[เลือกหนังสือ]      ปก | คำนำ | สารบัญ | ภาคผนวก | คัชนี
page: 1/8
Close

สารบัญ
[1] |
[2] |
[3]
|
[4]
|
[5]
|
[6]
|
[7]
|
[8]
|

การเมืองบุญนิยม... สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง


บทที่ 1
 ที่มาของอำนาจรัฐ 

ภาวะดั้งเดิมในธรรมชาติ

ในพระสูตร ชื่ออัคคัญญสูตร ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค (พระไตรปิฎก เล่ม 11 ข้อ 51-72) พระพุทธเจ้า ได้ตรัสเล่าถึง ทฤษฎีกำเนิดอำนาจรัฐ เพื่อหักล้าง ทฤษฎีลัทธิเทวสิทธิ์ ที่พวกพราหมณ์สมัยนั้นสอน เรื่องพระพรหม เป็นผู้สร้าง และ สร้างวรรณะกษัตริย์ขึ้นมา ปกครองมนุษย์ รวมทั้ง สร้างวรรณะต่างๆ อีก ๓ วรรณะ อันนำไปสู่การแบ่งขั้นวรรณะ ในสังคมอินเดียอย่างรุนแรง โดยทรงบรรยายถึง ภาวะดั้งเดิมตามธรรมชาติ (State of Nature) ภายหลังจากที่ โลกเริ่มเย็นลง และ มนุษย์ ได้ถือกำเนิดขึ้นมาแล้วว่า มนุษย์ยุคแรกเริ่มนั้น อยู่กันอย่างสันติสุข ท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ ของระบบนิเวศในธรรมชาติ ดังที่ทรงบรรยายภาพว่า

“… แล้วก็เกิดมี ข้าวสาลีขึ้นเอง โดยไม่ต้องไถ เป็นข้าวไม่มีรำ ไม่มีแกลบ ขาวสะอาด กลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสาร ตอนเย็น สัตว์เหล่านั้น นำเอาข้าวสาลีใด มาเพื่อบริโภคในเวลาเย็น ตอนเช้า ข้าวสาลีนั้น ที่มีเมล็ดสุก ก็งอกขึ้นมาแทนที่ ตอนเช้า เขาพากันไปนำเอาข้าวสาลี มาเพื่อบริโภคในเวลาเช้า ตอนเย็น ข้าวสาลีนั้น ที่มีเมล็ดสุก ก็จะงอกขึ้นแทนที่ ไม่ปรากฎว่า พบพร่องไปเลย”

แต่ต่อมา เมื่อจิตวิญญาณ ของมนุษย์ เริ่มถูกครอบงำ โดยความกำหนัด ความโลภ และ ความเกียจคร้าน แบบวิถีการผลิต และ การบริโภค ของมนุษย์ ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังที่พระพุทธองค์ ทรงบรรายต่อไปว่า

… ครั้งนั้น สัตว์ผู้หนึ่ง เกิดความเกียจคร้านขึ้น จึงมีความเห็นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ เราช่างลำบากเสียนี่กระไร ที่ต้องไปเก็บข้าวสาลี ทั้งในเวลาเย็น สำหรับอาหารเย็น ทั้งในเวลาเช้า สำหรับอาคารเช้า อย่ากระนั้นเลย เราควรไปเก็บเอาข้าวสาลี มาไว้เพื่อบริโภค ทั้งเย็นทั้งเข้า คราวเดียวเถิด”

ความต้องการส่วสนเกินของมนุษย์

เมื่อมีผู้หนึ่งเริ่มต้นทำตัวเป็นแบบอย่าง ที่มีนัยสำคัญ ทางสังคม (Rdference others) คนอื่นๆ ก็เริ่มเลียนแบบตาม และมีการขยาย การกักตุน สะสมผลผลิตส่วนเกินความจำเป็น ในการบริโภคเพิ่ม จำนวนมากขึ้นๆ จากการเก็บสะสม ไว้กินครั้งละ 1 วัน ก็ขยายเป็น 4 วันบ้าง 8 วันบ้าง 16 วันบ้าง มากขึ้นๆ เป็นทวีคูณ

คนที่ไม่ได้กักตุน สะสมผลผลิตส่วนเกินความจำเป็นไว้ สำหรับการบริโภค เมือ่เห็นคนอื่นพากันกักตุนสะสม ถ้าตนเองไม่ทำเช่นั้นบ้าง ก็อาจไม่มีข้าวสาลีเหลือให้เก็บกิน เหมือนคนอื่นๆ ความกลัวอดอยาก เลยทำให้ต้องกักตุน ผลผลิตส่วนเกินจำเป็น ในการบริโภคสะสมไว้บ้าง ผลที่สุด ความอุดมสมบูรณ์ ของระบบนิเวศในธรรมชาติ ก็เริ่มถูกทำลาย เพราะความโลภของมนุษย์

พระพุทธเจ้าได้ตรัส เล่าถึงสภาพ ของระบบนิเวศ ที่เสียสมดุล เพราะการบริโภคเกินประมาณ ของมนุษย์ว่า

“… สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น พยายามเก็บข้าวสาลี สะสมไว้ เพื่อบริโภคกันมากขึ้นๆ เมื่อนั้นแล ข้าวสาลีนั้น จึงกลายเป็นข้าว มีรำห่อเมล็ดบ้าง มีแกลบหุ้มเมล็ดบ้าง ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้ว ก็ไม่กลับงอกแทน ปรากฏว่า ขาดเป็นตอนๆ จึงได้ข้าวสาลีเป็นกลุ่มๆ”

การเกิดสถาบันกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินส่วนบุคคล

เมื่อระบบนิเวศถูกทำลาย และ ความอุดมสมบูรณ์ ของธรรมชาติ ที่เคยมีแต่เดิม เริ่มสุญเสียไป “ภวะความขาดแคลน” ก็เกิดขึ้นตามมา

ความขาดแคลน ได้นำไปสู่การเกิดสถาบันกรรใมสิทธิ์ ในทรัพย์สิน (property right) ขึ้นในสังคม (เหมือนน้ำสะอาด ในสมัยก่อนที่มีอยู่เหลือเฟือ แต่ละบ้าน ต่างมีน้ำฝน สำหรับบริโภคอย่างพอเพียง การคิดครอบครองกรรมทิทธิ์ในน้ำสะอาด ก็จะไม่มี แต่ปัจจุบัน เมื่อสภาพแวดล้อมถูกทำลาย น้ำในแม่น้ำลำคลองเน่าเสีย น้ำฝน ก็มีสารพิษปนเปื้อน ผู้คน ก็จะเริ่มเอาน้ำสะอาดบรรจุขวดขายกัน และเกิดการยึดครอง เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในน้ำสะอาด เป็นต้น)

พระพุทธเข้า ได้ตรัสเล่าถึงการเกิด สถาบันกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ขึค้นเป็นครั้งแรกว่า

“… สัวต์เหล่านั้น ได้ปรึกษากันแล้ว ก็ตัดสินว่า อย่ากระทนันเลย พวกเรา ควรมรแบ่งข้าวสาลี และ ปักปันเขตแดนกันเสียเถิด … ครั้นแล้ว สัตว์ทั้งหลาย จึงแบ่งข้าวสาลี และ ปักปันเขตแดนกัน”

กรรมสิทธิ์ ในที่ดิน จะเป็นหลักประกัน ของมนุษย์แต่ละครอบครัวว่า จะมีข้าวสาลี (ในที่ดินแปลง ที่ตนครองครอง) สำหรับบริโภค โดยไม่ถูกมนุษย์คนอื่น แจ่งเอาข้าวสาลีไปกักตุน สะสมไว้กินคนเดียว จนคนอื่นๆ มีไมี่พอกิน

แต่เมื่อเกิดสถาบันกรรมสทธิ์ในทรัพย์สินขึ้นแล้ว ปรากฏฏการณ์ที่เกิดตามมาในสังคม ก็คือ การลบะเมิดกรรมทธิ์ในทรัพย์สินของคนอื่น เช่น ไปเก็บเอาขช้าวสาลี ที่ขึ้นในแปลงที่ดิน ของคนอื่นมาบริโภค เป็นต้น การขโมย จึงเกิดขึ้นในสังคม (ซึ่งเมื่อก่อนไม่เคยมี เพราะไม่มีใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ จึงย่อมมไม่มีการณีการละเมิดกรรมสิทธิ์)

กำเนิดอำนาจรัฐ

เมื่อจับขโมยได้ การกล่าวเท็จ (ว่าตนไม่ได้ขโมย) ก็เกิดตามมาร การทะเลาวะวิทยากัน ก็เกิดตามมา และ การต่อสู้ทำร้ายกัน (เพราะการทะเลาะวิวาท) ก็เกิดตามมา เป็นลำดับๆ สุดท้าย ก็มีความจำเป็นต้อง สถาปนาสถาบันการปกครองขึ้นในสังคม เพื่อจัดระเบียบการอยู่ร่วมกัน ของผู้คนในสังคม ดังที่พระพุทธเจ้า ตรัสเล่าวไว้ใน อัคคัญญสูตรว่า

“… ครั้งนั้นแล พวกสัตว์ ที่เป็นผู้ใหญ่ จึงประชุมกัน ครั้นแล้ว ต่างก็ปรับทุกข์กันว่า พ่อเอ๋ย ก็การถือเอา ของที่เจ้าของไม่ได้ให้จักปรากฎ การติเตียนจักปรากฏ การพูดเท็จจักปรากฎ การถือท่อนไม้จักปรากฎ ในเพราะบาปธรรมเหล่าใด บาปธรรมเหล่านั้น เกิดปรากฎขึ้นแล้ว ในสัตว์ทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย พวกเราจักสมมติสัตว์ผู้หนึ่ง ให้เป็นผู้ว่ากล่าว ผู้ที่ควรว่ากล่าว ได้โดยชอบ ให้เป็นผู้ติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ได้โดยชอบ ให้เป็นผู้ขับไล่ผู้ที่ควรชับไล่ได้โดยชอบ ส่วนพวกเรา จักแบย่งส่วนข้าวสาลีให้แก่ผู้นั้น”

กำเนิดของอำนาจรัฐ จึงไม่ได้มาจาก พระเจ้า หรือ พระพรหม ตามความเชื่อในลัทธิเทวสิธิ์ (divine right) ที่มนุษย์เคยยึดถือมาแต่เดิม แต่มาจากมนุษย์ด้วยกัน ที่ได้สถาปนาอำนาจรัฐขึ้น และ ร่วมกันคัดเลือก ผู้ปกครองรัฐ ให้มาทำหน้าที่ ตามพันธะที่ได้รับมอบหมาย จากผู้คนในสังคม ดังที่ พระพุทธเจ้า ได้ตรัสสรุปปไว้ใน อัคคัญญสูตรว่า

“… กรวาเสฎฐะ และ ภารทวาชะ เพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้า อันมหาชนสมมตินั้นแล อักขระว่า มหาชนสมมติขึ้น เป็นอันดับแรก เพราะเหตุที่ ผู้เป็นหัวหน้าอันเป็นใหญ่ ยิ่งแห่งเขตทั้งหลายดังนี้แล อักขระว่า กษัตริย์ กษัตริย์ จึงอุบัติขึ้น เป็นอับดับสอง และเพราะเหตุที่ผู้เป็นหัวหน้า ยังชนเหล่านั้น หใสุขใจ ได้โดยธรรมดังนี้เแล อักขระว่า ราชา ราชา จึงอุบัติขึ้นเป็นอันที่สาม”

ประเภทของระบบการเมือง

ในสังคีติสูตร ปกฏิกวรรค ฑีฆนิกาย (พระไตรปิฎกเล่ม 11 ข้อ 228) พระพุทธเจ้า ได้กล่าวถึงอำนาจ หรือ ความเป็นใหญ่ว่า มี 3 ประเภท ได้แก่ อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่) โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่) และ ธรรมาธิปไตย (ความมีธรรมะเป็นใหญ่) ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับ นัยแห่งอัคคัญญสูตรนั จะสามารถจำแนก ระบอบการเมือง และ ลักษณะของผู้ปกครองรัฐได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. ผู้ปกครองรัฐแบบ “มหาชนสมมติ” อันสอดคล้องกับ ลัทธิทางการเมือง แบบประชาธิปไตย หรือ โลกาธิปไตย ที่ยึดถือโลกเป็นใหญ่

2. ผู้ปกครองรัฐแบบ “กษัตริย์” อันสอดคล้องกับ ลัทธิทางการเมืองแบบ อัตตาธิปไตย (หรือลัทธิอำนาจนิยมแบบต่างๆ) ที่ยึดถือตนเป็นใหญ่

3. ผู้ปกครองรัฐแบบ “ราชา” อันสอดคล้องกับลัทธิทางการเมือง แบบ ธรรมาธิปไตย ที่ยึดถือธรรมเป็นใหญ่

 


  การเมืองบุญนิยม
   [เลือกหนังสือ]
page: 1/8
Close
Asoke Network Thailand