สัจจะ-สัญญา หน้า ๒
ทำวัตรเช้า เสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๓๖
โดย สมณะโพธิรักษ์ ณ พุทธสถานสันติอโศก
ต่อจากหน้า ๑


เพราะฉะนั้น สัจจะก็คือการกำหนดได้ กำหนดรู้ กำหนดเห็น สิ่งที่สูงสุด ที่สูงสุดของแต่ละคน ทีนี้ก็พุทธนิมิต ก็ตรัสถามต่อว่า เพราะเหตุไรหนอ สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิทั้งหลาย กล่าวยกตนว่า เป็นคนฉลาด จึงกล่าวสัจจะให้ต่างกันไป ต่างคนก็ต่างฉลาดด้วยกัน แต่ว่าสุดท้าย มันก็กล่าวต่างกันไปทั้งนั้น สัจจะมากหลายต่างๆกัน จะเป็นอันใครๆ ได้สดับมา หรือว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ระลึกตามความคาดคะเนของตน อันนี้ก็เป็น พระพุทธนิมิต ตรัสถาม ว่าเพราะเหตุอะไร สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิทั้งหลาย จึงกล่าวยกตนว่า เป็นคนฉลาด แล้วก็กล่าวสัจจะให้ต่างกันไปน่ะ มันก็เป็นไปตามของแต่ละคน สัจจะตั้งมาก ตั้งหลาย สัจจะมากหลายต่างๆกัน จะเป็นอันใครๆได้สดับมา ไม่ว่าสัจจะอะไรก็แล้วแต่ที่ ใครได้ฟัง ได้ยินมา หรือว่าสัจจะทั้งหลายที่ได้ยินมาจาก สมณพราหมณ์ทั้งหลายแหล่น่ะ ต่างก็เดาเอาทั้งนั้น ต่างก็คาดคะเนทั้งนั้น นี่ล่ะพระบาลีที่ว่า น เหวะ สัจจานิ พหูนิ นานา สมณพราหมณ์เป็นผู้เจ้าลัทธิทั้งหลาย กล่าวยกตนว่าเป็นคนฉลาด จึงกล่าวสัจจะต่างๆกันไป พหูนิ สัจจะต่างๆ กันไป นานา นี่สัจจะมากหลายต่างๆนานา กัสมา นุ สัจจานิ วทันติ นานาฯ ปวาทิยาเส กุสลา วทานา สัจจานิ สุตานิ พหูนิ นานา อุทาหุ เต ตักกมนุสสรันติ ฯ

นี่แหละคือคำถามนะ เพราะเหตุใดหนอ สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิทั้งหลายกล่าวยกตน ว่าเป็นคนฉลาด จึงกล่าวสัจจะให้ต่างกันไป สัจจะมากหลาย ต่างๆกันจะเป็นอันใครๆได้สดับมา หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ระลึกตามความคาดคะเนของตน ลงท้าย อุทาหุ เต นี่ก็คือคาดคะเน ตักกมนุสสรันติ หรือ ว่าคาดคะเนของตนนี่ละนะ

ทีนี้พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบว่า ยาวเลยนะ แต่อาตมาเอาอ่านแต่ เฉพาะบทต้น บทสำคัญนี่ ที่พระบาลีว่า น เหว สัจจานิ พหูนิ นานา อัญญัตระ สัญญายะ นิจจานิ โลเก ตักกัญจ ทิฏฐีสุ ปกัปปยิตวา สัจจัง มุสาติ ทวยธัมมมาหุฯ

นี่ก็จบกลอนหนึ่งสี่บาท แต่ที่จริงพระพุทธเจ้าท่านอธิบายไปยาวกว่านี้หลายบาท หลายบท แปลเป็นไทย พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ฟังตรงนี้ ตรงนี้แหละตัวประเด็นที่จะพูดกันวันนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

สัจจะมากหลายต่างๆกัน เว้นจากสัญญาว่าเที่ยงเสียไม่มีในโลก ฟังความออกไหม สัจจะมากหลายต่างๆกัน เว้นจากสัญญาว่าเที่ยงเสีย ไม่มีในโลก เลย หมายความว่าไง อะไรไม่เที่ยง

ทางโน้นบอกว่า ถ้าไม่มีความเที่ยงแล้วสัจจะทั้งหลายไม่มีในโลก ว่างั้น เอ้า! เอาตรงนี้ เอาล่ะ ประเดี๋ยวก็ขยายความ ถ้าเผื่อว่าฟังแล้ว อ่านแล้ว เข้าใจกันไปตามทิฐิของแต่ละคน ในประโยคตายตัวอย่างนี้ แปลได้คมดีเหมือนกัน แปลมาจากวรรค มาจากหมวดนี่แหละ มันมารวมกันนะ น เหวะ สัจจานิ น พหูนิ นานา พหูนิก็หลากหลาย นานาก็ต่างๆ กันนี่ล่ะนะ ก็คือสัจจะมากหลายต่างๆกัน สัจจานิ พหูนิ นานา สัจจะมากหลาย ต่างๆกันนะ พหูนิก็หลากหลาย นานา ก็ต่างกัน อัญญัตระ สัญญายะ นิจจานิ โลเก เว้นจากสัญญาว่าเที่ยง อัญญตระ สัญญายะ นิจจานิ สัญญายะ สัญญาว่าเที่ยง สัญญากำหนดว่าเที่ยง เว้นจาก อัญญัตระ เว้นจาก สัญญายะ นิจจานิ ว่าเที่ยง น เหวะ โลเก นี่ในโลกนี้ เว้นจากสัญญาว่า เที่ยงเสียแล้ว สัจจะทั้งหลายต่างๆกันนั่นไม่มีหรอกในโลกนี้ ในโลกนี้ไม่มีสัจจะ สรุปแล้ว

มีแต่สัญญาที่เที่ยง ใครสัญญายังไงว่าเที่ยงอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ตรงนี้แหละเป็นตัวโกง สัญญาว่าเที่ยงยังไงก็เป็นยังงั้น ตัวนี้แหละตัวโกง เมื่อกี้อธิบาย สัญญากับสัจจะ กับเด็กไป อยู่หยกๆ แต่คุณต้องเข้าใจนะว่า สัญญาเมื่อกี้นี้สัญญาไม่ได้โกงนะ สัญญากำหนดรู้ว่า อันนี้ดีกว่าอันนี้ กุศลอันนี้ดีกว่าอันนี้ เพราะฉะนั้นไอ้ดีกว่านั่นแหละคือสัจจะกว่า อะไรที่ไม่ดีกว่านั่นคือ อสัจจะ หรืออกุศล ฟังความนี้ให้ชัด ตรงนี้แหละตัวโกง

แต่ทีนี้ปัญญาของคนที่จะเข้าใจ คนว่ามีเงินมาก มันสัญญาจริงๆ ว่ามีเงินมากดีกว่าไม่มีเงิน ไม่มีเงินจะไปดีอะไร เพราะฉะนั้น ก็ต้องเอาเงินมากๆ นี่แหละดี เขาก็ต้องเป็นสัจจะ เขาเห็น อย่างนั้นจริงๆ เขากำหนดรู้อย่างนั้นจริงๆ เขาเห็นอย่างนั้นจริงๆ เขาเอาอย่างนั้น มันก็เป็นอย่างนี้ ทีนี้คุณเอง คุณมาเข้าใจแล้ว เอ๊ะ! เราจะโลภนี่นะ เราจะเอาเงินมากๆ เราเก่งนะ เราขยัน เราฉลาด เรามีประสิทธิภาพ เรากอบโกยดึงดูดเอางินมามากๆได้จริงๆนะ แต่มาได้จริงๆ เป็นของเรา สะสมไว้มาก เราก็ได้เปรียบเขามาก เราก็ทำอะไร สะดวกของเราละนะ แต่ถ้าเราจะเอาเงินสะพัดตามหลักเศรษฐศาสตร์ เกื้อกูลแจกจ่ายไปซะ เป็นประโยชน์คุณค่า โดยเราไม่มี ไม่ต้องมี ถึงมีก็มีไว้ สำหรับพอที่จะสร้างสรร เราก็กินก็ใช้ก็เท่านี้ เรากำหนดแล้วว่า เรากินใช้น้อยๆๆ ลงไปอีกได้อีกด้วยซ้ำ เราไม่บำเรอตนมากเข้า มากเข้า นี่สัจจะที่ซื่อสัตย์ สุจริตของตน แล้วเราก็ทำจริง เพราะเงินเหล่านี้ เราก็แจกจ่ายได้ กล้าแจกกล้าจ่าย กล้าเกื้อกูล โดยไว้ใจหมู่กลุ่ม ไว้ใจตัวเราเอง ไว้ใจใครๆ พึ่งตนได้ พึ่งหมู่กลุ่มก็ได้ เพราะไม่มีเลยก็ได้ ก็กล้าหาญชาญชัย เพราะฉะนั้น การไม่มีได้ ยิ่งเป็นตัวอย่างอันวิเศษ ไม่ต้องสะสมเงิน นี่เป็นตัวอย่าง อันวิเศษ ยอด แล้วเราก็อยู่กับหมู่หลุ่มได้ แน่ใจ อาตมาแน่ใจว่า อาตมาจะอยู่กับ หมู่กลุ่ม ไม่มีเงินตลอดตาย แน่ๆ อาตมาว่าอาตมาอยู่รอด เชื่อมั้ยเชื่อเชื่อไหมตัวเอง คุณถ้าจะไม่มีเงิน ตลอดชีวิตนี่ คุณอยู่ได้แน่ๆเลย คุณเชื่อตัวเองได้หรือยัง คุณเชื่อตัวเองหรือยัง จริงหรือเปล่า?

ตอนนี้มันอยู่ได้แล้วเหรอ แล้วต่อไปมันจะเก๊ลงไปน่ะซิ มันจะอยู่ไม่ได้ ไม่รู้ นั่นเห็นไหม ยังไม่มั่นใจ ถ้าเรามั่นใจว่าเรารู้แล้วว่า เราไม่ต่ำกว่านี้หรอก เราอยู่กับหมู่นี่ หมู่ต้องเลี้ยงดูเรา แน่เลย ขนาดนี้เขาเลี้ยงดูได้ เรามีคุณความดีขนาดนี่นะ ถ้าเราจะเป็นอัมพาต ถ้าเราจะยังไงๆนี่ ก็ขนาดไม่ดีเท่าคุณนี่ พวกเราเลี้ยงกันได้หรือเปล่า เป็นอัมพาตเลยนะ เห็นไหมว่า เรายังเลี้ยงกันเลย ถ้าคุณเป็นอัมพาตจริง จะมีคนเลี้ยงไหม มันก็ต้องเข้าใจ ละเอียดลออ

เพราะฉะนั้นตรงนี่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า แค่นี้นะมันเป็นเรื่องตีกินได้เลย ถ้าเผื่อว่าไม่มีสัจจะ หรือ ไม่มีความลึกซึ้ง ไม่มีกุศล ไม่มีอกุศล ไม่มีปัญญารู้ ไม่มีสัญญาตัวสำคัญ สัญญาการกำหนดรู้นี่ต้องไปฝึก กำหนดรู้ทุกข์ รู้สมุทัย รู้นิโรธ รู้กุศลอกุศล ต้องไปกำหนด แม้แต่กุศลอกุศลว่า เราติดแค่รสอร่อย แต่ก่อนนี้อร่อยนี่ว่าเป็นกุศล ไม่อร่อยมันจะไปดีอะไรล่ะ มันต้องอร่อยซิ มันถึงจะดีเป็นกุศล แต่นั่นก็เป็นความติดยึดอุปาทานของคุณ ไปล้างดูซิ ล้างไม่ได้ติดรสอร่อยนี้ได้ คุณจะเห็น สัญญายะ นิจจานิ กำหนดรู้แล้วว่านิโรธ กำหนดรู้ แล้วว่าวิราคะ กำหนดรู้แล้วว่านิโรธ ถ้าคุณกำหนดสัจจะอันนั้นของคุณเองจริงเลย ว่า กำหนดรู้แล้วว่า นี่วิราคะเป็นอย่างนี้ คุณพอใจไหมวิราคะ จนกระทั่งนิโรธ โอ! ไม่มีรสอร่อยแล้ว แหม! กินอาหารไม่อร่อย วิเศษเหลือเกิน คุณไปพูดซิ ไปพูดกับใครข้างนอกเขา คุณไปกินอาหาร ไม่อร่อย วิเศษ คุณก็ตายเท่านั้นเอง คุณกินไม่ลง ตายแหงๆเลย ผอมแห้งแรงน้อย ตายแหงเลย ดีบ้าอะไรนี่เมาแล้ว ไอ้คนนี้บ้าแล้ว แต่เราเห็นจริงไหม เอ้อ! กินไม่อร่อยนี่กินลง อยู่ได้ด้วย คุณเชื่อนะ ไม่ได้บังคับนะ คุณเชื่อไหมว่า อาตมากินข้าวไม่อร่อย เชื่อเหรอ เชื่ออาตมาพูด สมณพราหมณ์พูด กำหนดสัจจะต่างๆกัน เชื่อสมณพราหมณ์โพธิรักษ์น่ะซิ คุณเชื่อของคุณเองเหรอ

นั่นแน่ะ อวดอุตริมนุสธรรม กินข้าวไม่อร่อยก็เป็นแล้ว แหม! วิเศษ ซะนี่กระไร กินลงนะ อ้อ! บางวันกินไม่ลงเหรอ นั่น เห็นไหมยังมีอยู่ เห็นไม๊ยังเป็นไป เห็นไหม ไม่ป่วยกิน...กินไม่อร่อย

นี่แหละยกตัวอย่างแล้ว เราจะมีสภาวะ ตอนนี้คนมีสภาวะพูดกันน่ะ ทางโลกที่เขารู้ มันกินไม่ลง จริงๆ พูดกันไม่รู้เรื่องแล้ว จบ นี่สัจจะของเขามีอยู่ในระดับนั้นแค่นั้น ความรู้เขา มีอยู่นั่นแค่นั้น เพราะฉะนั้น เขากำหนดรู้ได้ของเขาแค่นั้น สัญญาของเขาแค่นั้น

เพราะฉะนั้น สัญญามันวิเศษขึ้นไปเรื่อยๆ สัญญาจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่เที่ยงแล้ว สัญญาไม่เที่ยง แต่สัญญานั้นเจริญได้ สัญญานั้นไม่เที่ยง สัญญานั้นโง่ได้ ระวังสัญญาจะโง่ เมื่อสัญญาโง่ สัจจะก็โง่ตาม ถ้าสัญญาเป็นจริง สัญญานั้นรู้จักแนวลึกที่ลึก เป็นการละหน่ายคลายนี่แหละลึก มีสัจจะที่ลึก มีนิโรธได้ มีนิพพานได้จริง คุณมีจริงหรือไม่จริง คุณจะละเอียด สัญญาจะละเอียด เข้าไปอ่านอาการ อ่านลิงคะ นิมิต อ่านความเหนือชั้นกว่ากัน อย่างไร ๆ มันจะเอนเอียงไปข้าง นิพพาน เอนเอียงไปข้างนิพพานยิ่งๆจริงๆอย่างไร คุณต้องมีของจริง ของคุณ

มาถึงตรงนี้แล้ว อาตมาจะสรุป อาตมาอธิบาย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อธิบายอนิจจังมา จนกระทั่ง เป็นนิจจัง ให้ฟังมาหลายทีแล้ว จนกระทั่ง อาตมามาเจอ อันนี้ อาตมาถึงได้ แหม! พระพุทธเจ้าเข้าข้างเรา มีบันทึกไว้ สัญญายะ นิจจานิ ที่อาตมาเอามาใช้ ว่ากำหนดรู้ว่านี่แหละ เที่ยงแล้ว อะไรเที่ยง นิพพานเที่ยง สุญญตาเที่ยง ไม่มีรสอร่อยนี่เที่ยงแล้ว ไม่มีกิเลสนี่เที่ยงแล้ว กิเลสไม่เกิดอีก เมื่อใดสัมผัสอย่างไร เมื่อไรก็ไม่เกิดอีก อนุโลม ลองปรุงตามเขาซิ ปฏินิสสัคคะ ลองปรุงว่าสนุก ลองปรุงว่าเศร้า ลองปรุงว่าโศก ลองปรุงว่าดีใจ ลองปรุงว่ารื่นเริง กับเขาซิ ปรุงแล้ว เราก็ยังมาอยู่ที่ภพเดิมว่าเราว่าง ปรุงตามเขาก็ได้ เกิดรสตามความจำ ตามสัญญาจำ เราก็ได้บ้าง แต่ความจริงแล้ว อัตโนมัติของเราเป็นอยู่ที่ฐานสูญ สุญตาหรืออนัตตา ไม่มีตัวตน ของความรื่นเริง เบิกบานที่จริงตามที่เขายึดติดกัน เราก็ว่างได้ รื่นเริงได้ ปฏินิสสัคคะ อนุโลมกับเขาได้ จะปรุงเป็นรสอร่อยได้ ก็ปรุงได้

ขออภัย ทุกวันนี้ อาตมาก็พยายามจะลองปรุงตามอาหารที่เขาปรุงมา ให้อร่อยๆนี่ หลายอย่าง ปรุงแล้วไม่ขึ้น เมี่ยงญวนเอามาให้อาตมา บอก แหม! เขาซื้อกินกันจังเลย อร่อย แหม! กินเมื่อไหร่ มันก็เคี้ยว ไอ้แป้งกับไอ้ถั่วงอกนั่นแหละ ไอ้เมี่ยงญวนนี่ จะมีเต้าหู้ผสมหน่อย แตงกวาลงไปนิด มีไอ้โน่นไอ้นี่ จิ้มน้ำจิ้ม ไอ้โน่นไอ้นี่แล้วมันก็ เออ! ก็เปรี้ยวๆหวานๆอย่างที่คุณจิ้มมานั่น นะ มันก็ยังไม่อร่อย กินทีไรแล้วเหนียว เคี้ยวได้สองคำนี่อย่างเก่ง ก็ต้องหยุดแล้ว มันเหนียว มันเมื่อยเคี้ยว โอ๊ย! เคี้ยวจังเลยไอ้เมี่ยงญวนนี่น่ะ ยิ่งแป้ง หยาบๆเหนียวๆน่ะล่ะแล้วเลย อย่างนี้เป็นต้น หรือแม้แต่ต้มที่ขายกันจังเลย เกาเหลามานี่ โอ้! บางทีอาตมาก็ซดเต็มชาม เหมือนกันนะ แต่บางทีก็ซดได้สองช้อน บางทีก็ซดได้ช้อนหนึ่ง บางทีก็ไม่ซดเลยซะ บางที เขาก็ว่าอร่อย เราก็พยายามปรุงตาม บางครั้งก็รู้สึกได้เหมือนกัน ความจำมันมา สัญญามันขึ้น ก็เอา ก็จำได้ อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นในเรื่องของการกำหนดนี่ จะเป็นจริงตามที่เราเป็น แต่เราก็กินได้นะ เราไม่ได้ติดขัดอะไรหรอก ถ้าเราจะกินเพื่อไปบำรุงร่างกาย จะเป็นรสก็ตาม จะเป็นกลิ่น เป็นเสียง เป็นสัมผัสทางด้านตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คุณกำหนดได้ จนคุณกำหนด เป็นสูญ อนัตตา เที่ยงได้นั่นแหละ สัญญายะ นิจจานิ นิโรธก็คืออนัตตา นิโรธก็มีอนัตตา เป็นองค์ประกอบ ไม่มีตัวตน นิโรธก็แปลว่าดับสนิทไม่เหลือ ไม่มีตัวตน อนัตตาว่าไม่มีตัวตน ไม่มีตัวตนของอะไร ของอะไร

ทุกข์ต่างกัน ปรุงถ้าปรุงไม่ขึ้นมันก็ทุกข์ ถ้าเราอยากปรุงให้มันขึ้น มันไม่ขึ้นมันก็ทุกข์

ปรุงแล้วมันก็เป็นสังขาร แล้วก็รู้สึกว่ามันมีรส มีชาติ มีอะไรตามโลกได้ ก็เรียกว่าสุข ก็ได้ แต่สุขอย่างนั้น เราก็รู้อยู่แล้วว่า สุขอย่างนั้นมันเป็นสังขารธรรม มันปรุง ก็เรารู้ว่า เราเจตนา จะปรุง ก็สุดแล้ว อ่านมาแล้วสูตรก่อนนี้บอกว่า สุดท้ายท่านเอาที่สังขาร ไม่มีสังขารนั่นแหละ เป็นสุด สูตรก่อนที่เคยเอามาอ่านไม่กี่วันนั่น ยอดสุดก็คือที่สังขาร ไม่มีสังขารนั่นแหละคือ ตัวดับ เพราะฉะนั้น ดับก็คือดับสังขาร แต่คุณจะสังขาร คุณจะปรุง ก็ต้องรู้ว่าปรุงนี้ มันยังไม่ใช่นิโรธนะ ปรุงนี่ยังไม่ใช่นิโรธ ก็เราจะปรุง แต่เราปรุงมันก็ทุกข์ มันปรุงยาก แต่ปรุงง่ายคุณก็ปรุงง่าย คุณคล่องๆเข้า หัดปรุงง่ายๆก็ง่าย นะ ง่าย แต่เราก็รู้ว่ามันปรุง ปรุงไม่ใช่ดับนี่

ถ้าคุณปรุงง่าย มันก็ไม่ทุกข์กว่า ถ้าคุณปฏินิสสัคคะ มาฝึกปรุงตามเขาได้ อนุโลมตามเขา ได้มากๆ ก็ได้ แต่คุณไม่ได้ติดใจที่ปรุงหรอก นั่นเป็นตัวลึกของคุณเอง คุณไม่ได้ติดใจที่ปรุง คุณไม่ได้ติดใจอร่อยนี้ ว่าง ไม่ปรุง ไม่สังขารนั่น เหนือชั้น เหนือชั้นกว่า คุณเที่ยงตรงนี้ คุณเที่ยงตรง คุณดับสังขาร คุณเที่ยงตรงที่ไม่มีตัวตนของการปรุงเลย ไม่มีสังขาร ที่ผมอธิบาย มาแล้ว มีเวทนา สัญญา สังขาร เป็นสภาพไม่มีสังขาร เป็นสองขันธ์ สามขันธ์ มีรูป เวทนา สัญญา สามขันธ์ เลยไม่ต้องมีสัญญา ไม่ต้องมีสังขาร เมื่อมีสังขาร วิญญาณก็ไม่มี พอวิญญาณ มันส่งต่อ หรือแม้ส่งต่อ ก็ส่งต่อได้แค่สามขันธ์นั่นไปหาวิญญาณ วิญญาณเป็นตัวรู้ ธาตุรู้รวม บอกแล้วให้ไปอ่านคนคืออะไรนั่นน่ะ เพราะฉะนั้น มนุษย์สามขันธ์ อย่างนี้แหละ หรือมนุษย์จะไปเอาวิญญาณขันธ์นี่ วิญญาณก็เป็นตัวรวมของรูป เวทนา สัญญา ไม่มีสังขาร มนุษย์ไม่มีสังขารอย่างนี้แหละ เป็นมนุษย์ที่ดับสนิท

แต่ทีนี้เมื่อเวลาคุณจะปฏินิสสัคคะ คุณมาหัดปรุงกับเขาได้ คุณจะเที่ยงหรือไม่เที่ยง คุณจะหยุด อยู่ตรงไหนล่ะ คุณจะหยุดอยู่ตรงที่ว่า คุณไม่เอาแล้ว สังขารคุณก็ไม่ติดใจอะไร ไม่ติดยึด ไม่อะไร แต่ปรุงตามเขา รู้ตามเขาได้ แต่คุณไม่ติดใจจริงๆ คุณว่างๆ นี่ดีกว่า เพราะฉะนั้น คุณก็ยินดีในวิมุติรสกว่า รสที่ดับสนิท นิโรธ รสนิโรธ รสวิมุติ รสสงบ รสไม่ต้องมีปรุง ไม่มีรสชาติ ไม่มีเกิด ไม่มีรสชาติเกิด ไม่มีอัสสาทะอะไร แต่เราจะปฏินิสสัคคะรู้ตามเขาได้ คนที่เรายิ่ง ปรุงตามได้ เขาจะรู้ความจริงตามคนอื่นเขาได้ อันนี้มันเป็นภาวะที่หลัง ให้คุณดับสนิท จนกระทั่งอัตโนมัติ จนกระทั่งแข็งแรงมั่นคง คุณค่อยๆหัดปรุงตาม ปฏินิสสัคคะ ถึงค่อยสลัดคืน อย่าไปสลัดคืนง่าย อย่าไปพึ่งปรุงตาม แหม! นี่ เราลองปรุงตามเขา หัดปรุงตามทั้งๆที่สงบสนิท ก็ยังไม่สงบสนิท แบบนี้เดี๋ยวก็ไป เป็นพวกวิตรรกะ เป็นพวกวิริยาธิกะ พวกเพียรทำไปทำมา ช้า นาน แหม! เพียรทำซับซ้อนนะ มันไม่ได้ฐานะที่แท้ ไม่ได้จุดที่สงบสนิทแท้ ฝึกให้มันสงบสนิท ดับจนกระทั่ง แล้วค่อยหัดปรุงขึ้น แล้วคุณจะรู้เองว่า คุณปรุงขึ้นไม่ขึ้น คุณปรุงแล้ว มันไปได้ไม่ได้ เสร็จแล้วคุณก็ย้อนกลับ มันจะย้อนกลับมาที่สงบ สงบ คุณได้รู้แล้ว ดับสนิท คุณรู้รสแล้ว เป็นนิโรธ หรือว่าเป็นวิมุติรสแล้ว จนกระทั่ง คุณอนุโลมปฏิโลม คุณจะเปรียบเทียบ แล้วคุณก็จะเห็นชัดเจน ยิ่งคุณมีวิมุติรส ยินดีในวิมุติรส เชื่อมั่นในการดับสนิทนี้มีจริงและได้จริง แล้วก็ปราศจากจริง คุณก็จะฝึกไป จนกระทั่งอนุโลมได้มาก ก็เกื้อกูลเขา แล้วเราก็จะเห็นจริง เลยว่า เราไม่มีตัวตน ไม่ได้เกิดอีก ไม่ได้เป็นโลกียะอีก ไม่มีสังขารเป็นโลกียะ ไปปรุงเป็น รสอร่อยติดยึด ก็รู้อยู่แล้วนี่เหตุผลว่า ไปติดยึดรสสังขารรสปรุงแล้วมันก็โลกีย์ ดับสนิทมันก็คือ โลกุตระ ดับสนิทมันก็คือเหนือโลก

เพราะฉะนั้น สัญญายะ นิจจานิ ของคุณเที่ยงไหม คุณสัญญากำหนดนี่คุณอยู่ที่สูญ เที่ยงไหม อยู่ที่อนัตตาเที่ยงไหม อยู่ที่นิจจังของความเป็นอนัตตา ตอนนี้เป็น นิจจังของความเป็นอนัตตา เที่ยงแท้อยู่ที่ ตรงไม่มีกิเลส ไม่มีตัวกิเลสเกิด ไม่มีตัวตนของกิเลส ดับสนิทตัวนี้ คุณเที่ยง คุณยืนหยัดยืนยัน กำหนดได้อันนี้ เอาอันนี้แหละ เป็นตัวจริงที่สุดของคุณ นั่นคือ พระอรหันต์ คุณมีอาการจริง มีของจริง มีสภาวธรรมอันนี้จริงของคุณนะ แต่คุณต้องอ่านจริงๆ ฝึกหัด เป็นจริงเลยว่า อารมณ์ของนิพพาน อารมณ์ของความดับสนิท อัสสาทะไม่มี กิเลสไม่มีได้จริง และคุณก็ พอใจยินดีในอันนี้แหละ อย่างถาวร อย่างเที่ยงแท้ อย่างจริง คุณยึดก็ได้ จะเรียกว่า ยึดก็ได้ คุณยึดเอาฐานนี้แหละ ฐานว่าง ฐานปราศจากรสอร่อย ปราศจากกิเลส ปราศจากอาการ โลกียสังขาร นี่แหละเป็นตัวเที่ยงแท้ของคุณ คุณต้องมีสภาวะนี้รองรับ คุณมีได้จริงไหม มีได้จริง คุณก็เป็นคนจริง เพราะฉะนั้น สมณพราหมณ์ที่หลอกก็หลอก สมณพราหมณ์ที่จริงมีสัจจะจริง พวกนี้ก็เอาจริง พวกนี้แหละ จะเป็นคนจริง ที่จะมีนิพพานจริง

สรุปแล้วสุดท้ายสัจจะในโลกนี้ไม่มี นอกจากกำหนดว่าเที่ยง เพราะฉะนั้น ไปเที่ยงที่เหลือเศษ ขนาดไหน ไกลขนาดไหน ๆ ของสมณะแต่ละรูป ของนักปฏิบัติศาสดาใดก็ตาม เขาก็เอาอันนั้น ทีนี้ของเรา เรียนจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ไปถึงจุดนี้ เมื่อคุณได้จุดนี้ ก็เป็นสัจจะ ของคุณจุดนี้ จุดนิโรธ จุดนิพพาน จุดอนัตตา

ให้เปรียบเทียบว่า สิ่งที่ชอบน่ะ แหม! นี่อธิบายแล้ว อาตมาให้คุณไปติดชอบยินดีในชอบแล้ว ให้วางตัวชอบ นั่นต่างหากล่ะ ให้รู้ว่านี่เราชอบนะ ไอ้นี่ไม่ชอบ ไม่ชอบมันก็จะผลัก ก็ให้วาง ความไม่ชอบด้วย ให้กินให้ได้ กินของไม่ชอบ กินของไม่ชอบให้ได้ เพราะมันผลัก วางความผลัก แต่กินของไม่ชอบให้ได้ ความดูด วางความชอบ วางความดูด วางความชอบ แล้วก็กินให้ได้ หรือไม่กิน มันก็ไม่โหยหา ก็ฝึกมันทั้งสองด้าน ฝึกหมดน่ะ เทียบกันเพื่อความรู้ สัจจะ ความจริง จนกระทั่ง มันเป็นกลางเลย ชอบหรือไม่ชอบเราก็ไม่ติดไม่ยึด ชอบหรือไม่ชอบ เราก็ไม่มีผลัก ไม่มีดูด ถ้าไม่งั้นคุณก็แหว่งอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง ทีนี้คุณจะทำอะไรมากน้อยอะไรก็แล้วแต่ คุณจะเอาของชอบมาก เพื่อวางความชอบ หรือจะเอาของไม่ชอบมาก เพื่อจะวางความไม่ชอบ แล้วแต่ มันเป็นได้ นะ เมื่อใดคุณเอง คุณกินของไม่ชอบนี่ แหม! กินมันไม่ลง กินไม่ลงฝืน พยายามฝึก วางความไม่ชอบ ก็นี่มันเป็นธาตุที่กินได้ ธาตุที่จะต้องบำรุงร่างกาย ได้ดี แต่คุณดันไม่ชอบ นั่นละกิเลส ก็ธาตุของมันซื่อสัตย์อยู่ของมันเอง มันเป็นธาตุที่ดีอยู่แล้ว แต่คุณมีกิเลส ตัวไม่ชอบตัวผลัก ต้องฆ่าความไม่ชอบให้ถูกตัวให้มั่น แล้วก็กินของที่เคยไม่ชอบนี่ แต่มันเป็นสาระที่ดีอยู่แล้ว กินมันให้เฉย ว่างๆ ใจ โล่ง ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก

ตัวเดียวคุณก็แหว่งไปข้างหนึ่ง ก็ข้างชอบนี่แหละ พอกินไม่ชอบตัวเดียว มันไม่ผลักตัวเดียว แต่อีตัวชอบนี่ก็ดูดๆๆ คุณก็มีอัตตาอยู่นะซิ คุณก็เลยบอกตัวไม่ชอบนี่ ตัวชอบนี่คุณไม่เคยหัดวางเลย คุณก็เล่นตัวชอบตลอดกาลนาน คุณก็มีอัตตาในตัวชอบ ก็ติดกัน ก็เป็นอัตตาอยู่ตรงนั้นนะ ก็ผูกกันอยู่กับความชอบ นั่นแหละ

เพราะฉะนั้น คุณก็กำหนดรู้ แล้วก็กำหนดละเอียดลงไปอีกว่า จะต้องล้างความชอบนี่ด้วย จนจืดจาง จนกระทั่งชอบก็ไม่มี ไม่ชอบก็ไม่มี สัจจะมากหลายต่างๆกัน เว้นจากสัญญา ว่าเที่ยงเสีย ไม่มีในโลกเลย ไม่มีในโลกเลยก็มาขยายคำว่าสัจจะมากหลายต่างๆกัน เพราะฉะนั้น ถ้าจะพูดอีกทีก็คือ สัจจะมากหลายต่างๆกันไม่มีในโลกเลย เว้นจากสัญญาว่าเที่ยงเสีย นอกจาก สัญญาว่าเที่ยงเท่านั้นละมี

กำหนดรู้เองว่า อันนี้ละเที่ยงแล้ว เพราะฉะนั้น ไอ้ที่สัญญาที่ว่าเที่ยงนี่คุณจะไปเที่ยงตรงไหน ต้องเอานิโรธ เที่ยง ต้องเอาอนัตตาเที่ยง อนัตตาสภาวะ ก็เคยอธิบายมามากแล้ว อนัตตา ตรรกะน่ะ รู้กันหมดหรือยัง อะไรๆก็ไม่มีตัวตน รู้หมดหรือยัง เป็นพระอรหันต์หรือยัง ยัง

ไตรลักษณ์แบบตรรกะ ไตรลักษณ์แบบความเข้าใจ แบบความรู้ รู้กันได้ง่าย ไม่ยากหรอก รู้ไตรลักษณ์แค่ตรรกะหรือ มันจะไปเป็นพระอรหันต์ได้ยังไง

ใช่ ถามว่า ท่านบรรลุแล้วหรือยัง ก็ให้ถึงสัจจะ ถ้าบรรลุเราก็จะถามต่อ บรรลุ ผมสามารถไล่ได้ คุณเชื่อไหม ไล่ปรมัตถ์นี่ไปจนกระทั่งถึง สัญญาย นิจจานิ นี่รับรองเมาหมัดผมแน่ๆเลย เพราะว่าเขาเอง เขาไม่มีสภาวะพวกนี้แล้ว เขาจะพูดไม่ได้ แล้วก็อธิบายไม่ออกนะ ผมว่า ผมอธิบายให้พวกคุณฟังนี่ เอาเถอะใครเก่งจะมา ยกตำรานี้ไปให้เขาฟังนี่ เขาแปลมานี่เขาแปล พยัญชนะมา ผมยังชมเชยว่า เขาแปลดีนะ เขาแปลได้ไม่ผิด

สัญญาตัวนี้เป็นอุปาทานรึเปล่า สัญญาตัวนี้ก็คือไม่ใช่ของจริงเหมือนกัน ถ้าคุณยึดเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นของเรา คุณก็จะมีสัญญานี้เป็นอัตตาไปอีก นานับชาติ

คุณเป็นอุปาทานก็เป็นซิ ถ้าคุณยึดว่าสิ่งนี้เป็นตัวเป็นตนของกู คุณก็เป็นอุปาทาน แต่ถ้าเผื่อว่า สัญญานี้ มันก็ไม่ใช่ของกูหรอก ตายก็...มันก็เป็นแต่เหตุ ปัจจัย ตายแล้วคุณก็วางสัญญานี้ด้วย ว่าไม่เป็นเราเป็นของเรา คุณก็ไม่ยึด ติดใจ ไม่ยินดีที่จะมีสัญญานี้อีก เมื่อคุณไม่มีสัญญานี้อีก ดับเวทนา ดับสัญญา ดับ สัญญาสุดท้ายเมื่อคุณหมดลมหายใจ คุณจะปรินิพพาน คุณแน่ใจหรือเปล่าว่า คุณจะปรินิพพานได้ ว่าคุณไม่ติด แม้แต่สัญญานี้เป็นเรา เป็นของเรา เพราะอัสสาทะต่างๆ หมดจริงๆ คุณต้องรู้เลยว่า อัสสาทะไม่มี อาสวะไม่มี หมดสิ้น เมื่ออาสวะไม่มี คุณชัดเจนว่า อาสวะคืออย่างไร อัสสาทะคืออย่างไร โลกียะในโลกนี้เราไม่ติด ไม่รื่นรมย์ จะวิเศษขนาดไหน ภาคภูมิใจเพราะเราได้ สัมมาสัมโพธิญาณ เอาถึงขนาดนั้นน่ะ ก็ไม่ได้ยินดี ในสัมมาสัมโพธิญาณเลย วาง สัมมาสัมโพธิญาณ อาตมาว่าคุณยังไม่แน่หรอก ถึงไม่ถึงสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ยังติดอยู่ หรอก เพราะว่าเป็นมหาสมบัติที่ยิ่งใหญ่เหลือเกิน สัมมาสัมโพธิญาณนี่ แต่เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านฝึกมาจริงๆ

อาตมาเดี๋ยวนี้ก็ยังติดสัมมาสัมโพธิญาณอยู่ อาตมายังจะเอาสัมมาสัมโพธิญาณให้ได้ ยังไม่ว่างนะ อาตมาว่า มันยังไม่ได้สัมมาสัมโพธิญาณที่สูงสุด อาตมาจะพยายามสั่งสม สัมมาสัมโพธิไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึง สัมมาสัมโพธิญาณสุดยอด เมื่อใดก็ไม่รู้ละ แล้วจะวาง พร้อมกันนั้น ก็หัดวางไปในตัวเหมือนกัน ก็ไม่สำคัญมั่นหมายว่านี่ เป็นสิ่งสุดยอด สิ่งเลิศ สิ่งยอด แต่ก็เลิศก็ยอด กับอาตมานี่สมบัติใด ไม่ยิ่งยอดเท่ากับสัมมาสัมโพธิญาณหรอก เอาอะไรมาแลก ก็ไม่สูงสุดเท่ากับ สัมมาสัมโพธิญาณขณะนี้ สำหรับอาตมานะ ตอนนี้ก็ยึดว่าดี แต่ก็ต้อง วางในตัว หัดวางอยู่ จะไปสำคัญมั่นหมายว่าสำคัญ แต่จริงๆคือสำคัญ สัมมาสัมโพธิญาณ ไม่สำคัญได้ยังไง ยิ่งใหญ่ แต่ก็ต้องหัดวางไปในตัวซ้อน เห็นไหมมันมีภาษาย้อนแย้งกันอยู่ ตลอดเวลาเลย คุณก็เหมือนกัน ทำอะไรดีได้ คุณก็ต้องพยายามเอาดีเป็นหลักยึดก่อน พอได้ดีแล้ว คุณก็ค่อยๆ วางดีๆๆ เอาดียิ่งกว่าๆๆๆ คุณจะดียิ่งกว่าขนาดไหนก็คือ ขึ้นมาเป็น สัตว์ที่เจริญ เป็นโพธิสัตว์ เป็นสัมมาสัมโพธิญาณ ขึ้นไปจริง มีตัวตั้งมั่น มีตัวปัญญา มีตัวตั้งมั่น มีตัวปัญญา มีตัวตั้งมั่น มีตัวปัญญาไปเรื่อยๆ มีเจริญสุดยอด

ถ้าคุณเชื่อว่า คนเจริญสุดยอดก็คือพระพุทธเจ้า ไม่ต้องกลัวว่า ถ้าเราทำไปทำไป มันผลุบๆๆ มันไปถึงสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้าเสียแล้ว จะทำยังไงนี่ ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องกลัวว่า ตาย! นี่เราทำไปทำมา มันจะเป็นพระพุทธเจ้าเอาไว้เกินไปนะนี่ ไม่ต้องกลัวว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า ไม่ต้องกลัวหรอก จริงไม่กลัว กลัวไม่จริง มันมีสภาวะอย่างนี้

นอกจากนั้นก็เป็นคำอธิบายขยายความ ถ้าใครอยากอ่าน เอาพระไตรปิฎกอันนี้ไปอ่าน ก็ไปดู พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ข้อ ๔๑๙ นะ มีคำอธิบายอีกยาว แต่ทั้งหลายแหล่ก็สนับสนุนข้อนี่นะ อ่านให้ฟังนิดหนึ่ง มันเลยเวลาไปห้านาทีแล้ว

สัจจะมากหลายต่างๆกัน เว้นจากสัญญาว่าเที่ยงเสีย ไม่มีในโลกเลย ก็สมณพราหมณ์ทั้งหลาย มากำหนด ความคาดคะเนในทิฐิทั้งหลาย(ของตน)แล้ว จึงกล่าวทิฐิธรรมอันเป็นคู่กันว่า จริงๆเท็จๆ ก็บุคคลเจ้าทิฐิ อาศัยทิฐิธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่ได้เห็นบ้าง เสียงที่ได้ฟังบ้าง อารมณ์ที่ได้ทราบบ้าง ศีลและพรตบ้าง จึงเป็นผู้เห็นความบริสุทธิ์ และตั้งอยู่ในการวินิจฉัยทิฐิแล้วร่าเริงอยู่ กล่าวว่า ผู้อื่นเป็นคนเขลาไม่ฉลาด บุคคลเจ้าทิฐิย่อมติเตียนผู้อื่นว่าเป็นคนเขลาด้วยทิฐิใด กล่าวยกตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยลำพังตน ย่อมติเตียนผู้อื่น กล่าวทิฐินั้นเอง บุคคลยกตนว่าเป็นคนฉลาด ด้วยทิฐินั้น ชื่อว่าเจ้าทิฐินั้นเต็มไปด้วยความเห็นว่าเป็นสาระยิ่ง มันเหมือนด่า ตัวเองเหมือนกันนะ แต่ตัวเองด็ต้องชัดว่าตัวเองด่าตัวเองหรือไม่และมัวเมา เพราะมานะ มีมานะบริบูรณ์ แน่ะ! อยากได้มั้ยมีมานะบริบูรณ์ อภิเษกตนเอง ด้วยใจว่า เราเป็นบัณฑิต เพราะว่าทิฐินั้นของเขาบริบูรณ์แล้วอย่างนั้น ก็ถ้าว่าบุคคลนั้นถูกเขาว่าอยู่ จะเป็นคนเลวทรามด้วยถ้อยคำของบุคคลอื่นไซร้ ตนก็จะเป็นผู้มีปัญญาต่ำทรามไปด้วยกัน อนึ่ง หากว่าบุคคลจะเป็นผู้ถึงเวท เป็นนักปราชญ์ด้วยลำพังตนเองไซร้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายก็ไม่มีใครเป็นผู้เขลา

ท่านอธิบายต่อไปอีก ถ้าใครจะเป็นปราชญ์โดยไม่มี... หมายความว่า เป็นปราชญ์ด้วยตนเอง สมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็จะเป็นคนที่โง่นะ เป็นคนเขลา

ชนเหล่าใดกล่าวยกย่องธรรม คือ ทิฐิอื่นจากนี้ไป ชนเหล่านั้นผิดพลาด และ ไม่บริบูรณ์ด้วยความหมดจด เดียรถีย์ทั้งหลายย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยมาก เพราะ ว่าเดียรถีย์เหล่านั้นยินดีนัก ด้วยความยินดีในทิฐิของตน เดียรถีย์ทั้งหลาย กล่าวความบริสุทธิ์ในธรรม คือทิฐินี้เท่านั้น หากล่าวความบริสุทธิ์ในธรรมเหล่าอื่นไม่ เดียรถีย์ทั้งหลายโดยมากเชื่อมั่นแม้ด้วยอาการอย่างนี้ เดียรถีย์ทั้งหลายรับรอง อย่างหนักแน่น ในลัทธิของตนนั้น อนึ่ง เดียรถีย์รับรองอย่างหนักแน่นในลัทธิของตน จะพึงตั้งใครอื่น ว่าเป็นผู้เขลา ในลัทธินี้เล่า เดียรถีย์นั้น เมื่อกล่าวผู้อื่นว่าเป็นผู้เขลา เป็นผู้มีธรรมไม่บริสุทธิ์ ก็พึงนำความทะเลาะวิวาทมาให้แก่ตนถ่ายเดียว เดียรถีย์นั้น ตั้งอยู่ในการวินิจฉัยทิฐิแล้ว นิรมิตศาสดาเป็นต้นขึ้นด้วยตนเอง ก็คือนิรมิตตัวเอง ตั้งตนเองเป็นศาสดา ก็ต้องวิวาทกันในโลกยิ่งขึ้นไป บุคคลละการวินิจฉัยทิฐิทั้งหมดแล้ว ย่อมไม่กระทำความทะเลาะวิวาทในโลก ฉะนี้แล ฯ

เพราะฉะนั้น แม้ทิฐิความเห็นนี่ก็ยึดติดไม่ได้ แม้จะเป็นความเห็นที่ดีที่สุด เป็นสัมมาทิฐิสูงสุด อย่างพระพุทธเจ้า ไม่ยึดติดทิฐิของตน แม้ความเห็นนั้นจะถูก พระพุทธเจ้าถูกสุดยอดใช่ไหม ท่านก็ไม่ยึดติดทิฐิของตน อนุโลมกับคนอื่นได้ จึงไม่ทำความทะเลาะวิวาทในโลก แต่ผู้ใด ยังยึดทิฐิตนอยู่ ยังการทะเลาะวิวาทในโลก แน่ๆแหงๆเห็นอยู่ ในหมู่เราไม่ต้องไปเอาอื่น อาตมาละ เมื่อยๆกับพวกเรายึดทิฐิตนเองนี่ พูดไม่รู้จะพูดอย่างไรว่า แม้เราถูกก็ต้องรู้ กาลเทศะ รู้การยอมดูบ้าง เป็นยังไงอัตตามันยอมมั่ง ไม่หัดยอมเสีย มันยังแข็งอยู่งั้น ถ้ามันยอมได้บ้าง มันก็อยู่กันอย่างประสาน พยายามเจาะกุศลอกุศล แม้กุศลนี้มันดี มันดีขนาดนี้ไม่ได้ เราก็ดูความจริงว่า อ๋อ! มันยังไม่ได้นะ ฐานยังไม่ถึงกัน มันได้ขนาดนี้เอาขนาดนี้ก่อน ต่ำกว่านี้มีอีก แล้วเราก็ไม่ได้ต่ำอะไรนักหนาหรอก เราประมาณดูแล้วดีแล้ว หรือว่าจะพยายามดึงดัน ให้มันดึงขึ้นไป คุณก็ต้องหนักหน่อย เอาทิฐินี้ละ ดีก็ต้องเอาให้ได้เท่านี้ คุณสามารถดึงไหวไหม ดึงไหวเอา อย่างอาตมานี่ดึงไหวอยู่ ก็พยายามดึงเอาเป็นบางอัน บางอันไม่ไหว ก็ต้องอนุโลม

เอ้า! ได้เท่านี้เอาเท่านี้ก่อน


ภาคผนวก ภาษาบาลี
หน้า ๑๑
กสฺมา นุ สจฺจานิ วทนฺติ นานา ฯ
ปวาทิยาเส กุสลา วทานา
สจฺจานิ สุตานิ พหูนิ นานา
อุทาหุ เต ตกฺกมนุสฺสรนฺติ ฯ

หน้า ๑๒
ยมาหุ สจฺจํ ตถิวนฺติ เอเก
ตมาหุ อญฺเญปิ ตุจฺฉํ มุสาติ
เอวมฺปิ วิคฺคยฺห วิวาทยนฺติ
กสฺมา น เอกํ สมณา วทนฺติ ฯ

หน้า ๑๓
เอกํ หิ สจฺจํ น ทุตียมตฺถิ
ยสฺมึ ปชาโน วิวเท ปชานํ
นานา เต สจฺจานิ สยํ ถุนนฺติ
ตสฺมา น เอกํ สมณา วทนฺติ ฯ

หน้า ๑๔
น เหว สจฺจานิ พหูนิ นานา
อญฺญตฺร สญฺญาย นิจฺจานิ โลเก
ตกฺกญฺจ ทิฏฺฐีสุ ปกปฺปยิตฺวา
สจฺจํ มุสาติ ทฺวยธมฺมมาหุ ฯ


จากพระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ข้อ ๔๑๙


ถอดโดย โครงงานถอดเท็ปฯ
ตรวจ ๑ โดย เพียงวัน ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗
พิมพ์ โดย ใจขวัญ ๘ กรกฏาคม ๒๕๓๗
ตรวจ ๒ โดย สม.ปราณี ๑๓ กรกฏาคม ๒๕๓๗
FILE:4097B.TAP