มองตนให้พ้นอวิชชา หน้า ๒
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ แสดงธรรมก่อนฉัน
เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๒ ณ พุทธสถานสันติอโศก
(ต่อจากหน้า ๑ )


ภิกษุนั้น ก็ควรทำความเพียร เพื่อดำรงอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้น และ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ อันยิ่ง ให้ยิ่งๆขึ้นไป หลักเกณฑ์ ก็อยู่ที่ว่า เราเองนี่ ถ้าเผื่อว่า เราเองเราไม่สามารถที่จะเป็นผู้ฉลาด ในเรื่องราว ของการรู้ใจผู้อื่น เราก็ต้องฉลาดในการรู้ใจของตนเอง เพราะฉะนั้น การจะรู้ใจ ของตัวเอง เราควรจะตรวจอะไร ท่านก็ให้พิจารณา เหมือนกับอย่างหนุ่มสาว รักความสวยงามใน ใบหน้าน่ะ ถ้าไม่มีอะไรมาแฝงมาปนในใบหน้า มีสิว มีเม็ด มีฝุ่น มีโน่น มีนี่ อะไร เราจะต้อง รีบเอาออก ให้เหมือนกับผ้าที่พันหัวอยู่ไหม้ไฟ รีบเอาออก ไม่ อย่างนั้น มันไหม้หัวเรา หมดแน่ ตายแน่ ความรู้สึกอย่างนี้ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะ มันมีประมาทกันอยู่ทั้งนั้นล่ะ โอ๊ย...ช่างมันเถอะน่ะ มันจะมีความโกรธอยู่ ก็ไม่ เป็นไรหรอก โกรธมันต่อไป จะมีความอภิชฌา เพ่งโทส ความโลภ อะไรอยู่ ก็ ช่างมันเถอะ ให้มันมีอยู่ต่อไป แม้แต่ความหดหู่ เศร้าหมอง นี่เขาแปลถึงขั้นว่า ง่วงงุน รึงรัด มันไม่โปร่ง มันไม่โล่ง มันไม่สบาย มันไม่แจ่มใส ไอ้แจ่มใส ก็ ไม่..ไม่เท่านั้น ฟุ้งซ่านเสียด้วย กระเซ็นกระเด็น โน่นนี่ จับไม่ติด คิดนึก ก็ไม่เป็นหมวดหมู่ หยุดความคิดก็ไม่ได้ ฟุ้งซ่านอะไร มากมายพวกนี้ ต้องรู้อาการ ของจิตของเรา แล้วก็หัดฝึกระงับว่า เอ๊ ทำไมเราคิดอะไรมากเรื่องนี้ คิด ทำไม หรือว่าตอนนี้ เราติดตื้อๆ ง่วงงุน รัดรึง หรือว่ามันหดหู่ หดหู่ อะไร ใจคอเบิกบานแจ่มใส ถ้ามีเรื่องอะไร ตามมัน มันจะหดหู่ มันมีอะไรเป็นต้นเหตุ มันหดหู่น่ะ พยายาม ตามหาเหตุ ของมันให้ได้ มันเกิดจากกิเลสความไม่พอใจ ใน เรื่องอะไร โลภไม่ได้สมโลภ โกรธไม่ได้แก้แค้นสมโกรธ

อาตมาดูวิดีโอ ของสำนัก... เขามาให้ดู เขาเป็นสำนักที่ปฏิบัติในวิธีการของเขา เขากินมังสวิรัติ เหมือนกัน สำนักนี้ พระเจ้าก็ไม่รับเงินรับทอง ก็ไม่มีเงิน ไม่มีทอง เคร่งครัดดี คนขึ้นเยอะ แต่ปฏิบัติแบบเจโต เขาก็เลยเอามาให้ดู คนที่เอามาให้ดูนี่ ก็เคยศึกษากับอโศก แต่เห็นว่าเจโตนี่ ดูมีผล อาตมาก็มาดู โอ้โฮ แกบอกจดหมายมาด้วย บอกว่า ดูก็เหมือนกับ โรงพยาบาลคนบ้าโรงหนึ่ง นั่นแหละ แต่ว่ามันจะ สมเหมาะสมควรไหม ที่อโศกเราจะศึกษา อาตมาก็ดู ในฐานะที่อาตมาผ่านมามาก ไอ้เข้าทรงวิธีนี้ อาตมาก็รู้แล้วว่า ไอ้เรื่องทำสมาธิแบบนั่ง... โอ๊ย สารพัด สาระเพ เต้นๆ ดีดๆ ร้องรำ ทำเพลง ทำอะไร เต็มไปหมดเลยนี่ นี่ ห้องที่เขาปฏิบัติกัน นั่งหลับตากันแล้วก็ แหม ว่ากันไปสารพัด เสร็จแล้ว เขาก็เอามา สัมภาษณ์ ใครทำอะไร เขาถ่ายวิดีโอไว้ ตอนที่เป็นอยู่นั่น เขาตอนที่นั่งเขาเป็นยังไง ใครเป็นยังไง เขาก็ถ่ายวิดีโอ ถ่ายเอาไว้...

เหมือนอย่างที่อาตมาเคยบอกพวกเรา มันเป็นการบำบัดอารมณ์ชนิดหนึ่ง เท่านั้น แล้วมันได้ทำออกมา โดยที่ตอนที่เรายังมีสติสัมปชัญญะดีๆ มันไม่กล้าทำหรอก มันอาย ใช่ไหม มันอาย มันกด มันข่ม มันอะไรต่ออะไรเอาไว้ ก็มันอาย หรือบางที มันไม่ใช่อายหรอก มันทำไม่ได้ มันทำไม่ได้ มันก็ได้ระบายออก วิธีนั่น ไอ้อยากชก เขาก็เอาหมอน ให้ชกสิ ตอนนั้น แหม ชกใหญ่เลย ชกหมอน เขาเอาหมอนให้ชก พอได้ชกออกไป บางคน บางที นี่ นอน นอนแล้วก็ ชกลงไปกับพื้น เขาก็ต้องเอาหมอนไปรอง มันจะชกกัน ตรงไหน แล้วเขาก็บอกว่า นี่เป็นการพ้นทุกข์ เป็นการได้ระบายออก ได้บำบัดอารมณ์โกรธ ได้บำบัดอารมณ์รัก อารมณ์ใคร่ อารมณ์อะไร ยังไงก็แล้วแต่ ก็ว่ากันไป

อาตมาก็ดูแล้ว ก็ เออ นี่ มันก็เป็นสภาพที่ ...อาตมารู้นะ รู้แล้วก็เคย เขาก็พยายามแนะนำ จะให้เรา เอามาใช้ อาตมาว่าไม่เอา เสียสถาบันหมด... โอ้โห พอเข้านั่งสมาธิ เขาก็ไปแล้ว ไม่ได้เป็นปกติหรอก แล้วเขาจะมีความรู้สึก ด้วยซ้ำไปนะ ถ้าใครไม่มีอะไร แสดงออก นั่งนิ่งๆ เฉยๆนี่ กลายเป็นไม่เก๋ ไม่โก้ ไม่ประสบผล ถ้าจะประสบผล ต้องมีอาการ มีอะไรต่ออะไร ก็เลยเป็นอุปาทาน ชนิดหนึ่ง ไม่มีก็สร้าง ให้มันมีน่ะ ...

อาตมาก็เอามาอธิบายประกอบให้เห็นว่า การจะคลายพยาบาท คลายความโกรธ หรือคลาย ความโลภ ความใคร่ ความอะไรต่ออะไรต่างๆนานา มันไม่ใช่ มันได้แสดงออก ไอ้แสดงออกนั่น บำเรอด้วยซ้ำ มันบำเรอด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น พอได้มาสะกดจิตแล้ว เสร็จแล้ว ก็สติสัมปชัญญะ ไม่ควบคุม เมื่อไม่ควบคุม ก็ไล่ให้จิตใต้สำนึก มันแสดงออก หนักๆ เข้า มันก็จะแสดงบทบาท ที่ไม่เข้าท่ามากเข้าล่ะนะ เรื่องราวอะไร จิตใต้สำนึก มันแสดงออกมากๆ เดี๋ยวยุ่งกันใหญ่นะ ฯลฯ..

เพราะฉะนั้น การจะคลายพยาบาท การจะเรียนรู้อภิชฌา พยาบาท ความหดหู่ ความที่มันยัง คั่งค้าง อยู่ในอารมณ์ อะไรพวกนี้ ไม่ได้หมายความว่า จะไปให้มันปล่อยออก ไอ้อย่างนั้น ปล่อยออก คือการได้ไป แสดงบทบาทนั้นออก อย่างนี้ คนโลกๆ เขาทำอยู่แล้ว เขามีราคะ เขาก็ไปแสดงบทบาท กับราคะ กับคู่ซ้อมด้วย แล้วเขาบอกว่า เขาแสดงออกหรือ มันไม่ใช่เลย นะ นี่เข้าใจไม่ถูก เราไม่ให้อาการ ที่มันเป็นราคะ โทสะ โมหะ ในจิตนั้นน่ะ ให้มันมีอาการเกิด แล้วรู้มันด้วยปัญญา เข้าใจอาการมันให้ชัด จะสะกดมันเอาไว้ ด้วยสมถภาวนา ก็ทำ เรียนรู้ด้วยปัญญาให้จริงว่า มันไม่ใช่เรื่องที่จะไปยึดไปถือ ไม่เป็นเรื่องที่ให้ มันเกิดอาการอย่างนี้อยู่ในจิตของเรา มันเลิก มีอาการอย่างนี้ได้ นั่นแหละ ถูกต้อง ด้วยปัญญาอันยิ่งเลยว่า เอ๊อ เราให้มันเกิดอยู่ทำไม มันเคยตัว มันเคยชิน แล้วมันฟักตัว มันมีเชื้อ มันมีตัวบทบาทอยู่ในจิตของเรานั่น มันเป็นกิเลส เราหยุด มันให้ได้ เลิกมันให้ได้ด้วยปัญญาว่ามันไม่ดี ขณะมันไม่ดี ยังต้องมาอบรมมันบ่อยๆ เห็นมันจริงๆว่า เออ มันอ่อน มันเชื่อถือในปัญญา มันเชื่อถือ ในความเข้าใจที่ ถูกต้อง ไม่มีแล้วมันสบายกว่า ไม่มีแล้ว มันเกิดคุณค่ากว่า อาการพวกนี้เราทำ งานด้วยรู้ก็พอ ด้วยความเฉลียวฉลาด ที่เป็นปฏิภาณ ปัญญาที่แท้จริงไม่ทำ ไม่ต้องใช้ฤทธิ์แรงอะไรพวกนี้ อย่างนี้ เป็นต้น

เราต้องมาเรียนรู้ อย่างที่อาตมาพาทำ แล้วศึกษา บอกศึกษาพาให้ อ่านสภาวะให้อ่านอะไรๆ ต้องรู้ยิ่ง เห็นจริงนะ อ่านรูป นาม อ่านอาการ ลิงค นิมิต ของสิ่งที่มันเป็นจริง อาการ ลิงคะ นิมิต ของจิต อาการ ลิงค นิมิต ของ กิเลส มันต่างกันยังไง แยกให้ออก เป็นความบริสุทธิ์ใจ ที่มันทำ เพื่อบำเรอตน หรือทำเพื่อ สร้างสรรน่ะ อย่างนี้ เป็นต้น หรือแม้แต่ที่สุด ทำสร้างสรร ทำดี กับคนอื่น แล้วยังมีอุปกิเลสซ้อน อะไรก็ต้องให้รู้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น การที่จะ ดับทุกข์ หรือ ดับกิเลสนี่ มีหลายวิธี ที่คนเข้าใจไม่ได้ แล้วเขาก็ยัง ไม่รู้จะพูดยัง ไง ที่พูดมานี่ ไม่ใช่พูดมาเพื่อลบหลู่ ดูถูกนะ แต่ว่า มันมีนานาสารพัด โอ้ อาตมาก็ว่า คนเรานี่ ก็พยายาม มีหนทาง หลายหนทาง เขาว่ายังงั้นนะ มีหนทาง หลายหนทาง เอ๊ พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยสอน มาเข้าทรงกัน เต้นๆ ดีดๆ อะไรอย่างนี้ ไม่มี ดูแล้วก็ โอ๊ น่าสมเพชเวทนา แต่ละคนแสดงออก ท่าที ยังโง้น ยังงี้ ไอ้โน่น ไอ้นี่ อะไรต่ออะไร ต่างๆ นานา มีๆๆ มีนักบวช มีพระ ด้วยนะ แหม เข้าอย่างนั้นนะ เข้าสมาธิ แล้วก็ ...โอ้โห นักมวยเก่า ท่า..หรือว่า ไม่ได้เป็นมวย แต่อยากจะชก หรือยังไง ก็ไม่รู้ ชกแหลกเลย แหม แย้ปหมัด หมัดโน่น หมัดนี่ นั่งชก ชกอยู่อย่างนั้นแหละ เออ เห็นแล้วก็ สมเพช นั่งชกอยู่อย่างนั้นแหละ นอกนั้น ทั้งฆราวาส เขาก็ว่ากันไปใหญ่เลย พวกฆราวาสนี่ ขนาดพระ ก็ยังเป็นอย่างนั้นน่ะ ต่อไปพระก็ต้อง เป็นด้วย เพราะเขาถือว่า ไม่ได้เป็นความเสียหาย ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่อง ที่น่าเกลียด น่าชังอะไรใช่ไหม เขาก็ว่าอย่างนั้นน่ะ แล้วไปนั่งสะกดจิต หรือไปนั่งสมาธิ แบบนี้

การจะลดสิ่งเหล่านี้ การจะรู้สิ่งเหล่านี้ นี่ ตรวจจากสิ่งเหล่านี้น่ะ ให้อ่านจิตตนเอง นี่ ท่านสอนชัดๆ อาตมาว่า อาตมาไม่ได้สอนพวกเราผิดนะ สอนชัด ให้อ่านให้ตรวจอาการ ลิงคะ อภิชฌานี่ มันไม่ใช่ชื่อเรียก มันเป็นยังไง อาการลิงคะ นี่รู้รูป นาม ก็คือสิ่งที่ถูกรู้ เรียกว่ารูป รู้อาการมัน มันไม่มีเนื้อ ไม่มีตัว มันมีอาการได้ อาการโลภ อาการอภิชฌา อาการโกรธ อาการ พยาบาท มันต่างกัน แม้แต่พยาบาท กับโทสะ หรือโกรธกับผูกโกรธ อาการมันต่างกันไปอีกนะ โกรธก็คือ ความวู่วาม ความที่มันร้อนแรง มันอึดอัด อะไร หรือมันอะไรขึ้นมา เป็นลักษณะโกรธ แต่ถ้าผูกโกรธ อุปนาหะ นี่ หรือ พยาบาท อาฆาตนี่ มันมีต่อเนื่อง และมันผูกยึดไว้อีก มันไม่ยอมปล่อย มันโกรธ ถ้าคนเขาบอกโกรธง่าย หายเร็ว เออ อันนั้นก็โกรธ อาการโกรธ ในปัจจุบัน ถ้ามันหมดปัจจุบันแล้ว มันก็ยังไม่หมด มันก็ยังฝังใจ มันก็คือ ยังสืบเนื่องต่อไปอีก ไม่ปล่อย ไม่เลิก โกรธง่าย หายเร็ว เออ คนนี้ไม่ผูกโกรธ โกรธง่าย หายเร็ว นั่น มันผูกแล้ว ถ้ายิ่งมันไม่ยอมหายเลย มันก็ผูกกันไปอีก กี่นานล่ะ มันก็เป็นอาฆาต พยาบาท มันมีลักษณะต่างกัน อ่านใจตัวเอง ให้รู้ว่า แม้แต่อาฆาต การอาฆาต การพยาบาท หรือผูกโกรธ กับไม่ผูกโกรธ มันก็ต่างกันแล้ว อย่างนี้ เป็นต้น

ต้องเรียนจริงๆ ต้องปฏิบัติ ต้องฝึกฝน โดยปริยายอย่างนี้ นี่ล่ะ คือ เรื่องราวที่เราจะศึกษาน่ะ ถ้าเรารู้ คนอื่น ไม่สามารถล่วงรู้ ก็ไม่เห็นจะมีความ ต้องไปเดือดร้อนดิ้นรนอะไรมากมาย มันไม่รู้ใจคนอื่น มันรู้ใจตัวเอง มันรู้สภาพพวกนี้อยู่จริง ดี ศึกษามันเข้า นี่เป็นเป้าหมายหลัก นี่เป็นเรื่องหลักๆ ที่เราจะ ต้องศึกษา ถ้ารวมไปแล้ว อย่างน้อยก็นิวรณ์ ๕ อันต้น จากนั้นก็มีซ้อนมา เรียกว่า ความโกรธ พยาบาทกันขึ้นตอนแรก ทำไมท่านทำซ้อน หมายความว่าอะไร ข้อ ๒. อภิชฌา ข้อ ๒. จิตพยาบาท ข้อ ๖. มีความโกรธ หรือ ความไม่โกรธ ดู แล้วมันคล้ายกัน แต่ที่จริงมันบอก... อาตมา บอกแล้วว่า ไม่ใช่เป็นอันเดียวกัน ทีเดียว มันมีลักษณะต่างกันอยู่น่ะ จิตเศร้าหมอง จิตหดหู่ พระบาลีท่านจะใช้ว่า อะไรไม่รู้นะ อันนี้มี ข้อ ๓. นี่ จิตหดหู่ คงถีนมิทธะ ส่วนข้อ ๗ ที่ว่า จิตเศร้า หมอง หรือจิตไม่เศร้าหมอง ท่านใช้พระบาลีว่าอะไรก็ไม่รู้นะ อันนี้ จิตเศร้าหมอง จิตไม่เศร้าหมอง อย่างนี้ เป็นต้น มันต้องมีลักษณะต่างกัน หดหู่ เศร้าหมอง มันก็คล้ายๆกัน แต่ว่ามันต้อง ไม่เหมือนกัน ทีเดียว มันต้องมีลิงคะ มีอาการต่างกันแน่ หรือจิตฟุ้งซ่าน กับมีกาย กระสับกระส่าย กับกายไม่กระสับกระส่าย นี่ ท่านบอกกายนะ กายไม่กระสับกระส่าย ฟุ้งซ่าน มันก็กระสับกระส่าย อยู่นั่นแหละ ฟุ้งซ่าน มันก็จิต ซัดส่าย จิตฟุ้งซ่าน ถ้ากายกระสับกระส่าย มันก็มีลักษณะอีกน่ะ ลักษณะกาย กระสับกระส่าย ก็ต้องหยาบกว่าขึ้นมา เกียจคร้าน หรือปรารภ ความเพียร เราต้องเรียนรู้ว่า จิตของเราเกียจคร้าน หรือจิตของเราปรารภความเพียรอยู่น่ะ จิตไม่ตั้งมั่น หรือ จิตตั้งมั่น จิตตั้งมั่น ก็หมายความว่า จิตที่มันแข็งแรง แล้ว มันก็มีปัญญา มีความเฉลียวฉลาด รู้เลยว่า ควรจะอยู่ในสภาพไหน ก็ทรงสภาพ นั้นได้ จะให้อยู่นาน จะให้อยู่เร็ว มันมีอำนาจ มันมีพลัง พลังวิมุตินี่ สามารถที่จะ ทำให้จิตเราเป็นอย่างนั้น โดยเราเอง เป็นตัวใช้จิตวิญญาณ เป็นประธานสิ่ง ทั้งปวง ก็คือ จิตวิญญาณของเราเอง ควบคุม รักษา ต้องการอย่างไร กำหนด ให้เป็นทั้งๆที่มันไม่ง่ายหรอก เราจะบันดาล สั่งจิตให้มันเป็นอย่างโน้น อย่างงี้มันไม่ง่าย แต่มัน ง่ายขี้น มันสามารถทำให้เป็นกุศลได้ง่าย ให้มันขยัน ให้ มันอดทน มันก็ทำได้ ลักษณะอดทน อย่างไร ฝึกปรือแล้ว เรียนรู้แล้ว มีกำลัง

เพราะฉะนั้น วิมุตินี่ จะเป็นกำลังที่ทำได้ ขยันหมั่นเพียรก็ดี อดทนได้ ก็ดี จะเมตตาเกื้อกูล อะไรต่ออะไร ยังไงต่างๆ นานา จิตมันเป็นได้ โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก จึงเรียกว่า จิตอ่อน จิตอ่อนน่ะ เรียกว่า จิตสอนง่าย ว่าง่าย ดัดง่าย ปรับง่าย ให้มันเป็นไปได้ตามที่เราเองมีความรู้ และปรารถนา หรือ ประสงค์จะให้มันเป็น มันก็จะมีฤทธิ์มีแรงอย่างนั้นทันทีที่จิต เพราะจิต เป็นประธาน แล้ว อยากจะออกมา ถึงกายกรรม วจีกรรม ก็ทำออกไป มีฤทธิ์ มีแรงทำได้ทันที ไม่มีอะไร ต้านกั้น นี่เรียกว่า ตั้งมั่น จะสงบอยู่ ก็สงบได้ ตอนนี้ไม่ต้องคิด ไม่ต้อง ให้มันเป็นตัว สั่งกาย ไม่ต้องสั่งวจี ไม่ต้องสั่งกายออกมาอย่างโน้นอย่างนี้ อยู่เฉยๆ ก็อยู่เฉยๆได้ เรียกว่าตั้งมั่น

รวมความแล้ว จิตตั้งมั่นนี่ รวมหมด รู้กุศล อกุศลและสัพพปาปัสสอกรณัง ไม่ทำเลย จิตนี้ไม่ให้ทำ สิ่งที่เป็นบาปได้เลยจริงๆ กุสลัสสูปสัมปทา จิตยังกุศลให้ ถึงพร้อมได้ทุกโอกาส ที่เรามีความเห็นดี ที่จะต้องกระทำ ที่จะยังให้ถึงพร้อม ก็ ทำได้ทันที ถึงพร้อมทันที จิตสะอาด บริสุทธิ์ แม้จะยังกุศล ให้ถึงพร้อม ก็ไม่เป็น กิเลส ให้ทำดี มุ่งหมาย ปรารถนาทำดี ทำสิ่งที่เป็นกุศล ก็ไม่เป็นกิเลส แม้อุปกิเลส ทำดีแล้ว ก็ไม่มีกิเลส อุปกิเลส ไม่มีสังโยชน์เบื้องสูงซ้อน ไม่มีมานะ ไม่มีอัตตา ไม่มีฟุ้งซ่าน ไม่มีฟุ้ง ฟูฟอง อะไร ไม่มี...เรียกว่า จิตตั้งมั่น น่ะ จิต ตั้งมั่น หรือไม่ตั้งมั่น ถ้าตั้งมั่น อย่างลึกๆ มันก็จะเป็นอย่างที่ว่านี้ จิตตัวดี มันจะถึง ขนาดนี้นะ

เราก็ปฏิบัติอย่างที่พวกเรากระทำไปนี่แหละ มันมีฉลาดในเรื่องของจิต ของตนอีกอย่างหนึ่งน่ะ แต่ว่าวันนี้ ก็ไม่ต้องอ่านก็ได้น่ะ มันคล้ายกัน แต่เรื่องหลัก ก็คืออันนี้แหละ เรื่องหลักๆ ที่เขาปฏิบัติ จะอบรมกาย อบรมวจี ที่เรา พึงเป็นอยู่ทุกวันนี้ ให้มันเป็นไปเพื่อแก้แค้น ไม่ให้เป็นเพื่อเห็นแก่ตัว อภิชฌา เพ่งแรง เพ่งเกิน เพ่งมา ก็เพ่งมาเพื่อตนเสียด้วยซ้ำ เราก็ไม่... ฝึกฝนไป ทำใจให้ไม่ให้ มันฟุ้งซ่าน ไม่ให้มันหดหู่ ไม่ให้มันหดตัว เกาะกุม ขัดเคือง อึดอัด อะไร ไม่จิตก็จิต ก็เป็นธาตุรู้ ธรรมดา ธรรมชาติของจิต ถ้าเป็นธาตุรู้ รู้อะไร ก็รู้ รับรู้ ยังงั้นยังงี้ ก็ไม่ทำให้จิตของเรา แปรปรวน รับรู้อันนี้ เรื่องดี เอ้า ก็ดี เรื่องไม่ดี เออ ก็เรื่องไม่ดี เรื่องไม่ดีนี่ มาถึงตัวเราเสียด้วยซ้ำ เขาว่าเรา ไม่ดี เขาว่าเราดี อะไรก็แล้วแต่ ใส่ความเราไม่ดี อย่างโน้นอย่างนี้ เลวร้าย อะไร อย่างโน้นอย่างนี้ ก็ฟังแล้ว ก็มาไตร่ตรอง ตรวจตรา เป็นจริงไหม ถ้าไม่เป็นจริง ก็ว่างโปร่งอยู่อย่างนั้น หรือแม้รู้ว่า ความเป็นจริงก็ไม่ได้หมายความ ว่าหดหู่ห่อเหี่ยว เลยหมดเรี่ยวหมดแรงไป ก็ไม่ใช่ เมื่อรู้ตัวว่า มันไม่ดีจริงๆ โอ๊ ถูกตามเขาว่าหนอ ก็รู้แล้ว ก็เอาละ ย่อมไม่ยินดีในสิ่งที่ไม่ดีนั้นของเรา แต่ ก็ยินดี ที่เราได้รู้ความจริงของเราว่า เอ๋อ เราไม่ดีอย่างนี้จริงๆหนอ เออ เราก็แก้ไข เป็นความรู้ที่ไม่จำเป็น จะต้องไปห่อเหี่ยว หดหู่ ท้อแท้ เมื่อเป็นสิ่งที่ มันไม่ดี ก็อบรม ฝึกฝนตนให้มันไปสู่ดี ที่เรารู้ว่า ควรจะเป็น อย่างไร แล้วทำจริงๆ อย่างนั้นน่ะ

เพราะฉะนั้น ใจเรา คนเรานี่ กำไรเบื้องแรก ตั้งแต่เป็น สุขาปฏิปทา ไม่ต้องมีนิวรณ์ในเบื้องต้น รู้อาการเบื้องต้นให้ได้ว่า อภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ อย่างไร เป็นอย่างไร เข้าใจตัวนี้ เป็น การอ่านจิต อย่างไม่งง ไม่สงสัย ไม่วิจิกิจฉา รู้ อันนี้ เป็นตัวที่เกิด สุขาปฏิปทา เบื้องต้นเลย ทำได้ไปเรื่อยๆ แม้จะยังไม่ถอนอาสวะ ยังไม่อะไรก็ จะมีกิเลสอยู่ อันนั้นอันนี้ ก็เอาละ เราก็ไม่ต้องพยายาม ที่จะต่อเรื่องให้มัน มันจะมีเรื่องเลวอย่างนี้ มันไม่ดี ไม่งามอย่างนี้ ก็ไม่ต้องไปเพ่งมันต่อน่ะ "ไม่ต้องไปเพ่ง มันต่อ ไม่ต้องไปแก้แค้น" อะไรมันหรอก ไม่ต้องไป สมน้ำหน้า มันหรอก "รู้ว่า มันจิตของเรา หรือ กิเลสของเรา" แล้วเราก็พยายาม ปรับปรุงมัน ไม่ต้องหดหู่ ไม่ต้องไปฟุ้งซ่าน ไม่ต้องไปกลัวนั่นเกรงนี่ หวาดหวั่นโน่น หวาดหวั่นนี่ อะไร ให้อ่าน ให้ชัดเลย ...ลักษณะต่างๆนี่ มันสัมพันธ์กันทั้งหมด ...นิวรณ์ทั้ง ๕ นี่ เสร็จแล้ว เราก็ปรับ มันไปเรื่อยๆ ปฏิบัติอย่างสังวรตนจริงๆ ให้มีบทปฏิบัติไปสม่ำเสมอ มี อยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าเราจะนั่ง อยู่ที่ไหน เดิน ยืน นั่ง นอน ทำไอ้โน่น ไอ้นี่ ทำการ ทำงาน ทำอะไร สติปัฏฐาน ๔ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ของพระพุทธเจ้านี่ ทำอยู่ ตลอดเวลา ทำให้ได้บ่อย ให้ได้มาก อย่าเผลอสติ ทำปฏิบัติตนอยู่ แล้วก็ไม่มี นิวรณ์ไปเรื่อยๆ เป็นฐาน เรียกว่า ฌาน นอกนั้นก็พยายามรู้ความจริงที่ละเอียด ลออลึกซึ้ง ปรับไปเรื่อยๆๆๆ แล้วก็ปรับปรุงกาย วาจา ใจ ทวารทั้ง ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย กระทบอันนั้น อันนี้มาเป็นเหตุ เพื่อที่จะให้เรา เกิดอาการในใจ ที่ มันมีนิวรณ์ ๕ ซึ่งมีกิเลส กิเลส โลภะ โทสะ หรือราคะ โทสะ โมหะ อะไรก็ อ่านให้ชัดจริงๆ ปรับมันจริงๆ

ผู้ใดที่ทำไม่ได้มาก มันมีศีลได้ขนาดนี้ ทำได้ขนาดนี้ ก็ตั้งศีล ตั้ง หลักเกณฑ์อะไร ให้แก่ตัวเอง ไปเป็นขั้น เป็นตอนไป ไม่ต้องไปตะกละตะกลามมาก ท่านบอก โอ๊ย ตะกละตะกลามมากๆ ทำไม่ไหว ไม่ไหวก็ทำ เท่าที่เราทำไหว แล้วมันจะทำไหวได้มากขึ้น ทำจนกระทั่ง เออ อะไรที่มันเป็น อกุศล รู้มันได้เร็วๆ ไว รู้มันได้ทุกขนาด มันก็จะทำเจริญขึ้นๆ ไปเป็นขีด เป็นขั้น น่ะ

ในเรื่องฉลาด ในเรื่องจิตของผู้อื่น ในเรื่องจิตของตน พระพุทธเจ้า ก็สอนให้รู้จักจิตของตนนี่แหละ เป็นหลัก จิตทำมากๆ ทำไม่ไหว ไม่ไหว ก็ทำเท่าที่ เราทำไหว แล้วมันจะทำไหวได้มากขึ้น ทำจนกระทั่ง เออ อะไร ที่มันเป็นอกุศล รู้มันได้เร็ว ได้ไว รู้มันได้ทุกขนาด มันก็จะทำเจริญขึ้นๆไป เป็นขีดเป็นขั้น น่ะ ในเรื่องฉลาด ในเรื่องจิตของผู้อื่น ในเรื่องจิตของตน พระพุทธเจ้า ก็สอนคนให้ รู้จักจิตของตนนี่แหละเป็นหลัก จิตของผู้อื่น มันจะพลอยรู้ตามไปเอง แล้วเราจะ ได้ช่วยได้ เหลือพยายามที่จะนำพากันไปสู่ที่เจริญได้ ด้วยกันทั้งหมดน่ะ

ขณะนี้ "มีเหตุการณ์" มีอะไรต่ออะไร มาเป็นบทฝึกหัด มาเป็น "โจทย์" ให้เราด้วยซ้ำไป ไม่ใช่แต่ ในตัวเรา แม้แต่บางคนนี่ ไม่ได้ไปรับมาจากข้างนอก อยู่ข้างในนี่ก็ต้องทำงาน ก็ได้รับกระทบผล มีผลกระทบต่อเรา เราก็จะต้องทำ ทำ เสร็จแล้ว มันก็มีบทบาทอยู่ในนี้ต่อเนื่องกัน งานของเรา มากขึ้น ช่วยเหลือเกื้อกูล กันมากขึ้น เรื่องราวมาให้เป็นงานเป็นการมากขึ้น มาทำงานมากขึ้น มันจะ ต้องสัมพันธ์กัน จะกระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะกระทบกัน กระทบแล้ว เรา มีอัตตา มีต้องถึงขั้นกาม มานะ มีขั้นกาม ขั้นพยาบาท เพราะฉะนั้น บางที ทำงาน เอ้า ได้ทำงานมากขึ้น ทำงานร่วมกันมากขึ้น เดี๋ยวเถอะ ผู้หญิง ผู้ชาย ก็ต้องใกล้ชิด ต้องนั่น ต้องนี่ไป เดี๋ยวก็เป็นโลกๆ อีกล่ะ กามก็จะเกิด ราคะก็ จะเกิดเข้า ระวัง อย่างนี้ เป็นต้น เป็นแบบฝึกหัด แต่ก่อนนี้ ไม่ได้ทำงานมากนัก ไม่ได้เข้ามาทำงานใกล้ชิดกัน ก็ดูไม่มี พอมาทำงานร่วมกันเข้า ใกล้ชิดกันเข้า อะไรต่ออไรเข้า เพราะว่า ต้องทำ..งานการนี่ งานการเป็นเหตุ เอาไม่เอา มา ก็ก่อให้เกิด มันเป็นบทฝึกหัด ที่จะได้พิสูจน์ เรื่องรัก เรื่องราคะ มันก็จะมีได้ เหมือนกัน หรือเรื่องโกรธ ทำไป มันก็ไม่ชอบใจ โกรธกัน... ต่างคนต่างทำ แต่ก่อน มันก็ไม่เกี่ยวไม่ข้องกัน มันก็ไม่มี การเกิดโทสะ เกิดพยาบาท เกิดอาฆาต เกิดไม่ชอบใจ เกิดผลักเกิดชังอะไร ไม่รักแล้ว ก็กลับชังเสียอีกแน่ะ มาทำงานร่วมกัน ใกล้ชิดกัน มาเกี่ยวข้องกันมั่ง ทำไอ้โน่น ไอ้นี่มั่ง ค้านมั่ง แย้งกันมั่ง ไอ้โน่น ไอ้นี่ กันมั่ง ขัดเกลากันมั่ง โน่นนี่ ก็ เอ้าเดี๋ยวก็ไม่ชอบ มันเกิดพยาบาท หรือสายโทสะขึ้นมาอีก

นี่ มันก็เป็นผลที่เราต้อง "ทำงานเพิ่มขึ้น" จากข้างนอก เขามาเร่งรัด ให้เราทำงาน อย่างนี้ก็เป็น เพราะฉะนั้น ต้องตรวจตรา ต้องระมัดระวัง มัน เป็นเรื่องดีน่ะ เราได้มีแบบฝึกหัดอย่างแท้จริง ก็ทำไป อย่าไปเที่ยว เผลอไผล ว่า โอ้ มันจะต้องเป็นอย่างโน้น มันจะต้องเป็นอย่างนี้ มันเป็น แบบฝึกหัด มันเป็นโจทย์ที่จะต้อง ถึงเวลาที่จะต้องทำอย่างยิ่ง ขมีขมันขึ้นน่ะ หรือไม่ก็กลายเป็นสภาพที่เราไม่รู้ตัว เป็นถีนมิทธะ กักกดน่ะ ทำไอ้โน่น ไอ้นี่ไป แล้วก็ไม่ชอบใจ แต่ก็ไม่รู้ตัว นอกจากไม่รู้ตัวก็ แล้วก็ "ไม่ปล่อย ไม่วาง " น่ะ ไม่รู้ตัว แล้วมันก็ไม่ชอบใจ ไม่โน่น ไม่นี่ ก็สั่งสมไป เรื่องหนึ่ง ๒ เรื่อง ๓ เรื่อง ๔ เรื่องเข้า ก็ "ซึม " ไม่รู้เรื่องอะไร มันเล่นงานเข้าให้ เชื้อโรค มันเยอะ ในใจ ก็เลยนั่งเซ่อ "หดหู่ ถีนมิทธะ ห่อเหี่ยว " แล้วมันก็ไม่อยากจะยินดี ยินร้ายกับใคร ไปไหน ก็โอ๊ มันไม่ต้องอกต้องใจ มันไม่ต้องตาต้องหูทั้งนั้นล่ะ มันรู้สึกว่า หลบดีกว่า หนีดีกว่า ไม่เอาดีกว่า นี่ คนเสื่อม เพราะไม่รู้เท่าทัน พยายาม ถ้ามันมีเรื่องอะไร เล็กๆน้อยๆ อย่าไปหมักหมม พยายาม คลี่คลายตัวเอง เอ้อ มันไอ้นี่ มันอะไร มันทำไม ทำให้เราถึงทำให้เกิดท้อแท้ เกิดการหน่ายแหนง เกิดการไม่ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ตัวสำคัญนะ อิทธิบาท ๔ นี่ ถ้าผู้ใดเจริญอยู่นี่ มันจะมองเห็น

พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า สมณะ อะไรเป็นเครื่องแสดง "อิทธิบาท ๔" จะเห็นเลย เออ คนที่มี ความยินดี ปรีดา เบิกบาน ร่าเริง ว่ายินดีในอะไร ยินดีในงานที่หนักๆ นี่น่ะ โอ๊ย ทำอย่างหนักเลย ก็ยินดี เบิกบาน ยินดีเลย บางที เหงื่อไหลไคลย้อย ก็เบิกบาน ยินดี บางทีว่า เมื่อยแล้ว ก็ยังยิ้ม สบาย ไม่ได้รังเกียจงาน ยินดีอยู่ แต่มันเมื่อย ก็เมื่อยได้ แน่นอน คนเราทำงานแล้ว เมื่อย มีภาวะ จะต้องตอบต้องรับ อย่างโน้นอย่างนี้อะไร มันก็เมื่อยไปตามเรื่อง ของความเป็นจริง แต่ "ฉันทะ" มันก็แสดงตัวมันอยู่ มันยินดี มันยังเบิกบาน ร่าเริง มันไม่ได้หดหู่ ยินร้าย ยินเร้ยอะไร มันผ่องใส ใจมันผ่องใส เบิกบานอยู่ แต่มันเหนื่อย มันเป็นเรื่อง ธรรมชาติของมัน มี "วิริยะ" ตัววิริยะ พากเพียร ขยันอยู่ ก็ ยังเห็นบทบาทอยู่ "จิตตะ" การเอาใจใส่นะ ลักษณะพวกนี้ ก็ต้องอ่านออก ดูกันได้ รู้กันได้น่ะ มีการเอาใจใส่ มีการปรับปรุง พิจารณา ตรวจสอบ อะไรต่ออะไรอยู่ "วิมังสา" "อิทธิบาท" นี่สำคัญ เป็นตัวแสดงสมณะ เป็นตัวแสดงนี่ มันไม่เหลืออะไร นะ ยิ่งเป็นสมณะในเหล่าที่ ๔ เป็นพระอรหันต์แล้ว ยิ่งจะชัด ใช่ไหม โอ๊ นี่ อิทธิบาท เพราะท่านเป็นสมณะ องค์โต องค์เต็ม ก็ต้องมีอิทธิบาทเต็มน่ะ มันต่างกันกับฤาษีเลย ของพระพุทธเจ้า เห็นไหม มีอิทธิบาทเต็ม มีความยินดี เบิกบาน เป็นพุทธ ยินดี เบิกบาน ร่าเริง แม้จะมีงานหนัก งานหนา อะไรอยู่ ก็มีวิริยะ ความเพียร เอาใจใส่การงาน มันมีเรื่องการงานเท่านั้น มันต้องทำเท่านั้นล่ะในโลก เกิดมาเป็นคน มันต้องมีการงาน มีพักมีเพียร เราไม่พัก เราก็เพียรอยู่กันเรื่อยไป สมควรพักก็พัก ถึงเวลาพัก ก็ค่อยพัก อาตมาจะมีหลักเกณฑ์อะไรอื่นอีก มีสูตรอื่นที่จะมาขยายพวกนี้อีก ก็จะเอามาขยาย ให้พวกคุณ ได้ฟังทั้งนั้นน่ะ อาตมาไม่ได้พูดเองหรอก ของพระพุทธเจ้า มายืนยันนี่ มันดี มีตัวหนังสือ ในตำรา สักประโยค ๒ ประโยค ในพระไตรปิฎก ๒ ประโยค ดีกว่าอาตมาพูดสัก ๕๐๐ เที่ยว อาตมาพูด ๕๐๐ เที่ยว ยังไม่มีหลักฐาน ยืนยัน จากพระไตรปิฎกเลยนี่ โอ๊ จะเชื่อยาก ยิ่งข้างนอก ยิ่งเชื่อยาก เพราะ เขาไม่เชื่อถืออาตมาเท่าไหร่ ต้องเอาพระไตรปิฎก เอาหลักเกณฑ์ อะไรพวกนี้ ไปพูด เขาถึงจะเชื่อ อาตมาพูด หาว่าพูดเอาเอง แทนที่จะยกย่องอาตมาว่า แหม มันพูดเอาเอง แต่ แหม ปรัชญาดีเหลือเกินนะ มันยอดเยี่ยมเลยนะ แทน ที่จะอย่างงั้นน่ะ เปล่า ไม่เชื่อมันก่อนเลย ฮึ.. แทนที่จะฟังดีๆ มันมีเหตุผลไหม เรามีหลักการดีๆ บ้างไหมเล่า ไม่เอาแล้ว ตีทิ้งก่อนเลย ความไม่เชื่อถือ เป็นอย่างนั้น ขนาดพวกคุณ เชื่อถือนี่นะ อาตมาไม่ได้พูดเล่นหรอก แม้ว่า ถ้ามันไม่มีหลักฐานอ้างอิง บางคนก็ยังไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ ยิ่งบางที บางอัน ไปค้านแย้งกับ พระไตรปิฎกด้วย แหม ไปเรื่องคนละเรื่องเลย

อย่างวันนั้นน่ะ แหม แบกพระไตรปิฎกมาเลย เมื่อวานนี้ ใช่ไหม ผู้ หญิงน่ะ แบกพระไตรปิฎกมา วันเสาร์ หรือวันวาน วันเสาร์ หรือที่มา ถามกัมมรามตา ภักษารามตา นิทรารามตา มาถาม เอ๊ บอกว่า ไม่เข้าใจ ทำไม ความเสื่อมของภิกษุ คือ ผู้ที่ยินดีในการงานเป็นความเสื่อมของภิกษุ แกก็งง ซึ่งอาตมา ทักมานานแล้ว เรื่องนี้ กัมมรามตานี่ อารามตา แปลว่าความยินดี เราไปยินดี มันคือ กิเลสน่ะ มันไปยินดี แบบกิเลส มันไปติด ที่จริง มันควรจะแปลว่า ทำการงานด้วยกิเลส หรือ ไปติดการงาน ติดการงานน่ะ ติดหลง อาตมาใช้คำว่าติดหลงด้วย ติดหลงในการงาน ไม่ใช่คนไม่ทำงาน ไปยินดีในการงาน ฟังแล้ว มันเลยกลายเป็น อ๋อ ถ้าอย่างนั้น ตีกินไปเลย ไม่ยินดี ในการงาน เป็นผู้เจริญ ผู้ไม่เสื่อม ภิกษุผู้ไม่เสื่อม คือ ผู้ไม่ยินดีในการงาน การงานเหรอ เฉยๆ ขืนไปยินดีกับการงานด้วยล่ะ มันก็จะเสื่อม น่ะ

แค่คำความนี้ ..ทำให้ศาสนาเถรวาทนี่ เสื่อมโทรมไปตั้งเท่าไหร่ ใน พระไตรปิฎกนี่ แปลความหมาย ไม่ชัดเจนเท่านี้ จะแปลว่า ผิดมันก็ผิดได้ จะแปลว่า ถูก มันก็ถูก ในส่วนที่ต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ขยายความได้ อธิบายไดั น่ะ บอกว่า ภิกษุไปยินดีในการงาน เป็นความเสื่อมของภิกษุ เลยพากัน เจ๊งเลย นี่ มันเข้าข่ายไปหาฤาษีหมด เพราะจิตมันมีความคิดอย่างนั้น มีความเห็นอย่างนั้น มันโน้มเอนไปในทาง ด้านฤาษี มันก็แปลอย่างนี้เข้า แล้วมันก็เข้ากับตัว ด้วยความชอบของตัว เออ เป็นภิกษุ นี่ มีฐานบัลลังก์ ก็ไม่ต้องทำงานล่ะวะกู สบายโก๋เลย ข้าวก็มีกิน เงินก็มีใช้ฮะ สวยเลย มันเข้ากับกิเลสเป๊ะเลย ใช่ไหม มันก็ชอบน่ะซิ เขาก็แปลให้มันตรงนี้เลยล่ะ อย่ามาเถียงนะ นี่พระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนี้ อย่ามาเถียงนะฮะ เถียงได้เหรอ ไปยินดีในการ งานน่ะเสื่อม แหม ภาษาธรรมนี้คำเดียวนี่ โอ๊ อาตมาต้อง มาแก้กลับกัน แทบเป็นแทบตาย นั่นน่ะ อย่างผู้ใหญ่เป็นหลักเป็นฐานอยู่ในบ้านเมือง ไปเคารพนับถือ ถือว่า ปราชญ์ด้วย ถึงได้ไล่เปิง ไปศึกษาปรมัตถธรรม ศึกษาโลกุตระ โน่น ไปป่า ไปเขา ไปถ้ำโน่น อย่ามาวุ่นวาย กับเรื่องบ้าน เรื่องเมือง เรื่องสังคมเขา พระปฏิบัติ ต้องไปโน่น ไล่ออกไป นั่งหลับหูหลับตา ในป่าในเขา อยู่กับเสือ กับสาง ไปอยู่ข้างนอกโน่น นั่น ถึงจะเป็นพระปฏิบัติ ถึงจะเป็นผู้ที่ไม่เอาอะไร เป็นผู้ไม่ติด ไม่ยึดอะไร เป็นผู้ไม่เอาแล้วโลกโลกีย์ ไม่ยินดี ยินร้ายกับโลก กับอะไรๆ แล้ว มันซื่อบื้อได้ง่ายจริงๆนะ มันลึกซึ้งเห็นไหม ถ้าเข้าใจหมากรุกชั้นเดียว ซื่อบื้อ มันโอ๊ มันจริง มันตร๊ง ตรง เห็นไหม โน่น ผู้ไม่เอาอะไร ผู้ละ แล้วโลกีย์ ต้องไปนั่งหลับหู หลับตา ไม่รับรู้ รับเห็นอะไรอยู่โน่น ไปเดี๋ยวให้ เขาเอาข้าว เอาน้ำ ไปถวายให้กินเอง ชะลอวันไป กินไปเถอะ กินแล้วก็เยี่ยว ก็ขี้ไป เออ ประเดี๋ยวก็ถึงเวลาตายเอง ทำคนให้เสียคุณค่าไปหมด ถึงได้มาอธิบายว่า พุทธศาสนาน่ะ ถ้าเป็นโลกุตรธรรม ถ้าเป็นปรมัตถแล้ว มันไม่พาให้สังคมเจริญหรอก อย่าเอามาสอนโลกุตรธรรม ไอ้ย่า โลกุตรธรรม ท่าน บอกว่า เป็นของดีแท้ๆ แต่ก็กลายเป็นของเสีย แม้แต่แค่คนในโลก ในสังคม ยังช่วยไม่ได้ เพราะมันจะทำลายสังคม อ้อ มันเป็นของยอด อะไรกันเล่า ศาสนาพุทธแบบนั้น มันไม่ได้ยอดเยี่ยม ประเสริฐเลิศเลออะไรนี่ แบบนี้ ฤาษี เขาค้นพบมาตั้งนานแล้ว หลับหู หลับตา ไปตายอยู่ในภูเขาหิมพานต์นั่น มาตั้งไม่รู้ ตั้งเท่าไหร่

พระพุทธเจ้า จะต้องมาตรัสรู้มรรคองค์ ๘ นี่ ต้องมาทำการงาน ทั้ง คิด ทั้งพูด ทั้งการงาน การอาชีพ อย่างงี้หรือ จึงจะเป็นสัมมา จะต้องมาตรัสรู้ อันนี้ ทำไม ถ้าเข้าใจอย่างนั้น นี่ มันเพี้ยน โดยเขาไม่รู้ตัวว่า เขาเข้าใจเพี้ยน ธรรม แล้วก็มาสอนกันให้ธรรมวินัยวิปริต แล้วก็หาว่า เรานี่ ทำให้ธรรมวินัยวิปริต ไปพูดเอาเองว่าอย่างนั้น ก็คุณแปลไว้อย่างนั้น มันไม่เข้าท่า เราก็ต้องแปลอย่างนี้สิ พอเราแปลอย่างนี้ หรือเราให้ความหมายอย่างนี้ ไม่ได้ตีความนะ อาตมาบอกว่า อาตมามีปรมัตถ์ในตัว แล้วเอามาอ่านให้ฟัง เอ๊ะ นี่ มันผิดเพี้ยนนะ ค้านแย้งสูตรไหนๆ เอามาผสมกันก็ได้ เอามาพิสูจน์ เปรียบเทียบกัน มันจะไม่ สอดคล้อง แต่ถ้าอย่างอาตมาว่า อาตมาพาทำ หรืออธิบาย ให้อยู่นี่ มันสอดคล้องไหม มันสอดคล้องนะ มันไม่ลักลั่น แล้วมันก็เถียงไม่ออกด้วย ข้อสำคัญ ทำได้ไหม ใครทำไม่ได้ อโศกทำให้ได้ ถ้าอโศกเชื่อว่าถูก อาตมาเชื่อว่าถูก อาตมาเป็นผู้นำ อยู่ในอโศกนี่ พาทำอย่างนี้ ใครจะเอาก็เอาด้วยกัน ใครไม่เอา ก็ไปทีเดียว จะไปอยู่ลัทธิฤาษี จะไปอยู่ลัทธิไหนๆ นี่ บอกว่า ถ้ายินดีในการงานแล้ว ก็เป็นความเสื่อมของภิกษุ ไปเลย นิมนต์ ถ้ายังยินดีในการงาน เป็นความเสื่อมของภิกษุ ก็ไปอยู่ในลัทธิโน้น ลัทธิโน้น เขาบอกว่าอย่างนั้น แต่ลัทธินี้ ไม่เอาน่ะ ยินดี มีฉันทะในการงาน มันค้านแย้ง ในฉันทะ มันก็ค้านแล้ว มีฉันทะ ในการงาน ยินดีในการงานน่ะ แต่ไม่ใช่ไปหลงใหลการงาน ไม่ใช่ไปติดการงาน ไปติดการงาน ทำงานแล้วก็ติด จนกระทั่ง เสื่อมสุขภาพ ก็ไม่รู้ หลงใหลอยู่กับการงาน จนกระทั่ง ไม่เป็นอันพัก อันผ่อนอะไร ก็ไม่ไหวสิ อย่างนั้น มันเกินเลยน่ะ ทั้งนั้นแหละ ทั้งเราไม่พัก เราไม่เพียรอะไร ของพระพุทธเจ้านี่ ข้ามโอฆสงสาร ก็เป็นการไขความพวกนี้ทั้งนั้นแหละ อายูหะ จะแปลอะไรก็แปลว่า ความเพียร โดยอรรถ เขาก็แปล อายูหะ แปลว่าความเพียร

เอาละ อาตมาก็ได้ขยายความอะไรต่ออะไรมา จะ ๕ โมงแล้วนี่ มันก็เทศน์วันเสาร์ วันอาทิตย์ ด้วยน่ะซี ไม่ใช่น้อยนะนี่ มากกว่าด้วย เพราะวันเสาร์ วันอาทิตย์ หมู่นี้ มันต้องโฆษณาของมั่ง แจ้งข่าวมั่ง ไอ้โน่น ไอ้นี่ มั่ง เทศน์กันไม่มากเท่าไหร่ วันธรรมดานี่ ก็ได้เทศน์ซะโอ้โห ตั้งนาน เมื่อกี้ มา ตั้งแต่ ๙ โมงเศษๆหน่อยหนึ่ง ด้วยซ้ำ เอ้า พอ

สาธุ



ถอดโดย คุณประสิทธิ์ ฝ่ายทอง ๑๑ พ.ย.๓๒
ตรวจทานครั้งที่ ๑. สม. ปราณี ๑๒ พ.ย.๓๒
พิมพ์โดย สม. นัยนา ๑๖ พ.ย.๓๒
ตรวจทานครั้งที่ ๒. โครงงานถอดเท็ปฯ ๑๖ พ.ย.๓๒
(FILE:0356B.TAP / มองตนให้พ้นอวิชชา)