ที่พึ่งอันวิเศษของมนุษย์ ตอน ๒

โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
ณ พุทธสถานปฐมอโศก


สูตรที่ ๒ นะ นาถสูตรที่ ๑. เราได้ฟังเนื้อหาแล้ว ตอนนี้เป็นรายละเอียดที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัส อีกสูตรหนึ่ง นาถสูตร เป็นสูตรที่ ๒ ก็เหมือนกันแหละ แต่ว่ามีรายละเอียดเพิ่มขึ้น เดี๋ยวอ่าน ให้ฟัง ก็จะได้เห็นว่าเป็นรายละเอียดทั้งเนื้อในขององค์ประกอบเท่านั้นเอง ก็ฟังดูก็ง่ายน่ะ ลองฟังดู ...นี่เป็นข้อ ๑๘ เล่ม ๒๔

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ที่มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่ง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ [ฯลฯ =สำรวมใน ปาติโมกข์สังวร ถึงพร้อมด้วย อาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย] สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ [แล้วก็เหมือนเดิม ไปยาลใหญ่ นั่นก็ เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร นั่นแหละ ต่อไป] สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลายหนอ ดังนี้ ว่า เป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอนภิกษุนั้น อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรม ทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่งฯ

ก็ขยายความขึ้นมา แต่ว่าให้ภิกษุเป็นผู้ที่เอาภาระในการสั่งสอนศีล ในการที่จะพยายาม ที่จะพา ให้สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทกัน
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้ เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอด ด้วยดีด้วยทิฐิหนอ ดังนี้ ว่า เป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุเป็นผู้เถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวัง ความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่งฯ

ก็เหมือนกันก็กำชับกำชาว่า ภิกษุนี่แหละ จะต้องเป็นผู้เอาภาระ และเราก็จะต้องเห็นภิกษุเป็น ผู้นำ เห็นภิกษุเป็นผู้ที่มีศีล มีพหูสูต แล้วก็พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ก็ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นพหูสูต หรือภิกษุนี้เป็นผู้มีศีล แทงตลอดด้วยดี ด้วยทิฐิหนอ คือการเห็นอันนี้ เกี่ยวพัน ไปถึง ที่เราได้เรียนทิฐิ ๑๐ มา ทิฐิ ๑๐ ที่มิจฉาทิฐิก็ได้ สัมมาทิฐิก็ได้ ถ้าจะสัมมาทิฐิ ก็จะต้อง เห็นพระอริยะ คือเห็นภิกษุ...เห็นผู้ที่เป็นสมณาคตา เป็นสมณพราหมณ์ที่เป็น สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญจ โลกัง ปรัญจ โลกัง นั่นน่ะ มันจะต้องเห็นว่ามี ถ้าเห็นว่าไม่มี ภิกษุอย่างนั้นไม่มี ก็เป็นมิจฉาทิฐิอยู่ เห็นว่ามีก็เป็นสัมมาทิฐิน่ะ ก็คงจะพอเข้าใจ ที่อาตมา อธิบายมามากแล้วว่า ผู้ที่เป็นสาวกภูมินี่นะ ไม่เห็นผู้นำ ไม่เห็นภิกษุ ไม่เห็นผู้สืบทอด ไม่มีเชื้อ ไปเห็นแต่ภิกษุที่เป็นภิกษุผู้ไม่ใช่อริยะ ภิกษุผู้ไม่มี สยัง อภิญญา ภิกษุผู้ไม่รู้แจ้ง เห็นจริง ก็แน่นอน ศาสนาเสื่อม อย่างที่มันเป็นอยู่นี่ มันเห็นอยู่ทุกวันนี้เสื่อม เสื่อมได้ เป็นต้นเค้า อย่างนี้เลย

การที่ท่านระบุลงไปว่า กระทำที่พึ่งที่จะเป็น กระทำที่พึ่ง อันดีอันงามนี่สำคัญ ที่จะมีภิกษุ หรือ ผู้สืบทอด แล้วภิกษุผู้สืบทอดนั้น จะต้องเห็นว่า เป็นผู้ที่มีที่พึ่งมาก่อน เป็นภิกษุ ผู้มีศีล เป็นภิกษุ ผู้มีพหูสูต เป็นภิกษุผู้มีมิตรดีสหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้ขยัน เป็นผู้ใคร่ ในธรรมอะไร ที่มาแล้ว ๑๐ ข้อ ที่เป็นนาถกรณธรรม ๑๐ หลักนี่ เป็นผู้ที่มี เห็น เป็นผู้ที่มีอย่างนั้น เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีปัญญาอริยะ มีปัญญาอันรู้ความเกิด ความดับที่เป็นอริยะ

ความเกิดความดับที่เป็นอริยะเป็นอย่างไร อาตมาก็ขยายความให้ฟังแล้ว ความเกิดความดับ ที่เป็นอริยะ ไม่ใช่ความเกิดความดับที่ร่างกายตาย หรือจะเอาร่างกายตายก็ได้ จะต้องพิจารณา ร่างกายตายก็ได้ อย่างในอนุสสติ สติ ๓ ในอนุสสติ๑๐ น่ะ ที่มีมรณสติ แล้วก็กายคตาสติ แล้วก็ อานาปาณสติ เราจะต้องมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ จริงๆ ๓ สตินี้นี่ มรณสติ ก็คือตาย อานาปาณสติ ก็คือเป็น กายคตาสติก็คือการดำเนินไปการดำเนินอยู่ เพราะฉะนั้น เอาตาย ขึ้นก่อน เท่านั้นเอง มีความตายมีความดับไป มีความตั้งอยู่ กายคตาสติ เท่ากับความตั้งอยู่ แล้วก็มีความเกิด อานาปาณสติ คือความเกิด คนเรายังมีลมหายใจเข้า ลมหายใจออกอยู่ เป็นคนตายหรือยัง หา ยัง คนเราจะเป็นจะตายก็ดูที่ลมหายใจ ถ้าไม่มีลมหายใจแล้วก็ตาย

แต่ถ้ายังมีลมหายใจอยู่ อานา-อานาปาณะ หมายความว่า ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ยังมี ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกอยู่ ก็ยังเป็นคนเกิด เป็นคนเกิดน่ะ มีสติรู้ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นั่นแหละ แต่ว่าเอาตายขึ้นก่อนหรือดับไปขึ้นก่อน มรณสติ มีสติรู้ในความตาย มีสติรู้ในองค์ ประชุม รู้ในความดำเนินไป คือกายคตาสติ มีสติรู้ในความเกิด มีสติรู้ในความเกิด คืออานา ปาณสติ นี่ก็สรุปให้ฟัง โดยความลึกซึ้ง ความกว้างขวาง มีอยู่ในนัยพวกนี้

ถ้าใครพิจารณาถึงแม้แต่อย่างหยาบ พิจารณาเห็น มีสติรู้ในความตาย ในความตั้งอยู่ ความเกิด พิจารณาลึกซึ้งขึ้นไปอีก ถึงขั้นอะไรตายอะไรเกิด ในระดับลึกซึ้ง อย่างที่ท่านว่ามีปัญญารู้จัก ความเกิด ความดับ หรือความเกิดความตายที่เป็นอริยะน่ะ อุทยัตถคามินิยา ปัญญายะ สมันนาคโต อริยายะ มีปัญญารู้ รู้ความเกิด ความดับ ประกอบด้วยปัญญา อันรู้ความเกิด ความดับ เป็นอริยะ เป็นอริยะก็คือรู้จักอะไรเกิดอะไรดับ ตายเกิดอย่างเนื้อหนังมังสานี่ มันไม่ได้เป็นอริยะอะไรหรอกเห็นคนตาย ก็คือตายหมดลมหายใจ ก็ตาย มีลมหายใจอยู่ก็อยู่ อย่างนี้ มันไม่ได้เป็นอริยะอะไร แต่ความเกิดความดับที่เป็นอริยะนี่ ต้องรู้กิเลสเกิดกิเลสดับ อย่างที่ได้อธิบายเจาะลงไปถึง สภาพธรรมของปรมัตถสัจจะ ให้ฟังทุกทีแล้ว ตอนนี้ก็เน้นบ่อย เห็นความดับ เห็นความจางคลายก่อนก็ยังได้เป็นมรรค ตั้งแต่จับปรมัตถ์ได้พ้นมิจฉาทิฐิ จนกระทั่ง ได้ลดเหตุแห่งทุกข์ จางคลายลงไป ทำลายสักกายทิฐิลงไปได้เรื่อยๆ จนกระทั่ง มันดับ มันตาย เห็นจริงๆ ตามเห็นเป็นนิโรธานุปัสสี ตามเห็นความดับอยู่อย่างอริยะ อย่างนั้นแหละ

จึงจะเรียกว่าเป็นผู้ที่มีที่พึ่ง เป็นผู้ที่กระทำที่พึ่งอันยอดยิ่ง ไม่มีความเสื่อมน่ะ สำคัญนะ จุดนี้สำคัญ อาตมาว่าอาตมาได้ขยายธรรมะมาถึงจุดที่ผู้รู้แจ้งเห็นได้จริงๆแล้ว อย่างเข้าใจ แล้วก็ไปพิสูจน์ของตนเอง ไปปฏิบัติของตนเอง ไปประพฤติของตนเอง แต่ละวัน แต่ละวัน ได้ปฏิบัติ ปฏิบัติก็คือ ได้อ่าน ได้พบ มีผัสสะเป็นปัจจัย ได้เห็นจริงๆว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรา เราได้กระทบสัมผัส แล้วเราก็ได้อ่านสิ่งเหล่านี้ออกจริงๆ รู้สิ่งเหล่านี้จริงๆ เห็นด้วยญาณ ของเรา ผู้ใดเห็นด้วยญาณของเรา เกิดการรู้เห็นอย่างนี้แจ้งๆจริงๆ แล้วปฏิบัติได้จริงๆ ฝึกเพียร เข้าเถอะน่ะ นี่จะเป็นที่พึ่ง เป็นที่พึ่ง หรือเป็นมนุษย์ที่เกิดมาศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้า แล้วจับ จุดปฏิบัติที่สำคัญอันนี้ได้ แล้วก็ทำจริงๆ มีผลจริงๆ พยายามเพ่งเพียรให้มีการปฏิบัติที่เป็น เพ่งเพียรปฏิบัติ อย่างที่ท่านบอกว่าวิริยารัมภะน่ะ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อถึงความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรมทั้งหลาย นั่นแหละ เป็นคนมีความเพียรอย่างนั้นๆ พยายามที่จะต้องให้เกิดกุศล อย่างแท้จริง หรือแม้เป็นผู้มีสติที่เข้าถึงขั้นปฏิบัติเป็นสติปัฏฐาน ๔ หรือดำเนินสติสัมโพชฌงค์ ขึ้นไป เป็นผู้ที่มีสติตามที่ท่านบอกว่าเป็นข้อที่ ๙ ที่มีสตินี้แล้วนี่ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ

เป็นเรื่องที่มีสติปฏิบัติ ระลึกพยายาม มันจะเร็วขึ้น สติตัวระลึก ก็จะเร็วขึ้น ตามระลึกถึงสิ่งที่ กระทำมา แล้วก็พยายามที่จะกระทำไป จนกระทั่งเกิดญาณ เกิดปัญญา อย่างที่ว่า เกิดญาณ เกิดปัญญา เห็นความเกิดความดับเป็นอริยะ แล้วก็ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เรียนรู้กิเลส ชำแรกกิเลส ลดละกิเลส จนกระทั่ง ตัดเหตุแห่งกิเลส ตัณหา ซึ่งเป็นสมุทัย ทุกข์ สมุทัยที่แท้จริงได้จริงๆน่ะเพราะที่พึ่งที่ว่านี่ไม่ใช่เรื่องธรรมดาหรอก ไม่ใช่เรื่องที่พึ่งแบบโลกๆ แต่เราก็จะเห็นว่า เราอยู่ได้ทั้งสมมุติสัจจะแบบโลกๆ คือ มีชีวิตอยู่ มีกินมีอยู่ มีดำเนินชีวิต เป็นวัฒนธรรม เป็นมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อม เป็นชุมชน เป็นหมู่ชน เป็นระบบอย่างที่ เราเป็น ท่ามกลางความเดือดร้อนวุ่นวาย อย่างโลกทุกวันนี้ แล้วมีสภาพของโลกียะจัดจ้าน มีระบบของโลกียะ นานาสารพัดที่เขาจะจัดระบบ จะเรียกว่าสังคมนิยม จะเรียกว่า ประชาธิปไตย หรือแม้เขาจะเรียกอย่างโก้ๆเก๋ๆว่าประชาธิปไตยอย่างยิ่ง อิสรเสรีนิยม อย่างเยี่ยม ยอดเยี่ยม ใหญ่อะไรก็เป็นกันอยู่ทุกวันนี้ มันก็ไม่ได้จริงจังอะไร มันก็แทรกเผด็จการอยู่ อย่าง นั้นแหละ เป็นระบบที่ซ้อนๆ ลวงๆ พรางๆ แซงๆ แซมๆ อยู่อย่างนี้

แม้เราจะดูในโลกจะมีบางประเทศที่ว่าเป็นประชาธิปไตย ให้อิสรเสรีภาพกันเต็มที่ อะไรยังไง ก็ มันก็ยังมีกฎ มีระเบียบ มีหลักเกณฑ์ที่จะบังคับ หรือว่าเป็นระเบียบที่ฉ้อฉล เป็นกฎเกณฑ์ กฎหมาย ที่ฉ้อฉลกันอยู่บ้าง อะไรนี่ เป็นอยู่อย่างนั้นล่ะนะ มันก็ได้แค่นั้น ๆ อย่างนั้นๆ เพราะฉะนั้น ของพระพุทธเจ้าละเอียดลึกซึ้งอย่างแท้จริง เมื่อกระทำขึ้นอย่างพวกเราชาวอโศก นี่ จะเห็นได้ว่า มันเกิดระบบของสังคม ที่อาตมา จะมากล่าวเรียกลำลองว่า เป็นระบบบุญนิยม นี่ก็ตาม หรือกล่าวเรียกไปสมบูรณ์ถึงขนาดระบบ สหสังคมเสรีบุญนิยมนี่ก็ตาม เราจะเห็นได้ว่า มันมีสภาพของมันขึ้นมา เป็นสังคมที่เกิดรูปแบบ เกิดวัฒนธรรม เกิดจารีตประเพณี เกิดมาจาก จิตวิญญาณ ของคน

อาตมาไม่ได้มานั่งวางโครงสร้าง โครงการ ไม่ได้มานั่งวางแผน วางหลักเกณฑ์ ว่าจะต้องเป็น อย่างนั้น จะต้องเป็นอย่างนี้ จะต้องเกิดอย่างนั้น จะต้องเกิดอย่างนี้ อะไรขึ้นมานี่ ที่มันเกิด มันเป็นอยู่ทุกวันนี้ ที่พวกเรา อย่างชาวชุมชนปฐมอโศกนี่แหละ จะเป็นสังคมที่เป็นกลุ่มหมู่ ของพวกบุญนิยม ที่สมบูรณ์ขึ้นไปเรื่อยๆ จะต้องเกิดสัมมาอาชีพอย่างนี้ จะต้องเกิด กัมมันตะ การกระทำอย่างนี้ จะต้องเกิดพูดกันอย่างนี้ พูดกันอย่างนี้ แล้วก็คิดกันอย่างนี้ มันเกิดมาโดย อัตโนมัติ มันไม่ได้เกิดมาโดยการบังคับ โดยการจูงกันโดยการหลอกกัน โดยการมาหาวิธีที่ จะบังคับ ให้เป็นไปตามนั้น ไม่ใช่นะ มันเป็นไปโดยธรรม มันเป็นไปโดยที่มันเกิดจากการปฏิบัติ ประพฤติ แล้วมันก็จะค่อยๆ รู้ ค่อยๆคิด ค่อยๆตัดสิน ค่อยๆช่วยกันพิจารณา ค่อยๆช่วยเป็น คนจะมีความคิด ของแต่ละคนๆ คนละเล็ก คนละน้อย ประเดี๋ยวพวกเราก็จะเห็นกัน

พวกเราที่ไม่ติดยึดความเห็นของตัวเอง ไม่ปักดิ่งอยู่ที่ตัวเรา ตัวเราเท่านั้น มันก็จะต้องเอา อย่างที่เราคิด จะต้องเอาอย่างที่เราเป็นอยู่อย่างเดียว มันจะเห็นคนนั้นนิด คนนี้หน่อย คนนั้นนิด คนนี้หน่อย อันไหนนำพากันขึ้นมาดี พวกเราก็จะเข้าใจ ยิ่งเราใจเป็นกลางนี่ ก็จะมองดูอะไรดี อะไรกุศล อะไรอกุศล อะไรสุจริต อะไรไม่สุจริต อะไรควรหรืออะไรไม่ควร เราจะค่อยๆ เห็นขึ้นมา เมื่อค่อยๆเห็นอะไรควร อะไรไม่ควรขึ้นมาได้ตามลำดับ ตามลำดับขึ้นมา แล้วมันก็จะไปทำ พยายามไปทำ พยายามลงแรง พยายามที่จะร่วมไม้ร่วมมือ มีทุนรอน ก็ร่วมทุนรอน มีแรงงาน ร่วมแรงงาน มีน้ำใจ ร่วมน้ำใจ มันจะร่วมขึ้นมาจริงๆ นี่ก็ทำกันขึ้นมาเรื่อยๆ มันเกิดผลเกิดสภาพ ทุกวันนี้ มันเข้าร่องเข้ารอยขึ้นมา

แม้แต่ความเป็นอยู่อย่างสงบของพวกเรา ก็สงบเรียบร้อย จนน่าทึ่งนะ พวกเรานี่ สงบจนน่าทึ่ง ชีวิตชีวา เข้าเป็นระเบียบ ระบบเหมือนกับเขาต้องการนะ มานั่งฟังธรรม เข้ามานั่งรับประทาน อาหารมี ระเบียบ มีวินัย ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เอาคนแก่ คนเฒ่า คนที่ไม่เคยหัดแถวอะไรนี่ มาเป็นแถว เป็นแนวอะไรนี่ ไม่ใช่เรื่องได้ง่ายๆนะ แล้วก็เป็นทุกวัน เป็นเองๆ ไม่ต้องนั่ง ใครมา ต้องเป่านกหวีด ต้องมาบังคับกันเหมือนกับนักเรียนเหมือนทหารอะไรอย่างนี้ ไม่ต้องถึงขนาดนั้น แต่เราก็หัดกันไปเรื่อยๆ แต่ละวันนี่ มันจะเกิดสังวร ระวัง มันรู้จัก มันปราณีตขึ้น มันมีความสุขุม มีความประณีต มีความเข้าใจว่า เออ ถ้าอย่างนี้ มันก็งามกว่าอย่างนี้ อย่างนี้มันก็เป็นระเบียบ กว่าอย่างนี้ ไม่ใช่ว่า สะเปะสะปะเอาอะไรก็ตามใจ แม้เราจะมีการจูงนำกัน แนะนำกัน เราก็ปรับกัน ด้วยความมีปฏิภาณ มันจะเข้าใจเอง จะมาช้า จะมาเร็ว จะควรจะรู้จักกาละเวลา ควรจะไป ควรจะมา อะไรต่างๆนานา

แม้มันจะมีสภาพซ้อน คือกิเลส มันเห็นแก่ตัวนี่ มันซ้อน กิเลสมันอยากจะทำตามใจ ก็อัตตา นั่นแหละ มันอยากจะทำตามใจ มันอยากจะไม่ตามคนอื่น มันอยากจะตามใจเรา มันไม่อยาก จะตามคนไหน คนนั้นคนนี้เขา ทั้งๆที่รู้ รู้ว่ามันดี เป็นกุศล มันก็อยากจะตามใจตัวเอง ที่มันยัง เหลือเศษส่วนที่มันติด มันยึด มันอยากจะเป็นอย่างนี้ อยากจะทำอย่างนี้ อยากจะอย่างโน้น อย่างนี้อะไรอยู่นี่ แม้จะเป็นอย่างนั้นก็ตาม มันก็มีสำนึกน่ะพวกเรา ค่อยๆปรับไป แก้ไขไปเรื่อยๆ

ถ้าเรายิ่งตั้งใจจะสังวรระวัง จะแก้กลับ แก้ที่ไอ้อย่างนี้ มันไม่เข้าร่องเข้ารอยหรอก อย่างนี้ มันไม่ดีหรอก อย่างนี้มันไม่เจริญอะไร เราจะมีปฎิภาณ เราก็ปรับไปเองเรื่อยๆ ทั้งๆที่ไม่ได้เอา เรื่องการบังคับ ไม่ได้เอาเรื่องของอามิสเป็นลาภ ยศ สรรเสริญ อะไรมาประเล้าประโลมกัน มาล่อมาจูงมานำ เราก็ยังฝึกเพียร ทั้งๆที่ไม่ได้อะไรนี่แหละ ฝึกเพียรฝืนใจตัวเอง ฝืนฝึกหัดไปน่ะ เราก็แก้กลับไปด้วย จิตใจที่ฝืนเอง ที่ทำเอง สมัครใจจะทำเอง นี่มีผลสูง ถูกบังคับ มันไม่มีผล อะไรหรอก ถูกบังคับนี่มันมีผลบ้างเหมือนกันล่ะ จะว่าไม่มีผลเสียเลย มันก็ไม่จริง มันก็มีผลบ้าง เกิดความซ้ำซาก เคยชินมีผลบ้างเป็นได้ง่ายขึ้น

เหมือนอย่างคนที่หัดอะไร จนชำนาญ หัดทหาร หัดเดิน แถวจนชำนาญจริงๆ พอมันบอกว่า เลิกแถว โอ้โห ทหารเดินแถวนี่ พอบอกเลิกแถว เท่านั้นล่ะหายใจเฮือกทุกคนล่ะ พวกทหาร เดินแถวนี่ พอบอกเลิกแถว มันจะได้เต้น บางคนเต้นเลย เต้นทันทีเลย เฮทันทีเลย พอบอก เลิกแถวเฮทันที หายใจเฮือก เต้นกระโดดเหยงทันทีเลย มันอยากจะกระโดดตั้งนานแล้ว ก็นั่นแหละ มันอยู่ที่ใจของตัวเองนั่นแหละ แหม มันถูกกดทับ มันบังคับไว้ พอได้ปล่อยพรึบ มัน ก็เป็นเลย บางคนตีลังกา บางคนเฮ บางคนอะไรแล้วแต่ มันเป็นอย่างนั้นตลอดเวลา เพราะฉะนั้น การบังคับมันก็ได้ มันก็เป็น มันก็ชำนาญ เดินแถวก็เก่ง บังคับไว้ได้ กดข่มไว้ได้ ทำได้ มันก็เป็น แต่มันไม่ตลอดรอดฝั่งหรอก มันไม่เป็น มันไอ้ตัวจิตวิญญาณจริงๆนี่ มันไม่เอา ด้วยสมบูรณ์ เพราะฉะนั้น สมัครใจนี่แหละสมบูรณ์

เราจะมาเดินก็เดินซี จะเดินได้ทนด้วย เดินได้อย่างที่ไม่ทุกข์ เพราะเราพอใจ มีธัมมกาโม มีความใคร่อยาก มีความต้องการ มีความปรารถนาที่จะทำ เมื่อไม่มีอะไรขัดข้อง โดยเฉพาะ กิเลส เป็นตัวฝืน ตัวขัดแล้ว สั่งการอะไรมันก็ทำได้หมด จิตจะทำอะไร มันก็ง่าย ดัดง่าย ปรับง่าย เป็นมุทุภูเต เป็นจิตแววไว ดัดได้ จิตหัวอ่อน เป็นจิตหัวอ่อน แล้วแต่เราจะโน้มเน้น จะโน้มจิตไปอย่างนั้น จะโน้มจิตไปอย่างนี้ไปหมด ไปได้ ไม่มีกิเลสต้าน แล้วก็ได้ฝึกปรือ ชำนาญ ด้วย มันก็เป็นไปได้ทั้งหมด นี่ ก็ขยายความต่อมา มีพหูสูต ก็อันอื่น ก็คล้ายกันนั่นแหละนะ ในข้อต่อมา มีมิตรดี สหายดี มีเพื่อนดี บอกแล้วว่า ในพระไตรปิฎกนั้น แปลว่า เพื่อนดีเท่านั้น มีมิตรดี สหายดี อาตมาก็แปล มีสังคมสิ่งแวดล้อมดีน่ะ แล้วก็ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้มีมิตรดี สหายดี มีเพื่อนดี หนอ หรือมีสังคมสิ่งแวดล้อมดีหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าว สั่งสอนภิกษุนั้น อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศล กุศลธรรมทั้งหลาย อย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่งน่ะ

แล้วต่อมาอีกก็เหมือนกัน ข้อต่อๆมา ข้อที่ว่าเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้ขยัน เป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีปัญญา จะแถมขึ้นมา เติมขึ้นมา ก็ตรงที่ ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้เถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดความดับ เป็นอริยะชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบหนอ จะมีคนที่จะต้องเห็นภิกษุ แล้วก็รับยอมรับว่าภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ มีที่พึ่ง กระทำที่พึ่งให้แก่ตนเองได้แล้ว มีที่พึ่งนั่นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้แล ฯ

นี่เป็นนาถกรณธรรมหรือนาถสูตร ๒ สูตร ซึ่งถ้าเผื่อว่า ผู้เห็นความลึกซึ้งในการกระทำที่พึ่งแล้ว ผู้นั้นก็จะฝึกปรือ เมื่อผู้เห็น ผู้เข้าใจเป็นทิฐิ ทิฐิหรือความเห็นความเข้าใจนี่ จะมาก่อน อะไรๆ ก็แล้วแต่ ฟังปริยัติ ฟังภาษาฟังบรรยายนี่ไปฟังแล้วก็ เออ มีความเห็นได้ มีความเข้าใจได้ เป็นเช่นนั้นๆ แล้วก็ไปปฏิบัติ จากปริยัติก็ไปเป็นปฏิบัติ เอาปฏิบัติตามที่เราเข้าใจ แต่ละคน จะเข้าใจไม่เท่ากันหรอก พูดไปนี่เข้าใจได้ไม่เท่ากัน ใครเข้าใจได้มากได้น้อยน่ะ มีปฏิภาณ ของตัวเองด้วย แล้วก็รับได้เท่านั้นเท่านี้ เสร็จแล้ว ก็จะเกิดศรัทธา ศรัทธินทรีย์ของแต่ละคน มีมากมีน้อย หรือปัญญา ปัญญินทรีย์อย่างที่ว่ารับได้ มีปัญญาเข้าใจได้นั่นแหละ เท่าที่เราได้ แล้วก็ไปเชื่อ มันจะเชื่อถือถึงขั้นเชื่อฟัง หรือบางที ผู้ที่มีอะไรอยู่ในตัวดีๆมากแล้ว พอฟังเท่านี้ แหละ บรรลุเลย เป็นความเชื่อมัน เห็นจริงชัดเจนเลยก็ได้ ถ้ายิ่งเชื่อมั่นแล้ว มันจะเป็นทันที หรือยังไม่เป็น ก็จะไปกระทำอีก จนกระทั่งเห็นของจริง มีของจริงเกิดทันที เป็นทันที สมบูรณ์รอบ เกิดความสมบูรณ์ สมบูรณ์รอบได้น่ะ

พวกเราปฏิบัติมาถึงขณะนี้นี่ อาตมาเห็นความเป็นจริงนะ ที่เปลี่ยนแปลง ที่ปฏิบัติประพฤติตน ขึ้นมา จนกระทั่งเป็นคนที่มี วรรณะ ๙ อย่างที่ได้เอามาเป็นข้อยืนยัน เป็นข้อวัดข้อเปรียบ เป็นผู้เลี้ยงง่าย ซึ่งจะเข้าใจคำว่าเลี้ยงง่ายยิ่งขึ้นว่า เออ เป็นคนที่ไม่มีอัตตา คนเลี้ยงง่าย นี่เป็น คนไม่มีอัตตา เพราะกามก็ลด ไม่ได้หลงติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไม่ได้หลงติดในเรื่อง ข้างนอก ข้างใน ที่จะต้องบริโภค ไม่ว่าจะเป็นบริโภคนอกหรือบริโภคใน เมื่อไม่หลงติดอะไรมาก เป็นคนมีปัญญาด้วยนะ ไม่หลงติดแล้วก็มีปัญญา ด้วยปัญญาที่รู้จักการบริโภค รู้จักการบริโภค ที่เป็นสาระ เพราะฉะนั้น ไม่ถือว่าเครื่องบริโภคนั้น จะประกอบไปด้วย แบบโลกๆ จะต้องสวย ต้องงาม จะต้องอร่อย จะต้องหรูหรา จะต้องมีศักดินา อย่างโน้นอย่างนี้ มันก็จะไม่ประกอบ ไปด้วย แบบองค์ประกอบที่เป็นโลกีย์ แต่หยั่งลงไปถึงเนื้อหาแท้ได้

เราก็เป็นคนหาง่าย หาอาหารกิน อาหารกินก็หาง่าย เครื่องใช้ไม้สอย จะเป็นเครื่องนุ่งห่ม เป็นคนสันโดษ จะเป็นที่อยู่ที่พักที่อาศัย ก็เป็นคนสันโดษ พักอาศัยได้สบาย อย่างพวกเรานี่ ถ้าอยู่กันอย่างมากขนาดนี้ พวกเรา นี่ ติดยึด แม้แต่ที่อยู่ที่พัก ต่างคนก็จะต่างเอาของกู ของกู มากหลาย ยึดติด เสร็จแล้วก็จะต้องเป็นที่อยู่ เป็นที่พัก เป็นที่นั่งที่นอนอันนุ่มอันนิ่ม อันสูง อันใหญ่ เป็นเจ้าข้าวเจ้าของ เป็นคนเลี้ยงยาก กินก็ต้องยาก อยู่ก็ต้องยาก จะไปจะมาก็ยาก

ยิ่งพวกเราไม่ได้มีการเป็นอยู่ไปมาเท่านั้น ให้ทำงานด้วย วันหนึ่งๆ ตั้งแต่เช้ามา คนๆนั้น ก็เอาแล้ว ใครมีงานอะไรก็มาแจ้งแล้ว มันขาดแรงงาน เอาแรงงาน เดี๋ยวก็จะต้องไปทำงานโน่น จะทำงานนี่ จนหลายคนรู้สึกชินชา รู้สึกไม่ค่อยมีผลอะไรว่า ประกาศแรงงานนี่ บางคนนี่ปล่อย ใครจะประกาศยังไง ฉันก็เฉย ในภพ ตัวเองเลยไม่รับรู้อะไรอื่น ใครจะว่ายังไง ฉันก็ไปของฉัน อย่างนั้นแหละ ใครจะประกาศความจำเป็น มีโน่นมีนี่ อะไรก็ไม่ได้ยิน ได้ยินก็เหมือนไม่ได้ยิน อยู่ในภพ ของตนเองอย่างเดิม ฉันจะไปทำอะไร ฉันก็จะไปทำไอ้ที่ฉันตั้งใจ หรือว่าฉันเคย ของฉัน ฉันชอบของฉันอยู่อย่างนั้นอย่างเดิม ใครอื่นก็ไม่เกี่ยวไม่ข้อง แบบนั้นล่ะ ไม่ได้เป็น มิตรดี สหายดี ไม่ได้อยู่ในสังคมสิ่งแวดล้อมดี ไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวกับหมู่ แต่เป็นของกู ตัวกู อยู่รูเดียว เป็นตัวกูของกูก็รูเดียว ไม่ได้เป็นอะไรกับหมู่ มันเป็นอัตตาจริงๆนะ

อาตมาพยายามขยายอัตตาในลักษณะต่างๆ นี่ฟังให้เป็น เรายังไม่พ้นกิเลสอัตตามานะ แล้วมัน ก็ยึดดี ยึดชอบ หลงภพ เป็นภวตัณหาอยู่อย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้น เอาตาดูหูฟัง มีอะไร ก็ไปกับเพื่อน กับฝูงเขาบ้าง เขาเอาอะไรแล้ว ตอนนี้เขาไปอะไรแล้ว เขามีอะไรแล้ว อะไรต่างๆ นานา ถอดตัวถอดตน ฝึกปรืออบรมเสียบ้าง อย่างน้อยก็ต้องเปิดทวาร มีผัสสะเป็นปัจจัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รับรู้บ้าง สังคมสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่มีแต่ตัวแต่ตน ขนาดในวงการของเรา ในหมู่บ้านของเรา ในสังคมของเรานี่ เราก็พากันทำสิ่งที่กำลังสร้างสรร พากันทำสิ่งที่ดีงาม ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือยก็ไม่ใช่ ก็พิจารณากันแล้ว พิจารณากันอีกหลายอันหลายอย่างว่านี่ เราทำเพื่อ อย่างนี้ๆ ไม่ได้ไปทำเพื่อแบบโลกียะอะไรกัน ก็ให้มันครบพร้อม ให้มันสมบูรณ์ สร้างสรรตรงนั้น ทำตรงนี้ ให้เป็นประโยชน์ที่จะเกิดกัน เกิดขึ้น มีอะไรขยายขึ้นมา มีอะไรเติมขึ้นมา ก็มีอยู่เรื่อย เพราะว่า มันยังไม่สมบูรณ์ มันยังไม่พร้อมพอหรอก มันก็จะต้องค่อยๆเป็น ค่อยๆไป ค่อยๆก่อ ค่อยๆสร้างขึ้นอยู่ ก็มีคนเข้าใจมาก มีคนเข้าใจมากอยู่ก็ลงมือลงไม้กัน ช่วยมือช่วยไม้กัน ไอ้โน่น ทำขึ้นบ้าง ไอ้นี่ทำเร่ง อันไหนเร่ง ก็รู้ว่าอันไหนเร่ง อันไหนต้องการแรงงานมาก ก็รู้แรงงานมาก อันไหนต้องการแรงงานน้อย ก็รู้แรงงานน้อย จะมีปฏิภาณเป็นลำดับๆๆน่ะ มีปัญญาเข้าใจ แล้วจะดูออกด้วยว่า งานอย่างนี้ คนจะนิยมไปไหม

ถ้าคนไม่ไป ไม่นิยมไป คนที่เข้าใจ ก็จะบอกว่า เออ งานอย่างนี้ เราจะต้องไปแล้วละ เพราะว่า งานอย่างนี้ ถึงประกาศยังไง คนก็ไม่ค่อยนิยมไปหรอก คนรังเกียจ เราจะมีปฏิภาณเข้าใจนะ อย่างนี้คนรังเกียจ ไม่ค่อยไปหรอก งานอย่างนี้ ประกาศหายังไงก็ไม่ค่อยไป เพราะฉะนั้น เราควร จะไปหนุนไปเสริม จะมีน้ำใจ จะมีกะจิตกะใจ จะมีปฏิภาณ มีความเฉลียวฉลาด นัยอย่างนี้ จริงๆ เพราะฉะนั้น งานก็เจริญ ความเหมาะสม ความเหมาะในการงาน มีมุทุภูเต มีจิตที่แววไว เข้าใจ มีปฏิภาณ มีจิตที่ดัดได้ง่าย ทำได้ง่าย เหมาะควรแก่การงาน กัมมนิเย หรือสุดท้าย ก็กัมมันยะ ในฐานจิตอุเบกขานี่ มีปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุก็มุทุภูเตนั่นแหละ มุทุ กัมมัญญา ซึ่งเขาก็แปลเหมือนกันกับมุทุภูเต กัมมนิเย, มุทุ กัมมัญญา เขาแปลเหมือนกันน่ะ อ่อน ควรแก่การงาน หรือเขาแปลสูงขึ้นไปหน่อยว่าจิตอ่อน แล้วก็ สละสลวย เขาแปล กัมมัญญา ว่าสละสลวย การงานที่เหมาะควร แต่บางสำนวน บางเล่มพระไตรปิฎกนี่เหมือนกัน เขาก็แปลว่า เหมาะควรการงานที่ เหมาะควรเหมือนกัน นี่ มันก็เกี่ยวกับการงาน ที่อาตมากำลัง อธิบายขยายความอยู่ นี่ จิตเราจะมีปฏิภาณ แววไว แล้วก็ปรับได้ง่าย พอไปๆ ไม่มีตัวอัตตา ไม่มีตัวขี้เกียจ ไม่มีตัวเห็นแก่ตัว ไม่มีภพ ไม่มีภวตัณหาอะไรอยู่กับตัวหรอก เข้าใจฟังแล้วรู้เรื่อง พอได้สำเหนียก หรือแม้แต่ไม่พูด ไม่ขอร้อง ก็มีปฏิภาณที่จะรู้แววไว เออ เขามีอะไรนะ หมู่นี้ เขามีอะไรกัน ไม่ต้องไปถามแม่สุวรรณหรอก รู้ อ้อ เขามีไอ้นั่น ไอ้นี่นะ เราควรจะไปช่วย หรือไม่ช่วย มีปฏิภาณแววไว อย่างนี้ เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้ เกิดจริงเป็นจริง ในคนที่ตั้งใจฝึกฝนอบรมศึกษา เพราะฉะนั้น ถ้าใครที่ใครยังหนืด ๆๆๆ เอาแต่ตัวกูของกูอยู่ อยู่ในรูของกูอยู่อะไรอย่างนี้ มันก็จะหนืดๆๆๆอยู่อย่างนั้นแหละ มันจะดู แล้วมันจะช้า คนนั้นแหละจะช้าเองน่ะ คนนั้นจะช้าเอง เพราะอะไร เพราะมันเป็น อัตตา มันเป็นตัวกิเลส เป็นตัวกู มันไม่กระเตื้อง มันไม่ คนอื่นไม่เกี่ยว ข้าเอาของข้าเท่านั้น แล้วก็สำคัญ ในตัวที่ข้าสำคัญ ข้าก็สำคัญของข้า ของคนอื่นไม่สำคัญ จะสำคัญยังไง ก็เอาซิ เอ็งก็ไปกันสิ ข้าไม่ไป มันก็เป็นตัวกูอยู่อย่างนั้นแหละ แม้จะเข้าใจว่าสำคัญ แต่ข้าก็จะทำของข้า นี่แหละเห็นไหม คำว่า อัตตานี่ มันมากขนาดไหน มันเป็นภวตัณหา มันเป็นตัณหาอยู่ในภพ ของภพที่เป็นอัตตา ภพของกู ภพตัวกู มันเป็นทางจิตวิญญาณนะ จิตวิญญาณ มันนึกอย่างนั้น มันคิดอย่างนั้น มันคิดไม่สลายอัตตา มันคิดไม่เอาอื่น ไม่เป็นอื่น อื่นๆก็คืออื่นๆ กูเท่านั้นแหละ กูก็จะเป็นของกู อยู่ของกู

มันจึงไม่เกิดพลัง One for all All for one ไม่เกิด ว่าทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียว หนึ่งเดียวเป็นทั้งหมด ไม่เกิด มันเกิดเป็นกู ก็คือกู วันฟอร์วัน ออลล์ ฟอร์ ออลล์ เอ็งก็เป็นเอ็ง ข้าก็เป็นข้า วันก็ฟอร์วัน ไม่ใช่ One for all All for one ข้าก็คือข้าอยู่อย่างเก่า เอ็งจะเป็นเอ็ง เอ็งจะไม่ทั้งหมดของเอ็ง ก็เอ็งทั้งหมดของเอ็งอยู่อย่างเดิมนั่นแหละ ซึ่งเอ็งมีเท่าไหร่ ก็เอ็งเท่านั้นแหละ All for all ของเอ็ง ของของเอ็งอยู่ ต่างคนต่างอยู่ เพราะฉะนั้น คนนี้วันฟอร์วัน ก็คืออัตตาแท้ๆ กูก็เป็นกูอยู่ หนึ่งเดียว นี่แหละ แน่ๆอยู่ตรงนี้ มันไม่เกิด One for all All for one ไปได้ มันไม่เกิด เราเป็น หนึ่งเดียว หนึ่งเดียวเป็นทั้งหมด ทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียว มีมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี เป็นเอกภาพ สรุปแล้วง่ายๆ ก็คือ เป็นเอกภาพ เป็นหนึ่งเดียวกัน มีอะไรก็พรั่งพร้อมกันเลิก พรั่งพร้อมกันทำ พรั่งพร้อมกันสนับสนุน อะไรอย่างนี้ พวกนี้ มันไม่เป็น

ที่อาตมาขยายความไปแล้ว คงพอเข้าใจว่า ที่อาตมาพูดนี้นี่ ไม่ใช่บังคับหรอก ให้เข้าใจ แล้วคุณสำนึกเอง แล้วก็ได้ฝึกฝนตนบ้าง มันจะดีไหม มันดีแน่ๆ ก็คงเชื่อว่า ที่อาตมาพูดนี่ ว่ามันจะดีไหม มันดีแน่ๆ มันได้ล้าง ได้ละแน่ๆ นี่เป็นภาคปฏิบัติในตัวด้วย แนะออกไปก็บอกให้ ชี้ให้ ส่วนคุณจะปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติ จะฝึกหรือไม่ฝึก จะฝืนหรือไม่ฝืน จะกระทำออก หรือ ไม่กระทำออก หรือว่าจะจมอยู่อย่างเก่า ก็แล้วแต่ใคร แล้วแต่ตัว แล้วแต่ตัวเองน่ะ จะเป็นใคร ก็แล้วแต่ เราพอเป็นพอไป พอมีอะไรจะได้แววไว แคล่วคล่อง คนน้อยๆ คุณลองคิดดูซิ แม้แต่ คนน้อยๆนี่ ถ้ามีระบบ ที่มันเป็นอย่างนี้นะ (One for all All for one) มันพึงพั๊บๆ มีแรงรวม มีพลัง หนึ่งเดียว มีเอกภาพ ที่จริงพวกเรานี่นะ อโศกเรามีลักษณะพวกนี้ไม่ใช่น้อย พอรวมพล ปุ๊บๆๆ ได้เหมือนกัน แต่จะต้องเป็นเรื่องใหญ่นะ

แต่เรื่องอย่างนี้ เป็นชีวิตประจำวัน อย่างพวกเราอยู่ใน ชุมชนนี่ บางคนก็ชินชา นั่นจะเห็นได้ว่า อัตตาของเรา หรือว่าอัตตนียาของเรา มันเป็นภวตัณหา ของเรานี่ มันยังมีอยู่ เพราะฉะนั้น ต้องรู้ มันเกิดเมื่อไหร่ รู้อาการ รู้จิต รู้กิเลสว่า มันเอาแล้ว มันจะเป็นอัตตาแล้ว มันจะสั่งสมอัตตาแล้ว เพราะฉะนั้น เราจะมีบทฝึกหัดพวกนี้อยู่ในการงานนี่แหละ อยู่ในการอยู่รวมกันนี่แหละ เห็นไหม มันเป็นอัตตาจริงๆ เข้าใจคำว่าอัตตาขึ้นให้มาก เป็นตัวเรา มันเป็นอย่างที่เราคิด เรานึก เราหวัง เราตั้งภพ เราตั้งใจของเราอยู่อย่างนี้ ตีไม่แตก ไม่พยายามเปลี่ยนแปลง เมื่อไหร่มันก็เป็นของเรา อยู่อย่างนี้ จะทำตามใจเรา ไอ้ที่เราชอบ เราอะไรต่ออะไรบ้าง คนอื่นๆไม่ แต่นั่นแหละ ก็ไม่ได้ หมายความว่า กรูเกรียวกันซะจนบ้าๆบอๆ งมงาย ถึงจะยังไงมันก็มีอัตตา

ขนาดอาตมาพูดอย่างนี้ก็เถอะ ขยายความอย่างนี้ก็เถอะ ก็ยังมีอัตตา ก็ยังมองเห็นความสำคัญ ที่ว่า อย่างที่เราเป็น เราทำอยู่นี่ มันสำคัญ ก็จะมีกระจายไปพอสมควร แต่แรงรวมที่เข้าใจ อย่างที่ว่านี้ ถ้าเราเข้าใจดีแล้ว แล้วฝึกฝนดีแล้ว จะเป็นแรงรวมที่ไวที่ดีสุขุม ประณีต เป็นไปได้ โดยง่าย เป็นไปได้โดยไม่ยาก จะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ขึ้นมา จะมีภาวะที่รวมพล หรือจะมีภาวะ ที่รวมเป็นหนึ่งเดียว เป็นกำลังรวม หรือมีปฏิภาณ มีปัญญารู้ว่าอะไรควรจะไปช่วยแรงไหน อันไหนๆ ควรจะไปช่วย อะไรไม่ติด ไม่ติดในงาน ไม่มีกัมมารามตา ไม่หลงใหลยินดี ติดในงาน งานที่ตนเองชอบ หรือว่าตัวเราที่ปักใจว่าจะต้องดิ่งอยู่กับอันนี้ อันอื่นไม่เกี่ยว มันจะไม่มีจิตใจ ปักดิ่งอย่างนั้น ก็คือละอัตตาแม้ในการงาน แม้ในกัมมารามตา หรือแม้ในสิ่งที่ตัวหลงใหล ยึดๆติด มันจะเป็นไป เกื้อกูลไปได้ เพราะฉะนั้นถึงวาระสำคัญ จำเป็นก็วางมือได้ มีวาระสำคัญ อย่างมาก สำคัญอย่างกลาง หรือว่า สำคัญเล็กน้อย เอาเถอะ เขาก็คงไปพอเราก็สอดส่องดูแล แล้วเรา ก็มาแวะ มาทำงานเรา กลับมาทำงานเรา งานนั้นเขาทำกันพอเป็นพอไปแล้ว อะไร อย่างนี้ เป็นต้น จะสอดส่องดูแล ส่วนขาดหกตกหล่น ตัวไหนบกพร่อง ตัวไหนควรเสริม มันจะไม่ขาดตกบกพร่องกันเลย มันจะอุดจะหนุน มีปริมาณมวล มีคนในสังคมพอ พอดีๆ มันจะจัดแจงของมันได้ คุณคิดดูซิว่า กัมมนิยะ อันเหมาะควรแก่การงาน หรือว่ากัมมัญญา งานการที่สมบูรณ์ บริบูรณ์ มันจะขนาดไหน

อาตมาเคยตั้งข้อสังเกตว่าในนาถกรณธรรม คราวนี้ก็อธิบายไปแล้ว ย้ำให้ฟังไปแล้วเหมือนกัน

อ่านต่อหน้าถัดไป