กว่าจะสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ตอน ๖
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
เนื่องในงานปลุกเสกฯ ครั้งที่ ๑๖ ณ พุทธสถานศีรษะอโศก
เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕

เรามาเริ่ม เมื่อเช้านี้เราได้ถึงตอนที่บรรยายถึงราชรถ ในคำตรัสที่ท่านตรัสบอกว่า โลกนี้ โลกหน้า ซึ่งเป็นคำรวมๆ อยู่ในตรงนี้ ท่านบอกว่าผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข ทั้งในโลกนี้ และใน โลกหน้า มัจจุราชย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลก เพราะฉะนั้น คำว่าเห็นโลก เราจะต้อง เข้าใจโลก ที่อาตมาก็ได้สาธยายแล้วเมื่อเช้านี้ว่า สังสาระหรือสงสาร นั่นแหละ คือโลก วัฏสงสารที่วน โลกแห่งความวน ทีนี้ความวนที่ว่านี่แหละ เราจะต้องรู้ความวน ในระดับโลกหน้า ของพระพุทธเจ้าให้ได้ เห็นให้ได้ แจ้งให้ได้ แล้วเราก็ออกไปสู่โลกหน้าของพระพุทธเจ้าได้ หรือโลกอื่น ที่ต่างหากจากโลกที่สัตวโลกยังหมกอยู่

เหมือนอย่างที่ท่านใช้คำศัพท์ว่า พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ นี่แหละ โลกนั้นแหละ สัตวโลกที่ไม่ได้ศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้า ไม่รู้จักโลกใหม่ ไม่รู้จักโลกอีกโลก หนึ่ง ที่ต่างจากโลกที่เป็นสามัญ สัตวโลกชนิดไหนก็อยู่ในโลกนั้น เพราะฉะนั้น ผู้ที่พิจารณา เห็นโลก หมายความว่า ต้องเห็นทั้งสองโลก เห็นทั้งสองอย่าง รู้แจ้งในโลกที่คนหมกอยู่ คนเขลา เราก็เคยเขลา เราก็เคยโง่ แล้วเราก็ได้หมกมานาน แล้วดุจบุคคลเห็นฟองน้ำ เห็นพยับแดด อันนี้ก็เป็นประโยค อันหนึ่ง บอกว่ามัจจุราช ย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลก ดุจบุคคล เห็นฟองน้ำ เห็นพยับแดด มันเป็นเรื่องไร้สาระ ฟองน้ำ พยับแดด ไม่มีแก่นสาร ไม่มีสาระ ไม่มีประโยชน์ คุณค่า เนื้อหาอะไร เพราะฉะนั้น มัจจุราชย่อมไม่เห็น ก็หมายความว่า ไม่มีตายมีเป็น

ผู้ที่พิจารณา เห็นโลกอันนั้นแล้วก็ปล่อย ก็วาง ก็ละ เสร็จแล้วก็มีประโยคต่อมาว่า ท่านทั้งหลาย จงมาดูโลกนี้ โลกนี้ก็คง อะยัง โลโก นี่แหละ อันวิจิตร เปรียบด้วยราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ พวกผู้รู้ หาข้องอยู่ไม่ เมื่อเช้าขยายความไปแล้ว นี่ทบทวน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ไม่รู้ ก็หมก ถูกหมกอยู่ ผู้รู้ก็ชวนกันมาดู แล้วมาดูโลกไหนล่ะ ดูโลกที่พวกคุณ หรือว่า ใครพวกชาวโลกๆ ที่เขาอยู่นั่นแหละ โลกที่บอกว่า วิจิตรเสียด้วยนะ เปรียบด้วยราชรถ เสียด้วยนะ ที่พวกคนเขลา หมกอยู่นี่ วิจิตรมากมาย หลากหลาย พิสดาร วิจิตรพิสดาร เปรียบด้วยราชรถเชียว เปรียบ ด้วยราชรถเลยทีเดียว

ที่เมื่อเช้าก็ขยายความไปแล้ว รถมีคนมาท้วงเหมือนกันว่า เอ๊! รถคำนี้มันถูกหรือเปล่า ระถะ รอ ถอนี่ มันน่าจะเป็นรส ระสะ เพราะระชะนี่ คือ รสที่น่ายินดี ระชะมันมีรสของโลกียรส น่ายินดี แล้วคนก็ติด ระชะแปลว่า ความยินดี ติดยึด ความยินดี ในระชะ ราชะนี่มาจากคำว่าระชะ นั่นเอง มาจากรากศัพท์ระชะนั่นเอง อาตมาก็เห็นประโยคนี้ และคำนี้มาก็ในพระไตรปิฎกแล้ว แล้วก็เป็นรอถอ ไม่ใช่ รอสอ ระถะ รถเป็นพาหนะ รถจึงคือพาหนะ เพราะฉะนั้น ราชรถ จะเข้าใจ เป็นภาษาตื้นๆ เป็นรูปธรรมก็เห็นเป็นรถที่นั่ง เป็นล้อ ล้อมันวิ่ง แล้วคนก็ขึ้นไปนั่ง นั่งแล้วผู้นั่ง ก็หลงใหลได้ปลื้มกับสิ่งนั้น ยินดี ในนามธรรม แล้วก็เป็นพาหะ ไม่มีลูกล้อหรอก แล้วมันก็เป็นพาหะ พาหะที่เขาจะเอาความหมายของราชรถ ในความหมายของโลกก็ชัด ว่าเป็นราชรถ นี่หมายถึงสิ่งที่ แหม เรียกว่าน่ายินดี น่าหลงใหล เป็นศักดิ์ เป็นศรี หรือเป็นที่ ล่อหลอก ล่อหลงใหล อะไรได้ทีเดียว คนหลงใหลได้ดีเชียวนะ เพราะฉะนั้น จะเป็นพาหะก็ดี จะเป็นรถ ก็ดี หรือเป็นสิ่งที่น่ายินดีนั้นน่ะ เป็นโลกียรสนั้นก็ตาม ราชรถ ก็หมายความเอา อย่างโลกๆ ที่ติดว่า มีศักดิ์มีศรีของโลกๆ ที่พวกคนเขลาไม่ยอมออกไป เหมือนหนอนไม่ยอม ออกจากขี้ เทวดามาทักว่า "หนอนเอ๊ย! เลิกเสียเถิดกินขี้น่ะ เจริญงอกงามกว่านี้เถิด" หนอนก็บอกว่า "เทวดาหน้าโง่ ไม่รู้จักของอร่อย" ฉันใด เขาก็หมกอยู่กับสิ่งที่เป็นโลกียะ อันวิจิตร เปรียบด้วยราชรถอย่างนี้แหละ เขาก็หลงใหลว่า เป็นสิ่งวิจิตร หลงใหลว่าเป็นราชรถ จงมาดูโลกนี้ โลกอย่างนี้กันให้ได้ อาตมากำลังทำหน้าที่อย่างนั้น

ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ แล้วสอนให้ศึกษา ไม่ใช่สอนให้หนี จงมาดูโลกนี้ นี่สอนให้ศึกษา ให้รู้เท่าทัน แล้วให้หลุดพ้นออกมาให้ได้ อย่าไปจม ไปหมกอยู่ ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ โดยภาษาแล้ว เหมือนกับวิ่งหนี แต่โดยลึกซึ้งแล้ว ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ ก็หมายความว่า แม้จะอยู่กับโลกียะอย่างนี้ ก็ไม่ติด ไม่ข้อง ไม่ติด ไม่ดูด ไม่ซึม เหมือนน้ำกับใบบอนที่อาตมาเคยอธิบายให้ฟังแล้ว เพราะว่า คนที่เป็นโลกุตรบุคคลแล้วนี่ ลุยโลกียะ ลุยความเปื้อน แต่ไม่ดูดซับ ดูดซึมความเปื้อน ความเปื้อนไม่ติด ไม่ติดโลกุตรบุคคลลุยมีได้ เพราะฉะนั้นคำว่า ไม่ข้องอยู่ หรือหาข้องอยู่ไม่ นี่ก็นัยะอย่างนี้ ไม่ใช่ต้องวิ่งหนี ก็ผู้ใดยประมาทแล้วในกาลก่อน ในภายหลัง ผู้นั้นย่อมไม่ ประมาท เขาย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆฉะนั้น ขยายความ ผู้ใดประมาทแล้ว ผู้นั้นก็มาได้รับซับทราบ แม้การก่อนนี้ได้ประมาท พอภายหลังในภายหลัง ผู้นั้นย่อมไม่ประมาท ไม่ประมาท เพราะฝึกหัด ฝึกฝนอบรม เขาย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ยังโลกนี้ ให้สว่าง หมายความว่า ทั้งตัวเราก็สว่าง รู้เท่าทันโลกนี้ ทั้งทำให้คนในโลกนี้สว่างด้วย ยังโลกนี้ ให้สว่าง ยังสัตว์โลกนี้ในโลกนี้ให้สว่าง เพราะฉะนั้น ภาษานี้ได้ทั้งสองนัยสองด้าน ย่อมยังโลกนี้ ให้สว่าง ตนเองเกิดญาณปัญญารู้เท่าทันโลกนี้ ทั้งทำให้โลกนี้สว่าง เหมือนพระจันทร์ พ้นแล้วจากเมฆ ทำให้โลกนี้ มันไม่มืดไม่บอด

ผู้ใดมีดวงตา ยังโลกนี้ให้สว่าง ผู้นั้นช่วยสอน ช่วยแนะ ช่วยชี้ ช่วยนำพา ช่วยให้เกิดญาณ สว่างขึ้นมา แล้วก็รู้เท่าทันตาม เสร็จแล้วก็ล้วนแล้วแต่มีผู้สว่างทั้งนั้นอยู่ในโลกนี้ โลกนี้ก็เลย สว่างไปหมดเลย ไม่ใช่โลกมืด เรียกว่า ยังโลกนี้ให้สว่าง

ผู้ใดทำกรรมอันลามก ผู้นั้นย่อมปิดเสียได้ด้วยกุศล ในวงเล็บก็ว่าละ คนนั้นก็ปิดเสียได้ด้วยกุศล เพราะฉะนั้น ผู้ใดทำกรรมอันลามก ผู้นั้นก็จะต้องละ เลย อ้า! ใช่ ผู้นั้นละ หรือผู้นั้นเลิกเสียได้ เลิกไอ้สิ่งที่ลามกนั้นได้ด้วย "กุศล" ผู้ใดทำกรรมอันลามก ผู้นั้นย่อมติดหรือละเสียได้ด้วยกุศล บุคคลนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น

ผู้ใดได้เคยชั่ว เคยเลว เคยลามก เคยไม่ดีไม่งามมา ถ้าแก้ไขปรับปรุงตนเองด้วยกุศลได้ ก็เหมือน กับพ้นมาจากโลกมืด ย่อมยังโลกนี้ ให้สว่าง อย่างที่อาตมาอธิบายแล้ว เหมือนพระจันทร์ พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น

โลกนี้มืดมน ในโลกนี้น้อยคนที่จะเห็นแจ้ง สัตว์ไปสวรรค์ได้น้อย ดุจนกพ้นจากข่าย ฝูงหงส์ ย่อมไป ในทางพระอาทิตย์ ท่านผู้เจริญอิทธิบาทดีแล้ว ย่อมไปในอากาศด้วยฤทธิ์ นักปราชญ์ ทั้งหลายชนะมารพร้อมทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมออกไป จากโลก นี่ ท่านให้พ้นโลก ออกจากโลก ถ้าเข้าใจโลก คำว่าโลกนี่สำคัญมากเลย ถ้าไม่อย่างนั้น เราจะอยู่เหนือโลก หรือว่า อยู่กับโลก ได้ยาก เพราะฉะนั้น เราจะอยู่กับโลกได้อย่างไม่ยาก และอยู่กับโลกได้อย่าง ไม่ติด ไม่ดูด ไม่ซับ ไม่ซึม อยู่กับโลกได้อย่างช่วยให้โลกนี้เป็นสุขสงบ สันติ สว่างไสวด้วย จะเป็นคน อย่างไร จะเป็น คนมืดๆ อยู่กับโลกอย่างหมก ไม่รู้เรื่อง มืด ไม่เข้าใจ ดิ้นก็ไม่หลุด จมๆๆๆ อยู่อย่างนั้นแหละ ไม่หลุดพ้นสักที คนในโลกเขาไม่พูดกันหรอก ภาษาพวกนี้ คนในโลก มีแต่คนนอกโลก อย่างพวกเรานี้แหละพูด นี่อย่าหลงล่ะ เขาพูดอย่างนี้ ฉันออกนอกโลกได้แล้ว แต่ที่แท้ "ฝันไป" ตัวเองยังจมอยู่กับโลกนี้อยู่ ภาษาก็ยากในตัวมันบ้าง อาตมาก็พยายามอธิบายให้ฟัง ก็คงไม่ยากนัก

อันนี้ก็ไม่ต้องขยายความก็ได้ว่า โลกนี้มืดมน ในโลกนี้น้อยคนที่จะเห็นแจ้ง สัตว์ไปสวรรค์ได้น้อย ดุจนกพ้นจากข่าย นกที่หลุดพ้นจากข่ายได้นั้น เหมือนกับไปสวรรค์ที่แท้มันมีน้อย ฝูงหงษ์ย่อม ไปในทางพระอาทิตย์ นั่นก็เป็นสำนวนนะ ผู้ที่ตาดี ก็ไปหาผู้ที่เจริญ ผู้ที่ยิ่งใหญ่ พระอาทิตย์ ถือว่ายิ่งใหญ่ เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นฝูงหงส์ ไม่ใช่นกธรรมดา นกชั้นสูง นกชั้นดี ก็จะต้องหา ทิศทางที่ควรจะไป เพราะฉะนั้น ผู้ที่เจริญอิทธิบาทดี ผู้ที่เจริญอิทธิบาท ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา อาตมาเคยเน้น อิทธิบาท ๔ มันสำคัญในมนุษย์ ถ้าผู้ใดไม่มีอิทธิบาท ๔ นี่ยาก

อิทธิบาท ๔ มี
๑.ฉันทะ
๒.วิริยะ
๓.จิตตะ
๔.วิมังสา

ตัวฉันทะนี่สำคัญมาก จิตคุณไม่ชอบ เรียกว่าไม่ใช่ฉันทะแล้ว ตรงข้าม ไม่ยินดีแล้ว ยากแล้ว เพราะฉะนั้น อิทธิบาทที่จะมีฤทธิ์ บทบาทมีฤทธิ์ใน การดำเนินการ ฤทธิ์แห่งการพัฒนา ฤทธิ์แห่งการงาน ฤทธิ์แห่งการกระทำ ฤทธิ์แห่งอะไรที่มันจะเกิดสิ่งที่ดำเนินไปนี่ คติ คโต ก็ตาม ที่มันจะต้องเกิด หรือ เป็น พัฒนาขึ้น เจริญขึ้น ถ้าไม่มีความยินดีนี่ยาก ทีนี้มันจะยินดีได้อย่างไร มันจะยินดีได้ด้วยเราจะต้องเกิดความเห็น ความเข้าใจว่า โอ้! ไอ้นี่มันดี มันน่าได้น่าเป็นหนา การมาเป็นคนรวยนี่ ไม่น่าได้ไม่น่าเป็น มาเป็นคนจนนี่มันน่าได้น่าเป็น นะ อะไรวะ จะให้จิต มายินดี ในความเป็นคนจน มันจะเป็นได้อย่างไร ใช่ไหม โลกคนในทิศทางที่มีความรู้สึกจริงๆ นี่ซี ใจนี่ แล้วก็ความเห็นผิดนี่ เพราะมันต้องเห็นว่า รวยซีดี มีเงินมากๆ มีทรัพย์ศฤงคารมากๆ ซีดี พอฟังอย่างนี้แล้ว มันก็ไม่เห็นด้วย ไม่ยินดีละ

ทีนี้เมื่อคุณฟังแล้วได้รับเหตุผลโน่นนี่ๆอะไร เข้าใจอย่างมาก เชื่อตาม เชื่อ ฟังเหตุผล ฟังอาตมา บรรยาย โอ้โฮ! ยอดนักหลอกเลย หลอกให้มาจน มาจนดีกว่ารวยนะ แต่ก่อนแต่ไรก็เชื่อเขามาว่า รวยนี่ดีกว่าจน ตอนนี้มาฟังอาตมาพูด บอกว่า จนดีกว่ารวย แนะนำเหตุผลพานำพาทุกอย่างๆ คุณก็เชื่อด้วยโวหาร เชื่อด้วยบัญญัติ เสร็จแล้วก็มาพากเพียรกระทำตาม ใจมันยังไม่ยินดีตาม จริงหรอก ใจมันยังไม่เกิดฉันทะจริงๆหรอก คุณก็มาฝืนทำไป อิทธิบาทก็อูย! อืดอาดๆ มันไม่อิทธิบาทหรอก ยาก ใช่ไหม ฝืน

แต่ถ้าคุณเกิดญาณปัญญา เกิดความเห็นแจ้งที่มีปัญญา ที่มีปัญญินทรีย์ มีความเข้าใจที่ลึก จากความเห็นธรรมดาง่ายๆ เป็นปัญญา เป็นปัญญินทรีย์ ลึกเข้าไป อื้อฮือ! ชัด! จริง แน่ มีละเอียดทั้งเหตุผล ยิ่งได้ปฏิบัติ ประพฤติ พิสูจน์แล้ว ลดละลงไปได้อีก เอ้อ จนมานี่มันดี อย่างนี้นะ มีหลักฐานยืนยัน มีสิ่งที่ได้ประพฤติประกอบแล้ว แล้วก็เห็นจริง แล้วก็จิตเกิดจริงๆ เลยว่า ฉันทะมันเป็นเจตสิกนะ ฉันทะเป็นเจตสิกอยู่ในจิต มันเป็นจิตตัวใหม่ จิตตัวเกิดมาแล้ว เออ มันเกิดตาม มีตัวเกิด มีจิตเกิด มีโอปปาติกโยนิ ตัวโอปปาติกะ คือจิตวิญญาณ มันเกิด จริงๆนะ ไอ้ตัวที่เลวตาย ไอ้ตัวที่เข้าใจใหม่เกิด เกิดมาแทน ไอ้ตัวที่เลวนั่นอ่อนแรง ไอ้ตัวที่ เข้าใจผิดนั่นอ่อนแรง ไอ้ตัวที่เข้าใจถูกเกิดจริงๆ มีสภาวะเกิดจริงๆ มันมีของจริงอย่างนั้น จริง คุณก็จะฉันทะจริง จิตมันจะไม่ต้องไปบังคับมัน ไม่ต้องไปฝืนหรอก มันยินดี

เหมือนแต่ก่อนนี้ เรายินดี เห็นเงินกระโดดเข้าใส่ เดี๋ยวนี้ เห็นเงินไม่กระโดดเข้าใส่ ให้ไปเราจะได้ อย่างนี้ เป็นคนจนๆ เอาแจกจ่ายไป เราจะได้จนๆ มันจะยินดี โดยไม่ต้องบังคับ โดยไม่ต้องฝืน เพราะฉะนั้น เราจะทำอย่างไร ให้เกิดทิฏฐิ ทำให้เกิดฉันทะ ทิฏฐิโตมาเป็นญาณ เป็นปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาผล ศรัทธาความเชื่อ จะเชื่อเป็นศรัทธา ศรัทธินทรีย์ ศรัทธาผล ศรัทธาพละ จริงเกิดจริง ธาตุศรัทธาเป็นเจตสิก ธาตุปัญญาก็เป็นเจตสิก ธาตุตัวนี้ไม่ใช่ ท ทหาร สระอา ส เสือน่ะ ธา-ตุ ธ ธง สระ า ต สระ อุ ธาตุ ปัญญา ธาตุศรัทธา เป็นธาตุๆหนึ่ง ธาตุนามธรรม ในจิต ในเจตสิก เจตสิกธาตุมันจะเกิดจริงๆ เป็นธาตุ ธาตุแท้ๆ ของวิญญาณ มีจริงเป็นจริง เกิดจริง มันเกิดอย่างนี้จริง มันจะเกิด มันศรัทธา เป็นศรัทธินทรีย์ เป็นปัญญินทรีย์ขึ้นมาจริงๆ มันจะก่อให้เกิดฉันทะ

ถ้ามันจะพลิกกลับมาเป็นยินดีในเห็นแท้จริงๆ แล้วเข้าใจมีของรองรับ มีสภาวะรองรับ คุณจะเกิด สภาพนั้น ฉันทะมันเกิดจริง มันจะไม่ฝืนมาก มันยินดี เพราะฉะนั้น เราได้แต่ท่องกัน ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ก็ท่องไปเถิด เรียนจบนักธรรมเอก จบเปรียญ ๙ จบอะไรเรียนไป เยอะแยะไป แต่ไม่เคยทำให้ฉันทะเป็นความจริง อิทธิบาทจึงไม่มีจริง เมื่อยินดี ดี ยินดีมันมีพลัง มีฤทธิ์ มีตัวจริง มีคุณภาพสูง วิริยะจิต ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา วิริยะก็ง่ายขึ้น ความที่จะเพียร ก็ง่าย แต่ถ้าเผื่อว่า ฉันทะมันยังไม่เป็นตัวจริงนะ คุณต้องเติมตัวเพียรให้เยอะๆ ดันให้มันเพียร ขยัน อุตสาหะ ดันเข้า พยายามเข้า จะฤทธิ์แรง ที่จะต้องให้ปฏิบัติ เพราะฉันทะ มันนำ มันยังไม่เป็นตัวจริงเท่าไหร่ วิริยะหนัก แต่ถ้าฉันทะเป็นตัวจริง วิริยะเบา วิริยะไม่ต้อง... ไปแล้ว ก็มันยินดีน่ะ ...จะไม่ อยู่แล้ว ถ้ามันยินดีมากๆ

เหมือนอย่างอาตมานี่ มีฉันทะจะแสดงธรรม ห้ามไม่อยู่เลย ตอนนี้ วิริยะ ง้ายง่าย วิริยะขึ้น มันง่าย หลายท่านบอกว่า โอย! อย่าเอาเราขึ้นมาแสดงธรรมเลย แสดงก็เก่งเหมือนกันหนา บางรูป บางท่าน ขึ้นมาบ่นทุกที อื้อ! มันไม่อยากแสดงเลย ไม่อยากแสดงเลย แหม! มันเบื่อ มันหนัก มันยาก ขี้เกียจอะไรกันนักหนา บางคนก็อยากแสดงนะ อยากแสดงธรรม เมื่อกี้มีคน มาขอแสดง บอกให้ผมแสดงเถิด พ่อท่านพักเถอะ ยังมีคนมาขอแสดง บอกคุณหยุดเถอะ ผมแสดงเอง อ้างเหตุผลว่า อาตมาเสียงแหบ เมื่อกี้ก็มี มันแล้วแต่ใครจะฉันทะ ถ้าฉันทะแล้ว มันก็จะยินดี มันเห็นคุณค่า เห็นประโยชน์ บางคนก็อยากแสดง บางคนก็อยากทำ บางคนก็ อยากได้ อยากเป็น อยากได้อย่างนั้นๆ นัยที่อยากได้ อยากเป็น อยากมี เอาไปอธิบายเชิงโลกก็ได้ อยากได้เงิน มากๆ ฉันทะ แหม เมื่อยไม่ค่อยเป็นเลย ใครห้ามไม่ค่อยหยุดเลย ขยัน วิริยะ มันบอกแล้วว่า มันง่าย วิริยะมันเพียรง่าย เอาๆๆๆๆ ฉันทะก็มันยิ่งมีช่องทางด้วย ยิ่งได้ด้วย สมอกสมใจด้วย

โอ้โฮ! ยิ่งทำยิ่งรวย ยิ่งทำยิ่งได้ เพราะฉะนั้น คนที่ร่ำรวยเป็นกระฏุมพี เป็นเจ้าของธุรกิจ บริษัท สำนักงานสองร้อย สามร้อย สี่ร้อยนี่ พวกนี้เมื่อยไม่ค่อยเป็นหรอก มีฉันทะ เพราะมีทิฏฐิเห็นว่า อูย! ยิ่งรวยยิ่งได้มากๆ ดีละกระมัง สมใจ มันยิ่งประสบผลสำเร็จในชีวิต แล้วก็เอามายกย่อง เชิดชูกันอย่างไรๆในโลก ในสังคม ทั้งๆที่ต้องไปขยัน อย่างนั้นจริง เขาขยันจริงก็เท่าที่คนๆ หนึ่งขยัน แต่มันจะขยันไปกอบโกย ทำด้วยแรงของตัวเองมากอะไร มันมีสภาพฉ้อฉล ซับซ้อน มีวิธีการ ที่จะให้คนอื่นมาเป็นลูกน้อง ถ้าลูกน้องนั้นมาทำงานแล้วก็ได้ค่าเท่ากับ ที่ควรจะได้ไป สมมติ ให้เป็นหัวหน้าใหญ่ มีลูกน้องร้อยคนมาช่วยงาน แล้วเขาก็ได้ค่าเท่าที่ควรจะได้ ไปหมด มันจะเหลือให้นายรวยหรือ

ถ้ายิ่งลูกน้องนั้น เอาเกินกว่าค่าที่ควรจะได้ ลูกน้องมันขี้โลภ ตัดหน้า นายไปใช่ไหม นายก็จน ยิ่งมีมากคนก็ยิ่งจนลงๆ มันจะรวยได้อย่างไร ใช่ไหม เพราะฉะนั้น นายจะต้องมีหัวฉลาด เถอะ ไอ้ลูกน้องมันทำเสียเหลือเกิน ค่าไว้ให้ข้าเหลือเกิน ค่าที่สมมติ หรือยุติธรรม ใช่ไหม เอ็งทำให้ข้า แต่เอ็งจะต้องมีส่วนที่เอ็งทำนั่นแหละเหลือเกินไว้ให้ข้า นายหรือ คนหัวหน้านี้ จึงจะรวยใช่ไหม แล้วเอาเปรียบไหม แล้วมันจะไม่รวยได้อย่างไร ฟังเหตุผลแค่นี้ก็ชัด เพราะฉะนั้น จะบอกว่า ฉันขยัน ที่จริง ขยันคนเดียวได้แค่ตัวเองขยัน ตัวเองไปอาศัย แรงงานคนอื่น อาศัยบทบาทคนอื่น แล้วคนอื่นหาให้เอ็งน่ะ เอ็งเอาเปรียบเขาน่ะ เพราะฉะนั้น เอ็งไม่บาป ไม่มี ใช่ไหม

อาตมา พยายามวิเคราะห์ วิเคราะห์ๆ ลงไปเรื่อยๆ ฟังไปเรื่อยๆ จะเข้าใจหลัก เข้าใจสัจธรรม เรื่อยๆ เพราะฉะนั้น คนที่เห็นอย่างนี้ เขาก็ขยัน เขาก็อุตสาหะ เขาก็ฉันทะ เขาก็เห็นว่า เขารวยมากๆ เขาพอใจ แล้วอาตมามาต่อต้าน แบบนี้มันบาป อาตมายืนยันว่า อาตมาพูดสัจจะ อย่างนี้เป็นหนี้บาป เพราะเอาเปรียบ เป็นหนี้ เพราะเอาเปรียบ ไม่ได้บุญหรอก เพราะฉะนั้น ทิศทางนี้ ไม่ใช่ทางสวรรค์แท้ อย่ามาอ้างเลย ว่าเราหางานให้คนทำงาน คนก็ทำให้คุณได้ ส่วนเกิน ส่วนสัดของคนเหล่านั้นใช่ไหม อย่ามาทำเป็นพูดหน่อยเลย เพราะฉะนั้น คุณก็ทำให้ ระบบนี้ แหละในสังคม ก็ต่อเนื่องยาวยืดมากมายก่ายกอง มีกี่บริษัท มีกี่เครือข่าย มันก็ยิ่งหนัก มาคนละเท่านั้น เท่านี้ๆๆๆ ยากจนมา แล้วมันก็มากองรวม เป็นหัวยอด หัวยอดนี่แหละ แล้วกลายเป็น มหากระฏุมพี ไม่ใช่เศรษฐีนะ มหากระฏุมพี โอ้โฮ! มีทรัพย์สิน มีเงินทอง มีรายได้ มหาศาล มีเรียนกันอยู่ในโลกทั้งโลกนี่แหละ ก็ระบบดังนี้ ทุนนิยมอย่างนี้แหละน่ะ

นี่ก็ขอวิเคราะห์แซมนิดหน่อย เรียกว่าอธิบายไป อธิบายมาก็ขอตบสักพัวะเถอะ ภาษาอาตมา อาตมาต่อต้านพวกนี้ มันทำให้สังคมไม่สุข มันแย่ง มันเบียดเบียน มันเอาเปรียบ เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่า เรามาลด มาเข้าใจจริงๆ มาลดละเสียแล้ว มาทำตนเองให้เป็นผู้ที่อยู่ในสัจธรรม กินน้อย ใช้น้อย ก็พอ มากินแค่นี้ ใช้แค่นี้ ไม่ใช่ติดโลกียะสุขมาก เพราะฉะนั้น ก็ไม่ต้อง เปลืองมาก มันก็ไม่ต้องมีมาก ของที่จะต้องไปแลกเปลี่ยน ยิ่งไม่ต้องติดอะไรพวกนี้เลย มีแต่สาระในชีวิต กินก็เพื่อให้ยังขันธ์อยู่ได้ นุ่งห่มก็กันร้อนกันหนาว กันแมลงสัตว์กัดต่อย กันอุจาด ไม่ต้องไปพิถีพิถัน ไม่ต้องไปสวยไปงาม ไม่ต้องไปเบ่งไปข่มอะไร มีพอสมควร จะขาด จะปะบ้าง ก็ไม่เสียศักดิ์เสียศรีอะไรได้อะไร อย่างนี้เป็นต้น คนพวกนี้ก็ไม่เปลืองไม่ผลาญ ไม่ต้องไปเอามาก ใครจะเลี้ยงจะดูไว้ก็ง่าย เสร็จแล้วไม่ต้องไปกังวล ไม่ต้องห่วง

อาตมาไม่ห่วงนะเครื่องแต่งตัว เสื้อผ้า ใครไม่ให้นุ่งก็จะเปลือยมันแล้ว ใครไม่มาช่วยไว้ ก็จะเปลือยมันน่ะ กินก็ไม่ห่วง ใครไม่ให้กิน ก็นั่งมันอยู่อย่างนี้ แห้งลงๆๆ ประเดี๋ยวก็ตาย แต่ใครเห็นว่า ไม่ได้หรอก อย่าเพิ่งตาย ตายไม่ได้ ต้องเอามาให้กิน ให้กิน ก็กินให้ กินให้เพื่อ เราจะได้อยู่ เมื่อเราอยู่ เราอยู่ทำไม อยู่ก็เพื่อสร้างสรร เพื่อที่จะให้เกิดมากๆขึ้น เพื่อส่วนรวม เพื่อส่วนกว้าง ไม่ใช่เพื่อเรานะ แน่ใจ แน่ชัด ว่าเราไม่ได้ทำเพื่อเรา เรายินดีที่จะจน จนแล้วก็ ไม่จน เพราะคนอื่นจะต้องมาสนับสนุน ดีไม่ดีก็บอก ท่านเอาเงินไปสักล้านเถิด ก็เราไม่ต้องการ น่ะ ไม่ให้ท่านหรอก ให้ท่านเอาไปทำงาน เป็นทุนรอน มาใช้เรานั่นเอง การมาให้เงินอาตมา นี่มาใช้อาตมา เพราะเงินนี้ เราไม่ได้เอามาซื้ออะไรเสพ บำเรอตน เงินนี้ถ้ามีมา เราก็เอามา จะเอามาใช้อะไร มาสร้างสรรอะไร แล้วจะเอาไปเกื้อกูล หรือจะให้มนุษย์เจริญงอกงาม อยู่เย็น เป็นสุขอย่างไร ใช้ให้เป็น ใช้ทุนพวกนี้ให้เป็น

คนเขาเชื่อมือเรา เขาก็เอามาให้ คนไม่เชื่อมือเรา ก็ไม่ค่อยอยากได้ โอ้! คนนี้ใช้ไม่เป็น ให้เป็นล้าน ก็ปู้ยี้ปู้ยำทิ้งหมด เสียหาย ไม่เกิดคุณค่าต่อสังคมมนุษยชาติ เขาก็ไม่อยากให้ แต่ถ้าเขาเชื่อ มือเรา เขาก็ให้ เรายิ่งไม่โกง ยิ่งไม่กิน ไม่มีคอร์รัปชั่น ไม่มีคอมมิชชั่น ไม่มี ใช้เงินให้ อย่างมีปัญญาด้วย ว่าแม้น้อย ก็ยังใช้ให้ประโยชน์เยอะ ประโยชน์ได้มหาศาล ประโยชน์ได้ กว้างขวาง ประโยชน์ได้วิเศษ ไม่ใช่น้อย

อโศกเราอยู่ในหน่วยนี้น่ะ เงินเราสะพัดมาเป็นทุนไม่มาก แต่เราใช้ประโยชน์ได้เป็นเนื้อหา แก่นสารเยอะ นอกจากจะไม่มีคอร์รัปชั่น คอมมิชชั่นกันแล้ว เงินเราก็ใช้ได้ประสิทธิภาพ แล้วรู้ว่า จะใช้อะไร จะสร้างอะไร จะรังสรรค์อะไรตามกาล เทศะ ฐานะอันเหมาะควร ทำแล้วมันได้ ถ้าได้จนคนเขาไม่เชื่อว่า เราไม่มีทุนหนุนหลังได้จน เพราะเขาเคยแต่ว่า ให้ทุนนี้ไปทำ เสร็จแล้ว มันก็ได้ผล ออกมาขนาดนี้ มันรั่ว มันซึม มันไม่ประณีต ไม่ประหยัด มีสมรรถภาพ อะไรแค่ไหน ก็แล้วแต่ ดีไม่ดีมันเลวร้ายจนกระทั่ง มันมีคอร์รัปชั่น และมีคอมมิชชั่น ไปตั้งเยอะ เพราะฉะนั้น เงินนั้น ส่งผลสร้างสรรออกมาได้ค่าเฉลี่ยแล้ว ในค่าเฉลี่ยของสังคม เพราะว่าชีวิตมนุษย์ ในโลกนี้ อย่างเก่งมันได้ทุนขนาดนี้ไปสร้างสรร มันก็จะได้ผลงานออกมา เท่านั้นแหละ นี่ตามค่า เรียกว่า ค่านอร์มอล ค่าปกติ คนเขาก็เคยอย่างนี้ จะเป็นนักปัญญาชนอะไร เขาก็จะมีความรู้สึก อย่างนี้ ค่าปกติ ได้ขนาดนี้ ไอ้ที่รั่วที่ซึม ไอ้ที่สูญที่หายตามวิสัยของคนโลกๆ ที่มันยังโลภ ยังแอบ ยังแฝง แม้แต่ขี้โกง ก็ยังไปอย่างนี้ มันจะได้จริงออกมาเช่นนี้

แต่ของชาวอโศกเรา ไม่ กลับใช้ค่าสร้างสรร ได้มากกว่านั้น ก็เลย ค่าของมันก็เกินนอร์มอล เกินปกติ ค่าเฉลี่ยที่เขาประมาณไว้แล้ว มันต้องเท่านี้ มันเกิน เขาก็บอกว่า ไม่เชื่อ ไอ้นี่ มันต้อง มีทุนมากกว่า เขาก็คำนวณย้อนว่า ผลออกมาเท่านี้ ย้อนมาไปหาทุน มันต้องมากกว่านี้ แล้วเรี่ยไร มันก็ไม่เรี่ยไรอะไร แล้วมันก็ไม่อะไร แล้วมันชวนขายสินค้า ก็ค้าราคาถูกๆ อะไรต่างๆ แล้ว มันจะไปหามาจากไหน เป็นเงินก้อนๆ เกิน ต้องมีทุนมากกว่า เอามาสร้างผล ขนาดนี้ เขาวัดค่าผลแล้วว่า ย้อนหาต้นทุน ไม่เชื่อ เอ็งต้องมีทุนหนุนหลัง โดย ปกปิด

อาตมาเข้าใจเขา และเห็นใจเขา อย่างนี้ ที่จริงละเอียดกว่านี้น่ะ ถ้าจะอธิบายความซับซ้อน ในเรื่องนี้ แต่อธิบายขนาดนี้ คนที่มีปฏิภาณ ฟังไว้ก่อน ถ้ามีเวลามากกว่านี้ ก็จะอธิบาย มากกว่านี้ เพราะฉะนั้น อาตมาถึงไม่โทษเขาหรอกว่า ที่เขามาว่าเรา ว่ามีทุนหนุนหลัง มีอะไร ต่ออะไร ไม่โทษเขาหรอก เรารู้อยู่ว่า เรามีหรือไม่มี เราจริงใจ หรือว่าจริงจัง เรารับเงินยากกว่า ทุกคนเสียด้วยซ้ำไป จริงๆของเราเป็นอย่างนั้น ใครจะเชื่อไม่เชื่อก็แล้วแต่ หรือใครจะนึกว่า อาตมาหาเวลาชั่วโมงที่ ๒๕ แอบไปพบกับนายทุน เพราะคอยสังเกตแล้ว ๒๔ ชั่วโมง ไม่มีเล็ดลอด สายตาเลย โอย! อยู่ในสายตา ๒๔ ชั่วโมง แต่ไอ้ชั่วโมงที่ ๒๕ นี่ซีไป ก็วันหนึ่งมันมี ๒๔ ชั่วโมง ใช่ไหม เพราะฉะนั้น เมื่อ ๒๕ เล็ดลอดไปหาทุนมา ไปเจรจากับพวกทุน เอามาจน ไม่ให้คนรู้ มันย้ายจนหมดขี้หมดพุงน่ะ ชอบที่จะสงสัยนัก เพราะฉะนั้น ตามจับชั่วโมงที่ ๒๕ ของอาตมาให้ได้ ที่ไปแอบรับทุนหนุนหลังในชั่วโมงที่ ๒๕ มา ไม่ให้คนรู้

แม้แต่ปัจฉายังไม่ค่อยรู้เลย นอนข้างกุฎิสองข้างอยู่อย่างนี้ อาตมากระดิกตัวเมื่อไร ก็แทบจะ รู้สึกแล้ว คอยดูอยู่ไม่คลาดสายตา เอ! แหม ไปในชั่วโมงที่ ๒๕ นี่ ซิ ๒๔ ชั่วโมงนี่คอยประกบอยู่ ยังจับไม่ได้ ไม่มีโอกาส ไม่รู้ไปเอามาจากไหนแน่ แต่ชั่วโมงที่ ๒๕ นี่ซียังจับไม่ได้ ปัจฉาหาดีๆน่ะ หาชั่วโมงที่ ๒๕ ให้ดีๆ ว่าไปทุจริตที่ไหน อาตมาขอยืนยันว่าไม่มี เชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่

แต่มันได้น้ำได้เนื้ออย่างที่ว่านี้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น พวกคุณจะทำบุญกันที่นี่คุ้มๆ คุ้มแสนคุ้ม เข้าใจหลอกเอาเงินน่ะ เข้าใจพูดหลอกเอาเงินคน ไม่ใช่หลอก พูดตรงๆ ดื้อๆ อย่างนี้ ไม่อยากให้ ก็อย่าให้ซิ เอ้า จริงๆน่ะ ไม่อยากให้ก็อย่ามาให้ ไม่หลอกไม่เหลิกอะไร นี่ก็พูดตรงๆ พูดภาษา ตรงๆ มีหลอกอะไร ก็ว่าเอามาให้อาตมานี่ อาตมาใช้เป็น อาตมาใช้เป็นคุณค่าประโยชน์มาก ที่สุด ก็บอกแล้ว อาตมาไม่เอามาเสพ ไม่โกหกหรอก ไม่เอามาบำเรอตน ไม่เอามาสะสม ให้เป็นของตน แล้วจะใช้ปัญญา ความสามารถ ใช้เงินที่คุณให้มาแต่ละบาท แต่ละสตางค์ แต่ละเท่าไหร่นี่ ใช้ให้มีคุณค่า ให้มีประโยชน์สูงสะพัดออกไป

นี่ก็อธิบาย โอ้โฮ ออกไปห่างไปไกลใหญ่ เลยเถิดไปใหญ่แล้ว แต่ก็เป็นเนื้อที่เจาะลึกลงไป ให้ฟังบ้าง ในโลกของปรโลก กับโลกของโลกๆ นี่ มันจะรวยกัน แล้วมันจะเอาไปบำเรอ ก็ผลาญ ก็พร่า แต่ในโลกุตระนั้นจะจน ยิ่งจนคนยิ่งศรัทธาเลื่อมใส แล้วจนนี่ก็จะต้องซับซ้อนอีกว่า เอ๊ ไหนว่ามันจน ทำไมมันรวย ทำไมมันทำอะไรได้มาก ทำไมมันอะไรอย่างที่อธิบายขยายไป เมื่อกี้นี้ มันงงๆ คนเราไม่รู้จักเหตุปัจจัยที่ต่อเนื่องกันไปติดที่ไหนๆ คนก็ไม่ค่อยเชื่อได้

ผู้ที่ไม่มีภูมิปัญญา ก็ไม่ค่อยเชื่อจริง แต่ผู้มีภูมิปัญญา นี่ อาตมาขยายความให้ฟังอย่างนี้ ก็ยัง เห็นตามที่ว่านั้นได้ เพราะฉะนั้น ในโลกโลกุตระ ที่อาตมายกตัวอย่างทิฏฐิว่า เราพอใจจะจน เราจึงจะมาเป็นคนที่เดินทาง ปฏิบัติตนเดินทางเป็นหงส์ที่เดินทางไปหาพระอาทิตย์ ฉันทะ เต็มที่ วิริยะสบาย ไม่ต้องไปเข็นตัวแรงวิริยะเท่าไหร่ จิตตะ มีใจเท่าไหร่ โถมเข้าไปใส่หมดเลย ไม่มานั่งใจแหว่ง ใจเสีย ตกใจ น้อยใจ แหม ใจตกใต้ถุนอะไร ไม่มีละ ปวดใจ แสบใจ บวมใจ เน่าใจอะไรอยู่ไม่มี มีแต่ใจสด ใจเต็ม ใจเบิก ใจบาน เต็มที่เลย เพราะฉะนั้น ใจเหล่านี้ เอาไปใส่ เท่าไหร่ มันก็มีพลัง เพราะไม่ใช่ เอาใจเน่าไปใส่ ไม่ใช่เอาใจแหว่งไปใส่ ไม่ใช่เอาใจตกไปใส่ ไม่ใช่เอาใจน้อยๆไปใส่ เอาใจเต็มๆไปใส่

ใจนี้ก็มีพลัง ใจเต็มๆ เต็มใจ เอาใจใส่ นี่ เขาแปลด้วยความว่าจิตตะนี่ เอาใจใส่ก็ถูก อาตมา แปลว่า มีใจเท่าไหร่โถมใส่ไปให้หมด อาตมาแปลว่าอย่างนั้น จิตตะในอิทธิบาท เพราะฉะนั้น ในขณะที่เรายังไม่คล่องตัว จิตมันก็จะต้องพยายามเอาใจนี่ใส่ให้มากๆ พยายามนะ อย่าไปเหลาะแหละ เต็มใจให้ดีๆ อย่าไปเอาใจไปทำนิดเดียว แต่เอาไว้ที่ไหนก็ไม่รู้อีกตั้งมาก แล้วมันจะไปมีพลังอะไรล่ะอย่างนั้น เพราะฉะนั้น อิทธิบาทจะมีพลังได้จริงๆเลย จะมีพลัง มหาศาล เพราะฉันทะ เพราะวิริยะ เพราะจิตตะ ส่วนวิมังสานั้นก็เป็นตัวที่เกิด ตามธัมมวิจัย สัมโพชฌงค์ พิจารณาวิเคราะห์วิจัย ตัดสิน เลือกเฟ้น รู้จักมิจฉา รู้จักสัมมา เลือกเอากุศล เลือกเอาสิ่งที่เป็นสัมมา เลือกเอาสิ่งที่เป็นสุจริต เลือกเอาแต่สิ่งที่เป็นความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ที่ถูกทิศถูกทาง

สิ่งใดที่ไม่ดีก็ทำลายๆ ให้เก่ง ให้เป็น ก็เจริญทางท่าเดียว เพราะฉะนั้น ท่านผู้เจริญอิทธิบาท ดีแล้ว ย่อมไปในอากาศด้วยฤทธิ์ แหม สำนวนนี้ ยิ่งลึกใหญ่เลย ไปในอากาศด้วยฤทธิ์ อย่างที่ อาตมาอธิบายเมื่อกี้นี้แล้ว คนตาบอดไม่เห็นหรอกนะ ไปในอากาศนี่เหมือนเหาะลอยไป มีอำนาจพิเศษ เหมือนปาฏิหาริย์ ด้วยฤทธิ์ ไปในอากาศ ไม่ไปธรรมดา ธรรมดาก็หยาบๆ เป็นนอร์มอล เป็นสามัญ เฮ้อ! ไปอย่างนี้ ๆ คนที่มีปัญญาแค่นั้นก็รู้ได้ด้วยสามัญ ไอ้นี่มันเกิน สามัญที่จะรู้นะ มันเหมือนของว่าง มันเหมือนอากาศ มันเหมือนฤทธิ์ มันเป็นแรงที่พิเศษกว่า ธรรมดา ฤทธิ์นี่

ขอถามหน่อยเถอะว่า อธิบายไปถึงขนาดนี้แล้ว คุณว่าอโศกมีฤทธิ์ไหม เข้าใจฤทธิ์แค่ไหน นี่อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คุณฟังอาตมาพูดเสียงแหบ ก็ยังอุตส่าห์จะต้องพูดอยู่นี่ แล้วคุณก็เอาไป ปฏิบัติประพฤติ ก็เกิด ก็เป็น ก็มี แล้วก็เกิดฤทธิ์ ฤทธิ์อันนี้ไม่ใช่คุณไปบ้าๆบอๆ อย่างโลกๆเขา อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ อย่างนั้น ไม่ใช่ แต่รู้จักคำสอนแล้วคุณก็ปรับตัวมาได้จริง เป็นคนโลกุตระ เป็นคนที่เข้าใจแล้วก็ลดละ แล้วก็มาเสริมมาสาน มาเป็นมาไป มันเป็นฤทธิ์ มันเป็นของประหลาด ฤทธิ์นี่มันเกินเชื่อ เป็นปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เกินธรรมดา เกินสามัญ เกินปกติ เกินนอร์มอล มันเกินกว่าสามัญ ไปในอากาศนี่ ไปในอากาศ โอ้โฮ! ไปอย่างไร้ร่องรอย ไร้รูปหยาบ ต้นทางอยู่ที่ไหน ปลายทางมาที่ไหน ไปอย่างไรมาอย่างไร เขาก็ได้แค่เดา โอ้โฮ ไอ้พวกนี้ ไปอย่างไร มาอย่างไร เขาตามเราไม่ถูก ไม่ทัน

แต่พระพุทธเจ้าสอนเรา ทุกอย่างมาแต่เหตุ ไม่มีอะไรหรอก ไปเหาะได้โดยไม่มีเหตุก็ไม่ได้ ไปในอากาศ ไปอย่างว่าง อย่างไม่มีรูปรอย ไม่จริง ผู้ที่มีตาดีเห็นรอย เห็นเหตุ เห็นปัจจัย จากจุด เริ่มต้นไปถึงกลาง ถึงปลาย มีทั้งนั้นแหละ แต่คนที่ตาไม่ดี ไม่เห็นรูปรอย เหมือนกับลอยฟ่อง อยู่ในอากาศ ไม่มีที่หยั่ง ไม่มีที่ยืน ไม่มีที่ไป ไม่มีที่มา ย่อมไปในอากาศด้วยฤทธิ์

นักปราชญ์ทั้งหลาย ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมออกไปจากโลก ง่ายขึ้นแล้ว

อ่านต่อหน้าถัดไป

:2312J.TAP