ธรรมะมีมากมาย เหมือนใบไม้ในป่า อยากเป็นนักปฏิบัติธรรม ที่ประสบความสำเร็จ จะเริ่มต้นตรงไหนดี
?
จาก ชาวอโศก... เพื่อมวลมนุษยชาติ
สัพเพทานัง
ธัมมทานัง ชินาติ :
ในบรรดาการทำทานทั้งหลาย ทานธรรมะนั้น สูงสุดชนะเลิศทานใดๆ
ดังนั้น
ผู้มีธรรมในตน แล้วก็นำออกมาแจกทานได้โดยทางกายกรรม ทางวจีกรรม ทางมโนกรรมพร้อม
ก็เป็นเยี่ยมสูงสุดชนะเลิศทานใดๆ อย่างแท้จริง
แต่
ถ้าผู้ใดยังไม่สามารถทำได้ถึงอย่างนั้น
ก็อาจจะใช้วิธีจัดการลงทุน ลงแรง พิมพ์ธรรมะ อัดเทปธรรมะ ออกแจกทาน
ก็ย่อมเป็นกายกรรม มโนกรรมที่สูงเยี่ยมเป็นยอด ชนะเลิศทานใดๆอย่างถูกตรงแท้จริงด้วย
วิธีช่วยโลก
หรือ ช่วยผู้อื่น ให้มีสันติสุขแท้จริง คือ...
จงพยายามเค้นหา ความเห็นแก่ตัวของตนให้ออกให้ได้มากที่สุด และรีบทำในมุมที่ไม่เห็นแก่ตัวทันที
แล้วท่านจะสันติสุขได้อย่างสูงยิ่ง
จงฟังธรรมแล้วเอาไปทำ...
อย่าฟังธรรมแล้วเอาไปทิ้ง...
ธรรมใดก็ไร้ค่าถ้าไม่ทำ
คนเราจะ
"รู้" หรือ "คิด" ให้วิเศษวิโส เก่งเยี่ยมยอดอย่างไรก็อาจจะเป็นได้ไม่ยากนัก
แต่ยากที่สุดที่จะทำได้ คือ "ทำ"
คนที่
"ทำ" ได้แล้ว แม้จะรู้สึกว่าเรา "ไม่ค่อยรู้"
หรือแม้จะมีใครมาว่าเรา "ไม่รู้" ก็ช่างเถิด สำคัญที่สุดคือ
ต้องตรวจตนเองให้แน่ชัดแท้ว่าเรา "ทำ" ได้แน่แท้จริงหรือ
หรือหลงตน!!
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรมหาบพิตร ของ ๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กว่าน้อย
๔ อย่างนี้เป็นไฉน ของ ๔ อย่างคือ
๑. กษัตริย์
ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังทรงพระเยาว์
๒. งู ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าตัวเล็ก
๓. ไฟ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย
๔. ภิกษุ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังหนุ่ม
ดูกรมหาบพิตร
ของ ๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กว่าน้อยฯ
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๕ สังยุต. สคาถ. ข้อ ๓๒๕)
เพราะขับไล่
ความหลับ... ความเกียจคร้าน... ความบิดขี้เกียจ...ความไม่ยินดี...และ
ความมัวเมาในอาหาร
ด้วยความเพียร อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ได้
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๕ นิททาตันทิสูตร สังยุต. สคาถ. ข้อ ๓๕)
พระพุทธเจ้าทรงสอนเราไว้ว่า
ผู้ใดสอนให้คนหลงติดรูป (งามๆ ใหญ่ๆ ดีๆ อร่อยๆ ฯลฯ) และยินดีปรารถนาในเทวโลก
(สวรรค์) ผู้นั้นสอนผิด เหมือนเป็นมารผู้ลามก ซึ่งทำเครื่องล่อ เครื่องดักผู้อื่น
เพื่อฆ่าผู้อื่น หลอกกินเขานั่นเทียว
ดังจาก
"นานาติตถิยสูตร" สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎก เล่ม
๑๕ ข้อ ๓๑๙ - ๓๒๐ มีว่าดังนี้ :-
"ลำดับนั้น
มารผู้ลามกเข้าสิงเวฏัมพรีเทพบุตร แล้วได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
ผู้ใด
ประกอบแล้วในความเกลียดบาปด้วยตบะ รักษาความสงบสงัดอยู่ ติดในรูป
ปรารถนาเทวโลก ผู้นั้นย่อม สั่งสอนชอบ เพื่อ ปรโลกโดยแท้ ฯ"
ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี้เป็นมารตัวร้ายกาจ จึงได้ทรงภาษิตคาถา ตอบโต้มารผู้ลามกว่า
รูปใดๆ จะอยู่ในโลกนี้ ก็ตามที รูปทั้งหมดเหล่านั้น อันมารสรรเสริญแล้ว (ก็เท่ากับมารได้) วางกับดักไว้แล้ว เหมือนเขาเอาเหยื่อล่อ เพื่อฆ่าปลาฉะนั้น
ฯ"
คุณลักษณะของ
" อารยชน" ที่แท้จริง คือ เบิกบานแจ่มใส มัธยัสถ์ สุภาพ
สงบ หมดความอยาก สิ้นความเสพ
หลักการเกื้อกูลโลกให้อยู่สุขของผู้เป็น
"อริยะ" หรืออารยชน ที่แท้จริง คือ ประโยชน์สูง ประหยัดสุด
อย่าเข้าใจผิดว่า
ความเร็ว หรือรีบร้อนนั้นคือ "คุณ" คือ "ประโยชน์"
เสมอไปเป็นอันขาด ลองหัดทำตนให้ช้าลงๆ ทำให้ตรงเป้าหมาย มากที่สุด
คือ จุด ความรู้จัก พอ จงเข้าใจให้ชัดใน ไม่ กับ ให้ และพยายาม ระงับ
กับ สงบ แล้วโลกจะประสบ ความสุขเย็น เป็นสันติไปด้วย เพราะท่าน!!
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า
"คู่มือปฏิบัติธรรม" เล่ม ๑ นี้ พวกเรา "ชาวอโศก" และผู้ใจเป็นบุญ ได้ช่วยกันเข็น ช่วยกันเห็นดี ให้ข้าพเจ้าทำออกมา แล้วก็ร่วมมือกัน ตามประสา ออกเงินออกทอง จัดพิมพ์แจกขึ้นเท่าที่ทำได้
ขณะแรก ข้าพเจ้าก็ตั้งใจจะเขียน คั้นออกมาจาก "ศีล" นี้ ให้หมด ทั้ง "ศีล ๕" และ "ศีล ๘" จนกระทั่งถึง "ศีล ๑๐" อันเป็น "ศีล" พื้นฐาน หรือ "ศีล" หลักใหญ่ที่สุด แต่แล้วก็เห็นว่า จะกลายเป็นหนังสือ เล่มโตเกินไป จึง "เล่ม ๑" นี้ ก็เขียนถึงเพียง "ศีล ๕" เท่านั้น ในโอกาสต่อไป ก็คงจะได้ทำต่อไปถึง "ศีล ๑๐" และ "ศีลพระปาฏิโมกข์" หรือ "พระโอวาทปาฏิโมกข์" อื่นๆ อันควรนำมากล่าวถึง
เพราะ "ศีล" เป็นหัวใจสำคัญของศาสนา
"พุทธศาสนิกชน" ในทุกวันนี้ มักจะเข้าใจอย่างเหลิงๆ ว่า ตน "รู้ศีล" ดีแล้วทั้งนั้น และมีจำนวนมากมายเหลือเกิน ที่เชื่อมั่นว่า "ตนมีศีล" แล้ว แต่แท้จริงนั้น ตนเองเพียงมี "ศีลพตปรามาส" อยู่เท่านั้น จึงกลายเป็น ผู้ประมาทไปกัน จนจะหมดสิ้น แม้แต่ "พระ" ด้วยเหตุนี้เอง การ "สิกขา" (ศึกษา) ว่าด้วย "ศีล" กันอย่างจริงๆ จังๆ จึงไม่มีเลย จะมีก็แต่อ่านๆ ฟังๆ ท่องๆ ยึดๆ ถือๆ กันไว้เพียงผิวๆ เผินๆ (ปรามาส) อย่างดีก็แค่คิดๆ กันเท่านั้นเอง
ศาสนาพุทธจึงเสื่อมโทรมลง เพราะ "พุทธศาสนิกชน" ไม่รู้จัก "ศีล" เป็นเหตุใหญ่ที่สุด แต่ก้าวข้ามไปเรียน "สมาธิ" โน่น ยิ่งไปกว่านั้น ไปหลงเรียนเอาตัว "ปัญญา" อย่างละเอียด สูงสุดโน่นเลย ความงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย จึงไม่มี พุทธศาสนา จึงล้มเหลว