สัจจะสูงสุดอยู่จุดไหน
สัจจะ-สัญญา
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
ก่อนฉัน วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๓๖ ณ พุทธสถานสันติอโศก


เจริญธรรม ญาติโยมผู้ยังใฝ่ธรรมของพระพุทธเจ้า

วันนี้อาตมาจะเทศน์ ถึงเรื่องของสัจจะ สัจจะสูงสุดอยู่ที่จุดไหน อันนี้ เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งมากเลย ที่อาตมาพบ ในหลักฐานของพระไตรปิฎก แล้วก็เอามาขยายความกัน สำหรับพวกเราชาวอโศก ได้ศึกษาธรรมะมานี่ อาตมาสอนถึงเรื่องปรมัตถ์ ผู้ที่เรียนธรรมะด้วยตรรกศาสตร์ ด้วยการคิดค้นเอา แต่เหตุแต่ผลเฉยๆนี่ จะได้ความเฉลียวฉลาดเหมือนกัน ได้ความเฉลียวฉลาด แต่เฉพาะเหตุผล เสร็จแล้วความจริงใจ หรือความจริงๆ ที่เชื่อในความจริง จะไม่มี จะเป็นโทษ เป็นภัย เมื่อความเชื่อในความจริงไม่มี เพราะตัวเองไม่ได้ปฏิบัติลด ละกิเลสจริง เมื่อไม่ได้ลดละ กิเลสจริง กิเลสมันก็ออกฤทธิ์ มันจะมีอำนาจทำให้ เราเอง อาศัยตรรกะที่ลึกซึ้ง เอาไปโกหก เอาไปขี้โกง เอาไปหลอกลวงผู้อื่น เป็นบาปซ้ำซ้อน แล้วบาปมากด้วย เพราะว่ายิ่งเอาธรรมะชั้นสูง ไปโกหก ไปหลอกคนอื่นเท่าไหร่ บาปยิ่งมาก เอาธรรมะในระดับธรรมะขั้นโลกุตระ หรือ ธรรมะขั้นอริยธรรม เป็นธรรมะในระดับอริยธรรม ธรรมะในระดับชั้นสูง เอาไปโกหกในระดับ อุตริมนุสธรรม อย่างนี้เป็นต้น ยิ่งบาปหนัก พระพุทธเจ้า ถึงได้ปรับปาราชิกเลย ใครไปโกหก อวดอุตริมนุสธรรม...ที่ไม่เป็นจริง ไม่มีในตน แล้วก็ไปว่าตนมี อะไรแค่นั้นแหละ ไปโกหกว่า ตนเองมีธรรมะอันนี้ ทั้งๆที่ตนไม่มีแค่นั้นแหละ ท่านปรับปาราชิกเลย จับสึก แล้วก็ทั้งชาตินี้ เรียกว่าตัดขาด ไปจากศาสนาพุทธทั้งชาติ ไปชาติหนึ่ง ไม่ต้องมาอนุเคราะห์ ไม่ต้องส่งเสริม ปล่อยเขา ไม่มีอยู่ในวงการของศาสนาพุทธ ไม่ช่วยไม่เหลือ ไม่เกื้อกูล ในเรื่องศาสนากัน ทั้งชาติเลย นั่นเป็นเรื่องปาราชิก เหมือนคนตายแล้ว จากศาสนาพุทธ หนึ่งชาติ เรียกว่า ลงโทษกัน เหมือนกับประหารชีวิตนะ หรือติดคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิตไปชาติหนึ่งเลย

เพราะฉะนั้น การโกหกนี่ ก็เกี่ยวข้องกันเป็นการทำบาป ที่ทำบาป ถ้าไปเกี่ยวเนื่อง ด้วยการทำบาป ในสิ่งที่สูง สัจธรรมที่สูงขึ้นไป บาปมันก็เพิ่มราคาขึ้นไปเรื่อยๆ นี่เป็นธรรมดาธรรมชาติ ของค่า ของสัจจะ สัจจะของพระพุทธเจ้า ที่ท่านเรียนนี่ ท่านมีสัจจะ แต่ทีนี้ภาษามันสูงสุดแล้ว มันใช้ภาษานั้นไม่ได้แล้ว เรียกว่าเหมือนกับไม่มีสัจจะ ใช้ภาษาเหมือนกับไม่มีสัจจะ สัจจะในโลกนี้ไม่มี อย่างนี้เป็นต้น ท่านกล่าว แต่ความจริงแล้ว มีสัจจะอยู่ในโลก แต่มันเป็นปรมัตถ์ ที่มีภาษาเรียกไม่ได้แล้ว เป็นสัจจะย้อนสภาพขึ้นไปทุกทีๆ แม้แต่บาปบุญ ก็เป็นสัจจะ เป็นสมมุติสัจจะ ดีชั่วเป็นสัจจะ แน่แท้ที่สุดๆ

เพราะฉะนั้นผู้รู้ จะรู้ถึงสัจจะ รู้ดีรู้ชั่ว กระทำดี ไม่กระทำชั่ว รู้บาปรู้บุญ กระทำแต่บุญ ไม่กระทำบาป แต่เสร็จแล้วจริงๆ ท่านก็อนุโลมให้ผู้อื่น ทำตามขั้นตอน เขามีบาปมีบุญ ขนาดนั้น ขนาดนี้ตามฐานะ ก็อนุโลมเขาได้บ้าง เหมือนกัน

เมื่อเช้านี้ อาตมา ได้ขยายความเรื่องสัจจะนี้ ในพระสูตร จูฬวิยูหสูตรที่ ๑๒ ซึ่งเป็นสัจจะ ซึ่งกล่าวถึง ทิฏฐิของคน ที่มีความเห็นในเรื่องสัจจะต่างๆ ที่จริงไม่ใช่คนธรรมดานะ เป็นเรื่องของ ภูมิธรรมระดับสูง ที่มีพระพุทธเจ้า กับพุทธนิมิตของพระพุทธเจ้าคุยกัน ซึ่งเป็นเรื่องของ เทวดา ชั้นสูงสุด อันนี้ เราชาวอโศก รู้ดีแล้วว่าเทวดา พระพุทธเจ้าสอนเทวดา คือใครนี่ รู้เรารู้ดี เพราะอาตมา ขยายความหมดแล้ว แต่ข้างนอกเขา ยังเป็นบุคลาธิษฐาน ยังเป็นตัวตน บุคคล พระอรหันต์เจ้าสอนเทวดา ก็สอนมีเทวดาเยอรมัน เทวดาจีน เทวดาแขกอะไรมาเรียน ก็ว่ากันไป เป็นตัวตน เหมือนอย่างใครเคยอ่าน ประวัติอาจารย์มั่นอะไร อย่างนี้เป็นต้น ก็เป็นตัวตนไป มันยังไม่ลึกซึ้งอะไร ก็คือได้ความรู้ มีความรู้แค่นั้น ก็เอา เอาแค่นั้นก่อน เป็นบุคคล เป็นตัวตน ไปก่อน ก็ไม่เป็นไร จะถูกมั่งผิดมั่ง ก็ยังไม่ได้จำแนกกันละ ก็คอยเอาไว้ศึกษาดีๆ แล้วจะ รู้สภาวะที่ลึกซึ้งขึ้น

เรื่องที่จะกล่าวนี้ จะเป็นเรื่องของสัจจะ อาตมาก็อยากจะขยายความก่อนที่จะอธิบาย เรื่องสัจจะ เพื่อการนำร่อง สำหรับผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐาน ว่าเรื่องการบัญญัติภาษาเรียกนี่นะ จะเรียกสัจจะก็ดี แล้วมีอีกคำหนึ่ง คือสัญญา สัจจะกับสัญญานี่ เอาเข้าจริงแล้วนี่นะ สัจจะกับสัญญา มันจะกลับไป กลับมา ที่เราจะไม่รู้ว่า อะไรมันแน่กว่าอะไร สูงสุดจริงๆแล้วนี่เดี๋ยวจะได้ฟัง สูตรนี้ พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ท่านจะตรัสตอบพุทธนิมิต พุทธนิมิตว่าที่จริงแล้วนี่ สัจจะ ไม่มีในโลก มีแต่สัญญาเท่านั้น มีแต่สัญญา สัญญาที่จริงที่สุดเที่ยงที่สุด เป็นหนึ่งเดียวที่สุด อันนั้นเท่านั้น สัญญาคือการกำหนดรู้ ด้วยญาณที่สูงสุดของบุคคล หรือ แม้ไม่สูงสุด ผู้ใดยึดตามสัญญา กำหนดสัญญา ผู้นั้นก็ถือเอาอันนั้น เป็นสิ่งที่วิเศษ สุดสูงสุดของเขาตามภูมิ แม้แต่คนชั้นต่ำ ยึด ไปกำหนดว่าอันนี้ เป็นจริงเป็นจัง เขาก็เอาอันนั้นแหละ ไปกำหนดว่ารสอร่อยนี้จริงจัง เขาก็เอากำหนดนั้นแหละ เป็นจริงจังของเขา จริง จริงๆเลยนะ เขาจริงเลยว่า เขาจะต้องได้ ต้องมี ต้องเป็น เพราะอันนี้เขาต้องใช้ ชีวิตของเขาจะต้องมีอันนี้ ไม่มีอันนี้เขาอยู่ไม่ได้ แม้จะเริ่มรู้ รู้ว่าอันนี้ มันไม่เที่ยง ไม่แท้ ไม่จริง ก็เริ่มรู้ ด้วยภาษา ด้วยตรรก เขาก็ยังจะยึด ยังจะแสวงหา ถ้ามันมีอำนาจ กิเลสมันแรง เขาติดยึดแรง เขาก็ต้องเอาตามที่เขากำหนดรู้ว่า ไอ้นี่มันอร่อย ไอ้นี่มันเป็นชีวิตชีวา ไอ้นี่ มันต้องมี ต้องเป็น ต้องได้ เขาก็จะยึดติด เขาก็จะแสวงหา แม้แต่ที่สุด จะต้องทุจริต จะต้องทำบาป ทำกรรม เพื่อสิ่งนี้ เขาต้องได้ ต้องมีต้องเป็น ถ้าไม่ได้ ไม่มี ไม่เป็น ไอ้สิ่งนี้ เขาถึงขั้นตายก็ได้นะ แต่มันไม่ตายง่ายๆหรอก ที่จริงน่ะ กิเลสมันไม่เอาตายง่ายๆหรอก แต่มันทนไม่ได้ มันแพ้กิเลส มันก็ต้องทำชั่วทำบาปนั้นไป ตามที่เขากำหนดนั้น อันนั้นก็เป็นสัจจะ ของเขา เป็นสัจจะของโจร สัจจะของคนชั่ว สัจจะของผี ของมาร

เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่า ผู้ใดมาศึกษาพวกนี้ แล้วละ หัดละ หัดวาง พิสูจน์ว่ามันไม่จริง ไม่เที่ยง ไม่แท้ ไม่แน่ไม่นอนหรอก เปลี่ยนแปลง จนกระทั่ง มันไม่มีความต้องการ มันไม่มีความเสพสม ไม่มีรสอร่อย ไม่มีความชื่นชอบอะไรได้จริงเลย จืด ว่าง จาง เฉยได้จริง ผู้นั้นถึงกาลรู้ว่า เราหมดรสอร่อย เราหมดอัสสาทะ หมดโลกียรสแบบนี้ เป็นวิมุติรส วาง จาง เฉยได้ มีความจริงอันนี้ กำหนดรู้ความจริงอันนี้ของเรา อย่างมั่นคง เป็นนิจจัง เป็นนิจจะเที่ยงแท้ อย่างเป็นหนึ่งเดียว สำหรับเราแต่ละคน ไม่แปรปรวน ผู้นั้นแหละ จะมีสัจจะพวกนี้ มีสัญญา กำหนดรู้อันนี้ จะเรียกสัจจะ จะเรียกสัญญา ก็จะไม่มีปัญหามาก ทีนี้สัจจะกับสัญญา นี่โดยภาษา โดยสภาวะนี่ มันอย่างนี้ ปีนี้ อาตมามีนิรุตติภาษา ปฏิภาณ อธิบายพวกนี้กันได้ดี มันมีเหตุการณ์ คือที่เรานี่ได้มีนักเรียนกศน. นักเรียนกศน.เขาสอบ บางที ใครเก่งๆนี่ อย่างพวกนักเรียน การศึกษานอกโรงเรียนนี่นะ ไม่ได้เข้าโรงเรียนหรอก แต่ว่าก็ไปสอบเอา อย่างคนโต การศึกษานอกโรงเรียน ส่วนมากก็เป็นนักเรียนผู้ใหญ่กัน แต่ทีนี้เราเอาการศึกษา ระบบนอกโรงเรียน มาเรียนที่นี่ เอาเด็กมาเรียนด้วยซ้ำไป บางทีเขาเรียนปีเดียว เขาก็สอบ pass ม.๓ ได้ ใช่ไหม สอบได้ เขาก็สอบได้เลย ปีเดียวเขาก็สอบได้ เสร็จแล้วก็ขึ้นปีต่อไป เขาก็ไปเรียน ม.ปลาย ม.ปลาย เขาก็เก่งๆ อย่างคนโตแล้วนี่ มันมีวุฒิภาวะสูงนี้ มีประสบการณ์มาก มันก็เรียนไม่ยากเท่าไหร่หรอก บางคน มีปัญญา มีความเฉลียวฉลาด อะไรหน่อย ก็เรียน สอบผ่าน ม.ต้น ปีเดียวก็เอาได้ พอผ่านม.ต้น ไปปีม.ปลาย ม.ปลาย ๒ ปี ว่าอย่างนั้นนะ เสร็จแล้วก็จะให้ประกาศนียบัตรไป แต่ว่าเมื่อมาเรียนที่เราแล้ว เราบอกเด็กไปนะ บอกเด็กไป ทีเดียวว่า ๒ ปี ได้ประกาศนียบัตร สอบได้ ก็เป็นการพ้นม.ต้น ได้จบม.ต้น ๒ ปี จบม.ปลาย อะไรอย่างนี้เป็นต้น บอกไปเสร็จ พอมามีประสบการณ์ สอนไป สอบได้ สอบไป ปรากฏว่า ๒ ปี เสร็จ เด็กสอบได้เหมือนกัน ม.ต้น แต่เสร็จแล้ว เราเห็นว่า เด็กยังไม่มีภูมิ ความรู้ก็ไม่แน่น ศีลธรรมก็ไม่ดี ความสามารถก็ยังไม่มีพอ ที่จะจบม.ต้น หรือม.ปลายก็แล้วแต่ ๒ ปี พอมีประสบการณ์ ผ่านไปแล้ว ก็มาคุยกัน ในบรรดาครู หรือผู้ที่อยู่ในผู้ดูแล บริหาร ดูแล้ว ก็ขอข้อมูลมา โดยสัจจะโดยความจริง ที่มีสภาวะรองรับ เด็กยังไม่ดี เราก็เลย มาบอกเด็กใหม่ว่า ๓ ปี ถึงจะให้ประกาศนียบัตร... เด็กก็บอก นี่ผิดสัจจะ นี่ ครูบอกนี่ บอกว่า ๒ ปี แล้วจะได้ แล้วเขาก็สอบได้ประกาศนียบัตรแล้วด้วย ทำไมไม่ให้เขา งอแงกันใหญ่เลยทีนี้ ต่อว่าต่อขาน ประชดประชันกันใหญ่ ไม่ได้ ไม่ยอม ต้อง ๒ ปี เขาจะขึ้นไปเรียน ม.ปลายแล้ว ปีนี้เขาจบแล้ว ม.ต้น ๒ ปีเขาสอบได้แล้ว เขาจะขึ้นไปเรียนม.ปลายแล้ว โอ้โห อลเวงกันใหญ่เลย ประท้วงกันใหญ่ เด็กๆก็บอกว่าเสียสัจจะ ครูอะไรกัน บริหารยังไง เสียสัจจะ อาตมาก็ โอ้หวา มันก็จริงของเด็กเหมือนกันนะ ก็ให้สัจจะเด็กเขาไว้ ว่าอย่างนั้นนะ ๒ ปีจะให้เขา เขาจบแล้ว ก็ต้องให้เขา แล้วไม่ให้เขาเสียนี่ มากลับสัจจะนะ อย่างนี้ อาตมาก็เลยมาได้ปฏิภาณ นิรุตติ บอก โอ้โห สว่างโล่งเลยอาตมา สว่างจ้าด้วยเหตุการณ์นี้แลย บอก แหม ไม่มีเหตุการณ์นี้ อาตมาบรรยาย ไม่ออกจริงๆเลยนะ อาตมาสว่างโล่งเลย ไปบรรยายให้เด็กฟัง เป็นอย่างนี้

นี่ฟังดีๆนะหนู จริง ครูเขาสัญญากับเราว่า ๒ ปี ให้จบ ฟังดีๆนะสัญญา นะ แล้วเราก็ไปยึด เป็นสัจจะ เอาตกลง สัจจะก็ยึดสัจจะ ก็สัจจะ แต่ที่จริงน่ะ คือสัญญา บอกกับเราว่า ๒ ปี ให้จบใช่ไหม เสร็จแล้ว พอผ่านไปแล้ว ครูเขาก็มาเห็นว่า แหม...พวกเรานี้ ยังไม่ดีนะ ๒ ปีเรียนแล้วก็ยังไม่ดี ยังไม่อยากให้จบหรอก อยากจะสอนอีก อยากจะให้ความรู้ ความสามารถ ให้ความเจริญงอกงามมากกว่านี้อีก สอนอีกปีหนึ่ง ถึงจะให้ แม้จะสอบ ประกาศนียบัตร มาได้แล้วก็ตาม เพราะทางโน้นเขาให้ ก็สอบได้ผ่าน เวลาสอบ ทางกศน. เขามีทางการศึกษานอกโรงเรียนเขา เราก็ขึ้นกับเขา เราสอบเสร็จ แล้ว ประกาศนียบัตรเขาได้ เขาก็ได้แล้ว แต่เรายังไม่ให้ ว่าอย่างนั้นเถอะ เรางิบไว้ก่อน ปีหน้าถึงจะให้ เสร็จแล้ว อาตมาก็บอกเด็กว่านี่ จริง ครูสัญญาว่าอย่างนั้น จะถือว่าเป็นสัจจะ แต่ว่า เมื่อพิจารณา ความจริงแล้ว พวกเรายังไม่ดีพอ เรายังไม่เจริญ ยังเรียนได้อีก อยากจะให้ภูมิแน่นๆ ก็เลย ขอสอนอีกปีหนึ่ง ถามหน่อยเถอะว่า ครูที่สอนพวกเรานี่ เขาปรารถนาดี หรือ ปรารถนาไม่ดี เด็กจะตอบว่ายังไง เด็กจะตอบว่ายังไง เด็กก็ต้องตอบว่า ปรารถนาดี อาตมาก็เอาความจริง พวกนี้ เข้าไปยันกับเด็ก แล้วครูที่สอนพวกคุณ นี่ เขาหลอกลวงหรือเปล่า เขาเพื่อที่จะล่อเรา มาเรียน ๒ ปีแล้วเสร็จแล้ว เขามากลับตาลปัตร มากลับสัจจะซะ หรือมากลับไอ้สัญญา แล้วว่าจะสอน ๒ ปี แล้วไม่ให้ แล้วมาสอน ๓ ปี เพื่อจะได้เงิน ได้เงินค่าเล่าเรียน ครูพวกนี้เขา ได้เงินค่าเล่าเรียนหรือเปล่า เปล่า เขาเสียสละหรือเปล่า เสียสละ แล้วเหน็ดเหนื่อย ไปด้วยหรือเปล่า เหน็ดเหนื่อย แล้วปรารถนาที่จะทำงานเพิ่มเติมนี้ อะไรก็ไม่ได้ของส่วนตัวเลย แล้วทำให้พวกเธอ ได้เรียนเพิ่มเติมอีกปีหนึ่ง ก็ดีขึ้นด้วยนี่ เขาเลวลง พวกเราเลวลง แล้วครูก็เลวลงหรือ ไม่ ดีด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย

จริง เราผิดสัญญา แต่เปลี่ยนสัญญาได้นะ แต่สัจจะนี่ขึ้นกับความดีงาม กับกุศล ก็มันดีทั้งหมดนี่ ก็เรียกสัจจะ สัจจะนั้น ใช่ สัจจะนั้นไม่ดีเท่าไหร่ เราพิจารณาเห็นแล้วว่า สัจจะนี่ ไม่เที่ยง... แม้แต่สัจจะ ยังไม่เที่ยงเลย เห็นไหม เราเปลี่ยนสัจจะไป ดีกว่า เอาที่ดีกว่านี่ เป็นสัจจะ เอากุศลที่เจริญยิ่งกว่านี่ เป็นสัจจะได้ไหม เปลี่ยนสัญญามาที่นี่ ที่จริงมันก็เป็นสัจจะเดียว กันนี่แหละ แต่สัจจะนี้ มันสัจจะที่สูงกว่า เพราะพิจารณาดูสิ ทั้งหมดนี่ มันไม่ได้มี ความมุ่งหมายเลย ไม่ได้มีความทุจริต โกง เอาเปรีบบเอารัดอะไรกันเลย เสียสละทั้งนั้น เป็นความเจริญดีทั้งนั้น เราเรียนอีกปีหนึ่งขึ้นไปนี่ ดีกว่าไหม ภูมิแน่นกว่าเก่าไหม แน่นกว่า เด็กเถียงไม่ออกสักอย่าง อาตมาก็เลยต้องสรุปว่า เอาเถอะ ที่จริงอาตมาบอกเด็กด้วยนะว่า แต่ถ้าใครแน่ชัดเลยว่า ตัวเองจะไม่เอา ยังไงฉันก็ขอขึ้นไปเรียน ม.๔ ไม่ขอเรียน ม.๓ ซ้ำอีกปีละ จะขอไปเรียน ม.๔ อาตมาก็บอกเด็กแล้วว่า ตกลงอาตมาอนุญาตให้ ถือว่าครูนี้ ก็ผิด ภาษาเหมือนกัน ผิดภาษานะ แต่สัจจะไม่ผิด ขอยืนยันว่าสัจจะไม่ผิด แต่ผิดภาษา ถือเป็นความผิด เหมือนกัน ใครยังยืนยันว่า จะขึ้นไปเรียน อาตมาอนุญาต อาตมาบอกอย่างนี้ แต่ถ้าใครเห็นว่า นี้เป็นปรารถนาดี แล้วเป็นความดี ด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย ครูก็เสียสละ สอนให้เพิ่มเติม เราก็จะได้ภูมิแน่นเพิ่มเติมขึ้นมา ถ้าใครจะเอาก็เอา ถ้าใครไม่เอา ยืนยันว่า ฉันก็ต้องขอขึ้นไป เพราะฉันแน่แล้ว ฉันจะขึ้นไปเรียนม.๔ ตกลง อาตมาอนุญาต อาตมาทำ อย่างนี้ ปรากฏว่ามีคนขอขึ้นไป ๑ คน สุดท้ายคนที่ขอขึ้นไป ๑ คน ก็ขอลงมาเรียนตามเดิมอีก กับเพื่อน ที่ไม่ขึ้น ปรากฏว่าอย่างนั้น ผลออกมา...นี่ละ มันเป็นอย่างนี้แหละ บัญญัติก็ดี สภาวะก็ดี ต่างๆมันมีอะไร ซับซ้อนอยู่

เพราะฉะนั้น สัจจะกับสัญญานี่ ก็ยังเป็นอย่างนี้เลย นี่อาตมา หยิบมาอธิบายให้ฟังก่อนน่ะ โดยยกตัวอย่าง ยกเรื่องราวที่เป็นจริงนี่ ให้ฟังอย่างนี้นะ เพราะฉะนั้น เรามาฟังภาษา ของพระพุทธเจ้าอันนี้ดู อาตมาจะขยายความเพิ่มเติม เมื่อเช้านี้หน่อยหนึ่ง ก็อาจจะอธิบาย รายละเอียด ตอนต้นเร็วหน่อย แต่จะขออธิบายรายละเอียดตอนหลัง เพราะเมื่อเช้านี้ อธิบายตอนหลังไม่ทัน หมดเวลา จะต้องไปรีบบิณฑบาตกัน เลยต้องเลิก ก็ขอแถม เพราะพรุ่งนี้ อาตมาจะเข้า ปฐมอโศกแล้ว อาตมาอ่านสูตรซ้ำ ก็แล้วกันนะ

ตอนพุทธนิมิตในพระสูตร จูฬวิยูหสูตรที่ ๑๒ นี่แหละ พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๔๑๙ อ่านในภาคที่ ๒ ภาคแรกนั้น เป็นคำถามพุทธนิมิต อันที่ ๑ เป็นเรื่องทิฏฐิ แล้วก็มีคำตอบ ของพระพุทธเจ้า อาตมาผ่านอันนี้ มาอ่านทิฏฐิอันที่ ๒ พุทธนิมิตว่าอย่างนี้

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า สมณพราหมณ์แต่ละพวกกล่าวทิฏฐิใดว่า เป็นความจริงแท้ ฟังดีๆนะ ใช้ concentrate ใช้สมาธิฟังดีๆนะ มันเรื่องยาก นะ อาตมาขอยืนยันว่าเรื่องนี้ ยังไม่ได้เปิดเผย กันหรอก อย่าว่าแต่ในประเทศไทยเลย ทั้งโลก ยังไม่ได้เปิดเผยกันได้ง่ายๆ เรื่องนี้นะ นี่พูดแล้วใหญ่นะ แต่ฟังๆไว้ มันใหญ่จริง หรือไม่ใหญ่จริง คุณก็ฟังไว้ ก็แล้วกันน่ะ

สมณพราหมณ์แต่ละพวก กล่าวทิฏฐิใดว่าเป็นความจริงแท้ แม้ สมณพราหมณ์พวกอื่น ก็กล่าวทิฏฐินั้นว่า เป็นความเท็จ ไม่จริง หมายความว่า มี สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวว่า อันนี้เป็นความจริง ตามความเห็นของเขา อันนี้จริง สมณพราหมณ์พวกอื่นไม่เห็นด้วย ก็บอกว่า ไอ้นี่เท็จ... สมณพราหมณ์ พวกอื่น ก็กล่าวทิฏฐินั้นว่า เป็นความเท็จ ไม่จริง สมณพราหมณ์ ทั้งหลายมาถือมั่น (ความจริงต่างๆกัน) แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ก็วิวาทกัน เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะ ให้เป็นหนึ่งลงไปได้

เป็นคำถาม ทำไมสมณะ ๒ สมณะนี้ สมณพราหมณ์ ๒ สมณพราหมณ์นี้ ทำไม อย่างนี้ ทิฏฐิ ความเห็นอย่างนี้ คนนั้นว่าจริง แต่คนนี้ว่าเท็จ แล้วก็วิวาทกัน ทำไม ไม่เป็นหนึ่งลงไปละ อันไหนแน่ เป็นอันหนึ่ง อันไหนแน่ ถูกแน่ ของสมณะนั้นหรือของสมณพราหมณ์นี้ แล้วก็วิวาทกันอยู่อย่างนี้

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า สัจจะมีอย่างเดียวเท่านั้น สัจจะที่สองไม่มี ผู้ที่ทราบชัด มาทราบชัดอยู่ จะต้องวิวาทกัน เพราะสัจจะอะไรเล่า

เพราะฉะนั้น ผู้ใดที่รู้สัจจะ ว่ามีหนึ่ง แน่แท้แล้ว สัจจะนั้นหนึ่ง แล้วสัจจะที่จริง จะต้องสูงกว่า สัจจะที่ไม่จริงแน่นอน หรือสัจจะที่ดีกว่า ต้องสูงกว่าสัจจะที่ด้อยกว่า แน่นอน เมื่อรู้ว่าอะไรสูงสุด อะไรด้อยกว่ารองลงมา ผู้ที่รู้สัจจะความจริงพวกนี้ จะไม่เถียงกับใคร แต่จะกล่าวแก้ได้ จะอธิบายได้ จะยกอ้างได้ แต่ว่าก็ไม่ทะเลาะวิวาท นี่อาตมาว่า อาตมาไม่ได้ทะเลาะวิวาทกับ ใครนะ อาตมาว่าอาตมารู้สัจจะที่ดีกว่า แล้วก็พยายามเสนออยู่ แต่ไม่ทะเลาะหรอก เขาไม่ฟัง ไม่เชื่อ ก็แล้วไป น่ะ

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าวสัจจะทั้งหลาย ให้ต่างกันออกไปด้วยตนเอง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะ ให้เป็น หนึ่งลงไปได้ ฯ เพราะเขากล่าวด้วย ทิฏฐิของตนๆ มีอัตตา มีของตน เพราะฉะนั้น สัจจะที่กล่าวด้วยอัตตา ของตนเอง ก็ต่างกันได้ เพราะฉะนั้น ก็ต้องเถียงกันได้ และก็ไม่ลงเป็นหนึ่ง เพราะจะลงเป็นหนึ่ง ก็เป็นสัจจะสูงสุด นี่เป็นคำตอบ ของพระพุทธเจ้า ก็สั้นแค่นี้ สำหรับความเห็น ที่บอกว่า สัจจะทำไม ถึงไม่ลงกันเป็นหนึ่งเดียว ทีนี้ ก็ต่อมา มันก็ยังไม่กระจ่างอยู่เท่าไหร่ อยู่นั่นแหละ ใช่ไหม

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
เพราะเหตุไรหนอ สมณพราหมณ์ ผู้เป็นเจ้าลัทธิทั้งหลาย กล่าวยกตน ว่าเป็นคนฉลาด จึงกล่าวสัจจะให้ต่างกันไป
(หมายความว่าศาสดาทั้งหลาย หรือว่าเจ้าลัทธิทั้งหลายนี่ ก็จะต้องกล่าวตามของตนๆเห็น แล้วมันก็ต่างกันไปตาม ตามที่ตัวเองยึด) สัจจะมากหลาย ต่างๆกัน จะเป็นอันใครๆได้สดับมา หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ระลึกตาม ความคาดคะเนของตนฯ

นี่เป็นคำถาม น่ะ คำถามว่า เอ๊ะ! แล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้นน่ะ ก็ยกตนว่า ฉลาดทั้งนั้น กล่าวสัจจะ แต่ว่ามันต่างกันออกไป แล้วสัจจะต่างๆเหล่านั้น แล้วใครๆได้ฟังมาแล้ว แล้วอันไหนเล่า หรือว่า สัจจะเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นนะ เอาของตนๆ ของตน มาเป็นตัวตั้ง เป็นการย้อนถาม หรือว่าเอาของตนมาเป็นตัวตั้ง หรือว่าสมณพราหมณ์ เหล่านั้น ระลึกตามความคาดคะเนของตน ว่าอย่างนั้น

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า สัจจะมากหลายต่างๆกัน เว้นจากสัญญาว่าเที่ยงเสีย ไม่มีในโลกเลย ฟังใหม่ หรี่ไม่ได้นะ ต้องฟังอย่างเต็มสตีม ฟังอย่างเต็ม concentrate ของใครของมัน สัจจะมากหลายต่างๆกัน เว้นจากสัญญาว่าเที่ยงเสีย ไม่มีในโลกเลย ก็หมายความว่า สัจจะมากหลายต่างๆกัน ไม่มีในโลกเลย เว้นจากสัญญาว่าเที่ยง เว้นจากสัญญาว่าเที่ยง เท่านั้น หรือ เว้นจาก ในสำนวนนี้ เอาไว้ เว้นจากสัญญา เอาไปไว้สัญญา ว่าเที่ยงเอาไปไว้กลาง ก็เลยใช้คำว่าเสีย เป็นตัวขยายความ ถ้าเผื่อว่าแปล อย่างที่อาตมาแปล บอกว่า สัจจะมากหลายต่างๆกัน ไม่มีในโลกเลย เว้นจาก สัญญาว่าเที่ยงเท่านั้น ถ้าจะแปล อย่างอาตมา ก็เอาคำว่าเท่านั้นไปใส่ขยายเว้น จากสัญญาว่าเที่ยง แต่ถ้าเอาไปไว้กลาง ก็แปล...แปลในพระไตรปิฎกว่า สัจจะ มากหลายต่างๆกัน เว้นจากสัญญาว่าเที่ยงเสีย ไม่มีในโลกเลย

เพราะฉะนั้น เว้นจากสัญญาว่าเที่ยงเสียแล้ว สัจจะทั้งหลายไม่มี สัจจะในโลกนี้ ไม่มีเลย ฟังแล้วก็เหมือน พระพุทธเจ้าตีทิ้งสัจจะหมดเลย ความจริงไม่ใช่ เดี๋ยวจะขยายความ เอ้า! ฟังต่อไปก่อนน่ะ

ก็สมณพราหมณ์ทั้งหลาย มากำหนดความคาดคะเนทิฏฐิทั้งหลาย (ของตน) ก็ความคาดคะเน ของตนนั่นแหละ ของใครก็ของมัน ทิฏฐิของตน ของใครของมัน แล้วจึงกล่าว ทิฏฐิธรรม จึงกล่าวทิฏฐิธรรม ก็คือสิ่งที่ตัวเองยึดนั่นแหละ สิ่งที่ตัวเองเห็นน่ะ จึงกล่าวทิฏฐิธรรม อันเป็นคู่กันว่า ของใครของมันนะ จึงกล่วทิฏฐิธรรม อันเป็นคู่กันว่า จริงๆ เท็จๆ หมายความว่า คนไหนยึดอันไหน ก็ว่าอันนั้นจริง อันไหนไม่เห็นด้วย ก็ว่าอันนั้นเท็จ ก็จึงเถียงกัน

ก็บุคคลเจ้าทิฐิ อาศัยทิฐิธรรมเหล่านี้ คือรูปที่ได้เห็นบ้าง เสียงที่ได้ฟังบ้าง อารมณ์ที่ได้ทราบบ้าง รวมแล้วก็ จะอธิบายทั้งหมด ก็คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ทั้ง ๖ ทั้ง ๖ ทวารนั่นแหละ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสนอก สัมผัสใน รูปที่ได้เห็นบ้าง เสียงที่ได้ฟังบ้าง อารมณ์ที่ได้ทราบบ้าง ศีลและพรตบ้าง ยึดศีล ยึดพรตบ้าง จึงเป็นผู้เห็นความบริสุทธิ์ คืออาศัยรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อาศัยศีล อาศัยพรต อาศัยหลักการ อาศัยหลักต่างๆ มา เปรียบ มาเทียบ มาปฏิบัติ มาประพฤตินั่นแหละ เพราะว่าศาสดาหรือว่าอาจารย์ เจ้าลัทธิไหนๆ ก็ปฏิบัติประพฤติ ของตนเองเหมือนกัน ตนเองจะสูงสุดไปด้วยรู้ รู้สภาวะจิง หรือไม่จริง เอาแต่ความคิดมาพูด เป็นการคาดคะเนเท่านั้นก็ตาม ศาสดาเหล่านั้นก็เอาสิ่งนั้นละมา ปฏิญาณ หรือมาพูดออกไปว่า เป็นผู้เห็นความบริสุทธิ์ ของใครก็ของใครแหละ ก็ต้องมากล่าวว่า เรานี่แหละเห็นความสูงสุด บริสุทธิ์ที่สุดใช่ไหม

และตั้งอยู่ในการวินิจฉัยทิฐิแล้วร่าเริงอยู่ แล้วก็ วินิจฉัยลงไปเลย ตัดสินลงไปเลย แล้วก็ร่าเริงอยู่ กล่าวว่า คนอื่นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด บุคคลเจ้าทิฐิ ย่อมติเตียนบุคคลอื่นว่าเป็นผู้เชลา ด้วยทิฏฐิใด กล่าวยกตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยลำพังตน หมายความว่าตนเองนี่แหละ ด้วยลำพังตน คือว่าตนเองนี่แหละ ฉลาดกว่า คนอื่นเป็นผู้เขลา ด้วยทิฏฐิใด คนอื่นๆของเขา ย่อมติเตียนผู้อื่น กล่าวทิฏฐินั้นเอง ย่อมติเตียนผู้อื่น ที่กล่าวทิฏฐินั้นๆ

เพราะฉะนั้น ทิฏฐิใดๆ ที่ไม่เห็นร่วมด้วยกัน ก็กล่าวว่า ผู้นั้น กล่าวทิฏฐินั้น เป็นผู้ที่โง่เขลา เป็นผู้ที่ไม่ฉลาด ผู้ที่ยกตัวยกตนก็จะว่าอย่างนั้น บุคคลยกตนว่าเป็นคนฉลาด ด้วยทิฏฐินั้นชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้น เต็มไปด้วยความเห็นว่า เป็นสาระยิ่ง ก็จะยืนหยัดยืนยันว่า สิ่งนั้นเป็นสาระยิ่ง แต่พร้อมกันนั้นนี่ ฟังซ้อนๆน่ะว่า จริงๆน่ะ คนไหนที่เห็นสิ่งไหน จริง จริงเท่าไหร่ ถ้ายิ่งจริงเท่าไหร่ เขาก็คิดว่า สิ่งนั้นเป็นสาระ ของเขา เช่นเรายึดนิพพานเป็นสาระ เราก็เห็นว่านิพพานนี่ เป็นสาระจริงๆ แต่ในความจริงของความหมายนิพพาน หรือสภาวะนิพพานนั้น มันก็ต่างๆ กันได้อีก สภาวะนิพพานของฤาษี ก็เป็นอย่างหนึ่ง สภาวะของเดียรถีย์เป็นหนึ่ง อาตมากล่าว ได้เลยว่า สภาวะที่อาตมาเห็นว่า นิพพาน เป็นอย่างที่อาตมาเห็นนี้ แตกต่างกันกับ สภาวะ นิพพาน ของพระเทพเวที เห็น แน่นอน อาตมาขอยืนยัน และต่างกันกับ ท่านพุทธทาสเห็น แน่นอน เพราะมันมีความต่างกันอยู่ น้อยนิด หรือมาก ก็จะมีต่างกัน มีต่างกันแน่นอน ยิ่งละเอียด ก็จะเห็นความนิดน้อย ที่ต่างกันได้มาก

อาตมาเห็นความแตกต่างกันของนิพพาน ของท่านพุทธทาส นิพพานของท่านพระเทพเวที หรือนิพพานของใครๆกล่าว ยิ่งนิพพานของฤาษีลิงดำ โอ๊ะ นิพพานนั้น เป็นตัวตนเบ้งๆเลยน่ะ นิพพานของทางสายนั่งหลับตา สายอาจารย์มั่น นิพพานสายธรรมกาย อาตมาเห็นต่างกันแน่ นิพพานต่างกัน แล้วก็ถือเป็น สาระนะ เอาภาษาคำว่านิพพานนี่ เป็นสาระ แต่สภาวะ ต่างกันแล้วนะ

เพราะฉะนั้น ด้วยทิฏฐินั้น ชื่อว่าเจ้าทิฏฐินั้น เต็มไปด้วยความเห็นว่า เป็นสาระยิ่ง และมัวเมา เพราะมานะ มีมานะบริบูรณ์ เพราะฉะนั้นถ้าผู้ใดเห็นแล้ว เข้าใจว่ามานะมันเป็นอย่างไร ผู้ใดล้างมานะของตนเอง ได้ถูกต้องจริงๆ ได้มากเท่าใด ผู้นั้นแหละ จะเป็นผู้ที่เห็น ถูกตรงมากที่สุด ผู้ใดที่มีมานะมาก ผู้นั้นก็ผิดมาก ผู้ใดมีมานะน้อย ก็สะอาดบริสุทธิ์มาก และ เห็นจริงเห็นจัง เข้าไปสู่สภาวะ ประพฤติปฏิบัติ พิสูจน์ไปได้มากๆด้วย และมัวเมา เพราะมานะ มีมานะบริบูรณ์ อยากได้ไหม มานะบริบูรณ์ ไม่อยากได้หรือ เอ๊ มานะนี่เป็นความอุตสาหะ เป็นความพากเพียรนะ มาเป็นผู้อุตสาหะวิริยะ แต่ได้แล้ว อย่าซ้อนเป็นอุปกิเลส ในมานะ ว่าฉันได้ดี แล้วก็หลง ถือดีนี้ว่า ยิ่งใหญ่ ข่มเบ่งคนอื่น ดูถูกคนอื่น ทะเลาะวิวาทกับคนอื่น อะไรก็แล้วแต่ สิ่งเหล่านี้ มีมานะ ซึ่งอาตมาพยายามอธิบาย เรื่องอัตตามานะ ตอนนี้อธิบายมาก และมัวเมา เพราะมานะ มีมานะบริบูรณ์ อภิเษกตนเองด้วยใจว่า เราเป็นบัณฑิต ตอนนี้ยกตน เป็นบัณฑิตแล้ว เพราะว่าทิฐินั้นของเขาบริบูรณ์แล้วอย่างนั้น ก็ถ้าว่าบุคคลนั้น ถูกเขาว่าอยู่ จะเป็นคนเลวทราม ด้วยถ้อยคำของบุคคลอื่นไซร้ ตนก็จะเป็นผู้มีปัญญาต่ำทรามไปด้วยกัน น่ะ ถ้าเผื่อว่ามีมานะนี่ ถูกคนอื่นเขาว่าแล้ว ผู้นั้นจะต่ำไปด้วยมานะของตนเอง ถ้ามีมานะ แล้ว จะต่ำไปด้วย คำว่า ของคนอื่น

อนึ่ง หากว่าบุคคล จะเป็นผู้ถึงเวทย์ เป็นนักปราชญ์ ด้วยลำพังตนเองไซร้ สมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ก็ไม่มีใครเป็นผู้เขลา ก็หมายความว่า ผู้ใด สามารถเป็นปราชญ์ หรือว่าเป็นผู้ที่ถึงเวทย์ ในภาษาโบราณ ในสมัยพระพุทธเจ้าน่ะ เขามีคำว่าเวทย์นี่สูง เพราะว่าใน พราหมณ์ยิ่งใหญ่ ในยุคโน้น และ พระเวทย์ของพราหมหณ์นี่สูงสุด

ผู้ใดเข้าถึงเวทย์ ถือว่าเป็นผู้สูงสุด ในสมัยโน้น ลัทธิพราหมณ์เขายิ่งใหญ่นะ เพราะฉะนั้น ผู้เข้าถึงพระเวทย์ หรือเป็นนักปราชญ์ โดยลำพังตัวเองไซร้ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ก็ไม่มีใคร เป็นคนเขลา เพราะฉะนั้น การที่จะรู้อะไรได้โดยตนเอง ไม่มีครูบาอาจารย์ ไม่มีการสืบทอด มาจากผู้รู้ อย่างพุทธนี่ สืบทอดมาจากเหตุทั้งนั้นแหละ พระพุทธเจ้าองค์ใดๆ ก็เรียกว่า ตรัสรู้เองก็ได้ ตรัสรู้จากสั่งสมบุญบารมีมาจาก พระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ มาทั้งนั้นแหละ อยู่ดีๆ จะโผล่พั้วะขึ้นมา ตรัสรู้เอง คำว่าตรัสรู้เอง ของศาสนาพุทธ จึงไม่ได้หมายความว่า ได้มาลอยๆ ตรัสรู้เอง ของพระพุทธเจ้านั้น ตั้งแต่ชื่อว่า ปัจเจกพุทธะ ก็เรียกว่าเป็นผู้ที่ได้เองแล้ว ยิ่งมาเป็น พระพุทธเจ้า ก็แน่นอนเลย ท่านต้องตรัสรู้เองแน่นอน แต่ถึงแม้ว่า แน่นอนว่า ตรัสรู้เอง พระพุทธเจ้าก็ตาม พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธะก็ตาม ปัจเจกสัมมาสัมพุทธะนี่เป็น ปัจเจก สายพระพุทธเจ้านะ มาจากเหตุ มาจากอันเดิมก่อน เหตุนั้นจะมาจากใคร ก็มาจาก พระพุทธเจ้า องค์ก่อนๆ ซึ่งสืบทอดมา ตั้งไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติ กว่าจะมาเป็น ปัจเจกพุทธะ กว่าจะมาเป็น สัมมาสัมพุทธะ กว่าจะมาได้ของตนเอง อรหันต์ก็เริ่มต้นมีแล้ว มีของตนเองแล้ว มีสยัง อภิญญาแล้ว พระอรหันต์นี่ สยัง อภิญญา ก็คือมีความรู้ ความสามารถ หรือว่า อภิญญา ก็คือความเก่งนั่นเอง ความรู้ ความสามารถ ที่จริง ที่ถูกต้องนี่แหละ สยัง ก็คือของตนเอง มีของ ตนเองมาแล้ว อรหันต์ก็เริ่มต้นมีมา รู้ มีญาณที่แท้ มีอาสวักขยญาณ ที่สามารถ รู้จักการถอน อาสวะของตนเองได้มาจริง ก็เริ่มมีมา เพราะฉะนั้น จะสั่งสมสูง ขึ้นไป เรื่อยๆๆ ก็จะเริ่มเป็น ปัจเจกพุทธะไปเรื่อยๆ ปัจเจกสัมมาสัมพุทธะ จนกระทั่งล่วงเข้าไป เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นแหละ อันนี้ เป็นของพุทธ เพราะฉะนั้น พุทธนี้ จะไม่ใช่ อะไรทุกอย่าง จะของตนเอง บันดาลเอาเอง ท่านก็เลยถึงบอกว่า

อนึ่งหากว่าบุคคลจะเป็นผู้ถึงเวทย์ เป็นนักปราชญ์ ด้วยลำพังตนเองไซร้ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ก็ไม่มีใครเป็นผู้เขลา เพราะฉะนั้น ถ้าใครก็ถึงตนเอง ตนเองก็ถึงตนเองได้ ไม่มีหรอกคนโง่ ในโลก ว่าอย่างนั้นเถอะ ไม่มี คนโง่ไม่มี ก็สามารถบรรลุได้เองหมดละ ชนเหล่าใดกล่าวยกย่องธรรม คือ ทิฐิอื่น จากนี้ไป ชนเหล่านั้นผิดพลาด และไม่บริบูรณ์ด้วยความหมดจด เดียรถีย์ทั้งหลาย ย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยมาก ท่านก็บอกว่า พวกเดียรถีย์ทั้งหลาย ชอบแต่พูด พูดว่า ชนเหล่าใด กล่าวยกย่องธรรม คือทิฏฐิอื่นจากนี้ไป ชนเหล่านั้นผิดพลาด สำนวนฟังยากนะ หมายความว่า ทิฏฐิอื่นจากนี้ คือทิฏฐิอื่นต่างหาก ต่างจากเขานี่ ทิฏฐิอื่น จากนี้ไป ชนเหล่านั้นผิดพลาด ใครคิดผิดจากตัวเองนี่ ผิดพลาดหมด ทิฏฐิอื่นจากนี้ไป หมายความว่าทิฏฐิอื่น ความเห็นอื่น จากที่ตัวเองยึดอยู่นี้ของเรา ทิฏฐิอื่นจากนี้ไป ชนเหล่านั้นผิดพลาด และไม่บริบูรณ์ ด้วยความหมดจด

เพราะฉะนั้นใครคิดเห็นต่างจากฉัน เดียรถีย์นี่ เขาจะพูดอย่างนี้เสมอ ใครคิดเห็นต่างจากฉันนี่ ผิดพลาดหมด ไม่บริบูรณ์ ไม่หมดจด เดียรถีย์ทั้งหลาย ย่อมกล่าว แม้อย่างนี้โดยมาก พวกเดียรถีย์นี่ ขี้มักจะกล่าวอย่างนี้ ถ้าเรา อาตมาก็ขี้มักจะกล่าว เหมือนกันนะ นับเป็นเดียรถีย์หนึ่ง เหมือนกันน่ะ ถ้าเขาจะว่านะ เพราะฉะนั้น โดยบัญญัติภาษานี่ ฟังให้ดีเถอะ เอาบัญญัติภาษา มาเรียกเราก็ได้ เรียกเราเป็นคนผิดก็ได้ เรียกเขาเป็นคนถูกก็ได้ ถ้าผู้ใด จะเรียกละนะ เพราะฉะนั้น อาตมาจึงไม่งงหรอก ใครจะว่าอาตมา เป็นเทวทัต อาตมาทำ ธรรมพระวินัยให้วิปริต อะไร อาตมา โอ๊ย! โน พรอมแพรม อาตมาโน พรอมแพลม อาตมาไม่มีปัญหา แต่ไม่ใช่ชาติชายนะ อาตมาไม่ใช่ชาติชาย จะเรียกอะไร อาตมาก็ไม่มีปัญหา ไม่ถือสา แต่ว่าฟัง ไม่ใช่ว่าไปดูถูกด้วยนะ อาตมาฟัง เพราะว่าเดียรถีย์เหล่านั้น ยินดีนัก ด้วยความยินดี ในทิฐิของตน ก็ถูกแล้ว พระพุทธเจ้าก็รับ เพราะว่าเดียรถีย์เหล่านั้นยินดีนักใน ความยินดี ในทิฐิของตน เดียรถีย์ทั้งหลายกล่าวความบริสุทธิ์ในธรรม คือทิฐินี้ เท่านั้น หากล่าวความบริสุทธิ์ในธรรมเหล่าอื่นไม่ เพราะฉะนั้นก็จะเห็นอย่างอื่น เป็นความไม่บริสุทธิ์ทั้งนั้น

เดียรถีย์ทั้งหลายโดยมากเชื่อมั่น แม้ด้วยอาการอย่างนี้ เดียรถีย์ทั้งหลาย รับรองอย่างหนักแน่น ในลัทธิของตนนั้น ก็ย้ำอีก อนึ่ง เดียรถีย์รับรองอย่างหนักแน่น ในลัทธิของตน จะพึงตั้งใครอื่น ว่าเป็นผู้เขลาในลัทธินี้เล่า เดียรถีย์นั้นเมื่อกล่าวผู้อื่นว่า เป็นผู้เขลา เป็นผู้มีธรรมไม่บริสุทธิ์ ก็พึงนำความทะเลาะวิวาท มาให้แก่ตนฝ่ายเดียว พระพุทธเจ้าก็เลยชี้เข้าไปหาตัวเดียรถีย์เลย เดียรถีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เดียรถีย์เหล่านี้ ก็จะยึดหนักแน่น ในลัทธิของตน แล้วจะไปตั้ง ใครอื่นว่าเป็นผู้เขลาในลัทธินี้ เพราะฉะนั้น ก็ต้องบอกว่า ในลัทธินี้นี่ ไม่มีคนโง่ เหมือนกับ อาตมาว่าพวกคุณฉลาดนั่นแหละ ใครในที่นี้ จะเป็นผู้เขลาเล่า ใช่ไหม จะพึงตั้งใครอื่น ว่าเป็นผู้เขลาเล่า ในลัทธินี้ เดียรถีย์นั้นเมื่อกล่าวผู้อื่น ว่าเป็นผู้เขลา เพราะฉะนั้น เมื่อไปกล่าวผู้อื่น ว่าเป็นผู้เขลา เป็นผู้มีธรรมไม่บริสุทธิ์ ก็พึงนำความทะเลาะวิวาท มาให้แก่ตน แต่ถ่ายเดียว ก็เมื่อ กล่าวแต่ผู้อื่นว่าเป็นคนโง่ คนเขลา ส่วนพวกเรานี่ เป็นคนฉลาดทั้งหมด มันก็ ๒ ฝ่ายเลยซิ ก็ ๒ ฝ่ายก็ทะเลาะกัน เป็นธรรมดา อ่านว่าธรรมดา ก็ทะเลาะกัน ก็คือพึงนำ ความทะเลาะวิวาท มาให้แก่ตนถ่ายเดียว ตัวเองนั่นแหละ ไปหาความทะเลาะวิวาท มาให้ตัวเองน่ะ

เดียรถีย์นั้น ตั้งอยู่ ในการวินิจฉัยทิฐิแล้ว เนรมิตศาสดาเป็นต้น ขึ้นด้วยตนเอง หมายความว่า ตั้งตัวเองเป็นตัวศาสดา ก็ต้องวิวาทกันในโลกยิ่งขึ้นไป นอกจากจะว่าตัวเองฉลาดแล้ว ยังไม่พอ ตั้งตัวเอง เป็นศาสดาด้วย ก็ต้องวิวาทกันในโลกยิ่งขึ้นไป บุคคลละการวินิจฉัยทิฐิทั้งหมดแล้ว ย่อมไม่ กระทำความทะเลาะวิวาทในโลก ฉะนี้แล ฯ...

นี่จบสูตรนี้ด้วย จุฬวิยูหสูตร จบด้วย ท่านบอกว่า ถ้าเผื่อว่า เดียรถีย์ผู้ใดตั้งอยู่ ในการวินิจฉัยแล้ว

อ่านต่อหน้าถัดไป

FILE:4082A.TAP