ทรัพย์แท้...ของมนุษย์ ตอนที่ ๑๐ หน้า ๒
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๔
เนื่องในงานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ครั้งที่ ๑๕

ต่อจากหน้า ๑


๖.อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร ๑๑๐ สูตร แหม เที่ยวไปนับมาจาก ตำราพระไตรปิฎกนี่เอง มาแบ่ง มาแยก แล้วเอามาสอนกันแค่นี้ล่ะ มันฟังแล้ว อาตมาเห็นว่า พวกนี้ ลูกซื่อจริงๆ พวกนักวิชาการ แท้ๆเลย ต่อไปคำสอนของอาตมา นักวิชาการจะเอาไปเรียบเรียง จะเอาไปเรียบเรียง ไปจัดหมวด จัดหมู่อะไรแล้วจะกลายเป็นตำรา กลายเป็นเรื่องวิชาการ เสร็จแล้วก็พูดกัน อยู่กับตัวหนังสือ นั่นแหละ ถ้าเผื่อว่าไม่รู้ถึงสภาวะ ถ้าคนที่ไม่รู้สภาวะ ก็จะเอาตำรา หรือวิชาการเหล่านี้มาสอน มาใช้ เหมือนอย่างที่เรียบเรียง เอามาใช้ มาขยายเนื้อหาสาระนี้ได้ดี เป็นประโยชน์ แต่ถ้าเผื่อว่า ไม่มีสภาวะ มันจะกลายเป็นหลงใหลในตัวหนังสือ แต่วิชาการเป็นหลัก ในหลักการ ตัวพวกนี้ทฤษฎี อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร ๑๑๐ สูตรที่ตรัสโดยนัยว่า วุฏตัง พุทธา เหตัง ภควโต เออ เขาแปลว่า ข้อนี้สมจริง ดังคำที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้

อิติวุตตกะ แปลว่าซ้ำซาก ซ้ำย้ำ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ว่าอย่างไร เราเอามาตรวจตรา เห็นว่า อ้อ ตรงหรือซ้ำหรือย้ำกับที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส อันไหนพระพุทธเจ้าท่านตรัสซ้ำ มากๆๆๆ นั่นแหละคือ อิ ติ วุต ตะ กะ พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า ทรงเว้นขาดเสียจากศีล ๕ นี้เป็นต้น ท่านสอน ไว้เยอะ นัยหนึ่งท่านเรียกว่า พหุลานุสาสนี คำสอนนี้สอนมาก สอนบ่อย สอนย้ำ นั่นแหละลักษณะ อิติวุตตกะ สมจริงตามที่ท่านสอน คนเราฟังสิ่งที่ซ้ำๆซากๆ พระพุทธเจ้า ประเดี๋ยวก็ละเว้น จากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากไม่เอาของที่เขาไม่ให้ ในพระไตรปิฎกมีเยอะ ไปปฏิบัติศีล ๕ มีเยอะ โอ้ ซ้ำ ซ้ำอยู่นั่นแหละ คนที่อ่านจนกระทั่ง ไม่เกิดปัญญารู้จักสิ่งที่ซ้ำซากเหล่านี้ จะรำคาญ จะรู้สึกว่า มีมานะ รู้แล้ว รู้แล้ว พูดซ้ำอยู่นั่นแหละ รู้แล้ว เหมือนกัน อาตมาพูดอะไรซ้ำๆ หลายคนก็จะเกิด อาการนี้ อาการไม่ดีนะ จงรู้ไว้เป็นอาการไม่ดี ส่อถึงโรคชนิดหนึ่งนะ โรคเสื่อม ไม่อยากฟังธรรม โดยฟังคำซ้ำซากไม่ได้ ถ้าสิ่งที่เป็นคุณธรรม เป็นคุณค่าเป็นภาษาธรรมะ เป็นสิ่งที่เป็นอิ ติ วุต ต กะ ต้องฟัง อิ ติ วุต ต กะ นี่คือยิ่งฟังก็ ยิ่ง อู้ฮู เพราะเหตุนี้หรือข้อนี้ สมจริง สมเหตุสมผล ข้อนี้สมจริง ดังคำที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้า ขออภัยนะ อย่าหาว่าอาตมาอาจเอื้อม แม้แต่อาตมาพูดไว้ว่า อู้ฮู้ สมจริงที่ท่านพูดไว้ คนไหนยิ่งเกิดสภาวะ ปฏิบัติแล้วบอกว่า อู้ฮู ยิ่งซาบซึ้งประทับใจ แหม เราฟังตอนนั้นตอนนี้ เอาไปปฏิบัติได้แล้ว แหม สมจริงดังท่านว่า มันซ้ำ มันย้ำเข้าไป อู้ฮู พัวะ พลัวะ พลัวะ ซ้ำเข้าไปก็ยิ่งจะชื่นใจ บอกจริงแล้วนี่แหละ เราเชื่อแล้ว เราเอาไปปฏิบัติตาม เราได้ดี แหม ชื่นใจ ชื่นใจ ดีแล้ว มันจะมั่นใจ

แต่ถ้าคนที่ยิ่งไม่ได้ ได้แต่ฟังภาษา บอกจำได้นั่นละนา ซ้ำอยู่นั่นละ น่า แต่จะยังไม่ปฏิบัติ ไม่เกิดประทับใจอะไร พวกนี้จะไม่เกิดลักษณะอิติวุตตกะ เขายังไม่เกิดอิติวุตตกะ จะเกิดเห็นสมจริงสมจัง โอ้ อันนี้จริงแล้ว อันนี้ถูกต้องแล้ว อันนี้มีผลอย่างนี้ อันนี้มีคุณค่าอย่างนี้ สมจังท่านว่าเหลือเกินทุกครั้ง ท่านว่าเมื่อไร อู้ จริงได้ผล แล้วจะไม่เบื่อหน่าย คนที่เบื่อหน่ายคือ คนที่เกิดกิเลส ซ้ำซาก ไม่ยินดีในคำซ้ำซาก ในส่วนที่ซ้ำซาก เพราะฉะนั้น พระอรหันต์เจ้า จึงฟังธรรม ไม่รู้จักเบื่อ เพราะว่ายิ่งเป็นธรรมะที่เป็นสัตถุศาสตร์ ยิ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ยิ่งเป็นสิ่งที่เป็นสัจธรรมที่ถูกต้องด้วยแล้วนะ พระอรหันต์ยิ่งฟังยิ่งยิ้ม จะไม่เบื่อสิ่งที่ท่านได้แล้ว ด้วยซ้ำ อรหันต์ย่อมได้หมดละนะ ปฏิบัติอะไรมา ท่านก็รู้หมดแล้ว ท่านก็ได้สมจริงสมจัง อยู่อย่างนั้นแหละ โอ้ ยิ่งไม่มีเบื่อ ไอ้คนที่เบื่อคือ คนที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ แล้วก็มีกิเลสเสียด้วย เพราะฉะนั้น จงพยายามอย่าเบื่อในการฟังธรรม เป็นการฟังธรรม มันจะเบื่อ ต้องไม่ให้มันเบื่อ เรื่องอะไรล่ะ เดี๋ยวมันไม่ได้เป็นพระอรหันต์น่ะ ใช่ไหม

ถาม :หินฟ้าถือว่าเป็นอุทาน จากพ่อท่านได้หรือเปล่า

ตอบ :ได้ ได้ คำว่า หิน-ฟ้า เป็นอุทานก็ได้ ว่าโอ้โฮ แหม อันนี้ เป็นโมโนลิธ (MONOLITH) ชักแอ๊ค เก่ง ไปได้ภาษาอังกฤษก่อนภาษาไทย มัน เอ โมโนลิธ (MONOLITH) แหม หินตัวนี้มันออกมาเป็น โมโนลิธ อาตมาถึงได้ มาเป็นภาษาไทย หินอันนี้ เราก็ใช้คำ ใช้ความว่าหินฟ้ามาทีหลัง คำว่า หินฟ้า เกิดทีหลังโมโนลิธ (MONOLITH) นะ แหม มันชักจะน่าหมั่นไส้จริงๆนะ ทำเป็นตัวเองเก่งภาษาอังกฤษ แต่มันรู้ มันเป็นอะไรก็แล้วแต่เถอะนะ อาตมาว่ามันมีมาเดิม มันเป็นอะไรต่ออะไร ทั้งๆที่อาตมา ไม่ได้ถนัดภาษาอังกฤษ แต่มันก็ธรรมดาพวกคุณจะเข้าใจ คำว่า โมโนลิธ (MONOLITH) แปลว่าอะไร อาตมาก็ไม่น่าจะไปจำ จะไปรู้ เข้าใจคำว่าโมโนลิธ (MONOLITH) ไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษ อะไรมากมายอาตมา แต่ว่าคำนี้ทำไมเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรา ทำไมมันมาอยู่ตั้งแต่เมื่อไร แล้วทำไม มันซาบซึ้ง ทำไมมันมาเอามา ถ้าธรรมดานี่นะ เอาล่ะ คนที่เรียนมามาก บางทีก็อาจจะไม่ โมโนลิธ แปลว่าหินฟ้า หรือลักษณะหินที่เป็นอนุสาวรีย์ หินที่เป็นเอกภาพอันหนึ่ง คุณจะมารู้เรื่องอะไร คำว่าโมโนลิธ (MONOLITH) มันก็แปล โมโนแปลว่าหนึ่ง ลิธอะไรวะหินด้วยหรือ

นี่ เป็นเรื่องที่น่าคิดนะ ทำไม อาตมาก็ไม่ได้เก่งภาษาอะไร แต่ทำไมไปรู้ภาษาที่คนที่เรียนมาก ยังไม่ค่อยมารู้ภาษา คำว่า โมโนลิธ (MONOLITH) เลย เพราะฉะนั้น มีบางคนบอกว่า อาตมานี่ แปลกนะ ไอ้คำภาษาอังกฤษบางคำ อะไร เอามาใช้นี่ เขาไม่เคยได้ยินดอก ทำไมได้เที่ยวไปเอา มาใช้ได้ แล้วก็เลยยิ่ง คนที่เรียนภาษามาก็เลยทึ่งๆ เอ้อ คนนี้เอาภาษา คงจะรู้ภาษาเยอะนะ นี่ภาษา คำแปลกๆ คนที่เขาธรรมดาไม่ค่อยรู้ นี่มันรู้เกินธรรมดาแน่ะ ไปโน้นเลย แล้วยิ่งไปกันใหญ่เลย เปล่า ไม่ได้ไปเก่งภาษาอะไรดอก แต่ภาษาพวกนี้ มันมาอยู่ที่อาตมา มาใช้นะ คำว่า หินฟ้านี่ก็จะเป็น ส่วนหนึ่ง ของอุทานก็ได้นะ และมันมีความลึกต่อไป

ทีนี้จากอุทาน ก็มาอิติวุตตกะก่อน แล้วก็มาชาดก ชาดกก็เป็นเรื่องราวเลย ไม่ใช่เป็นคำ เป็นความ เป็นประโยค เป็นแค่คำอุทาน เป็นแค่อะไรเท่านั้น เป็นเรื่องเก่า เรื่องซ้ำ เรื่องซาก เรื่องวน เรื่องเวียน เรื่องชาดก นิทาน เรื่องเก่า ทีนี้ เป็นเรื่องเป็นราวเลย เอามาเป็นตัวอย่าง เอามาเป็นอะไรๆ ที่จะเอามาใช้ประกอบ แต่ในนี้ไม่อธิบายอย่างนี้ เขาบอกว่าชาดก เป็นการแสดงเรื่องในอดีตชาติ ใช่ ไม่ผิดหรอก ของพระพุทธเจ้ามี อปัณณกชาดก เป็นต้น มีทั้งหมด ๕๕๐ เรื่อง เขาก็เล่นตัวหนังสือ เลย ธรรมดา ไม่ได้มีความหมายลึกอะไรไปกว่านั้น ชาดกก็คือนิทาน ๕๕๐ เรื่อง เกม จบ

แต่อาตมาอธิบายนะว่า ชาดกของคุณก็มีหลายเรื่องเหมือนกัน เมื่อคืนนี้ ก็เล่ากันหลายเรื่อง ชาดกทั้งนั้นแหละ คุณบุญเจือก็เล่าเรื่องหนึ่ง คุณทองแก้วก็เล่าเสียเรื่องหนึ่ง จบหรือยัง ยังไม่รู้นะ นิทานเรื่องนั้นจบหรือยัง แน่นอนหรือยัง ก็ไม่รู้ จบก็ดีไป อนุโมทนา ยังไม่จบก็ทำให้มันจบซะ ส่วนนิทานของคุณดินไท ก็เรื่องหนึ่ง อะไรอย่างนี้เป็นต้น นิทานของหมอวีระพงศ์ก็เรื่องหนึ่ง แล้วคน คนหนึ่งมีหลายเรื่อง นิทานเรื่องนี้เขาเรียกว่านิทานเรื่องเกี่ยวกับนิยาย ลักษณะนี้ เรื่องนี้นิยายรัก นิยายบู๊ นิยายตลก นิยายผี(หัวเราะ) เหมือนกับที่เขามาทำหนัง ก็แล้วแต่ ก็เป็นเรื่องที่เราผ่านมา ทั้งนั้น เรื่องสั้น เรื่องยาวอะไรก็ตามใจ

อัพภูตธรรมก็คือเรื่องที่ที่มันวิเศษ เรื่องอัศจรรย์ นี่เขาก็พูดในนี้เท่านั้นแหละ ว่าหรือเรื่องอัศจรรย์ ได้แก่ พระสูตร ข้อที่ว่าอัศจรรย์ไม่เคยมี เป็นเรื่องอัศจรรย์ที่ไม่เคยมี ทุกสูตร ที่ตรัสเกี่ยวกับ เรื่องที่วิเศษ เรื่องอัศจรรย์อะไร พวกนี้นี่นะ ที่มันไม่เคยมี หรือมันเกินกว่าธรรมดา พวกนี้ เป็นเรื่องวิจิตรพิสดาร เป็นเรื่องที่อภินิหาร เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ ลักษณะคุณธรรม หรือคุณลักษณะเหล่านี้ คือเรื่องอัพภูตธรรมทั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายข้ออัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ อย่างนี้ เขาก็เอา แต่ตัวหนังสืออย่างนั้นมาเล่า อย่างนี้เป็นต้นมาอธิบาย ยกตัวอย่าง

เวทัลละ ได้แก่ พระสูตรแบบ ถาม-ตอบ ซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้และความพอใจ ถามต่อๆไป ที่จริงแล้ว เวทัลละจะบอกว่า ถาม-ตอบ ก็คือความรู้ทั้งหมด ตั้งแต่หยาบ กลาง ละเอียด ถึงลึกซึ้ง รวมทั้งหมด เวทัลละ นี่เป็นความรู้รวมยอดหมดเลย แต่เขาก็เอาแบบถามตอบ หรือไม่ถามตอบก็ตาม ที่จริงก็เป็นเวทัลละ แต่เขาจะเอาแค่นี้ เขาก็จัดเข้าหมวด เข้าหมู่หลักวิชา เวทัลละ คือพระสูตร แบบถามตอบ ซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้และความพอใจ ถามต่อๆไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร ก็ไปเอาชื่อเวทัลละไปประกอบอยู่ในนั้น จูฬก็เล็กน้อย มหาก็ สูตรเวทัลละใหญ่ๆ อย่างนี้เป็นต้น หรือสัมมาทิฏฐิสูตร เป็นต้น นั่นก็เอาก็ตกลง นั่นก็เป็นเรื่องจัดหมวด จัดหมู่ ของตัว หนังสือ ของตำรา

ทีนี้ฟังนวังคสัตถุศาสตร์อาตมาบ้าง อาตมาก็อธิบายเป็นภาษาของอาตมา ถ้ายิ่งได้ศึกษาต่อไป เพ่งเพียรเรียนรู้ต่อไป จากการอ่าน การฟัง การรับรู้มา เรียกว่า สุตะ คือการเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้น ลักษณะการเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้น แม้ปริยัติก็เรียกสุตะ ยิ่งเอาปริยัตินั้นไปปฏิบัติ แล้วก็เกิดผลเป็นความรู้ เป็นความจริงที่เกิดรู้ ความจริงซ้อนๆๆ ก็ล้วนแต่เรียกว่าสุตะทั้งนั้นแหละ เป็นผู้รู้มากขึ้น เรียกว่า สุตะ นี่เป็นความหมายใหญ่ ความหมายกลาง มีสุตะ คือมีความรู้มากขึ้น ความรู้นั้นยังไม่จริง ก็เป็นแต่เพียงความรู้ปริยัติ ถ้าเอาไปปฏิบัติเกิดผล และเป็นการรู้ยถาภูตญาณทัสสนะ เป็นความรู้ ชั้นลึกซึ้งขึ้นไปอีก ก็ยิ่งเรียกว่าเป็น สุตะชั้นสูง เป็นพหุสัจจะ เป็นความรู้ที่จริงตามจริงเลยเชียวละ นี่เรียกว่า ความหมายของอาตมา สุตะ

ทีนี้ก็ขยายจากสุตะทั้งหลายแหล่ เคยยะ เวยยากรณะ อุทาน อิติวุตตกะต่อไปนั่นแหละ จากสรุป ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นเนื้อแน่นๆ เป็นคำร้อยกรองไว้แต่เนื้อๆ

เพราะฉะนั้น จะเป็นคำที่ร้อยเรียงเอาไว้ ที่เขาเรียกว่าเคยยะ ต่อมาเคยยะ เมื่อกี้ก็บอกว่า เป็นคำที่เรียกว่า เป็นคำร้อยแก้วบ้าง ร้อยกรองบ้าง อะไร นี่ที่พูดเมื่อกี้นี้ เป็นคำที่ตัดออกมานะ เคยยะของเขาที่ว่า หมวดที่มีร้อยแก้วบ้าง ร้อยกรองบ้างผสมกัน หมายเอาพระสูตร หมายเอาคาถา ต่างๆ นี่เขาก็ว่าไว้แค่นั้นนี่จากวิชาการ สำหรับอาตมานั้น มีความรู้สึกว่าเคยยะก็คือ สิ่งที่เราได้เรียนรู้แล้ว แล้วก็เราเอามาสรุป เรารู้ทั้งตัวสรุป ได้เนื้อ ได้แก่น ได้ลักษณะที่ดีขึ้นมา นี่เป็นเคยยะ แล้วเกิดคุณธรรม เกิดความรู้ ความรู้ไม่ใช่รู้แต่ตัวหนังสือ ตัวภาษา ภาษาหนังสือ อย่างที่เขาจัดๆ ไว้ก็ได้ ในลักษณะเปลือก ลักษณะของลีลาแบบอย่างหลักวิชา แต่โดยเนื้อหา ของมันแล้ว เคยยะคือสภาพที่ยิ่งเอามาซ้ำ เอามาเรียนรู้ เปรียบเทียบ มาคั้น มาสรุปเอาเนื้อ เอาแก่น เข้ามาเรื่อยๆๆ ได้ความที่ถูกต้อง ข้นขึ้นมา เข้มขึ้นมา

ทีนี้จากอธิบายแล้วอธิบายอีก ได้ข้น ได้สรุป แล้วก็ขยาย ได้สรุปได้ขยาย ซับซ้อน ลึกซึ้ง นัยพิสดาร นัยมากขึ้น คำขยาย คำวิเคราะห์ ให้ความ ให้เห็นลึกซึ้ง เกี่ยวพันกันออกชัด นั่นแหละเรียกว่า เวยยากรณะ ส่วนที่สรุปเรียกว่าเคยยะ ส่วนที่ขยายสอดร้อยสัมพันธ์กันให้เกิดความเห็น ความรู้ จะเป็นการลักษณะสื่อด้วยภาษา ด้วยคำพูดก็ตาม ลักษณะเกิดความรู้ แต่ โอ้โฮ มันขยาย มันสัมพันธ์ มันสอดร้อย มันเปรียบ มันเทียบ มันทำอะไรให้เกิดการรู้ที่พิสดารยิ่งขึ้นๆ เรียกว่า เวยยากรณะ เป็นการขยาย เป็นการอธิบาย เป็นการทำให้รู้เหลี่ยมมุมที่กว้างขวางลึกซึ้ง ซับซ้อนยิ่งขึ้น เรียกว่า เวยยากรณะ แล้วก็ได้รู้ ได้จำได้ เข้าใจได้ คั้นเอาเนื้อแท้อย่างย่นย่อได้บ้างแล้ว จากบัญญัตินั้นๆได้บ้างแล้ว จากบัญญัตินั้นๆ ยิ่งลึกซึ้งเข้าไปอีก มีเคยยะ มีเวยยากรณะ แล้วก็เกิดคาถา เกิดสิ่งที่สรุปได้ชัดเจน เป็นหลักลงตัว ลงตัวๆๆไปได้เรื่อยๆ หมายความว่าเข้าแก่น จัดเข้าแก่นๆๆ ไปเรื่อยๆ เหมือนกับต้นไม้ แล้วก็จะดูดเอาเนื้อของสาระของมัน ไม้ชนิดนี้ ก็จะพยายามรวม ตั้งแต่เป็นกระพี้ แล้วก็เอาจากกระพี้ เอาจากเยื่อ เอาจากอะไรเข้าไปเป็นแก่น ส่วนที่ขจัดออก ก็จะขจัดออกไปเป็นเปลือก เป็นอะไร ต่ออะไรที่ทิ้งออกไป เป็นกากเป็นเปลือก เป็นอะไรออกทิ้ง ไอ้ส่วนที่เอาเนื้อ เอาแก่น ก็ได้แก่นเข้าไปเรื่อยๆ

จากเคยยะและเวยยากรณะ ก็จะยิ่งเค้นแก่น เค้นเนื้อแท้ เข้าไปหาวิมุตินั่นเอง วิมุตินี่เป็นแก่นนะ เป็นคาถา เป็นเรื่องที่จะเป็นภาษาตัวหนังสือก็ตาม ก็เป็นลักษณะอย่างนี้ จะเป็นคาถาที่เรียบเรียง ด้วยประโยค อย่างเช่นว่าประโยค ที่อาตมาเห็นว่าคาถานี่นะ มีเทวดามาถามพระพุทธเจ้าว่า ลักษณะนิพพานเป็นอย่างไร หรือข้ามโอฆสงสารได้แล้ว เป็นอย่างไร ไม่ยาก เทวดา ฟัง เราไม่พัก เราไม่เพียร จบ นี่แหละ ผู้ที่ข้ามโอฆสงสารได้แล้ว อย่างนี้นี่แหละ ผู้ที่ไม่รู้จัก คาถาอันนี้ ก็ว่าอะไรของมันวะ เราไม่พักเราไม่เพียร คือผู้ที่ข้ามโอฆสงสารได้แล้ว ผู้ที่ข้ามโอฆสงสารได้แล้ว คือผู้พ้นฝั่งแล้ว ผู้ที่บรรลุนิพพานแล้วนะ ผู้ที่สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้บรรลุธรรมสมบูรณ์แล้ว แล้วบอกคาถามาแค่นี้ คนที่ไม่รู้เนื้อหาฟังแล้วไม่ซาบซึ้งหรอก ฟังแล้วก็ไม่รู้เรื่อง อาตมาฟังประโยคนี้แล้ว โอ้โฮ คาถาบทนี้ แก่นจริงๆ นี่คาถาจริงๆเลยนะ บทนี้นี่คาถาจริงๆเลยนะ แก่นจริงๆ เลยนะ อาตมามาขยายให้พวกคุณฟังนี่ พวกคุณก็ฟังความหมายเป็นคาถาได้ แต่ ว่าคุณต้องไปปฏิบัติให้มันเกิดคาถาเอง เกิดแก่นเองนะ แล้วคุณจะรู้ว่า อ้อ อย่างนี้ลักษณะคาถา อย่างนี้เป็นต้น หรือประโยคอื่นๆ ลักษณะอื่นๆ ที่อธิบายตัวแก่น ตัวสูงๆสุดๆยอดๆ ไม่ยึดมั่นถือมั่น สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสายาติ ท่านพุทธทาสซาบซึ้งเหลือเกิน อย่างนี้ก็คาถา แต่มันต้องลึกซึ้งนะ ต้องขยายความได้ ต้องมีสภาพรองรับ จึงจะขยายถูก ใครมีสภาวะอันนั้น นั่นเป็นคาถาแท้ เอามา อธิบายมาเป็นภาษา ก็เป็นคาถาภาษา

เมื่อฟังอีก ก็จะมีสิ่งใหม่ๆ สิ่งแปลกขึ้น หรือจะได้รับคำขยายความใหม่ขึ้นทีละเล็กทีละน้อย จะได้รับสิ่งใหม่ หรือบางทีจะแปลก รับสิ่งใหม่จะแปลกเพิ่มขึ้นนั่นเอง เรียกว่าอุทาน อุทานก็จะมี ทั้งโวหาร ทั้งภาษาสิ่งแปลกสิ่งใหม่มา ขยายขึ้นมา เพราะว่าในโลกมีอะไร ก็เอามารวมกันศึกษา ทั้งนั้นแหละ มันก็จะมีทั้งใหม่ทั้งเก่า ย่นย่ออะไรออกมาเรื่อยๆ ขยายอะไรออกมาเรื่อยๆ ขึ้น หรือจะได้ รับคำขยายความใหม่ขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย ได้รับสิ่งใหม่หรือบางทีจนแปลก รับสิ่งใหม่จนแปลก เพิ่มขึ้นนั่นเอง เรียกว่า อุทาน อุทาน มันก็จะมีทั้งโวหาร ภาษา สิ่งแปลกสิ่งใหม่ ขยายขึ้นมา เพราะว่าในโลกนี้ มีอะไรก็เอามารวมกันศึกษาทั้งนั้นแหละ มันก็จะมีทั้งใหม่ทั้งเก่า ย่นย่ออะไร ออกมาเรื่อยๆ หรือว่าขยายอะไรออกมาเรื่อยๆ อุทานมีทั้งคาถาก็ได้ มีทั้งเวยยากรณะก็ได้

แต่ก็อยู่ในรูปรอยเก่าที่เข้าใจได้ เห็นเป็นเรื่องสืบเนื่องติดต่อและขยายกัน อ้างอิงกันยิ่งขึ้นๆ เรียกว่า อิติวุตตกะ คือ ลักษณะที่ซ้ำไปซ้ำมา ขยายออกไปก็เห็นซ้ำรอยเก่า ย่อลงไปอีกไปซ้ำตัวแก่นเดิม เป็นตัวหลักเดิม ขยายออกก็ไม่ออก ต่างอะไรกัน อิติวุตตกะเห็นว่าความซ้ำซากมีใหม่บ้าง มีขยายออกไปบ้าง แต่ก็อยู่ในแกนหลักเก่า เข้าร่องเข้ารอยเข้าทาง ไม่สับสน ไม่เลอะเทอะ

ถาม : เวลาอธิบายธรรมซ้ำซาก คนที่ได้ประโยชน์มากที่สุด คือคนที่อธิบาย(คนพูด) เพราะเห็น ความพิสดารของบทธรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งคนฟังต้องตามให้ทัน ใช่หรือไม่

ตอบ :ใช่ ใช่ คนอธิบาย อธิบายจากสภาวธรรม ถ้ามีสภาวะ จะพิสดารมากกว่า ถ้าคนไหนอธิบาย ตามตำรา ก็จะอธิบายได้ตามตำราที่จำมาได้ จำมาได้หมด หมดแล้วพุง หมดพุงแล้ว จบ จำไม่ได้หมด ยังไม่หมด เดี๋ยวไปตาม กลับไปอ่านทวนภาษามาก่อน แต่ส่วนคนที่ได้สภาวะแล้ว อ่านสภาวะมาให้คนฟัง โอ มันจะฟุ้งออกมาอีกเยอะ มันจะฟุ้งออกมาอีกเยอะเลย มันจะอธิบาย ตัวนี้แล้ว ข้างเคียงๆ ขยายออกไปเรื่อย เรื่อยๆ เพราะจับที่เนื้อแก่น จับที่สภาวะ นี้ลักษณะอย่างนี้ เรียกได้นะ ก็จะเอามาพูด อธิบายหมดเลย อย่างช้างตัวหนึ่ง คนที่ท่องมาว่าช้างจะมีงวง ช้างจะมีงา ช้างมีหู มีตา มีคอสั้นๆ มีตัวใหญ่ๆ หนังเหมือนกำแพง มีขายาวๆเหมือนลำตาล เอ้อ มีหางเหมือน ไม้กวาด คนที่ท่องตามตำรามา ก็จะได้เท่านั้น คนที่รู้จักช้างก็จะว่า อู้ฮู้ อย่าว่าแต่บอกช้าง มีงวงมีงา เท่านั้นเลย บอกไปถึงขี้หูของช้าง บอกไปถึงขนาดว่าในช้าง ซอกแซก รูขุมรูขนของช้าง ต่างจากรูขน ของหมูอย่างไร รูขนของหางช้างต่างจาก หางวัวหางควายอย่างไร ไม้กวาดก็ไม้กวาดคนละลักษณะ อย่างไร ละเอียดลออไปได้หมดเลยนะ ละเอียดลออไปได้หมดเลย ส่วนที่ตามตำรา เขาก็มีโน้ตไว้ ส่วนหนึ่ง คนที่มาเรียนตามตำรา ก็จะทำเท่าที่เขาโน้ตไว้ ส่วนคนที่ไม่ใช่ตามตำรา มีตัวช้างจริงแล้ว โอ้โฮ ทีนี้ไม่ใช่ ตามตำราก็น้อยไปนา อธิบายนอกตำราไปอีก เยอะแยะเลย คนก็เลยบอกว่า ไอ้พวกนี้ นอกรีตนอกตำรา ก็ใช่ของเขาจริงๆ เลย ไม่รู้จะพูดยังไง แล้วเขาก็ไม่รับจริงๆนา เอ้า ไม่รับก็ไม่ว่า

ทีนี้พวกคุณก็อย่าเพิ่งรับทันที คุณก็ไปพยายามสร้างช้างในตัวเองให้ได้ คุณได้ช้างตัวเองขึ้นมา โอ้โฮ ท่านพูดตรงกันเปี๊ยบเลย เหมือนกับของเราก็ได้ เหมือนกัน ช้างตัวเดียวกันเลย เอ้อ บอกหางช้าง เป็นอย่างนี้ ก็ไม้กวาดชนิดนั้น ชนิดนี้ รูปร่างอย่างนั้นอย่างนี้ ขนช้างต่างจากขนแมวขนหมูอย่างนี้ๆ โอ๋ ใช่ อย่างนี้เป็นต้น จะเข้าใจ จะเห็นจริงตรงกัน มันตรงกัน รับรองกัน อิติวุตตกะมันก็ซ้ำซาก หรือขยาย ที่มันจะเข้าเรื่องเดียวกันหมดเลย เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นเอกภาพได้ในที่สุด ซึ่งมันล้วนเป็นเรื่องเก่า เป็นเรื่องเล่าซ้ำของเดิม เป็นเรื่องปรัมปราที่ผูกร้อยกันไป ที่อาตมาเอามาพูด นี่ละ เป็นเรื่องที่ผ่านกันมาแล้ว โพธิสัตว์ก่อนๆก็พูด พระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ก็พูดอย่างนี้แหละ ถ้ามีจริตเหมือน อาตมาก็โพธิสัตว์รูปนั้น หรือพระพุทธเจ้าที่เป็นอย่างนั้น ท่านก็เป็นอย่างอาตมาเป็น พูดอย่างนี้ เป็นเรื่องเก่าเรื่องเดิมมาแล้ว กี่ชาติกี่ปางกี่กัปกี่กัลป์ ก็พระพุทธเจ้าเกิดมาแล้ว มีจำนวน เท่าๆกับเม็ดทรายในมหานที แล้วเรื่องราวพวกนี้มีอยู่ที่ไหนน้อย มันก็มากก็มาย แต่พวกเราไม่ค่อยรู้ เพิ่งได้ยิน เพิ่งได้ฟังนิทาน นิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ อาตมาก็ไม่ใช่นักเล่านิทาน แต่เล่าเรื่องไม่ใช่นิทาน แต่ก็เป็นเรื่องเก่านี่แหละ เรื่องที่เอามาพูด ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เป็นเรื่องเก่า เอามาพูดซ้ำซาก

ถาม : ไม่พักก็คือเพียร ไม่เพียรก็คือพัก คือความหมายของคาถา เราไม่พักหรือไม่คะ

ตอบ : อุตส่าห์ยังไปติดตาม ยังไปติดไอ้โน่นยกตัวอย่างแท้ๆ ยังเอาตัวอย่างมาขยาย เดี๋ยวก็ไม่จบ เรื่องกันพอดี เราไม่พัก ไม่พักก็คือเพียรก็ถูกแล้ว เคยอธิบายแล้ว เราไม่เพียรก็คือพัก ก็ถูกแล้ว แต่ไม่ใช่พักตลอดนะ พักนี่คือ สมควรที่จะพักค่อยพัก เพียรนี่เพียรตลอด พัก เราไม่พัก ก็คือเพียร เพียรจึงนำหน้าพัก นี่ก็ เอ้า อธิบายขยายความอีกนิดหน่อย ต่อ เอาล่ะ อย่าเพิ่งไปวุ่นพวกนั้น เดี๋ยวจะงงมาก

เป็นเรื่องเก่าเรื่องเดิมเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้วกันทั้งนั้น แม้แต่เราพอเข้าใจรางๆว่า เราคงเกิดมา หลายชาติแล้ว เราคงผ่านสิ่งเหล่านี้มาแล้ว คุณก็จะเกิดรู้ เกิดชาดก เกิดชาตกะ พระพุทธเจ้า ท่านระลึกชาติได้จริง เอาชาดกเก่ามาเล่า เล่าจริงด้วยความมั่นใจแม่นเด็ดขาดท่านก็เล่า อาตมาเอง อาตมาไม่อยากเล่า ไม่อยากจะเอาของเก่า ของเดิม ระลึกได้ ไอ้โน่นไอ้นี่บ้างอะไร ไม่อยากเอามาเล่า ไม่อยากเอามาพูด เพราะพวกคุณไม่รู้ด้วยอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ไม่อยากให้คุณไปติดในเรื่อง เหล่านี้ ประเดี๋ยวจะไปเล่นลิเกปลอมๆ เลอะๆ เทอะๆ พวกนี้ปลอมได้เก่งด้วย ประเดี๋ยวคุณก็กลาย เป็นนักประพันธ์ สร้างเรื่องขึ้นมาอีก เก่งเลยนะ สร้างเรื่องของตัวเองขึ้นมาได้ เป็นอุปาทานได้ เยอะแยะ เป็นนิยายมาประกอบเรื่องของเรา ที่มันเข้าเรื่องเข้าราว มันมาสนับสนุนตัวเอง อะไรๆ อีกเยอะแยะไม่เข้าท่า เพราะฉะนั้น อาตมาจึงรู้ สมัยนี้เอามาใช้ไม่ดี เพราะอาตมาก็เป็น นักประพันธ์ด้วย เดี๋ยวก็หาว่าอาตมาประพันธ์เรื่อง มาหลอกพวกคุณ ยุ่งกันใหญ่

เพราะฉะนั้น อาตมาไม่ชอบเล่า ไม่ชอบเอาชาดก หรือชาตกะ แต่เพียงเรื่องในปัจจุบัน เรื่องของคุณ ของคุณ เรื่องที่เป็นชาดกของใครของมัน คุณไม่ต้องมาเชื่อชาดกของอาตมา คุณเชื่อชาดกของคุณ คุณเชื่อเรื่องราวของคุณ เกี่ยวกับสิ่งที่ผ่านมาแล้วของคุณ เรื่องสั้นเรื่องยาวอะไรก็แล้วแต่ มีประสบการณ์ เกี่ยวกับกิเลสบทนั้น แล้วคุณก็ไปเกิดสนุกกันบ้าง ทุกข์กันบ้าง บทไหนก็แล้วแต่เถอะ แล้วก็พยายาม จนกระทั่ง ละล้างกิเลสเหล่านั้น ชนะออกมา เป็นสงครามที่ชนะสงคราม แล้วแต่เรื่อง แต่ราวของคุณ อย่างนี้ซิเป็นของจริง ชาดกอย่างนี้พิสูจน์ได้ ยืนยันได้ แล้วทุกคน มีของตนของแต่ละคน ไม่น้อยหรอกเรื่องสั้น เรื่องยาวไม่น้อยหรอก ที่เรามาขึ้นเวทีนี่ เลือกเอา ดึงชาดกของแต่ละคน ออกมาเล่าทั้งนั้นแหละ ชาดกอย่างนั้นเราสอน ชาดกในของพระพุทธเจ้า คุณก็อ่านได้ นี่ทางนี้ท่านก็เล่า อู้ฮู มีกันเท่าไรๆเรื่อง มี ๕๕๐ เรื่องว่าอย่างนั้น ก็ว่ากันไป ที่จริงมีมากกว่านั้น เก็บมาได้เท่านั้น

ทีนี้ตลอดจน มีผู้ใส่ใจพากเพียรเรียนรู้ ได้พยายามเพ่งในธรรม ทำตามในธรรมมาเรื่อย จนเกิดรู้แจ้ง แทงทะลุบัญญัติออกเป็นสภาวะ เห็นแจ้งในตัวตนของจิต ของวิญญาณจริงๆ เป็นอัจฉริยะ ดังกล่าวแล้ว ก็เป็นอัพภูตธรรม

อัพภูตธรรม คือความเฉลียวฉลาด คือญาณทัสสนวิเศษ คือสิ่งที่ได้รู้ทั้งภาษา รู้ทั้งสภาวะจริง รู้ทั้งสิ่งที่เกิดใหม่ มันเกิดบรรลุ มันเกิดการลดละหน่าย คลาย มันเกิดการเจริญ เมื่อเราลดละ หน่ายคลายกิเลสนี้ได้ หรือวงวัฏของชีวิต ชีวิตเราเลิกอันนี้ได้ แต่เราก็เกิดสิ่งที่ดีกว่า ใหม่กว่า เจริญกว่า มันเกิดความเฉลียวฉลาด เกิดอัจฉริยะที่เพิ่มขึ้นมา อย่างจากสรรพสิ่งจริง เป็นจริง จากสัจธรรมพวกนี้ เป็นสุตะ เป็นความรู้ ที่รู้เยี่ยมขึ้นมา

อาตมายกตัวอย่างตัวเองแล้วกัน อาตมาแต่ก่อนนี้ อาตมาคือคนโลกๆ มุ่งเพ่งอยู่ในทางงานศิลปะ อยู่ในธุรกิจบันเทิงอะไรก็ว่าไป แล้วก็เก่งเท่าที่เราเก่ง อันนั้นไปอย่างนั้นก็แค่นั้นล่ะ แล้วเรายิ่ง ไม่ได้แสดงภูมิ ออกมาทางด้านสัจธรรม ทางด้านปรัชญา อะไรพวกนี้ ก็ไม่ได้แสดงออกมาเท่าไร แต่ก็ แสดงบ้างอยู่นะ ถ้าจะว่าไปจริงๆ เป็นปรัชญาเหมือนกันนะ แม้แต่ในเรื่องกวีกานท์ การแต่งเรื่อง เรื่องนั่นนี่ บทประพันธ์อาตมาเขียนเรื่องสั้น อาตมายังไม่ได้เขียนเรื่องยาว พล็อตไว้หลายที หลายเรื่อง ไม่ได้เขียนเรื่องยาวไม่มีเวลา ไม่มีบุญ ที่จริงไม่ใช่ไม่มีบุญหรือไม่มีบาปก็ไม่รู้นะ มันอาจจะ ไปทำทางโน้น อาจจะไปดังทางโน้น แต่ไม่ดังหรอก เพราะเรื่องของอาตมา มันไม่ค่อยเข้ากับโลกเขา อาตมาไม่รู้ว่า ทำไมเขียนเรื่องสั้น เราก็ว่าบอกเขียนอย่างยอดเยี่ยม ใช้ปัญญาใช้ ปฏิภาณ ใช้เรื่องดีที่สุด มาเขียนแล้วนะ ใครเคยอ่านเรื่องสั้นของอาตมาบ้าง มันมีอุดมการณ์ มันมีปรัชญา มันมีอะไรลึกซึ้ง ลึกจนเขาไม่รู้ เขาตามไม่ถึงจริงๆนะ เพราะฉะนั้น มันก็เลยไม่เข้าสมัย ไม่ร่วมสมัย คนตามไม่ถึง เหมือนเพลงอาตมา แต่งทุกวันนี้ เขาฟังไม่ค่อยออก พวกคุณฟังก็ยังหัวตื้ออยู่ พอสมควรเลย ข้างนอกนั้น เขาไม่รู้ว่าอะไร ก็มาเอาแค่ ถอยดีกว่า ไม่เอาดีกว่า สู้เข้าไปสู้ แค่นี้ก็พอแล้ว (เสียงผู้ฟังหัวเราะ) อย่างนี้ละเขารับได้ ซื้อกันเป็นล้านเลย เป็นแสนตลับเป็น ล้านตลับ ไอ้นี้ไปยังกับ อู้ฮู เอาไปเอามากัน เดี๋ยวก็ถึงวิมุติ ละล้างกิเลสหมด อะไรของมันวะ ไปล้างทำไมกิเลสมันๆ เขาฟังไม่ออก เขาไม่มีรส ไม่ร่วมด้วย คนละรสคนละเรื่องคนละชาติ แต่เอาเถอะ อาตมาต้องทำไว้ ฝากไว้ในโลกา จะเข้าใจไม่ได้ อีก ๑๐๐ ปีเข้าใจก็ช่างมัน มันเป็นของอันลึก อย่างนี้เป็นต้น เป็นอัพภูตธรรม เป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง เป็นเรื่องที่อัจฉริยะ ซึ่งมีหลายอย่าง แต่ก่อนอาตมาไม่มี พอมาปฏิบัติธรรมแล้ว อู้ฮู ตัวอัจฉริยะ แหม ชมตัวเองอีกแล้ว ตัวอัจฉริยะมันขึ้นมา อัพภูตธรรมขึ้นมา มันเป็นตัวความรู้ ที่บัญญัติภาษาเข้าใจไปหมด จนอาตมา เคยเล่าให้ฟังนะว่า เอ โลกนี้มีอะไรที่จะให้เราไม่รู้น้า อะไรมันก็รู้ไปหมด อยากจับอะไร รู้ไปหมด หยิบอะไร มันรู้หมด พูดถึงอะไร มีอะไร มันรู้ทั้งนั้นแหละ จะมีอะไรที่เราจะไม่รู้ มีอะไร มันถึงขั้น อย่างนั้นเลยนะ โอ้โฮ้ มันรู้มันเป็นลักษณะอีกอันหนึ่ง นี่เป็นสภาวะหนึ่งนะ แต่อัพภูตธรรม ท่านก็บอกว่าอะไร เมื่อกี้นะ อ่านมา อิติวุตตกะ

อัพภูตธรรมก็คือเรื่องอัศจรรย์ เรื่องพระสูตรว่าด้วยข้ออัศจรรย์ที่ไม่เคยมี ทุกสูตรนั่นแหละ เรียกว่า อัพภูตธรรม ท่านก็ไปเอาตัวพิสดาร ตัวประหลาด ตัวพิเศษ อาตมาเห็นความพิเศษ อันนี้เห็น อย่างอัศจรรย์ หรืออาตมาเอามา แสดงออกกับพวกเรานี่ พวกคุณฟังออก พวกคุณเข้าใจว่า โอ้โฮ แหม อัศจรรย์ เอาที่ไหนมาพูด ทำไมพูดไม่รู้จักหมด แล้วทำไมอธิบายได้ลึกซึ้งอย่างนี้ นี่เป็นเรื่อง ลักษณะของอัพภูตธรรม ที่คุณรู้สึกทั้งนั้นแหละ คุณรู้สึกว่าความเป็นอัจฉริยะของอาตมาคืออะไร นี่พูดกันอย่างเรียกว่า อย่าไปว่ายกตัวยกตน อย่าไปว่าคุยตัว อะไรเลยนะ คุณจะรู้สึก เอ ลักษณะอย่างนี้ เราอยากได้จังเลย นี่ แสดงความรู้ว่ามีความรู้ ทำไมมีความรู้ที่ไม่น่า มีอะไรที่ประหลาด

ที่จริงอาตมาเคยพูดถึงอัศจรรย์ พวกเราเลิกลาภยศละออกมา ทิ้งออกมาได้ เป็นเรื่องอัศจรรย์ เรื่องอัพภูตธรรม คุณเลิกละลาภยศ เลิกโลกีย์ออกมาได้ โลกธรรมออกมาได้ เป็นความพิเศษอัศจรรย์ ปาฏิหาริย์ อาตมาก็พูดกันไม่รู้เท่าไหร่ แต่เขายังไม่เห็นว่าอัศจรรย์ เพราะฉะนั้น คนจะรู้ว่า มันอัศจรรย์ ในสิ่งที่อัศจรรย์จริง ต้องมีภูมิปัญญารู้ว่าอัศจรรย์ ไปหกคะเมนตีลังกาได้ เหมือนอย่าง กับ นักกายกรรม ไปเล่นแร่แปรธาตุอะไรได้อัศจรรย์ ไอ้อย่างนั้น ก็ อัศจรรย์อย่างนั้นแหละนะ มันก็มีเหตุปัจจัยของมัน แต่อย่างนี้ก็มีเหตุปัจจัยของมัน แต่เหตุปัจจัยอันนี้ มันไม่ง่าย มันทำได้ ขนาดนี้ อาตมากลับมองว่าอัศจรรย์นะอย่างนี้ คนอยู่เหนือลาภได้นี่ อัศจรรย์ มีลาภไม่เอาลาภ อัศจรรย์นะ อาตมาว่ามันน่าอัศจรรย์กว่านะ มันเรื่อง มันเป็นได้ยากนะ คนได้ลาภไม่เอาลาภ ได้ยศไม่เอายศ ได้สรรเสริญไม่ฟูใจ ใครนินทาก็ ไม่ใช่หน้าด้านนะ นินทาก็ฟัง รับได้ รับด้วยความน้อม รับด้วยอ่อนน้อมถ่อมตน รับแล้ว เอามาพิจารณาจริงๆด้วย ไม่ใช่เอ็งนินทา ช่างหัวเอ็ง ข้าไม่ฟัง นั่นหน้าด้าน ก็เฉย เหมือนกันไม่ใช่อย่างนั้น เป็นคนอย่างนี้ซิ เป็นคนอัศจรรย์ เป็นเรื่องอัศจรรย์ เขามองไม่ออก แต่อาตมามองอาตมาอ่าน อาตมาพูดกับพวกเรา พวกคุณจะมองเห็นแค่ไหน ในตัวพวกคุณที่มีสิ่งเหล่านี้ มีสิ่งที่อัศจรรย์ เป็นอัพภูตธรรม ถ้าไม่ถึงระดับอัพภูตธรรม คุณไม่กล้าหรอก ไม่กล้าหรอก ถ้าไม่ถึงอัพภูตธรรม ไม่ถึงความอัจฉริยะ อัจฉริยะหรือความอารยะ หรืออริยะชั้นสูง ถึงขั้นทิ้งได้ เลิกได้ อยู่เหนือมันได้ ไม่แยแส ด้วยจริง ด้วยจังได้ ไม่เอาแล้วทิ้งแล้ว ไอ้ที่โลกเขายินดี อยากได้ อยากมี อยากเป็นเหลือเกิน แล้วเราก็ไม่มี ไม่เป็นได้ พูดแล้ว แค่คนเลิกบุหรี่ได้ขาดก็อัศจรรย์แล้ว ไม่เชื่ออย่าเชื่อ เลิกเหล้าได้ เลิกลิปสติกได้ เลิกเพชรเลิกพลอยได้ เลิกไอ้สมบัติพัสถานอะไร ที่เขายินดีปรีดากันนักนี่ได้จริงๆ มันอัศจรรย์นะ ในโลกนี้ มันหาได้ยากจริงๆ นี่เป็นสภาวะ ถ้านามธรรมของใคร จิตวิญญาณของใคร นั่นล่ะ สิ่งอัศจรรย์ อัพภูตธรรม อัจฉริยะของคุณ ถ้าจะเป็นตำราเล่าเป็นเรื่องอัศจรรย์อะไร ก็ว่าไปซิ และชอบไป อัศจรรย์ ท่านเหาะ ท่านเดินบนน้ำ ถ้าอะไรไปอัศจรรย์ ไอ้เรื่องแบบนั้น มันก็ฟังง่าย เรารู้เหมือนกับไปดู นักกายกรรมเปียงยาง รัสเซียเขาเล่น มันก็เท่านั้นแหละ นักเล่นแร่แปรธาตุ เขาเล่นอัศจรรย์ ก็จริง ก็ไม่ผิดเกินมนุษย์ที่ทำได้ อันนี้ซิเกินมนุษย์ทำได้ แล้วเป็นนัยที่สอดคล้อง กับธรรมะพระพุทธเจ้าด้วยซิวิเศษ อัศจรรย์แท้ อัพภูตธรรมแท้ เพราะฉะนั้น นอกจากนี้แล้ว

ถาม : ที่พ่อท่านปฏิบัติธรรมแล้วรู้หมด คือการได้ญาณ ขั้นหูทิพย์ ตาทิพย์ หรือไม่

ตอบ : แน่นอน แต่คุณต้องรู้นะว่า หูทิพย์ ตาทิพย์ของอาตมาอย่างไร ไม่ใช่หูทิพย์ ตาทิพย์ นั่งอยู่ที่นี่ ก็ได้ยินเสียงไกลๆ เหมือนหมา (ผู้ฟังหัวเราะ) เอ หมานี่หูดีหรือเปล่า หา หูดี จมูกดีต่างหากล่ะหมา หา หูก็ดีด้วย จมูกก็ดีด้วยนา ตาไม่ดี ไฮ้ หมา ตาไม่ดี หมาตาไม่ดีนะ หมานี่ตาไม่ค่อยดี เขาว่าตาบอดสีด้วย ตานี่ เป็น negative ด้วยทั้งนั้นด้วย ตาหมาไม่ค่อยดี แต่หูกับจมูกดีอย่างนี้เป็นต้น (คนฟังพูด ฟังไม่ชัด)

ตอบ : เพราะฉะนั้น ถ้าเราขับรถจะไล่หมา ไล่หมา อย่าไปใช้ไฟ หรืออย่าใช้บังตา ใช้ทางอายตนะ ทางเสียงให้มัน แล้วมันจะไล่ หมานี่มันอย่างนั้น หมาใช้เสียงให้มันแล้วมันจะไล่ หมาอย่างนั้น หมาใช้เสียง ใช้กลิ่น ได้

เอาละ ออกนอกเรื่องไปหน่อย ขยายไปไกล เหลือเวทัลละ ตัวเวทัลละก็คือ แล้วก็จะรู้แจ้งยิ่งขึ้น เรื่อยๆ จาการตามรู้ตามเรียน ตามประพฤติ จนเกิดผล โดยนัยนี้แหละ คือสุตะ เรื่อยมาจน อัพภูตธรรม แปดขั้นนี่แหละ วนเวียน มีซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ลึกซึ้งขึ้น ใหญ่ขึ้น เป็นอัจฉริยะ ยิ่งๆขึ้นนี่แหละ เรียกว่าเวทัลละ ซึ่งหมายความว่า เป็นความรู้รอบ รู้กว้าง รู้หมด รู้ลึก รู้ซึ้ง รู้สูงยอด รู้แท้ รู้จริง รู้บรรลุหมด รวมยอดแล้วเป็นเวทัลละ เป็นเรื่องของความรู้ทั้งหมด

อันนี้เป็นเรื่องของสุตะนะ ในลักษณะที่อธิบายเป็นวิชาการ เป็นตัวหลักวิชาตำรา ก็อ่านให้ฟังแล้ว เป็นลักษณะของสภาวะ เป็นลักษณะของความลึกซึ้ง อาตมาก็อธิบายให้ฟังแล้ว เพราะฉะนั้น ต่อไป อาตมาก็อธิบายอะไรอีก ก็ไม่ได้ออกนอกเหนือจากสุตะ หรือความรู้ทั้งหมด ๙ หลัก นวังคะ ก็คือ นวะ+องคะ องค์ของ ๙ นี่แหละ อยู่ในนี้นี่แหละ ความรู้ทั้งหมด มีอยู่แค่นี้ นี่เป็นเรื่องของสุตะ

ทีนี้สุตะนี้ ท่านบอกว่าเราจะมีสุตะมากได้อย่างไร หนึ่ง ฉลาดในอรรถ มันจะมีความรู้ ความรู้ในอรรถ สอง ฉลาดในธรรม สาม ฉลาดในพยัญชนะ พยัญชนะก็อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้แหละ ที่ท่านมาอธิบาย นวังคสัตถุศาสตร์ ด้วยพยัญชนะ อย่างที่อ่านไปของที่ท่านทั้งหลาย ที่ท่านเรียนกันนั่นล่ะ นวังคสัตถุศาสตร์ ด้วยพยัญชนะ คือมีเครื่องหมาย มีตัวหนังสือประกอบบอก ถ้าเขาประกอบ แยกแยะเรื่องพยัญชนะ พยัญชนะนี่ไม่ใช่สระ เอาถึงขนาดนั้นแนะ รู้แต่ตัวพยัญชนะ สระไม่มี เรียกว่า ออกมาเหมือนคนขาด้วนข้างหนึ่ง มาได้ขาข้างเดียว หรือแม้จะมีแต่ขา ไม่มีมือ มีมือไม่มีขา คล้ายๆกันนั่นแหละ มันขาดส่วนที่สมบูรณ์ พยัญชนะยังไม่สมบูรณ์ มันจะมีพยัญชนะก็ต้องมีสระ แต่มันได้ส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น ฉลาดในพยัญชนะ คือฉลาดในเครื่องหมายส่วนหนึ่ง ฉลาดในอักษร หรือว่ามีข้าวแต่ไม่มีกับ พยัญชนะได้แต่ข้าว ไม่มีกับ กับท่านเรียก สู-ปะ ข้าว ท่านเรียกพยัญชนะเป็นต้น เป็นลักษณะส่วนหนึ่ง ไม่ใช่สองส่วน ฉลาดในนิรุตติ ที่นี้นิรุตติ ก็คือ สภาพที่มันมีองค์ประกอบ ที่ทำให้เฉลียวฉลาดมากขึ้น บางทีเราเข้าไปแปลภาษานิรุตติ ว่าภาษา เท่านั้น ภาษาไม่ได้แค่พยัญชนะ นิรุตตินี่ลึกกว่าพยัญชนะ นิรุตติภาษาหมายความว่า เป็นพยัญชนะ ที่มีทั้งสระ มีทั้งความหมาย มีทั้งทำให้เกิดเฉลียวฉลาดมากขึ้น เพราะฉะนั้น ฉลาดทั้งในนิรุตติ ทั้งในความหมาย ทั้งในภาษา ทั้งในประโยค ทั้งในเรื่องปริยัติ ทั้งหมดนี้เรียกว่านิรุตติ พยัญชนะ เป็นส่วนหนึ่ง ที่ฉลาดขึ้นมาในด้านหนึ่งเปลือกหนึ่ง ส่วนหนึ่ง ส่วนนิรุตติมากขึ้น มีองค์ประกอบ มากขึ้น เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นตัวแตกฉานในภาษา แตกฉานในสภาพถ้อยคำ แตกฉานในสิ่งที่ เป็นเหตุเป็นผล เป็นความเข้าใจอะไร ต่างๆ นานา เยอะแยะหลายด้านหลายมุม นี้เรียกว่านิรุตติ อันที่ ๕ ฉลาดในเบื้องต้นและบั้นปลาย ฉลาดครบรอบ หมดทั้งอรรถทั้งธรรม อรรถเนื้อแก่น อรรถะเนื้อหา หรือแก่นธรรมะนี่ทั้งนั้นเลยรวมหมด มีชั้นเชิง มีรอบด้านเลย เรียกว่ารู้ผสมผเส

ทีนี้ก็แยกย่อยออกมาเป็นพยัญชนะ นิรุตติ และเบื้องต้น ท่ามกลาง เบื้องปลาย เรียกว่า สุตะ การมีสุตะลึกซึ้งขึ้น อาตมาไม่อ่านสุตะ ในนี้อีก สุตะสี่ ในหน้า ๑๗ ๑๘ ๑๙ นี่

ทีนี้มาอ่านดูต่อในหน้า ๒๐ หน่อยหนึ่ง ถ้าบุคคลแม้มีสุตะน้อย ไม่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ ทั้งหลาย ย่อมติเตียนเขาทั้งโดยศีล และสุตะทั้งสอง ทั้งศีล ทั้งสุตะ เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีสุตะน้อย ผู้ที่มีความรู้น้อย นักปราชญ์จะย่อมติเตียนเขา ผู้ใดมีสุตะมาก จะติเตียนนักปราชญ์ หรือผู้มีสุตะมาก จะติเตียนผู้มีสุตะน้อยเป็นธรรมดา แต่ต้องติเตียนโดยศีล ติเตียนโดยสุตะ สุตะถ้าใครมีสุตะ มีทั้งสุตะ เคยยะ เวยยากรณะ มีทั้งคาถา อุทาน อิติวุตตกะ อย่างที่ว่าเมื่อกี้นี้ เรียนมาหมดเลย ทั้งชาตกะ ทั้งอัพภูตธรรม ทั้งเวทัลละต่างๆ ถ้ายิ่งมีความรู้ มีสุตะ ๙ นั้นเลย ยิ่งติเตียนผู้อื่นได้มาก โดยหลักเกณฑ์เรียกว่าโดยหลักวิชาโดยศีล โดยสุตะที่มีเนื้อสุตะจริงอย่างที่ว่า ไม่ใช่สุตะแต่ตำรานะ ไม่ใช่ไปท่องในพระไตรปิฎก เอาหลักสุตะของคาถา ก็คือหมวดนั้น เคยยะคือหมวดนี้ อิติวุตตกะคือหมวดนั้น เท่านั้นมาอ้าง เอาอันนั้นมาอ้างก็ได้ อย่างท่านพระ... นี้ ท่านก็มีมาก ท่านเอามาอ้างยันกับอาตมาได้เก่ง อาตมาอาจต้องฟัง เสร็จแล้วต้องมาเอา สภาวะ อย่างอาตมาจะสู้ จะสู้เอาสภาวะยัน เอาภาษาไม่ทันท่าน เพราะท่านศึกษามาเยอะ ท่านจำมา ได้มาก ท่านจำได้มากกว่าแน่ๆเลย ในด้านพยัญชนะ ท่านเยอะกว่าอาตมาแน่ อาตมาไม่มีพยัญชนะ มากเท่าท่าน อาตมาจะเอาเนื้อหาพยัญชนะมา ต้องพยายามเข้าใจ เอามาใช้ ถ้าจะสู้ สู้ด้วยสภาวะ เสร็จแล้วสุดท้ายก็เอาสภาวะ อันนี้แหละยัน แล้วก็มีสภาวะที่ แม้ได้น้อย ก็ต้องมีสภาวะ ใช้ได้ถึงเนื้อ ถึงแก่นให้ได้ถึงขั้นบรรลุจริงนะ เพราะฉะนั้น คนจะรู้มากรู้มายไม่สำคัญ สำคัญที่ว่า สามารถที่จะ บรรลุธรรมได้ไหม ถ้าบรรลุได้ถึงเนื้อถึงแก่นละดี แล้วจะไปท้วงไปติง คนอื่นได้ แต่ไม่ได้ว่าเรามีมา เพื่อที่จะไปท้วงไปติงเขา ถ้าบุคคลแม้มีสุตะน้อย ตั้งมั่นแล้วในศีล ผู้ที่ไม่ตั้งมั่นในศีล จะถูกติเตียน ได้โดยศีลด้วยสุตะ ผู้ที่ไม่ตั้งมั่นในศีลนี่ละ จะถูกติเตียนได้ ด้วยศีล ด้วยสุตะ

ทีนี้บุคคลที่แม้มีสุตะน้อย ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมสรรเสริญเขาโดยศีล แต่สุตะของเขา ไม่สมบูรณ์ มันอาจจะเหมือนอาตมามั่งน้า มีสุตะน้อยนะ ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อม สรรเสริญเขาโดยศีล แต่สุตะของเขาไม่สมบูรณ์ ถูกแล้ว เขาติเตียนอาตมาโดยสุตะ โดยสุตะแบบภาษา พยัญชนะ ไม่สมบูรณ์นี่ถูกแล้ว

ทีนี้บุคคล ถ้าบุคคลแม้มีสุตะมาก ไม่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมติเตียนเขาโดยศีล แต่สุตะเขาสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นอาตมาติเตียน ติเตียนผู้มีสุตะมากนี่ ติเตียนเขาไม่ตั้งมั่นในศีลว่า ปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญาบ้างซี ไปติเตียนเขาอยู่นะ เขายังรู้สึกว่าเขาจะโกรธ เพราะเหตุนี้ก็ได้ (หัวเราะ) ไปติเตียนเขา ติเตียนเขาแล้วเขาปฏิบัติบ้าง มีแต่เก่งสุตะ และเก่งพหูสูต อยู่นั่นแหละ และก็ไม่ปฏิบัติให้มีศีล สมาธิ ปัญญา เกิดปัญญาวิมุติจริงๆขึ้นมาบ้าง เออ เราก็ติเขาได้

ถ้าบุคคลแม้มีสุตะมาก ทีนี้ประเภทที่ ๔ ตั้งมั่นดีแล้วในศีล นักปราชญ์ ย่อมสรรเสริญเขาทั้งโดยศีล และสุตะทั้งสอง ใครควรเพื่อจะติเตียนเขา ผู้เป็นพหูสูตผู้ทรงธรรม เป็นพุทธสาวกผู้มีปัญญา ผู้เป็นประดุจแท่งทองชมพูนุช แม้เทวดาก็ย่อมชมเชย แม้พรหมก็สรรเสริญ เพราะฉะนั้น อย่างอาตมา ก็ขาดสุตะทั้งด้านพยัญชนะ ทั้งด้านอะไรนี้บ้าง ก็แน่นอน แต่โดยศีล สมาธิ ปัญญานี่ อาตมาว่า อาตมามีอันนี้เป็นหลัก เพราะฉะนั้น เราจะสมบูรณ์ได้ ก็ต้องมีทั้ง ๒ อย่าง อาตมาเอง ไม่มีอีกอย่างหนึ่ง ทางสุตะไม่ค่อยมาก แต่เอาละ ไม่เป็นไร ปางนี้ก็ได้แค่นี้ ก็เอาแค่นี้ แต่ก็พยายาม ศึกษาอยู่ ไม่ได้ประมาท ไม่ได้ดูถูกอะไร ทุกวันนี้อาตมาก็ยังใช้หนังสือของพระเทพเวที ท่านมีสุตะ เรียบเรียงไว้ดีหลายอย่าง และอันไหน แหม เป็นนักวิชาการจริงๆ เรียบเรียงรวบรวมมา ขอบคุณท่าน ท่านมีอุปการะมากจริงๆ ขอบคุณอยู่ตลอดเวลาว่า ท่านจะทำให้เราได้สะดวกดายสบายดี เยอะแยะ

มาถึงหน้า ๒๒ จาคะ จาคะมี ๒ อย่าง หิริโอตตัปปะ สุตะแล้ว จาคะ อามิสจาคะกับธัมมจาคะ มีการสละ สละได้ ๒ อย่าง คนในโลกก็มีอามิสมาก่อนใช่ไหม จะไปมีธรรมะ ยังหรอก มีธรรมะก็คือ อกุศลธรรม มีอกุศลธรรมะ เพราะฉะนั้น เมื่อคุณมีอกุศลธรรม คุณก็สละอกุศลธรรมออกไปก่อน จาคะอกุศล อามิสสิ่งที่เป็นลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ก็ต้องเอาออกแน่นอน ต้องจาคะนะ มันจำไม่ยากดอก มัน ๒ จาคะเท่านั้นเอง อามิสกับธัมมจาคะ สละอามิสกับสละธรรม แล้วก็อย่า ไปบ้ามีธรรมะ แล้วก็สละธรรมะทิ้ง มีธรรมะที่เป็นกุศล เอาไปแจกได้ มันประหลาด ตรงที่ว่า คุณมีอามิส มีลาภ คุณแจกลาภ ลาภคุณหมดมั้ย คุณมียศคุณแจกยศ ยศคุณหมดมั้ย สละยศ มันก็ไม่มียศ สละสรรเสริญ มันก็ไม่มี ที่จริงมันซ้อนนะ สละยศ ยิ่งมียศที่เป็นอิสริยยศ เขาเรียกยศอะไรบ้าง ยศมันมีหลายยศเหมือนกันนะ อาตมาชักไม่แน่ใจแล้วตรงนี้ พยัญชนะว่าไง ยศนี่ มันมียศทางโลก กับยศทางธรรม ยศทางธรรม มันมีจริงนะ พระพุทธเจ้ามียศทางธรรม อย่างอาตมา ก็มียศทางธรรม ไม่มีใครตั้งหรอกตามธรรม มีนะได้นะ ได้ยศ ลาภก็ได้ตามธรรม ที่จริงมันมีได้ตามธรรมเหมือนกัน แต่เอาละ เราพูดให้ชัดเจนว่าโลกีย์มันก็เท่านั้นละ อามิสคือ สิ่งที่เป็นตัวตน ลาภก็คือสิ่งที่ได้มาแบบเป็นของได้ ได้ ได้ ทรัพย์สินศฤงคาร ยศก็คือตำแหน่ง ที่เขาตรา เขาตั้งทางโลก สรรเสริญก็คือยกย่องชมเชยแบบโลกๆนะ แล้วโลกียสุข

ทีนี้เราสละโลกียสุข สละสรรเสริญ สละยศ สละลาภแบบโลก นี่ อามิส ต้องจาคะนี้แน่นอน คุณจะทำได้ตามฐานะของคุณ ของเราก็มีมาเรื่อยๆ จาคะมาเรื่อยๆ ทำไมทำหน้าเหนียมๆ เจี๋ยมๆ ยังไม่ได้ลาออกจากงาน ใช่มั้ย ก็เลยเหนียมหรือ ไม่ได้บังคับคุณหรอก ขนาดคุณวัลลภนะดูจะ ๖๐ แล้ว ยังไม่ยอมลาเลย ต้อง ๖๐ เสียก่อน เขาปลดนะ ไม่ใช่อะไรหรอก ๖๐ เขาปลดถึงจะลา ยัง หา ๕๘ จะออกหรือ อ้า ชักมีความมั่นใจ ชักจะสละแล้วตำแหน่งยศ สละมา เงินเดือนหมดไปด้วยนะ ไม่ไหวนะ ไหวหรือ มันต้องรู้ตัวเราว่า เราจะไหวไหม เราจะเอาอะไรไหม อาตมาไม่ยุแหย่ ไม่มานั่งปลุกเร้าอะไร มันไม่ดีหรอก ประเดี๋ยวอาตมาตาย ถ้าอาตมายุแหย่นี่นะ เดี๋ยวไม่ได้ถึงขั้นรอบดอกนะ ยังไม่สุกยังไม่งอม จำบ่มบ้าง บางทียังไม่จำบ่มหรอก เอามาดิบๆ เอามาอ่อนๆ เอามาบ่ม เน่าเละอยู่ตรงนี้แหละ อาตมาเน่าเละอยู่ตรงนี้ แล้วจะทำอย่างไร อาตมาตาย ตายแน่ๆเลย นี่มันเรื่องสัจจะนะ เพราะฉะนั้นอาตมาไม่ยุแหย่หรอก เรื่องลาออก จากงาน จะทิ้งลาภ ทิ้งยศ แต่มันต้องถ้วน ต้องเต็มต้องอิ่ม ต้องมากัน อย่างออกมาแล้ว มาอยู่ อย่างสบาย ใครออกมาแล้ว เออ สบาย ขนาดนั้นยังมีขาหักขาเป๋มาเลย โอ้โฮ บางทีเราออกมาแล้ว ชักไม่ค่อยฝืนทน ทู่ซี้อยู่นี่แหละ เอ้า ทู่ซี้อยู่นี่แหละ ตายก็ช่วยเผา ไม่ต้องเป็นปัญหาอะไรหรอก ไม่ไหว ก็ให้มันตายสักชาติ อาตมาถึงว่า ขอสักชาติเถอะ คุณได้ตัดสินใจผิด อินทรีย์พละไม่ถึงรึเปล่า ออกมาก่อน มันเกิดไฟแรงวูบวาบเกินไป เสร็จแล้วมาทรมานทรกรรมบ้าง เอาอย่างไรได้ คุณเอง คุณตัดสินเองนะ อาตมายืนยันทุกทีว่าไม่ยุแหย่นา ใครจะออกจากงานมา อาตมาปรามไว้ทุกคน ปรามไว้ทั้งนั้นแหละ นอกจากไม่บอก ไปมุบมิบๆลาออกมาเอง แล้วไม่บอกอาตมา จะโทษอาตมา ไม่ได้หรอก ใครจะลา มาบอกอาตมา อาตมาปรามทั้งนั้นแหละ ให้ดีๆอย่ามานั่งเล่น ไม่ใช่เรื่องเล่นนา นี่เราทิ้งจริงๆนา นี่แหละสละอามิส ลาภ ยศ ได้จริงๆ แล้วเราก็สละลาภได้จริงๆ คุณจะเกิดปัญญา เกิดญาณ เกิดศรัทธา เกิดความเชื่อมั่น เชื่อถือ เราไม่มีก็ได้ อาตมาก็เคยบอกแล้ว ความมั่นใจของคน มั่นใจในคุณธรรมของเรา ในสมรรถภาพของเรา ว่าเรามีความขยัน เรามีฝีมือ เรามีความสามารถ เราก็จะอยู่ เราก็จะสร้าง เราก็จะทำ ยิ่งหนุ่มๆแน่นๆ ยิ่งจะมั่นใจ แก่แล้วก็ตาม ก็ได้มีบุพเพกตปุญญตา มีบุญที่ได้ทำก่อนเก่า อยู่กับหมู่มา ก็ช่วยเหลือหมู่มาก็ตั้งนาน สร้างความดีมา ก็เยอะก็แยะ เราก็มั่นใจในหมู่อีก มั่นใจในความสามารถของเรา มั่นใจในหมู่กลุ่ม มั่นใจในบุพเพกตปุญญตา ที่จริง เราไม่ต้องสะสมหรอก ไม่กลัวเลย ไม่กลัวตาย ชีวิตนี้ไม่กลัวตายอยู่นี้ สละได้ อามิส อามิสจาคะ คุณมีธรรมะแล้ว เป็นกุศล คุณก็เอาอันนี้มาแจก ยิ่งแจกยิ่งงอก ยิ่งแจกยิ่งงาม ยิ่งแจกยิ่งเจริญ ยิ่งแจกยิ่งไม่หมด ใครมาเอา ธรรมะจากอาตมาไป ให้หมดหน่อยเถิด มาเอาไปหน่อยเถิด มาเอาไปให้หมด เอาไปให้ได้จริงๆ ไม่มีหมด ยิ่งแจกยิ่งงอก ยิ่งแจกยิ่งงาม สมบัติอย่างนี้ซี เป็นสมบัติที่ควรเป็นควรมี ไปเอาลาภ ไปเอาทอง เอาเงิน เอาเพชรนิลจินดา ไปเอาอะไรมา หา นี่แหละ มันเป็นทรัพย์ที่ต้องทวน

ย้อนไปตรงนี้ ทรัพย์ที่เป็นสาธารณะเป็นอย่างไรนะ ทรัพย์ที่เป็นสาธารณะ เป็นของทั่วไป แก่ไฟ แก่น้ำ แก่พระราชา แก่โจร ถึงบอกว่า เขาถึงได้พูดเป็นพยัญชนะสมัยก่อน ว่าทรัพย์ที่เป็นสาธารณะ เป็นของทั่วไปแก่ไฟ ใช้ภาษาสาธารณะ นี่หมายความว่า ไฟมันก็เผาได้ ทรัพย์อย่างนี้นะ น้ำมันก็ละลายทำลายได้ พระราชาก็ยังจะทำลายทรัพย์อย่างนี้ได้ โจรก็ทำลายได้ ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักก็ทำลายได้ ทรัพย์อย่างนี้ ทรัพย์ที่เป็นอสาธารณะ เป็นของไม่ทั่วไปแก่ไฟ หมายความว่า ไฟทำลายไม่ได้ น้ำก็ทำลายไม่ได้ พระราชาก็ทำลายไม่ได้ โจรก็มาทำลายไม่ได้ ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ก็มาทำลายไม่ได้ ได้แก่ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา นี่เรียกว่า ทรัพย์อสาธารณะ ควรจะได้ทรัพย์อย่างนี้

เพราะฉะนั้น ทรัพย์อย่างนี้ จึงเป็นทรัพย์เป็นธรรมที่ แหม ยิ่งบริจาค ยิ่งงอกยิ่งงาม (กระซิบ) ให้พระราชามาริบก็ยิ่งดี ทรัพย์อย่างนี้ ริบเอาไปยิ่งดี โจรมาปล้นเอาไปหน่อยซิ แหม อยากให้ จอมโจรบัณฑิตมาปล้นเอา เห็นไหมว่ามันสอดคล้องกับภาษาเราพูด เราเข้าใจกันลึกซึ้ง มันซาบซึ้ง คนอื่น ยังไม่รู้บัญญัติ จอมโจรบัณฑิตคือใครวะ ที่แท้ตัวเขา แล้วมาปล้น ปล้นอย่างไรวะ มาปล้นเอาไปหน่อยเถอะน่า นึกอยากให้ปล้น ยิ่งตัวจอมโจรบัณฑิตยิ่งดีใหญ่เลย โถ มีแต่ขี้กะโล้โท้ มาปล้นเอาทรัพย์อย่างนี้บ้างซิ ไปหอบทรัพย์ไม่เข้าเรื่อง ไปเอาเปรียบเอารัดเขา มีความเฉลียวฉลาด มีอะไรอย่างโน้นอย่างนี้ ไม่เข้าเรื่องเลย ทิ้งเสียซิทรัพย์อย่างนั้น มาเอาทรัพย์อย่างนี้ ชี้มาที่นี่ อาตมาเป็นเศรษฐีนะ มีทรัพย์เยอะ นี้เราพูดอย่างไม่อาย พูดอย่างเปิดเผย พูดอย่างสัจจะจริงจัง เรามีอสาธารณทรัพย์ ทรัพย์อย่างอสาธารณะ ใครมีทรัพย์อย่างสาธารณะ ก็ต้องบริจาคออกก่อน ทรัพย์อย่างที่ ไฟก็ทำลายได้ น้ำก็ทำลายได้ พระราชาทำลายได้ โจรทำลายได้ คือ ไฟเอาไปได้ น้ำเอาไปได้ พระราชาเอาไปได้ โจรเอาไปได้ ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก คือทายาทผู้ไม่ได้เรื่อง มันก็ผลาญได้ แต่ทรัพย์อย่างนี้ อสาธารณะที่เราว่า มีศรัทธา มีศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา ทรัพย์อย่างนี้ ทายาทผู้ที่จะไม่เข้าเรื่องเข้าราว ก็ทำลายไม่ได้ ลูกมันจะมาผลาญอย่างไร ก็ผลาญไม่ได้ ลูกเลวร้ายอย่างไร ก็ผลาญไม่ได้ นี่อย่างนี้ซิแจ๋ว อย่างนี้ซิเด็ดขาด อย่างนี้ซิดี

เอาละ อาตมาว่าเรามาถึงขั้นจะจาคะแล้ว มาถึงขั้นที่ว่า มีอามิสจาคะ กับ ธัมมจาคะ อกุศลธรรม เราก็เรียกว่าธรรมะเหมือนกัน อันนี้เราต้องจาคะจริงๆด้วย เราจาคะอกุศลธรรมได้ เราจึงเกิดเป็น ธรรมะ เมื่อเป็นธรรมะที่เป็นกุศล อันนี้แหละเป็นอสาธารณทรัพย์ เป็นทรัพย์ที่อะไร ทำลายไม่ได้ เราจะได้อย่างนี้จริงๆ สูตรต่างๆ ยิ่งขยาย ยิ่งไปรวบรวมมานี่ รวบรวมมาไม่น้อยดอกนะ นี่ไม่มากดอกนะ เราก็มีผู้ช่วยรวบรวมให้ อาตมาก็ไม่มีเวลาเองนัก ให้ท่านไปรวบรวมมา อาตมาได้แค่นี้ ก็เอาแค่นี้มาอธิบาย ก็ซาบซึ้งดี ได้ขนาดนี้แล้ว ถ้าได้มากกว่านี้ มีเวลารวบรวม มากกว่านี้ นะ โอ รับรองจะอธิบายได้ซับซ้อนลึกซึ้ง มีอะไรต่ออะไรรับรองขยายกันมากกว่านี้

สำหรับวันนี้ ไฟแดงมา ๕ นาทีแล้ว เพราะฉะนั้น ก็หยุดเสียก่อน เอาไว้วันหลังต่อ พรุ่งนี้ต่อ

สาธุ

ถอดโดย กาญจนา เดชธราดล ๒๕ พ.ค.๒๕๓๔
ตรวจทาน ๑ โดย อุทัยวรรณ ตั้งมั่นสกุล ๑๔ มิ.ย.๒๕๓๔
พิมพ์โดย อนงค์ศรี เบญจโศภิษฐ์ ๒๑ มิ.ย.๒๕๓๔
ตรวจทาน ๒ โดย สม.ปราณี ๒๗ มิ.ย.๒๕๓๔
FILE:1337S.TAP