ฟังธรรมสร้างสัมมาทิฐิ
ทำวัตรเช้า เมื่อ ๒๗ เมษายน ๒๕๓๕
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
ณ ปฐมอโศก


เราได้ศึกษากันมาเรื่อยๆ ชีวิตเราก็ดำเนินไป เป็นชีวิตที่ดำเนินไปอย่างนี้แหละประจำ ถ้าผู้ใด วางใจ หรือผู้ใดเห็นจริงแล้ว ไม่มีปัญหา ไม่มีวิจิกิจฉาอะไร ก็จะเข้าใจว่าชีวิตของเรา ดำเนินไป คตะ คโตนี่ ดำเนินไป ทีนี้การดำเนินไปของเรา ถ้ามันสัมมัคคโต สัมมัค หรือสัมมานี่แหละ สัมมา มันก็ดำเนินไปด้วยดี หรือสุคโต ดำเนินไปวันแล้ววันเล่า ตื่นเช้ามาก็มีอะไร ก็ดำเนินไป ด้วยพฤติกรรมที่เราก็ดำเนินๆไป ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ซึ่งเป็นตัวประธาน มันก็มีตัวสำนึก เป็นตัวที่เข้าใจว่า เราจะดำเนินไปอย่างไร จะพัฒนาอย่างไร อะไรจะเกิด ในขณะที่จนกระทั่ง เรารู้เท่าทันขณะ ตั้งแต่จิตคิด ตั้งแต่ให้พูด จนกระทั่งให้ออกกายกรรม กระทำออกไปรวมกัน แล้วก็ประกอบกับ การสัมพันธ์อยู่กับที่ที่เราอยู่นี่แหละ ทั้งสถานที่ ทั้งบุคคล ทั้งสิ่งที่แวดบ้อม ที่จะให้เราอาศัย ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน เครื่องใช้ไม้สอย อะไรๆต่างๆนานา ที่สัมพันธ์กับ ชีวิตอยู่ โดยมีปัญญาที่จะรู้ว่าเรามีธรรมะ

ธรรมะความหมายของคำว่าธรรมะนี่ หมายถึงทุกๆสิ่ง ทุกๆอย่าง และมีแนวโน้ม หมายไป ในทางที่ดี ที่เจริญไปสู่ความเจริญที่วิเศษ ผู้ใดมีธรรมะ ผู้นั้นเรียกว่าธรรมวิหารี เป็นอยู่ด้วยธรรม เป็นธรรมวิหารี เป็นผู้เป็นอยู่ด้วยธรรม เราก็ได้ ก็เป็นมาเรื่อยๆ ได้ธรรมะนิดหนึ่ง เราก็มีธรรมะ นิดหนึ่ง นั่นแหละอยู่ด้วยกับเขา หรือเราก็อยู่ด้วยธรรมะอย่างนั้น มีมากขึ้นจริงๆ มันเป็นความจริงกับเรา จะมีฤทธิ์มีแรง ธรรมะนั้นจะมีฤทธิ์มาก หรือฤทธิ์น้อย มันก็เป็นจริง ของแต่ละคน แต่ละคนมีเท่าไหร่ ก็พยายามที่จะใช้ พยายามที่จะให้เป็นคนมีธรรมะ จะมีฤทธิ์ มีแรงมาก มันก็จะช่วยเรา เราได้อาศัย เป็นธรรมะที่เราได้อาศัย แล้วก็เป็นการกระทำ จะเป็นการ กระทำต่อไป

การกระทำนั้นๆ จะเป็นกุศล ที่เรียกได้ว่ากุศล หรือจะว่าไม่เป็นกุศล ยังเรียกว่า ไม่เป็นกุศล มันก็เป็นจริง ตามที่เราเป็นเรามีเราได้และเราพยายามสำนึกมีมาก เราก็สำนึก สังวรมาก แล้วเราก็พยายามมาก เป็นสัมมาวายามะ ตามสัมมาสติ ตามสติที่เรามี ตามสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิคือความนำทาง ความเห็นของเรา มันนำทางเราไป แล้วเราก็มีสัมมาสติ มีความระลึกรู้ตัว แล้วเราก็พยายาม ปรับปรุงสังกัปปะ ปรับปรุงวาจา ปรับปรุงกัมมันตะ ปรับปรุงอาชีวะ ปรับปรุง ไปตลอดเวลา เท่าที่เราจะมีสำนึก สำนึกมันตกหล่น มันก็เป็นสติโลกๆ สติกัลยาณชน

ถ้ายิ่งไม่มีอินทรีย์พละ ไม่มีบารมี สติมันก็ตกไป เป็นสติแบบอันธพาล หรือสติที่เป็นมิจฉาสติ เป็นสติที่ออกนอกลู่นอกทาง ที่เรารู้แล้ว ว่าเราควรเดินทางมาทางโลกุตระ ควรเดินทาง มาทางที่ พระพุทธเจ้าพาให้มาเกิดมาเป็น เป็นคนใหม่ เป็นคนชนิดที่ไม่ใช่โลกเขาเป็นกันหรอก ไม่ใช่จริงๆ ไม่ใช่อย่างที่โลกๆ เขาเป็นจริงๆ มาเป็นคนอย่างที่พระพุทธเจ้าพาเป็นนี่จริงๆน่ะ

เราก็จะมีสติที่จะต้องระลึก เมื่อเราได้เรียนรู้ แล้วเราก็ได้ฝึกซ้อม เราได้อบรม ถ้ายิ่งเรารู้ได้จริง รู้ได้มากขึ้น มันก็จะปรับมาเป็นสติสัมโพชฌงค์ได้มากขึ้น อย่างน้อยก็เป็นสติที่เป็นสัมมาสติ กัลยาณัง เป็นสติในระดับกัลยา ถ้ามันดีขึ้น มันก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ ที่จะเป็นองค์แห่ง การตรัสรู้ วิเคราะห์วิจัย การคิด การพูด การงาน การกระทำ หรือแม้แต่อาชีพ

จะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้ เราเร่งรัดพัฒนาสัมมาอาชีพ โดยอาตมา จี้กิเลสอัตตามานะมาก จี้เริ่มกิเลสอัตตามานะมาก มากกว่าที่จะได้พูดถึงเรื่องกาม ก็รู้แล้วว่า คนเรามีกิเลส ๒ แกน เท่านั้นใหญ่ๆ แกนกาม กับแกนมานะ คืออัตตา ซึ่งเป็นแกนที่มันลึก มานะอัตตามีตั้งแต่ใน ในกามก็มีมานะอัตตาอยู่ด้วย ลึกเข้าไป แม้หมดกามราคะแล้ว หมดสังโยชน์เบื้องต่ำแล้ว อัตตามานะ มันก็ยังมีอยู่อีก แล้วมันช่วยเหลือกันนะ อัตตามานะกับกามนี่ ถ้าเผื่อว่า เราไม่ลด ไม่ละมัน มันจะช่วยเหลือกันให้กามก็มากขึ้น อัตตามานะก็โตขึ้น ถ้าเผื่อว่า มันไม่ได้ลดได้ละ มันจะช่วยเหลือกันอย่างดี

ถ้าเผื่อว่า เราลดได้ ลดกามได้ อัตตามานะก็น้อยลง ลดอัตตามานะได้อีก มันก็ไปช่วยเกื้อกูล ที่จะไปช่วยลดกามละเอียดลงไปได้อีก ก็มาช่วยลดอัตตามานะเป็นอินทรีย์พละ ที่จะลดอัตตา มานะได้เพิ่มขึ้นไปอีก เมื่อลดอัตตามานะได้เพิ่มขึ้นไปอีก มันก็จะมาเป็นอุปการะช่วยให้ลดกาม หรือว่าราคะ รูปราคะ อรูปราคะ ที่ละเอียดๆ ขึ้นไปได้อีก

ผู้ใด ถ้าเผื่อว่าไม่ลดอย่างที่ได้กล่าวนี้ ไม่เรียนรู้ทั้ง ๒ แกน แกนกามอย่างพวกฤาษี นี่นะ เขาลด แกนกามกันเก่งนะ อย่างยิ่งฤาษีไปปฏิบัติหลับหูหลับตาเลยนะ นั่ง แล้วสะกดจิต หลับหูหลับตา ปฏิบัติเป็นหลัก เป็นวิชาหลัก เป็นทฤษฏีหลัก เป็นหลักการ หลักๆที่เขาถือว่า การปฏิบัติเพื่อ บรรลุธรรม ก็ต้องนั่งหลับตาสะกดจิตนี่แหละ เป็นหลักใหญ่เลย ถ้าไม่เช่นนั้น ปฏิบัติจิตไม่ได้ การปฏิบัติจิตของเขา จะต้องเอาที่นั่งหลับตานี่ ถึงจะถือว่าปฏิบัติจิต การพูด การจา การคิด การนึก การกระทำการงานอะไร อย่างที่เราเรียนด้วยหลักมรรคองค์ ๘ เขาไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติ จิตที่แท้จริง ปฏิบัติจิตที่แท้จริง คือนั่งสมาธิ ศาสนาพุทธก็เข้าใจอย่างนี้น่ะ

เมื่อวานนี้ มีพระฮ่องกง เป็นพระจีน ที่จริงเขาเป็นจีน อยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ไม่ใช่เป็นจีนที่ ฮ่องกงหรอก เป็นจีนแผ่นดินใหญ่ บวชมาตั้งแต่อายุ ๑๑ ปี เดี๋ยวนี้ดูเหมือนจะแก่กว่าอาตมามั้ง ดูเหมือนจะ ๖๐ กว่าแล้ว ดูท่าทีไม่ได้ถามหรอกอายุ มาแล้วก็มากัน ๒ รูป กับเพื่อนอีกคนหนึ่ง แล้วก็พระไทยเขามา มาดูพวกเรา มาดูอะไรต่ออะไรต่างๆนานา ดูท่าทีเขา คงได้ข่าวได้คราว ไม่ได้สนใจว่า พวกเราเป็นพระเป็นอะไร เขาก็คงมีอัตตามานะของเขานั่นล่ะนะ ไม่ได้คารวะ เคารพ หรือว่าไม่อะไรต่ออะไร ยิ่งเป็นผู้ใหญ่ ผู้แก่ๆ องค์แก่ๆนั่น ไม่เลย สนใจที่จะมาดูงาน เท่านั้น เหมือนพวกเรา นี่ดูเหมือนจะไม่เป็นพระ เพราะว่ามันไม่ใช่สีเหลือง เขาก็ไปดูอะไร ต่ออะไร ไปดูหมู่บ้าน ไปดูพวกเรา มีชีวิตอยู่ ไปดูเขาก็เห็นว่า เป็นสิ่งแวดล้อม เขาก็รู้แล้วว่า เขาก็จะต้องมีชีวิตอยู่ คนเขาทำงาน คนมีชีวิตอยู่ จะเป็นยังไง อะไร ก็ดูเป็นองค์ประกอบ

แต่เขาก็ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องของศาสนาโดยตรง ศาสนาโดยตรง เขาก็ถือว่า การปฏิบัติจิต ปฏิบัติสมาธิ เขาก็เลยถาม ถามสุธีราชื่อใหม่ฟ้า เป็นผู้ที่นำไปเป็นล่ามน่ะ เป็นล่าม เพราะพูด ภาษาจีนกลางได้ ก็พูด ก็อธิบายอะไรให้เขาฟัง เขาก็ถาม ถามว่านั่งสมาธิ แล้วเวลาปฏิบัติละ นั่งสมาธินี่ ปฏิบัติยังไง เอาอะไรเป็นกสิณ นั่นแหละ เขาหมายความอันนั้นล่ะนะ เอาอะไรเป็น กสิณ เอาอะไรเป็น จะเอาต้องพุทโธ หรือว่า นั่งเพ่งอะไร อะไรอย่างนี้ สุธีราก็ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เรื่อง ว่าจะตอบว่ายังไง ก็บอกว่า พวกเราก็ทำงาน ก็ตอบอย่างมรรคองค์ ๘ ล่ะนะ พูดกันไม่รู้เรื่องเลย ต่างคนต่างพูดไม่รู้เรื่อง เอ๊ะ ก็ฉันก็อยากรู้ ว่าคุณไม่นั่งสมาธิ ไม่ปฏิบัติ แล้วก็ว่าเป็นวัด เป็นวา เป็นพุทธ นั่นน่ะ ทางนี้ก็ตอบของตัวเองว่า ตัวเองปฏิบัติ ตอบมรรคองค์ ๘ อันโน้นก็ไม่รู้เรื่อง ก็ถามอยู่นั่นแหละ ว่า เอา นั่งทำอะไร ตอบไม่ได้เลย สุดท้ายตอบไม่ได้ แต่รู้ว่าเขาถามว่าสมาธิ เขาถามว่าสมาธิ ตอบไม่ได้เลย อย่างนี้เป็นต้น

อาตมาก็เลยบอกสุธีราไปเมื่อวานนี้ ถ้าเผื่อว่าจะตอบใครทีนี้ก็ตอบว่า เรา ถ้าจะแค่นั้นน่ะ เขารู้ว่าปฏิบัติ อธิบายนะ ทางนี้ก็อธิบายสัมมาสมาธินี่นะ แต่ทางโน้นก็ฟังไม่รู้เรื่อง ไม่ได้คำตอบ เขาก็ว่าที่นี่ มันไม่มีสมาธิกัน มันไม่ทำสมาธิ มันไม่ได้ปฏิบัติธรรมแล้ว เขาคงเข้าใจว่า ที่นี่ ไม่ได้ปฏิบัติธรรม เพราะว่า ไม่มีหลักเลย ไม่มีปฏิบัติสมาธิเลย เขาซักไซ้ไล่เรียงแล้ว ก็คงจะได้ความว่า อย่างนั้นล่ะนะ เขาก็เข้าใจอย่างนั้นจริงๆเลยนะ

อาตมาก็เลยบอกสุธีราว่า ถ้าเผื่อว่า เขาต้องการจะรู้สมาธิอย่างที่เขาต้องการ อย่างนั้นแล้วละก็ ทีหลังบอก ได้เลย เพราะว่า เราก็ปฏิบัติใช้ลมหายใจเข้าออก ใช้อาณาปาณสติ ของเรานี่ใช้ อาณาปาณสติ ไม่ได้ต้องพุทโธ ไม่ได้ไปเพ่งเทียน เพ่งลม เพ่งดินอะไรหรอก เราก็ใช้พึ่งลม หายใจ นี่เป็นกสิณ

แล้วทางสายที่นั่งหลับตาอย่างนี้แหละ จะมีอัตตามานะมาก มีอัตตามานะมาก ดูเหมือนกาม เขาจะลด เพราะว่ากามนี่เป็นฐานต้น อธิบายได้ง่าย รู้กันง่าย เรื่องว่ามันกิเลสชัดๆ แต่อัตตา มานะนี่ จะไม่ค่อยรู้ว่าตัวเองมี ขนาดที่อาตมาเน้นกับพวกเราเรื่องอัตตามานะมามากนี่ ก็ยัง ยากเลย ที่จะรู้ตัวว่า อ๋อ อย่างนี้ เป็นอัตตาด้วยหรือ อย่างนี้เป็นมานะด้วยหรือ มันยังยากเลย เห็นไหม เพราะฉะนั้น การจะรู้อัตตา รู้มานะนี่ ไม่ใช่ง่ายนะ

พวกที่ไปปฏิบัติอย่างฤาษี ยิ่งออกป่า ออกเขา ออกถ้ำ อย่างพวกชาวอินเดีย นั่งสะกดจิตไป ดูเหมือนเขาไม่ยุ่งเลยกับโลก โลกธรรมหรือกามนี่ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข แบบโลกๆนี่ เข้าใจง่าย เขาจะเลิกล่ะ ไม่แย่งชิงลาภยศอะไรหรอก ไม่ เรื่องกามนี่ เขาก็จะพยายามสะกดอก สะกดใจ กดข่ม ด้วยวิธีกดข่มแหละ สมถภาวนา กด กดได้เก่ง กดอย่างที่เรียกว่า ไม่โงหู ไม่โงหัว ขึ้นมาเลย เหมือนมันตาย เหมือนมันดับสนิท แล้วเขาก็เข้าใจว่า มันดับสนิท แล้วเขาก็เข้าใจว่า นิพพานเหมือนกัน

สายนั่งหลับตานี่เข้าใจว่านิพพาน นิพพานโดยการนั่งหลับตานี่แหละ ไม่ใช่ว่าไม่มีผล มีผลจริงๆ นะ สะกดจิต ได้ อย่าว่าแต่แค่อายุร้อยปีตายเลย กว่าร้อยปี สองร้อยปี สามร้อยปี สะกด สะกด ได้ แล้วเขาก็จะต้องนั่งสะกดไปอยู่อย่างนั้นแหละ

ไม่เหมือนศาสนาพระพุทธเจ้า ที่ มรรคองค์ ๘ ได้แล้ว ได้เลย จบกิจแล้ว ไม่ต้องปฏิบัติอีก ไม่ต้อง พากเพียรกระทำอีก จบแล้วจบเลย ท่านถึงเรียกว่า ขีณาสพ ผู้อเสขะ ไม่ต้องศึกษาอีก ไม่ต้องฝึก เพียรอีก ไม่ต้องปฏิบัติอีก ไม่ต้องบำเพ็ญอีก สิ่งที่ถอนอนุสัยอาสวะจริงแล้วได้แล้ว เกิดด้วย ปัญญา ไม่ใช่เกิดด้วยตัวสะกด เท่านั้น แต่การสะกด สะกดด้วยจิต หรือกดข่ม หรืออะไรพวกนี้ บ้างนี้ สลัดออก หรือทำลืมๆ ชั่วคราว พวกนี้ก็เป็นอุปการะอย่างมาก ที่เราจะต้องใช้ ต้องใช้ประกอบ เพราะฉะนั้น นั่งสะกดจิต นั่งหลับตาอะไรพวกนี้ ก็ช่วยด้วย

หรือแม้แต่สมถะลืมตา เอากสิณ เอาความหมาย ของภาษาโวหาร เหตุผลง่ายๆ อะไรก็ไม่เที่ยง อะไรก็ไม่ใช่ตัวเราของเรา มาใช้ง่ายๆ ทำให้เราคลายใจ แต่ว่ามันก็คลายใจไปเแบบชั่วคราว อย่างที่บอกแล้ว เป็นการบำบัดชั่วคราว ไม่ใช่หยั่งลงไปถึง อาการ ลิงค นิมิต เห็นรูปนาม เห็นตัวอาการสภาพของกิเลส แล้วเราก็ปฏิบัติ อย่างรู้ๆ เห็นๆ กับกิเลสเลย แล้วก็บอกเหตุผลว่า ยิ่งเข้าใจด้วยปัญญาว่า เห็นมันจางคลายลงไปแล้ว รู้สึกเลยว่า โอ้โห เราเบา เราว่าง เรายินดี เราปราโมทย์ ปีติ เห็นปัสสัทธิ เห็นความสงบระงับ เห็นว่ามันสุข วูปสโมสุข เห็นว่ามันสุข เพราะ สงบระงับ เห็นอย่างเกิดญาณ เกิดปัญญาจริงๆว่า โอ๊ กิเลสมันลดลงจริงๆ อย่างนี้แล้ว มันก็สบาย เบาอย่างนี้ มันว่างอย่างนี้ แล้วมันก็ปลอดโปร่ง ไม่เป็นภาระ ไม่หนัก แล้วเราก็จะมี กำลังวังชา ในการที่จะเสียสละ ไม่ต้องบำเรอตน ไม่ต้องไปแสวงหาให้ตน หมดตัวหมดตน หมดการบำเรอตนนี่แหละ หมดความสุขแบบบำเรอตน หมดโลกียสุข

ยิ่งเห็นเกิดปัญญาญาณ ชัดๆเท่าไหร่ๆ นั่นแหละยิ่งจริง ก็ยิ่งจะเห็นความจริงว่า เรามีประโยชน์ มีคุณค่าแก่โลก แก่ผู้อื่น ถ้าเราอยู่เฉยๆ แบบทางฤาษี ไม่แย่ง ไม่ชิงใครก็จริงอยู่ แต่ไม่สร้าง ไม่สรรค์ ให้ใคร และยิ่งไม่มีความสามารถ ไม่มีความรู้ ทำอะไรก็ยิ่งไม่เป็นขึ้นทุกทีๆ ได้แต่นั่ง เฉยๆ เดินเฉยๆ นอนเฉยๆ ความสามารถ ประสิทธิภาพอะไร ลดหย่อนไปหมด เพราะฉะนั้น คนที่พัฒนาในทิศทางนี้ จึงไม่เจริญ สร้างสรรค์ก็ไม่ค่อยจะก้าวหน้า แต่นิ่ง แต่หยุดนะ ไม่รบกวน ไม่รุนแรง ไม่เจี๊ยวจ๊าว ไม่วุ่นวาย แต่ถ่วงแผ่นดิน คือไม่พาเจริญ

มีประโยชน์ไหม มีประโยชน์เหมือนกัน มีเป็นตัวอย่าง ในความสงบ สงบอย่างฤาษีนี่แหละ ไม่ไปแย่งลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ไม่ไปแย่งกาม ไม่ไปแย่งนะ ไม่ไปแย่งฐานพวกนี้ แต่ไม่รู้จัก อัตตามานะ ที่ยิ่งหนัก ยิ่งหนา ยิ่งถือดี ถือตัว ยิ่งปฏิเสธโลก ปฏิเสธสังคม ยิ่งปฏิเสธไม่เอา ไม่เป็น ไม่มี ใครจะคิดนิดจะคิดหน่อย จะมีลีลาออกไป ก็ยิ่งไม่ชอบใจ คนพวกนี้ ก็เหมือนทำตน ให้เป็นก้อนดิน ก้อนหิน ที่ไม่มีประโยชน์ต่อสังคม แต่ก็ต้องกินต้องใช้ แม้จะกินน้อยใช้น้อยก็ตาม เขาก็เข้าใจกินน้อยใช้น้อย เขาก็พยายามกินน้อย ใช้น้อยเหมือนกัน ในลัทธิบางลัทธิ อย่างลัทธิ นิครนถนาถบุตรนี่ กินน้อยใช้น้อยกว่าเรามากมายเลย เขาก็พยายามเปลืองน้อยที่สุด แต่ไม่มีประโยชน์ ก็เปลืองอยู่นั่นเอง

สรุปแล้ว เขาก็เป็นคนนั่งเปล่าดายเปลืองๆ เปลืองสมบัติโลก เปลืองวัตถุโลก เปลืองอะไรโลก แต่ว่าไม่สร้างให้แก่โลก ไม่เกื้อกูลให้แก่โลก เพราะฉะนั้น จึงไม่มีประโยชน์เกื้อกูล แล้วก็ไม่อุดม สมบูรณ์ แล้วก็ศาสนาทางอินเดียนี่ มีพวกนี้มาก เพราะฉะนั้น เขาถึงมีสมบัติวัตถุ ไม่ทำลาย เหมือนกันนะ มันอยู่ได้ เพราะไม่ค่อยทำลายเร็ว เหมือนกะอย่างเมืองไทยนี่ทำลายเร็ว เพราะว่า มันกึ่งหนึ่ง ไปทางที่เห็นว่ามีบทบาททางการสร้างสรรอยู่บ้าง แต่อินเดียนี่ โน้มเน้นไปในทางโน้น มากเลย เพราะฉะนั้น เขาไม่ทำลายมาก แต่ไม่สร้างสรรมาก ทีนี้ คนที่กินใช้หรือว่าอย่างโลกีย์ มันมีมากอยู่ มันก็ทำลายลงไปมากกว่า กว่าผู้ที่ไม่ทำลาย แต่ก็ไม่สร้างสรร มันจะเป็นอะไร ก็ชะลอ เท่านั้นเอง ไม่ทำลาย ก็แค่ชะลอ ส่วนผู้ทำลายก็ทำลาย

ทีนี้ไทยนี่ มาเข้าใจศาสนาพุทธเป็น ๑.ปฏิบัติแล้วจะกลายเป็นผู้ชะลอ หรือผลาญน้อย ไม่สร้างสรร แต่ก็ผลาญอยู่ด้วย แล้วก็ชะลอ อย่างไปรักษาป่า ไปรักษาอะไรนะ เป็นพระป่า ที่เป็นฤาษีนี่นะ ชะลอ ผลาญเหมือนกัน แต่ชะลอไม่ได้ผลาญฮวบฮาบ นั่นพวกหนึ่ง ส่วนพระอีก ที่ไม่เข้าใจในทางธรรม ผลาญเลย เหมือนกันกับชาวโลกเสพ ยังมีบำเรอบำรุง สะสมกอบโกย ยังเป็นโลกียะอยู่ ก็ผลาญ แล้วคนก็เข้าใจ ๒ ทิศนี่แหละ ๑.ผลาญน้อย กับชะลอ อีกส่วนหนึ่ง ก็คือผลาญเอา จริงๆจังๆ เพราะฉะนั้น สมบัติวัตถุในโลกนี้ จึงยังเหลืออยู่บ้าง อย่างเมืองไทย เหลืออยู่บ้าง ยังไม่หมด เหมือนกับประเทศที่เขาไม่มีฤาษีเลยน่ะ ส่วนทางด้านมา แบบโลกียะนี่ ผลาญเลยน่ะ ผลาญเลย

อินเดียโน้มเน้นไปในทางผลาญน้อย เขาเข้าใจศาสนาเขามีอยู่ไม่ใช่น้อย อย่างอินเดีย เขาผลาญน้อย คนเขาแม้จะมาก ตั้ง ๘๐๐ ล้าน เขาก็ยังผลาญ ยังผลาญไม่เร็วเท่าไทย แหม ถ้าไทย ๘๐๐ ล้านนะ อาตมาว่าคงเหลือแต่กระดูก นี่ขนาดมี ๕๐ - ๖๐ ล้านนะ ยังขนาดนี้ จะหมดแล้ว ธรรมชาติ วัตถุดิบ ทรัพยากรของโลก ของแผ่นดิน จะหมดแล้วน่ะ ถ้าคนไทย มันมีสัก ๒๐๐, ๓๐๐ ล้านเท่านั้นล่ะนะ รับรอง ถ้าแบบนี้นะ นิสัยแบบนี้นะ เป็นแบบนี้ ความเข้าใจ แบบนี้นะ ประเทศไทย เหลือแต่ก้างน่ะ เหลือแต่ก้างแล้ว ก็คงเข้าใจนะ หมายถึง อะไรก้าง หมด ทรัพยากร หมดเนื้อหาแล้ว

เรามาพยายามที่จะปรับปรุง พยายามที่จะไม่ได้ไปกอบโกยเอาของใคร เราเข้ามาอยู่ปฐมอโศกนี่ ๒ มือแบ มีแผ่นดินที่มันดินก็อย่างที่เป็น อย่างที่เราเห็น ดินมันก็ค่อนข้างเค็ม หรือดินเปรี้ยว หรือ ดินเหนียว แล้วเราก็จะมาปรับปรุงแม้แต่ดิน น้ำก็น้ำไม่ค่อยจะดีอะไรเท่าไหร่หรอก ต้นหมาก รากไม้อะไรต่ออะไรก็ไม่ค่อยมีอยู่แล้ว เราพยายามที่จะบำรุงขึ้นให้ดินดี ให้น้ำดี อากาศดีน่ะ อากาศ หรือลมที่พัดผ่านนี่ ที่นี่เขาไม่มากัน แรกๆนี่ เพราะขี้หมูกลิ่นขี้หมู เราก็พยายามจะมาลด สารพิษ มาลดทุกอย่างในอากาศ มาลดอะไรในพวกนี้ พยายามที่จะกระทำขึ้นมา แล้วก็ประกอบมา ตามทฤษฏีพระพุทธเจ้า มีมรรคองค์ ๘ มีการกระทำสัมมาอาชีพ อะไรขึ้นมา มาถึงวันนี้ จนกระทั่งเกาะกลุ่ม มีกลุ่ม มีหมู่ขึ้นมา มีอาชีพขึ้นมา

อาตมาเร่งพัฒนาให้จี้ในกิเลสอัตตามานะเพิ่ม เพราะว่าพวกเราเรียนรู้กามพอสมควร แล้วเรา ก็ไม่ได้ทิ้ง ถึงแม้ว่าเราไม่ได้ อาตมาไม่ได้จี้ ไม่ได้พูดมากก็ เราก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่รู้เรื่อง กาม แล้วเราก็จะประมาท หรือว่า ไม่สังวรระวังในเรื่องกาม ก็ไม่ใช่ เราก็สังวรระวังต่อไป ส่วนเรื่อง อัตตามานะนั้น ก็เรียนรู้เพิ่มขึ้น การเรียนรู้นี่นะ ภิกษุผู้เล่าเรียนธรรมะ คือเรียนรู้ด้วย ภาษา เรียนรู้ด้วยคำอธิบาย เรียนรู้ด้วยตำรา เรียนรู้ด้วยการฟัง ก็เป็นการเรียนรู้ที่ เป็นเรียนจริงๆ นะ ปริยัติ เพราะฉะนั้น ผู้ใดไม่ใส่ใจในปริยัตินี่นะ ประมาท หรือว่า เรารู้แล้ว มันไม่พอหรอกนะ เรารู้เท่าที่เรารู้ แล้วเราเข้าใจ แม้แต่จะเข้าใจ หลักที่บอกว่า โอ๊ย ก็รู้ตั้งเยอะแล้ว หลักการ หรือว่า ความหมาย หรือว่า เรื่องราว หรือว่าอะไรที่เราจะปฏิบัติให้แก่ตนเอง เรารู้แล้วตั้งแยะแล้ว ยังปฏิบัติไม่หมดเลย ก็จริงอยู่ตรงนั้น

แต่ว่ามันไม่จริงที่ประมาท ตรงที่ไม่มาฟังธรรมเพิ่มเติม จะเป็นคนโง่ แสดงธรรมก็ตาม สมณะ ที่ไม่ฉลาดเฉลียว ก็ตาม มันก็จะได้มาฟังปริยัติ ฟังภาษา ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ อย่าขาดการ ฟังธรรม ความเสื่อมชนิดหนึ่งคือมาวัด แต่ไม่ฟังธรรม ฟังความหมายของพระพุทธเจ้า ที่ตรัสว่า ความเสื่อมของ อุบาสก อุบาสิกา ไม่มาวัดนะ แน่นอน วัดก็ไม่มา ฟังธรรมก็ไม่ฟัง นั่นเสื่อม ที่สุดแหละ ข้อเสื่อมข้อที่ ๑ ก็คือ ไม่มาวัด แม้คุณมาวัด หรืออยู่วัดแล้ว แต่คุณไม่ฟังธรรม นี่ก็เป็นความเสื่อมข้อที่ ๒ อย่างนี้เป็นต้น

เราจะต้องฟังให้เข้าใจธรรมะที่ลึกซึ้งละเอียด แล้วอาตมาพูดเติม พูดเสริมนี่คนนั่งฟัง ขณะนี้ ก็ฟัง ก็เข้าใจแล้ว คนไม่นั่งฟัง จะเข้าใจอะไรล่ะ เขาไม่ฟังปริยัติแล้ว เขาไม่มาฟังแล้ว อยู่วัด แต่ไม่ฟังปริยัติ ไม่ได้ฟังขณะนี้ อย่างนี้เป็นต้น เขาก็ไม่ได้ซับซ้ำลงไป ซาบซึ้งลงไปอีกว่า อ๋อ มีความสำคัญด้วยหรือ ไอ้ฟังธรรม สำคัญ แม้คุณจะรู้มากแล้วก็ตาม ฟังแล้ว มันจะได้เพิ่ม ละเอียดลออขึ้นไปอีก มีส่วนนั้นส่วนนี้ ส่วนย่อย ส่วนอะไรก็แล้วแต่บางมุม บางคน ซื่อๆ เซ่อๆ นี่แสดงธรรม ซื่อๆ เซ่อๆ นี่ล่ะ โอ้โห มีมุมที่ปฏิภาณเปี๊ยบเลยนะ แต่มาฟังซื่อๆ เซ่อๆ นี่ อ้อ เรามันเร็วไป เรามันไวไป เลย แหม เถิดไปเลย เลยไม่รู้ว่า อ๋อ ตัวนี้ ต้องตรงนี้ ดูอย่างคนซื่อๆเซ่อๆ นี่แหละ คือความพอดี คือความสำคัญ คือจุดที่จะต้องกระทำให้แก่แก่ตนเอง เราจะได้ทั้ง ๒ ด้านน่ะ ด้านนิ่งๆหยุดๆ ไม่ปราด ไม่เปรียว ไม่คม ไม่แหลม ทื่อๆนี่แหละ จะได้ธรรมะอย่างทื่อๆ นี่มาใช้ ลดประเภทที่ว่า แหม แหลมคม เร็วนี่ ลงไปอีก มันถ่วงกัน มันแก้กันอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น คนที่ไม่ฟังธรรม ไม่ศึกษาปริยัติ จะไม่เจริญ

เพราะผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าท่านตรัส ธรรมวิหารี คือผู้เป็นอยู่ด้วยธรรม ที่พูดขึ้นมา ตอนต้นแล้วว่า ผู้ที่ดำเนินอยู่ด้วยมีธรรมะ ดำเนินชีวิตไปเรียกว่าธรรมวิหารี ผู้เป็นอยู่ด้วยธรรมะ มีธรรมะ ท่านตรัสท่านแบ่ง ธรรมวิหารีไว้ ๔ ประเภท ประเภทที่ ๑ เล่าเรียนธรรมะ คือเล่าเรียน ภาษาธรรมะ ปริยัติ และมี สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ อะไรต่างๆ ไปจนกระทั่งถึงเวทัลละ แต่ไม่รู้ความหมายน่ะ ไม่รู้ความหมายอันยิ่ง คือไมรู้ความหมายที่ลึกซึ้งขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่รู้ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมะนั้นๆ ด้วยปัญญา ไม่รู้มาฟังธรรม แล้วก็ไม่มีเจริญด้วยปัญญา ไม่เจริญด้วยปฏิภาณ เพิ่มเติม มาฟังแล้วก็เท่าเก่า ดีไม่ดีประมาทด้วย รู้แล้วๆ รู้แล้ว แล้วก็ไม่มี ตัวเพิ่ม ไม่มีอะไรที่ลึกซึ้งเพิ่มขึ้นไป

ผู้ฟังอย่างนี้ไม่ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมด้วยปัญญา ภิกษุอย่างนี้ เรียกว่าผู้มากไปด้วยปริยัติ ท่านก็นับว่า ยังไม่มีธรรมวิหารี ยังนับว่าไม่ใช่ธรรมวิหารี เป็นผู้มากด้วยปริยัติเฉยๆ เรียกเป็น ภาษา อาตมา แบ่งเรียกเป็นภาษาไทยว่า นักเรียนเป็นนักเรียนเฉยๆ เป็นผู้ที่มากไปด้วยปริยัติ จำได้นะ บางทีได้แต่ภาษา แต่ไม่มีตัวลึกซึ้ง ฟังให้ดีนะ ตัวลึกซึ้งในปัญญาที่แหลมคม ที่ฟังธรรมะ ภาษาเก่าก็ตาม มีอะไรเกิดความรู้ที่ลึกขึ้นไปอีก อย่างนี้ เรียกว่าได้เรียนรู้เพิ่มเติม ด้วยปัญญาอันยิ่ง เสริมปัญญาที่เป็นปัญญินทรีย์ขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะนั่งฟังธรรม จะต้องให้เกิด ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละขึ้นไป ตามลำดับ

ถ้าเรานั่งฟังเท่าเก่า หรือจำภาษาได้มากขึ้นเท่านั้น ท่านนับว่าอันนี้ไม่เจริญ ได้ปริยัติเท่านั้น ยังไม่ใช่ธรรมวิหารี คุณมีเท่าไหร่ก็เท่านั้น คุณจะไปทำเป็นวิหารีเท่าไหร่ล่ะ คุณเป็นผู้อยู่ด้วย ธรรมะที่คุณมี คุณก็เท่าเดิม คือเรียกว่าไม่เจริญขึ้น แม้มาเสียเวลาฟังธรรม ก็ไม่เจริญขึ้น มากด้วยปริยัติ เท่านั้น เป็นนักเรียน

๒.ภิกษุแสดงธรรม เป็นภิกษุด้วยนะตอนนี้ หรือเป็นผู้รู้ คุณเป็นฆราวาสก็ตาม อุบาสก อุบาสิกา ก็ตาม คุณก็มีเวลาแสดงธรรม ไม่ใช่ผู้ฟัง ตอนนี้เป็นผู้แสดงเองเลย แสดงธรรมเองเลย ผู้แสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา แต่ไม่รู้ความหมาย คือแสดงธรรมของเรานี่ ไม่รู้ความหมาย อันนี้ก็หมายความว่า ไม่รู้ความหมาย ด้วยปัญญาอันยิ่งนี่แหละ การแสดงธรรมนี่ เราแสดงธรรม ใช้ภาษาแสดงธรรม เราจะเจริญความรู้ด้วยนะ ความหมายที่ลึกซึ้งขึ้นไปในแสดงออกไป เท่าที่เราเคยฟัง เคยรู้มา เมื่อเวลาควักออกมาแสดงบ้างนี่ มันจะเปรียบเทียบภาษาด้วย เปรียบ เทียบของสภาวะด้วย เปรียบเทียบกับสภาวะด้วย สภาวะที่เรามีนี่ มันจะเปรียบเทียบไปในตัว ตัวธาตุรู้ มุทุภูตธาตุ มันจะแววไว ถ้ายิ่งปฏิบัติธรรมถูกเรื่องว่า เราจะต้องใช้สภาวะเป็นหลัก

แสดงธรรมก็จะมีสภาวะ ควักสภาวะออกมาเป็นหลัก หรือเปรียบเทียบ เป็นเตวิชโช เปรียบเทียบ เป็นการตรวจสอบ บุพเพนิวาสานุสติ ให้เกิดญาณ ระลึกถึงความจริง ระลึกความเป็นสภาวะ ระลึกสิ่งจริง จะเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม หรือรูปนามใดๆ ก็ตาม ที่เราเป็น เรามี เราจะควัก มาตรวจสอบ แม้ขณะผู้แสดงธรรมอยู่ ก็ตรวจสอบคนที่มีปฏิภาณดีๆ

แต่ถ้าคนไม่มีปฏิภาณดีๆ ชำนาญแต่ภาษาจะตรวจสอบ สอบแต่ภาษา นี่ตัวเองจดจำไว้ ท่อง ท่องจำมาได้ เวลาตรวจสอบก็จะเอาภาษาที่แสดงนี่ไปตรวจสอบกับภาษาที่เราจำไว้นี่ เอ๊ะ มันถูกภาษาไหม มันถูกความหมายที่เราร่ำเรียนมาไหม ก็จะตรวจสอบแต่แค่ภาษา เพราะฉะนั้น บรรดาครูภาษานกกระจอก นกขุนทองนี่นะ ก็จะตรวจแต่ภาษา การจะเจริญทางสภาวะ ทางความจริง ด้วยปัญญาอันยิ่ง จะไม่ค่อยเกิด เพราะฉะนั้น การแสดงธรรม อย่าไปนึกถึงแต่ ภาษา นึกถึงสภาวะเสมอ

ผู้แสดงธรรม แสดงธรรมแล้วตรวจสอบสภาวะของตนไปด้วย ตรวจไปด้วย แล้วถ้าเผื่อว่า เรามีสภาวะนะ โอ ไอ้สิ่งที่เป็นภาษา มันจะมากำกับว่านี่คือยา นี่คือชื่อยาที่ถูกตัว คุณจะรู้จัก สภาวะของตัวเอง แล้วจะอ่านออกมา อธิบายออกมา ขยายความออกมาเป็นภาษาได้มากเลย

แต่ถ้าผู้ใดระลึกถึงแต่ภาษาที่ตัวเองเรียนมาท่องมา พอแสดงธรรม หรือเทศน์หรือบรรรยาย ก็นึก แต่ภาษาที่เราได้จำมา พวกนกแก้ว นกขุนทองพวกนี้ ก็เรียนแต่ภาษา แสดงธรรมแต่ภาษา จำได้ ก็ได้ภาษานั้นมาแสดงได้เก่ง มันจะจำไม่ได้หมดหรอก เพราะฉะนั้น จะไปเจริญอะไรขึ้น จะเจริญแต่แค่ภาษาที่ตนเองได้ท่อง ได้ทวนได้จำมา จะไม่เจริญกว่าที่เราได้ท่องมา ที่ลืมไปบ้าง อย่างเก่ง ก็ได้ทบทวนสิ่งที่เกือบลืมออกมา ชักออกมาพูด ชักออกมาแสดง ชักออกมาบรรยาย ก็ดีอยู่บ้าง ได้ทบทวน แสดงธรรมก็ได้ทบทวนภาษาที่เราเรียน

แต่ถ้าเผื่อว่า ตรวจสอบสภาวะไม่เป็น ดังที่อาตมากำลังบรรยายให้ฟัง ผู้นั้นแสดงธรรมก็จะ ไม่เจริญกว่านั้น พระพุทธเจ้าก็ยังยืนยันว่าผู้นี้ ก็ยังเป็นผู้มากด้วยบัญญัติ บัญญัติก็คือภาษา ที่เราเรียนรู้มา ตามสมมุติบัญญัติตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ นี่คือขวด นี่บัญญัติไทย ถ้าบัญญัติจีน เรียกว่าอะไรขวด ก๊วก อ้อ ไอ้เรามันก็ไม่ใช่จีน ขวดภาษาจีนก็ว่า บัญญัติว่า ก๊วก อย่างนี้เป็นต้น หา เอ้า ภาษาอังกฤษ ก็ BUTTLE อะไรอย่างนี้เป็นต้น ภาษาไทยเรียกว่าขวด นี่คือบัญญัติ

พวกนี้จะมากด้วยบัญญัติเท่านั้น อย่างที่อาตมาพยายามอธิบายแล้ว คือทบทวนแต่ภาษา เพราะเขาจะบัญญัติที่ตัวเองจำได้ ไม่ลืมภาษาที่จะชื่อเรียกอันนั้น พัฒนา หรือว่าทบทวน หรือ ว่าเจริญได้แต่แค่สลากยา ทบทวนได้แต่สลากยา เนื้อยาไม่ได้รู้เรื่องเลย สภาวะไม่ได้รู้เรื่องเลย

ผู้มากด้วยบัญญัติ อาตมาใช้ภาษาไทยว่านักแต่ง อันแรกน่ะ นักเรียน เล่าเรียนได้เล่าเรียน ได้ฟัง ทีนี้คนที่ ๒ นี่แสดงธรรม เป็นคนแสดงธรรมนะ แสดงธรรมที่ได้เรียนได้ฟังมา แต่ไม่รู้ความหมาย ด้วยปัญญาอันยิ่ง ผู้นั้นเรียกว่า มากด้วยบัญญัติ

๓.ภิกษุทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้เรียนมาโดยพิสดาร และก็สาธยายธรรมก็คือ เป็นคน ลึกกว่า แสดงธรรมธรรมดา สาธยายธรรมนี่ทั้งท่อง สาธยายธรรม ที่จริงก็ท่องทวนเหมือนกัน พวกท่องบ่นละนะ พวกสวดมนต์น่ะ สาธยายมนต์ พวกสาธยาย พวกนี้สวดเหมือนสวดมนต์ นั่นแหละ ไม่ใช่แสดงธรรม เพราะฉะนั้น แสดงธรรมนี่ ใช้ปฏิภาณ ใช้ภาษาของตัวเอง แต่ก็จะระลึก เอาภาษาเหล่านี้มาขยายความ พวกนี้จะเป็นนักแต่ง หรือนักบัญญัติ จะได้ภาษาใหม่ เหมือนกันนะ ได้ภาษาใหม่ ได้ความหมายใหม่เหมือนกัน แต่เป็นภาษาสู่ภาษา อันที่ ๒ เดี๋ยววนไปสู่อันที่ ๒ หน่อย เดี๋ยวมันจะแตก มันจะไม่เหมือน มันจะคล้ยกันกับอันที่ ๓ ประเดี๋ยว มันจะไปเข้าใจความหมายกันปนเปกัน

อันที่ ๒ นั้นน่ะ เป็นผู้ที่แสดงธรรมด้วยคำที่ได้ยิน ได้เรียนมา คือ ก็เหมือนกับที่ธรรมะของ พระพุทธเจ้านี่แหละ เอาหัวข้อธรรมะพระพุทธเจ้า มาบรรยายเอง ไม่ใช่สาธยาย ไม่ใช่สวดท่อง ทวน เอามาสาธยาย แล้วก็พูดเอง บรรยายเอง บรรยายความหมายเอง ซึ่งพวกเราก็เก่งอยู่ใน ประเภทที่ ๒ เป็นนักแต่ง ไม่เลวเหมือนกัน แต่งแล้วก็พยายามบัญญัติใหม่ ภาษาใหม่ อะไรใหม่ เป็นผู้มากด้วยบัญญัติ บัญญัติลักษณะคำความ โวหาร ลีลาอะไรต่ออะไรประกอบมามาก ก็มากด้วยบัญญัติ

ส่วนอันที่ ๓ นี้ เป็นผู้สาธยาย คือการท่อง ท่องทวนของพระพุทธเจ้านี่ บทเก่า บทแก่ บทอะไร ต่ออะไร หรือว่าเอาคำของพระพุทธเจ้ามาท่องทวน มาท่องทวนคือแม้จะพูดให้ผู้อื่นฟัง ก็ฟัง เอาของพระพุทธเจ้านั่นแหละ มาท่องมากให้คนได้รับรู้มาก มีของพระพุทธเจ้ามาก มีของตนเองน้อย ถ้ามีของตนเองมาก เรียกว่าผู้บัญญัติ ผู้มากไปด้วยบัญญัติ เป็นนักแต่งเติม คนหนึ่งเหมือนกัน นักแต่งเติมคนหนึ่งเหมือนกัน

ส่วนผู้ที่เอาของพระพุทธเจ้าเข้ามาประกอบมากๆ บรรยายก็ของพระพุทธเจ้า ยืนยันหลักของ พระพุทธเจ้า ตัวเองอธิบายน้อยน่ะ ผู้นี้ท่านเรียกว่า ผู้มากไปด้วยการสาธยาย หรือมากไปด้วย การสวด เรามาแปลสาธยายเป็นไทยเรียกว่าสวด ผู้มากไปด้วยการสวด อาตมาก็เรียกว่า นักภาษาไทยว่านักสวด สวดเก่ง ธรรมะของพระพุทธเจ้านี่สวดได้เป็นเล่มๆ เอามาพูดภาษา ของพระพุทธเจ้ามากๆ ได้มากๆ ท่องจำมาได้มาก ความรู้ของพระพุทธเจ้า ภาษาคำความ อะไรของพระพุทธเจ้ามาก เป็นนักสวด และเป็นผู้ที่ได้แต่สวด และก็พยายาม ระลึกถึงแต่ คำสอน ของพระพุทธเจ้า โดยสภาวะ โดยสวด ปฏิบัติโดยของจริง โดยสัจจะที่เป็นสาระสัจจะ ก็ระลึกไม่ถึง พยายามที่จะทบทวนแต่คำสอน ที่เป็นบัญญัติภาษา หรือเป็นคำสอนของ พระพุทธเจ้า

ผู้นี้ก็ดีอยู่อย่างหนึ่ง รักษาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาได้มาก พวกท่องสวด ท่องสาธยาย สาธยายมนต์พวกนี้ จะสาธยายมนต์ได้เก่ง ก็คือท่องมนต์พระพุทธเจ้าได้มาก ท่องจำได้มาก เสร็จแล้วเมื่อเวลามาพูดให้คนอื่นฟัง ก็เอาภาษาของพระพุทธเจ้า มาท่อง มาสวด ถ้าในระบบ ผู้นี้เป็น อย่างชนิดนักแต่งเติม หรือว่านักบัญญัติ กับมาเป็นนักสวดนี่ สวดก็เก่ง บัญญัติก็เก่ง นะ โอ้โห ๒ อันรวมกันนี่ เป็นดังได้ ดังได้ ระลึกออกบ้างไหม ในวงการศาสนานี่ มีใครบ้าง เอาคำ ของพระพุทธเจ้า ยืนยันหลักการของพระพุทธเจ้า ก็เอาของจำมาได้มากนะเก่ง เขาเรียกว่า พระไตรปิฎกเคลื่อนที่ทีเดียว หรือว่าเป็นผู้รู้ ที่รู้จักบัญญัติภาษาของพระพุทธเจ้ามาก แล้วปฏิภาณของตัวเอง บัญญัติก็เก่งด้วย เอา ๒ อันมารวมกันนี่ เดี๋ยวนี้มีมากในเมืองไทย หรือ ในวงการศาสนา

แม้แต่ในฝรั่งเอง เก่ง พระไตรปิฏกเคลื่อนที่ บรรยาย บัญญัติ ขยายความเก่ง แต่ไม่รู้จักสภาวะ ไม่รู้จักแก่นเนื้อแท้ของปรมัตถสัจจะ จิต เจตสิก ไม่เก่ง จิต เจตสิกไม่รู้ กิเลส ต่างๆ อาการของ กิเลสเป็นอย่างไรๆ เป็นอริยสัจไม่รู้ อาจจะรู้บ้าง แต่ไม่เก่ง เพราะฉะนั้น สาธยายอย่างไร เมื่อไหร่ จะมาสาธยายธรรม หรือ ว่าจะมาบรรยาย มาแสดงธรรมเมื่อไหร่ ก็ได้แต่อยู่ในเปลือกผิวของ สมมุติสัจจะ ของบัญญัติ ของภาษาของตัวเอง ที่บัญญัติแต่งเติม แต่งเสริมขึ้นไปอีกด้วย เป็นพระธรรมกถึก ที่แสดงธรรมเก่ง แต่ศาสนาเสื่อมลง เพราะว่าเอาปฏิภาณของตนเอง เอาความรู้ของตนเอง บัญญัติภาษาสู่ภาษา ขยายความอะไรไป มันจะออกนอกเรื่องไปหมดเลย เพราะสภาวะ เพราะเรื่องราวของจิต เจตสิก กิเลส เนื้อแท้ของอริยสัจ ที่หมายเอาความสำคัญ ของจิต เจตสิก รูป นิพพาน ไม่ค่อยชัดเจน แล้วก็เป็นตรรกศาสตร์ หรือเป็นเรื่องที่ด้นเดาไปได้ มาก ผู้นี้พระพุทธเจ้าก็ไม่เรียกว่าเป็นธรรมวิหารี ยังไม่ใช่ธรรมวิหารี เหมือนกัน ไม่ได้อยู่ด้วยธรรม ดีไม่ดี เป็นผู้ผลาญธรรมะ ทำลายธรรมะด้วย ระวังนะ

๔.เป็นผู้คิดพล่านไปในธรรมะ ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา นี่พวกนี้ ไม่ใช่ธรรมะวิหารีทั้งนั้น ๔ เป็นภิกษุ คิดพล่านไปในธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา แต่ก็ไม่รู้ความหมายอันยิ่ง ในธรรม ด้วยปัญญานั่นแหละ อันนี้เรียกว่า เป็นผู้มากไปด้วยการคิด อาตมาก็เรียกว่านักคิด ผู้นี้เป็นผู้ เหมือนที่อาตมา แสดงคนประเภทที่ ๒ น่ะ นักแต่งเติม อันนั้นนักแต่ง ไอ้นี่นักคิด นักเติม คิดแต่ง เสริมเข้าไปอีก ถ้า ๓ อันนี้เลยนะ รวมกันเข้าไปเลยนี่บ๊ะแล้วเลย ทีนี้เป็นบัณฑิตเอก ในโลก นี่เขากำลังนิยมกันอยู่เดี๋ยวนี้ เป็นบัณฑิตผู้เชี่ยวชาญ แต่ถูกหรือไม่ ไม่มีใครเช็ค ถูกหรือไม่ เดี๋ยวนี้ก็รู้กันยากแล้ว เพราะฉะนั้น ผู้รู้เท่านั้น ที่จะมาค้านแย้ง ที่จะมาจับผิด มุมเหลี่ยม ผู้ใดยิ่งมีมิจฉาทิฏฐิ ยิ่งเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ ยิ่งไม่มีสภาวะรองรับเลย ยิ่งจะแต่งเติม ยิ่งจะเป็นผู้มากไปด้วยการคิด นึก บัญญัติ ครบเลยนี่ นักคิด นักบัญญัติ นักสาธยาย หรือนักสวด ครบเลย ๓ ตัวนี้นี่ ยิ่งใหญ่ ได้ในโลกทุกวันนี้ แม้แต่มองไปในทางโลกซิ คนในทางโลก เขาจะเป็นคนที่มีอย่างนี้ ไม่เป็นหรอก ทำไม่เป็น สภาวะเนื้อแท้ไม่ได้ ไม่ได้จับต้อง แม้แต่รูปธรรม

คนทุกวันนี้ ที่ร่ำรวย มีอำนาจ มียศศักดิ์ ทุกวันนี้นี่ จะเป็นคนในประเภทนี้แหละ ประเภทที่ ถ้ารวมไปถึงข้อ ๑ แล้ว ก็คือ ไม่ค่อยฟังธรรม เป็นแต่รู้ว่านักเรียน ฟังก็ได้แต่ภาษา เป็นนักเรียน ต่อมาเป็นนักแต่ง ต่อมาเป็นนักสวด ต่อมาเป็นนักคิด เพราะฉะนั้น เรารวมกัน หมดแล้วนี่ ทั้ง ๔ คนนี่แหละ พระพุทธเจ้าท่านไม่เรียกว่าเป็นธรรมวิหารี แต่ว่าเราก็จะต้องเป็นนักฟัง เป็นนักเทศน์ หรือเป็นนักบรรยาย หรือเป็นนักท่องทวน นักสาธยายอยู่เหมือนกัน และแม้แต่เป็นนักคิด ไม่ใช่ ถึงขั้นคิดพล่าน แต่จะต้องพิจารณาเหมือนกัน ฟังแล้วต้องรู้จักมุมดี ของทั้ง ๔ อย่างนี้บ้าง

อันที่ ๑ เอาแต่เล่าเรียน ภาษาบัญญัติ ปริยัติ อันที่ ๒ ก็แสดง แสดงสิ่งที่เล่าเรียนด้วย แสดง หรือพูด หรือสอนด้วย อันที่ ๓ เอาของพระพุทธเจ้า จำ ทบทวน หรือว่าท่องจำ เอามาสาธยาย เอาของพระพุทธเจ้ามากขึ้น เอาธรรมะหลักๆ มากขึ้น เอาธรรมะหลักๆมากขึ้น มาสาธยายได้ ถ้าสาธยายได้มาก ก็เป็นนักสาธยาย ถ้าเป็นนักแสดงธรรมก็เป็นนักแสดงธรรมที่ สาธยายของ พระพุทธเจ้าได้มาก ถ้าเป็นอย่างประเภทที่ ๓ ถ้าเป็นประเภทที่ ๒ ก็ แสดงธรรม ที่ของตัวเอง มาก หรือว่าของอะไรที่พูดภาษามากๆ เสริมข้อที่ ๔ นักคิด นักคิดฟุ้งซ่าน นักบัญญัติ นักอะไรเข้าไปด้วย บะแล้ว ตอนนี้ สมบูรณ์แบบเลย จะทำให้ศาสนาเสื่อมได้มาก เลย แต่มุมดี มีดังที่อาตมาได้กล่าวแล้ว มุมดีมี ต้องพิจารณา ต้องคิด ต้องไตร่ ต้องตรอง ต้องตรวจ ต้องทาน สอบทานกับธรรมะของพระพุทธเจ้า หลักเกณฑ์ของพระพุทธเจ้า ก็สอบ ทาน เป็นภาษาใหม่ เป็นความหมายใหม่ ในภาษาคน ในภาษาสมัยนี้ด้วย จะใช้ภาษาอะไร มันตรงกับสภาวะ

ถ้าไม่มีสภาวะอย่างเดียว เอาแต่เล่าเรียนตั้งแต่แบบที่ ๑ คนทั้ง ๔ แบบนี้ ท่านเรียกว่า มิใช่ ธรรมวิหารี ไม่ใช่ผู้เป็นอยู่ด้วยธรรมทั้ง ๔ ประเภท เพราะฉะนั้น เราก็ต้องพยายามระลึกสังวร ให้มากเลย นี่มันละเอียดขึ้น ฟังดีๆนะ ธรรมะที่อาตมาสาธยายนี่ ไม่ใช่ธรรมะง่ายๆ ตื้นๆ นะ เพราะฉะนั้น เราจะเป็นธรรมวิหารี เราจะต้องอยู่ด้วยธรรมะอย่างได้สัดส่วน ฟังธรรมไหม ฟัง แสดงธรรมไหม แสดง สาธยายธรรมไหม สวดท่องธรรมะไหม สวดท่อง ต้องพยายามอ่าน ตรวจทาน อ่านพระไตรปิฏก แต่ก่อนนี้ เขาไม่อ่าน แต่ก่อนนี้ เขาสวดกันจริงๆ มาเอาไปสวด สวดทบ สวดทวน เหมือนกันกับเขาสวดนี่เรียกว่า สังคีติ ที่พระเขาสวดกันนี่แหละ

พอทำวัตรเย็น ทำวัตรเช้า อะไรก็มานั่งสวด วันนี้ก็เอาบทนั้น วันนี้ก็เอาบทนี้มาสวดๆๆ ซึ่งเราเอง ไม่ได้ทำ เราถือเสียว่า มันไม่ค่อยจะถนัดกัน ก็เลยไม่ค่อยทำ พยายามตอนหลังๆนี่ แม้แต่จะเอา บทอะไรมา เลือกมาบ้างน้อยๆนิดๆ ก็ไม่ค่อยไหวกัน รำคาญกัน ไม่ติดไม่ต่อ ก็เลยไม่สวดกัน สวดไปแล้ว จะต้องใส่ทำนองไปอีก มันก็ประเดี๋ยวจะไปกันใหญ่ แต่เราก็มี พยายามมีหลักการ มีหลักฐานพระไตรปิฎก มีอะไรต่ออะไรไว้ให้ ให้อ่าน ให้ทบทวน ให้ตรวจตรา พวกเราก็ที่ผู้ที่ ตรวจตราพระไตรปิฎกอยู่ ก็ได้เอาพระไตรปิฎกมายืนยัน มาใช้ เอามาสาธยาย

อาตมาเอง อาตมาคงจะเป็นอาจารย์ที่ไม่ค่อยดี ในการที่จะเอาพระไตรปิฎก อ่านพระไตรปิฎก หรือว่าเอาพระไตรปิฎกมามาก ก็คงจะบกพร่องอันนี้หน่อย ก็ขอให้พวกเราช่วยด้วยน่ะ ช่วยกันเสริม ช่วยกันอ่าน เอา มาสาธยายเพิ่มเติมขึ้น เห็นเมื่อไหร่ ไม่เข้าใจ ไม่อะไร ก็เอามาให้ อย่างที่ อาตมาอาศัยพวกเราอ่านพระไตรปิฎกแล้วก็เจอ เจอแล้วก็เอามาให้อาตมา อาตมาก็นำ อันนั้นล่ะ มาสาธยายต่อมาอะไรต่อ มาทำการขยาย มาทำการยืนยันต่อ เราก็ได้พระไตรปิฎก หรือว่าได้ตัวเนื้อภาษาของรากเหง้าเดิม

ถ้ายิ่งเป็นนักคิดนักฟุ้งซ่าน นักบัญญัติ นักอะไรต่ออะไรเติมแต่งไปด้วย เป็นที่ไม่ใช่ธรรมวิหารี ประเภทที่ ๔ ก็ยิ่งไปกันใหญ่เลย แต่ตัวที่ต้องพิจารณา ต้องคิด ต้องทบ ต้องทวน ต้องตรวจ ต้องตรา นี่อยู่เรื่อยๆ เป็นการสังวร แล้วก็ตรวจสอบ มันก็ดี เราก็ต้องรู้จักมุมดีของทั้ง ๔ ความหมาย นี้ด้วย และเราก็ต้องใช้อยู่เหมือนกัน แต่ถ้าเผื่อว่า มีแต่อย่างนั้นๆ เด่นไปใน อย่างไหน หรือเอามารวมกัน แล้วก็ออกนอกเรื่อง นอกสาระสัจจะ ไม่มีสภาวะไปกันใหญ่เลย เลอะเทอะใหญ่เลย ไปไม่รอดน่ะ

อย่างที่เราเป็นกันอยู่นี่ อาตมาว่าได้ทำอย่างพอเหมาะ พอดี ได้ทำอย่างพยายามที่จะทำ แม้วันนี้ ที่จริง อาตมาก็ตั้งใจจะเอาพระไตรปิฎกมาอธิบายต่อ แต่ว่าไม่ได้ถือติดมือมาก็เลย เอ้า ไม่เป็นไร เอาที่มีอะไร ต่ออะไรที่คิดว่าจะอธิบายสู่พวกเราฟัง ที่โน๊ตๆไว้นี่มาอธิบายต่อก็แล้วกัน ก็เลยได้ ควักออกมาอธิบาย อย่างที่กล่าวอยู่นี้ กำลังสาธยายอยู่นี่

ทีนี้ เราก็มาเน้นในคำว่าธรรมวิหารี ผู้เป็นอยู่ด้วยธรรมและผู้ดำเนินชีวิตคตะ คโต ไปด้วยธรรม จะเป็น ทุคโต ดำเนินไปไม่ดี ดำเนินไปทางที่เสื่อมที่เสีย ที่ผิดที่พลาด หรือจะเป็นสุคโต ดำเนินไปดี เรามีจารีตประเพณี วัฒนธรรม ตื่นเช้ามาก็สวด ท่องมนต์ ท่องทวน อย่างน้อย ก็ทำจิตใจของเราให้ทบทวน ระลึก ซึ่งนำพาจิตใจเราดีเหมือนกัน อย่างน้อยเป็นสมาธิ แล้วเรา ก็ได้ระลึก ถ้าเผื่อว่า เราสังวร หรือว่าเราได้พิจารณาร่วมไปด้วย ว่าเราท่องพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ตาม หรือว่าท่องคุณงามความดี เป็นประณามคาถา มหาการุณิโก นาโถ ก็ตาม หรือว่า แม้แต่พาหุง ๘ ก็ตาม อะไรนี่ เราสวดๆ ท่องๆ อยู่แค่นี้ก็ตาม เราก็ระลึกให้เห็น ให้เข้าใจ ว่าเราเองเราได้พึ่งพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามีคุณค่า มีความดีงาม มีสิ่งวิเศษอะไรต่ออะไรบ้าง เราได้ดิบได้ดีได้เป็นสุข รู้ผลว่า สิ่งที่ได้นี่เป็นของวิเศษ เป็นเรื่องวิเศษ เป็นยิ่งกว่าทรัพย์สมบัติ

ที่เราได้มานี่ อย่างน้อยเราได้ศรัทธา ทรัพย์ อริยทรัพย์ที่ได้สาธยายไปแล้ว ได้ศรัทธา ได้เชื่อ เปลี่ยนความเชื่อ จากโลกียะ ไปเชื่อลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข เป็นที่พึ่งอันเกษม เราก็เข้าใจถูก ต้องเข้ามา ว่าเรามาเชื่อ อย่าไปติดยึดลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขเลย มันไม่ได้เป็นที่พึ่งอันวิเศษ อันเกษมอะไรหรอก เราก็ได้เชื่อถือมาทางนี้มากขึ้น มามีศีลเป็นทรัพย์ ศีลปฏิบัติแล้ว ขัดเกลา กาย วาจา ใจ ขัดเกลาไปเรื่อยๆ ได้เท่าที่เราได้ เราก็จะเกิดปัญญินทรีย์ ปัญญาผล หรือ ศรัทธินทรีย์ ศรัทธาพละ ศรัทธาผลขึ้นมาเรื่อย เชื่อเป็นตัวมีศีลนี่แหละ ยิ่งเสริมความศรัทธา ให้บริบูรณ์ และองค์นั้นขึ้นมาเรื่อยๆ เขามีศีลกำกับมาเรื่อย มีพหูสูตเสริมเติมนี่ พยายามที่จะ สอนคุณ ให้หรือว่าแนะนำกัน หรือว่าปฏิบัติให้เกิดพาหุสัจจะ พหูสูตเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ เสริม สัจจะความจริง เสริมความรู้

ไม่ใช่รู้แต่บัญญัติ ไม่เป็นผู้มากด้วยบัญญัติ ไม่ใช่ผู้สาธยาย ไม่ใช่ผู้มากด้วยสาธยาย ผู้คิดฟุ้งซ่าน แล้วผู้มากด้วยการเป็นนักเรียน มากด้วยปริยัติ มากด้วยนักเรียน เป็นนักเรียน เรียนรู้ ฟังภาษา สุตะ เคยยะ เวยยากรณะ อะไรไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงได้ แต่ตำรา เพราะฉะนั้น ทุกวันนี้นี่นะ นวังคสัตถุศาสตร์ ที่เป็นพวก สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ พวก ๙ อย่างนี้ เขาไปเรียกแต่ในพระไตรปิฎก หมวดนั้นหมวดนี้ ชื่อว่าคาถา หมวดนั้นหมวดนี้ชื่อว่าชาดก หมวดนั้นหมวดนี้ชื่อว่าเวทัลละ หมวดนั้นหมวดนี้ ชื่อว่า อิติวุตตกะ อะไรพวกนี้ เขาก็ไปตราอยู่แต่ในตำราพวกนั้น แบ่งพระไตรปิฎก นี่ อันนี้เรียกว่า สุตตะ อันนี้เรียกว่า เคยยะ อันนี้เรียกว่า เวยยากรณะ อันนี้เรียกว่าคาถา อันนี้เรียกว่าอุทาน อันนี้เรียกว่าอิติวุตตกะ อันนี้เรียกว่าชาตกะ ชาดก อันนี้เรียกอะไรอย่างนี้ เขาก็ได้แต่ภาษา อย่างนั้น จะไปเจาะหาเนื้อความหมายของสุตะมันอะไร

อย่างที่อาตมาเคยสาธยายมา สุตตะคืออะไร เคยยะคืออะไร เวยยากรณะคืออะไร คาถา คืออะไร อุทานคืออะไร อิตวุตตกะคืออะไร อธิบายเหล่านั้น เจาะลงไปถึงสภาวะ เขาจะไม่ฟัง เขาหาว่า อาตมาอธิบาย นวังคสัตถุศาสตร์นี้ออกนอกลู่นอกทางด้วยซ้ำ อย่างนี้จริงๆ เพราะฉะนั้น พวกนี้ก็จะเรียนแต่ภาษากันอย่างนี้ไปเรื่อย แต่ทีนี้ พวกเรามาเรียนนี่ แต่ละวัน แต่ละวันนี่ เรามีการปฏิบติให้เกิดทรัพย์ อย่างที่กล่าว เชื่อ แล้วก็มีสิ่งที่เป็นสภาวะรองรับขึ้นมา มีศีลปฏิบัติ ศีลเป็นอริยกันตศีล เจริญด้วยอธิศีลขึ้นเรื่อยๆ มีการขัดเกลา ศีลนี่เป็นบทบาท ขัดเกลา จางคลายได้จริง มีปัญญา มีพหูสูต มีพาหุสัจจะ เห็นความจริงที่กว้างขวางขึ้น ด้วยเนื้อหาสาระของพาหุสัจจะ

แล้วเราก็สาธยายได้ หรือสวดได้ ท่องได้ หรือว่าบรรยายได้ เป็นพระธรรมกถึกบริบูรณ์ด้วยองค์ ของศรัทธา จะเป็นพระธรรมกถึกขึ้น ยิ่งแกล้วกล้าในบริษัทของพวกเรา จนกระทั่ง แกล้วกล้า แสดงธรรมกับบริษัทที่กว้างขึ้น ข้างนอกขึ้นไปด้วย แกล้วกล้าแสดงธรรมต่อบริษัท แล้วก็ ทรงวินัย ทรงนัยอันลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ วินัยแท้ วินัยที่เป็นหลักบัญญัติ เพื่อไม่ให้ละเมิด ถ้าละเมิดแล้ว อาบัติก็ตาม ก็ทรงขึ้น รู้หลักเกณฑ์ของหลักเกณฑ์ นิติธรรม หรือนิติศาสตร์ หรือ วินัยหลักเกณฑ์มากขึ้น แล้วก็รู้ทั้งธรรมะ ที่ลึกซึ้งขึ้นเป็นนัย อริยวินัย อริยธรรม เป็นทรงวินัย เพิ่มขึ้น มีนัยที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆๆๆ เสร็จแล้วจิตใจก็เป็นผู้ยิ่งยินดีในความสงบ ความสงบของ พระพุทธเจ้า ด้วยนะ นี่เป็นทรัพย์ที่มันเป็นศรัทธา เพราะฉะนั้น เป็นพระธรรมกถึกก็ดี มีศีลก็ดี พาหุสัจจะ หรือพหูสูต เพิ่มเติมก็ดี ก็นัยอย่างที่ อาตมาขยายความนี่ มีทรัพย์พวกนี้เสริมขึ้น มีทรัพย์ที่เป็นศรัทธา เป็นศีล เป็นจาคะ หรือเป็น หิริโอตตัปปะ มีความละอายต่อโลกียะ ละอายต่อบาป ที่เรายังเป็นยังมี

เราละอายที่เรายังเป็นโลกียะ เรายังอายที่เรายังเหมือนคนโลกๆมากหรือน้อย เหลือน้อยก็ตาม

อ่านต่อหน้าถัดไป

:2421A.TAP