ทรัพย์แท้...ของมนุษย์ ตอนที่ ๑๐
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๔
เนื่องในงานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ครั้งที่ ๑๕
ณ พุทธสถานศาลีอโศก อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์

เมื่อวานนี้เราได้อธิบายมาถึงว่า ผู้ที่มีทรัพย์ที่แท้จริงนั้นคือ ผู้มีศรัทธา มีศีล แล้วก็ไล่ไป หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา ทีนี้ ศีล ศรัทธาเป็นอย่างไร มันถึงจะเต็มที่ เราก็รู้นำแล้วนะว่าศรัทธา ศรัทธาก็จะต้องมีความบริบูรณ์ เพราะจะต้องมีศีล มีสุตะอะไรต่ออะไรพวกนั้นด้วย มีศีล มีสุตะ แล้วเสร็จแล้ว เราก็ได้ศีล ได้ความรู้มากมาย จะเป็นความรู้ข้างนอกข้างใน แล้วเราก็จะต้อง เป็นผู้ที่เป็น พระธรรมกถึก ต้องเป็นผู้ที่จะต้องเผยแพร่ เป็นผู้ที่จะแสดงออกได้ ต้องอยู่กับบริษัท เข้าสู่บริษัท จะต้องแกล้วกล้า อาจหาญ แสดงธรรมกับบริษัทด้วย จะต้องเป็นผู้รอบรู้ทั้งวินัย รู้ทั้งใจตัวเองว่า ใจตัวเองเป็นผู้ที่อยู่สงบสงัด หรืออยู่ป่าเป็นวัตร มีวิหารธรรม มีสุญญตวิหาร มีเครื่องพัก เครื่องอาศัย แล้วก็แสดงธรรม อยู่ในขอบเขตของวินัย ต้องรู้ว่า เราจะอยู่ในโลกในสังคม มันต้องมีกฎเกณฑ์ มีหลักการ กระทำอยู่ในขอบข่าย มันถึงจะเจริญ และเราก็จะต้องเป็นผู้ที่มีฌาน ฌานนี่เป็นบทบาทของการงาน

เมื่อวานนี้มีคนมาถามว่า ฌานกับญาณต่างกันอย่างไร ฌานกับญาณ ต่างกันมาก ฌานเป็นตัว ทำงาน เทียบให้ฟังฌานกับญาณ เมื่อวานนี้เทียบได้ชัดนะ ฌานไม่ใช่เพ่งเผากิเลสเท่านั้น เมื่อมีฌานแล้ว คนที่มีฌานแล้ว ปฏิบัติจนเป็นทรัพย์ ศรัทธาจะเกิดสิ่งเหล่านี้ ศรัทธาเมื่อปฏิบัติ องค์ของศรัทธา ที่จะสมบูรณ์นี่นะ เราจะเชื่อ เชื่อเพราะว่าศีล ศีลเป็นอย่างไร เดี๋ยวก็จะอธิบายศีล ต่ออีก เมื่อวานก็ขยายแล้ว เดี๋ยวก็จะขยายต่ออีกนิดหน่อย แล้วก็เกิดหิริโอตตัปปะอะไรต่ออะไร พวกนี้ ศรัทธาจะต้องมีสิ่งเหล่านี้ แล้วก็จะขยายต่อๆ ขยายซับซ้อน ๆ องค์ของสิ่งที่เป็นทรัพย์ หรือสิ่งที่เป็นบทบาทของแต่ละอย่าง ศรัทธาจะต้องประกอบไปด้วยศีล บอกแล้วว่า ถ้าศรัทธา ไม่ประกอบไปด้วยศีล ศรัทธาไม่มีหลักการที่จะปฏิบัติ ไม่มีองค์ธรรมที่จะเป็นเครื่องชี้ เครื่องบอกว่า อย่างนี้ต้องเป็นศรัทธา แล้วศรัทธานี่ เราเชื่อว่า การฆ่าคน การไปปล้น จะได้เงิน มันก็เป็นศรัทธา เป็นความเชื่อ เขาก็ทำ แต่ศรัทธาของเรานี่ จะต้องพยายามเอาหลักการของศีลมาวัด ว่าจะต้องมี คุณลักษณะต่างๆพวกนี้ แล้วเราก็ได้ จนกระทั่งเขาเป็นตัวเรา ศีลนี่ปฏิบัติจนกระทั่ง เราประพฤติ ปฏิบัติ สมบูรณ์ จนกระทั่งถึงที่สุดก็คือ วิมุตติญาณทัสสนะ จนกระทั่งถึงขั้นบรรลุธรรม นั่นแหละ ศีลก็ตาม ศรัทธาก็ตาม

จนสุดท้ายตัวเราเอง จะต้องปฏิบัติธรรม ต้องมีศีลเป็นตัวที่ประกอบ ศรัทธาต้องมีศีลกำกับ แล้วก็ศีลนั้น ก็จะต้องมีความรู้ เมื่อปฏิบัติศีลก็ต้องมีพหูสูต สุตะ ต้องมีความรู้ เมื่อมีความรู้แล้ว เราก็ต้องพิสูจน์อีก การเป็นพระธรรมกถึก ก็เป็นการพิสูจน์ พิสูจน์ถึงสัจธรรม พิสูจน์ถึงศาสนา พิสูจน์ถึงธรรม ของพระพุทธเจ้า พิสูจน์ถึงความจริงว่า เอ๊ เรามีอย่างนี้น่ะ แล้วเราอยู่กับสังคมโลก คนอื่นละ ถ้าเอาแต่คนเดียว ทำแต่คนเดียว เขาว่า เขามีศีลแล้ว เขาก็ว่าเขารู้ รู้ของเขาคนเดียว นี่แหละ แล้วคนอื่นรู้กับเขาไหม เป็นธรรมกถึก คือ เราจะต้องเอาไปเปิดเผย เอาไปบอกคนอื่นเขาด้วย เห็นด้วยไหม ฟังแล้วเข้าท่าไหม คุณเอาไปประพฤติ ปฏิบัติดูเองมั่งซิ ถ้าคุณเอาไป ประพฤติ ปฏิบัติแล้ว มันจะเหมือนกันไหม มันจะได้เหมือนว่า เออ เรื่องนี้มนุษย์รองรับนำ มนุษย์เป็นผู้รู้ด้วยกัน มนุษย์เห็นจริงนะ แม้จะยาก แม้จะลึกซึ้ง แต่ก็เป็นเรื่องต้องรู้กัน สอดคล้องกัน มนุษย์ทุกคน ต้องเห็นด้วย ไม่ใช่คุณบ้าอยู่คนเดียว

จะต้องให้คนอื่นรู้ เป็นพระธรรมกถึก ต้องแสดงให้คนอื่นรู้ และก็เป็นการสืบทอดศาสนา เป็นการรักษา สิ่งที่วิเศษ สิ่งที่เป็นคุณค่าสูงสุดด้วย แล้วมันก็พิสูจน์ด้วยว่า ถ้าเผื่อเราเอง อยู่กับบริษัทไม่ได้ แล้วไม่กล้าที่จะเปิดเผยสิ่งเหล่านี้ด้วย ไม่กล้าที่จะยืนยันสิ่งเหล่านี้ด้วย ไม่กล้าแสดงธรรมขัดเกลากิเลสคนอื่น ให้คนอื่นเขารู้ว่า อย่างนี้ต้องจริง ที่จริงอาตมากระทำเป็น การแสดงสัจธรรม ของพระพุทธเจ้าถึงศรัทธา ถึงความเชื่อ เชื่อมั่น มันจะต้องไปกระทบคนอื่น มันจะต้องไปให้คนอื่น ขายหน้า พูดกันจริงๆนี่นะ ไปฉีกหน้าเขา นะ ต้องแกล้วกล้าอาจหาญ ในการแสดงธรรม หมายความว่า ต้องกล้าพูดนะ ว่านี่เลว คุณเลวอย่างนี้นี่คุณต้องหยุดนะ นี่พูดแรงๆ พูดชัดๆ คุณอยู่กับพวกเรา พูดกันเซาะลึก เจาะเข้าไปเรื่อย เจาะเข้าไปเรื่อย เจ็บเข้าไปเรื่อย บางคนก็เจ็บจนทนไม่ได้ ต้องหลบก่อนพักก่อน ไม่ไหว บางคนก็ว่า อื้อฮือ โดนเข้าไป เรื่อยๆ มันต้องอย่างนั้นจริง มันต้องสำรอก มันต้องรู้สึกว่า เรานี่ทำไมจะต้องมีอย่างนี้อยู่ คนที่รู้สึกตัว มีหิริโอตตัปปะ หรือ เรายึดมากก็เจ็บ เราไม่อาย เราก็ต้องเจ็บ จนเราอายเอง เราก็เลยรู้ ทีนี้อายเอง อายก็คือการเจ็บ มีการเกรงกลัวต่อสิ่งนี้ หรือมีการละอายต่อสิ่งนี้ มีการรู้ว่า เราไม่ดีในสิ่งนี้

เพราะฉะนั้น การแสดงธรรมอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องธรรรมดา จะไปบอกคนอื่นชั่ว บอกคนอื่นเลว จะไปฉีกหน้า ความไม่ดีไม่งามของคนอื่น ให้เขาเลิก เขาละ ให้เขาเห็นจริงเห็นจัง ให้เขาเกิดจิต ที่เข้าใจ แล้วก็มาละหน่ายคลายตาม ไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะ

ทีนี้ พระถึงมีวินัยไว้ในศรัทธา ต้องมีวินัยไว้กำกับ ต้องมีขอบเขต ต้องมีการระมัดระวัง มีหลักเกณฑ์ ที่จะให้เปิดเผยก็ตาม แสดงธรรมก็ตาม หรือ ว่าเป็นอยู่อะไรต่ออะไร ตัวเราเอง ก็จะต้องอยู่ในวินัย เหล่านั้น ทั้งๆที่ผู้ที่บรรลุแล้ว จะสลัดคืนทำอย่างไรก็ได้ จะเหมือนอรหันต์จี้กงก็ได้ อย่างอรหันต์จี้กง ไม่มีศีล ไม่มีวินัยอะไรกันนักหนาดอก ล่อกันเละ แล้วแต่จะทำ ซึ่งอย่างนั้นไปไม่รอด อย่างอรหันต์จี้กง เป็นเรื่องเลยเถิด เพราะคนคิดผสมผเสแต่งเป็นนิทาน ผสมผเสมากเกินไป แล้วก็ไม่ได้เรื่อง มันต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ แต่จะมีอะไรที่ออกนอกวินัยบ้าง อะไรต่ออะไรบ้าง ก็เป็นเรื่องพิเศษ ที่จะต้องมีปัญญาพอที่จะทำอะไรนอกเรื่องได้ เช่น คนที่มีความรู้ ในหลักการอะไร ต่างๆนานา ในทฤษฎีที่ดี ฝึกจนกระทั่งเก่งแล้ว เสร็จแล้วจะทำอะไรนอกหลักการ นอกทฤษฎี จะต้องเป็นเรื่องพิเศษ ถือว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัว เป็นศิลปินเฉพาะตัว เป็นกวีเฉพาะตัว หรือว่า จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ จะเป็นนักอะไรก็แล้วแต่ ต้องเป็นเรื่องเฉพาะตัวที่วิเศษ แล้วไม่เป็นพิษ เป็นภัยต่อตน และผู้อื่น เป็นประโยชน์อย่างพิเศษ และเป็นปาฏิหาริย์อีกต่างหาก จึงจะทำได้ ถ้าไม่อย่างนั้น ต้องอยู่ในขอบเขตเสมอ จะต้องอยู่ในหลักการ อยู่ในวินัย อยู่ในกฎระเบียบเสมอ เป็นเครื่องกำกับ ไม่เช่นนั้นมันเละ ต้องทรงวินัยและต้องมีฐานอาศัย ต้องมีความเป็นอยู่สงัด มีที่พัก อาศัยอันสงัด หรืออยู่ป่าเป็นวัตร ต้องมีของตัวเองจริงๆ มันจึงจะเชื่อมั่น เราจะเชื่อมั่น เพราะเรามี คนอื่นก็จะเชื่อมั่น เพราะเราเองไม่สัดส่าย ไม่เหวี่ยงออกนอกลู่นอกทาง ไม่ออกนอกเรื่องนอกราว ไม่หวั่นไหว แล้วก็ยังมั่นคงอะไรต่างๆ นานาพวกนี้ จะต้องมีลักษณะของจริง อย่างนี้จริงๆ และมีตัวฌาน เป็นตัวปฏิบัติ มีฌานเป็นตัวทำงาน มีปัญญาเป็นเครื่องรู้ รู้นำ รู้ ทั้งนอก รู้ทั้งใน รู้อะไรต่างๆ นานา เมื่อเป็นศรัทธาแล้ว มันจะเป็นอย่างนั้น ศรัทธามันจะต้องมีฌานเป็นของตนเอง

ฌานเป็นอย่างไร มันอธิบายกันยาก ฌานกับญาณมันไม่เหมือนกัน ฌานเป็นตัวแน่...นิ่ง ผลของฌานก็คือ อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา เป็นตัวที่มั่นคง เป็นตัวที่เจโต ส่วนของ ของญาณเป็นสิ่งที่กว้างออกไปได้ สิ่งที่ซ้อนลึก สิ่งที่เป็นผล ทั้งลึก ทั้งกว้าง ทั้งขยาย ส่วนฌานนั้น นิ่งแน่มั่น เป็นเครื่องอาศัย เป็นเครื่องพัก ฌานเป็นของตน ปัญญาเพื่อผู้อื่น นี่ขยายความหมาย ของมันให้ชัด เสร็จแล้วเราก็มีเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันสมบูรณ์นั่นแหละ จึงจะศรัทธาอย่างจริงจัง คนไหนยังไม่ถึงขั้นบรรลุ อุภโตภาควิมุติ ไม่ถึงวิมุติจริงๆ ไม่มีวิมุติจริงๆ จะไม่เชื่อมั่น จะไม่เชื่อมั่น อย่างสมบูรณ์หรอก พูดถึงวิมุติจริงๆ จึงจะเชื่อมั่นอย่างสมบูรณ์ จึงจะเป็นศรัทธา ที่เป็นศรัทธาพละ เป็นศรัทธา อันเชื่อมั่นเป็นความเชื่อ ที่ไม่ได้เชื่อใคร เชื่อผล เชื่อสิ่งที่วิเศษที่เราได้ เรามี เราเป็น นั้นอย่างครบครัน ศรัทธาก็มีองค์ธรรมเหล่านี้

ทีนี้ศีลก็ขยายความซ้อนลงไปอีกว่า ศีลเมื่อปฏิบัติแล้ว เราได้ยินมาว่า ศีลจะขัดเกลากาย ขัดเกลาวาจา เรียนกันในเมืองไทย เรียนกันหมด ระดับเปรียญ ๙ ระดับพุทธศาสนบัณฑิต ปริญญาตรี โท เอก ระดับไหนก็ตาม เขาก็บอกว่า ศีลขัดเกลากายกับวาจา ทั้งนั้นแหละ อันนี้เป็นคำสอนของ พระพุทธโฆษาจารย์ในวิสุทธิมรรค ซึ่งมันไม่ใช่

พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสไว้ นี่เรา เอาคำสอนของพระพุทธเจ้าตรัสว่า ศีลเอามาปฏิบัติให้จริงจัง เกิดผล เกิดอะไร ได้อย่างไร ให้เกิดกุศล เมื่อปฏิบัติศีลให้เกิดการเจริญทางกุศล กุศลก็คือเกิดฉลาด เกิดความจริง เกิดเจริญขึ้นมาแล้ว จะต้องปฏิบัติศีลให้เข้าหลักว่าเป็นกุศล เกิดกุศลแล้ว มันจะเป็น อย่างไร มันจะเกิดความไม่เดือดเนื้อร้อนใจ เกิดอวิปปฏิสาร ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ มันกลายหรือ เริ่มต้น ท่านก็บอกว่า ปฏิบัติศีลดี ต้องปฏิบัติศีลถูกต้องเป็นกุศล ปฏิบัติศีลได้มรรค ได้ผล ขึ้นมาแล้วนี่ มันก็จะเกิดผล มันจะต้องมีองค์ประกอบยืนยันว่า ศีลมีกุศลอย่างนี้ ศีลมันก้าวหน้าอย่างนี้ ศีลมันเจริญอย่างนี้ ถ้าปฏิบัติศีลดีแท้ถูกทางแล้ว มันก็จะเกิดการไม่เดือดเนื้อร้อนใจ ไม่ใช่ หมายความว่า กายกรรมดี วจีกรรมดีเท่านั้น ไม่ใช่ ควบคุมกาย ควบคุมวจีจริง แต่จะต้องเป็นผล ถึงจิต จิตเกิดอวิปฏิสาร จิตเกิดความไม่เดือดเนื้อร้อนใจ แล้วจิตก็เกิดปราโมทย์ เกิดปีติ เกิดสุข เกิดสมาธิ สมาธิมันมาอยู่ที่มือ ที่กาย ที่วาจา หรือเปล่า สมาธิมันอยู่ที่จิต สมาธิคืออาการของ อธิจิต อาการของจิตที่เจริญ

เพราะฉะนั้น ปฏิบัติศีล จึงเป็นเรื่องของจิตอย่างยิ่ง พัฒนาจิตอย่างยิ่ง เห็นกันไหมว่า สอนกัน นอกลู่ นอกทาง สอนกันให้ธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า วิปริตกันไปตั้งเท่าไหร่แล้ว สอนกันผิดลู่ผิดทาง เอาหลักการนี้ มายืนยันก็ได้ อันนี้ อาตมาเคยพูดที่ปลุกเสกฯ ก็พูดแล้วว่า มีคนไปพบกับเปรียญ ๙ แล้วก็บอกว่า ศีลปฏิบัติแล้วจะเกิด ขัดเกลากาย วาจา เกิดขัดเกลาจิต ถ้าไม่ถึงจิต ก็ไม่ถือว่า ศีลนี้เป็นผล ไม่ถือว่าศีลนี้เป็นความเจริญ ศีลจะต้องปฏิบัติให้จิตนี่เป็นสมาธิ จิตนี้ เกิดเป็นอธิศีล ให้ได้ จึงจะเรียกว่าศีล ไม่มีศีล มีแต่ขัดเกลากาย วาจา ทำสมาธิจะเกิดจิต ไปทำสมาธิ เถียงกันใหญ่ เปรียญ ๙ กับเปรียญ ๐ พวกเรา นี่ละไปเถียงกับเขา ว่าไม่มีดอก ในพระไตรปิฎก เอาหลักฐาน มายืนยันซิ อาตมาก็บอก ไปดูที่กิมัตถิยสูตร ไปดูเลย เปิดพระบาลีดู เปรียญ ๙ เริ่มต้นตัวแรก ก็อวิปปฏิสารแล้ว เอากายตรงไหนล่ะ อวิปฏิสารมันเรื่องของใจ ไล่ไปเรื่อย ยิ่งปีติยิ่งปราโมทย์ สุข เรื่องของอาการ ของจิตทั้งนั้น ปฏิบัติศีลเกิดอาการของจิต ทั้งนั้น มีผลอย่างนี้ทั้งนั้นแหละ จำนน ยอมแพ้ ยอมแพ้ด้วยวาจาเท่านั้นแหละ เดี๋ยวนี้ก็ยังฟัง แต่ว่าไม่รู้จะเถียงอย่างไร เขาเถียงเพื่อว่า จะเอาชนะ แต่ว่าไม่ได้พิสูจน์ ไม่ได้เชื่อถืออะไรมากมาย เพราะเขาไปเชื่อถือหลักการ อย่างที่เขา เรียนมา ไปเชื่อถือทฤษฎีที่เขาเรียนมา น่าสงสารคนพวกนี้ แล้วก็ไปยึดติดอยู่ อย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้น คนพวกนี้ต้องอาศัย ถ้าไม่มีบุญของตนเอง อย่างพวกเรานี่ มีบุญของตนเองมาฟัง มีหมู่น้อย แล้วโดนว่าด้วยนะ เป็นเครื่องพิสูจน์ ใครจะเข้ามาอโศกได้

ทุกวันนี้เป็นการคัดตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นเครื่องสอบไล่ เป็นเครื่องสอบเข้าเอ็นทร้านซ์ เพราะว่าคนไม่ชอบ หรือคนไม่เห็นด้วยเยอะ คนเห็นด้วยน้อย แล้วโลกก็ชอบประชาธิปไตย ชอบเสียงหมู่มาก เอาเสียงหมู่มากเป็นประมาณ เพราะฉะนั้น ถ้าเสียงหมู่มากตัดสิน เอ้า ไอ้นี่เห็นด้วย เสียงหมู่น้อยตัดสิน ไม่ใช่ ยังไม่ถูกคนจะเอนเอียงด้วยเรื่องอย่างนี้ง่าย ยิ่งทุกวัน นี้ในโลก ประชาธิปไตยหรือเสียงหมู่มากเป็นสำคัญ ยิ่งประเทศประชาธิปไตย ก็ต้องเอาเสียงหมู่มาก ตัดสินซิ ชาวอโศกหมู่น้อย จะได้เรื่องอะไร ไปได้ก็หมู่น้อยๆนี่แหละ เพราะฉะนั้น คุณจะเห็นจริง ศรัทธาได้ คุณจะเลื่อมใสได้ คุณจะมีปัญญาที่จะมองแง่มองเชิง ของอย่างนี้มันดี มันถูก เอ๊ มันเข้าท่ากว่า แล้วก็ใส่ใจ มาฝึกหัด มาพิสูจน์ จนกระทั่งเกิดผล แม้แต่ศีล เอาศีลไปปฏิบัติ คุณจะต้องเห็น จริงๆว่า คุณเกิดความไม่เดือดร้อนใจ เกิดการลดปลดปล่อย เกิดการเบา เกิด การพ้นทุกข์ พ้นทุกข์จริงๆนี่มันที่ใจนะ พ้นทุกข์ไม่ใช่ที่อื่นหรอก กายมันอาจจะหนักขึ้นด้วยซ้ำ พวกเราปฏิบัติศีลมาแล้ว เอ้อ เรามาเจริญแต่กายหนักนะ ต้องตั้งตนอยู่บนความลำบาก ต้องทำอะไร แต่ว่า มันเบาใจ อวิปปฏิสาร มันไม่เดือดเนื้อร้อนใจเหมือนแต่ก่อน แต่ก่อนมันยุ่ง เสร็จแล้ว มันก็มีความ

ที่จริงเมื่อทะลุแล้ว ปฏิบัติศีลแล้วทะลุแล้ว เกิดญาณ ยถาภูตญาณทัสสนะ ยถาภูตญาณ หรือ ญาณทัสสนะ ตัวเห็นความจริงตามความเป็นจริง ที่มันเกิด มันเป็น มันมี มันได้ จากของจริงที่เราทำ ไม่ใช่ไปเห็นจากที่อื่น ที่อื่นก็เป็นตัวอย่าง ประกอบยืนยันเป็นเครื่องประกอบให้เราได้เหมือนกัน แต่ว่า มันไม่เหมือนรสที่เราได้ เป็นธรรมรส เราได้ละหน่ายคลายออก ได้รู้จักกิเลส ได้ลดกิเลสได้ ได้แล้ว ก็เบาจางจากกิเลส ศีลนี้ไปขัดเกลากิเลส ไม่ได้ขัดเกลาตัวอื่นหรอก ขัดเกลากิเลส ขัดเกลาสิ่งที่ติด ที่ยึด ให้เรานิพพิทา ศีลนี้เป็นผลเกิดปัญญา เกิดความนิพพิทาวิราคะ เกิดความหน่ายคลาย ปลดปล่อย เกิดการลดละ หน่ายคลาย เกิดการเว้นขาด ศีล เวรมณี จะต้องลด ต้องละ ต้องเว้น ต้องขาด ต้องหมดไป ถ้าปฏิบัติศีลจะต้องอย่างนั้น จะต้องหยุดเลิก ต้องเลิก ต้องหยุด ต้องละ ต้องเว้น ต้องขาด ต้องไม่เป็นอย่างที่เป็น ไม่มีอย่างที่มี ศีลจะเป็นการกำจัด ศีลนี่จะเกิดบุญ เกิดกุศล เกิดปุญญะ เกิดการชำระ เกิดการกำจัด เกิดการล้างสิ่งที่เราเคยเป็นเก่าๆก่อนๆออกไปได้ ปัญญาที่เห็นว่า เราล้าง เราลด เราละมานี่แหละ มันจะเกิดปีติ มันจะเกิดสุข มันจะเกิดสงบ ระงับ มันจะเกิดปัสสัทธิ แล้วมันจะเกิดความแข็งแรง ตั้งมั่นที่ใจ สมาธิที่ใจ เป็นอย่างนี้ เป็นอย่างที่เราเป็น อย่างใหม่นี่

ถ้าเรามาถือศีล แล้วเราก็จะเกิด กาย วาจา ก็ไม่เป็นอย่างนั้นแล้ว ใจตัวจริงนี่แหละเป็นตัวอำนาจ ใจตัวจริงนี่แหละเป็นประธาน เป็นตัวที่ทำให้เราไม่เป็นดอกอย่างนั้น ถึงเป็นก็เป็นได้ เป็นอย่าง เคยเป็นบ้าง เคยเป็นอย่างเขาเป็นน่ะ เราไม่สูบบุหรี่แล้ว จะให้เอาบุหรี่มาสูบก็สูบได้ ก็สูบอย่างนั้นละ สูบได้ ถ้าจำเป็น กินเหล้า เราก็เลิกแล้ว แต่ก่อนนี้เราติดเพราะเราไปหลงอร่อย หรือว่ามันเป็นสุข มันอะไรก็แล้วแต่เถอะ พอเราเลิกมาได้ ละ จาง คลายมาได้แล้ว เป็นสมาธิ เป็นญาณทัสสนวิเศษ เป็นยถาภูตญาณ นิพพิทาวิราคะแล้ว หน่ายคลายแล้ว นอกจากนิพพิทาวิราคะแล้ว ก็มีวิมุตติญาณทัสสนะด้วย มีองค์ศีลด้วย

ใครมีหนังสือก็เปิด อาตมาอธิบายเกลี่ยไปเกือบหมดแล้วนะ จากศีลที่เป็นกุศล แล้วก็มีอวิปปฏิสาร เกิดอวิปปฏิสาร เกิดความปราโมทย์ เกิดความยินดี เกิดความพอใจ เกิดความชื่นใจขึ้นมา ปราโมทย์นี่ละ แล้วก็เกิดความยินดียิ่งขึ้น ปีติ จากปราโมทย์ ก็ยิ่งปีติ ยิ่งเห็นชัดว่า มันน่ายินดีจริงๆ ปราโมทย์นี่มันก็เริ่มเกิดที่ใจ มาเป็นระดับ ๆ พอปีตินี่ก็ยิ่งยินดียิ่งชัด ยิ่งสูงขึ้น ปีติแล้วเราก็เห็น ซ้อนลงไปว่า ที่เราดีใจเพราะว่าเราเลิกได้ ละได้ ลดลง สงบลงได้ ปัสสัทธิ ไอ้เรื่องแต่ก่อน มันลำบากลำบนใจ ยังไงๆที่เราลดละได้ มันสงบ ลด กิเลสตายลง เห็นความไม่น่าเป็น ไม่น่ามี ไม่น่าได้ลงไปจริงๆก็เป็นสุข เป็นสุขอย่างสงบสุข เมื่อมันปัสสัทธิ เมื่อมัน สงบลง มันก็เป็นสุข อีกอย่างหนึ่ง เป็นวูปสโมสุข เป็นสุขอันสงบ ก่อนนี้หลงใหล ว่ามันเป็นสุขแบบโลกีย์ เสพสมสุขสม ตอนนี้ก็ไม่ต้องแล้ว ไม่ต้องเสพสมสุขสม ต้องสงบระงับ สุขใจ ชื่นใจ สุขอย่างนี้ ทำไปมากๆ ก็สั่งสมเป็นอธิ อธิจิต อธิศีล อธิปัญญา หรือเป็นสมาธิ หรือเป็นความแข็งแรง เป็นความตั้งมั่น เป็นความไม่เปลี่ยนแปลง ไม่คลอนแคลนแล้ว ตอนนี้จะเป็นอย่างนี้ เป็นของจริงที่เราได้ เราเป็น เรามี เห็นด้วยญาณทัสสนะ ยถาภูตญาณทัสสนะ ซ้อนๆๆ

อาการที่เราหน่ายคลาย นิพพิทาวิราคะ ต้องเป็นอย่างนี้ ปัญญา เราก็รู้เองเห็นเอง เป็นปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ เป็นการรู้ยิ่งเห็นจริงด้วยตนเอง เป็นตัวญาณ ตัวปัจจัตตัง ก็คือตัวเรา เวทิตัพโพ เวทิคือความรู้ เกิดความรู้ เกิดรู้เอง เห็นเองของตนเอง วิญญู-วิญญาณ วิญญูก็วิญญาณนั่นแหละ จิตวิญญาณเรานี่แหละ เป็นวิญญูชน ก็คือผู้มีวิญญาณอันชาญฉลาด เป็นธาตุที่รู้ยิ่ง รู้จริง รู้ด้วยความรู้ รู้ด้วยหลักการเหตุผล คำสอนพระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนี้ สอดคล้องเป็นจริงเลย ตรงตามพระพุทธเจ้าสอนจริงๆ เราก็เชื่อ ยิ่งเชื่อถือ ยิ่งมีศรัทธาในพระพุทธเจ้า เราจะเชื่อว่า พระพุทธเจ้ามีจริงนี่นะ ก็เพราะปฏิบัติสิ่งที่วิเศษ การลดละกิเลสได้เป็นคุณวิเศษ เป็นอุตริมนุสธรรม เป็นคุณวิเศษ ที่มนุษยโลกุตระทำได้จริง มนุษย์โลกียะไม่ได้แอ้มดอก มนุษย์โลกๆปุถุชน ไม่ได้แอ้มดอก การลดละกิเลส ลดละแล้วเป็นอย่างไร อารมณ์ของการลดละกิเลส เป็นรสอย่างไร เป็นธรรมรส เลิศกว่ารสทั้งหลาย เลิศกว่าโลกียรส ธรรมรสเป็นอย่างไรเขาไม่รู้เรื่อง

เราเหมือนคนชิมแกง ชิมแกงเอง รู้รสเอง เพราะเราปฏิบัติเอง ได้รสพระธรรมเอง มีรสแห่งธรรมเอง มันยิ่งวิมุติลงไป หน่ายคลายลงไปแล้ว ก็ โอ้โฮ จึงหน่ายโลกียะ หน่ายอย่างโลกๆอยู่ หน่าย อย่างที่เคยสุข เคยหลงว่ามันเป็นสุขแต่ก่อน โลกียสุขไม่ต้องมียิ่งกว่า วิเศษกว่า วูปสโมสุข นี่วิเศษกว่าสุขอย่างโลกียรส อยากได้ ก็ได้เสพสมสุขสมแบบนั้น อร่อยแบบโลกียะ เป็นอัสสาทะ เป็นรสอร่อยของโลก นี่เราไม่แล้ว ไม่มีรสอร่อยของโลก อย่างนี้พอใจกว่า เราจะรู้ว่าเราพอใจ ไม่ใช่แกล้ง เราจะเกิดความยินดี มีปีติ มีความยินดี มีความพอใจอย่างนี้ เราเกิดเองของใครของมัน จะมีความเห็นของตัวเอง จะมีความพอใจของตนเอง จะมีความยินดีของตนเอง จะเอาก็เอาตัวเอง จะไม่เอาก็ไม่เอา จะว่าโอ้ สู้ไม่ได้เฮอะ ไปเอาอย่างโลกๆดีกว่า เอาอย่างโลกสบายกว่า อย่างนี้มันไม่ไหว มันจืด มันชืด ไม่เต้นมันไม่ดี ต้องไปเต้นไปดิ้นถึงจะดี เขาก็ไปเอาอันโน้น แต่ใครเห็นมีแนวโน้มแห่งทัศนะ มีทัศนะมีความเห็น มีความยินดีมาดังนี้ คุณก็เอาทางนี้ เห็นทั้งประโยชน์ของมันว่าเป็นประโยชน์ตน แล้วตนเองหมดความร้อนเร่า หมดความดิ้นรน ความสงบ สบาย ถ้าเราจะสร้างสรร จะทำงานอะไร เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ไม่ต้องผลาญ ไม่ต้องเปลือง ไม่ต้องลำบาก หยุดได้ จบได้

เราจะเข้าใจเรื่องนิพพาน จะเข้าใจเรื่องที่ว่า เออ มันหยุดมันจบ มันไม่ต้องหมุนเวียน มันไม่ต้องมี สังสารวัฏ มันอย่างนี้เองละนะ ไม่ต้อง อยากแล้วก็เสพสม แล้วก็อยากใหม่ แล้วก็เสพสมอีก แล้วก็อยากใหม่ แล้วก็เสพสมอีก มันจะไม่เลย มันจะจบ ไม่ต้อง ไม่อีกเลย แล้วมันก็สบายดี แล้วก็มีคุณค่า ภาคภูมิใจในตัวเองได้ เราไม่ต้องทำให้แก่ตนเอง คนอื่นเขายังเป็นอย่างโน้น อย่างนี้อยู่ ก็สร้างสรรให้เขาไปบ้าง อันไหนมอมเมาเขานักก็ไม่ต้อง คนไหนที่ต้องมีฐานอาศัย ของโลกีย์บ้าง ก็อนุโลมเขาตามฐาน รู้ว่าเราทำอย่างนี้ เป็นการลดเขาเหมือนกัน อย่างกับตำรวจ ตำรวจเวลาที่เขาจับ คนติดฝิ่นมาได้ เขาก็จะมีฝิ่นมีเฮโรอีนไว้หมือนกัน แล้วก็จะลงแดงตาย อย่าเพิ่งให้มันตาย ให้มันบ้างนิดหน่อย พอมีเรี่ยวมีแรง พอที่จะสอนได้ พอที่จะเอามาสอบปากคำได้ พอที่จะทำอะไร อะไรได้ ได้ประโยชน์ อย่าเพิ่งให้ตาย ไม่ใช่ไปบำเรอนะ แต่ใช้อาศัยบ้าง มิฉะนั้น มันถึงขั้นตายเหมือนกัน นี้ก็เหมือนกันล่ะ อนุโลมให้คุณ เราก็อนุโลมลงไป พอ นี่หน่อยนะ ประเดี๋ยวมันจะลงแดงตาย ก็ยอมให้บ้าง แต่ไม่ใช่ไปบำเรอเขา อย่างนี้เป็นต้น ต้องประมาณ ต้องเข้าใจสิ่งเหล่านี้ เพราะฉะนั้นศีลก็สุดท้ายก็จะต้องมีความจริงเหล่านี้ เกิดผลจริงๆ เกิดลักษณะ ของฌาน ปีติสุข อะไรพวกนี้ ลักษณะของฌานทั้งนั้นแหละ เสร็จแล้ว สูงขึ้นไป จนกระทั่ง ตั้งมั่น แข็งแรง ก็จะเกิดความจริงว่าจะเกิดปัญญา เกิดสมาธิ เกิดปัญญา เกิดจิตแข็งแรง เกิดความเห็นจริง เป็นยถาภูตญาณทัสสนะ เกิดรู้ว่า ลักษณะหน่ายคลายเป็นอย่างนี้ ลักษณะของวิมุติ เป็นอย่างนี้ เกิดวิมุติญาณทัสสนะ ก็เกิดญาณทัสสนะ ก็คือปัญญานั่นละ ว่า อ้อ วิมุติเป็นอย่างนี้ จิตเป็น อนุตตรจิตเป็นอย่างนี้ จิตที่มีสมาธิหรือมีสมาหิตะ สมาธิในระดับที่ว่า เราก็อยู่กับมัน เหนือมัน มีประโยชน์ต่อผู้อื่นได้ สมาหิตะ และก็ไม่มีวิมุติจร ไม่มีแวบ ไม่มีวาบ แข็งแรง แข็งแรงจริงๆ กองกิเลสเหมือนกองภูเขา เพราะเราก็เหมือนอยู่ในที่ว่าง มีอุเบกขาเจตสิก มีจิตอุเบกขาที่มีคุณธรรม ๕ มีความบริสุทธิ์ มีความที่จะชุบพอก จะปะทะในกองกิเลส เท่าภูเขา เท่ากำแพง แข็งหยาบ กระด้างอย่างไร เราก็บริสุทธิ์อยู่อย่างเดิม ไม่ดูดไม่ซึม ไม่แตกไม่ร้าว ไม่แปรไม่ปรวน ไม่หวั่นไม่ไหว ไม่เอนไม่เอียง ไม่มีแม้แต่เศษธุลีละอองอะไร ที่จะเกิดเป็นธุลีหมอง ธุลีเริง ไม่เป็นไปตามโลกีย์อีกเลย จิตเกษม เขมัง เขมังจริงๆเลย

คุณจะรู้จะเห็นจะเกิดญาณที่อ่านรู้ อาการลิงคะนิมิต อ่านรู้ รูป นามที่กล่าวไว้นี่นะ อาการของจิต อาการของเจตสิก อาการของรสต่างๆ อาการของลีลาของจิตต่างๆ ก็จะเข้าใจลีลาของจิต นั่นล่ะ เป็นผู้ที่มีปัญญาญาณ ทางปรมัตถสัจจะ จิต เจตสิก รูป นิพพาน นี่ไม่ใช่ไปเรียนอภิธรรม ท่องตัวหนังสืออยู่ อุอุอังอังอุอุอังอัง ใครเรียนอภิธรรม โอ ท่องกันไปเถอะ อาตมาเอง ยังไม่ไปท่องด้วยเลย ทุกวันนี้ ฯลฯ...

สุดท้ายศีล สรุปแล้วก็คือศีลเกิดสมาธิ เกิดฌาน เกิดวิมุติ มีปัญญา เห็นวิมุติ ไม่ใช่ว่าเกิดปัญญา เพราะว่าเราเข้าใจด้วยความรู้ แค่จินตามยปัญญา สุตมยปัญญา ปัญญาฟังเขามา ปัญญาคิดนึกเอาเอง ไม่ใช่แค่นั้น เป็นปัญญา ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดผล เกิดของจริง เห็นของจริงตามความเป็นจริง นี้เรื่องของศีลนะ

ทีนี้มาเรื่องหิริบ้าง เข้าหาหิริ หน้า ๑๔ อานิสงส์ของหิริและโอตตัปปะ เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ อินทรีย์สังวรย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย คำว่า อุปนิสัยเราก็คงจะเข้าใจนะ อุปนิสัยก็คือที่มันติด เราสั่งสมอบรมเข้าไป มันก็ติดเป็นตัวเรา เป็นอุปนิสัย เป็นสันดาน แต่ภาษาไทย มาฟังคำว่าสันดาน มันไม่ค่อยดี มันติดเป็นตัวเรานี่แหละ ทีนี้ถ้าสันดานที่ดี เราไม่เรียกว่าสันดาน เราเรียกว่าบารมี สิ่งที่เราสั่งสม ตัวเราได้นี่ บารมีเกิดได้เพราะเราสั่งสมเป็นกรรม จากกรรมมาเป็นบารมี นี่สิ่งดี เราเรียกสิ่งดีที่เราได้ในตัวเราเป็นอุปนิสัย ในตัวเรานี่ ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า habit เป็นนิสัย นั่นละ ฯลฯ.. มันเกิดที่เรา เกิดสั่งสมเป็นสันตานะหรือสันดาน แต่เขาเอาไปเรียกสันดาน เอาไปเรียกตัว นิสัยที่เลว นิสัยชั่วเป็นอกุศล เขาไปเรียกส่วนเลว ก็แล้วไป เราก็เข้าใจให้ได้ ที่จริงมันก็คือสิ่งที่สั่งสม จนกระทั่ง ติดสันดานติดตัวเราเป็นบารมี เป็นตัวคุณค่าที่เป็นเองมีเองได้ โดยที่ไม่มีใคร มาบันดาลดอก

เราต้องสั่งสมโดยกรรม ทำมาปางไหนก็แล้วแต่ มาทำปางนี้ชาตินี้ก็ทำเข้าไป ทำให้มากๆ ทำให้บ่อยๆ ทำให้ย้ำๆซ้ำๆ ซ้ำๆซากๆ การทำอะไรซ้ำๆซากๆ ถ้าเป็นกุศล มันเป็นของดี ซ้ำซากในกุศล อกุศลอย่าไปซ้ำซากมัน เลิก เลิก เว้น หยุด ขาด อกุศล ทุจริตเลิก ส่วนสุจริต สิ่งที่ดี สิ่งที่เป็นกุศล ซ้ำ ซ้ำๆเข้าไป มันไม่อยากซ้ำ ก็ซ้ำอย่าขี้เกียจ อย่านึกว่าตัวแน่แล้ว กุศลเที่ยงมั้ย ไม่เที่ยง ก็ต้องซ้ำมัน มากๆ มีเวลาเท่าไร ก็ต้องทำมันมากๆ ให้มันเป็นอย่างนี้แหละ กาย วาจา ใจ ซ้ำ ใจเราก็ต้อง ปล่อยวาง ใจเราก็ต้องรัก จนกระทั่งไม่รังเกียจ มีเมื่อไรเราก็... ยินดีที่จะยืนอยู่ในตรงนี้ อยู่ในอย่างกุศลนี่แหละ กายก็กุศล วาจาก็กุศล มโน จิตก็กุศล ซ้ำย้ำอยู่อย่างนี้แหละ ไม่เที่ยง เวทนาก็ไม่เที่ยง สัญญาก็ไม่เที่ยง สังขารก็ไม่เที่ยง วิญญาณก็ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงทั้งนั้นแหละ เพราะฉะนั้น ในสิ่งที่มันยังตั้งอยู่ ต้องย้ำต้องซ้ำ มันไม่เที่ยงหรอก ไม่ขัดแย้งกับคำสอนของ พระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะมีรูปมีแบบ มีสิ่งที่เห็นได้รู้ได้ ก็ให้มันอยู่ในกุศล แล้วก็ต้องซ้ำ ต้องย้ำ ต้องแน่น ต้องเป็นอยู่อย่างนี้ ตลอดเวลานะ

เพราะฉะนั้น เรื่องที่จะสมบูรณ์อยู่ด้วยอุปนิสัยนี่แหละ มันจะเกิดได้ก็เพราะอะไร เพราะอินทรียสังวร เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ อินทรียสังวรย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เพราะฉะนั้น จะมีหิริโอตตัปปะ เมื่อเราเกิดจิตจริงๆ บอกแล้วว่าลักษณะของหิริ คือ มันรู้สึกว่า เอ้อ แต่ก่อนนั้นเรานึกว่ามันดี ตอนหลังเราไม่ดี หนักเข้าๆจะรู้สึกอาการที่ใจจริงๆเลย มันไม่น่าไปทำเลยเรา แต่ก่อนนั้น ทำไมทำ ไม่อายนะ เดี๋ยวนี้เมื่อเห็นแล้วว่า มันน่าอาย มันไม่น่าไปทำเลย มันซ้อนเชิงอย่างหนึ่ง แต่ก่อนนี้ เราไปทำ โดยความยินดี ไม่อาย รู้สึกว่าโก้เก๋ด้วย พอเรารู้สึกรังเกียจ รู้สึกว่าน่าอาย ไปทำทำไม เราเลิกมาได้ เลิกมาได้ เลิกมาได้ เราไม่กล้าบอกคนอื่นด้วยซ้ำไปตอนแรก รู้สึกว่าที่ไปทำก็ ไม่อยากจะบอกว่าเราเคยทำ ตีกลับ พอใจมันมีมานะ มันก็จะเอามา พอเราได้ชัด ชักแน่ใจว่า เราได้แล้ว มันจะเอาไปถล่มคนอื่น นี่นะ มันตีกลับ ตอนนี้เปิดเผยแล้วว่า ฉันเคยเป็น ฉันเคยบ้า เดี๋ยวนี้ฉันเราไม่บ้าแล้ว ก็เลยไปถล่มคนก็เป็นจะบ้าอีก ระวัง ระวังมันจะเป็นอย่างนั้น มันจะกลับไป กลับมาบ้าง พอมีมานะตอนแรกมันจะไม่กล้าพูด เดี๋ยวเขาจะรู้ว่า ฉันก็เพิ่งจะเลิกมา พอฉันเลิก มาได้นานแล้ว ชักจะลืมแล้ว ฉันก็เลยเอาไป ตอนนี้กล้าพูด นี่ไม่ใช่แกล้วกล้า อาจหาญ ในการแสดงธรรม แต่ก็เป็นการแกล้วกล้าอาจหาญ มันห่ามเลยแหละตอนนี้ แล้วมันมีมานะ มันชัก จะเอาไปข่มเขา แล้วก็จะเอาไปถล่มทลายคนอื่นเขา เสร็จแล้วก็ปากเป็นสีออกมา ชักศึกเข้าบ้าน มาตอนนี้ พวกเราจะชักศึกเข้าบ้าน พอชักได้ก็ไปอาละวาดคนอื่นเขา ไปถล่มทลายเขา โดยไม่มีประมาณ โดยการประมาณไม่เป็น

เพราะฉะนั้นระวัง มานะพวกนี้มันจะซ้อน เชิงกลับไป กลับมา อย่างนี้ได้ พอเราอายเราก็ไม่กล้าพูด ของเราก็ยังไม่ขาด ยังไม่สูญ ก็ยังไม่ค่อยกล้า พอเราจะขาด จะสูญ ชักจะได้ได้ ขึ้นมาบ้าง บางทีได้ ยังไม่สมบูรณ์หรอกทำแอ๊ค ไปเที่ยวระรานเขา ดีไม่ดีตัวเอง หนักเข้าประมาท วนเวียน กลับไป ที่เก่าอีก ทีนี้อายน่าดูเลย ไหนว่า ไม่ดียังไง ไหนไปถล่มคนอื่น ไหงตัวเองจะไปขยำขี้ อยู่อย่างเก่า ทีนี้อายหนักหนา ระวัง ระวังจะเป็นอย่างนั้นเถอะ มันดีเหมือนกันนะว่าเที่ยวไปถล่มเขา ตัวเอง ยังได้ไม่หมด ถล่มเขาแล้ว มันเป็นเรื่อง อย่าเชียวนะแก ขืนแกกลับไปอีกที ไหน ไปถล่มเขาแล้ว ทีนี้แกกลับไปอีกทีแล้ว ทีนี้แกไม่ได้ผุด ไม่ได้เกิดเลย เขาถล่มแกไม่ได้เงยหัวเลยละทีนี้นะ มันก็เป็น เครื่องป้องกันให้เราจะต้องเดินหน้าต่อไป อย่าถอยเป็นอันขาดเชียวนะ ถ้าขืนถอยตายเชียวนะ รู้ในเชิงดีมันก็มีผลดีต่อเราเหมือนกัน แต่ระวัง ตายเอาดาบหน้า หือ (หัวเราะ)

เราเข้าใจลักษณะมันแล้ว ดูเอาก็แล้วกัน อย่างโลกๆ แต่ก่อนเรานึกว่า เราได้เงินได้ทอง น่ายินดีปรีดา ตอนหลังๆมา ที่เราไปโลภโมโทสัน เอารัดเอาเปรียบกันมา ไม่กล้า แล้วเราก็ไม่อยากทำ แล้วมัน จะจริงใจ จริงใจ เราไม่อยากทำดอก นา ไปโลภโมโทสันมา แต่ก่อนได้ยศได้ศักดิ์ กระดี๊กระด๊า ตอนหลังมาก็โถ! ตอนแรกพอเราเลิกยศ เลิกศักดิ์มาก็จะห่าม อย่างที่ว่าคนนั้นคนนี้มียศ ก็ไปข่มเขา อย่างโน้นอย่างนี้ อย่าไปข่มเขา ประเดี๋ยวจะเกิดทีหลัง มันจะลำบาก ตอนหลังมาเราก็เฉย คนที่เขามี เขายินดี ก็เป็นเรื่องของเขา เราไม่ยินดี ก็ไม่ยินดี

แม้ยศเราจะต้องมีอยู่อย่างคนที่ทำงานอยู่นี้ ยังมียศมีศักดิ์ เดี๋ยวนี้ก็ขึ้นซี ๘ ซี ๙ ซี ๑๐ ถ้าคุณจำเป็น วิบากของคุณ ก็จะต้องทำงานอย่างนั้นอยู่ ก็ทำไปเถอะ แต่ถ้าเราเห็นว่า เราเลิกมาได้ ไม่ต้อง ออกมาได้ คุณก็ไม่อยากได้ซี ๙ ซี ๑๐ ซี ๑๑ ซี ๑๒ ซี ๑๓ ขึ้นไปอีก ถ้าเขาตั้งต่อนะ ก็เท่านั้นแหละ เราทำงานได้ เราเห็นว่าจะทำงานได้ก็มาเอา เพราะฉะนั้นเราจะไม่ยินดี ในลาภในยศ ในราคะ ในกาม ในอะไรก็แล้วแต่ เหมือนกันทั้งนั้นแหละ แต่ก่อนนี้ เราก็เกิดยินดี อร่อย ตอนหลังมา เราก็ไม่อร่อย ไม่ยินดีแล้ว เราก็วางปล่อยมาได้ มีหิริ มีโอตตัปปะ มีลักษณะจะต้องเห็นจริงๆ เลยว่า แต่ก่อนเรายินดี เราอยากได้ เราหลงใหล เรานึกว่าเป็นคุณเป็นค่า ตอนหลังมา โอ้ เราไม่ดี เราไม่อยากได้ เรารู้สึกว่า มันไม่น่าเป็น มันไม่น่ามีด้วยซ้ำ

เราจะต้องเป็นผู้ที่มี ถ้าเราเริ่มต้นหิริเริ่มต้นโอตตัปปะ แล้วเราก็จะเริ่มสังวร เราจะเริ่มปฏิบัติ เพื่อลดละ จึงจะเรียกว่า เราเริ่มปฏิบัติเข้าหลักของพระพุทธเจ้า เอาศีลมาตั้งให้แก่ตนเองตามฐานะ ศีลนี่เป็นตัวกำหนด ตามฐานะ ลำดับบุคคล เพราะฉะนั้นใครจะมีศีล ก็ไม่รู้ตัว ไม่มีสักกายะ ไม่รู้จักสักกายะของตน เอาถือศีลเคร่งๆศีลสูงๆ ตะกละตะกลาม เดี๋ยวเข็ดแล้ว ไม่ได้ผลด้วย เพราะฉะนั้น ต้องรู้ว่าตัวเอง มีอินทรีย์พละเท่าไร ทำให้ได้ ถ้าเรามีบารมีมาเก่า คุณตั้งศีลไม่สูงเท่าไร แต่ที่จริงเราได้แล้ว เรามีบุญเก่า แค่นี้ เราก็ทำได้ คุณก็จะทำง่าย คุณก็เพิ่มศีล เพิ่มศีล เพิ่มศีลขึ้นไป มันก็จะได้ ถึงขีดของเรา อ้อ ศีลสูงขึ้นมาขนาดนี้ ชักจะขืน เข็นแล้วนะ ชักจะต้องฝืนๆนั่นละ ปฏิบัติไป

ถ้ามันเข็นมากๆ อย่างหนัก ฝืนๆเลยเดี๋ยวเข็ด เดี๋ยวจริงๆเกิน มัชฌิมา เกินความพอเหมาะ พอดีของตน ไปไม่รอด เออ ไปไม่รอด เข็ดด้วย ระวัง เพราะฉะนั้น ศีลจะเป็นตัวที่จะต้องรู้กำหนด ของแต่ละบุคคล ซึ่งเราเองก็บอกใครก็ตายตัวยาก นอกจากเขาคบคุ้นกันถึงบอกว่า ศีลขนาดนี้ คุณไม่ไหวดอก ถ้าไม่คบคุ้นก็รู้ว่า อินทรีย์พละเขาไม่ถึง ให้มาทำไปประมาณนี้ก็ได้ ถ้าอยู่ ด้วยกันคบคุ้นกัน ก็อาจบอกกันได้ ได้ศีลแล้วเราก็เอามาสังวร เพราะฉะนั้นใน จรณะ ๑๕ ต้องมี สังวรศีล สำรวมอินทรีย์ ต้องตั้งศีล ต้องมีศีล แล้วก็มาสำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กายวาจาใจมีสติปัฏฐาน ๔ มีสัมมัปปทาน ๔ ด้วยอิทธิบาท ๔ สูตร ๔,๕,๗,๘ ไม่ใช่เลขหวยนะ ๔,๕,๗,๘ สูตร ๔,๕,๗,๘ ก็เคยอธิบายแล้ว โพธิปักขิยธรรม เราปฏิบัติด้วยมรรค ๘ ปฏิบัติ ด้วยโพชฌงค์ ๗ นี่แหละ โดยองค์ ๔ ก็คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปทาน ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นตัว ปฏิบัติแท้ ๔ ตัว ๔ หลักการนี้ ๔ ทฤษฎีนี้ มันเป็นอย่างไร ให้มันมีในตัวเรา เราทำ มีสติปัฏฐาน มีรู้ในองค์ประกอบของกาย เวทนา จิต ธรรม แล้วก็ปฏิบัติไป มีสังวรปธาน ปหานปธาน ภาวนาปธาน อนุรักขนาปธาน ต้องให้เกิดผล  ปธานคือการเกิดผลขึ้นมาจริงๆเรื่อยๆ  ด้วยความเพียร ด้วยอิทธิบาท มีฉันทะในการปฏิบัติมีวิริยะพากเพียร มีการเอาใจใส่ มีการพิจารณา สอดส่องเห็นผล ที่เรากระทำจริงๆนะ เกิด

พอทำแล้วมันก็จะมีอินทรียสังวรและศีล ก็ย่อมสมบูรณ์ ด้วยอุปนิสัย คือมันจะเกิดได้ ได้ จนมันปกติ ศีลก็จะเป็นนิสัย ศีลเมื่อเป็นนิสัยเป็นอย่างไร ศีลสั่งสม ขัดเกลา จนตั้งกลายเป็นอัตโนมัติ กลายเป็น อุปนิสัย กลายเป็นสิ่งที่เป็นบารมีของเรา เราไม่เรียก สันดาน เราเรียกว่าเป็นบารมี มันยังสั่งสม จนกระทั่ง เราทำได้เป็นปกติ เป็นธรรมดา เป็นได้โดย ไม่ต้องไปสังวร ไม่ต้องไปคอยระมัดระวัง ไม่ต้องไปคอยสติปัฏฐานอยู่แล้ว พอได้แล้ว ก็ไม่ต้อง สติปัฏฐานแล้ว คนที่ยังไม่ได้ ก็ต้องสติปัฏฐานไปก่อน เมื่อมีศีล สัมมาสมาธิย่อมสมบูรณ์ ด้วยอุปนิสัย เพราะฉะนั้น เมื่อมาสังวร เมื่อมีอินทรีย์สังวรแล้ว เราก็เกิดศีลย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย พอสมบูรณ์แล้ว พอศีลเป็นอุปนิสัย ก็จะสั่งสมออกมาเป็นสัมมาสมาธิ

เห็นไหมว่าสัมมาสมาธิตัวนี้ ไม่ได้เรียกสมาธิเท่านั้น เรียกสัมมาสมาธิ เพราะเกิดจากการปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา ตามมรรคองค์ ๘ มันก็จะสั่งสมลงเป็นสัมมาสมาธิ สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย ก็จะตั้งมั่นลงเป็นอุปนิสัยหรือเป็นบารมี เป็นบารมีของเราไปเรื่อยๆ เมื่อมีสัมมาสมาธิ ยถาภูตญาณ ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย มันก็จะเกิดปัญญาเกิดอธิปัญญา สมาธิจะมีปัญญาสอดส่อง รู้ความจริง ตามความเป็นจริง ตามรู้รูป รู้นาม รู้อารมณ์ รู้กิเลสว่ามันลด มันจาง มันคลาย รู้ปีติ รู้ปัสสัทธิ รู้จักความสุขสงบระงับ รู้จักว่าสิ่งที่เราหน่าย เราคลาย เราจาง ปลดปล่อยไป ได้อะไรเท่าไร เกิดวิมุตติญาณทัสสนะ รู้ว่า โอ้ เราวิมุติแล้ว เราเกิดญาณปัญญา เห็นความจริงตามความเป็นจริง ว่าวิมุติเป็นอย่างนี้หนอ นี่ได้วิมุติแล้วนี่ ในระดับที่ว่าตอนแรกๆ แค่ปฏิบัติใหม่ๆ ก็อาจได้แค่ ตทังควิมุติ วิกขัมภนวิมุติ วิมุติเป็นช่วงๆคราวๆ ได้ลดลงไปได้หน่อยหนึ่ง เป็นครั้งคราว เรียกว่า ตทังคะ วิกขัมภนะก็กดข่มเอาบ้าง จนกระทั่งเก่งขึ้น เรียกว่าปีติ ปัสสัทธิ จะสงบระงับลงเก่งขึ้น ทวนไปทวนมา ก็ชักจะได้เก่งได้ยาวได้นาน ได้ถาวรขึ้นมา จนเป็นนิสสรณวิมุติ วิมุติแบบเร็ว วิมุติแบบคล่องแคล่ว วิมุติแบบได้ทั้งมีกำลังและก็รวดเร็ว ถ้าเผลอหน่อย มันก็เข้ามาเล่นงานกับเรา

แต่พอเราเคลื่อนไหว อย่างเป็นจอมยุทธนี่แหละ พวกที่ไม่มีฝีมือเท่าไหร่ จะลอบฆ่าจอมยุทธ จะลอบเล่นงานตอนเผลอ จะสู้ต่อหน้าเดี่ยวต่อเดี่ยว สู้จอมยุทธไม่ได้ดอก พอเราชักจะเป็น จอมยุทธแล้วนี่นะ พอแวบจะเผลอๆนิดหน่อย พวกกเฬวรากมาเป็นฝูงอย่างไรก็แล้วแต่ พอเรารู้ตัวปั้บ พวกนี้จะถอย รีบวิ่งจู๊ดหนีทันที นิสสรณวิมุติจะเป็นเช่นนี้ เพราะว่าเขาไม่กล้าสู้ดอก เพราะว่าเราแข็งแรง เราสามารถ เรามีวรยุทธ เรามีอะไรเก่งขึ้นแล้ว พวกกิเลสมันไม่กล้ารอหน้า มันไม่กล้ารอหน้า เหมือนพวกผู้กล้านัก ใช้ภาษาอะไรเขาเรียกอะไรจอมยุทธก็จอมยุทธ ไอ้ที่ ไม่ใช่จอมยุทธเขาเรียกนัก หา เพิ่งจะฝึกฝนขึ้นมาให้กลายจะเป็นจอมยุทธขึ้นมาให้ได้ เพียงแต่ก็ยังไม่มีฝีมือ ยังไม่เก่งเท่าจอมยุทธ นั่นล่ะ พวกนี้จะไม่กล้ารอนราญ เหมือนกิเลส ก็ปราบปรามไปอย่างนี้ สู้กันไป นิสสรณวิมุติก็เหมือนกับว่า เรานี่แกล้วกล้าขึ้นมาก กิเลสนี่ ถ้าเรามีสติ มีกำลังอยู่ รู้ตัวเต็มที่ พร้อมที่จะใช้วรยุทธ กิเลสมันไม่กล้าสู้ดอก กิเลสจะกลัวเรา มันจะเป็นลักษณะอย่างนั้นจริงๆ ไม่ต้องไปทำ ไม่ต้องไปกดไปข่ม ไม่ต้องไปเที่ยวที่ใช้วิธี อัดกำลังภายใน นี่ไม่ต้องหรอก แค่เห็นหน้าก็เพราะว่า จอมยุทธเคลื่อนไหวตัว พอรู้ตัวเท่านั้นวิ่ง แล้วพวกมือกระบี่ กเฬวราก เมื่อกี้พยายามจะเอาคำว่า มือกระบี่ ฝึกหัดมาตามธรรมดานี่นะ พอรู้จอมยุทธเคลื่อนไหวตัว รู้ตัวเท่านั้นแหละ คอยลอบฆ่าเท่านั้น คอยลอบที่จะเอาตีไม่รู้ตัว เท่านั้นแหละ พวกมือกระบี่ขี้หมาพวกนั้นแหละ เออ นี่คือกิเลส (ถามอะไรรู้ไหม) ตอบมือกระบี่ นั่นแหละ ชัด เพราะฉะนั้น จอมยุทธที่เป็นเสมือนกระบี่ชั้นหนึ่ง มีฝืมือขึ้นมา จริงๆแล้วนั้น พวกมือกระบี่กเฬวราก จะรอเล่นงานตอนเผลอ แต่ถ้ารู้ตัว มี สติ อยู่เมื่อไรละก็ นิสสรณวิมุติ มือกระบี่วิ่งหูจุกตูดหนีไปเลยไปทันที แล้วนิสสรณวิมุติ คือสลัดได้เร็ว และคล่องแคล่ว อย่างนี้เป็นต้น สุดท้ายสมุจเฉทวิมุติ จะมีสติ ไม่มีสติ จะรู้ตัว ไม่รู้ตัว วิมุติตลอดเวลา เออ สมุจเฉทวิมุตินี่เด็ดขาด

เพราะฉะนั้น เราจะมีสัมมาสมาธิ จะมีญาณปัญญา ยถาภูตญาณทัสสนะ จะทำให้เราได้เรียนรู้ ได้เห็น เพราะเราเกิดปัญญา รู้ความจริง ของจริง ไม่ได้มีใครมาหลอก ไม่มีตัวทฤษฎี ตัวปรัชญา ตัวหนังสือ หลักการอยู่เท่านั้น แต่เราได้ปฏิบัติจริง เกิดผลจริง เห็นจริง แม้นามธรรม แม้สิ่งที่ลึกซึ้ง ละเอียดก็เห็น มีสิ่งที่รู้เรียกว่าตัวญาณ สิ่งที่ถูกรู้หรือสิ่งที่รู้ เรียกว่า นามธรรมของเรา เข้าไป เป็นญาณปัญญา รู้สิ่งที่ถูกรู้นั้น แม้จะเป็นนามธรรม แม้จะเป็นอรูปธรรม แม้จะเป็นสิ่งที่ลึกละเอียด ไม่เป็นตัวตน อย่างหยาบแล้ว ไม่ใช่ดิน ไม่ใช่น้ำ ไม่ใช่ไฟ ไม่ใช่ลม ขนาดระดับของอาการของอากาศ อาการของจิตวิญญาณ จิตวิญญาณผี จิตวิญญาณสัตว์นรก จิตวิญญาณเทวดา ก็อ่านออก อย่างไรเรียกว่า อาการจิตวิญญาณเทวดา อย่างไรเรียกว่าอาการของผี อาการของผีหมดไป ไม่มีแล้ว มีแต่อาการของเทวดาชั้นสูง ถึงขั้นเทวดาชั้นสูง วิสุทธิเทพ ก็คืออาการที่เราเองได้ เราเองเป็น อ้อ อุบัติเทพ เทวดานี่เกิดจริงเป็นอย่างนี้ นี่เราเกิดเป็นเทวดา เทวดาสูงขึ้นจริง เพราะละลดกิเลส จนกระทั่ง กิเลสหมด บริสุทธิ์ เรียกว่า วิสุทธิเทพ เป็นเทวดาที่บริสุทธิ์จากกิเลสแล้ว กิเลสตายเกลี้ยง ตายสนิท ตายไม่ฟื้น เป็นวิสุทธิเทพ สมบูรณ์ เป็นอย่างนี้เอง เป็นอย่างที่เราเป็น เป็นอย่างที่เรามี ไม่ใช่ไปแอบดูลอยตุ๊บป่องตุ๊บป่องมา โอ เทวดาวิสุทธิเทพลอยมา ไม่ใช่ อันนั้นไม่ใช่ เราจะรู้ได้ว่า เป็นของเรา เหมือนเราซดน้ำแกงเอง มีธรรมรสเอง รู้รสของวิมุติ อ้อ เรามีวิมุติ เรารสวิมุติ ถึง วิสุทธิเทพ เทพที่วิสุทธิ บริสุทธิ์แล้ว มีวิมุติรสเป็นอย่างนี้ รสของธรรมะถึงขั้นบริสุทธิ์สุญญตา ไม่มีกิเลสนี่ มันเป็นรสอย่างนี้ มันเลิศกว่ารสใดๆในโลก เราจะพอใจของเราเอง เราเป็นเทวดา ยินดีในวิมุติ เป็นวิสุทธิเทพชั้นสูง ยังจะต้องเป็นญาณเป็นปัญญาที่เรารู้รส ก็เป็นปัญญาของเรา ได้ซับซาบ เป็นยถาภูตญาณของเรา หรือเป็นวิมุตติญาณทัสสนะของเรา ดังนั้น จะเห็นเลยว่า โอ ความจริงมีหิริโอตตัปปะ ก็มียถาภูตญาณทัสสนะ และก็มีนิพพิทาวิราคะ แล้วก็มี วิมุตติญาณทัสสนะ คล้ายกับศีลเมื่อตะกี้นี้

ศีลปฏิบัติเป็นกุศล แล้วมันก็จะลงท้ายด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ นิพพิทาวิราคะ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์เป็นประโยชน์ หิริโอตตัปปะก็มีประโยชน์ ลงท้ายก็เช่นเดียวกัน ในตอนต้นเพราะมีหิริ แล้วมันก็จะเกิดการสังวร ไม่มีใครมาบังคับเราหรอก เราจะสังวรของเราเอง เราจะทำของเราเอง เราจะปฏิบัติของเราเอง มีอินทรียสังวร

ทีนี้ หลักการของพระพุทธเจ้าท่านก็เอามาบอกไว้ ถ้าเราเองทำเรา ทำเราก็เข้าล็อคนี้ มันไม่เข้า เราก็ทำเสียซิ พระพุทธเจ้าท่านชี้นำทาง เขียนแผนที่เอาไว้แล้ว เดินตามเป๊ะๆเลย ท่านบอกไม้บรรทัด ไว้แล้ว เป็นทางแล้ว เดินตามเลย อินทรียสังวร เสร็จแล้วก็เกิดศีลที่มีผล ศีลที่เป็นกุศล มันมีผลอย่างไร กุศลอย่างไร เกิดสัมมาสมาธิอย่างไร พอเกิดสัมมาสมาธิ อย่างที่เรียน มาแล้วละ เออ ศีลก็จะเกิดอวิปปฏิสาร ทั้งเกิดปราโมทย์ ปีติสุข เกิดสมาธิ เกิดยถาภูตญาณทัสสนะ อะไรอย่างนั้น มันก็เกิดจริงๆ

ที่อธิบายนี้ไม่ใช่ตัวหนังสือ ฟังดีๆนะ อธิบายนี้ไม่ใช่ตัวหนังสือ แต่ก็เอามาจากตัวหนังสือ เอามา อธิบายสภาวะให้คุณฟัง ใครมีคนนั้นจะเข้าใจชัด ใครยังไม่มีก็พยายามตามไป พยายามปฏิบัติ ตามไปเรื่อยๆ หิริ ก็จะเกิดคุณค่า ลงท้ายหิริหรือโอตตัปปะ ก็จะเป็นวิมุตติญาณทัสสนะ เหมือนกัน บรรลุธรรมนั่นแหละ สูงสุดนั่นแหละ

ทีนี้จากหิริโอตตัปปะมา ไม่ต้องขยายต่อนะ หิริโอตตัปปะจะมีนัยเดียวกัน สั่งสมเป็นอุปนิสัย หรือสั่งสมเป็นบารมีเหมือนกัน โอตตัปปะมันตัวละอาย จนกระทั่งถึงเกรงกลัวต่อบาป ต่อสิ่งที่มันน่าเลิก มันน่าละ น่าหลุด น่าพ้น น่าเว้น น่าขาดมา

ทีนี้สุตะ พอมาถึงสุตะแล้ว ท่านก็อธิบายด้วยว่า ผู้ที่มี ฟังดู สูตรที่ท่านขยายความของสุตะนี่ดีนะ ผู้มีสุตะน้อย ไม่เข้าถึงสุตะ ได้แก่สุตะมีอะไรบ้าง ฯลฯ..

มีลักษณะของความรู้ สุตะนี่คือความรู้ ผู้รู้มาก พหุสัจจะ พหุสุตะ ผู้รู้ ในหลักของความรู้ มันมีสุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะหรือชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ นี่ ๙ ตัว นว แปลว่า ๙ เขาเรียกว่า นวังคสัตถุศาสตร์ คำสอน ๙ ลักษณะของพระพุทธเจ้า ความรู้ ๙ ลักษณะ ของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระพุทธเจ้ามีลักษณะองค์ ๙ อย่างนี้นะ

ทีนี้ในนวังคสัตถุศาสตร์ที่เขาเรียนกันมา เขาเรียน เขาไปแบ่ง ในพระไตรปิฎกว่า สุตะได้แก่ อุภโตวิภังค์นิเทศ (ฟังไม่ชัด) อาตมาอ่านภาษาให้ฟังเท่านั้น แล้วก็ผ่านไปเลยนะ เพราะว่าพูดไปแล้ว มันก็ไปแบ่ง ก็ต้องไปนั่งดูว่าอย่างไร พระไตรปิฎกหมวดไหนเรียกว่าอุภโตวิภังค์ หมวดไหนเรียกว่า นิเทศ หมวดไหนเรียกว่า ขันธกะ หมวดไหนเรียกว่า ปริวาร หรือว่าพระสูตร ในสุตตนิบาตทั้งหลาย คืออันไหน คุณก็จะต้องไปเรียน อ้อ ที่จัดไว้นี้ๆ นั่นก็เป็นเรื่องของหลักวิชา เรื่องของตำรา เรื่องของหมวดหมู่ ของวิชาการ เขาก็เรียนกัน สุตะ ก็อย่างนั้น

เคยยะก็ได้แก่ ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรอง ผสมกัน หมายเอาพระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด เป็นตัวคาถา ก็คือ ตัวย่อ คาถาก็คือตัวเอามาร้อยกรอง มาเรียบเรียงให้เป็นคำที่ เราเรียกว่า คาถาก็ดี เรียกว่าโศลกก็ดี อะไรพวกนี้ เอามาให้เป็นหลัก เป็นตัว สุภาษิตอะไรอย่างนี้เป็นต้น โดยเฉพาะ ศรัทธาธวรรค ในสังยุตตนิกาย เคยยะ

เวยยากรณะ ก็ได้แก่ความร้อยแก้วล้วน เวยยากรณะก็ขยายไปเลย ร้อยแก้วล้วน หมายเอา พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และ พุทธพจน์อื่นใด ไม่จำกัดเข้าในองค์แปด ข้อที่เหลือ ที่มันต่างจาก อีก ๘ ข้อ มันมี ๙ ใช่ไหม เวยยากรณะ นี่ข้อนี้ อันไหนไม่เหมือน ไม่เข้าหลักนี้ ก็ตีถัวว่าเป็นเวยยากรณะหมด ขยายหมดนะ

ส่วนอันที่สี่ว่า คาถานี่ได้แก่ความร้อยกรองล้วน เมื่อกี้นี้คำว่าเคยยะนี่ก็คือ ร้อยแก้วก็ตาม ร้อยกรอง ก็ตาม เหมือนกับ free verse อย่างนี้เป็นต้น เป็นคำสั้นที่เอามาร้อยเป็นโศลก อะไรอย่างนั้น นั่นเคยยะ หรือร้อยกรอง ก็คือคำมาผูกเป็นร้อยกรอง คำสั้นๆเป็นร้อยกรอง นั่นละเคยยะ ทีนี้คาถาก็ ร้อยกรอง ล้วนๆเลย แม้ว่า free verse ก็ไม่รับอะไรกับใครอย่างนี้ ก็เป็นคำสั้นๆ แต่ไม่มีแบบ ไม่มีแผน ไม่มีไพเราะเพราะพริ้ง ก็ไม่เอาอะไรอย่างนี้ หรือแม้แต่ สิ่งที่เป็นปรัชญา ที่มันย่นย่อไปอีก ได้แก่ความร้อยกรองล้วน หมายเอาธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนๆ ในสุตตนิบาต ที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร เป็นตัวสุภาษิต ร้อยกรอง ที่ร้อยเรียงกันเข้ามาอย่างไพเราะเพราะพริ้ง อย่างที่จะ มาใช้สวด ใช้ท่อง ใช้อะไรกันอย่างติดปากติดคำได้ง่ายๆ เขาก็เรียกว่าคาถา เดี๋ยวค่อยฟัง อย่างที่อาตมาอธิบาย อย่างที่เขาอธิบายกันไว้ เปรียญทั้งหลายแหล่ เขาเรียนกันอย่างนี้

๕.อุทาน ได้แก่ พระคาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระหฤทัยสหรคตะด้วยโสมนัส คุณฟังแล้ว คุณก็มืดหน้าแล้ว แค่อธิบายอย่างนี้แล้ว หมายความว่า สิ่งที่ท่านเปล่งออกมาเป็นคำที่ไพเราะ จับใจ ประทับใจ ที่ร้อยกรองออกมาไพเราะ เป็นพระพุทธเจ้า นี่ต้องพูดออกมาเป็นกลอนเลยนะ คล้ายๆกับ พระจันทเสฏโฐ เลยนะ คือคล่องแคล่ว ท่านร้อยกรองออกมาเป็นคำอย่างไพเราะเพราะพริ้ง คำพูด อาตมาได้แค่เก่งๆก็แค่ อย่างเคยยะ มันเป็นคำ ไม่ค่อยร้อยกรองเต็มที่ดอก แต่ก็มีคำที่มันเป็นโศลก เป็นอะไรต่ออะไรได้เยอะ เพราะฉะนั้น อาตมาจะมีทั้งโศลก ทั้งแต่งเป็นร้อยกรอง อาจไม่เก่งเท่า ท่านจันทเสฏโฐ ท่านไวกว่า แต่ท่านก็อย่างนั้นแหละ อาตมานี่ จะร้อยกรองก็ได้ แต่จะใช้เวลาช้ากว่า ไม่ร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว ก็เป็นโศลก เป็นคำอะไรได้ เพราะฉะนั้น โศลกอะไรต่างๆ อาตมาจะรู้สึก เก่งกว่าท่านจันทเสฏโฐอยู่นะ อะไรพวกนี้ เป็นลักษณะการสื่อออก เป็นลักษณะคำสอน อย่าง เคยยะก็ดี คาถาก็ดี

อุทานก็เหมือนกัน เป็นคำที่อาตมาเคยใช้ไปตั้งหลายที คำนี้ออกมา โอ้ พอมันขึ้นมาแล้ว มันก็เปล่ง ออกมา หรือทำอะไรออกมานี้ แหมดี ฟังแล้ว พวกคุณ หลายคนก็อาจจะจด แม้อันนี้จด โอ้โฮ! คำเปล่งอันนี้ออกมานี่ ประทับใจ แวบ แวบ แวบเลย อันนี้ ลักษณะอุทาน ซึ่งภาษาไทยเรา ก็เข้าใจ อุทานคืออะไร แต่เป็นลักษณะของคำของความ ของคำสอน หรือคำบอกหรือสิ่งที่เป็นสื่อ ประทับใจ เอามาไว้ใช้ เพื่อที่จะเอาไปใช้กับประโยชน์ ที่จะเกิดในอนาคตได้ นี่เรียกว่าอุทาน ในนี้ท่านก็บอกว่า คำพระคาถาที่ทรงเปล่งด้วย พระหฤทัยสหรคตโสมนัส คือมันประทับใจ มันดีใจ สหรคตะ หมายความว่า มันเกิดผสมกันร่วมกันกับจิตใจ หฤทัยก็จิตใจ จิตใจร่วมกับยินดี โสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ และมีตัวปัญญา เวลา อุทานอะไรออกมา ไม่ใช่ว่า อุ๊ยตาย เฉยๆ นี้ไม่ใช่ ไม่ใช่เป็นสุตะนะ ไม่ใช่ความรู้ดอกนะ ดีไม่ดี อุทานหยาบๆด้วย นี้ไม่ใช่ คำอุทานนี้ไม่ใช่ ไม่ใช่สุตะ สุตะนี้คือ สิ่งที่เปล่งออกมา หรืออุทานออกมาเป็นสิ่งที่อยากจะพูดออกมาแล้วเมื่อกี้นี้ นี่ล่ะ อู้ฮู จับออกมาใช้นะ ได้ อาตมานึกตัวอย่างที่ตัวเองเคยอุทาน เคยอะไรไม่ทัน นึกไม่ออกตอนนี้ คนไหนนึกได้ ก็เอามายกตัวอย่างก็ได้ พร้อมทั้งข้อความอันประกอบอยู่ด้วยรวมเป็นพระสูตร รวมเป็น ๘๒ พระสูตร ท่านไปนับมา ท่านก็นำมาลงตำราไว้ เราก็ฟังไว้เท่านั้นเอง

๖.อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร ๑๑๐ สูตร แหม เที่ยวไปนับมาจาก ตำราพระไตรปิฎกนี่เอง

อ่านต่อ หน้าถัดไป
FILE:1337R.TAP