ถาม - ตอบ
ฌานในพระพุทธศาสนา

โดย พระโพธิรักษ์ ณ วัดนรนาถสุนทริการาม เทเวศร์ บางขุนพรหม กรุงเทพฯ
ประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๗

ต่อจาก หน้าก่อน


ถาม-อะไรเป็นจุดหมายปลายทางของบุคคล มีผู้รู้ให้ทัศนะว่า
๑. ความตาย
๒. ความหลุดพ้น ไปสู่ความโดดเดี่ยวทางจิต
๓. ความหลุดพ้นไปสู่ความว่าง หรือความไม่มีอะไรทั้งสิ้น อยากทราบในทัศนะพระคุณเจ้า เห็นด้วยกับ ผู้รู้เหล่านั้นหรือไม่?

ตอบ- อาตมาจะแยกให้ฟัง ทัศนะทั้ง ๓ อย่างนี้ก็มีทาง

๑. ความตาย ความตายทัศนะนี้ อาตมาขอตีทิ้งสูญไม่เอา เพราะว่าความตายนั้น เป็นธรรมดา บุคคลทุกคน ย่อมเดินทางไปสู่ความตาย เพราะฉะนั้น จุดหมายปลายทางของบุคคล เกิดมาเพื่อตายนั้น ไม่ต้องเพื่อ มันตายแหง เพราะฉะนั้น เรื่องทัศนะแบบนี้ อย่าเอามาพูด เสียเวลา โยนทิ้ง ใครเกิดมาไม่ตาย เพราะฉะนั้น เกิดมาเพื่อตาย ไม่ต้องพูดเลย มันตายเด็ดขาด เพราะฉะนั้น ทัศนะนี้ตัดปัญหานะ ถ้าใครมีจุดหมายปลายทาง เพื่อตายนะ ก็ไม่ต้องหวังหรอก ตายเด็ด ไม่ต้องมีทัศนะ ไม่ต้องมีจุดหมาย มันถึงแน่ทีนี้

๒. ความหลุดพ้นไปสู่ความโดดเดี่ยวทางจิต ความโดดเดี่ยวทางจิต ก็หมายความว่า มีเหลือจิตใช่ไหม ไปสู่จิต แล้วเหลือจิตใช่ไหม แล้วคุณจะไปสู่จิตอันโดดเดี่ยวของคุณ เช่น เป็นอสัญญีสัตว์ หรือเป็น อรูปจิต ที่คุณเองไปเสพย์จิต โดยโดดเดี่ยว คุณไม่อยู่กับใคร ไม่ยุ่งกับใคร ไปนั่งไปเสพย์สุขแบบนี้ ถ้าใครมีจุดหมายปลายทางแบบนี้ ก็ดีเหมือนกัน ได้ประโยชน์ส่วนตัว พอใช้ได้ แต่คุณเองก็ได้แต่ จิตอย่างนั้นแหละ ถ้าคุณล้างกามไม่หมด คุณก็กลับมาเกิดอีก ถ้าคุณล้างกามหมด คุณก็ไปเป็น พระพรหม พรหมชั้นไหนก็ตามแต่นะ ก็ดีเหมือนกัน ก็ยังมีจุดให้เสพย์ เสพย์ความว่าง อย่างน้อยที่สุด ก็สุโขพอได้นะ เตสัง วูปสโม สุโข การเข้าไปสู่ ความสงบแห่งจิตได้นี่ มันสุขที่สุดแหละ สุขจริงเหมือนกัน แต่ไม่ได้ประโยชน์กับโลกเท่าไร เพราะผู้นั้น จะไม่เข้าใจกามภพ จะไม่รู้เท่าทัน หู ตา จมูก ลิ้น กาย เพราะฉะนั้น ใครพูดมาหน่อย ฮึ ใครพูดเห็นอะไร ภาพปรากฏตา ฮึ ไม่เอาถ่านเรื่อย เรียกว่า สู้เขาไม่ได้เลย มาเผยแพร่ธรรมะก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ลัทธินี้ จึงมักออกไปอยู่ป่าอยู่ถ้ำ อยู่เขา หลบลี้ผู้คน คนพวกนี้ ถ้าขุดรูอยู่ได้ ขุดแน่เลย ไม่เอาแล้ว ไม่อยากพบคน ก็ดี ๆ ดีกว่านะคุณ ดีกว่าคนไม่ปฏิบัติอะไรเลย แต่ว่า ยังไม่ใช่ทางของ พระพุทธเจ้า

อีกทัศนะหนึ่ง มีจุดหมายปลายทาง คือ หลุดพ้นไปสู่ความว่าง หรือ ความไม่มีอะไรทั้งสิ้น จงพยายามเข้าใจ คำว่าความว่าง หรือความไม่มีอะไร ทั้งสิ้น เมื่อผู้ใดไม่มีอะไร เราก็จงทำใจเป็นกลาง ให้ไม่ยึดมั่นอะไร แม้แต่ผ้าเรานุ่ง เราก็ไม่หวงไม่แหน ไม่ยึดมั่นกับผ้านุ่ง แม้อาหาร จะได้กินประจำวัน วันหนึ่ง วันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ ก็อย่าไปยึดมั่น ถือมั่นในอาหาร มีก็กิน ไม่มีนั่งยืนเฉยๆ เบิกบาน สดใสเป็นพุทธะอยู่ ไม่เดือดร้อน จงเข้าใจความว่างให้ได้นะ ความว่างอันนี้ ไม่ใช่หมายความว่า ไปสร้างภพว่างๆ อยู่ในภพไหนก็ไม่รู้ และคุณก็บอกว่า คุณเข้าไปนี่แหละ แดนสนธยา แดนอสัญญี หรือแดนที่ไม่มี แดนที่ว่างเปล่าแล้ว แล้วคุณก็เที่ยวไปนั่งหลับตาเอา ทำตนให้ไปสู่ อย่างนั้น ๆ อันเดียวกันกับที่พูด เมื่อกี้นี้ คือทำจิตเข้าไปสู่ ภพของจิตเป็นอัตตาอยู่ เพราะไปดิ้น ไม่มีทางหลุด ไม่เป็นอรูป ก็เป็นรูป ไม่มีหมด แต่ถ้าผู้ใดเข้าใจ ความว่างถูกต้องว่า ว่างจากสิ่งเหล่านี้ โดยไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่นำมาคลุกคลี เกี่ยวข้อง ไม่หวั่นไหวในจิต จะมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ ถ้าสิ่งใดจะมี ก็มีเพียงเป็นปัจจัยที่ ยังชีวิตอยู่ เพื่อพรหมจรรย์ เพื่อความบริสุทธิ์ อันแท้จริง เพื่อจะประพฤติสิ่งที่ดีที่สุด เรียกว่า พรหมจรรย์ จรรยะ แปลว่า ความประพฤติ พรหม แปลว่า สิ่งที่ดีที่สุด หรือสิ่งที่สูงที่สุด หรือสิ่งที่บริสุทธิ์ ถ้าเราจะอยู่ เพื่อพรหมจรรย์ ถ้าปฏิบัติพรหมจรรย์ ยังไม่หลุดพ้น ก็ปฏิบัติพรหมจรรย์ ให้หลุดพ้น จะอยู่เพื่อปฏิบัติพรหมจรรย์ให้หลุดพ้น ถ้าปฏิบัติพรหมจรรย์ หลุดพ้นแล้ว ก็อยู่เพื่อเผยแพร่ พรหมจรรย์นั้น เท่านั้นเอง ตายเมื่อไร ก็ตายเมื่อนั้น ไม่มีปัญหา ที่นี้สิ่งที่ยังขันธ์นี้ไว้ด้วยอะไร มีปัจจัย ๔ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ที่อยู่ ยารักษาโรค ก็บริขารที่จำเป็น เพื่อที่จะสงเคราะห์พรหมจรรย์ เช่น มีปากกา ดินสอ เขียนหนังสือ เป็นธรรมะบรรยาย ให้คุณได้ฟังเป็นบริขาร แต่ไม่จำเป็นหรอก ไม่มีเสียเลย ยิ่งดีใหญ่ ถ้าไม่มีปากกา ดินสอเลยนะ อาตมายิ่งดีใหญ่ ไม่ต้องเขียนหนังสือ ก็หวานนะซิ อาตมายิ่งเหนื่อยน้อยน่ะ อาตมาไม่มีบริขารอื่น ที่จะต้องมาแบกเลย ยิ่งดีใหญ่ ถ้าไม่มีบาตรเสียได้นะ ก็แล้ว ยิ่งดีใหญ่ นี่มันต้องมีบาตร เพราะว่าจะต้องไปแสดงธรรม ตอนเช้าๆ ไปโปรดสัตว์ เพื่อที่จะได้อาหาร ให้คนเขาทำทาน แล้วก็เลี้ยงขันธ์เราไว้ เป็นการเชื่อมต่อกัน แล้วก็สงเคราะห์ทาน จนกว่า ขันธ์นี้มันจะตาย ตายแน่ ตายแน่ ๆ แหงๆ ถึงวันถึงที่ แล้วมันตายแน่ เพราะฉะนั้น ถ้าใครเข้าใจความว่างนี่ได้ว่า ถ้าเราจะปฏิบัติตน ไปเพื่อความหลุดพ้น ไปเพื่อสู่ความว่าง หรือ ความไม่มีอะไรทั้งสิ้น อันที่ ๓ นี่สูงกว่าหน่อย อันนี้ถึงยอด เข้าใจความว่าง ได้หรือยังล่ะ ว่างจากอะไร ว่างจากความไม่มีอะไร นี่ เครื่องนุ่งห่ม ของเรานี้ ก็ไม่หวง ถ้าใครจะขโมยไปก็ขโมยไป ถ้าใครไม่ขโมยไป เหลือไว้ก็ห่ม จริงๆ ด้วย บาตรมีไว้สำหรับ เที่ยวที่จะโปรดคน เพื่อให้เป็นเวลาเช้า ไปให้เขาให้อาหาร ทำให้ตกร่วงลงไปในนั้น ถ้าใครมาขโมยบาตรไป ก็แล้ว ก็ไม่ต้องมีบาตร บางทีอาจจะเหลือกะละมัง มีกะละมังเหลือๆ เอากะละมัง ไปเดินก็ได้ อาตมาไม่เห็นแปลกตรงไหนเลย แต่ถ้าไม่มีอะไรเหมาะควร ที่จะไปบิณฑบาต นั่งอยู่เฉยๆ ไม่มีใครเอาข้าวมาให้กิน ก็ไม่กิน ถ้ามีใครเอาข้าวมาให้กิน ก็กิน ถ้าใครจะบริจาคบาตรอีก ก็เอา รับบาตร พระพุทธเจ้าท่านบอกไว้ อันนี้เป็นพุทธประเพณี อาตมาเข้าใจคำว่า บิณฑบาตเป็นวัตร หรือบิณฑบาตอย่างสัมมาอาชีโว ด้วยการบิณฑบาต พยายามเถิด ให้มีวิริยะ อุตสาหะ ตลอดชีวิตเถิด อาตมาเข้าใจๆ ของพระพุทธเจ้า เพราะมันเป็นการสงเคราะห์ธรรม เป็นการสงเคราะห์ทาน อันสูงสุด เพราะฉะนั้น อาตมาก็ขอปฏิบัติตาม พุทธประเพณีนี้

แม้พระเจ้าสุทโธทนะมาห้าม พระพุทธเจ้าก็ไม่หยุด เพราะฉะนั้น อาตมาเข้าใจว่า ทำไมพระพุทธเจ้า ไม่ยอมกับ พระเจ้าสุทโธทนะบอกว่า ไม่ได้ ศากยบุตร ได้ไปนั่งบิณฑบาตกินนั้นไม่ได้ เสียหน้าหมด แล้วพระพุทธเจ้า บอกว่า นี่แหละดีที่สุด เป็นสัมมาอาชีโวสูงสุด เป็นพุทธประเพณี แล้วพระพุทธเจ้า ท่านไม่หยุด อาตมาเข้าใจๆ คุณเข้าใจเหมือน อาตมาบ้างไหมล่ะ อาตมาเข้าใจๆ จริงๆ ด้วย และ อาตมาเกณฑ์กันมานี่นะ เอากรักมาก็ดี เอาพระมาก็ดี อาตมาจะไปบิณฑบาตเช้าๆ นี่ พรุ่งนี้เช้า อาตมาจะอยู่ แล้วอาตมาจะไปบิณฑบาตนี่ อาตมาก็รู้ว่า อาตมาไปโปรดสัตว์ พาคณะ ไปโปรดสัตว์ และพวกอาตมาเข้าใจการโปรดสัตว์ ไปแสดงธรรมนะ นี่ตอบข้อหนึ่ง ข้อสอง ยังไม่ได้ตอบให้คุณเลย



ถาม- สิ่งที่สิ้นสุด และสิ่งที่ไม่สิ้นสุด เป็นอัตตา หรือ อนัตตา

ตอบ- สิ่งที่สิ้นสุดและสิ่งที่ไม่สิ้นสุด ๒ อย่างนี้ มีอยู่ในโลกนะ ๒ อย่างนี้ มีอยู่ในโลก มีอยู่เป็นธรรมดา สิ่งใดยังไม่สิ้นสุด เราเรียกว่า อัตตา สิ่งใดที่สิ้นสุดแล้ว เราเรียกว่า อนัตตา เพราะสิ่งที่สิ้นสุดแล้ว ไม่มีแล้ว หมดแล้ว อนัตตา แปลว่า ไม่มีตัวตน ไม่มีอะไรแล้ว เข้าใจไหม อัตตาแปลว่า สิ่งที่มีอยู่เป็นตน เป็นตัวตน เป็นสิ่งนั้นอันนั้น เมื่อไม่มีอะไรแล้ว มันก็เป็นสิ่งที่สิ้นสุด เมื่อไม่มีอยู่ มันก็เป็นสิ่งไม่สิ้นสุด ผู้ใดรู้อัตตา และผู้ใดรู้อนัตตา ผู้นั้นย่อมอนุโลมอยู่ด้วยอัตตา อย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น และทำอนัตตา อยู่ทุกเวลา ให้แก่ตน ผู้นั้นก็ ส.บ.ม. น่ะจบ


 

ถาม- ธรรมะของพระพุทธเจ้านั่นน่ะ วิจารณ์ได้ไหมใช่ไหม?

ตอบ- ธรรมะของพระพุทธเจ้า ทนฟ้า ทนแดด ทนดิน ทนน้ำ ทนไฟ อย่าว่าแต่วิจารณ์เลย วิชาม วิกะละมัง วิโอ่ง วิไห ก็ได้ นี่จำหนับไหม วิจารณ์ขณะนี้มีอยู่ ๓ ท่าน คือ ท่านพุทธทาส ท่านปัญญานันทะ กับท่านมหาแสวง

เปรตของหลวงพ่อขอมแล้ว อาตมาเองก็ไม่เคยไปดูหรอก ไม่เคยไปเลย วัดไผ่โรงวัว แต่ได้ยิน กิลดั่ง ได้ยินมานะ เล่ากันมา เท่านั้นว่า ท่านไปสร้างเมืองนรก สร้างเมืองสวรรค์ไว้ ทำเป็นกระทะทองแดง ทำเป็นอะไรต่ออะไรอยู่ เป็นเปรต อะไรให้เห็น ปั้นเป็นรูปเป็นร่างให้เห็น ให้รู้ว่ามันน่าเกลียด น่ากลัว สร้างเป็นรูปปั้นไว้ นั่นเรียกว่า เปรต ที่ว่านี่นะ ของหลวงพ่อขอม แบบนี้ใช่ไหม ใครไปดูเปรต ของหลวงพ่อขอมแล้ว ก็ได้เหมือนกัน ได้ประโยชน์

ทีนี้ใครมาฟังเปรตของอาตมาบ้าง ก็ได้ประโยชน์ ถ้าไปดูเปรต ของหลวงพ่อขอมแล้วนี่นะ ถ้าใครดูแล้ว ก็พยายาม วิจัยวิจารณ์ ให้เห็นได้ว่า เอ้อ!นะ บุคลาธิษฐานอันนี้ มันมีสภาพทุกข์ทรมาน และเข้าใจให้ได้ว่า ทุกข์ทรมาน ถ้าคนไปถูกต้ม ร้อนๆ เดือดๆ อย่างนี้ เปรตที่มีสภาพ รูปร่าง หน้าตา น่าเกลียดน่าชังอย่างนี้นะ มันน่าเกลียดยังไง ถ้าเราเองมีจิตแบบนั้น ก็หมายความว่า คล้ายๆกับ เรามีรูปร่างหน้าตาอย่างนี้แหละ ถ้าจิตของเรา เป็นเปรตขึ้นมา รูปร่างหน้าตา แลบลิ้นยาวๆ อยากกินทางลิ้น ตาอยากเสพย์ทางตา ก็ตาโปนๆ ออกมาอย่างนี้ หูอยากจะรับเสียง บ้าๆบอๆ หูหนา ตาเล่อ อะไร ออกมาอย่างนี้ ถ้าเป็นคนอย่างนี้ ใครเห็นเรา คงวิ่งแจ้นเหมือนกันแหละ แล้วเราจะอยู่กับโลกได้หรือ ถ้าเราเป็นคนอย่างนี้ ถ้าใครวิจัย วิจารณ์ธรรม อย่างนี้ได้แล้ว ก็มาเทียบเคียงจิตของเรา มันมีไหม อารมณ์อยากทางตา ทางหู จมูก ลิ้น กาย หรือว่าไปทำบาป ทำกรรม ตกกระทะทองแดง ขึ้นต้นงิ้ว อย่างนี้ ๆ มันมีไหม ถ้ามันมีแล้ว เราก็มาฟังธรรม ของอาตมา เพิ่มเติมเข้าไปอีก แล้วก็มาตรวจจิตของคุณเข้า ที่จริงน่ะ จิตมันไม่มีรูป มันเป็นอรูปมยอัตตา ถ้าใครปั้นขึ้นมา ให้เห็นเป็นรูป มันก็เห็นได้ โดยเอาอำนาจจิต ที่ปั้นตามอุปาทาน ถ้าอาตมาจะปั้นเปรต ให้มีรูปร่างอย่างไรนะ อาตมาจะตั้งจิตเข้า แล้วก็ปั้นออกมา เปรตรูปนั้น ก็ปรากฏรูปให้เห็น ในจิตของอาตมา ไม่ยากหรอก อำนาจจิตของอาตมา มีพอ แล้วอาตมาก็ปั้นขึ้นมาก็ได้ เป็นอรูป มันไม่มีตัว ไม่มีตน ใครจะปั้นให้มัน น่าเกลียด น่าชัง มีน่ากลัว น่ายังไงก็ได้ แล้วก็เป็นจริง เป็นจริงด้วยน่ะ

ทีนี้ถ้าเผื่อว่า ใครเห็นแล้วน่าเกลียด น่าชังอย่างนั้น แล้วก็เอามาคิดให้ตัวเอง แล้วตัวเองก็เลิกเสียซิ ถ้าจิตของเราเป็น มันจะทำให้จิตของเรา มีรูปร่างอย่างนี้ แล้วตัวเองก็เป็นทุกข์ เหมือนกับตัวเอง ถ้าอยากไปกินน้ำเหล้า เราก็เหมือนกับ เอาน้ำทองแดง กรอกเข้าไปในคอ อย่างนี้ แล้วรู้บ้างไหมว่า เอาน้ำกรอกเข้าไปในคอ ทองแดงเข้าไปในคอร้อนๆ นั้นมีอาการอย่างไร รู้ได้แล้วเราก็กลัวมัน เลิกมัน หยุดมันเสียบ้าง อย่าได้เที่ยวไปให้คนเอา น้ำทองแดงกรอก ใครกระทำอย่างนี้ได้ แล้วก็รู้จิตของเรา เข้าใจซาบซึ้งอย่างนี้ได้ อย่างนี้จึงจะได้ประโยชน์ ประโยชน์ดู ถ้าดูแล้ว ให้เป็นอย่างนี้นะ แต่ถ้าใครไปดู ของหลวงพ่อขอม แล้วก็ไปปั้นรูปต่อเลย ตอนนี้ ฟังต่อนะ ทีนี้ไปดูรูป รูปของหลวงพ่อขอม ปั้นมาแล้ว ก็ปั้นต่อไป โอ้!เมืองเปรตเป็นอย่างนี้เองแฮะ เสร็จแล้วนี้ ถ้าคนเสร็จแล้ว ก็ตายไปแล้ว ก็ไปเป็นคน อย่างโน้น อย่างนี้ แล้วก็ไปเป็นเปรตอย่างนี้ คนนั้นสร้างวิมานะ ท่านเรียกภาษาบาลีว่า วิ - มานะ เรียกเป็นไทยๆ ก็ว่า วิมาน คือ วิ - มา - นะ มันแปลว่า จิต "มานะ"แปลว่า จิต "วิ" นี่แปลว่า ยิ่ง เป็นการ สร้างจิตอันยิ่ง เข้าไปเป็น รูปนั้น รูปนั้น ร่างนั้น เรื่องนั้น แต่ไปถึงเปรต เขาไม่เรียกวิมานหรอก เขาเรียกเป็น นิรยภูมิ นิรยภูมิ คือ แดนที่มีอันนี้แหละ แต่ก็จิตเหมือนกัน จิตเหมือนกัน ก็สร้างวิมานเหมือนกัน แต่วิมานเปรตแล้วกัน วิมานเปรตนี้มีต้นงิ้ว วิมานนี้มันเป็นรูปอะไร ถ้าคุณไปคิดอย่างนั้น เป็นอย่างนั้นแน่นอน ถ้าเผื่อว่าเราเอง เราไปผิดผัวเขาเมียใคร เราจะต้องขึ้นต้นงิ้ว อย่างนี้ๆ ซับเป็นสัญญา ไว้ในคุณนะ สัญญาของคุณ จำได้อย่างนี้ ปั๊บคุณนึกไว้อย่างนี้ เลยปั้นแน่แท้ แน่เลย ถ้าตกนรก ถ้าเป็นอย่างนี้ๆ แน่เลย แม้แต่คุณจะไปซับซาบไว้แล้วจริง คุณตายปุ๊บ ถ้าคุณทำอย่างนั้น จริงปั๊บ จิตของคุณ ก็ไปเกาะต้นงิ้ว มั้บเข้าให้เลย มีต้นงิ้วจริงๆ ด้วย จริงๆนะ นี่อาตมาไม่ได้พูดเล่นๆนะ จริงๆด้วย เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้มันเป็นจริง ในสิ่งที่มันเป็นจริง แล้วจิตนี่นะ คุณอย่าประมาทเล่นๆ ไม่ได้นะ มันเป็นจริง อย่างพระที่ท่านทำอยู่นะ ท่านก็เห็นของท่านอยู่นะ ที่จริงน่ะ ทีนี้ท่านเห็นของท่านอย่างนั้น มันก็มีประโยชน์อยู่บ้าง บางส่วน เสร็จ.. อย่างที่อาตมาว่า แล้วก็มีเห็นอยู่บ้าง บางส่วน แต่ส่วนไหน ที่มันเกินเลย อย่างที่คุณว่า อาตมาก็เห็นด้วย

ถ้าอาตมาเองน่ะ สามารถที่จะล้าง สิ่งที่มันเป็นไปโดยจิต ในปัจจุบันนี้ได้ โดยอำนาจฤทธิ์เดชอะไรได้ อาตมาทำแล้ว แต่เพราะอาตมาเอง อาตมารู้ อาตมาไม่สามารถจะล้าง สิ่งที่เกิดแล้วนั้นได้ อาตมาจึงไม่ขอเสียเวลาล้าง แต่อาตมา จะขอเสียเวลา สร้างสิ่งที่ดีขึ้นมา อย่างเดียวเท่านั้น คือสร้างธรรมะ ที่อาตมาตามเห็น ตามแนวที่ว่านี่ ทุกอย่างออกมา ออกมา ออกมา ส่วนเวลาใด ที่อาตมาจะมาพูด พาดพิงไปถึง ธรรมดำบ้าง เพื่อเป็นการเทียบเคียง ดังนั้นอาตมา ก็ต้องพูดอยู่ แต่จะให้อาตมาไป ตะรา ต่าต๊าอย่างนั้น อาตมาไม่ ตะราต่าต๊าหรอก อาตมาเลิกเชิด อาตมาเลิกไปตีรัน ฟันแทงกันไม่เอา แต่อาตมากล่าวคำใด พาดพิงถึงสิ่งใด ที่เป็นธรรมดำ อาตมาก็บอกว่า อาตมาต้องกล่าวพาดพิงอยู่ พระธรรมนี้ มีดำกับขาว พูดขึ้นมาเพื่อให้เห็นสัจจะ เมื่อพูดธรรมดำ-ธรรมขาวแล้ว ใครจะโกรธเคือง ด้วย เมื่อเขายึดธรรมดำนั้นอยู่ อาตมาช่วยไม่ได้ แต่อาตมาก็ไม่โกรธเคือง คนที่ทำนั้น จะเป็นใครก็ตาม คุณไปยกเอาหลวงพ่อไหน อย่างไร ที่ทำเตลิดเปิดเปิงเลยไปเถิด อย่างที่อาตมาพูด ธรรมดำ ไว้ว่า อย่างนี้มันไม่ควร อย่างนี้ไม่ดี อาตมาก็เคยพูดมา คุณก็เคยได้ยินมา นักหนาพอได้ อาตมาก็พูดไปอย่างนั้นเองแหละ อาตมาไม่เคยไปโกรธเคือง ไม่เคยไปเที่ยวได้ไปตีรัน ฟันแทง ไปรื้อไปถอน อะไรของเขา เหมือนกับคุณปุ่น มา ศาลพระภูมิที่ไหน มาบอกผม ผมจะถอนให้ อะไรอย่างนี้ อาตมาก็ ไม่เอาอย่างนั้น เพราะฉะนั้น เขาจะสร้างอะไรไว้ที่วัดโน่น วัดไผ่โรงวัว อาตมาไม่ไปถอนเขาได้หรอก อาตมาไม่ถอน แต่พูดนี่จริงนะ มุมเหลี่ยมที่คุณเห็นนะ ที่ว่ามันน่าเกลียดน่าชัง มันก็มีจริง มุมเหลี่ยม ที่มันมีความเห็น ที่มันน่าเกลียด น่ากลัว ก็มีนะคุณ เพราะฉะนั้น ใครเห็นแล้วเกิดเกลียดกลัว เป็นบาปเป็นกรรม ก็มีได้เหมือนกันนะ มุมเสียก็มี มุมดีก็มีอยู่เหมือนกัน

เพราะฉะนั้น เราก็พยายามมาพิจารณา ใครมีปัญญาเห็นได้ว่า ถ้าสร้างอย่างนี้ มีมุมดีหรือมุมเสีย มากกว่ากัน ถ้ามีมุมเสียมากว่า ก็พึงหยุด ถ้าใครเห็นไม่ได้มีมุมดี เขาเพ่งมุมดีมุมเดียว เขาก็เห็นว่ามุมดี เขาก็สร้างอยู่ ก็เป็นเรื่องของเขา มีปัญญาเห็นอยู่แค่นั้น ถ้าใครเห็นมุมเสีย แม้แต่มาสร้างโบสถ์ สร้างวิหารใหญ่โตเกินไป จนกระทั่ง ผลาญเศรษฐกิจในประเทศ อาตมาก็เห็นอยู่เดี๋ยวนี้ อาตมา คนหนึ่งละ อาตมาไม่เสียเวลาสร้างแน่ เพราะอาตมาเห็นว่า เศรษฐกิจในเมืองไทย หรือในสังคม ที่อาตมาอยู่ร่วมด้วย อย่างนี้ มีความจำเป็นรีบด่วน ที่จะต้องใช้เศรษฐกิจนั้น ให้สะพัดดีกว่านี้ ไม่ใช่เอาไป จมอิฐ จมหิน จมปูน อยู่ให้มากเกินไป นี่อาตมาไม่เอา

แต่ใครเห็นว่าเขาสร้างโบสถ์ ให้ใหญ่พิลึกกึกกือ เพื่อที่เขาจะได้ใหญ่ ตามโบสถ์นั้นนะ เพราะเขาหลงพระพรหม หลงความมักใหญ่ อันนั้นนะ เพราะมักในโลกนี้ คุณเองพามักง่ายมาตัวหนึ่ง อาตมาเข้าใจ อาตมาก็เอามักใหญ่นี่ ผสมลงไปอีกตัวหนึ่ง โลกนี้ถ้าใครเห็น เป็นไปเพื่อความมักใหญ่ ก็เป็นไปเพื่อ ธรรมอันเสื่อม พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนธรรมะ เพื่อความมักใหญ่ และคุณเอามักง่าย มาอีกตัวหนึ่ง ถ้ามักง่าย คือขี้เกียจขี้คร้าน พระพุทธเจ้าท่านสอน ถ้าใครสอน ธรรมใด เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ก็ไม่ใช่ธรรมะของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ถ้ามีมักง่ายกับมักใหญ่ ก็ปล่อยเขาไป ของเขายังหลง ความมักง่าย เขาหลงความมักใหญ่อยู่ ก็ปล่อยเขา เพราะเขาใหญ่ตามมัก เขาจะง่ายตามมัก ก็เอาซิ

แต่มรรคของพระพุทธเจ้านั้น เป็นมรรคอริยสัจ เป็นมรรคที่เป็นไป เพื่อความพอดี เป็นไปเพื่อความ ยังกุศล ยังกุศลจริง ๆ ถ้าเขาเห็นว่า ความใหญ่นั้นเป็นกุศล ก็ให้เขาทำความใหญ่นั่นไป ถ้าเขาเห็นว่า ความพอดี เป็นกุศล เขาก็จะลดมาทำ ความพอดี ถ้าเขายิ่งเห็นเป็นไปเพื่อ ความมักน้อย นั่นเป็นกุศล เป็น อัปปิจฉกถา เป็น อัปปิจฉอุเทศ เป็นอัปปิจฉะ อันถูกต้อง ถ้าใครเข้าอย่างนั้น ก็จะสอนเพื่อ ความมักน้อย แล้วก็ทำตนเอง ให้เป็นผู้น้อยๆ เหมือนอย่าง พระสิทธัตถะ ท่านกินน้อย ฉันแต่มื้อเดียวเถิด ท่านมีจีวรแต่เพียงไตรจีวร ที่นอนที่ท่านนั่ง ท่านไม่ยึด ใครมาสร้างให้มั่ง ก็พักให้มั่ง ไม่งั้นก็นอน รุกขมูล ท่านมียารักษาโรค ก็ใช้ไปตามควร นอกนั้นมีบริขารพอควร ท่านมักน้อยให้เห็น เป็นตัวอย่าง นี้ได้ ไปส่งเสริมในการ มักใหญ่ สร้างใหญ่ ท่านไม่เคยมาเป็นเจ้ากี้เจ้าการ สร้างอะไรให้มันใหญ่ ไม่เคย แต่คนสร้าง คฤหัสถ์ก็สร้าง เรื่องสร้างนี่คฤหัสถ์ เรื่องสอนธรรมเป็นเรื่องพระ ไม่ใช่ว่าคฤหัสถ์ เป็นเรียกว่า แย่งกันเสียดีกว่า พระสร้างวัด คฤหัสถ์สอนธรรม แบบนี้มันฉิบหายแล้ว ถ้าพระไปมัวสร้างวัด คฤหัสถ์ไปสอนธรรม ก็พังกันไปใหญ่


จัดทำโดย โครงงานถอดเทปธรรมะฯ
ตรวจทานครั้งที่ ๑ โดย สิกขมาตปราณี ปึงเจริญ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๓๐
ตรวจทานครั้งที่ ๒ โดย ๖ มิถุนายน ๒๕๓๑
บันทึกข้อมูลโดย ทีมงานคุณกัญญา พุ่มรัตนา ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
พิสูจน์อักษร-พิมพ์ออกโดย วรรณประภา ชัยประสทธิกุล ๑ สิงหาคม ๒๕๔๗
เข้าปกโดย สมณะพรหมจริโย
เขียนปกโดย พุทธศิลป์
ถาม-ตอบ ฌานในพุทธศาสนา