ฟังธรรมสร้างสัมมาทิฐิ
ทำวัตรเช้า เมื่อ ๒๗ เมษายน ๒๕๓๕
โดย สมณะโพธิรักษ์
ณ พุทธสถาน ปฐมอโศก
หน้า ๒ ต่อจากหน้า ๑


เราละอายที่เรายังเป็นโลกียะ เรายังอายที่เรายังเหมือนคนโลกๆมากหรือน้อย เหลือน้อยก็ตาม เหลือมากก็ยิ่งอายมาก ละอาย จริงๆนะ จนกระทั่ง โอตตัปปะ เกรงกลัวว่า ที่จะไปเป็นอย่างนั้น ไม่เอาแล้ว เชื้อโลกียะ เผ่าพันธุ์โลกียะ เราจะมาเป็นเผ่าพันธุ์โลกุตระ เชื้อโลกุตระ ทรัพยากร อย่างนี้ ทรัพย์ของตนของคน สมบัติของคน อันนี้เป็นอริยสมบัติ เป็นเทวสมบัติ เป็นสมบัติ ความเป็นเทวดา สมบัติที่เป็นเทวดาแท้นะ เป็นอุบัติเทพ เป็นวิสุทธิเทพขึ้นไป ไปหาเทพชั้นสูง ไปเจริญทางจิตนั่นเอง เทวดาก็คือจิตที่เจริญ จิตที่สูง จิตไม่ใช่จิตตกต่ำ ที่เป็นจิตชาวนรก จิตที่เป็น จิตชาวสวรรค์ที่แท้ เป็นเทวดาจริงน่ะ มีหิริ มีโอตตัปปะ มีจาคะ มีการสละออกได้จริงๆ ตั้งแต่ของหยาบ ตั้งแต่เรื่องหยาบ มีสละออก มีทาน วัตถุทาน อภัยทาน ธรรมทาน เสริมซ้อน เป็นพระธรรมกถึกที่ยิ่งใหญ่จริงขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็ยินดีในความสงบ ในจุดสงบ

ยิ่งแสดงธรรม ก็ยิ่งได้ประโยชน์ด้วย จะแสดงธรรมหรือจะสาธยายธรรม หรือจะพิจารณาธรรม คิด ไม่ฟุ้งซ่าน พิจารณาธรรมก็ดี ได้เป็นครู เป็นนักเรียน ในวาระที่พวกคุณเป็นนักเรียน คุณก็เป็นนักเรียน ในวาระที่อาตมาฟังธรรม แต่ละท่าน ๆ แสดงบ้าง แม้แต่พวกคุณ จะแสดงธรรม จะพูดอะไรต่ออะไรบ้าง อาตมาก็ฟังได้ ฟังเป็นนักเรียน เราก็เป็นนักเรียนที่ดีได้ เป็นครู ก็เป็นครูที่ดีได้ สาธยายได้จริงๆ ยิ่งสาธยายด้วย ฟังก็มาก สาธยายเองก็มาก แล้วก็ไม่ใช่ สาธยาย หรือว่าฟังมาก อย่างโง่ๆ ฟังมากอย่างเป็นนักฟังที่ดี ได้ประโยชน์ เกิดปัญญาอันยิ่งขึ้น มาทุกที สาธยายก็เกิดปัญญาอันยิ่งขึ้นมาทุกที แล้วก็สละยิ่งฟังธรรมก็สละได้ ฟังธรรมก็บรรลุ ธรรมได้ จะบรรลุธรรมก็คือสละทั้งนั้นแหละ ออก เนกขัมมะ ฟังธรรมอย่างผู้ที่เป็นเนกขัมมะ ฟังธรรมอย่างเป็นผู้ที่ได้ออกจาก ออกจากความเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง เราได้แต่ยึด เราได้แต่เป็น เราได้แต่มีมา

เรามาแสดงธรรมก็ดี ฟังธรรมก็ดี สาธยายธรรมก็ดี ปฏิบัติธรรมก็ตาม ก็ล้วนแล้วแต่จะเกิด ญาณปัญญาอันยิ่งว่า เราต้องจาคะ เราต้องเนกขัมมะ เราต้องทาน เราต้องออก เราต้องหมดตัว หมดตน หมดความติดยึด แต่ก็ไม่งมงาย ไม่โง่เง่า จนกระทั่งว่า แล้วเราเป็นโง่เง่า ไม่เป็นไม่มี อย่างสุดโต่ง มันก็เป็นก็รู้สมมุติสัจจะว่า ปัจจุบันขณะนี้ เราเป็นอะไร ก็ต้องเป็นให้ดี เป็นให้ แข็งแรง เป็นให้มั่นคง ภาษามันไม่มีภาษาจะพูดแล้ว เราจะต้องวาง แต่เราก็จะต้องเป็น ยิ่งเป็นคน ที่มีหลักแข็งแรงอยู่ในสิ่งที่เราวาง เราไม่เป็น ไม่เป็นของเรา แต่เราต้องเป็นนั่น ไม่เป็นเรา เป็นของเรา แต่เราต้องเป็นอันนั้นให้แข็งแรง มันไม่รู้จะพูดยังไงแล้ว มันไม่มีภาษา จะพูดแล้วนะ แล้วก็เป็นสิ่งที่ดีด้วย สิ่งที่เป็นคุณค่าในปัจจุบันธรรมนั้นด้วย

ยกตัวอย่างเช่น เราไม่เป็นพ่อค้า เพราะพ่อค้าก็เป็นผู้ที่ค้าขายอย่างโลกละนะ ค้าแล้วก็แลก เปลี่ยน กลับคืนมาเป็นของตัวเอง กำไรของเขาก็คือจะต้องได้มากๆ เราไม่เป็น แต่เราก็ต้องเป็น พ่อค้า กลับกันว่า เอากำไรเอามาให้แก่ตัวให้มาก ไม่เอา เป็นพ่อค้าที่จะให้ได้มากๆ อย่างนี้ เป็นต้นน่ะ

เราเป็นนักสร้างอะไรก็แล้วแต่ เราเป็นนักบรรยายธรรม เราเป็นครูจะต้องไม่เป็นครู จะต้องไม่ หลงอัตตามานะว่า ฉันใหญ่ ฉันรู้ ฉันสอน ฉันเป็นผู้ที่ให้แก่เธอนะ ให้แก่คุณ มีบุญมีคุณนะ เราเป็นครู แต่เราก็ไม่เป็นครู เราพยายามวางความเป็นครู แต่เราก็จะต้องเป็นครูให้เก่ง เอ้า ฟังได้ก็ฟัง ฟังไม่ได้ ก็หูหักไปก่อนก็แล้วกัน ต้องเป็นพระธรรมกถึก จะต้องเป็นครู ครูทั้งแสดง ภาษา ครูทั้งปฏิบัติความจริง พฤติกรรมของกาย พฤติกรรมของวาจา แม้กระทั่งตัวใจนี่แหละ เป็นตัวจริง ใจต้องจริง ต้องตรง ให้ถูกต้อง อย่างนี้เป็นต้น

เพราะฉะนั้น เราจะต้องรู้ว่า เรายังมีชีวิต เราจะต้องมีเครื่องอาศัยวิหารี ธรรมวิหารี จะต้องเป็น ผู้อาศัย เป็นผู้ที่ยังอยู่ วิหาร วิหารี เป็นผู้ยังอยู่อย่างยิ่ง เราต้องรู้ว่าความที่เรายังตั้งอยู่ เรายังไม่ตาย เมื่อไม่ตาย เราก็จะต้องมีต้องเป็น แต่มีที่เป็นนี้ เป็นสัจจะอันหนึ่งที่เรียกว่า สมมุติ เท่านั้น แต่เราต้องเป็นให้แข็งแรง ให้มั่นคง ให้เป็นจริงๆ แสดงอะไรก็จริง เป็นอะไรอยู่ ก็เป็นให้จริง แต่ในใจลึกๆ อันนั้นจะจริงอย่างไร จะมีอย่างไร จะแข็งแรงอย่างไร จะสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพอย่างไร มันก็ไปยึดมั่นถือมั่นเอาเป็นเรา เป็นของเราไม่ได้ อย่าไปทำใจยึดมั่น ถือมั่น โถมเข้าไปในอันนั้นเท่านั้น นี่เป็นตัวลึกซึ้งของธรรมวิหารี

ต้องจาคะ ต้องสละออกหมด นี่ตัวจาคะ ทำง่ายๆนะสละออก แต่ในขณะสละออกนั่นแหละ เราก็ยิ่งต้องเป็นอันนั้นให้จริง ให้มั่นคง ให้แข็งแรง เพราะต้องเป็นอันนั้น ใช้อันนั้น ถ้ายิ่งเป็น สิ่งสำคัญ สิ่งที่เป็นตัวเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ยิ่งต้องทำ มันน่าคิดนะ สมณะ หรือภิกษุ หรือพระนี่ พระพุทธเจ้าท่านห้าม ห้ามค้าขาย ห้ามขุดดิน ฟันหญ้า ปลูกผัก ปลูกพืช ห้ามเด็ดด้วย ทั้งๆ ที่เรากำลังมาเน้นสัมมาอาชีพ จะต้องเป็นนักกสิกรรม แล้วก็จะต้องทำงานค้าขาย ซึ่งเป็น วรรณะศูทร กับ วรรณะแพศย์ น่ะ ห้ามเลยนะ แต่ว่าเราต้องมาเน้น เพราะว่าอันนี้เป็นหลัก ของชีวิต ต้องพึ่งต้องอาศัย ต้องเป็นต้องมี นี่แหละมันร้ายแรง

ถ้าคนที่ไม่เชี่ยวชาญ ไม่เก่งจริงๆ มาเป็นสมณะนี่ อย่าพึ่งแอ๊ค เป็นนักค้า อย่าพึ่งแอ๊ค เป็นนัก กสิกรรม เพราะฉะนั้น พระทุกวันนี้ เป็นพระนักค้าขาย กับพระนักทำเกษตร เดี๋ยวนี้โด่งดัง อยู่เดี๋ยวนี้ เป็นนักค้าขาย พระนักเกษตร แต่พระนักบริหารก็มีจริง พระนักบริหารนี่นะก็มีจริง แล้วก็ได้บริหาร ยิ่งใหญ่เลิศเลออยู่ อันนี้ไม่ต้องพูด เรารู้ดี เพราะเขาแบ่งชั้นวรรณะเอาไว้ว่า นักบริหาร ก็เป็นวรรณะกษัตริย์ กับ วรรณะพราหมณ์ นี่ยิ่งใหญ่ได้เปรียบวรรณะพราหมณ์ ก็ เอ้เต นั่งยันเต เอาเปรียบเอารัดอยู่ เรียกว่า บาปให้แก่ตัวเองโดยที่เรียกว่า ไม่ทำงาน แม้บริหารก็ ไม่ทำน่ะ สมณะที่ยิ่งไม่แท้นะ ได้แต่นั่งเอ้เต ใครก็มากราบ มาเคารพเฉยๆ ก็สมณะนี่ รอกราบ อย่างเดียว บริหารก็ไม่บริหาร เรื่องการค้าการขาย การจำหน่ายจ่ายแจก ก็ไม่พูด เรื่องจำหน่าย จ่ายแจก ไม่เป็น ไม่มีวิธีการจำหน่ายจ่ายแจกเลย สร้างหรือวรรณะศูทร หรือยิ่งมืดหน้าเลย อย่าไปพูดเลย สร้างอะไรไม่เป็นใหญ่เลย

นี่สมณะเดี๋ยวนี้ ภิกษุเดี๋ยวนี้ หรือพระเดี๋ยวนี้ แล้วเขาเคารพนับถือกันนั่นน่ะ คือแบบฤาษี ไปใหญ่เลย ไม่แท้อย่างยิ่ง แต่ในพุทธศาสนา เขาก็เคารพนับถือกัน ไม่ต้องพูดถึงศาสนาอื่น เขาก็นับถืออยู่แล้ว นั่นล่ะ เขาถึงถือว่าวรรณะสมณพราหมณ์ วรรณะสมณพราหมณ์ได้แต่เดินๆ ย่างไปมา ไม่ทำอะไร หรือไม่ก็นั่ง ไม่ไปไหนมาไหนมากด้วยซ้ำ หรือไปก็ไปอย่างประเภทที่เรียกว่า ไม่เอาอะไรเลย เดินมันตลอดรอบโลก เดิน เอาแต่เดิน ไม่รู้บริหารข้าก็ไม่บริหาร จำหน่าย จ่ายแจก จัดแจง ให้มีวิธีการจำหน่ายจ่ายแจก นี่คือมันแย่งกัน คนในโลก นี่ มันแย่งกัน เพราะฉะนั้น ต้องวรรณะแพศย์ หรือวรรณะจำหน่ายจ่ายแจกนี่ ต้องสำคัญ

แล้ววรรณะสร้าง วรรณะศูทร สร้างเลยไม่รู้เรื่อง เพราะฉะนั้น คนเหล่านี้ เป็นคนวรรณะสมณะ ที่มิจฉาทิฏฐิ ๑๐๐ % ไม่รู้เรื่อง แล้วคนเหล่านี้ เป็นคนวรรณะสมณพราหมณ์ที่มิจฉาทิฏฐิ ๑๐๐% เพราะฉะนั้น เราจะต้องเป็นทั้งนักบริหาร สมณะก็เป็นทั้งนักบริหาร และท่านกันวินัย เอาไว้ว่า ระวัง เรื่องการแจก จำแนก แจกจ่าย การค้า กับการสร้างโดยตรงเลย พระห้ามซื้อ ห้ามขาย พระห้าม แม้แต่ไปเด็ดใบไม้ใบหญ้าไม่ได้

ในศาสนาพุทธนี่นะ มีบอกไว้ว่า ผู้ที่หลงไปหาอาจารย์ ออกป่า ออกเขา ออกถ้ำ ไม่มีตะกร้า ไม่มีเสียม ไปด้วยนะ คนแรกนี่เคร่งครัด ไม่มีตะกร้า ไม่มีเสียมหรอก แต่ออกป่า เคร่งครัด ถึงขนาด ไม่เด็ดใบไม้ใบหญ้ากิน เก็บผลไม้หล่นกินเป็นอาหาร คอยอาจารย์ หาอาจารย์ นั่นเป็นการแสวงหาที่ผิด แสวงหาออกป่า เก็บผลไม้กินเป็นอาหาร แสวงหาอาจารย์ ยังไม่ถึงขั้น เอาเสียม เอาตะกร้าออกป่า ออกนั้นแล้วนะ นี่เป็นความเสื่อมประเภทที่ ๑

ดีนะ เป็นคนเคร่งครัดนะ แหม อยู่ในศีลในธรรม ไม่เด็ดใบไม้ใบหญ้า ไม่เด็ดผลไม้กินเอง คอย รอ มันหล่น โอ ปุ๊บ หล่นแล้วได้กิน ถ้าไม่หล่นต้องรอคอยอยู่นั่นแหละ เด็ดไม่ได้ ผิดศีล ผิดวินัย อาบัติ โอ เคร่ง นี่ความเสื่อมประการที่ ๑ แล้วก็เข้าใจพาซื่อว่าออกป่า ไปหาอาจารย์ที่ในป่า ผิด อาจารย์ของพระพุทธศาสนาไม่ได้อยู่ในป่า พระอรหันต์เจ้า พระพุทธเจ้าส่งเข้าป่าหรือส่งเข้า เมือง ส่งเข้านิคม ๖๐ องค์แรกส่งเข้าเมืองนั่นแหละ คืออาจารย์ ๖๐ องค์แรก เป็นอาจารย์ของ ศาสนาพุทธ ส่งเข้าเมือง ไม่ได้ส่งออกป่า เพราะฉะนั้น ไปมัวงมหาป่า ก็ไปเจอฤาษีหมด ถึงได้เป็นอาจารย์ ได้แต่อาจารย์เป็นฤาษีหมดเลย ศาสนาพุทธจึงเสื่อม ตั้งแต่ประเด็นแรกเลย เพราะไปแสวงหาอาจารย์ คือจะต้องไปหาในป่าโน่น จึงจะเป็นอาจารย์

ยิ่ง โพธิรักษ์นี่ ออกมาอยู่เมืองเลยนี่ ทำไมไม่ไปหาเกาะแก่งเอาเอง โอ๊ย ป่าเยอะแยะเลย น้ำตก น้ำเติกอะไร ไม่ต้องมานั่งสร้างเสียเงินเสียทอง โอ๊ย มานั่งสร้างต้นหมากรากไม้ มานั่งสร้างอะไร ทำไม ป่าก็มี ต้นไม้มี ตามเขาน้ำตก แก่ง เขา มีเห็นไหมล่ะ ท่าน..... ยังไปจองเอาได้เลย สถานที่เขา เป็นสถานที่ป่าสงวนด้วยนะ ฯลฯ...

มันอย่างนั้นแหละ มันไม่เข้าใจ มันก็เป็นไป เสร็จแล้ว ป่าที่ว่านั้น ต่อไปมันก็เพี้ยน ถ้าไม่เข้าใจ แต่เอาเถอะ ยังรักษาดี ยังเข้าใจธรรมชาติดี ก็ดี ไม่มีปัญหาอะไร อย่างน้อยก็คงรักษาไว้ได้ พอสมควรน่ะ เขาก็เลยรู้สึกว่า คุณค่าของพระนี่ รักษาป่าอยู่บ้าง สำหรับพระที่เข้าใจพวกนี้ บ้างน่ะ

แต่จริงๆแล้ว ออกป่าอย่างนั้นไม่ถูกหรอก ถ้าเผื่อว่าบรรลุแล้วไม่ออกป่า จะไปออกทำไมล่ะ ออกป่าไปน่ะ จะไปเจอคนเท่าไหร่ สอนคนได้เท่าไหร่ เสียเวลาไป จะไปนาน นี่ขนาดวิ่งเข้ามาหา ยังไม่ค่อยเข้ามาเลย เพราะว่า ธรรมะมันเข้มข้นกว่ากัน เขามารับเอา ก็ไม่ค่อยได้ นี่ ดูซิ พุทธทายาทนี่ มานั่งฟังธรรม เห็นกันกี่คนนี่ ดูหน้าพอจำได้ ยังเหลืออยู่นะ ยังไม่กลับเลยนะ นอนอุตุอยู่ ยังไม่ตื่นเลย เดี๋ยวต้องกู้ทุนหน่อย แหม มันไม่ได้นอนมาตั้ง ๓-๔-๕-๖ วัน วันนี้ขอ กู้ทุน หน่อยเถอะ ไม่ลุก ไม่ตื่นแล้ว

เพราะฉะนั้น ผู้ที่ยังไม่เข้าใจทิศทางนี่ อาตมาไม่สาธยายก่อนนะว่า ความเสื่อมที่ว่าพระออกป่า ไปหาอาจารย์เก็บผลไม้หล่น หนักกว่านั้น ถือเสียม ถือตะกร้าออกไป ก็นึกว่าพระอาจารย์อยู่ป่า อีกแหละ ถือเสียม ถือตะกร้านี่ศีลชักแย่แล้วน่ะ ขุดกิน เด็ดกินแล้ว คนถือเสียม ถือตะกร้า ไม่ต้องห่วงว่า ไม่เด็ดหรอก ก็ขุดน่ะ ขนาดว่าขั้นขุดแล้ว ไม่ต้องห่วงหรอก ถือเสียมถือตะกร้า ตะกร้านี่ ก็ไปเด็ดมาใส่ตะกร้าเอามากินไง เสียมก็ถือไปขุดด้วย เอาละ สาธยายให้จบก็แล้วกัน มี ๔ ประเภท ประเภทอีกประเภท มีประเภทป่า ส่วนที่เป็นประเภทเมือง ยังดีนะ ออกเมืองยังถูกนะ แต่ก็นั่นแหละ เมืองก็ไม่ได้นั่นอะไร ออกเมืองมาก็เป็นพระที่ อะไรอันที่ ๓ นี่ ไปอยู่ในทาง ๔ แพร่ง แล้วก็สร้างมุข ๔ ด้าน บูชาไฟ เป็นผู้ที่เข้าเมือง บูชาไฟ หาอาจารย์ก็ได้แต่สวดมนต์ อ้อนวอน บูชาธูปเทียนเผาอะไรต่ออะไรนี่ เป็นพระบ้าน พระบ้านมีโบสถ์ มีโบสถ์เล็กๆ ยังไม่ ๔ ด้าน ยังไม่มุข ๔ ด้านนะ ยังไม่มีมุข ๔ ด้าน แล้วยังไม่ หาทาง ที่จะอยู่ในทาง ๔ แพร่งหรอกนะ แค่นั้นแหละ บูชาไฟ ใครมาก็ สอน แนะนำอะไร ต่ออะไรๆ เป็นอาจารย์ทางบ้าน เป็นพระบ้าน ไม่ใช่พระป่า อันนี้พระบ้าน แล้วก็หากินหรือมีชีวิตอยู่ โดยที่คอยหาอาจารย์ ด้วยไม่มีอาจารย์ ที่แท้จริง ก็แสวงหาอาจารย์ยังดีนะ ยังมีลึกๆกว่า แสวงหาอาจารย์ แสวงหาอาจารย์ แต่ตัวเองก็ ดีไม่ดี ตัวเองหลงตัวเองเป็นอาจารย์ไปเสียเลย แล้วก็มีบูชาไฟ บูชาไฟ มีไฟ

ประเภทที่ ๔ นั้น หนักเหมือนกับออกป่า มีตะกร้า มีเสียมไปเลย ประเภทที่ ๔ ก็เหมือนออกป่า ประเภทที่ ๑ อันนี้ก็ประเภทที่ ๑ ในบ้าน ตอนนี้ ก็เป็นผู้ที่อยู่ในทาง ๔ แพร่ง สร้างมุข ๔ ด้าน บูชาไฟ คอยอาจารย์ หาอาจารย์ คือ ครบครันเลย ทีนี้ ครบครัน คือสร้างโบสถ์วิหาร สร้างอาราม ที่ดักคนเลย มุข ๔ ด้านนี่หมายความว่า ใครมาทิศไหน ก็รับเข้าวัดฉันหมด เสร็จแล้วก็พาบูชาไฟ อยู่ ในทาง ๔ แพร่ง ก็หมายความว่า อยู่ในทางที่ชุมชน ตรงกันข้ามกับป่า อยู่ในย่านที่จะมีคน อุดมสมบูรณ์ มีคนมาก นี้เป็นความเสื่อม ๔ ประเภทของศาสนา พระพุทธเจ้า เป็นความเสื่อม

เอ้า ทีนี้ มันใกล้กันคล้ายกันนะ อย่างเรานี่ โอ้โห นี่กำลังจะสร้าง มุข ๔ ด้านแล้ว แล้วก็มาอยู่ ในทาง ๔ แพร่ง เพราะว่าเราไม่ได้เข้าป่า เข้าเขา เข้าถ้ำ แต่ถูกกับพระพุทธเจ้าว่า อาตมาเป็น อาจารย์ที่ออกหมู่บ้าน ออกเข้านิคม เป็นอาจารย์ที่ออกหมู่บ้าน ถูกแล้วนะ อันที่ ๑ อาตมาไม่ได้ พาเรา ไม่ได้พาสมณะนั้นไปทำเกษตรโดยตรง ลงมือทำเหมือนกับอย่างที่ แม้แต่สายทางเถร สมาคม เขายกย่องชูเชิดลุยเลยนะ ทำเกษตรเต็มที่เลย เดี๋ยวนี้ ก็มีพระที่เป็นพระเคร่งครัด อยู่เหมือนกัน อย่างสายสัจจะโลกุตระ สายนั้นน่ะ ทำไร่ ทำสวน ปลูกมะละกอแจก ปลูกกล้วย แจก ทำกินกันเองเลย ค้าขายไปเลย ทำป่าทำเขา ทำอะไรต่ออะไรไปเอง แล้วก็มีศาสนาที่เป็น มหายาน เขาทำสวน ทำไร่ ทำอะไร ทำมาหากินเองเลย เหมือนกันเดี๋ยวนี้ นี่คือสิ่งที่เสื่อม ที่ไม่อยู่ในหลัก ในรอยแล้วล่ะ แต่พระอยู่บ้านนี่ละ เยอะบูชาไฟ บูชาไฟนี่ล่ะเยอะ สร้างมุข ๔ ด้าน อยู่ในทาง ๔ แพร่งนี่เยอะ

ทีนี้อาตมาพาพวกเราทำนี่นะ ไม่ได้ส่งเสริมที่จะให้พระไปเป็นเกษตรกร ไม่ได้ส่งเสริมให้พระ ไปเป็นพ่อค้าหรอกนะ อาตมาก็สอนฆราวาสให้ฆราวาสนำพาทำ แต่ก็พยายามให้พระนั้น เรียนรู้ ทุกอย่าง บอกแล้วว่า เราไม่เป็นพ่อค้า แต่เราก็ต้องเป็นพ่อค้า เราไม่ได้เป็นนักปลูก เป็นนักกสิกร แต่เราก็ต้องเป็นนักกสิกร นักรู้ ที่จะต้องรู้ ไม่ใช่ลงมือ แต่เราจะต้องเข้าใจจริงๆ ทีนี้ จะเข้าใจนี่ มันก็ได้ ทั้งบุญบารมีเก่า กับบุญบารมีใหม่ ถ้าเราเคยเป็น ชาตินี้ไม่เคยเป็น คุณก็ต้องเป็นมาแต่ ชาติก่อน คนนั้นก็จะได้ ถ้าแม้ว่าเป็นมาแต่ชาติก่อน คุณก็ต้องมาศึกษาชาตินี้ เท่าที่จะศึกษาได้
เพราะฉะนั้น พระบางรูป ไม่มีบารมีมาแต่เดิมนี่นะ เป็นนักเกษตรเก่า มาแต่ชาติปางก่อน ไม่ค่อยจะเก่งแล้ว ถ้าเราเป็นนักเกษตรแต่ก่อน ก็จะเก่ง เข้าใจพูดปั้บๆ ประเดี๋ยวมันจะมีปฏิภาณ ปัญญา มันจะมีอะไรลึกรู้ เป็นนักค้าขายมาแต่เก่า เราจะเป็นเนื้อเป็นหาอะไรของเราอยู่ในตัว

อาตมาว่า อาตมาไม่มีปัญหาอะไร แม้ชาตินี้อาตมาก็ไปบ้าง ตามกระแสของวิบากมีเป็น อาตมาบอกแล้ว อาตมาเป็นเด็กเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย อาตมาเป็นนักค้า อาตมานี่อยากค้า แต่เด็กๆ เท่านั้นแหละ ทำแต่เด็กๆ โตมาไม่ได้ทำ เป็นนักค้า ต่อมาก็มาเป็นนักผลิต แล้วก็มาเป็น นักบริหาร ที่จริง อาตมาก็เป็นมาทุกอย่างแหละ ไม่รู้กี่ชาติมาแล้ว มันก็มีตามบุญ ตามบารมี ตามวิบาก แล้วเราก็จะทำตามที่เราทำ อาตมามาฟื้นฟู นี่ อาตมาเอาตัวอย่างที่ตัวอาตมาเอง แต่ละผู้ แต่ละคน แต่ละท่านก็เหมือนกัน ผู้ใดถนัดเรื่องไหน ผู้ใดมีบารมี มีวิบากที่ได้สั่งสมมา อันไหน ก็จะมีพรสวรรค์ หรือว่ามีอันนั้นๆก็ไม่เป็นไร

แต่เราก็ต้องศึกษาเพิ่มเติมอันอื่น เราจะได้ เป็นพระ หรือเป็นสมณะ ที่สามารถที่จะอธิบาย หรือว่าบรรยาย หรือว่าช่วยเหลือความรู้ ความเข้าใจอะไรต่ออะไรต่างๆ นานา แก่ผู้อื่นได้มากขึ้น ถ้าไม่เช่นนั้น มันก็ไม่รอบ มันก็ไม่กว้าง อย่างอาตมานี่จะต้องรู้รอบ รู้กว้าง รู้อะไรมากๆ รู้อะไรเยอะๆ ด้วยจริงๆ ถ้าไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถ ที่จะช่วยเหลือเกื้อกูล ไม่สามารถที่จะนำพา ให้มันครบวงจรได้

จริงๆแล้วอาตมา สามารถที่จะเป็นนักบริหาร อันนี้พวกคุณต้องเชื่อ เพราะว่าอาตมาบริหาร เสือ สิงห์ กระทิง แรด ระดับพวกคุณนี่นะ ไม่ใช่เสือสิงห์กระทิงแรดธรรมดา พวกคุณนี่ เสือ สิงห์ กระทิง แรด ประเภทเขาทองเขี้ยวทองนะ ข้างนอกน่ะ เขาแค่ เขี้ยวตะกั่วเท่านั้น ข้างนอกนะ มัน ซ้อนนะ มันซับซ้อน ซ้อนเชิง พวกนั้นเอาลาภ เอายศเท่านั้นเป็นเครื่องประกอบ แต่พวกเรา เอาธรรมะเป็นเครื่องประกอบนี่นะ แล้วซ้อน ซับซ้อนนะ มีอัตตา มานะซ้อนยิ่งใหญ่ ข้ายิ่งละได้ ข้ายิ่งมีเขี้ยวสูง มีเขาแหลม มีเขาทอง มีเขี้ยวทอง ยิ่งซับซ้อนนะ แล้วหลงอัตตามานะซับซ้อน แล้วยิ่งไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่ค่อยรู้ตัวอัตตามานะ

อาตมาถึงพยายามสอนพวกเรา มันเป็นภาวะ ซับซ้อนที่ตีกลับ ที่บรรยายยากที่สุดเลย สภาวะ ต้องอาศัย ถ้าไม่มีสภาวะ ยิ่งไปได้ยากมากเลย เพราะฉะนั้น พวกเราที่ยิ่งปล่อยปละละเลย ไม่ทบทวนบัญญัติ ภาษา ไม่ฟังธรรม ไม่ฟังสาธยายเพิ่มเติม บางคนก็เลยหนัก เน้นว่าแค่นี้ เอาแต่งานแต่การ ทำแต่งานแต่การ แล้วก็ไม่ไยดีกับธรรมะอะไรต่างๆนานา มันจะไปไม่รอด และ เราก็จะต้องมีสัมมาอาชีพที่สมบูรณ์ครบวงจร ตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ หลักใหญ่ ไม่ออกไปนอกหลักหรอก

หลักมรรคองค์ ๘ จะต้องเป็นผู้ที่ลึกซึ้งด้วย ตรรกะ วิตรรกะ สังกัปปะ แล้วจะต้องมีจิตที่ อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา ต้องคล่องแคล่วด้วย วจีสังขารา คล่องแคล่วด้วยคำพูดภาษา คล่องแคล่วด้วยเรื่องราวของสังขาร จะต้องคล่องแคล่วด้วยเรื่องราวของสังขาร วจี แปลว่า เรื่องราว ไม่ใช่แปลว่าภาษาคำพูดเท่านั้น คำพูดก็ต้องแคล่วคล่อง ปรุงภาษาได้เก่ง ปรุงเรื่องราว ได้เก่ง ปรุงด้วยสังกัปปะ นั่นแหละตัวตรรกะ วิตรรกะ นึกคิด แล้วก็ต้องมีหลักจิตที่มั่นคง แน่ แนบแน่น เป็นสมาธิ ต้องมีทั้งจิตนี่มี ๒ หลัก สมถะหรือสมาธิที่มั่นคง กับจิตที่คิดแววไว มุทุภูตธาตุ แปลว่า มีธาตุทั้ง ๒ ธาตุที่แววไว และธาตุที่หนักแน่น คือละได้ ตัดได้ ดับได้ แข็งแรง ซ้อนอยู่ใน ๒ ส่วนน่ะ

เสร็จแล้วเราก็เสริมสังกัปปะนี่ดีขึ้น วาจาก็ดีขึ้น กรรม การกระทำทางกาย หรือการกระทำ ทุกอย่าง จึงดีขึ้น แล้วก็ประกอบการงานเรียกว่า อาชีพ ประกอบการงาน ประกอบอาชีพ เราก็มีอาชีพเพิ่มเติมขึ้น ซึ่งอาตมาพาทำ พาเน้น อยู่เดี๋ยวนี้ ซึ่งการเน้นนี่ ก็เน้นไปหาอัตตามานะ อย่างที่พูดมาแต่ต้น ว่าอาตมา ขยายอัตตามานะนี่มากกว่า แล้วกิเลสอัตตามานะนี่นะ พยายามที่จะพาให้เจริญ พาให้สูงขึ้น คุณก็จะต้องรู้จักสมมุติสัจจะเพิ่มขึ้น

อาตมาเคยบอกแล้ว ว่าพระอรหันต์เจ้า ท่านอยู่กับสมมุติสัจจะเท่านั้น เรื่องปรมัตถสัจจะจบแล้ว ท่านหมดแล้ว เรื่องจิต เรื่องเจตสิก รูป ท่านรู้เรื่องรูป รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ ในภาวะจิตใจ ท่านรู้ของ ท่านเองหมดแล้ว แล้วท่านก็ตัดกิเลสหมดแล้วด้วย เหลือแต่จิตบริสุทธิ์จิตวิเศษ จิตผ่องใส จิตปภัสสร พระอรหันต์มีจิตปภัสสร เสร็จแล้วท่านก็จะปฏินิสสัคคะ ท่านจะย้อนปรับปรุง ปรุงกับโลกเขา เท่าที่ท่านจะสามารถปรุงได้ ท่านรู้จักการประมาณ รู้จักมัชฌิมาดีแล้ว เพราะหลักการของศาสนาพระพุทธเจ้า คือมัชฌิมาปฏิปทา คือการรู้จักสมดุล พระอรหันต์นี่ จะรู้จักสมดุล เก่งที่สุด เท่าที่ท่านเก่งแต่ละองค์นะ แต่ละองค์ท่านก็เก่งกว่ากันนะ แต่ละองค์ แต่ละองค์ ก็ไม่เท่ากัน เสร็จแล้วท่านจะมาปรุง ปรุงอะไร ก็ปรุงสมมุติ พระอรหันต์เจ้านี่ ปรุงสมมุติ

ทีนี้ เราจะเอาจบอรหันต์ แล้วมาปรุงไม่เก่งหรอก ไม่เก่งหรอก เพราะฉะนั้น มันจะซ้อน มรรคองค์ ๘ นี่ ให้ปฏิบัติโสดา สกิทา อนาคาก็ทำย้อนไป ย้อนมา ซ้ำไปซ้ำมา กลับไปกลับมา เราจะไปนั่ง ปฏิบัติให้เป็น มันก็ไม่สอดคล้อง มรรคองค์ ๘ อยู่นั่นเอง เราจะต้องปฏิบัติให้มันจบเสียก่อน กิจตนก่อน แล้วค่อยมาช่วยประโยชน์ผู้อื่น ไม่มีหลักของพุทธศาสนามรรคองค์ ๘ นั้น ประโยชน์ ตน กับประโยชน์ท่านไปพร้อมกัน มีสัมมาอาชีพ มีสัมมาสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ สัมมาอาชีพ ไปพร้อมกัน เพราะฉะนั้น จะฝึกเอาตัวท่านนี่แหละ เป็นเหตุปัจจัยกับตน เอาตนนี่แหละเป็น เหตุปัจจัย กับท่านตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ใครปลีกเดี่ยว ใครหลบหลีกลี้ อะไรต่ออะไรมากนะ ก็จะช้า เป็นฤาษีจึงช้า

พวกฤาษีนี่น่าสงสาร มากกัปมากกัลป์เลยยาวนาน ซึ่งไม่รู้ความจริง ไม่ค่อยจะ เจริญงอกงาม ง่ายหรอก เพราะมันไม่เข้าหลักมรรคองค์ ๘ แล้วยิ่งไม่เอาการงาน ไม่เอาการกระทำ เอาแต่นั่ง หลับหู หลับตา เอาแต่คิด เอาแต่สังกัปปะประเด็นเดียว อย่างนักธรรมะที่นั่งสมาธิ เอาแต่ สังกัปปะ เอาแต่คิด วาจาก็ไม่ค่อยพูด การกระทำหรือการงาน หรือเลิกเลย พวกนี้นี่ช้าดักดาน เลย

อาตมาพูดแค่นี้นี่ รู้สึกว่ามันน้อยนะ ช้า อาตมานับกัปนับกัลป์กับคุณไม่ไหว รู้ไหมว่ากัปหนึ่ง กัลป์หนึ่ง มันนานเท่าไหร่ คุณช้าไปกัปเดียวนี่ เท่ากับเอาผ้าใยบัวมาราดที่หัวภูเขาสิเนรุให้มันสึก แล้วร้อยปี มาถูกอีกทีหนึ่ง สึกไปอีกทีหนึ่ง จนกว่าภูเขาสิเนรุจะราบได้กัปหนึ่ง เพราะฉะนั้น ช้าไปสัก ๒ กัปนี่ คุณจะนานเท่าไหร่ ไม่ต้องเอามากกัป กัปหนึ่งก็คือภูเขาสึกจนราบ คือฟังแล้วนี่ มันหมด ไม่ต้องคิดน่ะ เพราะฉะนั้น ความนานของกัป เราไม่สามารถที่จะพูดจะบรรยายได้ ถ้าเรายืดกัปนั้นไปได้ไกลนาน เราไม่รู้ได้ว่ากัปที่สั้นที่ยาว มันอยู่ได้อย่างไร แค่ไหน แต่ความจริง เราก็จะต้องรู้ว่า เราไม่ควรจะให้ช้านาน เพราะฉะนั้น ต้องอธิบายความช้านาน เพื่อให้พวกเรา สะดุ้งสะเทือน ไปประมาทอะไรกับความช้านาน บอก ไม่เป็นไร เราช้านานหน่อยก็ได้ เรารอ หน่อยก็ได้

พระพุทธเจ้าบอกว่า ท่านไม่ส่งเสริม ท่านไม่ส่งเสริมจริงๆ ในความเนิ่นช้า ประมาท เพราะฉะนั้น คนที่เสพ ที่ติดนี่จะประมาท เอาหน่อยน่ะ ให้อาหารมันหน่อย ไม่ว่าคุณจะให้อาหารอะไรมันล่ะ กิเลสนี่ ช่างมันเถอะ นิดหน่อย นั่นล่ะ ประมาทแล้ว ก็ช้านานแล้ว พอเรารู้สึกตัวเมื่อไหร่ จะต้อง ปฏิบัติให้ครบมรรคองค์ ๘ พิจารณา บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ ต่อไปให้เก่งขึ้น วาจาก็ดี กายกรรมก็ดี การงานก็ดี เข้าหาการงาน เข้าหากรรม อะไรเป็นกุศลกรรม อาตมาถึงได้บอกว่า พระพุทธเจ้า ท่านได้ตรัสปัจเวกขณ์ข้อหนึ่งว่า บัดนี้ เวลากำลังล่วงไปๆ กายกรรม วจีกรรม ไม่มีมโนนะ กายกรรม วจีกรรมที่ดีกว่านี้ยังมีอีก ไม่ได้มีคำว่ามโน ให้เร่งตรงไปปฏิบัติกาย และวาจา เพราะรู้เวลาล่วงไป ๆ นี่ อย่าช้า ต้องไปทำสิ่งที่เป็นกรรม ที่เป็นกาย วาจา เป็นการงาน ไม่ใช่ให้มานั่งคิด วันนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ กาย วาจาที่ดีกว่านี้อีก

ถ้าเอามโนมา กาย วาจากับมโนที่ดีกว่านี้อีก ไอ้คนที่ติดมโน ติดอัตตามานะก็บอก เออ เดี๋ยวๆ เรานั่งทำมโน แหว่งเลยนะ นั่งทำมโนดีกว่า พระพุทธเจ้าตัดมโนออก กาย วาจาที่ดีกว่านี้ ยังมีอีก ให้ไปกาย วาจา ไม่ใช่มานั่งแช่อยู่ที่มโน ฟังให้ดี ไม่ใช่ให้มานั่งแช่ อยู่ที่มโน เพราะฉะนั้น พวกที่ติดมีอัตตา มีตัวเสพอัตตา มีตัวเสพ ชอบ อารมณ์คิด พวกนักคิดก็จะนั่งคิด ไม่ไปทำงาน กาย วาจาพวกนักคิดไปนั่งคิด

ถ้าบอกว่าเวลากำลังล่วงไปๆ บัดนี้กำลังทำอะไรอยู่ กาย วาจา ใจ ที่ดีกว่านี้ยังมีอีก คนที่ชอบ นั่งคิดก็จะเอาละ เรานั่งทำใจดีกว่า เพราะใจที่ดีกว่านี้ยังมีอีก ก็ทำใจ นั่งคิด พวกนั่งสงบ พวกสายสงบสมถะ ถ้าพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า กาย วาจา ใจ ที่ดีกว่านี้ ยังมีอีก เราก็เอาใจสงบ ไม่เอาแล้ว กาย วาจา เพราะพวกนี้ ไม่อยากออกกำลังกาย จะไม่อยากแสดงกาย จะไม่อยาก แสดงวาจา พวกนี้จะไม่อยากแสดงกาย จะไม่อยากแสดงวาจา ก็จะมาหลงเอาอัตตา ตัวสายสงบ ก็จะเอาสงบ สายฟุ้งซ่าน ก็จะเอาคิด พิจารณา ไม่อย่างนั้นก็อย่างเก่ง ก็หาหนังสือ มาอ่าน สมัยนี้มีหนังสือ

สมัยก่อนไม่มีหนังสือก็สาธยาย ท่องทวนบทมนต์ของพระพุทธเจ้าไป สังคีติไป ทบทวนไป สมัยนี้ ก็เอาหนังสือมาอ่าน สายคิดฟุ้งซ่าน ถ้าไม่อ่านก็คิดไป ฟุ้งซ่านไปน่ะ ตกกระไดขาเป๋ ถ้าเผื่อว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เวลาล่วงไปๆ บัดนี้เธอกำลังทำอะไรอยู่ กาย วาจา ที่ดีกว่านี้ ยังมีอีก ถ้าท่านเอาใจใส่เข้าไปด้วย มันก็จะเป็นอัตตามานะอย่างหนึ่ง คำสอนพวกนี้ ไม่ใช่ของตื้นนะ พิจารณาเนืองๆ พอพวกสงบก็จะเอาสงบ พวกบำเรอคิดก็จะเอาคิด เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ต้องแก้ด้วยกาย และวาจา ต้องออกไปเลย ทำงาน กรรม เพราะฉะนั้น จะสังกัปปะนี่ตัด ต้องเอาวาจา กัมมันตะ อาชีวะไปเลย ที่ดีกว่านี้ยังมีอีก ต้องไปหาทำ ถึงจะแก้ได้ ถ้าไม่อย่างนั้นแก้ไม่ได้ จมอยู่ตรงนี้ จมอยู่ที่ภพของจิต อัตตานี่ ฟังดีๆนะ

อาตมาเน้นอัตตา เน้นมานะ มันลึกซึ้ง แล้วมันพิสดาร แล้วมันมากหลากหลาย แม้แต่แง่เล็กๆ น้อยๆ นี่นะ ถ้าไม่มีอาตมา ไม่มีใครเอามาพูดหรอก บัญญัติให้พระพุทธเจ้า ไม่ใช่พูดตกนะ ไม่ใช่บอกว่า กาย วาจา ที่ดีกว่านี้ยังมีอีก ท่านตกคำว่า ใจ ไม่ใช่ ไม่ตกนะ คำสอนนี้ อาตมา คิดเองไม่ได้ ถ้าอาตมาไม่มีภูมิเดิมมา อาตมาจะมาอธิบายที่เหลือนี่ไม่ได้ อาตมาก็จะคิด เหมือนอย่างสามัญ

อาตมายังจำได้เรื่องนี้ ยังจำได้ดีตรงที่ว่า คุณจำลองชอบใช้ ใครจำได้ไหม เวลากำลังล่วงไปๆ กาย วาจา ใจ ที่ดีกว่านี้ ยังมีอีก คุณจำลองพูดอย่างนี้ตอนต้น อาตมาก็ เอ๊ จะบอกคุณจำลอง ได้ยังไงน้า มันไม่ใช่ใจตัวนั้น มีแต่กาย วาจาเท่านั้น ตั้งนานแน่ะ จนกว่า อาตมาพยายาม สาธยาย คุณจำลองจำได้ อาตมาไม่เคยบอกตรงๆนะว่า ไม่มีคำว่าใจ เอ๊ ดูเหมือนเคยบอก หรือเปล่าไม่รู้ ดูเหมือนเคยบอก ดูเหมือนเคยบอก ตอนนั้นบอกว่าไม่มีคำว่าใจ มันมีแต่กาย วาจา เท่านั้น คนจะเข้าใจตีขลุมไปเลยว่า เอ๊ะ นี่ท่านต้องลืมตัวหนึ่งละ เพราะว่ากาย วาจา แล้วทำไม มันขาดใจไปตัวหนึ่ง จะต้องลืม ยังบอกว่า บัดนี้ เวลาล่วงไปๆ กาย วาจา ที่ดีกว่านี้ ยังมีอีก ไม่ใช่ว่ากาย วาจา ใจ ที่ดีกว่านี้ยังมี อีก กายวาจาที่ดีกว่านี้ยังมีอีก เขาจะตีขลุมเอาใจเข้าไป ด้วยเลย ที่จริงไม่ใช่ มันมีแนวลึกซึ้งอย่างที่อาตมากำลังสาธยายให้ฟังว่า มันสั่งสมอัตตา การสังวร สำนึก รำลึกเสมอๆอันนี้ แก้ไขอัตตามานะสังโยชน์ เป็นเรื่องลึก ไม่ใช่เรื่องตื้น เพราะฉะนั้น จะต้องเป็นคนมีภูมิพอสมควรแล้ว เข้าใจเรื่องใจพอสมควรแล้ว มีภูมิฐานทางนี้แล้ว อย่างนี้เป็นต้นน่ะ

นี่เป็นเรื่องที่เราจะต้องค่อยๆสาธยายกันไป บรรยายกันไป เมื่อถึงเวลาวาระ อาตมาก็นำพา บอกแล้วตอนนี้ เรากำลังทำสัมมาอาชีพกว้างขวางขึ้น ซึ่งหลายคนก็อาตมาก็เห็นใจ ก็ยังไม่ เข้าใจ ยังเพ่งยังจับไม่ติดยังเข้าใจอะไรไม่ได้อยู่ แม้แต่ในพวกเราเอง ในสมณะก็ตามก็ยังค่อยๆ เป็นไป เพราะว่ามันมาก มันยาก อาตมาก็บอกแล้วว่า อาตมาอายุร้อยปีนี่ ยังไม่รู้จะสาธยาย หมดหรือไม่ ที่สาธยายนี่ ก็ต้องอาศัยฐานเดิม ฐานเก่า มีพื้นฐานเอามาบรรยายต่อขึ้น เสริมขึ้น เรื่อยๆ ถ้าไม่เช่นนั้น ก็สับสน ตีลังกากลับได้ เพราะฉะนั้น พวกเราที่มีนิสัยหรือมีอุปนิสัย มีจิตชอบนี่ มันชอบ ชอบไอ้ที่เราชอบนั่นแหละ มันไม่ชอบออกมาหางานการ มันชอบคิด มันก็จะจมอยู่กับความคิด จมอยู่กับความสงบ ๒ สาย เท่านั้นแหละ สายสงบกับสายฟุ้งซ่าน สายถีนมิทธะกับสายอุทธัจจกุกกุจจะ ๒ สาย

ถ้าเผื่อว่าเราไม่จมกับภพอย่างนั้น เราก็จะต้องออกมา หรือเรารู้ว่าตัวเรา จมกับภพอย่างนั้น ละนะ จมกับภพฟุ้งซ่าน หรือจมกับภพถีนมิทธะ นั่นต้องออกมา อย่าไปจมนัก ถ้าไม่ใช่หลัก มรรคองค์ ๘ เอาแต่นั่งหลับตานะ ไม่มีทางแก้ เข้าใจไหม ฟังมาถึง ขณะนี้แล้ว เห็นไหมว่า ไม่มีทางแก้เลย ผู้ที่เอาแต่นั่งหลับตาสมาธิ จะไม่รู้จักมรรคองค์ ๘ ดีอย่างนี้ แล้วจะไม่ทำ มรรค องค์ ๘ ให้ได้สัดส่วน จะไม่ฝึกหัดอบรมให้ได้สัดส่วน มันจะไม่มีทางแก้ จะไม่มีเหตุปัจจัยที่เป็น โจทย์ ได้ฝึกได้ปรือ ได้มีผัสสะเป็นปัจจัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย จะได้ชำนาญแคล่วคล่อง ไม่ละ จะไม่แก้สักกายทิฏฐิ จะไม่แก้อัตตานุทิฏฐิด้วยการสังวร สำรวมทวารทั้ง ๕ มีตาเป็นต้น มีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย มีแล้วก็มีตาสัมผัส มีหูสัมผัส เรียกว่าจักษุสัมผัส เรียกว่าโสตสัมผัส เรียกว่า ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส เมื่อสัมผัสแล้วเกิดเวทนา เราก็เรียนรู้ในเวทนาอีก ว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ หรืออทุกขมสุข อทุกขมสุขอย่างอันธพาล ซื่อบื้อ หรืออทุกขมสุขอย่างลดจากกิเลส จนกระทั่ง เป็นอุเบกขา เป็นจิตที่วางได้ เป็นปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ซึ่งประกอบ ไปด้วยการงานที่ดี สละสลวยแล้ว หรือยังไม่เป็นท่าเลย เฉย คือ นั่งเฉยๆ ไม่ใช่กัมมัญญา ไม่มี การงาน อันสละสลวยอะไรได้เลย ได้แต่นั่งเฉยๆ อุเบกขาอย่างนั้นนะ มันก็ อุเบกขามิจฉาทิฏฐิ อุเบกขาผิด อย่างนี้เป็นต้น

เรารู้จักเวทนาในเวทนาขนาดไหน แล้วมีสัมผัสเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้น เพราะ อ้อ มีตา หู จมูก ลิ้น กาย มีสัมผัสเป็นปัจจัย ที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็น ถ้าสักกายะก็ถึงขั้นทุกข์ อัตตานุทิฏฐิ ก็ถึงขั้นอนัตตา ถ้าขั้นพ้นมิจฉาทิฏฐิ ก็แค่อนิจจัง ซึ่งอาตมาก็ได้อธิบายให้ฟัง แล้วว่า จุดอนิจจัง จุดพ้นมิจฉาทิฏฐิตรงไหน ถ้าเรียนอย่างนักปรมัตถ์แล้ว มิจฉาทิฏฐิตรงขีด ของจิตของคุณ รู้อนิจจังแล้วนะว่า กิเลสจับตัวกิเลสได้ คือเรียกว่ารูป รูปที่ถูกรู้ คือกิเลสเป็นตัว object เป็นตัวกรรม เป็นตัวที่เราจะต้องจัดการกับข้าศึกตัวนี้ให้ถูกตัว เสร็จแล้ว แม้ว่าคุณเอง คุณจับกิเลสนี่แหละ เห็นอนิจจังโดยประเภทมันเจริญ กิเลสมันงอกงามไพบูลย์ คุณจับถูก ปรมัตถ์แล้ว คุณพ้นมิจฉาทิฏฐิแล้ว แม้กิเลสของคุณจะเจริญ คุณก็พ้นมิจฉาทิฏฐิ

เห็นไหมว่า จุดมิจฉาทิฏฐิพ้นตรงไหน แต่แค่ไปเข้าใจความหมาย เข้าใจเป็นนักเรียน เป็นนักแต่ง เป็นนักคิด นักสวด จ้างก็ยังไม่พ้นมิจฉาทิฏฐิ ให้เก่งเท่าไหร่ก็ตาม แต่ถ้าไม่ถึงขั้นปรมัตถ์ ที่จะจับ สภาวะปรมัตถ์ อย่างที่กล่าวนี้ได้ อนิจจังอย่างไร ก็มันไม่เที่ยง แต่มันโตขึ้นน่ะ กิเลสมันโตขึ้น มันไม่เที่ยง มันโตขึ้น มันหนาขึ้น เรียกว่าปุถุชนนั่นแหละ คือลักษณะความเป็นปุถุชน อยู่ที่ ตรงคุณ แก้กิเลสให้อย่าหนาขึ้นนะ บางลง คุณจะทำให้บางลงไม่ได้ คุณพ้นมิจฉาทิฏฐิ คุณทำให้บางลงได้อีก คุณเข้าหาสักกายทิฏฐิ เพราะคุณดับเหตุแห่งทุกข์ คือสมุทัยของมัน ถูกตัวแล้ว ถูกตัวแล้วนะ สักกายะก็แปลว่าตัว อัตตาก็แปลว่าตัว อาสวะก็แปลว่าตัว ถูกตัวแล้ว ถูกสักกายะแล้ว แล้วมันก็ลดลง คือเข้าหา วิราคานุปัสสี

ตอนนี้อนิจจานุปัสสี ตามเห็นความไม่เที่ยง ไม่เที่ยงอย่างพ้นมิจฉาทิฏฐิ คือจับถูกตัวแล้ว แม้มันโต ฟังให้ดีนะ แม้มันโต คุณก็เห็นอนิจจังแล้ว อนิจจังแต่รู้ตัวแล้วว่า ก็เมื่อคุณรู้ว่า ตัวหนาขึ้น ตัวก็ยังเป็นปุถุชนอยู่ซิ เพราะกิเลสมันเพิ่มขึ้นนะ ถ้าทำให้มันลง ให้มันเล็กลงไม่ได้ คุณก็ยังจะเป็นปุถุชนอยู่นั่นแหละ ยิ่งหนาขึ้นมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นตราช้าง แน่ะ เขาบอกสมัยใหม่ อย่างหนาตราช้าง อย่างหนาตราช้างขึ้นเรื่อยๆ คุณก็ยิ่งปุถุ ปุถุ ขึ้นไปใหญ่เลย

คุณต้องมีวิธีการ มีความสามารถทำให้กิเลสนี้อนิจจัง วิราคะ เพราะฉะนั้น คุณตามเห็น อนิจจานุปัสสี วิราคานุปัสสี วิราคานุปัสสีเล็กลง จนถึงนิโรธานุปัสสีดับสนิท จึงจะเป็นตัวจริง เป็นตัวแท้ เพราะฉะนั้น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่คุณเห็นไตรลักษณ์ที่ว่านี้ นี่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไตรลักษณ์อย่างปรมัตถ์ ไม่ใช่ไตรลักษณ์อย่างตรรกศาสตร์ ไตรลักษณ์อย่างคิด เออ อะไรก็ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป อย่าไปยึดมั่นถือมั่นเลย ใช้นะ ไม่ใช่ ไม่ใช้ ฟังอีก ไม่ใช่คุณไม่ใช้นะ ใช้

พระพุทธเจ้าก็สอนให้ใช้ บรรเทาได้ อุปการะช่วยคุณ ไม่เช่นนั้น คุณไม่มีอะไรเครื่องช่วย สักอย่างหนึ่ง ไม่มีพายสักพาย ไม่มีเรือสักลำ ไม่มีอะไรอาศัยเลย คุณจะทำยังไง ก็ตายเปล่า ไม่มีแรงเลย ทำไม่ได้ ทำพรวดพราด เหมือนอย่างที่ปรมัตถ์ที่ว่านี่ พอเรียนรู้ก็เข้าปรมัตถ์เลย อย่างที่ อาตมาพยายามอธิบายนี่ ไม่มีทางหรอกมนุษย์ จะต้องอาศัยมาก่อน สมถะก่อนก็สมถะ แม้มาใช้วิปัสสนา แบบที่เอาละใช้วิปัสสนาตรรกศาสตร์นี่ เหมือนยา บำบัดแก้ปวดไปพลางนี่นะ อะไรก็ไม่เที่ยง อะไรก็ไม่ใช่ตัวตนอะไรไปก่อน ก็อย่างโน้นก็อาศัย แล้วก็ช่วยให้เราได้คล่องแคล่ว แล้วทำได้เก่งด้วยเหมือนกัน ก็ใช่ แต่ยังไม่ใช่ตัวสมบูรณ์ตัวปรมัตถ์ เพราะฉะนั้น วิธีการก็ดี การปฏิบัติที่ถึงขั้นปรมัตถ์อย่างนี้ก็ดี คุณต้องรู้ตัวเองว่า คุณทำได้หรือไม่ได้

ฟังเข้าใจไหม ฟังเข้าใจแล้วทำถูกไหม ถูกแล้วเป็นผลจริงไหม เป็นผลจริงมีผลสมบูรณ์ไหม สมบูรณ์ แม้เหตุปัจจัยเดียว คุณก็จะรู้สายของมันไปทีเดียว มีสัมพันธ์ทั้งไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัมพันธ์ทั้งทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิอยู่ขีดไหน ตรงไหน โอ้โห กว่าอาตมาจะอธิบาย ภาษาอันนี้ ให้พวกคุณฟังได้นะ ถ้าอาตมารู้ก่อนนี้ อาตมาก็จะอธิบายก่อนนี้นะ นี่มันพึ่งรู้เมื่อ ไม่เร็ว เมื่อไม่ช้าไม่นานนี่เองว่า อาตมาเห็นสำคัญนะ มิจฉาทิฏฐิสูตร สักกายทิฏฐิสูตร ในทางเอก อาตมาก็หยิบมาเขียน แล้วก็ซึ้งนะ ซาบซึ้งก็เอามายืนยันพูดกับเราอยู่นั่น มีสัมผัส เป็นปัจจัย เราพ้นมิจฉาทิฏฐิ เป็นอนิจจัง ก็พูดอยู่นั่นแหละ เอ๊ ทำไมมันคลี่ไม่ค่อยออกสักทีหนึ่ง

จนมาตอนหลังๆนี่ล่ะ มาไม่นานนี่ ถึงคลี่ออก ยืนยันอธิบายว่าเป็นเพราะสาธยาย มีสภาวะ เห็นไหม ไม่ใช่สาธยายท่องสวด ไม่ใช่ว่าตรวจสอบเฉยๆ ไม่ได้เป็นนักธรรมวิหารีขี้เก๊ อย่างที่ พระพุทธเจ้าท่านว่า ยังไม่ชื่อว่านักธรรมวิหารี เป็นนักธรรมวิหารี ที่แสดงธรรม หรือว่าที่สาธยาย ธรรมโดยพิสดารได้ โดยคิด ไม่ใช่คิดฟุ้งซ่าน คิดพล่าน แต่คิดพิจารณาตรวจสอบสภาวะ มันจึง ออกมาให้ พวกเรา ขนาดมีสภาวะยังตรวจสอบกว่าจะชักออกมาได้ โอ้โห มันลับ มันลึก มันซับ มันซ้อน มันเป็นเรื่องละเอียดไหม ฟังเป็นเรื่องละเอียด เป็นเรื่องที่ อื้อหือ ฟังแต่ภาษานี่ก็ละเอียด เอาคนใหม่ๆ ฟังภาษานี่ อาตมาว่ายังไม่รู้ ฟังเข้าใจไหม เข้าใจด้วยความรู้ละใหม่ๆ เอ้า พุทธทายาทนี่ มานั่งฟัง ไม่กี่คนนี่ หา เข้าใจไหม รู้เรื่องไหม ยิ้มแหยๆ แสดงว่าไม่ค่อยรู้เรื่อง ยิ้มแหยๆ อาตมาเห็นใจนะ เข้าใจ ไม่ใช่เรื่องง่าย

ทีนี้ พวกเราที่ปฏิบัติธรรมมาบ้างแล้ว หลายคน ก็ยังบอกว่า เดี๋ยวๆ ต้องตั้งหลักก่อน มันชักจับ ไม่ค่อยติด สภาวะมันละเอียด เพราะฉะนั้น คุณจะรู้ว่า จุดตรงไหน ที่พ้นมิจฉาทิฏฐิ ตอนนี้ล่ะ มันจะชัดเจนเลยว่า มิจฉาทิฏฐิพูดกันเปรยๆ ข้างนอกว่า อะไรก็บอกว่า มันก็มีความเห็น ไม่ถูกตรง เข้าใจไม่ถูกตรง เข้าใจผิดก็ได้ ความหมายแค่นั้นก็จริง ความเข้าใจเท่านั้นก็ได้ แต่ความเข้าใจ ที่ไปถึงใจ เข้าถึงใจนะไม่ใช่เข้าหู แล้วก็ไปอยู่ที่สมองเท่านั้น ถึงใจ ใจก็ไม่ใช่ตัว ไอ้เหมือน ที่เขาบอกว่าเหมือนกำปั้น เหมือนดอกบัวที่ตรงสูบฉีดโลหิต นี่นะ บอกใจอย่างที่ว่านี่ ไม่ใช่อันนี้

จิตวิญญาณกว่าจะเข้าถึงใจ กว่าจะเห็นจริงๆนี่ คุณต้องมีตัวสภาวะรองรับ ปฏิบัติเห็นแท้ เห็นจริง ในสิ่งนั้นจริงๆด้วย เป็นอาการ ลิงคะ นิมิต ถูกรู้โดยญาณของเรา อ๋อ อย่างนี้เอง อาการ สภาวะของกิเลส โอ้ กิเลสมันหนาขึ้น อ่านออก รู้ออกเลยว่ามันไม่เที่ยง มันโตขึ้น มันไม่เที่ยง มันไม่เท่าเก่าด้วยซ้ำไป หรือต่อให้มันเที่ยงมันก็ไม่เท่าเก่า ถึงบอกว่า ศาสนาพระพุทธเจ้า ไม่เอานะ เที่ยงก็ไม่เอา กิเลสเที่ยงน่ะ กิเลสทรงสภาพ แหม อย่างหนา อย่างแข็ง อย่างตีไม่แตก ทรงสภาพเที่ยงแท้อยู่อย่างนี้ก็ไม่เอา ต้องตีแตก

อาตมาพูดใช้คำว่ตีแตกนี่มาก็นาน แต่มันไม่ได้ขยายออกเหมือนอย่างเดี๋ยวนี้ ขณะนี้ รู้สึกว่า อธิบายเก่ง อธิบายได้ดี ได้ใช้ภาษา เข้าใจง่ายขึ้น ทั้งทำมือทำไม้อะไรด้วยนี่แหละ กิเลสมันไม่ได้ เป็นอย่างนี้หรอกนะ กิเลสมันไม่ได้เป็นเหมือนมืออาตมาทำอย่างนี้หรอก แต่ว่ามันเป็นสภาพ แท่งก้อน มีสภาวะความเป็นของมันขนาดนั้น อย่างนั้นแหละ ของใครอย่างไหน เท่าไหร่ ก็ของ คนนั้นแหละ แล้วก็ต้องรู้ความจริงเลยว่ามาก มันต่างกว่ากับเท่าเดิม มันมากขึ้น มันโตขึ้น มันเพิ่มขึ้น มันต่างกันเป็นลิงคะ เพศ มันต่างกันเท่าเดิมนะ มันน้อยลง ก็ต่างกับความที่คุณมี ไว้ก่อน เดิมมันมีเท่านี้ มันน้อยลงก็เห็นความต่างกันว่า มันน้อยลงนะ เห็นจริงให้ได้

คุณพ้นมิจฉาทิฏฐิแค่นี้ อนิจจังตัวนี้มันไม่เที่ยงแท้แล้ว มันไม่อยู่อย่างเก่าแล้ว มันไม่คงที่แล้ว มันไม่เหมือนเดิม ทำให้เปลี่ยนแปลงไปได้ เปลี่ยนไปอย่างไหน ด้วยสามารถของเรา ทำให้เล็กลง ถ้าคุณไม่รู้อย่างนี้ คุณจะไปทำให้มันเล็กลงได้หรือ เหอ เพราะฉะนั้น ปุถุชน จึงไม่มีปัญหาเลย ไม่มีทางที่เขาจะเห็นอนิจจังตัวนี้ เห็นความจางคลายตัวนี้ ไม่มีทาง ขี้หมากองเดียว แลกดวงดาว อีก ๕ ล้านดวงด้วย ไม่มีทางใช่ไหม ถ้าเผื่อว่าคุณเรียนปรมัตถธรรม คุณไม่เห็น ไม่รู้ ไม่เกิดญาณรู้ อย่างที่อาตมาอธิบาย ไม่มีทาง

พอเริ่มต้นรู้มิจฉาทิฏฐิแล้ว เริ่มต้นพ้นมิจฉาทิฏฐิแล้ว คุณก็เริ่มต้นที่จะต้องพยายามให้พ้น สักกายทิฏฐิ ด้วยการรู้เหตุแห่งทุกข์ ก็คือตัวตัณหา ตัวกิเลส ตัวสมุทัย แล้วทำให้มันจางคลาย จางคลายหมดเท่าไหร่ ก็สักกายะเล็กลงเท่านั้น พ้นทุกข์มากเท่านั้น เหลือตัวอัตตา บอกแล้ว อัตตา มันเล็กกว่าสักกายะเข้าไปอีก อาสวะเล็กเข้าไปอีก จนกระทั่งเหลืออัตตา ทำให้อัตตา เล็กลง หายลง ๆ จนเหลืออาสวะ จนมันไม่มีอัตตา ไม่มีอาสวะ ไม่มีตัวตนเลย เป็นอนัตตา เห็นอนัตตา แจ้งอนัตตาเลย หมดตัว หมดตนแล้ว หมดแล้ว ไม่มีแล้ว สุญญตาแล้ว อนัตตโต ริตตโต ตุจฉโต สุญญโตแล้ว ไม่มีตัวตนจริงๆแล้ว อนัตตาจริงๆแล้ว นี้คือ ปรมัตถ์พ้นอนัตตา พ้นอัตตานุทิฏฐิได้ ด้วยความมีสภาวะรองรับ แล้วก็มีญาณรู้ ญาณเห็นจริงๆ ของตัวของตน ไม่ใช่เอาให้อาตมา มาบอก มาพูด มาสอบญาณ ไม่เอาละ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้มานั่ง สอบญาณกัน ให้คุณมีญาณเอง เกิดญาณเอง รู้เอง เข้าใจเองให้ได้

เอาละ พูดไปอีกก็ได้ เพราะว่าอีกร้อยปี มันจะพูดหมดหรือไม่หมด น่ะ บอกแล้ว นี่ก็ไปเรื่อยๆ จะ ๖ โมงแล้ว เดี๋ยวเราก็จะต้องไปฟังบางคนจะต้องไปช่วยวันนี้ เรากินข้าวหาดวันนี้ ก็คงจะต้อง เผื่อแผ่ มีผู้มาเพิ่มเติมอยู่อีกบ้างนะ ก็คงจะต้องดูหน่อยนะ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ก็อย่างนี้ล่ะ มีอะไรก็แบ่งกันกิน ไม่ใช่ว่าจะมากินท่าเดียว ผู้ที่จะทำจาคะ ผู้ที่ทำสร้างสมเกื้อกูล ช่วยเหลือเฟือฟาย เผื่อแผ่ ก็อย่างนี้แหละ เราอยู่กันได้น่ะ แม้แต่เด็กๆ เมื่อวานนี้ บอกแล้ว ดูมา ด้วยกัน ๑๕๐-๑๖๐ คน จะอยู่ต่อที่นี่ ก็อยู่ได้นะ ที่นี่พอเลี้ยงกันได้ เพราะว่าก็ พาคุณมาลงนา ทำไมจะเลี้ยงไม่ได้ล่ะ ได้แต่พาคุณปลูกผักอีก เดี๋ยวก็มีอยู่มีกิน เดี๋ยวก็ได้ เรากินกันอย่างนี้ อยู่กันอย่างนี้ ชีวิตสังคมของเราก็จะเป็นอย่างนี้ สัมมาอาชีพของเราก็จะต้องทำ ต้องมี ต้องเป็น ขึ้นไปเรื่อยๆ สมบูรณ์น่ะ

เอ้า เอาละ สำหรับวันนี้ เอาแค่นี้


จัดทำโดย โครงงานถอดเท็ปออกพิมพ์ให้ท่วมโลก
ถอด โดย ประสิทธิ์ ฝ่ายทอง ๒๗ พ.ค.๓๕
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปราณี ๒๙ พ.ค.๓๕
พิมพ์ โดย สม.มาบรรจบ ๔ มิ.ย.๓๕
ตรวจทาน ๒ โดย โครงงานถอดเท็ป ๔ มิ.ย.๓๕
:2421B.TAP

... ริตฺตโต ตุจฺฉโต สุญฺญโต อนตฺตโต อาทีนวโต ฯ ....เล่ม ๓๗ ข้อ ๑๓๐๖