ย้อนกลับ
หน้าแรก
หน้าต่อไป
กรณีตัวอย่าง จาก... โรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศก... ปัญหาอยู่ที่ เจ้าหน้าที่ หรือ กฎหมายกันแน่ ?

ยอมรับกันได้หรือไม่ว่า ปัญหาของการจัดการศึกษานั้น เป็นผล มาจาก ผู้บริหารระบบ และ คนในระบบ เองมากเสียกว่า ตัวระบบ เป็นสำคัญ ปัญหา แท้จริง น่าจะอยู่ที่ "ความเข้าใจ ของคน ทำการศึกษา" ต่อวิถี ที่ควร ดำเนินไป ซึ่งผู้นำการศึกษา ต้องปฏิบัติ เป็นตัวอย่างที่ดี ให้แก่เยาวชนได้ กับ "โอกาสเอื้ออำนวย" ให้คนที่เต็มใจเสียสละ ได้ทำงาน ดังเช่นที่ พระราชบัญญัติการศึกษา ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ พยายามคามดหวัง ให้ชุมชนมีอิสระ ในการจัดการศึกษา

กฎหมาย ย่อมมีเจตนารมณ์ที่ดี ในตัวมันเอง ที่ต้องการมิให้ เกิดความไม่ประมาท เป็นธรรม ในสังคม แต่อำนาจ ของกฎหมาย ที่จะทำเช่นนั้น ได้หรือไม่ กลับตกอยู่ที่ ผู้บริหารกฎหมาย ที่ทุกคน หวังว่าจะบริหาร ข้อระเบียบในกฎหมาย ให้เป็นไป เพื่อความเจริญ งอกงาม ของการศึกษา มากกว่า มีไว้เพื่อปิดกั้น หรือ ควบคุม มิให้ กลไกการศึกษาที่ดี เกิดขึ้น

ความเห็นที่เข้าใจไม่ตรงกัน ของการจัดการศึกษา และข้อระเบียบในกฎหมาย เป็นต้นเหตุของเรื่องที่จะนำมาเล่า สู่กันฟัง เพื่อเป็นตัวอย่างในการจัดการศึกษา แบบบุญนิยม

ระบบการศึกษาที่เกิดจากพื้นฐานจิตใจ ตามวิถีชีวิต "บุญนิยม"


โรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศก
เป็นโรงเรียน เอกชน ประเภท การศึกษาสงเคราะห์ ตามมาตรา 15 (3) ของพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 ภายใต้การดูแล ของ สำนักงาน คณะกรรมการ การศึกษา เอกชน (สช.) เป็นโรงเรียน ที่พยายาม จัดการศึกษา ในระบบบุญนิยม อันเป็นระบบสังคมแนวใหม่ ซึ่งยึดถือพุทธศาสนา เป็นแกนหลัก ในการดำเนินชีวิต ด้วยปรัชญา การศึกษาว่า "ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา" เปิดโอกาสให้แก่เด็กในสังคมพุทธ ได้ศึกษา และให้ผู้ใหญ่ ที่เป็นครูทุกคน ได้มีโอกาสทำงาน เสียสละร่วมกัน

โรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศก มิได้ก่อตั้งขึ้น เพื่อการแสวงหากำไร ให้กับโรงเรียน หรือบุคคลใด บุคคลหนึ่ง แต่เกิดขึ้นมาจาก การรวมกลุ่ม ของผู้ปฏิบัติธรรม ที่ศรัทธา ตามแนวคำสอน ของชาวอโศก โดยเริ่มต้น ด้วยการปฏิบัติธรรม ตามแนวทางพุทธศาสนา จนสามารถ รักษาศีล 5 ได้เป็นอย่างต่ำ เว้นขาดจากอบายมุข และรับประทานอาหารมังสวิรัติ อันส่งผล ให้เกิดเป็น ชุมชนพุทธ ที่ผาสุก ด้วยความไม่0เอาเปรียบ ของคนที่อยู่ร่วมกัน

ส่วนการรักษาศีล จะถือไม่เทากัน ขึ้นอยู่กับ การสมาทาน หรือ สถานะ ของแต่ละบุคคล กล่าวคือ ครูบางคน จะถือศีล 5 ศีล 8 และศีล 10 หรืออาจมากกว่านั้น ในการณีที่เป็นสมณะ ที่บวชตามพระธรรมวินัย

จากความศรัทธา เชื่อมั่น ในวิถีชีวิต แบบบุญนิยมนี้เอง ทำให้เกิดระบบ การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ที่เติบโตขึ้น จนสามารถ พึ่งตนเองได้ ในระดับหนึ่ง จึงขยายความคิด ไปสู่ การจัดการศึกษา ให้แก่เยาวชน ที่เต็มใย รับการอบรม สั่งสอน จากโรงเรียน ให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณธรรม เป็นแก่นหลักของชีวิต ตามปรัชญาที่เรียงลำดับ ความสำคัญว่า ...

"ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา"

 
ครูไม่ขอรับเงินเดือนเป็นเหตุ

ครูที่สอน มีทั้งครูที่เป็นคนชุมชนอยุ่แล้ว และครูที่ทำงานข้างนอก มาช่วยสอน โดยครูทุกคน เต็มใจ เสียสละ ไม่รับเงินเดือน และค่าตอบแทนใดๆ เนื่องจาก ครูเข้าใจอย่างดี ในกุศล และ วิถีชีวิตที่ดำเนินไป อีกทั้งครูทุกคน มีปัจจัยสี่ และ สิ่งจำเป็น ในชีวิต อย่างเพียงพอ ตามที่ มูลนิธิธรรมสันติ ได้จัดหาให้แก่ครูทุกคน ในพุทธสถานสันติอโศกอยู่แล้ว

ด้วยเหตุ "ครูไม่รับเงินเดือน" นี้เอง จึงเป็นที่มาของเรื่องราวต่างๆ ระหว่างโรงเรียน กับทางรัฐ เพราะกฎหมาย ปัจจุบัน ยังไม่ครอบคลุม ชัดเจน ในประเด็น ดังกล่าว ประเด็นสำคัญ ของปัญหานั้น อยู่ที่ ดรงเรียน ได้รับการแจ้งจาก สช. ว่า ปฏิบัติผิดกฎหมาย ตามมาตรา 69 ของพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 ที่ระบุไว้ว่า...

"ให้ผู้รับใบอนุญาต มีหน้าที่หัก และ รวบรวม เงินสมทบ ของครูใหญ่ หรือครู ไว้ทุกคราว ที่มีการจ่ายเงินเดือน รายเดือน ตามอัตราที่ครูใหญ่ หรือครูต้องออก สำหรับเดือนที่แล้วมา และให้นำเงินสมทบดัลกล่าว พร้อมทั้ง เงินสมทบ ที่ผู้รับอนุญาต ออกตามระเบียบ การจัดการ กองทุนสงเคราะห์ และนำเงินสมทบ ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป ทุกเดือน"

โดยสรุป ก็คือ โรงเรียน (ซึ่งมีมูลนิธิสันติ เป็นผู้รับใบอนุญาต) จะต้อง หักเงินจากเงินเดือนครู เป็นจำนวน 3% ของเงินเดือนครู และโรงเรียน ออกสมทบเองอีก 3% รวมเป็น 6% จ่ายเข้ากองทุนสงเคราะห์ โดยรัฐบาล ออกเงินสมทบอีก 6% ดังนั้น ครูจะมีเงินสมทบ ของแต่ละคน รวม 12% ทุกเดือน เช่น เงินเดือน 1,000 บาท โรงเรียน ต้องหาเงินรวม 60 บาท รัฐบาลออกอีก 60 บาท รวมสมทบ เข้ากองทุน 120 บาท ทุกเดือน โดยอัตราการคิดนี้ เป็นไปตาม มาตรา 68 ของพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525

สำหรับกองทุนสมเคราะห์นี้ สช. มีหน้าที่ ตามกฎหมาย ในการดูแล สวัสดิการ และจัดการสงเคราะห์ ด้านต่างๆ ให้แก่ครูทุกคน ซึ่งหากโรงเรียน ไม่ส่งเงินสมทบ ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป จะมีความผิด ตามมาตรา 69

แนวทางปฏิบัติในเรื่องนี้ นับตั้งแต่ เปิดโรงเรียน อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2538 นั้น ทาง สช. รับไปดำเนินการเอง ทั้งนี้ โดยปกติ รัฐบาล จะต้องจ่ายเงินอุดหนุน ให้แก่โรงเรียนต่างๆ ทุกเดือนอยู่แล้ว ดังนั้น ก่อนที่ สช. จะจ่าย เงินอุดหนุน ให้แก่โรงเรียน สช. จะหักเงินไว้ จำนวนหนึ่ง เท่ากับ 6% ของเงินเดือนครู แล้วค่อยมอบเงิน ส่วนที่เหลือ ให้โรงเรียน

ดังนั้น นับแต่เดือนพฤษภาคม 2538 ถึง เมษายน 2540 ทาง สช. ได้รับ เงินสมทบ จากโรงเรียน ครบถ้วน เป็นไปตาม มาตรา 69 ทุกประการ ซึ่ง สช. ก็ยืนยันเช่นนั้น

 
ย้อนกลับ
หน้าแรก
หน้าต่อไป