๑๙. ร่วมกันสู้ หน้า๒๐๖ |
ร่วมกันสู้อย่างอหิงสา พลังประชาชนที่ร่วมชุมนุมต่อต้าน การสืบทอด อำนาจเผด็จการ สะท้อนให้เห็นถึง ลักษณะที่เป็นตัวแทน ของประชาชน ส่วนใหญ่ เป็นพลังทางการเมือง ที่มีคุณภาพอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่ารัฐบาล จะใช้กำลังทหาร ตำรวจ ที่มีอาวุธครบมือ ปราบปราม เข่นฆ่า ผู้ร่วมชุมนุมต่อต้าน เหล่านั้น ก็ไม่กลัวความตาย พร้อมที่จะสละชีวิต เพื่อเรียกร้อง ประชาธิปไตย ตรงจุดนี้ได้สร้างสำนึกประชาธิปไตย ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด ทำให้ประชาชน กลุ่มอื่นๆ ที่เคยเป็น พลังเงียบ มานานแสนนาน ออกมาห้อมล้อม และแสดง การสนับสนุน จนในที่สุด ก่อตัวเป็นคลื่น แห่งการเรียกร้อง ประชาธิปไตย อย่างสันติ หรืออหิงสา ที่ใครๆ ก็สกัดขัดขวางไม่ได้ อหิงสาไม่ใช่วิธีต่อสู้ของคนขี้ขลาด หากแต่เป็นวิธีต่อสู้ ของคนกล้าหาญ ที่พร้อมจะตายได้ทุกเมื่อ คนที่ถือมีด หรือกอดปืนตาย จะได้ชื่อว่า เป็นคนกล้าได้อย่างไร คนที่มีมือเปล่า เสี่ยงกับความตาย โดยไม่สะทกสะท้าน เลยต่างหาก ที่เป็นคนกล้า เพราะร่วมกันสู้อย่างอหิงสา จึงทำให้ พลเอกสุจินดา คราประยูร ต้องลาออก เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๓๕ แม้จะมี ๔ เหล่า ๕ พรรคหนุนหลัง ก็ยังต้องพ่ายแพ้ เพราะร่วมกันสู้อย่าง อหิงสา จึงสามารถแก้ไข รัฐธรรมนูญ ได้สำเร็จ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕ เป็นครั้งเดียว ในประวัติศาสตร์ การเมืองไทย ที่สามารถแก้ไข รัฐธรรมนูญ ได้รวดเร็วง่ายดายที่สุด เหมือนปาฏิหาริย์ เพราะสืบเนื่องมาจาก ร่วมกันสู้ ใช่หรือไม่ ที่ ๕ พรรค ๑๙๕ เสียง ไม่ได้รับการเสนอชื่อ เป็นนายกรัฐมนตรี ประธานสภา ผู้แทนราษฎรเสนอ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ ๒๐ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
|
จากหนังสือ ... ร่วมกันสู้ ... พลตรี จำลอง ศรีเมือง * ร่วมกันสู้อย่างอหิงสา * หน้า ๒๐๖ |