เนื่องจากขกาดความรู้ หรือขาดการศึกษาในเรื่องคดีธรรม จนรู้แจ้งเข้าใจใน "ธรรมาธิปไตย" หรือมีความรู้รอบใน "อธิปไตย 3" แล้วยอมอนุโลม "อัตตาธิปไตย" จริง ๆ ได้อย่างสมจริง สมสัด สมส่วน ถูกกาละ เทศะ ฐานะ จึงจะสร้าง "ประชาธิปไตย " ได้ถึงขั้นมี อิสรเสรีภาพ -ภราดรภาพ - สันติภภาพ - สมรรถภาพ - บูรณภาพ ในประชาชน เนื่องมาแต่ประชาชนมีภูมิธรรมเข้าขั้น "ธรรมมาธิปไตย" เป็นหลัก แล้วจัดสรร ปรับสร้าง "โลกาธิปไตย - อัตาธิปไตย" ให้เป็น อธิปไตย สันติสุขสมบูรณ์ แต่แน่ยิ่งกว่าแน่ ในสังคมที่มีที่เป็นอยู่เช่นอย่างทุกวันนี้ เมื่อเราฉีกชี้สีขาว ออกหว่านขึ้นในแผ่นม่านดำ จึงย่อมจะต้องกระทบกระแทกบุคคลต่าง ๆ ที่เป็นกันอยู่เช่นนี้อยู่จริงมากหลายแน่นอน รวมทั้งผู้ที่ท่านนับถือเคารพเอาด้วย ก็อาจเป็นได้ ทั้ง ๆ ที่ผู้เขียนไม่ได้เจตนา และไม่เคยรู้จักกันเลยไม่เคยก่อกรรมทำเข็ญอะไรแก่กันและกันเลย และข้อเขียนนี้มันอาจจะกระแทกเอากผู้กำลังอ่านเองอยู่แม้ในขณะนี้ เปรี้ยงเบ้อเร่อ หรือ หลายเปรี้ยงแล้วด้วยซ้ำ ก็ได้แน่ ๆ เพราะสังคมเช่นนี้ กำลังเป็นกันมาก ดาษดื่นเต็มไปหมด และเราก็กำลังต่างช่วยกันดิ้นรนหาทาง "แก้ไข" กันอยู่ทั้งนั้นด้วย ทว่า ที่เรา "แก้" กันไม่ได้ ก็เพราะต่างกำลัง "เลี่ยงความจริง" ที่มันจะต้อง "แก้ที่ตนเอง" โดยเฉพาะ คนที่ได้เปรียบอยู่แล้วหรือผู้ที่ยังได้เปรียบไม่พอ หรือไม่ยอมคลาย "ความเสพรสโลกียสุข" ชัด ๆ ก็คือ "แก้ที่การสละความได้เปรียบของตน - ของหมู่คณะตนเอง " กันเท่านั้น ซึ่งเป็น "การไม่ย่อมรับความจริง ที่มันเป็นความไม่ดีมันเป็นเหตุบกพร่องแท้ ที่มันจริง ที่มันจะต้องแก้ แล้ว มันก็อยู่ที่ตัวเราเอง - ที่หมู่คณะของเราเอง" หรือ บางคนก็ "ไม่รู้จริง ๆ เห็นไม่ได้จริง ๆ เข้าใจไม่ได้จริง ๆ ว่า นั่นคือ สิ่งที่จะต้องแก้ไขในตัวเรา - ในหมู่คณะของเรา กลับยังหลงเข้าใจผิดว่า มันดีอยู่ - มันดีแล้ว " เช่นนี้ ก็มีอยู่แน่ ๆ เพราะมันบังคับภูมิธรรม - ภูมิปัญญากันไม่ได้ แล้วต่างคนก็ต่างพยายามเบี่ยงเบน บิดพลิ้ว หลีกเลี่ยวจะไม่ยอมละ ยอดลด ยอมพร่อง ไม่ยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือบางคนก็เถลไถลกลบเกลื่อน เลี่ยงไกลออกไปเป็นการไม่ยอมรับ ว่า มันเป็น "ความ (ผิด) จริงที่ถูกต้อง " บ้าง หรือไม่ ก็นำไปเปรียบเทียบกับคน ที่มีอยู่ร้ายแรงกว่าตนแล้วก็เกี่ยงให้ไปจัดการแก้ที่บุคคลร้ายแรกกว่าตนโน่น บ้าง หรือ แม้ยอมรับ ก็ไม่อุตสาหะ อดทน พากเพียรแก้ไขให้ได้ผลจริงจัง บ้าง บางคนนั้น ถึงกับยอมเสียศักดิ์ศรี แต่ไม่ยอมเสียกิเลส..ว่า " ตนเองนั้นทำไม่ได้ ตนไม่เก่ง ตนไม่สามารถ ตนไม่มีบุญ " ทั้ง ๆ ที่ผู้นั้นยืนเหยียบอยู่บนกองบุญบารมีล้นเหลือทั้ง ๆ ที่ผู้นั้นอวดสามารถ แล้วก็รับค่าความสามารถหรือความเก่งกันอยู่แพง ๆ มาก ๆ โทนโท่แท้ ๆ คือ รับเงิน รับลาภ - รับยศ รับสิ่งแลกเปลี่ยนค่าที่เป็น ค่าแห่งความสามารถ - ค่าความดี - ค่าแห่งบารมีของตน ๆ ไปบำเรอตนอยู่อย่างท่วมท้น ทั้ง ๆ ที่รู้ ๆ กันอยู่ว่า "ความดี" นั้น มีเงื่อนไขว่า คือ "ค่าที่คนผู้นั้นทำประโยชน์เพื่อให้ผู้อื่น" หรือ "การเสียสละให้ผู้อื่น นั้นแหละ เป็นคุณค่า " หรือ การละล้างกิเลสของตนได้ นั้น เป็น " ความดี" เป็น "คุณค่า" หรือการละล้าง "ความเห็นแก่ตนออกได้" จริง แล้วเสียสละได้จริง นั้นแหละ เป็นความดี เป็นคุณค่า สรุปแล้ว ผลแท้ ของคนที่ทำไม่ได้ ก็คือ "ที่เขายังทำ ๆ อะรไทั้งหลายนั้น มันจะต้องเป็นการได้ประโยชน์เพื่อตน ต่างหาก เป็นยอดใหญ่" แม้บางคนจะได้มามากมายแล้ว แต่ลาภวัตถุนั้นไม่มีเหลือนั่นก็เพราะตนนำไปแลก "โลกียสุข" นานาชนิดเสพ [ แม้แต่ในขั้นหยาบ ๆ ดั่งที่กำลังเน้นมารแล้วแต่ต้น สำหรับบางคน ] มาบำเรอตน บำเรอหมู่คณะของตนเสีย เป็นการผลาญพร่าแล้วมิใช่ได้มาแล้ว ก็นำไปให้ นำไปสละ แก่ผู้อื่น ในเรื่องที่เป็นประโยชน์ มิใช่นำไปทาน หรือ สร้างธรรมเป็น ทานแต่อย่างใด สรุปยอดภาษาที่พอพูดออกมาสู่กันฟังได้อีก ก็คือ . หาใช่ต้อ "เสียสละ" แท้สุด ไม่! หรือหาใช่ ตัวสภาพที่ตรงกับคำว่า "จะทำประโยชน์เพื่อให้แก่ผู้อื่น " มากกว่า.. ตัวสภาพที่นำมาเสพ (โลกียสุข) เอง - ตัวที่ได้มาให้ตนเองผลาญ หรือ ตัวที่ได้มาเหลือหอบสะสมไว้เองหรือ ตัวที่เมื่อหาค่าจนสุดแล้ว คือ ความได้เปรียบ อยู่แท้ ๆ ไม่ ! ซึ่งล้วนแล้วแต่เนื่องมาจาก ความไม่หมด "สักกายะ ตลอดจนถึงสิ้น อัตตา" อยู่ทั้งนั้น จึงจะต้องมาศึกษา ละล้าง ตัวเสพ - ตัวติด - ตัออยาก -ตัวใคร่ ตั้งแต่ตัวโต ๆ ใหญ่ ๆ หยาบ ๆ ที่มันหลงเสพต่ำ ๆ ตัวต้น ๆ แล้วก็ตัวกลาง ๆ ซึ่งภาษาพระเรียกว่า "สักกายะ" แล้วจึงจะเรียนรู้ละเอียดไปถึง ตัวเล็ก ตัวน้อย ตัวลึก ตัวรากสุด กระทั่งสิ้นตัวปลายสุดที่เรียก ตัวเล็ก - ตัวละเอียดนี้ว่า "อัตตา" กันตามลำดับ ดั่งนี้ คือ ทางแก้ปัญหาสังคม คือ การศึกษา ที่จะพากันไปพบ "สันติภาพสัมบูรณ์" ได้ ต้องมาลดความ "เสพรส" อันเป็น "เหตุ" ใหญ่ที่มันแก้ปัญหาใด ๆ ไม่สำเร็จ นี้เองแหละ ลดไปตามลำดับหยาบต่ำ - กลาง - สูงละเอียด จนสุดสูญสิ้น "ของจริง" มี "ความจริง" (สัจธรรม) ปรากฎ "ต้องไม่แก้ตัว แม้ด้วยเหตุผลว่า ตนมีกำลังทรัพย์จะเสพ ตนมีทั้งเวลาจะเสพ ตนมีทั้งเรี่ยวแรงและความสามารถจะเสพเพียงพอ" ดังที่ได้กล่าวมาแต่ต้น ๆ แล้ว และ จะมิใช่การศึกษาที่จะได้ความรู้ แล้วก็หลง ๆ ใหล ๆ อยู่เพียงว่า ตนรู้แจ้งในความนึกรู้ขบคิดรู้ได้อย่างลึกซึ้งสุดลึกจบสว่างกันเท่านั้น หรือไม่ก็เพียงฉลาดหลักแหลมแจ่มแจ้ง แต่ละ ลด กาม - พยาบาท - ถีนมิทธะ - อุทธัจจกุกกุจจะ - วิจิกิจฉา ในวัตถุหยาบ - กลาง - ละเอียด ได้ได้ ก็เห็น ๆ กันได้อยู่โทนโท่ [ก็แค่กามขั้นต่ำเท่าที่ยกมา ยังไม่ยอดลด] แล้ว"อวิชชา" จะหมดได้อย่างไร ? เพราะพระบรมศาสดาของเรา ทรงยืนยันว่า "นิวรณ์ 5 เป็นอาหารของอวิชชา" [อวิชชาสูตต พระไตรปิฎก เล่ม 24 ข้อ 61] ต้องพากเพียรปฏิบัติ ศึกษาด้วยอธิศีล - อธิจิต - อธิปัญญา อันเป็นการศึกษา 3 ของพระบรมศาสดาแห่งพุทธศาสนา ให้ถึงสภาพรู้แจ้งในกิเลส หยาบ - กลาง - ละเอียด และ ลด ละ ล้าง อย่างรู้สภาพ เห็นแจ้งในสภพาของกิเลสหยาบนั้น - กลางนั้น - ละเอียดนั้น ละสภาพไป ๆ ๆ สุดท้าย เห็นความหมดกิเลส ความสูญสนิทเห็นสภาพ " หมดสิ้นตัวตนของกิเลส ขนาดนั้นอนุสัยก็ไม่มี -ไม่เหลือ และตัวผู้นั้นก็มีประโยชน์คุณค่ากับมหาชนอยู่ด้วย ชนิดที่ เห็นสภาพนั้น อยู่โทนโท่ ในจิต - เจตสิก - รูป แจ้งชัด ในสภาพนิพพาน ปรากฎอยู่ในปัจจุบันนั่นเทียว ชนิดที่ผู้นั้นก็มีชีวิตปกติทำงาน ทำการอยู่กับสังคมธรรมดา ๆ นี่ทีเดียว จึงชื่อว่า พ้น "อัตตานุทิฐิ" เพราะมี "อนัตตา" อยู่ในฅนโทนโท่ อย่างบรมสุข อย่าได้เพียงแต่มั่นใจตนว่า " รู้แจ้ง - ลึกซึ้งยอดจบอยู่" แค่นั้น เท่านั้นเลย ครั้นเราถามว่า "คุณปฏิบัติบ้างไหม? " เมื่อเราเห็นอยู่โทนโท่ว่าเขายังเสพรสอยู่ แม้แต่ของเสพติดที่น่าจะละลดได้แล้ว - บ้างหยาบ ๆ - บ้างกลาง ๆ - บ้างละเอียดลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็น อบายมุข - รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัสนอก, สัมผัสใน - โลกธรรม 8 หรือโลกปรมาตมัน ที่เขาไม่น่าจะติดจะเสพแล้ว แต่แล้วผู้รู้เหล่านั้น กลับตอบเราด้วย ความรู้ ที่ล้นกายล้นใจ และแสนจะภาคภูมิอย่างสุดยอด ว่า.. "ก็ในเมื่อตัวตนของเรา ก็ไม่มี แล้วจะให้เราเอาอะไรเล่าไปปฏิบัติ" เราจะแก้ปัญหาสังคม ด้วยผลของการศึกษากัน เพียงเท่านี้ละหรือ ? |
12 มี.ค. 2528 |
|