|
||
ความสงบของพุทธนั้น สงบอย่างมีปัญญาแคล่วคล่อง สมรรถนะแข็งแรง มีปัญญาพละ วิริยะพละ อนวัชชะพละ สังคหะพละ ไม่ใช่ว่าสงบอย่างดับทวาร เลยขาดเนื้อหาสาระ ที่ถูกต้องไป ก็เกรงใจ ที่เขาอธิบายพยัญชนะ ผิดจากสภาวะไปไกล จนพ่อครูเห็นได้ว่า กลุ่มหมู่ของผู้ที่ปฏิบัติธรรม เป็นพุทธปัจจุบัน เสร็จแล้วก็ได้มรรคผล ทำให้พฤติกรรมของชีวิต ปรับเปลี่ยนอย่างไร ดำเนินหรืออวจรไปอย่างไร? มันก็เป็นเครื่องแสดงภาวะจริง พฤติภาพจริง ที่เป็นปกติ ที่เป็นค่ารวม ก็ดูได้อ่านออกเข้าใจ เมื่อมารวมเป็นกลุ่มหมู่ ก็แสดงเป็นภาพรวม ใครมาสัมผัส อย่างชาวอโศก เขามาสัมผัสก็จะรู้ เมื่อมารวมมาร่วม เป็นส่วนหนึ่ง ในอโศกองค์รวม ที่มีสนามแม่เหล็ก ที่มีพลังงานกายจาวาใจ พลังทุกอย่างของรูป และนาม ทั้งมหาภูตรูป และอุปาทายรูป ของนามธรรม ทั้งเวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ในวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าท่านแจกไว้ ในเรื่องความเกิดเป็น ๕ คำ มีคำว่า อภินิพพัตติ แปลว่า ความเกิดจำเพาะ เป็นการเกิด อย่างที่ท่านตรัสรู้ ถึงอภิธรรม มันเป็นการเกิด อย่างยิ่ง อย่างสำคัญ และเป็นการตาย อย่างสำคัญที่สุด เป็นอตัมมยตา แม้แต่คำต่อมา บอกว่า ภพ ซึ่งมีทั้งที่เป็นภพ ๓ หรือตัณหา ก็มีตัณหา ๓ แต่ท่านก็ระบุไปว่า เป็น เวทนา ๖ ซึ่งเป็นข้อสังเกต ที่เป็นเนื้อแท้ ที่ชี้บ่งว่า ควรเอาอะไรมาใช้ ในปฏิจจสมุปบาท ตัณหาก็ ๖ ผัสสะก็ ๖ เวทนาก็ ๖ ทั้งที่ท่านจะแจกเป็น ๑๐๘ ก็ได้ และในนามรูป ท่านก็แจกให้ชัดเจน ซึ่งรูปก็คือ สิ่งที่ถูกสัมผัสรู้ ส่วนนามก็คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เราก็ต้องเห็นความสำคัญ ในจุดนี้ ที่พระพุทธเจ้าเน้น ในสูตรนี้ จิตเจตสิก ถ้าไม่กำหนดรู้ ก็ไม่สามารถมนสิการได้ สังขารท่านก็แยกเป็น ๓ อย่างคือ กายสังขาร - จิตสังขาร - วจีสังขาร จุดเน้นสำคัญอยู่ที่ วจีสังขาร คือองค์รวม ของการปรุงแต่ง เป็นคำพูดก็ได้ แต่ยังอยู่ภายใน ไม่ออกมาเป็นวจีกรรม ซึ่งคนเราจะมีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ในภาคต่อจากวิภังคสูตร ก็เป็นปฏิปทาสูตร ก็ยืนยันให้เห็นว่า มิจฉาฯ กับสัมมาฯ และในวิปัสสีสูตร ท่านก็แจกให้รู้ว่า สิ่งที่ควรมีคืออะไร สิ่งที่ควรไม่มีคืออะไร และการมนสิการ คือการทำใจในใจ คือทำที่ใจ พ่อครูมาแปล เมื่อรวมกับ คำว่าโยนิ คือคำว่า โยนิโสมนสิการ คือให้มันละเอียดลออ แยบคาย ครบครัน ซึ่งจะสัมมาทิฏฐิ จะต้องเข้าใจคำว่า โยนิโสมนสิการ ต้องเห็นความสำคัญอย่างมาก อย่างในปรโตโฆษะ และ โยนิโสมนสิการ ที่เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดสัมมาทิฏฐิ คือเราต้องฟังคนที่อธิบายธรรม ให้ทำใจในใจอย่างไร ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ และทำอย่างไร เป็นสัมมาปฏิปทา ในการปฏิบัติ ให้ลงไปถึงที่เกิด ที่ตั้งของกิเลส ท่านเน้นในปฏิจจสมุปบาท ว่าการปฏิบัติให้สัมมา ให้ลงไปถึงที่เกิดนั้น ตัณหาจะเกิด ต้องมีผัสสะ ซึ่งมี ๖ อย่างทั้งนั้น ในปฏิจจสมุปบาท แม้อายตนะก็ ๖ วิญญาณ ก็ ๖ ท่านก็แจกให้เข้าใจ โดยเฉพาะการแจกนามรูป ท่านให้รู้นาม คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ คนก็งงว่า ผัสสะทำไมเป็นนาม เพราะว่า ถ้าไม่มีผัสสะ ก็ไม่เกิดนามจริง ไม่มีองค์รวมเป็น กาเยนะ จะไม่มีกาเยนะ สัมมัปปัญญา คือปัญญาที่เป็นสัมมา ต้องมีองค์ประชุม ที่เป็นกายนอกกายใน ในเวทนาก็แจกได้เป็น ๑๐๘ มนสิการ แปลได้อีกว่า แดนเกิด โยนิโส นี้แปลว่า แยบคายหรือถ่องแท้ ความเสื่อมของภิกษุผู้แสวงหามี
ในข้อนี้ไม่มีในศีล
สร้างเรือนมีประตูสี่ด้าน ไว้ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง แล้วสร้างสำนัก รอท่านผู้อยู่มีวิชชา และจรณะอยู่ ในตัณหาสูตรมี ถ้าคุณเชื่อถือสัทธรรมอย่างไร ตามที่ศรัทธา ก็จะทำใจในใจอย่างนั้น (คือโยนิโสมนสิการ) ซึ่งคำว่า โยนิโสมนสิการ ไม่มีในปฏิจจสมุปบาท การทำใจในใจต้องมีผัสสะ ที่เป็นคำที่อยู่ในนาม ที่อยู่ในปฏิจจสมุปบาท เจตนา มีอยู่ในอาหาร ๔ อาหารก็มียืนยัน ในอาหาร ๔ อาหารเป็นเครื่องอาศัย ที่จะมีชีวิตอยู่ และชาติที่จะเกิดจากผัสสะ ถ้าไม่มีผัสสะ ก็ไม่มีอะไรเกิด แต่ก็มีในใจอย่างเดียวก็เกิดได้ แต่ไม่ครบ สุรภาโว คือภาวะ(ความจริง) ที่ปรากฏ ไม่ครบทั้งนอกและใน ไม่ครบอาการ ๓๒ เมื่อมาเป็นคน ได้ตาหูจมูกลิ้นกายใจ มีกายยาววา หนาคืบ กว้างศอก พร้อมสัญญาและใจ ถือว่าเป็นที่ๆครบ ในการปฏิบัติ ถ้าเข้าใจไม่ครบ ก็ปฏิบัติได้ไม่สมบูรณ์ ทั่วไปเขาเข้าใจว่า แม้จะอธิบายอภิธรรม เก่งแค่ไหน แต่ถ้าไม่นั่งสมาธิ ไม่เข้าป่า ปฏิบัติก็ยังไม่แน่ แต่แม้ยังไม่ได้เรียน บัญญัติอะไร บวชแล้วไปออกป่าเลย อีก ๑๐ ปีก็ออกมาได้ ถ้าไม่ตายก่อน ไม่ถูกเสือกัดกินก่อน ก็จะมีนิทานเล่าว่า ได้ต่อสู้อดทน กับสิ่งต่างๆ แต่ไม่มีในพระไตรฯ ว่าได้ต่อสู้กับอะไรในป่า แต่ในพระไตรฯกลับบอกว่า ไปแสวงหา อาจารย์ในป่านั้น เป็นความเห็นผิดต่างหาก ที่เข้าป่าแล้วตกเหว ตายไปก็มาก ไม่มีประวัติพวกนี้เลย ในพระไตรฯ มีแต่บอกว่า ไปบำเรอไฟสร้างวิหาร สร้างเรือนไฟ มีประตูสี่ด้าน ซึ่งสมัยโบราณ ไม่ใช่เล็กๆ มีประตูสี่ด้าน อยู่ในทางสี่แพร่ง ท่านอธิบายให้เห็นว่า ไปสร้างอะไรใหญ่โต เพื่อล่าบริวารทั้ง ๔ ทิศ แต่ศาสนาพุทธ ไม่ได้เพื่อล่าลาภยศ ล่าบริวารแต่อย่างใด ซึ่งมันออกนอกรีต ไปเป็นอาจารย์ในป่า เป็นการปฏิบัติที่ ไม่สัมมาทิฏฐิ จึงไม่สัมมาปฏิบัติ ก็ทำใจในใจไม่ถูกต้อง ซึ่งพระพุทธเจ้า ท่านให้เรียนรู้ วิญญาณใน ๖ ทวาร ที่จะศึกษาวิญญาณได้ และในวิญญาณ ก็ต้องรู้ทั้ง เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ จนกว่าจะรู้จักชาติ คือการเกิดในนัยต่างๆ ก็จะขยายคำว่า ชาติ ให้เห็นพอสมควร ชาติ ๕ แบบ เช่นพระพุทธเจ้า ท่านถูกพระราชบิดามอมเมา ยิ่งกว่านกในกรง มา ๒๙ ปี แต่เพราะไม่รู้ว่า การปฏิบัติธรรม เป็นอย่างไร แม้บวช ก็ออกปฏิบัติผิดๆไปตามเขา ไปอัตตกิลมถานุโยคอีก ๖ ปี กว่าจะตรัสรู้ ก็อายุถึง ๓๕ ปี แต่ก็ถึงคราวถึงเวลา ท่านมีเหตุปัจจัย ที่ท่านจะได้ ท่านก็ไปนั่งระลึกรู้ ชาติเก่าๆ เป็นสมบัติเก่า ในสัญญาที่เก็บไว้ ธรรมดาเราที่ไม่มีสัญญาเก็บไว้ พอมาเจอกัน ก็ไม่รู้ว่า เรามีความเกี่ยวข้องอะไรกัน แม้มีสัญญาอยู่ แต่ระลึกไม่ได้ พอเจอกัน เราก็ระลึกไม่ได้ เอาปัจจุบันก็ตาม เราเจอใคร แล้วไม่รู้จัก พอเขาทักว่า เคยพบเราที่นั่นที่นี่ เราก็เริ่มฟื้นสัญญา มารู้ได้ก็มี เป็นต้น พระพุทธเจ้าจำได้ แม้เคยเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นความจำในจิต ท่านระลึกได้ว่า ท่านได้ปฏิบัติมาอย่างนี้ ระลึกไปถึงว่า พระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ท่านได้สอนอย่างนั้นอย่างนี้ มีอัครสาวก ที่เคยมีบุญบารมีร่วมกัน พออัครสาวกเดินมา ก็บอกว่า นี่คืออัครสาวก ทั้งที่ชาตินั้น ยังไม่เคยเจอกันมาก่อน เป็นความจำของท่าน ความจำที่ไม่ใช่ของจริงก็มี แต่ความจริงที่จะจริง ต้องเกิดขณะผัสสะในเดี๋ยวนี้ คนที่จะมีผัสสะ กระทบในตน เป็นของตน คือมีปัจจัตตัง เป็นผัสสะปัจจุบัน คือสภาพที่มันได้รู้ กระทบสัมผัส เกี่ยวข้องกับตน (อัตตะ กับ ปัจจัตตะ) เป็นตนที่จะต้องได้ คือได้ เวทิตัพโพ วิญญูหีติ คือได้ความรู้ยิ่ง เข้าไปในวิญญาณ ได้ผลเป็นสัมมาผล เป็นมรรคผล ก็เป็นปัจจัตตัง ที่เป็น เวทิตัพโพ วิญญูหีติ คุณก็ได้สมบูรณ์เต็มหน่วย ของผลธรรม ได้กี่หน่วย ก็เป็นปัจเจกเฉพาะตน ใครทำใครได้ ทำชั่วก็ได้บาปเป็นปัจเจก แต่ไม่ใช่เวทิตัพโพ ไม่ใช่ความรู้ที่ควรบันทึก ในวิญญาณ ลืมได้ก็ลืมไป พวกอกุศล ลืมไป คุณไม่เลวหรอก แต่กุศลคุณอย่าไปลืม เมื่อเป็นปัจเจกก็เป็นปัจเจกภูมิ สั่งสมไป สยัง อภิญญา คำว่า สยัง คือของตนเอง ก็เป็นเอง ซึ่งในภาษาไทย มีสองคำ คำว่า เอ็ง ก็คือ เขา แต่คำว่าเอง ก็คือเรา ในสัมมาทิฏฐิ ข้อที่ ๑๐ ยืนยันได้ว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ -ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ -โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ) ที่สูงกว่าสยัง อภิญญา คือปัจเจกสัมมาสัมพุทธะ แต่ยังไม่ถึงขั้นสยัมภู คำว่าปัจเจก มีสองคำ คือปัจเจกที่ยังไม่ถึง สยังอภิญญา และปัจเจกที่ยังไม่ถึงขั้น สยัมภู อันนี้คือ ท่านมีภูมิเท่ากับ สัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ท่านยังไม่ถึงขั้น สร้างศาสนา ซึ่งเขาแปลว่า ปัจเจกสัมพุทธะนั้น สอนคนไม่ได้ แต่ที่จริง แม้พระโสดาบัน ก็สอนคนได้แล้ว แต่แปลอย่างไรว่า เป็นถึงปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว กลับจะสอนคนไม่เป็น อย่างนั้นเป็นการตีความ ที่ไร้เหตุผล ตีความผิด ถ้าเข้าใจสยัง อภิญญาไม่ได้ และไม่เชื่อว่า ผู้ที่มีสยัง อภิญญามีจริง ถ้าพ่อครูมีสยัง อภิญญา และก็ประกาศไป ประกาศโลกนี้โลกหน้า ขยายความ อิมัญ จ โลกัง และ ปรัญ จ โลกัง พ่อครูมาอธิบาย ให้เกิดโลกใหม่ ตั้งแต่โสดาบัน ซึ่งเป็นโลกุตรภูมิ มี ๙ ขั้น เริ่มต้น รู้จิตเจตสิก แยกเวทนา แยกจิตเจตสิกอย่างนี้ พ่อครูก็อธิบายตาม สยัง อภิญญา มั่นใจว่าถูกต้อง และระวังในเรื่อง ความผิดพลาด เพราะมันเป็นบาป โดยเฉพาะผิดในเรื่อง พุทธธรรมของพุทธเจ้า พ่อครูไม่ต้องการให้ผิด มันเป็นกรรม เป็นบาป ในเรื่องอุตริมนุสธรรม มันเป็นอนันตริยกรรม และที่พ่อครูจะพูด ไม่ให้ผิดนั้นมีมาก และไม่มีสิทธิ ให้ใครเชื่อด้วย เป็นสิทธิของแต่ละคน บังคับไม่ได้ พ่อครูไม่เก่ง ในการให้คุณ ล่าลาภยศ ที่ให้พวกคุณมานี่ ไม่ได้ใช้คารมล่อ แต่พูดสัจจะ ผ่าให้รู้ความจริง ให้แรงให้ถึง ภาวะลิงลมอมข้าวพอง เป็นทวิชาติ คือจมอยู่ในภาวะ ลิงลมอมข้าวพอง ไปตามวิบาก ซึ่งจะไม่รู้ทันทีไหม ก็ไม่ง่าย พระพุทธเจ้า ท่านก็มีบารมี มีวิธีของท่าน ของพ่อครูก็มีภาวะ ลิงลมอมข้าวพอง และรู้ไปตามลำดับวิธี ของตนเอง ได้มาก็มั่นใจว่า อย่างนี้ถูกต้อง ไม่เหมือนแน่กับท่านที่ได้รู้ ตกทอดกันมานาน ก็เห็นใจเขา แม้แต่พระพุทธเจ้า ท่านในวันสุดท้าย ก็ยังไม่รู้ว่า เป็นพระพุทธเจ้า เหลือวิธีสุดท้ายคือ การระลึกชาติ แล้วก็เห็นความจริง โดยไม่มีตำราไหนบอก แต่พ่อครูยังดี มีตำราพระไตรฯอยู่ ก็อ่านแล้วก็เข้าใจ ต่างจากที่เขาแปลมา ที่ใช้คือพระไตรฯ ฉบับหลวง มีคณะสงฆ์ ที่รวมกันแปล ในปี ๒๕๐๐ สมัยจอมพลป. ซึ่งพยายามไม่ให้ผิด จะมีพระอรหันต์หรือไม่ ในการสังคายนา ก็ไม่รู้ได้ ก็แปลมาจาก ภาษาบาลี ก็ใช้อันนี้อ้างอิง อย่างในปฏิจจสมุปบาท ก็อาศัยที่แปลจาก ท่านที่ทำมาก่อน และอาศัยภูมิตนที่มี พยายามไม่ให้ผิด พ่อครูไม่กล้าทำผิด ทำบาป ซึ่งเป็นทรัพย์แท้ จะไม่สะสมบาป จะสั่งสมแต่สิ่งดี โย ธัมมัง ปัสสติ โส มัง ปัสสติ คือ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต หรือ โย ธัมมัง ปัสสติ โส ปฏิจจสมุปปาทัง สตีติ ฯ ..........จบ...... อ่านต่อ สรุปเนื้อหา ทำวัตรเช้า ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
|
||
|