสัคคะ สลัดกลับเสียด้วยซ้ำไป อย่างที่เราเป็นอยู่นี่ ที่เราก็ได้พิสูจน์กัน แล้วเราก็ได้เอามายืนยันกันอยู่ แล้วเราต้องมีความจริงที่ลึกซึ้งซับซ้อน ศีลเบื้องต้นง่ายๆ ว่าอย่างนั้นนะ ไม่ดูหนังดูละคร ไอ้นี่ชัดๆ พวกเรานี่ ไม่ดูหนังดูละครได้แล้ว ผู้ที่ไม่ดู หนังดูละครได้แล้วจริงๆ ไม่ได้เกิดรสไม่ได้ไปเสพ ไม่ได้ไปติดอะไรในหนัง ในละคร หรือดูหนังดูละคร ก็สามารถอยู่เหนือ ไม่ได้เป็นอบายมุข ไม่ได้เป็นมหรสพ สามารถอยู่เหนือหนัง เหนือละคร หนังละครนั้น กลายเป็นอุปกรณ์ กลายเป็นโสตทัศนะศึกษา กลายเป็นเครื่องมือ ในการที่พัฒนา พัฒนาตน พัฒนาผู้อื่นได้ หนังละครนั้น ปฏินิสสัคคะได้ เราอยู่เหนือมันจริงๆ ข้อสำคัญ อยู่ที่ความจริง จริงหรือเปล่า ถ้าเราไม่มีญาณ ไม่มีปัญญาเลย เราเคยแต่ดูหนัง ดูละคร ฉุดเราลงไปดูหนังดูละคร มันก็ฉุดเราลงไปจริงๆ ทำให้เราหลงไปตาม มันมอมเมาเราลงไป มันถูกครอบ เราก็ถูกมันครอบงำลงไป

เพราะฉะนั้น เราจะรู้จักสิ่งที่ควรละเว้น เราละเว้น เอ๊ะ ไอ้นั่นไม่เอา....เราไม่รับสัมผัสล่ะ เราอ่อนแอ เราสู้ไม่ได้ อันนี้เรารับสัมผัสแล้วเราได้รับการต่อสู้แข็งแรง และได้ประโยชน์อยู่เหนือ เป็นบทพิสูจน์ เป็นแบบฝึกหัด ที่เราได้พิสูจน์ตัวเราเองด้วย อย่างนี้เป็นลักษณะ ปฏินิสสัคคะน่ะ ปฏินิสสัคคะ อีกอย่างหนึ่ง เราไม่ใช้เงิน เราไม่ใช้ทอง ผู้ที่ไม่ใช้เงิน ไม่ใช้ทองได้แล้วจริงๆ โดยจิตจริงๆเลย นี่กลับไปใช้เงินใช้ทอง ไม่เหมือนกันอีกแล้ว ไม่ได้ใช้เพื่อตนเองเลยนะ ไม่ได้ใช้เพื่อเสพตนเองแท้เลย แต่ใช้เพื่อประโยชน์สร้างสรร ประโยชน์อื่นจริงๆประโยชน์ท่าน ไม่ใช่ประโยชน์ตนเลย แต่นั่นแหละ ถึงอย่างไรก็ตาม ศีลหรือหลัก หรือกฎหรือวินัย มันก็ควรจะเป็นหลักเป็นกฎ เป็นศีล เป็นวินัย ที่เราจะต้อง มีสัดส่วนที่ชัดเจน

อย่างทุกวันนี้ เราดูหนัง ดูละครกัน เราก็ดูโดยใช้มันเป็นโสตทัศนะศึกษา ซึ่งอย่าละเมิดไปดูส่วนตัว ไปแอบไปแฝง ไปอะไรต่ออะไร จงรู้ตนเองนั่นแหละ จะซวยหรือไม่ซวยก็ตนเอง ถ้าเราไม่ซื่อสัตย์ ต่อตนเอง รู้ทั้งรู้ว่าเราไปเสพ รู้ทั้งรู้ว่าเราเองถูกครอบงำ ถูกมอมเมา แล้วเราก็ไปเอาสิ่งมอมเมานั้น มาทำให้เราเองตกต่ำพวกนั้น ก็ช่วยไม่ได้ ไม่รักดี ไม่พยายามพัฒนาตนเอง หรือพวกเราไม่ช่วยกัน เห็นแล้วว่า เออ ช่วยคนนี้ไม่ไหวหรอก มาจมอยู่กับไอ้เรื่องหนัง เรื่องละคร แล้วก็ตกต่ำ ก็บอกอย่าไปดูเลย อย่าไปรับเลย พรากไม้ที่ชุ่มด้วยยางออก พรากไม้ชุ่มด้วยยางออกเสียก่อน อย่าไปรับ รับแล้วคุณก็อ่อนแอ เราก็ช่วยกัน มีปรารถนาดีต่อกัน อย่างจริงๆจังๆ ก็บอกกัน อย่างนี้ เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยกตัวอย่างได้ เพราะว่าเราได้ทำมา เราก็เข้าใจ พวกคุณก็จะรู้ รู้เหตุรู้ผล รู้ความจริงพวกนี้ อย่างนี้เป็นต้น

เราได้สร้างชีวิต ปรับชีวิตมาเป็นมนุษย์โลกใหม่ โดยการสะสม ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ เรายิ่งมีทรัพย์ ที่เป็นอริยะ ทรัพย์ทั้ง ๗ นี่แหละ เป็นอริยะ มีทรัพย์ที่เป็นอริยะมาก ยุทธศาสตร์ที่อาตมาใช้ ยุทธศาสตร์อันหนึ่ง ยุทธศาสตร์กลปรานี คนใหม่ๆนี่ไม่ค่อยได้ยิน อาตมาเก่าๆ เคยพูดเคยย้ำ กลปรานี กล ก็คือบทบาท กลไกหรือว่าความเคลื่อนไหว ระบบกลนี่แหละ คุณก็ฟังเอาก็แล้วกัน ระบบกลที่มันเดินบทบาท เดินแรงงาน บทบาทกลไกของคอมพิวเตอร์ ก็คือคอมพิวเตอร์ บทบาท กลไกของเครื่องกล เครื่องยนต์อะไร มันก็เครื่องกล เครื่องยนต์อันนั้น บทบาทกลไกของสรีระก็คือ บทบาทกลไกของสรีระ บทบาทของทั้งความคิด ความสร้างสรร ก็บทบาทของอันนั้นๆ กล คำว่ากลนี่คือกล คือบทบาทการเดินเครื่องของมันอยู่ เดินบทบาทอยู่ การเดินบทบาทอย่างปรานี ปรานีอันนี้ น.หนู นะไม่ใช่ ณ เณร ปรานี ปรานี น.หนู แปลว่าเอ็นดู เมตตา ถ้าปราณี ณ เณร นั่นมันแปลว่า ชีวิต ณ เณรนี่แปลว่าชีวิต เยื่อใยของชีวิต หรือแปลว่า สัตว์ ปราณี ณ เณร ปรานี น.หนู แปลว่าความ เมตตา ความเอ็นดู ความเกื้อกูล ความช่วยเหลือ กลไก กลปรานีนี้ เป็นกลไก ที่อาตมาขยายความว่า มันมาจากสภาพของสัจจะ สัจธรรม สัลเลขธรรม นิยานิกธรรม สันติธรรม คือจะต้องมีความขัดเกลา มีสัจจะความจริงที่เป็นไปได้ แล้วก็จะต้องเอาจริง สัจจะ สัจธรรมนี่ อาตมาขยายความว่า จะต้องมีความเอาจริง มีความเป็นไปได้จริง

มันต้องมีการขัดเกลา มีการปรับปรุง ขัดเกลาอยู่ตลอดเวลา และถึง ความพ้นทุกข์ได้ นิยานิกธรรม นิยานิกธรรม คือพ้นทุกข์จริงๆ พ้นทุกข์อย่าง อริยสัจด้วย เพราะฉะนั้น การกระทำโดยบทบาทของ ชีวิต มีกล แรงกลของชีวิต ของอาตมา มาทำกับพวกคุณก็ให้เกิดบทบาทนั้นอยู่ในสังคมพวกเรา เกิดกล แรงกล อันนั้น แล้วก็จะเกิด สภาพที่จะต้องเกื้อกูลปรานีแก่กันและกัน ปรานีแก่กันและกัน โดยการขัดเกลาอย่างปรานี ขัดเกลาอย่างมีเมตตาจิตจริงๆ ไม่ใช่ว่าขัดเกลาเขา ที่จริงน่ะ ประชดขัดเกลาแล้ว อย่างแกล้งให้มันสะใจ ขัดเกลาแล้วอ้างนะอ้างนี่ ขัดเกลาเขา ช่วยเขานะนี่ ไม่ใช่อย่างนั้น แล้วก็จะมีผลแห่งนิยานิกธรรม มีผลพ้น ทุกข์อย่างแท้จริง พ้นทุกข์ตามระบบของ พระพุทธเจ้าเลย เป็นโลกุตรธรรม พ้นทุกข์อย่างไม่ใช่พ้นทุกข์เพราะเสพสุข อย่างโลกียะไม่ใช่ พ้นทุกข์เพราะละเหตุออก พ้นทุกข์เพราะปลดปล่อยเหตุ ดับเหตุจริงๆ นิยานิกธรรม แล้วพิสูจน์ สันติธรรม พิสูจน์ความราบรื่น ง่าย งาม เรียบร้อย สมบูรณ์ อุดมสมบูรณ์ เย็น สบาย สันติ นี่สงบ แต่ไม่ใช่เงียบ นิ่งตาย แข็งเด๋ ไม่ใช่นะ มีกล มีความเคลื่อนไหว มีบทบาทลีลาอยู่ นี่เรียกว่า กลปรานี มียุทธศาสตร์กลปรานี แล้ว ยุทธศาสตร์กลปรานีนี้ ยิ่งจะเกิดจริง

ทุกวันนี้ กลปรานีของเรามีสภาพยอกย้อน มีขัดเกลา มีสภาพ... สภาพหมุนรอบเชิงซ้อน มีปฏินิสสัคคะ มีการทวนย้อน ทวนกลับ มีอะไรต่ออะไร ซับซ้อนขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งยาก ยาก หลอกก็ได้ แต่จริงนั่นมีแน่นอนน่ะ เป็นยุทธศาสตร์ กลปรานีนี้ ยิ่งจะจริงขึ้นทุกทีๆ แล้วมีฤทธิ์ มีฤทธิ์ขึ้นทุกทีๆ มีฤทธิ์แรงขึ้นเรื่อยๆๆๆ

เพราะฉะนั้น ยิ่งมีทรัพย์ หรือว่ามีอริยทรัพย์ มีอริยะมากนี่ ยุทธศาสตร์กลปรานีก็ยิ่งจะจริง แล้วยิ่ง จะมีฤทธิ์ มีแรงมากขึ้น แล้วมีสิ่งอีกสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏก็คือ อหิงสา อหิงสาจะเกิดในกลุ่ม ในหมู่ในชน พวกนั้น อหิงสาบทบาท ของอหิงสานี้ไม่ใช่ว่า อหิงสาคือการอดข้าวประท้วง ไม่ใช่แค่นั้น พวกเรา ไม่ต้องไปอดข้าวประท้วงให้ใคร แต่ก็มีอหิงสาธรรม ไม่ใช่อดข้าวประท้วง หรือว่าดื้อแพ่ง ธรรมดาอหิงสาน่าหมั่นไส้นะ พวกดื้อแพ่งอย่างนี้ อหิงสาว่าอย่างนั้นนะ ใช้บทอหิงสา ไม่ใช่ว่า อดข้าวประท้วง ดื้อแพ่งไปธรรมดา หรือว่าชุมนุมเดินขบวนแบบสันติอะไรนี่ คืออหิงสาเรา ไอ้ชุมนุมเดินขบวน แบบสันตินี่ดูเหมือนมันไม่มีนะ แต่มันก็มีเดินขบวน แบบสันตินี่ เดี๋ยววันที่ ๑๐ เท่าไหร่ จะไปสมุทรปราการ วันที่ ๓ พฤษภาก็จะไป ว่าจะไปเดินล่ะนะ ก็เดินมาแล้ว ที่บุรีรัมย์ ก็เดินมา ที่โคราชก็ไปเดินมาแล้ว ไม่ใช่เดินประท้วงนะ แต่โดยธรรมมันก็เหมือนเดินประท้วงนะ สงบ นะ สงบ เดินสงบ เป็นลีลาอันหนึ่ง อหิงสา เราแสดงอหิงสาธรรมน่ะ อย่างนี้แหละ มันเกิดขึ้นมา โดยที่มันไม่เหมือนเขา เขาเอาไปใช้จนกระทั่งเราเห็น เรารับได้ แต่เสร็จแล้วมันไม่เกิดเป็นไปโดยธรรม ที่เกิดไปโดยที่เรียกว่า เราไม่ได้เจตนา นะ เอ้า ใช่ ไอ้ที่เจตนาน่ะ ส่วนมากไม่ค่อยใช่ ส่วนมากไม่ค่อยใช่น่ะ นี่พวกนี้ อาตมาหยิบมาพูดให้พวกเราฟัง เราอดข้าวประท้วงอยู่ทุกวัน ก็เขา กินกัน ๓ มื้อ ๘ มื้อ เรากินกันมื้อเดียว นี่ทุกวันนี้ มารวมหัวกันอดข้าวประท้วงอย่างนี้ มากินมื้อ เดียวนี่เห็นไหม อดข้าวประท้วง นี่ประท้วงสังคมนะนี่ สุรุ่ยสุร่ายอะไรกันนักหนา ประท้วงกินนี่ แต่เปล่า เรามุ่งประโยชน์ตน แต่มันกระทบเป็นประโยชน์ท่านมหาศาล จริงๆแล้วนี่ก็ไอ้ข้าว ไอ้น้ำ ที่เรามากินกันมื้อเดียว ๗ วัน มันลดไปตั้งเท่าไหร่ ประหยัดให้สังคมเท่าไหร่ใช่ไหม อย่าว่าแต่ ประหยัดให้สังคมเลย หลายคนก็ประหยัดในกระเป๋า ไม่ต้องโน่นนี่ เขาทำเลี้ยงฟรีใช่ไหม ๗ วันนี่ เราไม่ต้องซื้ออาหารกินเลย กลับบ้าน ไม่ต้องจ่ายค่าอาหารตั้ง ๗ วันน่ะ ถ้าไม่อย่าง นั้นวันหนึ่ง กี่บาทนี่ ๗ วันนี่ ก็ตั้งเท่าไหร่น่ะ แต่เอาละพูดไป ประเดี๋ยวจะหาว่ารื้อฟื้น ทวงบุญทวงคุณ (ผู้ฟังหัวเราะ) ก็ไม่คิดทวงบุญทวงคุณอะไร ขยายความ ให้ฟังล่ะนะ มันก็เหมือนอดข้าวประท้วง ก็ไม่ใช่อดข้าวประท้วง ไม่ได้เจตนาหรอก แต่ใช่ ลึกซึ้งนะ อย่างนี้เป็นต้น นี่เป็นอหิงสา มีวิญญาณ ของกำลัง ๔ มีวิญญาณนี่ก็คือจิตวิญญาณของกำลังทางปัญญา เรามาทำด้วยปัญญานะ ใครมาทำ นี่ด้วยโง่นี่นะ กลับบ้านเร็ว โอ้นี่มาถูกโพธิรักษ์หลอกนะ โอ๊ มานั่งอดข้าว มาน้ำก็ไม่ค่อยได้อาบ อาบน้ำนม ผสมหางกาแฟ โอ้ แล้วก็ห้ามอาบ แม้อย่างนี่ก็ห้ามอาบเกิน ๒ ครั้ง วันหนึ่งให้ครั้งเดียว เป็นอย่างมาก อู๊ว์ นอนก็ไม่รู้นอนยังไง ไม่รู้ว่างูจะมานอนด้วยหรือเปล่าน่ะ อะไรก็แล้วแต่เถอะ ก็ มาหัดอดๆ ทนๆ อยู่อะไรนี่ คุณมาทำเพื่ออะไร ต้องมีปัญญา ไม่มีปัญญาคุณกลับ กลับ เดี๋ยวนี้เลยน่ะ ยังไม่มีรถ รอรถก่อนก็ได้ ออกไปยังไม่มีรถให้กลับ

มีกำลังปัญญา มีกำลังความเพียร แน่นอน คุณมาอยู่ที่นี่ คุณต้องใช้กำลัง ความเพียรแน่นอน การงานในนี้ ไม่ใช่ไม่มีการงานนะ แต่เราไม่ได้บังคับกันเท่านั้นแหละ เราเอาสมัครใจ ใครจะช่วย การงานอะไร ก็ช่วยกันไป ต่างคนต่างบริการกันนะน่ะ ต่างคนต่างรับผิดชอบหน้าที่การงานอะไร มันมีอยู่ในนี้ สังคมยิ่งมา แออัดยัดเยียดกันอยู่อย่างนี้ ต้องมีคนทำงานนะ แออัดยัดเยียดกันนี่ ถ้าไม่มีใครทำงานเลย ต่างคนต่างปล่อยเละๆๆๆ ยิ่งมีนิสัยแบบโลกียะ รับรองเน่าอยู่ตรงนี้ เชื้อโรค ไม่ใช่อะไร โรคห่าเกิดอยู่ตรงนี้ เอ้า จริงๆนะ ใช่ไหม แต่ เรามีระบบระเบียบ เรามีอะไรต่ออะไร มันก็ไม่เกิด ทุกคนรักษาช่วยดูแล ช่วยอะไรต่ออะไร ไม่อย่างนั้นก็กินก็ทิ้งก็ขว้าง ก็ขี้ก็เยี่ยวกันอยู่ในนี้ อิเหละ เขะขระกันอย่างนี้ล่ะ น้ำท่าใช้ไม่เป็นระบบเลย โละๆเละๆ ตามใจใครใจมัน รับรองเป็นโรค ติดต่อกันอยู่ตรงนี้ แต่นี่ไม่ เพราะเรามีสาธารณสุขแน่นอน เรามีความรู้ มีระบบ มีระเบียบ มีอะไรดี มันก็ไม่เกิด ไม่เกิดแล้วมีการงาน ขอย้ำว่า มีกำลังแห่งการงาน มีกำลังปัญญา กำลังความเพียร กำลังแห่งการงานอันไม่มีโทษ เป็นกำลังการงานอันสงเคราะห์กันด้วย แม้แต่เดี๋ยวนี้ เราก็สงเคราะห์กันในนี้ ใครไม่สงเคราะห์ ได้แต่เอาเปรียบนั่น สะดุ้งไหม สะดุ้งนิดหนึ่ง ใครสะดุ้งมากบ้าง สะดุ้งไหม นี่มันสอนในตัว มันฝึกในตัว มันหัดในตัว มันกระทำในตัว เราจะสำนึก ขนาดไหน เราจะมีปัญญาขนาดไหน

มันจะเกิดกำลัง ๔ แท้ๆเกิด แล้วยิ่งกำลัง ๔ นี่ มันก็จะเกิดละภัย ๕ อย่างแท้จริง อาตมายังไม่ ขยายความหรอก กำลัง๔ ละภัย ๕ มันจะเกิดอย่างแท้จริง แล้วมันจะเกิดสภาพของ อยากจะพูดถึง ตัวสังเคราะห์กำลังตัวที่ ๔ กำลังตัวที่ ๔ ที่มันจะเกิดการสังเคราะห์นี่ มันก็จะสังเคราะห์ มีอะไรบ้างล่ะ สังเคราะห์... มี ทาน มีเปยยวัชชะ มีอัตถจริยา สมานัตตตา เสมอสมาน คำว่า เสมอสมานคำนี้นี่ ยากมากเลย อาตมาพยายามอธิบาย พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้ สั้นเหลือเกิน บอกว่า เสมอสมานคืออะไร เสมอสมานคือ โสดาเสมอด้วยโสดา สกิทาเสมอด้วยสกิทา อนาคาเสมอด้วยอนาคา อรหันต์เสมอด้วยอรหันต์ ต่อให้ดอกเตอร์มาอ่าน ก็รับรองว่า ขยายให้อาตมาฟังไม่ได้ เอ้าจริงๆ จบดอกเตอร์มาสัก ๒,๓ ดอกก็ได้ มาขยาย ให้อาตมาฟัง ก็ขยายไม่ได้ ไม่ใช่ง่าย

อาตมาพยายามขยายความให้พวกคุณฟัง อาตมายังรู้สึกว่ายาก การเสมอสมานนี่คือ จะต้อง สร้างภูมิ ไม่ใช่ว่าการจะเรียนรู้แต่ภาษา สร้างภูมิโสดา เมื่อเราเป็นโสดาได้ เราก็มาพยายาม ให้เป็นโสดาให้จริง ใครเป็นโสดาอยู่ก่อน เราก็ไปเสมอสมาน ไม่ใช่ไปเสมอกับเขา แล้วเราก็ทะเลาะ กับเขานั่นเอง แต่ก่อนนี้เราก็มาเป็นลูกศิษย์ อ้อ นี่เขาเป็นโสดา ขอเรียนรู้ด้วยเป็นลูกศิษย์ พอได้ ความเป็นโสดาขึ้นมาเท่าเทียมเขาก็บอก...ข้าก็หนึ่งเหมือนกัน กระทบไหล่โสดา ไม่สมานเลยอีงวดนี้ เสมอแล้ว ไม่สมาน เออ ชักใช้ภาษาไทยๆอย่างนี้อธิบาย เข้าใจกันได้ขึ้นนะ ไม่ใช่ เสมอแล้วสมาน เราต้องรู้จักบุญ รู้จักคุณ กตัญญูกตเวที รู้แล้วเราก็ยิ่งขึ้นไปอีก เราเป็นโสดาต้องให้เสมอสกิทา เราเป็นสกิทา ต้องให้เสมออนาคา เราเป็นอนาคาต้องให้เสมออรหันต์ เสมอแล้วต้องสมานทุกทีไป อ่อนน้อม ถ่อมตน เข้ากันให้ได้ทุกทีไป นี่คือความว่าเสมอสมาน เขาไม่ใช้คำว่า เสมอสมานหรอก เขาแปลว่าอะไรนะ สมานัตตตา มีตนอันเสมอ ฟังแล้วมันไม่รู้เรื่องหรอก มีตนอันเสมอเป็นยังไง หือ... แปลตามพยัญชนะ แปลตามตัวอักษร มีตนอันเสมอ อะไรของมันก็ไม่รู้เรื่อง แต่อาตมา อธิบายไปแล้ว เมื่อกี้เข้าใจนะ ทำตนให้เสมอสมาน แล้วท่านอธิบายไว้ในพระบาลี ในพระสูตร ในพระไตรปิฎก มีอยู่แค่นี้ เสมอสมาน คือโสดา เสมอด้วยโสดา สกิทาเสมอด้วยสกิทา อนาคาเสมอ ด้วยอนาคา อรหันต์เสมอด้วยอรหันต์ จบ แล้วเป็นยังไง จบแล้วเป็นยังไงมืด จริงๆ อาตมาไม่ได้ดูถูก หรอกนะ ถ้าไม่มีสภาวะ ไม่มีความจริง อาตมาไม่ได้ไปอ่านมาจากไหน ไม่ได้ไปเรียนรู้มาจากไหนนะ นี่ของๆอาตมา ของเก่าของอาตมา อาตมาก็พยายามจะเอาของเก่า มาอธิบายเป็นภาษาไทย ก็พยายามอยู่นี่ วันนี้ อธิบายขึ้นไป พวกคุณเข้าใจมากขึ้นแล้ว อาตมาว่าเข้าใจมากขึ้นแล้ว เพราะอาตมา รู้สึกว่าใช้ภาษาอธิบายเมื่อกี้นี้ เออ รู้สึกว่าเข้าทีนะ โสดาเสมอด้วย...เสมอสมาน นี่ อาตมาพยายามแปลคำว่า สมานัตตตา นี่ว่าเสมอสมานมาแต่ไหนๆแล้ว แต่มันก็ ยังไม่ค่อยออกว่า เอ๊ะ จะอธิบายให้พวกเราว่า เสมอสมานนี่ยังไง เออ วันนี้ อธิบาย ชักเข้าท่าขึ้นแล้ว ขยายความ ออกไป อีกนิดหนึ่งเท่านั้นแหละ ใช่ไหม คุณจะต้องพยายามให้มีคุณธรรมสร้างตน  สร้างตน เสมอสมาน ตนที่มีอัตถจริยา อัตถจริยามีอะไร เอ้า สรณีโย บอกทันที ที่จริงอาตมารู้แล้ว ว่ามีอะไร จะถูกไหม เช็ค ทาน ศีล จาคะ ปัญญา สอบได้ อัตถจริยานี้ก็คือ ขยายความต่อ มีในพระไตรปิฎก ในพระสูตร พระพุทธเจ้าอธิบายมาทั้งนั้น ไม่ได้พูดเองทั้งนั้นน่ะ

อัตถจริยาคือ ทาน ศีล จาคะ ปัญญา ก็คือทรัพย์แท้ของมนุษย์นั่นเอง อัตถะคือแก่นสาร จริยาคือ ความประพฤติ เพราะฉะนั้น ผู้ใดมีพฤติกรรม มีความประพฤติของแก่นสารนี้ คือมีความประพฤติ ของทาน ของศีล ของจาคะ ของปัญญา ผู้นั้นแหละ ยิ่งมีทานอันสมบูรณ์เท่าใด ก็เป็นโสดา ยิ่งมีทานอันสมบูรณ์ ยิ่งเป็นสกิทา มีทาน อันยิ่งกว่า สมบูรณ์ขึ้นไปอีก ก็เป็นอนาคา ก็เป็นอรหันต์ ตามลำดับ... ขออภัยมี ศรัทธา มีศรัทธา มันมีศรัทธา มีศีล มีศรัทธาเท่าใดก็เป็นโสดา มีศรัทธา ยิ่งขึ้นไปก็เป็นสกิทา มีศรัทธายิ่งๆขึ้นไปอีก ก็เป็นอนาคา เป็นอรหันต์ ยิ่งขึ้นไปตามลำดับ จริงๆ มีศรัทธาที่เป็นศรัทธินทรีย์ ศรัทธาพละ หรือเชื่อ เชื่ออย่างเชื่อมั่น เชื่ออย่างมีสิ่งรองรับว่าเป็น มนุษย์อย่างนี้ เป็นมนุษย์ที่มีศีล เป็นมนุษย์ที่มีจาคะ เป็นมนุษย์ที่มีปัญญา อย่างที่ พระพุทธเจ้า ท่านสอนให้มีปัญญานี่แหละ ปัญญาอย่างโลกุตระนี่ แล้วยังมีขยายปัญญา อะไรอีก เยอะแยะเลย นี่ไว้พรุ่งนี้เปิดตำรา อธิบายไปทีละแผ่นๆ ทีละแผ่น เลยน่ะ วันนี้ทบทวนกัน ไอ้นี่เสียก่อนน่ะ

เราจะมีอย่างนั้น มีอัตถจริยาอันนั้น อย่างนั้นจริงๆ อัตถจริยาก็คือ ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ก็คือ ทรัพย์แท้ของมนุษย์นั่นเอง เป็นเนื้อเป็นตัว เป็นแก่นสาร อัตถะคือแก่นสาร แก่นสารของมนุษย์ แล้วก็เป็นพฤติกรรมอยู่ เป็นจริยา เป็นความประพฤติ แล้วเราก็ประพฤติตามแก่นสารน่ะ เป็นคน มีศรัทธาอย่างไร ศรัทธาอย่างพระพุทธ ศรัทธาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ศรัทธาอย่างที่เรา ศรัทธาโลกุตระนี่  ศรัทธาทางแห่งโลกุตระนี่แหละ แล้วก็มีพฤติกรรมอย่างชาวโลกุตระนี่แหละ บทบาทความประพฤติ ไปที่ไหนก็มีปกติโดยศีล มีความประพฤติปกติอย่างหยาบ ก็ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่มีราคะโน่นแน่ะ ถ้าจะเอาอย่างอรหันต์เลย อรหังเลย อย่าว่าแต่อนาคามีเลย อนาคามี หมดกามราคะ อรหังน่ะ หมดจนเกลี้ยง ไม่มีล่ะกามราคะน่ะ ไม่เบียดเบียน ไม่ไปเที่ยวได้ทำโทสะ เบียดเบียน สายของโทสะไม่มี มีแต่เอ็นดูเมตตาเกื้อกูล ไม่โลภ ไม่เห็นแก่ตัวใน ศีลข้อ ๒ น่ะ อทินนาทาน ศีลข้อ ๓ ไม่มีราคะ

ศีลข้อ ๔ วาจาก็เป็นวาจาที่เป็นเปยยะวัชชะ เป็นวาจาที่...ไอ้พูดให้ไพเราะ ให้คนฟังไพเราะชอบใจ นั่นง่าย ด่าคนให้เขาฟังได้นี่ยาก... ให้เขา กลืนคำด่า คำดุได้นี่ยากน่ะ เปยยะวัชชะ อาตมาแปล อย่างนั้นน่ะ เปรียญท่านทั้งหลายฟังหูหักกัน แล้วก็หาว่า อาตมาแปลเอาเอง ทำธรรมวินัยวิปริต ก็เอาเถอะ อาตมาก็ไม่ว่า

เพราะฉะนั้น เราจะตำหนิติเตียนใคร ให้เขารับคำติเตียนนั้นได้ ดื่มคำติเตียนนั้นได้ นี่ยาก เขาชื่นชม ในคำติเตียน พวกเรานี่นะ อาตมาว่าหลายคนนะ อาตมาติเตียนแล้วก็เออ ท่านยังติเตียนเราอยู่นี่ เออ พอใจน่ะ แต่ไอ้เรื่องชมแล้วพอใจนั่น ไม่ต้องไปพูดหรอก ที่ไหนมันก็ทำได้ ใครมันก็ทำได้ ติเตียนเขา ให้ได้ระดับให้ได้สัดส่วน ให้ได้จริง ให้จนกระทั่งเขามีศรัทธา มีความ เข้าใจ มีความเลื่อมใส จริงๆ แล้วก็เกิดปัญญาในการตินั้น ได้เกิดความได้เกิดการแก้ไข ได้เกิดสำนึก เกิดอะไรดีขึ้นมา เจริญ เจริญกันได้ เปยยวัชชะ เป็นอย่างนั้น อันเป็นที่รักของคนที่มีภูมิปัญญา ไม่ใช่ไปรัก แต่คำชม แต่รักคำติได้ด้วย

นี่ปิยวาจา ปิยะแปลว่าอันเป็นที่รัก วาจาอันเป็นที่รัก คำชมอันเป็น ที่รักนั้น มันไม่ยากหรอกในโลก แล้วก็กระทำกันจนเฟ้อ จนเกิน จนไม่เข้าท่า แต่คำติอันเป็นที่รักนี่ จะทำยังไงให้เขายอมรับคำติ แล้วคำตินั้น ก็เป็นคุณค่าด้วย เป็นประโยชน์ ติถูกตัว ถูกบุคคล บุคคลนี้ติอย่างนี้ บุคคลนี้ติอย่างนี้ ได้ ได้ความ ได้ประโยชน์ ได้คุณค่าดี นั่นเป็นปิยวาจา เป็นเปยยวัชชะ มีอัตถจริยา มีเปยยวัชชะ มีทาน เป็นหลักอีกแหละ ให้มีแต่ให้ๆๆ แต่ให้อยู่นี่เป็นแก่นสาร สาระมีสมานัตตตา มีสังคหวัตถุ สังคหวัตถุ มีอย่างนี้น่ะ เพราะฉะนั้น ยิ่งซอยละเอียด ยิ่งซอยลึกเข้า ยิ่งซอยลึก ซอยละเอียดเข้าไป ก็ยิ่งจะเห็นชัดเจน ในเรื่องของทรัพย์ ว่าพูดไปยังไงอีกๆ ยังไงอีก มันก็วนเข้ามาหาทรัพย์ ทำไมท่าน เรียกสัมปรายิกกัตถประโยชน์ สัมปรายิกกัตถประโยชน์มีอะไร สัมปรายิกัตถประโยชน์ ก็คือศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ก็สี่อันนี้แหละ สัมปรายิกภูมิ สัมปรายิกภูมิ คืออะไร คือโลกหน้า ความหมายของ โลกหน้าคือตาย ตายจากนี่ แล้วก็ไปเกิดข้างหน้า แล้วจะไปประโยชน์ข้างหน้า คุณเชื่อได้ยังไง ว่าคุณจะไป พอตายแล้วถึงจะศรัทธา ตายแล้วถึงจะมีศีล ตายแล้วถึงจะไปทาน ไปจาคะ ตายแล้วถึงจะได้ปัญญา โอ๊ย อย่าไปเอาเลย ถ้า แปลสัมปรายิกภูมิ โลกหน้าอย่างนั้น แล้วก็ตายแล้ว ถึงจะค่อยไปได้เข้าถึง มี ศรัทธาสัมปทา ศีลสัมปทา จาคะสัมปทา ปัญญาสัมปทา ตายแล้ว หมดลมหายใจแล้ว ค่อยจะค่อยเข้าถึง ไอ้สิ่งนี้ เข้าถึงศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา นี้อธิบายอย่างโลก แบบโลก ตายจากร่างกาย ซึ่งอธิบายกันมามาก เราก็เคยฟังมามาก มันไม่ทันสมัยหรอก มันไม่เกิดเป็นปัญญาอะไรมาก เอาเดี๋ยวนี้

โลกหน้าก็คือ แต่ก่อนนี้เราโง่ ความคิดนึกของเรามันโง่ มันก็เข้าใจอย่างนั้น เดี๋ยวนี้ อ้อ โลกใหม่ ความคิดใหม่ ทิฐิใหม่ ปัญญาใหม่ เข้าใจแล้ว เริ่มต้นเข้าถึงสัมปทา ปัญญาสัมปทา เสร็จแล้วก็เกิด ศรัทธาสัมปทา เกิดเชื่อ อ๋อ โลกเป็นอย่างนี้เอง โลกก็อยู่ในร่างนี้นี่แหละ โลกใหม่ก็คือ เข้าใจอย่างที่ อาตมาอธิบายว่า พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ ทำอย่างนี้ คุณก็เข้าใจ แล้วก็มามีศีลอย่างนี้ มามีศีล อย่างที่พระพุทธเจ้า ท่านพาให้มาเอาศีลมาปฏิบัติ มีศีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขา จนเกิดใหม่ เกิดอะไร เกิดจาคะ เข้าถึงจาคะได้ สุดท้ายเน้นเข้ามา ที่บริจาค ทาน สละได้จริงๆเลย ศรัทธาไป ก็เชื่อมั่นว่า ทรัพย์อันเอกยิ่งที่สุดคือทาน คือจาคะ คือเกิดมาเพื่อให้ เกิดมาเพื่อบริจาค เกิดมาเพื่อ สร้างสรร ตอนนี้ขอร่างกายไว้ก่อน ตายแล้วค่อยเอาไปนะ จะเอาเนื้อ ก็เอาเนื้อไป จะเอาหนัง ก็เอาหนังไป จะเอากระดูก เอ้า ฟันก็ค่อยเอาไป ตอนตายแล้ว ตอนนี้ขอเอาไว้ เคี้ยวข้าวก่อนนะฟัน ขอยืมไว้ก่อน บริจาคได้แม้ร่างกาย ตายแล้วก็บริจาค ตอนนี้ ยังไม่บริจาคหรอก ร่างกายขอเอาไว้ทำงาน ขอให้อาศัยเป็นการงาน เป็นกำลัง แห่งการงานอันไม่เป็นโทษ เป็นกำลังแห่งความเพียร เป็นกำลังปัญญา อาศัยร่างกายนี้ เป็นกำลังปัญญา เป็นกำลังสังเคราะห์ ที่จะมีกำลังนี่ล่ะ เป็นพละกำลัง เห็นเป็นพละกำลังอยู่ในโลกนี่ มีปัญญาเท่าไหร่ ก็ใช้ปัญญา กำลังแห่งปัญญาอยู่

อาตมาพยายามสอน พยายามทำงาน ขณะนี้กำลังทำงานนี่ ก็ไปทำงาน ไม่มีโทษ แล้วกำลัง ใช้กำลังปัญญา แล้วกำลังใช้ความเพียรนะ กำลังสังเคราะห์ กำลังให้พวกคุณอยู่ กำลังทาน กำลังจาคะอยู่น่ะ ใครรับได้ก็รับ จะได้มากได้น้อยอะไรก็รับ อาตมาก็ชื่นชมนะ ยังชื่นชมอยู่ว่า เออ เราก็พยายามที่จะทำสิ่งที่ยาก ให้คนรับได้ ก็มารับน่ะ ก็มารับกันอยู่นี่ ทั้งๆที่พวกคุณมารับนี่นะ คุณมารับเพื่อที่จะไม่เหลือ มารับเพื่อที่จะไม่ได้รับ มารับเพื่อที่จะให้ คุณมารับเพื่อที่จะมาเป็นผู้ให้ มันซ้อนๆๆๆอีกนะ ที่คุณกำลังมารับเอานี่ รับเอาอะไร รับเอาสิ่งที่จะไม่รับ รับเอาสิ่งที่จะเอาไปให้ กำลังมาๆๆ มารับสิ่งที่จะเอาไปสร้าง แล้วก็ไปให้ เรากำลังจะมารับ เอาสิ่งที่เราจะไม่ได้ ยิ่งพูดยิ่งวน มารับเอาสูญ มารับเอาเพื่อที่เราจะไปสูญ มารับเอาสิ่งที่ เราจะเอาไปไม่มี ที่คุณมารับนี่ คุณมารับเอาความไม่มีนะ ฟังแล้ว มันยิ่งเมา เมา ใช้ภาษาจนเมา แต่ในความรู้ลึกๆ ที่เรียกว่า ปัญญาของเรานี่ เราฟังแล้ว เราเข้าใจ จะพูดวน พูดซ้ำ พูดซ้อน พูดให้มันวุ่นยังไง มันก็ไม่วุ่น ถ้าคุณมั่น คุณแม่น คุณมั่นดีแล้ว จับมั่นดีแล้ว แม่นดีแล้วนะ พูดออกไป พูดจะวนยังไง ถ้าคนพูดไม่สับสนจริงนี่นะ แม้แต่อาตมาพูดสับนิดหน่อย พวกคุณก็จับได้ ออก แล้ว เอาหัวไปเป็นหางแล้ว สับแล้ว คุณก็จับได้ด้วย มันมั่น และมันแม่น มันก็จะอย่างนั้น

เพราะฉะนั้น จะพูดให้วนยังไงเลยนะ โดยบัญญัติภาษา หมดปัญหา เมื่อคุณมีแก่นสาร มีสาระ มีอัตถะ มีปรมัตถะ มีปรมัตถ์นั่นเอง มีปรมัตถะ บรมอัตถะ เนื้อหาอย่างยิ่ง สาระอย่างยิ่ง แก่นสารอย่างยิ่ง อันนั้นแล้ว มีปรมัตถะอันนั้นแล้ว ไม่วน ไม่วุ่น ไม่สับสน แม่น มั่นจริงชัด เพราะฉะนั้น ฟังได้ จะฟังอาตมาพูดวนยังไง ก็ฟังได้ แล้วไปฟังคนอื่นพูดวนก็รู้แล้ว ไอ้นี่มันวน มันไม่ไปไหนเลย มันอยู่ในกะลาครอบอยู่ตรงนั้น ยังไม่ออกจากกะลาเลย เราก็จะรู้ พูดภาษาอย่างนี้ มันไปข่มเขาเหมือนกันนะ ไปดูถูกดูแคลนเขาอยู่เหมือนกันหน่อยๆ ในโวหารของภาษา แต่ใจไม่ได้ไปดูถูกหรอก เขาก็อยู่ได้แค่นั้นล่ะ เราจะรู้เลย มันวนอยู่นั่นแหละ ตรงนั้นแหละ เราจะรู้วัฏฏะของเขา เราจะรู้โลก เราจะรู้ความกว้างความลึก เราจะรู้ภูมิ ภูมินี่แหละ ภูมิธรรม เราจะรู้ภูมิของเขา รู้ขนาดของเขาได้ นี่ไม่ใช่ว่าเราจะไปอวดอ้าง หรือว่าเราจะทำเป็นเบ่ง ไปรับ ไปรู้เขา ทำไปรู้ภูมิเขา โดยที่เราไม่มีภูมิจริงๆ ที่จะไปรู้เขาไม่ใช่ เราจะมีภูมิจริงๆ ที่จะไปรู้เขา ทีนี้ที่ภาษาทางโลกบอกว่า ยังไม่ต้องแย้ม ยังไม่ต้องอ้าปาก ก็เห็นลิ้นไก่ ยังไม่ต้องแย้ม ก็เห็นขี้ฟันแล้ว ยังไม่ต้องแย้ม ต้องยิ้ม ก็เห็นฟัน เห็นขี้ฟันแล้ว เป็นเรื่องจริง เขาจะพูด หรือเขาจะแสดง เขาจะมีอะไรออกมา เราจะรับรู้ได้ ยิ่งพูดมามาก ยิ่งรู้มาก ยิ่งรู้ว่า เออ ก็อยู่ในวัฏฏะนั้น อยู่ในระดับนั้น อยู่ในอันนั้นๆ คนเราก็จะมีสิ่งที่มี เป็นเครื่องแสดงออกทุกคนไป ไม่มีใครแสดงออกได้เกินตัวเอง เกินภูมิตัวเองหรอก คนที่จะแสดงออกได้ ก็เท่าที่ภูมิตัวเองมี มีจำเขามา ลอกเขามา ก็เท่าที่คุณมีนั่นแหละ คุณจะลอกมาได้มาก จำได้มากก็ตาม หรือคุณมีเนื้อ ชักเนื้อออกมา คนฟังเนื้อเป็น ก็จะฟัง ก็จะรู้ว่า เออ คนนี้มันเอาออกมาพูดนี่มันเนื้อชักเนื้อออกมาพูด ไอ้คนที่ไม่ได้ชักเนื้อ ไปเที่ยวได้ลอกหนังเขามา ลอกหนังเขามาพูดหน่อย ก็เที่ยวได้ลอกหนัง ของคนอื่นเขามาเรื่อย เราก็จะรู้ มันสามารถจะรู้ได้ด้วยนะ สามารถจะรู้ได้ด้วย เป็นอย่างนั้น จริงๆน่ะ เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้ มันเกิดจากภูมิของแต่ละคน ที่จะได้สั่งสมภูมิ ธรรมนั้นจริง จะมีอภิญญา จะมีเจโตปริยญาณ จะได้รู้ความ ใจผู้อื่น จะรู้พฤติกรรมของผู้อื่น รู้ภูมิของผู้อื่นอะไรพวกนี้ มีได้จริง เมื่อผู้นั้นมีของจริงที่เพียงพอ ก็สามารถที่จะรู้ได้ แล้วอันนี้เป็นทรัพย์ เป็นทรัพย์ปัญญา เป็นตัวปัญญา อภิญญาเป็นตัวอภิญญา เป็นตัวความรู้ยิ่ง ที่จะสามารถไปเป็นปาฏิหาริย์ ไปเป็นเรื่อง รู้ที่เกินธรรมดาอยู่น่ะ

ผู้ที่รู้ผู้อื่นได้ดี ขี้มักจะไม่พูดให้ผู้อื่นรู้ตัว ผู้ที่ไม่ค่อยรู้อื่นได้ดี ขี้มักอวดดี ว่าตัวรู้ เสร็จแล้วไม่จริงน่ะ ผู้ที่รู้จริงๆ ไม่ค่อยบอกให้เขารู้ตัวหรอก เพราะถ้าบอกให้เขารู้ตัวเสียก่อน บางทีมันช่วยเขาไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่รู้นี่ดี เดี๋ยวก็ได้แก้ลำให้ได้เรื่อยๆ ถ้าเขารู้ตัวก่อนแล้ว เขาระวัง ระวัง แล้วเขาก็เลี่ยง พอเลี่ยงแล้ว ก็ไม่ได้ช่วยเขา อย่างนี้เป็นต้นน่ะ

เอ้า เอาละ อาตมาได้ทบทวน ได้สาธยายอะไรต่ออะไรคิดว่าหมด ครบรอบแล้ว สิ่งที่ได้ทบทวน พรุ่งนี้เราก็จะได้พูดถึงรายละเอียด ที่จะค่อยๆขยายกันไป ตามสูตรของพระพุทธเจ้า หรือว่า ตามเล่มนี้ไป ด้วยๆ แล้วก็ขยายไปในรอบแรก แล้วก็วันต่อๆไป ขยายซ้อนลึกขึ้นๆๆๆๆๆ ลึกขึ้นไป เรื่อยๆน่ะ ก็จะได้ครบสมบูรณ์กันเสียที

สำหรับวันนี้ หมดเวลาแล้ว เอ้า ขอแค่นี้ก่อน


ถอดโดย นายประสิทธิ์ ฝ่ายทอง
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปราณี ๒๓ พ.ค.๒๕๓๔
พิมพ์โดย สม.นัยนา
ตรวจทาน ๒ โดย สม.จินดา ๓ มิ.ย.๒๕๓๔

ทรัพย์แท้...ของมนุษย์ / FILE:1337M.TAP