ปัจจุบัน ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมแบบรัฐสวัสดิการสังคมนิยม
และแบบรวมศูนย์อำนาจ (คอมมิวนิสต์) ได้ล่มสลายลงแล้ว พร้อมกับการพังทลายลง
ของกำแพงเมืองในกรุงเบอร์ลิน ในเยอรมัน เพราะแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ถูกกำหนดโดยรัฐส่วนกลางนั้น
ไม่สร้างแรงจูงใจให้แก่คนงาน และไม่ตอบสนองกิเลส ของประชาชนได้ดีเท่า
การใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี นับว่า ประเทศสาธารณรัฐประชาชาชนจีน
เริ่มไหวตัวก่อน และเริ่มเปลี่ยนรูปแบบการผลิตแบบเดิม มาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบ
เสรีทุนนิยมเต็มตัว ในนโยบายสี่ทันสมัย และเฟื่องฟูในยุคที่
เติ้ง เสี่ยว ผิง เข้าบริหารประเทศ ดูรายละเอียดได้จาก จอห์น
ไนซ์บิตต์ และ แพทริเซีย อเบอร์ดีน (เขียน), อภิแนวโน้มโลก
[MEGATRENDS 2000], สันติ ตั้งรพีพากร แปล เรียบเรีรยง (กรุงเทพฯ
: บริษัท นานมี จำกัด, 2534), หน้า 217 - 223
|
ชนชาติอิสลาม
จะใช้ศาสนาเป็นอาวุธตอบโต้อิทธิพลทางตะวันตก โดยเฉพาะกลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะ
ซึ่งนำโดยอยาตุลลาห์ โคไมนี ถึงกับปฏิเสธการดำรงอยู่ของชนชาติอเมริกัน
ถือว่าสหรัฐอเมริกาคือ มารร้ายทำลายศาสนาและการปกครองของรัฐอิสลาม
|
Protection
คือการตั้งกำแพงภาษีขาเข้า การกำหนดโควต้านำเข้าสินค้าต่างชาติ
และการควบคุมเงินตราระหว่างประเทศ |
|
ต่อ...บทที่
1 โลกานุวัตร กำเนิดทุนนิยม [กลับรายการหลัก]
2/2
จากสงครามเย็นสู่ การล่มสลายของรัฐสวัสดิการ
สงครามเย็น เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ระหว่ง กลุ่มประเทศโลกเสรี
(อเมริกา อังฤษ ฝรั่งเศส) กับกลุ่มประเทศ โลกสังคมนิยม คอมมิวนิสต์
(สหภาพโซเวียต จีน) (4) จุดที่เป็น ดุลอำนาจแห่งความกลัว คือ การป้องกัน
การแผ่ขยาย ลัทธิสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ ซึ่งฝ่ายโลกเสรี เชื่อว่า คอมมิวนิสต์ จะทำลายระบบทุนนิยม
เป็นเหตุให้เกิด องค์กรต่อต้าน คอมมิวนิสต์ หลายองค์การ เช่น องค์การ
NATO (ป้อมปราการ ด้านยุโรป) องค์การ SEATO (ป้อมปราการ ด้านเอเชียอาคเนย์)
องค์การ ANZUS (ป้อมปราการ ด้านมหาสมุทร แปซิฟิกใต้ ในขณะเดียวกัน ที่กลุ่มประเทศ สังคมนิยม
ก็ก่อตั้งองค์การ สนธิสัญญา วอร์ซอ (Warsaw pact) ขึ้นเพื่อป้องกันตัวเอง
คลื่นสงครามเย็นลูกที่ 1 ได้อ่อนกำลังลง พร้อมกับการถดถอย ในการพัฒนาทุน ในกลุ่มประเทศ สังคมนิยม
ขณะเดียวกัน ที่กระแสทุนนิยมโลก กลับพุ่งแรงขึ้น ในช่วงทศวรรษที่ 1980
สร้างความสงสัย ให้กับประชาชน กลุ่มประเทศ สังคมนิยมว่า ระบบสังคมนิยมนี้ จะช่วยให้ชีวิตของเขา ดีขึ้นจริงหรือ
ทั้งที่ภาวะเศรษฐกิจ กลับทรุดลงทุกปี ในที่สุด คลื่นสงครามเย็น ลูกที่
1 ก็สิ้นสุดลง พร้อมกับ การล่มสลาย ของสหภาพโซเวียต และระบบรัฐสวัสดิการ สังคมนิยม ไม่ทันที่คลื่น สงครามเย็น ลูกที่1
จะจางหายไป ก็เกิดคลื่น สงครามเย็น ลูกที่ 2 ขึ้นอีก ภายหลังสงคราม
อิรักกับอิหร่าน โดยที่อเมริกา เป็นคู่ปรับ กับกลุ่ม ประเทศอิสลาม กลุ่มประเทศอิสลาม
จนกระทั่ง ไฟสงคราม ได้ปะทุขึ้น ในคราวสงคราม อ่าวเปอร์เซีย ให้ชาวโลกได้เห็น
คลื่นสงครามเย็น ลูกแรก ขัดแย้งกัน ด้วยอุดมการณ์ ทางเศรษฐกิจ แต่ลูกคลื่นที่สอง ขัดแย้งกันด้วย
ลัทธิศาสนา และความเป็นชาตินิยม ซึ่งถือว่า ร้ายแรงยิ่งกว่า
การสลาย รัฐสวัสดิการของนางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ แห่งอังกฤษ และการสลาย
ระบบเศรษฐกิจแบบ รวมศูนย์อำนาจ จากรัฐบาลกลาง สู่ท้องถิ่น ของนายมิคาอิล
กอร์บาชอฟ แห่งสหภาภาพโซเวียต ได้กลายมาเป็น ต้นแบบ ให้แก่ประเทศอื่น
ๆ ทั่วโลก ปฏิบัติตาม
ระบบรัฐสวัสดิการ ในรัสเซีย ได้ถือกำเนิดขึ้น เมื่อราว ปี ค.ศ. 1917
มีหลักการสำคัญ คือรัฐต้องเลี้ยงดู หรือให้ประกัน ทางสังคม แก่ประชาชน
เพื่อเป็นการทดแทนแรงงาน ที่พวกเขาสร้าง ให้แก่รัฐ ในปี ค.ศ. 1978 จีน
เริ่มนำ ระบบทุนนิยม เข้าไปใช้ ทำให้คอมมูนกว่า 50,000 แห่ง ต้องปิดตัวเองลง
และให้ประชาชน มีกรรมสิทธิ์ ในที่ดินมากขึ้น เปิดกิจการ การซื้อหายหุ้น
และกิจการ การให้เช่า ปี ค.ศ. 1988 ประธานาธิบดี กอร์บาชอฟ ได้ประกาศ ยกเลิก
ระบบนารวม พร้อมกับ ให้เกษตรกร มีกรรมสิทธิ์ ในที่ดินมากขึ้น
ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1979 - 1989 นางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ได้ทำการผ่าตัด ระบบรัฐสวัสดิการ ในอังกฤษ
ด้วยการโอน กิจการรัฐวิสาหกิจ เกือบทุกประเภท ให้เป็นของเอกชน เช่นการไฟฟ้า
การประปา การรถไฟ การไปรษณีย์ เหมืองถ่านหิน และป่าไม้ เป็นต้น
การสลายรัฐสวัสดิการ คือ การย้ายโอนอำนาจ การดำเนินการ จากรัฐบาลกลาง
มาเป็นของเอกชน จากบ้านสวัสดิการ มาเป็น บ้านที่มีเจ้าของ เป็นกรรมสิทธิ์
จากการรอรับ การรักษาจากรัฐ มาเป็นการเลือก ที่จะเข้ารับการักษา จากภาคเอกชน
จากรัฐ เป็นผู้กำหนด นโยบายการผลิต และการตลาด มาเป็น การเปิดตลาดเสรี
จากการรับ สวัสดิการจากรัฐ แต่เพียงอย่างเดียว มาเป็น รับงานมาทำ มากขึ้น
จากลัทธิรวมหมู่ มาเป็นลัทธ ิปัจเจกชน (Individualism) จากรัฐผูกขาด
มาเป็น การแข่งขันเสรี จากอุตสาหกรรมโดยรัฐ มาเป็น บริษัทเอกชน จากเพิ่มภาษี
มาเป็น การลดภาษี
รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยม กับแบบเสรีทุนนิยม นั้น มีความแตกต่างกัน ตรงที่
รัฐสวัสดิการ แบบสังคมนิยม ถือว่า เป็นหน้าที่ของรัฐ ที่จะพึงตอบแทน ต่อประชาชน
ที่ทำงานให้รัฐ เพื่อให้เขาไม่ต้องเสี่ยงภัย ในความอดอยาก และขาดแคลน ที่อยู่อาศัย
ทำให้การพัฒนา ด้านเศรษฐกิจ หยุดชงัก เนื่องจากกรรมกร ขาดแรงจูงใจ (เพราะไม่มี สิ่งล่อใจ ให้เกิดความขี้โลภ)
ในการทำงาน หรือคิดค้น ประดิษฐกรรมใหม่ ๆ เพราะถึงอย่างไร ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ ในผลผลิตส่วนเกิน
ส่วนรัฐสวัสดิการแบบเสรี เป็นสวัสดิการของรัฐ ที่อำนวยความสะดวก ให้แก่ประชาชน ในการประกอบธุรกิจ
และความเป็นอยู่ ที่สุขสบายอยู่แล้ว ให้สุขสบายยิ่งขึ้น ธุรกิจรัฐสวัสดิการ สร้างผลกำไร จากการลงทุน ได้มากกว่า
นั่นหมายถึงว่า การบริโภค ก็ย่อมมีมากขึ้นด้วย (เป็นยุคทอง แห่งความฟุ้งเฟ้อ
- Mass consumption) ด้วยความโลภ ของมนุษย์ ที่ต้องการเสพ ความสะดวกสบายยิ่ง
ๆ ขึ้น เมื่อรัฐเปิดโอกาส ให้เอกชน เข้าดำเนินกิจการ ด้านสวัสดิการ
จึงไม่มีเอกชนคนใด จะปฏิเสธ กลับได้รับการยอมรับ มากขึ้น
สาเหตุแห่งการล่มสลาย ของระบบรัฐสวัสดิการ สังคมนิยม
1. อิทธิพลของลัทธิทุนนิยมระดับโลก (Glovbalialism)
2. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ทำให้โลกทัศน์ของ ชาวไร่ชาวนา
และกรรมกร เปลี่ยนไป ได้รับการกระตุ้นมากขึ้น พร้อมกับการเกิด ระบบเงินตรา แบบใหม่
(electric money)
3. ความล้มเหลวของ เศรษฐกิจสวัสดิการ ที่รวมศูนย์อำนาจ จากส่วนกลาง ไม่อาจตอบสนอง ความต้องการ ของประชาชนได้
4. ภาระค่าใช้จ่าย ทางด้าน สวัสดิการสังคม ของรัฐ สูงขึ้น ต้องเพิ่มอัตราภาษี
ทำให้เกิด ความไม่เป็นธรรม ระหว่าง กลุ่มผู้ทำงาน กับกลุ่มที่ รัฐจะต้องเลี้ยงดู
ทั้งยังมีการหนีงาน ของกรรมกร และชาวเกษตรกร พร้อมกับ การเลี่ยงภาษี
สาเหตุของการล่มสลายของรัฐสวัสดิการเสรีทุนนิยม
1. กระแสความต้องการบริโภค และการ เลือกบริโภค พุ่งสูงขึ้น (Mass
consumption) ทำให้รัฐ ไม่สามารถ ผลิตสินค้า และบริการ ให้เพียงพอ แก่ความต้องการ ของประชาชนได้
ในขณะที่การระดมทุน ในภาคเอกชน ทำให้ การดำเนินธุรกิจ มีความคล่องตัว
กว่าที่รัฐเคยทำ และกำลังได้รับ ความนิยม มากขึ้น
2. การแข่งขันการผลิต แบบ Assemblyline ซึ่งทำให้เกิด Mass production
ซึ่งเอกชน สามารถทำได ้หลากหลายกว่า ที่รัฐเคยทำ สามารถผลิตสินค้า และบริการให้ประชาชน เลือกได้มากกว่า
ในขณะที่รัฐ มีแบบให้เลือก เพียงไม่กี่แบบ
3. ความรู้สึกในกรรมสิทธิ์ทางธุรกิจ ทำให้เกิด ประดิษฐกรรม และการพัฒนา ประดิษฐกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่า
4. ลัทธิปัจเจกชน (Individualism) กำลังได้รับความนิยม เพราะความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยี
และ เครื่องอัตโนมัติ (Automation) ทำให้ลด การใช้แรงงานลง และตอบสนอง ความสามารถ ในระดับบุคคลได้
และเป็นที่ยอมรับ ทั่วโลก
5. เกิดการแข่งขันกัน ในเขตการค้าเสรี (Free trade) ทำให้เอกชน ได้รับเชิญ ให้เข้าไปร่วมกลุ่ม กันมากขึ้น
เฮือกสุดท้าย ของทุนนิยม
การเกิด เขตตลาดการค้าเสรี (Free trade) และความก้าวหน้า ทางเทคโนโลย ีการสื่อสาร
และโทรคมนาคม ทำให้โลกทั้งโลก เป็นโลกที่ ไร้พรมแดน มากขึ้น การรวมกลุ่ม ทางธุรกิจทุนนิยม เริ่มขยายวง กว้างขึ้น
โดยต่างก็มุ่ง ที่จะรักษา ผลประโยชน์ ภายในกลุ่มของตน Free trade มีจุดมุ่งหมาย
เพื่อลดกำแพงภาษี ระหว่าง ประเทศสมาชิก เพื่อให้เกิดเสรีภาพ ในการลงทุน
การผลิต และการให้บริการ รวมทั้ง เป็นการป้องกันสงคราม ที่จะเกิดขึ้น อันเนื่องมาจาก
ความขัดแย้งกัน ทางธุรกิจ Free trade จึงเป็นการ "รวมหัว" กันบริโภค ทรัพยากร
ของโลก ให้หมดไปโดยเร็ว
กลุ่มประเทศที่รวมกันเพื่อจัดตั้ง Free trade ได้แก่
1. กลุ่มประชาคมยุโรป (EC) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1989 จนถึงปี
ค.ศ. 1992 กลุ่ม EC ได้บรรลุ เป้าหมายสูงสุด ในการเปิด ตลาดเสรี คือ ทุกประเทศ ในกลุ่ม
EC จะได้รับ สิทธิพิเศษ ดังนี้
-จะไม่มีการตรวจสอบ การผ่านแดน (โลกไร้พรมแดน)
-ไม่มีการเก็บภาษ ีทั้งขาเข้า ขาออก เพราะทุกประเทศ ในกลุ่ม EC ถือว่า เป็นประเทศ ทางธุรกิจ เดียวกัน
-สินค้าเคลื่อนย้าย ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ต้องรอตรวจ ณ จุดผ่านแดน
-ใช้ระบบการเงิน การธนาคารเดียวกัน
-ประชากรทุกคน มีเสรีภาพ ในการเลือกบริโภค อย่างหลากหลาย มากขึ้น
-คนชั้นกลาง จะกลายเป็นนายทุน
2. กลุ่มแนวร่วมการค้าเสรี ตามข้อตกลงว่าด้วย ภาษีศุลกากร และการค้า
(GATT)
3. กลุ่มแนวร่วมการค้าเสร ีแห่งอาเซียน (AFTA)
4. กลุ่มแนวร่วมการค้าเสร ีแห่งอเมริกาเหนือ (NAFTA)
ทันทีที่ Free trade เกิดขึ้น เงาแห่งความกลัว ที่จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ก็เกิดขึ้น
นั่นคือ ในบางประเทศ ได้ตั้งนโยบาย กีดกันสินค้า ต่างชาติ Protection
ขึ้น พร้อมกับ การหวนกลับคืนมา ของลัทธิ ชาตินิยม
บทเรียนสุดท้ายของโลกานุวัตร
ท่ามกลางความหลงใหลเพลิดเพลิน ในการเสพ ความสะดวกสบาย ความตายของทุน
ก็เริ่มเข้ามา เพราะ Mass production และ Mass comsumption จะทำให้
ทุนจริง (real economy) หดหายไป ส่งผลให้เกิด การสะสม ทุนและกำไร แบบใหม่
ที่โหดร้าย ผิดศีลธรรม นี่คืออันตรายของ ทุนปลอม นับเป็นจุดจบของ ระบบทุนนิยม ที่ไม่สวยหรู
เพราะได้ทิ้งปัญหา และความหมักหมม ของมลพิษ ไปทั่วโลก วิกฤตการณ์ แห่งการล่มสลาย ของระบบทุนนิยม กำลังก่อตัวขึ้นแล้ว
เพื่อรอการปฏิวัติ ทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด
ในประวัติศาสตร์ มนุษยชาติ ที่เคยมีมา เพื่อการพัฒนา ไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียว
ของเศรษฐกิจ ระดับโลก (Single Economy) ในรอบ ศตวรรตที่ 21
|