page: 3/3
จบแล้ว
พุทธสถานสันติอโศก [กลับรายการหลัก]
นับเป็นการถืออุบัติขึ้นในวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๑๙ จากนั้นจึงเกิด "มูลนิธิธรรมสันติ" ขึ้นในปีถัดมาคือ พ.ศ. ๒๕๒๐ หลังจากนั้น ก็เกิดองค์กร ตลอดจนกิจการต่างๆ ดังที่เป็นอยู่ ทุกวันนี้
เรือนทรงไทย เดิมที่เคยใช้เป็น สถานที่ทำกิจการงาน ของมูลนิธิธรรมสันติ
ได้ถูกรื้อถอนออก เพื่อสร้างศาลาพระวิหาร
ทุกอย่างย่อมมีการเสื่อมไปตามสภาพธรรม เรือนทรงไทยหลังนี้ ได้รับการใช้ประโยชน์ อย่างมากมาย เพื่อมวลมนุษยชาติมานาน จนกระทั่งชำรุดทรุดโทรม ต่อมาเมื่อคุณตะวัน สิริวรวิทย์ ได้มาสำรวจจึงพบว่า เสาเรือนเกือบทุกต้นมีปลวกกัดกิน จนกร่อน น่ากลัวว่าจะพังลงมา จึงได้มีการประชุมตกลงกัน เพื่อรื้อถอน และสร้างพระวิหารหลังใหม่ขึ้นมาแทนที่ เรือนทรงไทยหลังนี้ จึงถูกรื้อถอนออกไปทั้งหลัง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖ และทำการก่อสร้าง "พระวิหารพันปีเจดีย์บรมสารีริกธาตุ" ซึ่งออกแบบโดย คุณอภิสิน สิวยาธร และกำลังก่อสร้างอยู่ทุกวันนี้ โดยพ่อท่านได้กำหนดประเด็นอัน
เป็นเป้าหมายสำคัญในการ ก่อสร้างพระวิหารไว้ ๓ ประการ คือ

๑. ให้เกิดความสัมพันธ์กับธรรมชาติและศิลปะ
๒. เป็นอาคารใช้สอยที่เนื่องเกี่ยวกับทางด้านศาสนาให้มาก
๓. ให้มีผลกระทบทางจิตวิญญาณ
ส่วนยอด ของพระวิหารพันปี
พ่อท่านทำพิธีบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ
ในปี ๒๕๓๙ เป็นปีที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงครองสิริราชสมบัติเป็นปีที่๕๐ สมณะโพธิรักษ์และชาวอโศก จึงได้ถือเอาพระวิหารฯ อันเป็นที่เคารพสักการะบูชาสูงสุดนี้ เป็นราชสักการะแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดยเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ซึ่งตรงกับ วันวิสาขบูชา สมณะโพธิรักษ์ได้นำพาหมู่สงฆ์ สิกขมาตุและญาติธรรม กระทำพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์ทองคำ พร้อมทั้งพระพุทธรูปปางต่างๆ หลายสมัยรวม ๑๐ องค์ แล้วอัญเชิญเจดีย์ทองคำ ขึ้นสู่ยอดโดมสูงสุดของพระวิหารฯเพื่อเตรียมเฉลิมฉลอง และในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙ อันเป็น "วันกาญจนาภิเษก" พ่อท่านก็พาหมู่กลุ่มประกอบพิธี มีการทำวัตรเช้า การแสดงธรรมก่อนฉัน และกิจกรรมภาคบ่าย ส่วนญาติธรรมก็ได้ร่วมใจกันเปิด 'โรงบุญมังสวิรัติ' หลายร้านตลอดแนวถนน เพื่อเฉลิมฉลองวาระอันเป็นมิ่งมหามงคลครั้งนี้ด้วย

"พุทธสถานสันติอโศก" จึงเป็นที่ประดิษฐานของสิ่งสักการะบูชาอันสูงสุด เป็นส่วนน้อมนำให้เกิดจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา อันเป็นเส้นทางแห่งโลกุตระทั้งแก่ชาวอโศก และผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายตลอดจนผู้เข้ามาเยี่ยมเยือน ดังที่ผู้ถวายที่ดินแปลงนี้ ซึ่งได้จากไปเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ ได้เกิดจิตศรัทธาเลื่อมใสอย่างมั่นคงตราบชีวิตหาไม่.
3
page: 3/3
4
   Asoke Network Thailand