สัจจะสูงสุดอยู่จุดไหน หน้า๒
สัจจะ-สัญญา
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
ก่อนฉัน วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๓๖ ณ พุทธสถานสันติอโศก
ต่อจากหน้า ๑


นี่จบสูตรนี้ด้วย จุฬวิยูหสูตร จบด้วย ท่านบอกว่า ถ้าเผื่อว่า เดียรถีย์ผู้ใดตั้งอยู่ ในการวินิจฉัยแล้ว แล้วก็เนรมิตศาสดาขึ้นด้วยตนเอง ก็จะยิ่งทะเลาะวิวาทยิ่งขึ้นไป ทีนี้บุคคลละ การวินิจฉัยทิฐิ ทั้งหมดแล้ว ย่อมไม่กระทำความทะเลาะวิวาทในโลก

เพราะฉะนั้น เมื่อไม่วินิจฉัย แต่เรารู้อะไรของเรา เราจะยืนหยัด ยืนยันอะไรของเรา เราก็ทำของเราไป คนอื่นให้เกียรติเขา เขารู้อย่างนั้น ส่วนใจเรานั้น จะข่มเขาจริงหรือไม่ หรือว่า คุณจะมีสัจจะ ความจริงของคุณ ก็โดยย้อนกลับมาที่ สัจจะมากหลายต่างๆกัน เว้นจาก สัญญาว่าเที่ยง ฟังความนี้ เมื่อกี้อาตมาอธิบายสัญญากับสัจจะไปแล้วนะ ว่า สัญญา การกำหนดรู้นี่ มันมีตัวจริงนะ ตัวสัญญาการกำหนดรู้ พวกเรานี่ ฝึกหัดตอนนี้ ให้ฝึกหัด สัญญากำหนดรู้ แม้กระทั่งกำหนดรู้ สัจญาณ กิจญาณ กตญาณ กำหนดรู้แม้แต่ผัสสะ กำหนดรู้แม้แต่เวทนา กำหนดรู้แม้แต่ เจาะเวทนาในเวทนา ลงไปถึงเวทนา ๑๐๘ หรือเวทนาหลัก ก็เวทนา ๓ สุข ทุกข์ กับ อุเบกขา วิจัยให้เห็นอาการของทุกขเวทนา สุขเวทนา หรือ อุเบกขาเวทนา เรามีอาการนั้น อย่างไร รู้อาการนั้น ด้วยการรู้ด้วยญาณ เห็นอาการ เห็นนิมิตมัน เห็นเครื่องหมาย ของมันว่า มันต่างกันนะ อาการ ลิงคะ นิมิต ต่างกับสภาพนั้นสภาพนี้ สภาพไหนดีกว่า สภาพไหน สภาพไหนจริงกว่าสภาพไหน เวทนาอย่างนี้ เวทนาอย่างใด ที่เรียนไปแล้วว่า ความหมายของเวทนา ที่เกี่ยวข้องกับอินทรีย์พละ ของเวทนา เกี่ยวข้องกับเวทนา ที่เกิดจาก ทวารตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทวารเกี่ยวข้องกับเวทนา เหล่านี้ เป็นเวทนาของ เคหสิตะ จะเป็นทุกข์ เป็นสุข เป็นโทมนัส หรือเป็นโสมนัสก็ตาม เป็นของชาวบ้าน อยากนั้นเป็นเคหะ อยากนั้นมันเป็นเวทนา ที่เป็นรสทางโลก แม้เป็นโสมนัสเป็นสุข ก็เป็นเคหสิตะ เป็นของโลกๆ รสอร่อยโลกๆ หรือเป็นของผู้ที่ออกจากโลก เนกขัมมสิตะ เป็นเวทนา อย่างนี้ เป็นของนักปฏิบัติ แม้จะยังปฏิบัติ ยังอยู่ในสภาพเป็นโทมนัส เป็นเนกขัมมสิตโทมนัส คุณก็ต้องรู้ว่า นี้อาการของ เนกขัมมสิตโทมนัส มันยังตั้งตน อยู่บนความลำบาก มันยังแย่อยู่เลยนะ มันยังสู้ บางทีแพ้บ้าง ชนะบ้าง หรือแม้จะชนะ แต่ก็ยังเป็นแค่ สังขิตตัง จิตตัง หรือเป็นแค่ วิกขิตตัง จิตตัง อะไรเป็นต้น อาตมาก็ใช้ภาษาธรรมะ ที่ลึกซึ้ง ที่เราอธิบายกันแล้ว ในหมู่พวกเราที่ศึกษา

เพราะฉะนั้น ผู้ใดที่ยังใหม่ๆ ก็ขออภัยที่ใช้ภาษา technical term หน่อย technical term ทางศาสนาพุทธ เพราะฉะนั้น เราต้องมาเรียนกันจริงๆ แล้วจะรู้สภาวะ ที่อาตมากล่าวถึงนี้ มันหมายถึงอะไร ถ้าเรารู้สภาวะ แล้ว ผู้ที่รู้สภาวะ ฟังได้สบาย ฟังแล้วจะรู้ อ้อ มันมีบทบาท มันมีลีลา ญาณที่ เกิด เกิดรู้แล้วนี่เวทนาขนาดนี้ จนกระทั่ง แยกมาถึงเคหสิตะ หรือ เนกขัมมสิตะ เป็นต้น ต่อให้จากอดีต เอาไปเปรียบเทียบ เอาปัจจุบันมา แล้วจะเป็นในอนาคต เอาสามกาละนี้ มาคูณกับเคหสิตะเข้าไปอีก เป็น ๑๐๘ เวทนา คุณก็จะเข้าใจ คุณก็จะรู้จักเวทนา ถึง ๑๐๘ นี้ได้จริงๆ ซึ่งอาตมาก็สอน แล้ว ต้องไปฝึกปรือ ไปฝึกหัด ไปอ่าน ไปเรียนรู้ ศาสนาพุทธ จึงไม่ใช่ ศาสนาปากเปล่า ไม่ใช่ศาสนาที่ไม่ฝึกหัด อบรม ไม่ใช่ศาสนาที่ไม่เกิดของจริง ตามความเป็นจริง ต้องเกิดของจริง ตามความเป็นจริง คุณต้องเกิดอริยคุณ ต้องเกิดจิตวิญญาณ ต้องเจริญ งอกงามล้างกิเลสออกได้จริง เรามีของจริงอันนี้ โดยคุณสัญญายะ โดยคุณกำหนดรู้ว่า คุณกำลังทำกิจ สัจจะ ตั้งแต่สัจจะแบบภาษา รู้มาตามแค่ปริยัติ เป็นสัจจะแค่ปริยัติ แล้วก็มาปฏิบัติ มีสัจจะเกิด จากการปฏิบัติ มีสภาวะรองรับ เปรียบเทียบ ตรงกันไหม กับบัญญัติภาษา หรือ ว่าปริยัติ ที่เรียนมา เทียบเคียงกัน จริงๆเลย เกิดผลจริงไหม มีปฏิเวธธรรมไหม ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ คุณมีสัจจะขนาดใด แล้วคุณมาทำ กิจญาณ สัจญาณเป็นอย่างนี้ เรากำลังดำเนินสัจจะทั้งปริยัติ ทั้งปฏิบัติ ทั้งปฏิเวธ ในขณะปฏิบัติ เรียกว่ากิจญาณ ขณะปฏิบัตินี่ เป็น คุณทำกิจนี้ คุณกำลัง ฝึกหัดอบรม อันนี้เกิดจริง เป็นจริงไหม จนกระทั่งเกิด ถึงปฏิเวธธรรม เกิดถึงผล ปฏิเวธธรรมสุดท้าย จนกระทั่ง มันบรรลุธรรมแล้ว ถอนอาสวะเสร็จ จบกิจ เป็นกตะ เกิดญาณ เห็นการจบกิจ เห็นการถอนอาสวะแล้วหรือไม่ เป็นกตญาณ เป็นญาณที่จบกิจแล้ว ญาณที่เห็นแจ้ง ของจริงแล้ว คุณต้องมีของจริงเหล่านี้ โดยด้วยสัญญา ด้วยการกำหนดรู้ทุกอย่าง ได้กำหนดรู้สัจจะ ได้กำหนดรู้ กิจญาณ ได้กำหนดรู้กตญาณแล้ว จนเกิดกตญาณ กำหนดรู้ จนเกิดญาณ เป็นกตญาณแล้ว คนนี้ต้องมีของจริง

เพราะฉะนั้น สุดท้าย พระพุทธเจ้าถึงตรัสว่า สัจจะมากหลายต่างๆ กัน ไม่มีหรอกในโลก นอกจาก สัญญายะ นิจจานิ นิจจานี่ก็คือนิจจังนั่นเอง เที่ยง นอกจากสัญญาที่เที่ยง เพราะฉะนั้น จะเรียกว่าสัจจะ เอาภาษามาเรียกว่าสัจจะที่จริงสุด ก็คือกำหนดรู้ความเที่ยง เที่ยงในอะไร อันนี้อาตมาสอนพวกเรามาแล้ว เที่ยงในนิพพาน เที่ยงในจิตที่เป็นอนัตตา เที่ยงในจิตที่ไม่มีกิเลส เป็นตัวตนอยู่ในจิต อัตตาก็คือกิเลส อัตตานุทิฐิ คุณปฏิบัติมิจฉาทิฐิ ปฏิบัติตั้งแต่หลักของ มิจฉาทิฐิ จะต้องเห็นอนิจจัง ในตาหูจมูกลิ้นกายใจ เมื่อมีผัสสะ และเห็นเป็น อนิจจัง อาตมาก็อธิบาย อนิจจังให้ฟังแล้ว โดยภาพปรมัตถ์ โดยภาพโลกุตระ โดยภาพสัมมาอริยมรรค โดยทางไปหานิพพาน ถ้าทางไปหาโลกีย์ ก็บานไป กิเลสเบ้อเร่อเท่อไปเรื่อยๆ แต่โดยทาง มาหานิพพานแล้ว มันจะเป็นไป เพื่อความละ หน่าย คลาย

เพราะฉะนั้น เมื่อคุณเห็น อนิจจัง ตรงที่กิเลสมันไม่เที่ยง เพราะคุณ ทำให้ละ ให้หน่าย ให้คลาย ให้จาง ให้ลดได้ คุณตีแตกเมื่อไหร่ คุณพ้นมิจฉาทิฐิเมื่อนั้น นั่นคือคุณเห็นอนิจจัง แล้วเป็นอนิจจัง ที่เข้าทางด้วย เพราะมันลดละจางคลาย เริ่มเห็นเมื่อไหร่ เริ่มพ้นมิจฉาทิฐิเมื่อนั้น จุดพ้นมิจฉาทิฐิ ไม่ใช่แต่เข้าใจ รู้ แจ้งเฉลียวฉลาด้วยตรรกะหมด ไม่ใช่ ต้องมีสภาวะรองรับ ต้องเห็นกิเลส จับกิเลสได้ กิเลสโต อาตมาสมมุติเป็นสังขยาเลข กิเลสโต สมมุติ ๑๐๐ หน่วย คุณจับกิเลสมั่น มีวิธีการทำให้กิเลสลดลงเหลือ ๙๙ หน่วย ลดลงจาก ๑๐๐ หน่วยก็ตาม สมมุติว่าคุณไม่รู้ละ คุณจะไป เอามิเตอร์อะไรวัด ตามใจคุณ กิเลสลดลงได้ เหลือ ๙๙ หน่วย นั่นแหละ คุณพ้น มิจฉาทิฐิ.เมื่อนั้น แต่แน่นอน กิเลสตั้ง ๑๐๐ หน่วย ลดได้ ๑ เท่านั้น จ้างมัน ก็ไม่พ้นทุกข์ มันทุกข์ยังอยู่ ใหญ่อยู่แหละ เพราะว่าสักกายะของกิเลสมันยังโตอยู่ ถึง ๙๙ ลดลงได้ ๑ โถ! เหลือตั้ง ๙๙ นี่ จ้างคุณก็ยังไม่เพลาทุกข์หรอก ทำอีก ทำลดลงมา จาก ๙๙ เหลือ ๙๐ เหลือ ๘๐ เหลือ ๗๐ ทุกข์ก็จะลดลงเรื่อยๆๆ เรียกว่าลดสักกายทิฐิ ในสักกายทิฐิสูตร มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีผัสสะ เป็นปัจจัยเห็นทุกข์ แล้วก็เห็นว่าทุกข์ลด ทุกข์มันลด เพราะ ลดเหตุของทุกข์ เหตุของทุกข์ ก็คือ กิเลสที่มันโต ที่ทำลงมาเรื่อยๆนี่ ๙๐, ๘๐, ๗๐, ๖๐, ๕๐, ๓๐, ๒๐, ๑๐, ๙, ๘, ๗, ๖, ๕, ๔, ๓, ๒, ๑, ๐ มันเหลือน้อยลงไปเท่าไหร่ ก็เหลือเป็นอัตตาเท่านั้น บอกแล้วว่า สักกายะเป็นอัตตา ตัวตนที่ใหญ่ อัตตาก็เป็นอัตตากลาง อาสวะเป็นตัวตนที่น้อย ที่เล็กที่สุด พอจากใหญ่ จากกลาง ลดลงไปเรื่อย คุณก็เอาแล้ว รู้จักอัตตาแล้ว ก็ลด จากอัตตาลงไป เหลือ อาสวะ ก็คือรู้จักอัตตา ในอัตตานุทิฐิสูตร แล้วก็ปฏิบัติ นี่แหละ ลดไปเรื่อย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีเวทนาต่างๆ ทั้งทวารตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีถึง ๑๘ เวทนา เพราะคูณด้วย ๓ นี่ ทุกข์สุขอุเบกขา กับ ๖ มันก็ ๑๘ เวทนา

๑๘ เวทนานี่ แบ่งออกเป็นเคหสิตะ กับเนกขัมมะ ก็รู้ชัด รู้เจน เป็น ๓๖ เวทนา แบ่ง ๑๖ ออกเป็น ๒ คือ เคหะ กับเนกขัมมะ คุณก็ทำ ถูกต้องเป็นเนกขัมมะ ออกจากกิเลสที่ได้เรื่อยๆ ลดลงมาเรื่อยๆ จนกระทั่ง อัตตามันลดลงมาเหลืออาสวะ จนกระทั่งอาสวะสิ้น หมด จบ แม้เป็นปัจจุบันนี้เทียว คุณจะรู้ได้โดยปัจจุบันนี้ เทียบกับอดีต อดีตยังมี มีเป็นอย่างไร กับไม่มีเป็นอย่างไร เทียบอดีต เพราะฉะนั้น เมื่อเทียบแล้วเสร็จ เอาละ ตอนนี้เทียบยังไง คุณมีญาณที่จะรู้ความต่าง เรียกว่า ลิงคะ ว่ามีน้อย กับไม่มี ต่างกันอย่างไร แล้ว จนกระทั่ง คุณมีสภาวะ ว่ามันไม่มีนะ เพราะมันต่าง กับไอ้ที่ยังมีน้อยๆนี่ น้อยธุลี ละออง คุณจะมีญาณรู้ละเอียดลออ เท่าไหร่ ก็แล้วแต่ เป็นธุลีละออง อโสกะ วิรชะ ธุลีหมอง ธุลีเริงอะไร ก็ตามใจ คุณลดลงได้จริงเลย จนกระทั่ง มันไม่มี เมื่อไม่มีแล้ว แล้วคุณก็พิสูจน์ยืนยัน เมื่อใด ไปสัมผัสอีกเมื่อใด กระทบสัมผัสเมื่อใดอีก ก็อ่านเวทนาได้ ตรวจสอบทุกทีว่า มันว่าง มันสงบ หรือมันเกิดจร ฟูขึ้นมานิดหนึ่ง ยังเหลือเศษน้อยอีก เอามันหมดเลย จนมันตั้งมั่น จนเป็นสมาหิตัง จนเป็นวิมุติ ไม่ใช่อวิมุต อวิมุตจร เศษเล็กน้อยอะไรก็รู้ สมาหิตะ ตั้งมั่นแข็งแรงแล้วไม่เปลี่ยนแปลง ไม่แปรปรวน เป็นหนึ่งเดียว แน่นอน ไม่เกิดอะไรอีก เป็นสอง ไม่มีสอง มีสัจจะหนึ่งเดียว สัญญากำหนดรู้ สัจจะนี้ หนึ่งเดียว ว่า นิพพานเป็นอย่างนี้ๆ ได้ไปเรื่อยๆ ยืนหยัด ยืนยัน สัญญายะนิจจานิ คุณกำหนดรู้ ความเที่ยงแท้ ความแน่ชัด ความตรง ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่แปรปรวน ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปติ จะสัมผัสโลกธรรม หนักหนา ขนาดไหน เหมือนเดินลุยอยู่ในกองภูเขากิเลส คุณก็เที่ยง เที่ยง มั่นคง ไม่แปรปรวน ว่าง ว่าง ว่าง สัญญา กำหนดรู้ความว่าง ความดับ ความสนิท ความไม่เกิดอีก ของกิเลส แน่นอน เป็นสัญญาย นิจจานิ กำหนดรู้ความเที่ยงของความจริงอันนี้แหละ สภาวะจริง อันนี้แหละ จริง นี่คือนิพพาน คือ มันไม่มีกิเลสนี่คือจริงที่สุด คุณต้องรู้ ต้องเห็น ด้วยญาณของคุณ สัจจะจริง อยู่ที่ญาณตัวจริงตัวนี้ คือสัญญายะ นิจจานิ ตัวนี้

อาตมาอธิบายมา จนตลอดรอดฝั่งได้ปานนี้ รู้เรื่องไหม รู้เรื่องไหม รู้หรือ พอรู้บ้าง คือ นานๆ มาฟังที อาตมาว่า จะรู้ทะลุ นี่ ยาก แม้ปริยัติ แม้บัญญัติ ฟังบัญญัติใหม่ๆ คนใหม่ๆนี่จะรู้ทันที ยาก อาตมาว่ายาก ต้องคนที่ฟังติดตาม อย่างกระชั้นชิด แม้จะรู้ปริยัติ ก็จะเข้าใจได้เหมือนกัน รู้แล้ว บรรลุเป็นพระอรหันต์ ถอนอาสวะ หรือยัง...ยัง รู้แล้ว แต่ไม่ถอน มันรู้ได้ ด้วยบัญญัติก่อน จนกว่า คุณจะมีสภาวะจิตจริง อันนี้ของคุณแหละ แล้วคุณก็จะเกิดญาณของคุณเอง แล้วคุณ ก็จะรู้ ความจริงอันนี้ ภาษาพูด คุณจะเอามาอธิบายได้ เมื่อคุณมีสภาวะนี้ อธิบายได้ อย่างที่เรียกว่า ยังไงก็ไม่งง ใครจะมาว่ากล่าวตู่ว่าอย่างโน้นอย่างนี้ ก็ไม่งง แล้วก็ไม่มีมานะด้วย เพราะว่า เรารู้ชัดอยู่ แล้วคนนั้นจะเกิดสภาพนั้น จริง ไม่มีมานะ เพราะอัตตามันไม่มี มันก็ไม่มานะ มานะนี่ใหญ่กว่า อัตตานะ หยาบกว่าอัตตา ต่ำกว่าอัตตา อัตตาสุดยอดสุดนี่ เป็นตัวอาศัยด้วยซ้ำไป อรหัตตาของ พระอรหัตน์ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งทางเปรียญ เขาบอกว่า พูดเข้าไปได้ อรหัตตา ไปแยกศัพท์ อรหะ+อัตตา อรหัตตะนี่ อรหะ...อัตตะนี่เขาก็เรียก อรหัตผล อาตมาก็แยก อรหัตตะ ออกเป็น ๒ ตัว อรหะอันหนึ่ง อรหะแปลว่าไม่ลึกลับ อัตตาก็คือ ตัวเรานี่แหละ มีอัตตา มีตัวธาตุรู้นี่ เป็นจิต เจตสิก รูป นิพพานอะไรอยู่นี่ มันสามารถรู้ ความลึกลับนี้หมดเลย ไม่ลึกลับแล้ว เรารู้แจ้งแทงทะลุรอบ เขาไม่ฟัง อาตมาขยายความอย่างนี้ เขาไม่ฟัง เขาบอกว่า มันผิดพยัญชนะ ตามหลักไวยากรณ์ ไม่เป็นไร ไวยากรณ์ของคุณถูก คุณผิด ไวยากรณ์ แต่อาตมามีสภาวะ อาตมาอธิบายตามสภาวะ ก็เลย เขาก็ยึดของเขาน่ะ เอาละ อาตมาเอง อาตมาไม่ต่อล้อต่อเถียง เขาหรอก จริง เขาเรียนมา ส่วนอาตมาไม่ได้เรียนมา โอ้โห! แล้วต่างจากกับเขา แล้วเขาจะไปยอมรับ ได้ยังไง ใช่ไหม แต่เอาเถอะ ไม่เป็นไร อาตมว่า ไม่ได้อธิบายต่างกัน กับที่เขาอธิบายนักหรอก แต่ว่าเขาเอง เขาอธิบายแล้ว มันจะต่าง ก็ต่อเมื่อเขาเอง เขาเพี้ยนของเขาเองแหละ ถ้าอธิบายตรงๆกันแล้ว มันไม่เพี้ยนหรอก สิ่งนี้มัน ไม่ลึกลับแล้ว สำหรับผู้ที่มีสภาวะอันนี้ได้

เพราะฉะนั้น พระอรหันต์เจ้า ที่มีสภาพอาศัยรูปนามขันธ์ ๕ หรือญาณปัญญาของท่าน ก็เป็นตัวอาศัย จะเรียกว่าอัตตาของท่าน ก็เป็นอัตตาลำลอง เป็นสมมุติสัจจะของท่าน แต่ในสมมุติสัจจะของท่านนั้น ท่านไม่ได้ติดยึดว่า เป็นเราของเราหมดเลย การไม่ติดยึด ว่าเป็นเรา เป็นของเรานี่ เป็นปรมัตถสัจจะ แต่การที่มีรูปร่างกาย ขันธ์ ๕ มันเป็นสมมุติสัจจะ มันไม่เที่ยง มันไม่แท้ มันไม่จริง มันไม่ใช่ตัวเราของเราหรอก ไอ้ความรู้ ที่รู้เป็นปรมัตถสัจจะนั้น ท่านวางตัวเรา ของเรานี้แล้ว แต่ท่านก็ต้องอาศัยตัวเรา ของเรานี้อยู่ เพราะฉะนั้น จึงถือว่า ตัวเราของเราอยู่ โดยสัจจะสมมุติ โดยปรมัตถ์นั่น ท่านวาง ไอ้การวาง ที่ไม่ใช่ของเรา เป็นของท่านเอง ใครจะไปรู้ได้ ด้วยท่านเล่า นี่มันลึกซึ้งสูงสุด อย่างนี้ แล้วท่านก็ไม่ว่า ใครจะว่า จะทำลาย จะด่า จะว่า จะอย่างโน้น อย่างนี้ อะไร ก็ไม่มีปัญหาอะไร เช่นใครมาว่าอาตมา รูปไม่หล่อ ไม่มีปัญหา รูปไม่หล่อ ก็ไม่เป็นไร อาตมาก็ไม่ทุกข์ร้อน เพราะรูปไม่หล่อ สบายๆ เพราะรูปไม่หล่อด้วยซ้ำ ระวังๆนะ คนรูปหล่อนั่นทุกข์เยอะนะ ผู้หญิงก็เหมือนกัน สวยๆ มาก ระวังทุกข์เยอะนะ แต่ไม่ต้องไปทำหน้า ให้เบี้ยว ไปเอาอะไร ทำให้มันเบี้ยวมันบิด ให้มันไม่สวย ไม่งาม อะไร... หน้าขาว ก็เลยไปทำ ให้หน้าดำ เพื่อจะได้ไม่สวย จะได้ไม่ทุกข์ละ ไม่ต้องบ้าอย่างนั้นหรอก มันมีรูปธรรมนามธรรม ตามบุญบารมี ก็เป็นไป อาตมาว่า อาตมา ถึงแม้ว่าไม่หล่อ มันก็หล่อ พอสมควรนะ พูดไป ก็เหมือนกับ เล่นลิ้นอีกแล้ว จริง อาตมาก็ต้องหล่อกว่า คนที่หล่อสู้อาตมาไม่ได้ ใช่ไหม แต่หล่อกว่านี้มีอีก แล้วมันจะเป็นไป ตามสภาวะ เพราะฉะนั้น อาตมาไม่กลัวหรอก หล่อไม่หล่อ ถือว่า พระพุทธเจ้านี่ ได้รูปหล่อที่สุด ในยุคสมัยนั้นบอก โอ! พระพุทธเจ้านี่ หล่อที่สุด ได้สรีระ สมบูรณ์แบบ มีสัปปุริสลักษณะถึง ๓๒ อย่าง สง่างามที่สุดยอด ท่านก็สั่งสมด้วยวิบาก ของท่าน เป็นกุศลวิบาก อาตมาก็สั่งสม กุศลวิบาก อยากได้ แต่ไม่สั่งสมกุศล อยากหล่อ มันไม่หล่อหรอก แต่รับรอง ว่าหล่อ อย่างอาตมา จะหล่อนี่ จะไม่หล่อเหมือนใครละ เหมือนแรมโบ้ ไม่เอา แรมโบ้น่าเกลียด หล่อเหมือน ยุรนันท์ ไม่เอา มันเหมือนพระเอกลิเก เหมือนพระเอกหนัง หล่อเหมือนตัวเองนั่นแหละ หล่อตามยุคตามสมัย ที่หล่ออย่างมีพลัง หล่ออย่างมีคุณค่า ไม่ใช่หล่ออย่างที่จะไป ล่อลวงหญิง หล่ออยากจะให้หญิงมาหลงเยอะ แต่จะมีผู้ตาดีนี่ หลงเอง ไม่ใช่หลงหรอก เขาจะรัก ไม่ถึงหลง

ถ้าเผื่อว่ามีคนมาหลงมากๆ มันก็เป็นเวรเป็นกรรมเหมือนกันนะ จะเป็นเวรเป็นวิบากเหมือนกัน เป็นอกุศลวิบาก อาตมาชาตินี้ดี ไม่มีใครมาหลงอาตมา มากมายนัก เลยไม่มีใครมาจองเวร จองกรรม ไม่เช่นนั้นแล้วตาย มาบวชก็ไม่ได้ ไม่ยอมให้มาบวช ก็เขาหลงไง ถ้ามาบวช หรือ มาโน่นมานี่ ก็จะตามรังควาน อาตมาคงซวยแน่เลย ป่านนี้โดนรังความแน่เลย แต่นี่ เขาก็อนุญาตมา เขาก็บอก ไปเถอะได้ดี เขาก็ไม่หลง ไม่ถึงหลงแล้ว ไม่มี ใครหลงแล้วละ ไม่แน่ถ้าเผื่อว่าชาตินี้ อาตมาหล่อกว่านี่ เขาอาจจะหลงก็ได้นะ ดี บุญที่มันไม่หล่อกว่านี้ เห็นไหม ความไม่หล่อ มันมีบุญอย่างนี้ ๑.ไม่หล่อ ๒.ไม่รวย ๓.ไม่มียศถาบรรดาศักดิ์ ๔.ไม่มีเกียรติ คุณวุฒิอะไรต่างๆนานา โอ้โห! เป็นดอกเตอร์ ๒ ดอก ๓ ดอก อะไรอย่างนี้ เป็นต้น ไม่มี เลย ไม่มีใครมาติดเลย แต่ใครจะมาติด ก็มาติดแต่ทางธรรมะ ติดทางธรรมก็อีกแหละ ไปติดอย่าง วักกลิก็ไม่ได้นะ ติดอย่างทางธรรม ก็ต้องติดอย่างที่จะต้อง เรียนรู้ ติดเพื่อละความติด ไม่มีภาษาจะพูดอีกแล้ว ติดอย่างละความติด ต้องมีตัณหา เพื่อล้างตัณหา ต้องมีความอยาก เพื่อล้างความอยาก แปลตรงๆ

เพราะฉะนั้น ศาสนาพุทธ จึงเป็นศาสนาที่มันเหมือนเล่นลิ้น แต่ไม่ใช่ เพราะมีคนมาถามบอก โอ้! ถ้าเผื่อว่า อยากได้นิพพาน เอ้า! ก็บอกว่าอยาก มันเป็นกิเลสน่ะ แล้วอยากได้นิพพาน มันไม่เป็น กิเลสหรือ แล้วทำยังไง หรือ ไม่ต้องอยาก นิพพานก็ไม่ต้องอยาก เพราะไม่อยาก เราก็อยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องขมีขมัน เดี๋ยวขมีขมันเข้า ความมุ่งมาดปรารถนา กลายเป็น ความอยากนะ ให้นอนเฉยๆอย่างนี้หรือ ก็เลยไปนิพพาน ก็เลยไม่รู้จะพูดยังไงถูก อธิบายไม่ออกเลย อาตมาก็ ไม่เอาด้วยแล้ว อาตมาก็พยายามอธิบาย ให้พวกเราเข้าใจว่า มันต้องมีความอยาก ต้องมีตัณหา ล้างตัณหา แล้วต้อง เรียนกุศลอกุศล อกุศลก็คือมีกิเลสมาก หรือพฤติกรรม ที่ควรจะต้องละเลิก พฤติกรรมที่ควรละเลิก ก็เป็นสมมุติเหมือนกัน ในพฤติกรรมของสังคมกลุ่มนี้ คุณก็ต้องละเลิก พฤติกรรมของสังคมกลุ่มนี้นี่ ถือว่าอย่างนี้เป็นความไม่ดีไม่งาม คุณต้องเลิก

เช่นมาขี้เกียจอยู่ในกลุ่มนี้ ไม่เอา หรือคุณจะขยันเอาแต่นั่งหลับตา ก็ไม่เอา ต้องมาทำงาน ทำงานด้วย จะนั่งหลับตาบ้าง ก็เป็นรอง ทำงานหนักกว่า ทำงานมากกว่านั่งหลับตานะ ลัทธินี้หรือทางนี้ อย่างนี้เป็นต้น เพราะว่าการนั่งหลับตา เจโตสมถะนั้น มันเป็นอุปการะ ต้องทำเหมือนกัน หรือ ยิ่งพวกเรานี่ เป็นเนยเน่าๆ เนยยะ น่ะ เนยยบุคคลเน่าๆ ต้องทำด้วย ทำ

พยายามใช้ ที่จริงแล้วต้องเตวิชโชนะ ต้องนั่งสงบสติอารมณ์ ตรวจสอบตัวเองเข้าไว้ แล้วมันก็จะดี ของพระพุทธเจ้า ในสมัยพระพุทธเจ้าก็ตรวจสอบ เป็นเตวิชโชนี่ เตวิชโชมันต้องใช้ ทั้งนั้นแหละ ทำเตวิชโช ในขณะที่มีบทบาท การงาน สัมผัส รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสก็เตวิชโช มีตรวจไปในตัว แต่มันไม่สะอาดหรอก มันไม่บริสุทธิ์ มันเร็วได้เหมือนกัน แววไวได้เหมือนกัน แต่มันก็จะ ไม่เกลี้ยงเกลา ขาวสะอาดอย่างแน่นิ่ง มันจะตรวจเตวิชโชจริงๆแล้ว ก็ในสมัยพระพุทธเจ้า ผู้จะบรรลุธรรม ก็จะนั่งตรวจเตวิชโชด้วย นั่งนิ่งสบายไม่มีอะไรผัสสะ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้อง จะตรวจนิ่งๆ จะหลับตาด้วยก็ได้ ไม่หลับตาก็แล้วแต่ อยู่คนเดียว นั่งเป็นสมาธิเป็นอะไรนิ่งๆ ก็ตรวจ ก็ทั้งนั้นๆ ก็เยอะ

เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ในพระไตรปิฎก ท่านนั่งอยู่แต่ผู้เดียว แล้วก็ตรวจตราของท่าน ก็เกิด การบรรลุแจ้ง ผู้ที่ตรัสรู้ในขณะนั่งเจโตสมถะนี่เยอะ ในสมัยพระพุทธเจ้าเยอะ แต่บรรลุในขณะที่ กำลังทำงาน ก็เยอะเหมือนกัน อย่างพระสารีบุตร กำลังพัดพัดพุทธเจ้าอยู่ พัดให้โบกไปโบกมา นั่งฟังธรรมไปด้วย พระพุทธเจ้าไม่สอนพระสารีบุตรซะหน่อย สอนอคินิเวสนะอยู่ พระสารีบุตร ก็นั่งพัดโบกให้พระพุทธเจ้าไป พัดให้ มันไม่มีพัดลม ก็ใช้พัดโบกนะ ลูกศิษย์ก็พัดให้อาจารย์ ธรรมดาแค่นั่นน่ะ ก็นั่งฟังธรรมไปด้วย ฟังธรรมที่พุทธเจ้าสอนคนอื่นด้วยซ้ำ พระสารีบุตร ก็บรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์ในตอนนั้นด้วยซ้ำ หรือในอื่นๆ ก็มีอีกหลายๆองค์

พระอานนท์ก็ตรัสรู้ในขณะนั่งจะพัก แต่ก็ยังไม่ได้พัก กี่งนั่งกึ่งนอนยังไม่ได้พักลงไปเลยสักหน่อย ครึ่งนั่ง ครึ่งนอนก็บรรลุ ก็ในภาวะที่กำลังไตร่ตรอง ตรวจตรา อยู่ในขณะนั้น อะไรอย่างนี้เป็นต้น หรือว่าองค์อื่นๆ ในขณะเดินก็มี หรือขณะทำงานทำกิจ มีอยู่ อาตมายังตรวจไม่พบในพระไตรปิฎก เคยได้ผ่านหู ผ่านตาว่า มีพระรูปหนึ่ง บรรลุธรรมในขณะฟังเพลง นี่ก็ไม่ใช่ไปฉวยโอกาสเสียละ แหม! เราจะบรรลุธรรมขณะฟังเพลง ฉวยโอกาสเสียละ อย่าไปนั่งแอ๊คนะ เอาไอ้ จุดที่ แหม เข้ากับภพตัวเอง เข้ากับความต้องการตัวเอง เราอันนี้มันไม่ง่ายนะ คนที่ในขณะที่บรรลุธรรม ในขณะที่กำลัง แหม! สู้กับข้าศึก เหมือนกับนักรบ รบอย่างเก่งเลยน่ะ เก่งเท่าไหร่ รบยากเท่าไหร่ บรรลุธรรมในขณะนั้น แสดงว่าจิตของเรามี มุทุภูตธาตุ มีจิตแววไว จิตแววไวรบแคล่วคล่องได้ดีนะ และตัวกิเลสได้เก่ง ในขณะนั้นๆ เป็นได้เหมือนกัน แต่นั่นแหละส่วนมาก ญาณจะตรวจไม่ค่อยทัน แม้จะทำได้ก็จริงอยู่ มีฌานที่แคล่วคล่อง มีมุทุภูตธาตุแคล่วคล่อง มีกัมมนิยธาตุ ที่แคล่วคล่องดี ก็ตาม ในขณะปฏิบัติ แต่ว่าญาณนี่จะถูกตรวจสอบอีกทีว่า มันหมดสิ้นหรือยัง แน่ชัดหรือยัง ตรวจสอบทั้งอดีตมา เปรียบเทียบกับปัจจุบันอะไรนี่ มันมาก มีประสบการณ์ต่างๆ มาเปรียบเทียบ เมื่อนั่น เมื่อนี่ๆ อีกหลายกาละของอดีต เปรียบเทียบกับปัจจุบันของเรา มันถึงจะแน่ใจได้

ก็ต้องทบทวนนะ เหมือนพระพุทธเจ้า ท่านทบทวนอยู่ใต้ต้นโพธิ ท่านก็ทบทวนของท่านไป อดีตชาติเท่านั้นชาติ ได้ถึง แสนกัป สังวัฏกัป วิวัฏกัป ทวนเพื่อตรวจสอบว่า ท่านสูงส่ง ท่านครบ บุญบารมีครบ สิ่งที่ท่านได้สะสมมา ตามที่ท่านระลึกย้อนสัญญา สัญญาอีกนั่นแหละระลึกย้อน สัญญาเก่า จนกระทั่งของจริงเหล่านี้ครบ ท่านปฏิญาณตนได้แล้วว่าพระพุทธเจ้า เพราะแต่ละชาติ ท่านสั่งสมบุญบารมีมาตั้ง ๓๐ ทัศ บารมี ๑๐ ทัศนี่ท่านครบ ๓๐ ทัศ บารมีธรรมดา บารมีถึงขั้น อุปบารมี ถึงปรมัตถบารมี ครบ ๓๐ ทัศ แล้วนะ สมบูรณ์ด้วยอะไรก็แล้วแต่ ทศพลญาณ เวสารัชญาณ อะไรต่างๆ ที่ท่านเป็นหลักการ ในการตรวจภูมิของพระพุทธเจ้า ท่านก็มีพร้อม ท่านก็ปฏิณญาณตนได้ แต่คุณมีหรือเปล่า ไม่มี เอาละ อาตมาพูดเลยไปถึงขั้นพระพุทธเจ้า

ไม่ต้องเอาถึงขั้น พระพุทธเจ้าหรอก ตรวจสอบกิเลสเราให้แน่ๆก็แล้วกัน อาสวะของเราให้ชัดด้วย เหตุปัจจัยนั่นๆนี่ๆ กระทบสัมผัสเมื่อไหร่ ก็ให้มันชัดทั้งหมด รู้เท่าทันว่าเรามี หลอกตัวเอง คุณก็ช้าอยู่นั่นแหละ และคุณก็ตกต่ำอยู่นั่นแหละ ยิ่งหลอกมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งตกต่ำมากเท่านั้น เพราะฉะนั้น อย่าไปหลอกตัวเอง ยิ่งไปหลอกคนอื่นก็ยิ่ง บาปซ่อน คนที่หลอกผู้อื่นนี่ คือคนที่หลอก ตัวเองก่อน ตัวเองนะหลอกตัวเองก่อน ทั้งๆที่ว่าตัวเองผิด แล้วไปหลอกคนอื่นเขา ตัวเองก็หลอก ตัวเองก่อน ตัวเองผิด แล้วดันผ่าไปบอกคนอื่นว่าถูกน่ะ ตัวเองไม่ดี แล้วไปบอกคนอื่นว่าดีน่ะ ตัวเองก็ หลอกตัวเองก่อน แล้วก็ไปหลอกคนอื่นต่อ มันก็บาปมากกว่าปกติ ส่วนคนไม่รู้ ไม่เจตนา นึกว่าตัวเองดี แล้วก็ไปบอกคนอื่นว่าเราดี ที่จริงโดยสัจจะตัวเองไม่ดี แต่เราไม่ใช่เข้าใจผิดนะ นึกว่าเราดีจริงๆ นั่นเรียกว่า หลง หลงตัวเอง พระพุทธเจ้าก็ไม่ถือว่า ผิดเท่าไหร่หรอก เพราะมันหลงได้ คนเราหลงได้ หลงตัวเองนึกว่าจริง โดยซื่อสัตย์นะ แต่ถ้าคุณรู้ตัวว่า คุณไม่ได้หลง คุณรู้ตัวเองอยู่ว่า คุณเองหลอกเขาน่ะ คุณปฏิเสธไม่ได้ คุณรู้อยู่ว่าคุณเอง คุณไม่ได้หลง คุณรู้อยู่คุณเองไม่ดี เสร็จแล้ว เราจะไปหลอกเขา นี่แหละตัวบาปๆ ต้องนับว่าบาป เป็นตัวบาป เป็นตัวชั่วจริงๆเลย อย่าทำเลย อย่าทำเลยน่ะ ที่รู้ว่าบาป ที่รู้ว่าชั่ว ไม่ทำเลยดูซิ มันจะขาดใจดูซิ พยายามดู ฝืนเข้า ถึงขั้นขาดใจมาบอกก่อน ก่อนตาย จะได้ลงทะเบียน อาตมาว่าจะตรา จะลงชื่อลงไปในสมุดทองคำ เอาทองคำมาทำ เป็นแผ่น เขียนจารึก นางสาว ก. หรือ นาง ก. ฯลฯ...

เพราะฉะนั้น ใครก็แล้วแต่น่ะ ถ้าได้ตรวจในสภาพเบื้องต้น ท่ามกลาง เบื้องปลาย ตรวจความจริง ให้ชัด เมื่อรู้แล้วอย่าไปโกหกๆ รับรองว่าคุณสู้กับกิเลสๆ มันตาย ไม่ตายง่ายๆ หรอกคน สู้มันเถอะ แล้วก็อย่าลืมมาบอกอาตมาก่อนน่ะ ถ้ามันจะตายก่อนจริงๆ แต่ส่วนมาก กิเลสเอาไปกินก่อนล่ะ ส่วนมากแล้วเอาชนะ เรื่อยๆนี่ก็เร็วๆ ต้องต่อสู้นะ ตัวกิเลสนี่มันแรง เก่ง แต่เราต้องใจกล้า ต้องอดทน ต้องสู้ ไม่สู้ไม่ได้หรอก กิเลสและพวกตีกินง่ายๆ ไปเอาแต่ความคิด ความนึกนี่เยอะ เดี๋ยวนี้ นอกจากความคิดความนึกแล้ว ด้นเดาเอาเองคาดคะเน ไปเหมือนเดียรถีย์ ที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้ในนี้ เดียรถีย์ปฏิญาณเอาทิฏฐิของตนๆ ถูก แล้วไปตู่กับคนอื่น แหม! เล่นอาตมา จนจะเข้าคุกนี่ ดูซิหาว่าผิด สอนผิด ทำวินัยผิดว่าผิด แล้วก็เอาเป็นเอาตายเลยนะ จะเอาอาตมา เข้าคุกโน่นแน่ะ โอ๋!เรา เองเราก็เถียงไม่ออกเท่าไหร่ เถียงไม่เก่งนะ ก็ยอมอนุโลม ไปเรื่อยๆ ก็กล่าวแก้บ้าง แต่ก็ยังไม่ยอม ยังจะเอาเข้าคุก เอ้า ก็เข้า อาตมาเอง อาตมาไม่มีปัญหาหรอก จะเอาเข้าก็เข้า แต่ยังดีนะว่า กฎหมายนี่ให้เข้าคุกก็แค่ ๖ เดือน ออกมา ๖ เดือน ทำอย่างเก่า ขอยืนยัน จับอีกก็สู้อีกฟ้องอีก จับเข้าคุกก็เข้า จะจับกัน ได้กี่เที่ยวกันเชียว แหม! จริงๆนะ จับเข้าก็เข้า อาตมามั่นใจนะ มั่นใจในสัจจะหรือมั่นใจในสัญญา ที่อาตมาว่า อาตมาใช้สัญญากำหนดรู้ กำหนดเห็น กำหนดจริงนี่ มันเป็นอย่างนี้แหละ เป็นสุขเพราะเราลด เราละ เราหน่าย เราคลาย จะเรียกว่าทุกข์ก็รู้ ก็ทุกข์อาตมาก็อธิบายให้พวกเราฟังแล้ว ทุกข์ที่แยกมาตั้ง ๑๐ ประเภท พระอริยเจ้า พระอรหันต์เจ้า ไม่ได้หมดทุกข์ไปจาก ๑๐ ประเภทหรอก หมดทุกข์ไปแค่ ๔ ประเภทเท่านั้นแหละ อีก ๖ ประเภทนั่น ถ้ายังไม่ตายซะ ยังไม่ปรินิพพาน มันก็ต้องมีทั้ง ๖ ประเภทนั่นอยู่แหละ

เช่นหนึ่งสภาวทุกข์ ต้องแก่เป็นธรรมดา ทุกข์เพราะเจ็บป่วย ทุกข์เพราะเกิดแก่เจ็บตายนั่นแหละ สภาวทุกข์ มันก็ต้องทุกข์เป็นธรรมดา ยังไม่ตาย ยังไม่หมดรูปนามขันธ์ ๕ หรือยังไม่ปรินิพพาน มันก็ต้องมีอันนี้แน่นอน ทุกข์เพราะนิพัทธทุกข์ ทุกข์อันเกี่ยวเนื่องกับสรีระ เมื่อมีสรีระ จะต้องมีปวดขี้ ปวดเยี่ยว เป็นเรื่องต้องเกี่ยวเนื่อง ต้องต่อเกี่ยวพันธ์อยู่ชีวิตก็ต้องทุกข์ ทุกข์เพราะร้อน เพราะเย็น เพราะหนาว ก็ต้องทุกข์ เรียกว่านิพัทธทุกข์ เพราะคุณมีผัสสะ คุณมีประสาท คุณมีความรู้สึก เอากระบองมาตีหัว ทุกข์แน่นอน ผัสสะแบบนี้ มันไม่ทุกข์ได้ยังไง พระอรหัตน์เจ้าก็ต้องทุกข์ พระพุทธเจ้ายังต้องทุกข์ นี่เป็นนิพันธทุกข์ มันไม่พ้นไปได้หรอก หรืออาหารปริเยฏฐิทุกข์ ทุกข์เพราะ สิ่งอาศัย ต้องอาศัยการแสวงหาอย่างนี้เป็นต้น คุณต้องแสวงหา เป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ยังต้อง แสวงหา อย่างน้อยแสวงหาข้าวมาเลี้ยงขันธ์ ๕ เอาไว้ ก็ต้องทุกข์ แสวงหาไปบิณฑบาต ก็ทุกข์อย่าง ไปบิณฑบาตนั่นแหละ เดินมามากเหงื่อแตกนะ ให้พระอรหันต์เดินก็เหงื่อแตก ถ้าไม่เหงื่อแตก อาตมาจะพาเดินให้เหงื่อแตก เดิน ๑๐ ก.ม.เหงื่อไม่แตก เดิน ๒๐ กม. จะพาเดิน แบกบาตรสัก ๒๐ กม.ซิเหงื่อแตกไหม มันก็ทุกข์ตามสภาวะอย่างนั้นแหละ อาหารปริเยฏฐิทุกข์ต้อง แสวงหาอาหาร ต้องแสวงหางานที่จะเป็นกุศล ยังกุศลให้ถึงพร้อม เป็นคนประเสริฐ เป็นคนมีคุณค่า เป็นคนที่ มีประโยชน์ เป็นคนที่มีโลกานุกัมปายะ เป็นคนอนุเคราะห์โลก เกื้อกูลโลกอยู่ เป็นคนที่จะต้อง ให้พหุชน มีประโยชน์คุณค่า เป็นพหุชน เป็นอันมาก พหุชนหิตายะ พหุชนสุขายะ ทำให้คนทั้งหลายแหล่ มีความสุขอะไรอย่างนี้เป็นต้น เป็นหน้าที่ของพระอรหันต์ของพุทธ พระอรหันต์ของศาสนาอื่น หรือ ลัทธิเดียรถีย์อื่น หรือแม้แต่พุทธมามกะ ชาวพุทธที่หลงทาง ก็เป็นเรื่องของเขา มิจฉาทิฏฐิ แต่ของพุทธเป็นอย่างนี้นะ ขอยืนยันว่าเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระอรหันต์เจ้า พระพุทธเจ้านี่ พ้นทุกข์ ๔ ประการ เท่านั้นแหละ ทุกข์อีก ๖ ประการไม่พ้น อย่างที่ไล่มาแล้ว

สภาวทุกข์

นิพัทธทุกข์

อาหารปริเยฏฐิทุกข์

พยาธิทุกข์ ทุกข์เพราะพยาธิมันกิน อวัยวะทำงานไม่สมดุลก็ทุกข์แล้ว เป็นเรื่องธรรมดา

วิปากทุกข์ วิบากที่ตามทันๆ แม้เป็นพระพุทธเจ้า วิบากยังตามทัน วิบากนี้ไปทุ่มหินทับ ฆ่าน้องชายตาย ในชาติหนึ่ง พอชาติมาเป็นพระพุทธเจ้า ก็โดนเทวทัตกลิ้งหินทับพระบาท ห้อเลือด ก็เป็นทุกข์ ท่านก็เล่าให้ฟังว่า เพราะวิบากเหลือ มาตั้งแต่ตอนโน้น ก็ถูกหินทับพระบาท ก็ต้องทุกข์ เป็นวิปากทุกข์ แม้เป็นพระพุทธเจ้า ก็วิ่งหนีไม่ได้หรอก เป็นพระอรหันต์ เป็นพระโมคคัลลานะ ถูกข้าศึก ถูกคู่ต่อสู้ ถูกศัตรูตรงกันข้ามฆ่าจนตาย ก็ต้องยอมตาย เพราะวิบากนี่มัน โอ้! มันเป็น อนันตริยกรรม เพราะเป็นกรรมที่เลี่ยงไม่ได้แล้ว เพราะท่านไปฆ่าแม่ของท่าน พระโมคคัลลานะ เคยฆ่าแม่ของตัวเอง แม่ตาบอดเอาไปฆ่า พ่อตายบอดเอาไปฆ่า เป็นอนันตริยกรรม และ ต้องยอมตาย อย่างนี้เป็นต้น

พระโมคคัลลานะ เป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์ในระดับอัครสาวกเบื้องซ้ายนะ ต้องยอมตาย เพราะวิบาก ที่เป็นอนันตริยกรรมนี้ อย่างนี้เป็นต้น มันก็ทุกข์ วิปากทุกข์ ตามก็ต้องมี ก็ว่าไป

หรือทุกขขันธ์ ทุกข์ที่มีรูปนามขันธ์ ๕ ที่ท่านพุทธทาสบอกว่า ทุกข์เป็นพาราหเว ทุกข์โว้ยๆๆ ท่านพุทธทาสบอก ทุกข์นี้ขันธ์ ๕ นี้ ทุกข์โว้ยนะ บริหารมันยากๆ นี่ก็เป็นทุกข์นี่ทุกขขันธ์

ทุกข์ทั้ง ๖ นี้ แม้เป็นพระอรหันต์แล้วก็ไม่พ้นหรอก ไม่พ้นทุกข์อันนี้นะ

พ้นทุกข์ได้มี ๔ ทุกข์ ช่วยกันไล่ดูซิ

๑.ปกิณกทุกข์

๒.สันตาปทุกข์ คือทุกข์ที่เป็นไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ

๓.สหคตทุกข์ ทุกข์อย่างมีโลกธรรมเกี่ยวข้องอยู่นี่

อย่างอาตมานี่เกี่ยวข้องในโลกธรรมนี้หลายอย่าง เป็นลาภเป็นยศเป็นสรรเสริญ คนตู่คนนั้น คนนี้อะไร ทั้งที่อาตมาว่า อาตมาเองอาตมาไม่ใช่ให้เขาว่าไป ก็มีนั่น ต้องเหน็ด ต้องเหนื่อย ทุกข์เพราะต้องกล่าวแก้บ้าง ปล่อยวางเองบ้าง ทุกข์ถ้าเราไม่ปล่อย แล้วเราจะต้องกล่าว เราจะต้องมีโน่น มีนี่ในอะไรนี้ มีสภาพที่ยังเกี่ยวเนื่อง ยังจะมีไป ยังจะต้องร่วมกันอยู่ ร่วมกับโลก อาตมาขอบอกว่า อาตมาทุกข์ เป็นสหคตทุกข์นี่มาก คือมันต้องร่วมอยู่กับคุณนี่แหละ สหคตทุกข์ ต้องเป็นไปกับพวกคุณนี่ พวกคุณนี่แหละทำให้อาตมาเหนื่อยมาก ถ้าเผื่อว่ายิ่งขี้เก๊ ยิ่งสอนยาก ว่ายาก สอนยากยิ่งดื้อด้าน โอย ! ยิ่งสหคตทุกข์มันยิ่งเยอะ เชื่อหรือไม่เชื่อ เข้าใจไหม

๔. วิวาทมูลกทุกข์ ทนได้ พระอรหัหนต์ไม่ไปวิวาทกับใครละ วิวาทมูลกทุกช์ พระอรหันต์เจ้า ไม่ไปวิทวาทกับใครนะ อันนี้พ้นได้น่ะ พ้นได้

เอ๊! สหคตทุกข์มันจะพ้นไม่ได้ เมื่อกี้ว่าไปแล้ว ทุกข์เพราะโลกธรรม ทุกข์เพราะสหคตทุกข์ ต้องร่วมอยู่กับโลกๆ ร่วมอยู่กับพวกเราด้วย สหแปลว่า ร่วม ต้องไปร่วมด้วย เพราะพวกคุณ ต้องเป็นไปร่วมด้วย โลกของเขาลาภยศ สรรเสริญโลกียสุข เราก็ยังเป็นไปร่วมกับเขาอยู่ มันก็จะทุกข์ มากน้อยตามแต่ผู้นั้น จะสามารถจัดแจงของตัวเองได้นะ ตกลงเลยพ้นทุกข์อยู่แค่ นี่มันมาจากไหน ทุกข์หนึ่งนะ ทุกข์หนึ่งมันก็ไม่พ้นอยู่ดีแหละกลางๆ

๖ ทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ สหคตทุกข์นี่ ร่วมด้วยก็พอเลี่ยงได้ อาตมาทุกข์กับพวกคุณร่วมอยู่ อาตมาก็เลี่ยงได้กับชาวโลกเขา อาตมาก็เลี่ยงได้นะ ที่อาตมาอธิบายนี่คือ ทุกข์ที่เลี่ยงได้ กับเลี่ยงไม่ได้

ถ้าเผื่อว่าเป็นปกิณกทุกข์นี่ ไม่ต้องเลี่ยงเลย ดับสนิทได้ คือทุกข์ที่ได้รับสิ่งที่สมใจ ได้รับความพอใจ หรือไม่สมใจ ประสบสิ่งที่รักก็ไม่ทุกข์ พรากจากสิ่งที่รักก็ไม่ทุกข์ ไม่ประสบกับสิ่งที่รักก็ไม่ทุกข์ นี่พวกปกิณกทุกข์น่ะ ต้องใช้ภาษา อาตมานี่จำสำนวนไม่ค่อยเก่งนะ ใช้สำนวนว่าอะไร พลัดพรากจากสิ่งที่รัก ประจวบกับสิ่งไม่รักเป็นทุกข์อะไรพวกนี้ ปกิณกทุกข์ หรือทุกข์คือไฟราคะ โทสะ โมหะ นี่ดับสนิทได้หมด ไฟราคะ โทสะ โมหะอย่างนี้หมดเป็นต้น นั่นก็ทุกข์อีกอันหนึ่ง ก็คือ วิวาทมูลกทุกข์ๆ ไม่วิวาทกับใคร ถ้าทำได้อย่างนี้ไม่ทุกข์ สหคตก็เลี่ยงได้ ส่วนอีก ๖ อันนั่นน่ะ มันมา ก็เลี่ยงไม่ได้หรอกน่ะ ที่เล่าไปแล้วที่ อธิบายไปแล้ว ๖ ทุกข์ทั้ง ๑๐ พวกนี้นี่ ก็ต้องเรียนรู้ และมันจะรู้ทุกข์ ไม่รู้ทุกข์อะไร รู้ระดับอะไรแค่ไหน หลับได้สนิทอย่างไรๆ จึงจะรู้ว่าพระอรหันต์เจ้า ไม่เช่นนั้นแม้ ทุกข์อย่างนี้พระอรหันต์อย่างนี้เป็นผู้พ้นทุกข์ พ้นหมด พระอรหันต์เลย รถทับขาหัก โอยไม่ได้ พระอรหันต์โอยไม่ได้นะ ไม่ทุกข์ รถทับขาหักโอยไม่ได้ ถ้าโอยแล้ว ไม่ใช่พระอรหันต์ โอยนี่ คุณก็เลย ไม่ต้องเจอพระอรหันต์หรอกๆ เพราะคุณไม่รู้จักพระอรหันต์ มันเกินไป ทุกข์แม้แต่ พระพุทธเจ้า ก็ยังต้องโอยเลย ท่านปวดหลังท่านก็ยังโอย ท่านก็บอกก็ เราเวทนาหนักแล้วนะ เอ้า! ทุกขเวทนาหนักแล้วนะ ท่านก็ว่า มันก็ทุกข์ที่มันอวัยวะ เจ้าการทำงานไม่สมดุลอะไรก็แล้วแต่ อย่างนี้เป็นต้น

เอาละ อาตมาได้ขยายความมา ก็คงได้สาระพอสมควร สำหรับผู้ได้เพิ่มเติมขึ้น จากเมื่อเช้านี้ วันนี้ก็ได้ขยายอะไร พอสมควรเท่าที่มีเวลา ก็เท่าที่อาตมาจะมีนิรุตติ มีปฏิภาณขยายให้ฟัง ในอนาคตก็คงจะขยายได้ดีกว่านี้อีก เพราะอาตมา รู้สึกว่าเจริญในปฏิสัมภิทาญาณเพิ่มเติมขึ้นเรื่อย จนสามารถ ที่จะอธิบายได้หลายอย่าง แต่ก่อนนี้ อธิบายไม่ออก ตอนนี้อธิบายออกเรื่อยๆ มันก็เพิ่มจริง มันก็เพิ่มความเจริญของเราที่ตัวเรา แต่อาตมาก็ไม่หลงใหญ่ในความนี่นี้ ติดยึดในความเจริญนี่ได้ ก็หัดวางเหมือนกัน

เอา! สำหรับวันนี้พอ


ถอดโดย ประสิทธิ์ ฝายทอง+ยงยุทธ ใจคุณ ๑๖ ส.ค.๓๗
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปราณี ๑๗ ส.ค.๓๗
พิมพ์ โดย ใจขวัญ ๓๐ ส.ค.๓๗
ตรวจทาน ๒ โดย โครงงานถอดเท็ป ๓๐ ส.ค.๓๗
เข้าปก โดย สมณะพรหมจริโย
เขียนปก โดย พุทธศิลป์

FILE:4082B.TAP