คุยกันวันกินข้าวหาด หน้า ๒
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
เมื่อ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ ณ ปฐมอโศก

ต่อจากหน้า ๑


แล้วรู้สึกว่า ที่ผมก็มาพบพ่อท่าน ๑๐ กว่าปีแล้ว รู้สึกว่าที่ได้รับสัมผัสมา แม้กระทั่งตัวผม ก็มีสายโทสะ รู้สึกว่าจะเป็นสายที่เข้ามาหาพ่อท่านนี่เป็นส่วนใหญ่ แล้วที่ส่วนใหญ่ที่สารภาพ บนเวทีบ้าง หรือพูดให้ญาติธรรมให้รู้บ้าง นี่รู้สึกจะเป็นสายโทสะ เสร็จแล้วก็พอมารู้จักพ่อท่าน พ่อท่านให้มาล้างกิเลส (เสียงพ่อ- กิเลส) แล้ว มันก็เบาบางลงได้นี่ รู้สึกจะเป็นสายนี้ รู้สึกว่ามากนี่ รู้สึกว่าเป็นอัตตา ตัวนี้เป็นอัตตา ใช่ไหมครับพ่อท่าน เอาตรงนี้เป็นตัวอัตตา ใช่ไหมฮะ เมื่อก่อนนี้ มันก็อวิชชาอยู่ฮะ

อัตตาอย่างไรของคุณ ที่คุณหมาย

คือแบบว่า เมื่อก่อนนี้ ซึ่งมันไม่รู้ตัวนี้แล้วก็ทำไปโดยที่มีอวิชชา แล้วเดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่นี่ เป็นคนที่จะรักดี ใช่ไหมฮะ ถึงจะมาพยายามที่จะมาหา ที่จะมาล้าง ตัวโทสะกับพ่อท่าน

อ้า! ก็ถูกแล้ว

แล้วก็จิตมาร กิเลสมาร แล้วก็ขันธมาร แล้วก็พ่อท่านมีในช่วงนี้ นำพาให้ตั้งจิตอธิษฐาน ถ้าสมมติว่า ไอ้ขันธมารที่มันมีความเจ็บไข้ได้ป่วย อะไรมากนี่ คือตั้งจิต คือจะไม่ให้มันมา เบียดเบียน อะไรต่ออะไรนี่ มันจะมีผลไหมครับ พ่อท่านครับ

เราปฏิบัติกรรมให้มันมากดีกว่า กรรมที่เป็นกุศล กรรมกุศลจะมีฤทธิ์นำพาให้ห่าง หรือให้กิเลส หรือว่าไอ้ส่วนร้าย ส่วนเลวอะไรวิ่งไม่ทัน ถ้าเผื่อว่าเราไม่ได้กระทำเป็นกรรมแล้ว เราจะอ้อนวอนเอา อ้อนวอนเอา ไม่ได้หรอก ศาสนาพุทธเรา ไม่อ้อนวอนเอา อ้อนวอนให้ตายก็ไม่ได้ ถ้าไม่มีกรรมอันที่ได้ กระทำลงไป เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ได้ขนาด ได้ขนาดแน่แท้

ขอถามพ่อท่านว่า เตวิชโชนี่ ทำอย่างไรครับ

เตวิชโช เต แปลว่า ๓ เตวิชโช ก็หมายความว่าวิชชา ๓ วิชาสาม มันมีบุพเพนิวาสานุสติ จุตูปปาตะ แล้วก็อาสวักขยะ ปฏิบัติสามอันนี่ สามอย่างนี้ ให้มันเกิดญาณ บุพเพนิวาสานุสติ หมายความว่า ตั้งจิตตั้งใจตั้งสติระลึกย้อน ระลึกผ่านไปถึงอดีตที่ผ่านมา ระลึกย้อนดูว่า มีอะไร เกิดขึ้นที่ผ่านมานี่ มีอะไรเป็นกรรมกิริยาก็ดี กาย วาจา ใจเรา มันได้เกิดกรรมมา แล้ว กรรมไหน ที่มันดี กรรมไหนที่มันไม่ดี มันหยาบๆ เราผ่านมา เราทำอะไรบ้างล่ะ เมื่อกี้นี้ผ่านมาหยกๆ เมื่อกี้นี้ ระลึกย้อนไป โอ้! เมื่อกี้นี้ เราทำท่าไม่ดี โอ้โฮ! โกรธ ออกมาทางกายกรรมเลย ทำแสดงกิริยาโกรธ โลภ แสดงกิริยาโลภออกมา หรือราคะ แสดงกิริยาราคะออกมา อะไรก็แล้วแต่ แสดงออกมานี่ เพราะเหตุแห่งกิเลส

เพราะฉะนั้น เราก็พยายามที่จะระลึก ถ้าเผื่อว่า เราเองเราระลึกรู้อยู่ว่า เราแสดง เรารู้อยู่ว่า เราก็รู้ตัวในขณะแสดง เราก็ได้ปฏิบัติธรรมในขณะแสดง กิเลสเกิดเราก็รู้กิเลสเกิด เราได้ตั้งใจ รู้เท่าทันมัน เสร็จแล้ว เราก็พยายามที่จะทำลดกิเลส ในขณะที่มันเกิดตอนนั้น เรื่องราวตอนที่ มันผ่านมานี่ เราทบทวนดีๆ จริงๆ แม้เรารบสู้มันได้ รบสู้ไม่ได้ มันบกพร่องตรงไหน ทำไมมัน สู้ไม่ได้ มันเพลี่ยงพล้ำอย่างไร เอามานึกทบทวน เหมือนกับคนที่ไปผ่านสนามรบมา แล้ว ก็มานึก โอ้! เรารบกับเขา แพ้มาเพราะเหตุนั้นเหตุนี้ เรียกว่าเรารบชนะ ฆ่ากิเลสตาย ฆ่าข้าศึกตาย ก็รู้จริงๆเลย เรารู้กิเลสเกิด รู้กิเลสดับ รู้เหตุการณ์เกิด รู้เหตุการณ์ดับ จุตูปปาตะ แปลว่าเกิด แปลว่าดับ รู้ความจริง เกิดญาณรู้ของจริงพวกนี้ จนกระทั่งกิเลสไม่เหลือมากแล้ว กิเลสเหลือแค่อาสวะ ก็รู้ว่าอาสวะเกิด เห็นอาสวะเกิด แล้วเราก็ได้ทบทวนว่า โอ! เมื่อกี้นี้ มันยังเหลือ อยู่นิดหนึ่ง ขนาดกิเลสอย่างนี้เรียกว่า อาสวะ หรืออนุสัยกิเลส เสร็จแล้ว เราก็ได้ชัดจัดการ เบ็ดเสร็จเลย กิเลสตาย ถอนอาสวะสิ้น มีเหตุการณ์กระทบสัมผัสอีก อาสวะเคยเกิดก็ไม่เกิด มั่นใจขึ้น เออ! เหตุการณ์อย่างนี้ อาสวะน่าจะเกิดไม่เกิด ครั้งแล้ว ครั้งเล่า ก็เราก็จะแน่ใจว่า อาสวะของเรานี่ขาดสนิท ถอนอาสวะสิ้นแล้วจริง อะไรอย่างนี้เป็นต้น เกิดอาสวขยญาณ เตวิชโช คือการทบทวนลักษณะอย่างนี้แหละ ต้องทำน่ะ ทุกคนต้องฝึก ให้เป็น เตวิชโช ไม่ฝึกจะไม่ชัดเจน แล้วจะไม่รู้ตัวเองอย่างแท้ๆ งมๆงายๆ เงอะๆ งะๆ ไม่เข้าเรื่อง ปฏิบัติธรรมได้ก็ไม่รู้ว่าได้ ดีก็ไม่รู้ว่าดี เจริญก็ไม่รู้ว่าเจริญ

จะฝึกช่วงไหนดีที่สุดครับ

เมื่อไหร่ก็ได้ อาตมาเล่าให้ฟังนี่ พวกคุณระลึกตามอาตมานี่ เตวิชโช ระลึกอยู่ตลอดเวลาได้ อาตมาเทศน์ให้ฟังทุกที คุณนั่งระลึกทวนทุกทีแหละ ทวนมากหรือน้อย คนที่เข้าใจแล้ว ชำนาญแล้ว ก็โอย! จะระลึกตามที่อาตมาเทศน์นี่มา ทบทวนเลยนะ อาตมาพูดอย่างไรก็ทบทวน เออ! ใช่โว้ย เราเป็นอย่างนี้ เออ! ใช่โว้ย มันเกิดอย่างนี้มา ใช่เราเป็นอย่างนี้มา เออ! อย่างนี้เราแพ้ อย่างนี้เราชนะ อะไรจะเห็นชัดเจนขึ้นมาเลย แล้วเราก็ระลึกเองขึ้นมาให้ได้ เวลาไหนก็ตามแต่ ที่มีเวลา ที่จะระลึกได้ ก็ระลึก ไม่มีก็ระลึกหาเวลาก่อนนอนมาก็ระลึก นั่งสงบสติอารมณ์ระลึกดู ตรวจทานของจริงความจริง เตวิชโชนี่ต้องทำ ถ้าไม่ระลึกเลยไม่ได้ ที่จริงโดยอัตโนมัติ มันก็มีระลึกรู้อยู่บ้าง มันไม่เป็นกิจจะลักษณะ ไม่เป็นโล้เป็นพาย มันก็เลยไม่ได้เรื่อง แต่ถ้าเผื่อว่า เราทำจริง เป็นกิจจะลักษณะ มันก็จะได้เป็นกอบเป็นกำ จะมีความชำนาญ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เหมือนกับเราทำแบบฝึกหัด แล้วเราจะไม่สงสัยง่าย คนพวกนี้จะชัดเจน เพราะมันมีระบบ วิธีการของมัน นี่เป็นหลักวิชา เตวิชชานั่นแหละ เตวิชโช วิชา วิชชา ๓ ฯลฯ...

ขอโอกาสค่ะ พ่อท่านคะ ปฏิบัติธรรมอย่างไร ไม่ต้องเครียดนะค่ะพ่อ

ปฏิบัติธรรมอย่างไรไม่ต้องเครียด คุณไปเคยเครียดอะไรมา มากมายอะไรนักเล่า ปฏิบัติธรรม ไอ้ที่เครียดนั่นคือ ไม่เรียนรู้ธรรมะ คนเรียนรู้ธรรมะแล้วมันไม่เครียดหรอก

คือ ข้อนี้ไม่จริงนะฮะ แต่ก่อนนี้ ดิฉันยังไม่เคยเครียดเลยฮะ

อ้อ! พอมาปฏิบัติธรรมแล้วเครียด แต่ก่อนไม่เคยเครียดเลย หรือ (ค่ะ) ผิดทางแล้ว อย่างนั้นน่ะ ปฏิบัติธรรมแล้ว ก็จะเกิดปัญญา คนเราเกิดปัญญาเห็นความจริงแล้ว มันจะไม่ยึดมั่นถือมั่น มันจะไม่ไปติด มันจะไม่ไปมุ่น อาตมาว่า อาการเครียดนี่ มันคงจะไปติดยึด แล้วมันคงจะไปมุ่น ยึด ติด แล้วมุ่น คลี่คลายไม่ออก คงจะเป็นเหตุอย่างนั้นนะ อาตมาไม่รู้เครียดมันเป็นอย่างไร อาการเครียด เป็นอย่างไร อาตมาไม่รู้ เพราะอาตมาไม่เคยเครียด ตั้งแต่ไหน ตั้งแต่เป็นฆราวาส จนกระทั่งบัดนี้ อาตมาฟังเขาพูดว่าเครียดๆๆๆ เครียด อาตมาก็เดาเอาว่า เครียดอาการ คงจะเป็นอาการอย่างนั้น ใช่ไหม มันมุ่น มันขุ่น มันไม่คลาย มันไม่ปล่อย ไม่วาง อะไรอยู่อย่างนั้น เพราะฉะนั้น ศาสนานี่ มาสอนให้ปล่อย ให้วาง ไม่ให้ไปมุ่น ไม่ให้ไปติดยึด อยู่อย่างนั้น

เพราะฉะนั้น ถ้าคุณบอกว่า ยิ่งมาประพฤติปฏิบัติแล้วเครียด ก็แสดงว่าผิดทางนะซิ ก็ต้องอ่าน ให้เห็นความจริงให้ได้ว่า สิ่งใดไม่น่ายึดมั่นถือมั่นอะไร ไม่เอาไอ้ปักมั่นอะไรอยู่กับมันนักหนา เราจะทำอะไร ก็ทำให้มันได้เหตุได้ปัจจัย พอได้แล้วก็ได้ มันไม่ได้ก็เอาค่อยๆทำไปอีกต่อไป ไม่ต้องไปติดยึด อะไรเกินการนักนี่

คนที่มุ่นอยู่กับตัวเอง ก็เปิดให้มันไปสัมพันธ์กับคนนั้นคนนี้ อย่าไปเอาแต่เรื่องตัวเอง มุ่นอยู่ อย่างนั้นมากนัก โอย! มันไม่ไหวมันทุกข์ แล้วมันก็ไม่เจริญ มันก็อยู่เหมือนในกะลาครอบ มันไม่ได้เรื่องอะไร ก็พยายามไปสัมผัสสัมพันธ์ สังสรรค์กับคนนั้นคนนี้ อะไรบ้าง เรียนรู้ว่า เขาอย่างไรหนอคนนี้ ก็ดูตัวอย่าง เขาก็ทำไม เขาเบิกบานร่าเริง ทำไมเขาเป็นสุข ทำไมเขาดีหนอ อย่างโน้น อย่างนี้ ก็ศึกษากันไปดีกว่า ปล่อยแล้วไม่มีสติ อยากก็ฝึกหัดซี ฝึกมีสติเข้าไป มีสติ สัมปชัญญะ มีสติสัมโพชฌงค์ ให้ดีๆ ถามผิดฐานไหม ไม่ผิดหรอก คบคนที่ควรคบ อย่าไปคบเลอะไปซี คบคนที่ควรคบ อยู่ในฐานะที่ควรคบ แล้วก็ดูมิตรดี กัลยาณมิตโตนี่ มันก็ต้องมี ศึกษาคนไหนควรเป็นมิตร แล้วก็ไปตามขั้นตามฐานะ ไปคบซะเลอะไปหมด มันก็ยุ่งนะซี โดยเฉพาะ ยิ่งไปคบไอ้คนพาล ไปคบคนที่นำพา ไปในทางชั่วทางต่ำ มันก็เสีย คบบัณฑิต คบผู้รู้ คบผู้ที่จะพาเราเจริญ แม้ว่าจะไม่ใช่เป็นผู้ที่สูงยอดอะไร ในฐานะที่ควร เป็นไปได้ คนไหน ควรทำสัมพันธ์กับคนที่ควรจะเป็นที่พึ่งอาศัย ที่จะนำพากันไปสู่ที่เจริญได้ ก็คบหากันไป ช่วยเหลือเกื้อกูลกันไป พวกเรานี่มีเยอะแยะ อาตมานี่ พยายามรวบรวม เอาไว้ให้เยอะ แต่พวกเราไม่พยายามกันเอง เสร็จแล้ว ได้เพื่อนได้มิตรสหายดี ก็มักจะจมอยู่กับ หมู่เพื่อน หมู่เก่า น่ะนา มันสนิท มันชินชาอยู่กับคนนี้ จะไปคนนั้นคนนี้ต่อก็ แหม มันก็เลยแคบ มันเจริญน้อย ปรโตโฆสะ มันน้อย

ขอโอกาสค่ะ พ่อท่านคะ ความศรัทธา มันจำเป็นไหมคะ คือว่า จะต้องแสดงออกอะไร อย่างนี้ น่ะคะ

จะตอบตายตัวไม่ได้ว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็น ถ้าสมควรจะแสดงออกก็แสดง ถ้าไม่สมควร กาละเทศะไม่สมควร มีมันก็มีอยู่ที่เรา

มันก็มีไปตัวเองรู้ตัว เองใช่ไหมค่ะพ่อท่าน ไม่ต้องแสดงออก

ก็เรานั่นแหละ จะรู้ว่ามีศรัทธา หรือไม่มีศรัทธา เมื่อเรามีศรัทธาแล้ว ควร โอกาสเวลาวาระ ที่ควรแสดงออก (ตัวเองก็รู้ ตัวเองใช่ไหมค่ะพ่อท่าน) ก็แสดง เวลาที่ไม่ควรแสดงออก ก็ไม่แสดง มันตอบ ตายตัวไม่ได้

คือได้ฟังท่านติกขะ เทศน์ช่วงงานปลุกเสกวันนั้น คือท่านแยกประเภท คนวัด คนที่มาอยู่วัด นะฮะ บอกว่ามีอยู่ ๓ ประเภทอะไรอย่างนี้แล้วคือ มันมานึกย้อนตัวเองว่า เราไม่ได้อยู่ใน ๓ ประเภทนั้นเลย

อ้อ พิเศษ ให้ปัญญาหน่อยซิ ท่านติกขะ จะได้รู้ประเภทที่ ๔

คือว่าเราก็ทั้งศรัทธาพ่อ แล้วก็ศรัทธาสมณะทุกรูป แต่ว่า การแสดงออก ของความศรัทธานี่ มันไม่เหมือนกัน ศรัทธาของพ่อท่านนี้ รู้สึกมันจะแสดงออก คือตัวเองนี้ มันจะรู้ว่า ศรัทธามาก อะไรอย่างนี้น่ะค่ะ แต่กับสมณะนี่ บางครั้ง เราศรัทธาอยู่ในใจ แต่การแสดงออกนี่ มันไม่มีน่ะค่ะ พ่อท่านแต่ศรัทธามาก

ก็มีก็มีบ้าง เราแสดงออกบ้าง ถึงบอกว่า บางทีสมควรแสดงก็แสดง ยังไม่สมควร กาละเทศะ ไม่สมควร ก็ไม่ต้องแสดง

กราบขอบพระคุณค่ะ

ขอโอกาสค่ะ ขอถามแทนน้องเมื่อกี้นี้ เขาถามไม่กระจ่างนะคะ

คือพ่อท่านตอบเขาไปว่า เขาปฏิบัติธรรมผิดทาง ถ้าปฏิบัติธรรมแล้ว เครียดนะฮะ คือเขาเคย มาเล่าปัญหาให้ฟังค่ะ คือ มีสามี สามีไม่สนับสนุน การมาปฏิบัติธรรม ฉะนั้น เวลามาวัดนี่ เขาต้องหนีมา หนี แอบมา แล้วทุกครั้งเขากลับไป ถ้าผิดเวลา ก็จะเกิดการเครียดกันขึ้นค่ะ ทีนี้ จุดที่เขาจะปรับให้ลงตัว จุดนี้ค่ะ ที่ยังไม่ลงตัว ก็เลยทำให้เครียด ดิฉันก็คิดว่า การปฏิบัติธรรม ทุกอย่าง ขณะที่กำลังทำ หรือกำลังต่อสู้อยู่นี่ ก็ต้องเครียด ขณะที่เรายังปรับไม่ลงตัวฮะ

เป็นได้ ขณะที่ปรับยังไม่ลงตัว มันก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดี มันก็หมักๆ หมกๆ อยู่ มันก็เครียด เรียกว่าเครียด ก็ได้ เพราะฉะนั้น ก็ต้องค่อยๆ จัดแจงกันไป ค่อยๆทำอะไรไป ค่อยๆคลายว่า เออ! เราก็ต้องเข้าใจด้วยปัญญา ปัญญาจะเป็นตัวคลายเครียดได้ดีที่สุดเลยนะ คือเข้าใจสิ่งนั้นแล้ว มันก็ไม่มีอะไรหรอก ที่จริงความเข้าใจที่สูงสุดแล้ว ก็คือสิ่งนั้นเป็นเรื่องของเหตุปัจจัย ธรรมดา เป็นธรรมดาๆ มันไม่ไปประหลาดอะไรเลย ถ้าคนจะยิงอาตมาตายนี่นะ เขามาบอกอาตมาว่า จะมีคนคอยยิงอาตมา อาตมาก็จะไม่กลัว แล้วก็จะไม่เครียดอะไรหรอก เพราะรู้แล้วว่า เอ้อ! คนจะยิงอาตมา ก็ต้องคนจะยิงนั่นแหละ เราเองเราก็เลี่ยงได้เลี่ยงไป เลี่ยงไม่ได้ มันก็เจอกัน มันยิงเรา เราก็ตาย ยิงถูกก็ตาย ก็จบ

เพราะฉะนั้น เราไม่กังวล เราไม่ได้ไปกลัวเกรง เราไม่ได้ไปนั่งหมกมุ่น เราไม่ได้ไปอะไรต่ออะไร มันไม่เครียด มันไม่ทุกข์อะไรหรอก เพราะเราเข้าใจดีว่า มันก็เป็นอย่างนั้นน่ะ คนเขาก็คิดว่า เราเองเป็นศัตรู ถ้าเราจะแก้ไขปัญหาได้ก็แก้ แก้ไม่ได้ก็ปล่อยไปตามธรรมดา ถึงเวลาวาระ มันโคจรมาเจอกัน มันตั้งใจจะฆ่าแล้วมันก็หาโอกาสมา สุดท้ายมันก็ลอบฆ่าจนได้ หรือ ไม่ลอบฆ่า มันก็เดินมายิงเอาดื้อๆ นี่ก็หลบ ไม่ตายก็ตาย ตายก็ตาย ถ้าหลบได้ก็หลบก่อน เพราะว่ายังไม่ควรตาย อาตมาก็ยังแข็งแรงดีอยู่ ยังทำประโยชน์ได้อยู่ ยังไม่ควรตาย ก็ควรมีคนเลี้ยง ให้มีชีวิตอยู่ อยู่ก็อยู่ไปก่อน ก็ไม่ควรตาย ก็รักษาชีวิตไว้บ้าง ก็เท่านั้นเอง อย่างนี้เป็นต้น คนอื่นก็เหมือนกัน มีเหตุอะไรของตัวเองก็ตาม เราก็เข้าใจว่า มันได้เท่านี้น่ะ เออ! ได้เท่านี้ ก็เท่านั้นแหละน่ะ ก็ยังดีกว่าที่มันไม่ได้กว่านี้อะไร เราก็ว่าไป หรือแม้มันจะเลี่ยงไม่ออก มันไม่ได้ดีกว่านี้ มันได้แค่นี้น่ะ เออ! หรือมันไม่ได้เลย ตามที่เราปรารถนา หรือว่าตามที่เราเห็น ควรว่า ควรจะได้ ควรจะเป็น ยังไม่ได้เลย ก็หาเวลา หาโอกาส พยายามเอาให้มันได้เพิ่มขึ้น มันยังไม่ได้ก็ เอ้อ! ยังไม่ได้น่ะ เราก็เพียรก็แล้วกัน ตั้งใจเพียร ตั้งใจหาทางที่จะมาสร้างสรร สิ่งที่ดีให้มันได้ มันยังไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปตกใจ ไม่ต้องไปกลัวเกรงอะไรมันมาก พยายามให้มันจริง ก็แล้วกัน ว่าเรา พยายามอยู่ก็พยายามไป พยายามจริงๆ จังๆก็แล้วกัน

ขอโอกาสครับ ตอนนี้ ขอถามปัญหาพ่อท่าน ตอนนี้ มีความคิด ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ช่วงนี้ พวกเราเดินทางบ่อยๆ ซึ่งมันก็อันตราย แล้วก็เกรงว่า มันจะเกิดอุบัติเหตุได้ แล้วช่วงนี้ เดี๋ยวก็มีข่าว อุบัติเหตุนั่น เดี๋ยวอย่างกรณีพรพิชัย หรือท่านอัคคชโย อย่างนี้เป็นต้น ก็มีบางรูป หรือบางท่าน ถึงกับเรียกว่า ไม่อยากไปไหน อยู่กับที่ดีกว่านะฮะ

กลัวตาย?

แล้วอุบัติเหตุ กับอีกพวกหนึ่ง เดี๋ยวก็ไปโน่น ไปนี่

คือคนที่อยู่บนเรือนี่น่ะ รถยนต์ยังวิ่งมาชนเลย ไม่ต้องกลัวมากหรอก ถ้ามันจะมี เวลาของมันแล้ว ก็อยู่บนเรือ รถยนต์ยังวิ่งเข้าไปชนเลย ไม่มีปัญหาหรอก นอนอยู่ดีๆ ในห้องนะ ลูกระเบิด ไม่รู้ว่ามันลอยมาจากที่ไหน ไม่รู้ว่า ลูกปืนมันลอยมาจากที่ไหน ตูม! ตาย! นอนอยู่ในห้อง แท้ๆน่ะ ไม่ได้เดินไปไหน ตาย เคยได้ยินบ้างไหมเล่า

อ๋อ! คือในอนาคตน่ะ ไม่ทราบพ่อท่านจะมีอนุสติ หรือว่ามีมาตรการ อย่างใด

ไม่หรอก! ไม่! อย่าประมาทก็แล้วกัน พยายามอย่าประมาท เอ้อ!

อ๋อ! ไม่ให้ประมาท

ใครจะไปไหนมาไหนอะไรก็ไปตามสะดวก ตามที่ควร ไม่ต้องประมาท พยายามจริงๆ มีสติ ระมัดระวัง อย่าประมาทให้ได้เท่านั้นแหละ ถ้ามันถึงวาระแล้ว มันเล็ดลอดมาจากไหนไม่รู้ พัวะ ตาย เออ! ถ้าอย่างนั้น ชมร. เดินทางทุกวัน ก็เลยไม่ต้องทำมาหากินเลย พูดเป็นเล่นไปได้ แหม

ขอโอกาสครับ ผมสมณะพอแล้ว วันนี้เป็นโอกาสดีครับ ผมจะเรียนถามพ่อท่านที่ว่า ผมเคยติดตามพ่อท่านมาตั้งแต่ปี ๑๙ สมัยอยู่แดนอโศก ผมศรัทธาเลื่อมใสในความเพ่งเพียร ของพ่อท่าน ครับ ตื่นตีสอง ก็เขียนหนังสือ ทางเอก แล้วก็มาอ่าน สอนด้วยอะไรด้วย ผมเคยเอาอย่าง ตามอยู่พักหนึ่งครับ รู้สึกว่าดี

ทีนี้ผมอยากจะทราบว่า ในกิจวัตรของพ่อท่านที่สมัยอยู่แดนอโศก นี่ไม่ทราบว่า ปัจจุบันนี้ ยังเพ่งเพียร ยังมีกิจวัตรเหมือนเดิมหรือเปล่า

ไม่เหมือนซิ ก็เรื่องเยอะแยะ มากกว่าเดิมเยอะแยะ จะไปเหมือนเดิมได้อย่างไร แม้แต่อยู่ แดนอโศก นั่นตื่นตีระฆังทุกชั่วโมง ก็ไม่ได้ทำ เดี๋ยวนี้ตีระฆังก็ตี ได้ แล้วก็ตื่นมา ตีสามกว่า เหมือนก็อย่างที่ตื่นๆ กันอยู่นี่ ไม่ได้ไปแสดงธรรม ไม่ได้ไปเทศน์ ไม่ได้ไปทำวัตรด้วย ก็ขึ้นไปทำงานอื่น อะไรอย่างนี้ มันไม่เหมือนกัน แต่ก่อนนี้ อยู่แดนฯ นอนแต่หัวค่ำกว่านี้ อยู่แดนอโศกนี่ หกโมงเย็น หรือทุ่มหนึ่ง อย่างมากก็นอนแล้ว ตื่นตีสองก็สบายๆ ครับ แต่เดี๋ยวนี้ ไม่ได้นอนหรอก ทุ่มหนึ่ง นะ ๓ ทุ่ม บางที ๔ ทุ่ม

บางทีพ่อท่าน ก็อยู่ดึกใช่ไหมครับ บางทีก็เขียนหนังสือดึก

บางทีก็เขียนหนังสือ บางทีก็ไม่ได้เขียนหนังสือ บางทีไม่เขียนหนังสือ ก็ต้องนั่งแก้ปัญหา ต้องนั่งพูด อะไรต่ออะไร ต้องนั่งตัดสินเรื่องนั้น ปรึกษาเรื่องนี้ อะไรต่ออะไร เดี๋ยวนี้ มันสารพัด ก็พยายามที่จะไม่ให้ดึก แต่มันก็ดึก แต่เหตุที่พยายามจะนอนก็จะพยายามไม่ให้เกิน สามทุ่มล่ะ แต่มันก็เกินไปบ้าง เป็นธรรมดา เกินบ้าง หรือน้อยกว่าบ้าง บางทีสองทุ่มก็นอนแล้ว บางที ทุ่มกว่า ก็นอนแล้ว แต่นานน้าน จะได้นอนทุ่มกว่าสักที

ทีนี้อยากจะทราบความหมายคำว่า ความเพียรในธรรมะ เพ่งเพียรในธรรมะ ให้มันเกิดฌาน อยู่ตลอดกาลนี่ จะเป็นความหมายเดียวกับที่ว่า พระโสดาบันเอกพีชี นี่ มีความปรารภเพ่งเพียร แล้วก็มีสิ่งแวดล้อมดีนี่ มีชาติเดียว บรรลุอรหันต์ (เออ) ความหมายอย่างนั้น อาจจะแซว พระสกิทาคามี (ใช่) หนึ่งชาติ (ใช่) บรรลุพระอรหันต์ เช่นกัน (ใช่)

ความเพียรนี่ เป็นตัวไขสำคัญ เป็นตัวแปรสำคัญ ฉะนั้น ตัวแปรสำคัญ (ความเพียรนี่) อยากจะทราบประเด็น ความเพียร ที่ให้เกิดผลของธรรมนี่ ในความหมายของโสดาบันเอกพีชี นี่ ขอนิมนต์พ่อท่าน แจงในพฤติกรรม ที่จะเพ่งเพียรไปสู่จุดนี้นี่

เอ้า! เพ่งเพียร ก็เพียรน่ะซี จะไปแจงอย่างไรล่ะ ก็คุณพากเพียรศึกษาปริยัติ ปฏิบัติให้มันเกิด ปฏิเวธ ปริยัติปฏิบัติ ให้มันเกิดปฏิเวธ ให้ตรง ให้สัมมายิ่งขึ้น สัมมาทิฐิยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้นๆๆๆ แล้วก็เพียรถูกทางยิ่งขึ้น พากเพียรอุตสาหะ กระทำ ปฏิบัติให้มันเรียนรู้ วาระใด สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ ก็คุณก็อ่านออก มีสภาพที่หมุนเวียน ที่สัมผัส มีผัสสะเป็นปัจจัย คุณก็มี ความคล่องแคล่วของโพชฌงค์ มีความคล่องแคล่วของโพธิปักขิยธรรม เดินกลไก เป็นจักรแก้ว อยู่อย่างดี

ผมก็ว่าผมเพียรมาเรื่อยๆ มันอย่างไรนะ มันมีหัวหกคะเมน ตีลังกา ลงเป็นอย่างไร ผมก็ยังไม่รู้เลย

มันปฏิบัติไม่ถูกเครื่องมัน (อ๋อ) เครื่องยนต์ ก็ไม่ถูกเครื่องมันซี เอ้า ทีนี้ ผมจะถามอีกจุดหนึ่ง ให้มันเจาะ ไปที่สภาพอีกสภาพหนึ่งว่า ทำไม ที่คุณมาปฏิบัติใหม่ๆนี่ มีความศรัทธาแรง แล้วก็เพ่งเพียรดี แล้วจิตสงัดจากกาม จิตสงัดจากกามดี

อ๋อ ! นั่นแหละๆ ดีๆ มันเห็นว่าไอ้นี่มันดี ก็โอ้โฮ! มันก็ประทับรัดเข้าให้ก็ แหม! ลืมกิน ลืมนอนก่อน คล้ายๆกับเราไปเจอสิ่งที่ดีปุ๊บปั๊บเข้า ก็เพียร โอ้โฮ! แหม เอาแน่ เอาไปแล้ว เสร็จแล้ว เราก็ไม่ค่อยได้ ก็ท้อแท้ แพ้ตัวเองบ้าง ว้า มันไม่ได้ มันน่าจะได้ มันนึกว่า มันจะง่าย มันนึกว่า มันไม่เอาแท้ๆ ก็ไม่ง่าย ไม่ง่าย ความขี้เกียจของตัวเอง ก็มีมากขึ้น แล้วก็ โอ้! ไม่เป็นไรหรอก ชาติหน้าก็ได้ เอาไว้ค่อยๆทำ ค่อยๆไปก็ได้น่ะ นึกว่ามันจะคว้าได้หมับๆๆๆ มันไม่ได้หมับๆๆ อย่างนี้ก็เลยหย่อนๆ หย่อนยานลงไปเป็นธรรมดา

เพราะฉะนั้น เราก็อย่าไปหย่อนยานกับมันซี ถ้าเราแน่ใจแล้ว ก็พยายามพากเพียรเข้า ให้มาก ๆๆๆ แต่จะให้มันถึงพากเพียรแล้วก็สุขภาพเสีย อะไรต่ออะไร ก็เกินเลย แล้วก็เสีย เสียประโยชน์ เสียอะไรต่ออะไร กันไปทั้งนั้นแหละ

ก็ทั้งที่มีปัญญารู้อยู่นี่ แต่จะตัดอุปาทาน หรือจะถอนกิเลสนั้น ให้สิ้นมันก็ไม่ได้ จะยกตัวอย่าง อย่างสภาพกาม พูดอย่างสภาพกาม อารมณ์ของกาม หรือ อาการของกามนี่ ในเมื่อเพ่งเพียร สมถะ หรือมีเกิดฌาน เกิดอะไร เกิดศรัทธา เกิดมีปีติ เกิดวิตกวิจารอะไรดีนี่ มันก็สงัดจากกาม แต่มันจะเกิดปัญญาผุดขึ้นมาอยู่ระดับหนึ่ง ระดับว่า มันเห็นจริงๆ ที่จิตว่ากามนั้น ไม่ใช่จิตจริง มันไม่ได้เกิดประจำ แล้วก็ไม่ได้มีอำนาจ ใช้วิตกวิจารแล้วมีอำนาจจิตบังคับให้อาการมันลดลง ก็ได้ หรือ บางทีมันเกิดสัมผัส เกิดผัสสะ แล้วมีอาการ อาการนั้นอนุโลมให้ มันเกิดแตกตัวขึ้น ก็ได้ แล้วค่อยกดลงก็ได้อย่างนี้ แต่มันทำไมไม่หมดสักที ไม่มีปัญญา จะล้าง

พ่อท่าน : ทำไม ไม่หมดสักที ก็มันยังไม่หมด เพราะฉะนั้น ก็พยายามทำมันต่อไปเรื่อยๆๆๆ ถ้าเราทำไปเรื่อยๆ แล้วก็จะรู้ว่ามันลดลง ถ้ามันถูกต้องนะนา มันก็ลดลง ลดลงๆ ดีแล้วนี่ ก็นั่นแหละ มันบอกความจริงกันไว้ว่า เออ เรายังไม่หมดนา เรายังไม่หมด ก็ดีแล้วละ รู้ว่า มันไม่หมด ก็ดีแล้วละ ดีกว่าไปหลงว่ามันไม่หมด แล้วว่าเป็นหมด อ้าว มันรู้ว่าไม่หมด ก็ดี ถามต่อไป

ตอบอย่างเดียวกัน แสดงว่าตอบอย่างเดียวกับพระพุทธเจ้า

เอ้า ไม่ตอบอย่างเดียวกับพระพุทธเจ้า จะไปตอบอย่างอื่นทำไมเล่า

พระพุทธเจ้าบอกว่า ต้องทำให้มาก ผมคิดว่า จะมีทางอื่นอีกบ้าง

เอ้า! ไม่มีทางอื่นหรอก คุณรู้น่ะดีแล้ว ดีแล้วละ ทำเข้าไปต่อ พหุลีกัมมัง ไม่มีทางอื่นหรอก ไม่มีทางอื่น แหม จะหลอกให้เราตอบต่างจากพระพุทธเจ้า แล้วจะว่าเราซินี่ท่า มันอันเดียวกัน นั่นแหละ

ทีนี้คำว่า โคตรภู ก็คงจะเป็นระบบเดียวกันกับคำว่า ฌาณ มีญาณอันหนึ่ง ที่ผมเคยผ่าน ญาณ ๑๖ คำว่า โคตรภูญาณ ผมก็เข้าใจตามที่ภูมิปัญญาของผม ตามที่ผมเข้าใจ คือบางที่ สภาพจิตวิญญาณ มันเป็นธาตุรู้ที่มันไปรู้ ที่มันมีอาการเก็บเอามาวิตกวิจาร อย่างนี้ จะตัดรอบว่า เอ๊! ตัวเราเอง มันก็อ่านรู้ว่า ผมเคยดูทีวี ผมดูทีวี ดูอะไรพวกนี้ ดูหนัง ดูอะไรพวกนี้ ก็พูดตรงๆ เลย ผมไปดูที่เชียงใหม่ (นั่นๆ นี่ๆๆ) มันมีหนังรอบดึก

อ้อ! เป็นหนังรอบดึก แต่ฉายมาทางโทรทัศน์

เป็นหนังหรั่ง หรือหนังอะไรบ้าง หนังที่มันมีแบบจอมโหด แบบอะไรพวกนี้ แบบพวกโหดๆ อย่างนี้ ผมดูแล้ว ผมก็พิเคราะห์ไปว่า เอ๊! คนในโลกนี้ มัน ก็มันมีแต่เรื่องโหดร้าย แล้วก็มีเรื่อง ไอ้ที่มันๆ เป็นเรื่องที่ปั้นมาอะไรอย่างนี้ๆ เรื่องที่มันไม่เป็นสาระว่าอย่างนั้นนะ ผมก็คิดว่า เออ! มันก็เกิดอย่างนี้ ผมก็เข้าใจ แต่ว่า คงจะเกิดโคตรภูญาณ แต่ก็ ถ้าเราตัดโคตรอันนี้ได้นี่ ถ้าตัดโคตรอันนี้ได้ ก็คงจะไปสู่โลกใหม่ คิดว่าอย่างนั้น คือไม่เอาจิตใจไปข้องแวะได้เลย ถ้าจิตใจมันขาด ไปจากที่ไม่เป็นรส เป็นชาติ กับพวกนี้ได้นี่ ญาณอันนี้ จะเป็น เป็น...

คุณพูดอย่างนั้น มันกำกวมอยู่หน่อยหนึ่ง ไม่ใช่ว่า ไม่เอาใจไปเกี่ยวข้อง ใจเราไปเกี่ยวข้องได้ แต่ว่าไม่มีกิเลส เข้าไปซับ เข้าไปดูด เข้าไปซึม หรือว่าเข้าไปผลัก เข้าไปดูด ไม่มีส่วนของกิเลส เข้าไปผลัก ไปดูดมา จิตใจจะชิง ก็ไม่มี จะชอบก็ไม่มี อะไรอย่างนี้ ไม่ใช่ว่า ไม่เอาใจเข้าไปเกี่ยว เอาใจเข้าไปเกี่ยวข้องได้ เข้าไปรับรู้ได้

แต่อ่านกิเลส แยกกิเลสออก

แล้วไม่มีกิเลส ถ้าฆ่ากิเลสได้ ก็ฆ่ากิเลสออกได้เลย ถ้าฆ่ากิเลสไม่ได้ แม้จะไปเกี่ยวข้องอย่างนั้น มันเกิดกิเลส เราก็รู้ว่ามันเกิดกิเลส แล้วเราก็ปฏิบัติเลย พอรู้ว่ามีกิเลส ก็ปฏิบัติให้ลดกิเลสลงไป เพราะกิเลสตอนนั้น มันชอบมันชัง อยู่นั่นแหละ ลดมันลงไปเลย หาวิธีลดด้วยสมถภาวนา หรือว่าจะลดด้วย วิปัสสนาภาวนาให้ได้ ก็เอาเลย เดี๋ยวนั้นแหละ ปฏิบัติให้เร็วให้แคล่วคล่อง นั่นแหละ คือ การฝึกหัด เป็นนักรบที่รบโดยปัจจุบันธรรม จะเป็นนักรบผู้เชี่ยวชาญ เป็นจอมยุทธ ที่มีวรยุทธ ได้เก่งกล้าสามารถ นี่แหละวิธีการ แล้วก็ฝึกเข้าไป เราไม่มีของจริง เราจะรู้เลยว่า เราเป็นจริงๆ ไม่ใช่มานั่งอ่านแต่ตำรา แล้วก็นึกด้นเดาเอา ไม่ใช่เลย นี่เราพูดกิเลสจริงเลย เราฆ่ากิเลสได้ ก็รู้ว่า ฆ่าได้ ฆ่าไม่ได้ ก็รู้ว่าฆ่าไม่ได้

ฉะนั้น โคตรภูญาณ ไม่ใช่ตักกะ

ไม่ใช่

มันๆเข้าไปสู่โคตรของโลกุตตระ (เสียงพ่อ) แต่เป็น การที่มันเข้าไปสู่โคตรของถอนกิเลส หลังจากการถอนกิเลสแล้ว ผลๆ ที่ (พร้อมๆ กัน) ที่พูดเกิดขึ้นด้วยปัญญา ที่เป็นโคตรภูญาณ

หมายความว่า เราได้เชื้อใหม่ขึ้นมาจริงๆ (ครับๆ)

แล้วมันเข้าไปโคตรไหนแล้วตอนนี้

คือตอนนี้ ก็โคตรยังครึ่งๆกลางๆ

ครึ่งๆกลางๆ เอาๆให้มันตัดโคตรให้ชัดเจน

ครับ บางที มันก็น่าเบื่อน่ะ ไอ้พวกกาม พวกอะไรต่างๆนานา

แหม ไม่บางทีล่ะ มันทุกทีล่ะ มันน่าเบื่อทุกที

แต่บางที มันก็น่าเลี้ยงไว้หน่อย

มิจฉาทิฐิ

ก็เลย (หา...หา) แต่จะให้ไปจมก็ไม่ไปครับ มันอย่างไรถ้าๆๆๆ

ไปเลี้ยงมันไว้ทำอะไร

ก็กลัวจะเซ็ง ก็กลัวจะเซ็ง ก็เลยอนุโลมนิดๆหน่อยๆ เลยช้าฮะ ก็ ท่านไหนๆ ก็ไหมครับ มีจะถามไหมครับ

ยิ่งล้างออก ยิ่งจะไม่เซ็งเลย ยิ่งไม่มีอยู่ในภาษาให้เซ็งไม่รู้จบ ไม่รู้แล้ว

เมื่อกี้คุณวังดิน ได้ถามเรื่องเตวิชโช เรื่องปัญญาสาม หรือวิชชาสาม ทีนี้ ผมขอถามเรื่องปัญญา ปัญญินทรีย์ แล้วก็ปัญญาผลน่ะฮะ แล้วก็สัมมาสัมโพชฌงค์ นะฮะ เสร็จแล้วสองทางนี้ ทั้งสองทางนี้ อันเดียวกันหรือเปล่า ทางเดียวกันไหม เตวิชโช นะครับ กับปัญญาสาม

เตวิชโช เป็นการทบทวนน่ะ เตวิชโชนี่ทบทวน ทบทวนตัวเอง ส่วนปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาผลนั้น เป็นเรื่องของความเจริญของทิฐิ สัมมาทิฐิ มันก็จะก่อให้เกิดมัคคังคะ ซึ่งได้อธิบายซ้อนไปแล้ว ในวันปลุกเสกน่ะว่า ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ นี่มันจะทำงานซ้อนเข้าไป จนจะเกิดปัญญานี่ เป็นปัญญินทรีย์ หรือจากทิฐิ ขึ้นมาเป็นปัญญา ปฏิบัติไป ปฏิบัติไป โดยทิฐิสัมโพชฌงค์ นี่ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ แล้วก็ต่อมาก็จะทำให้เกิดสัมมาทิฐิ ที่เจริญยิ่งขึ้น เมื่อสัมมาทิฐิ เจริญยิ่งขึ้น ก็กลายมาป็นปัญญา โดยการปฏิบัติมัคคังคะ องค์ของมรรคนี่แหละ ซึ่งมีสติ แล้วก็วายามะ ซึ่งมีทิฐิเป็นต้นทาง ทำให้สัมมาทิฐิ ตัวแรกให้ได้ แล้วเวลาคุณปฏิบัติ คุณก็มีสติ มีสัมมาวายามะ เป็นตัวพยายามปฏิบัติ พอปฏิบัติแล้วปฏิบัติอะไร ปฏิบัติสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ ปฏิบัติแล้วก็ได้สั่งสมลงไปเป็นสมาธิ หรือสัมมาสมาธิ ขึ้นไปเรื่อยๆๆ สัมมาทิฐิ ก็จะโตขึ้นเรื่อยๆๆๆ สัมมาทิฐิ โตขึ้น เพราะเราปฏิบัติถูกมรรค องค์แห่งสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ พอปฏิบัติไป ซ้อนๆๆ มันก็จะสั่งสมขึ้นเป็นปัญญา ปัญญาขึ้นไป จนกระทั่ง ได้อีก มาเป็นฐานปัญญาสูงขึ้น แล้วก็ธัมมวิจัยอีก พอปัญญาตัวที่มันเกิดมาเป็นตัวหลักนี่ มันจะเป็นตัวสัมมาทิฐิ ตัวใหม่ที่มีคุณภาพ ถึงขั้นปัญญาได้น่ะ เสร็จแล้ว เราปฏิบัติมัคคังคะ ขึ้นไปอีก มีธัมมวิจัย แล้วก็มีเสริมสัมมาทิฐิขึ้นไปเรื่อยๆๆๆ มัคคังคะสมบูรณ์ ก็เลื่อนขึ้นมา เลื่อนเป็น ปัญญินทรีย์ ปัญญินทรีย์โตขึ้นมา ก็มาเป็นฐานของสัมมาทิฐิใหม่ แล้วก็ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาวายามะ ใหม่ ซ้อนขึ้นไปอีก สั่งสมขึ้นไปอีก เกิดสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ สั่งสมเป็นสัมมาสมาธิ เป็นสัมมาญาณ หรือสัมมาญาณ หรือปัญญา ปัญญินทรีย์ นี่แหละ ญาณ หรือ ปัญญาอันเดียวกัน เป็นปัญญินทรีย์ เป็นปัญญาผละขึ้นไปอีก จนกระทั่ง มันจบก็เป็นปัญญาผละ มันซ้อนกัน อย่างนี้ ซ้อนไอ้ที่พูดนี่ มันยังไม่ละเอียดพอนะ มันต้องไปเขียนเส้นสาย โอ้โฮ! วน ไม่รู้ซ้อนกี่ซ้อนกี่ซ้อนน่ะ เห็นองค์พวกนี้ แล้วปฏิบัติ ให้ถูกสภาพ เข้าไปเรื่อยๆ มรรคองค์ ๘ นี่แหละ เป็นตัวบทที่จะทำให้เกิดสัมมาทิฐิ สัมมาทิฐิ ก็สั่งสมให้เกิด ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาผล ปัญญินทรีย์ ปัญญาผล ปัญญาผลตัวนี้ เป็นวิมุติญาณทัสสนะ

ครับ ตอนนี้เข้าใจแล้วครับ เรื่องปัญญา ทีนี้ มันเป็นทางเดียวกันกับ คุณวังดินถามนี่ฮะ เรื่องเตวิชโช นี่ครับ ก็เลยไปปนกัน ทีนี้ ตื้อเลย ขอบพระคุณ มากครับ

อา ไอ้นั่นเป็นญาณ ก็เลยทบทวน เราก็ทำได้แล้ว เราก็ทำจริงหรือเปล่า ทำได้หรือไม่ได้ หรือว่า มันบกพร่องอยู่ ก็จะได้แก้ไขทบทวนว่าเราเอง เห็นของจริงว่า เอ๊! เราปฏิบัติธรรมนี่ ไม่ใช่คน เบลอๆ เมาๆ มีแต่ปริยัติ เอ้อ! เราปฏิบัตินี่มีของจริงนา มีผลจริง วันนี้ได้ เมื่อวานนี้ได้ อาทิตย์ที่แล้วได้ อาทิตย์นี้ปฏิบัติดี อาทิตย์ก่อนนี้ปฏิบัติไม่ดี ได้ไม่ได้ เราจะไม่เป็นคนเบลอๆ โอ้ปฏิบัติไปไม่ได้ดี ถูกหรือไม่ถูก ได้ปฏิบัติหรือไม่ได้ปฏิบัติ มาอยู่ที่นี่ ไม่ได้ปฏิบัติเลย มีแต่พาทำงานไป ก็ทำไปอย่างนั้น มันไม่ได้ปฏิบัติอะไรเลย เราก็จะรู้ตัว ถ้าเราได้ปฏิบัติ เราก็จะรู้ตัว

ขอโอกาสครับ คือผมเคยได้ยินพ่อท่านว่า โพธิสัตว์ตายแล้ว นี่จะมีตัวรู้ใช่ไหมครับ (หา) ในจิตวิญญาณ ที่ตายแล้ว จะมีตัวรู้นะครับ (พ่อท่าน- ตัวรู้อะไร) หมายถึงว่า ตายแล้วจะมีตัวรู้

ครับ สภาพจิตวิญญาณนะครับ แต่สมัยแต่ก่อน ผมเคยได้ยินพ่อท่านว่า ตอนกินข้าวหาด (หา ว่าอย่างไร -พ่อท่าน) คือมีตัวรู้นะครับ

ตัวรู้อย่างไร รู้อะไร รู้อะไร ไม่ใช่ ไม่ใช่ให้รู้

คือ หมายถึงว่าอย่างเรานี่รู้ ก่อนนี้ เคยได้ยินพ่อท่านพูดว่า ก่อนจะเกิดมานี่ เคยชวนเพื่อนมา จะมาช่วยสร้างโลกนี่ สร้างศาสนานี่ แล้วไม่มีเพื่อนมา แสดงว่า

อ๋อ! นั่นเป็นโวหาร แหม! เป็นโวหารเท่านั้นแหละ

แล้วมีตัวญาณรู้หรือเปล่าครับ ที่ว่า พอสมมติตายไปแล้วนี่ จะมีตัวหรือมีสภาพอย่าง จิตวิญญาณ โดยทั่วไปหรือว่าอย่างไร

อ้อ ! คนที่มีญาณก็มีญาณ มันก็ไม่เหมือนกันน่ะซี ถ้ามีญาณของโพธิสัตว์ ก็เป็นญาณโพธิสัตว์ มันก็จะไปเหมือนกันได้อย่างไร คนที่รู้กับคนที่ไม่รู้ ตายไปแล้ว ไม่รู้เหนือ รู้ใต้ ตายไปอย่างคน เมาๆ เป็นคนอย่างคนเมาๆ แต่คนมีสติสัมปชัญญะ ตายก็เป็นคนที่ได้ฝึกปรือมา คนมีสติ สัมปชัญญะ ตายแล้วก็ยังมีรู้ มีตัวรู้ว่า เออ! เราตายอย่างสงบอย่างนั้นไปแล้ว ก็ไปสู่สุคติ อย่างไรๆ มันก็เป็นเรื่องส่วนตัว ของผู้นั้นๆ

แล้วที่จะเกิดมานี่ แล้วเป็นเรื่องตั้งจิต หรือว่าเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดครับ

ตั้งจิต ก็ผู้ที่ได้ศึกษาปฏิบัติแล้วจริง ก็จะมีการตั้งจิต ไปในทางสุคติ ที่ดี แต่ถึงแม้ใครจะตั้งจิต อย่างไรๆ น่ะ ถ้าเผื่อว่า เรามีวิบาก มีบุญ มีบาป หรือมีวิบาก บารมีอยู่แค่ไหนๆ มันก็ตั้ง เป็นแต่เพียง ตั้งทิศไว้ ให้ช่วยอยู่เท่านั้นเอง มันไม่ตกกระไดพลอยโจนอย่างที่เขาสอนๆ กันหรอก ถ้าเผื่อว่า ของบารมี

อย่างพ่อท่าน นี่ ถือว่าไปตามเหตุปัจจัย หรือว่าตั้งจิตเองเลยครับ

ก็ต้องตั้งให้มันดีๆซี ก็ตั้งดีแล้ว ก็ไม่ต้องไปวกไปเวียน ไปวุ่น ไปวายอะไร

สมมติอย่างพ่อท่านนี่ครับ สมมติอย่างพ่อท่าน ที่มาเกิดนี่ครับ เป็นเหตุ ที่ตั้งจิต หรือไปตามเหตุปัจจัย หรือว่าอย่างไร

เหตุปัจจัย มีเหตุ มีปัจจัย แล้วก็ตั้งจิตด้วย (ครับ) มีเหตุปัจจัยด้วย ถ้าเรามีการตั้งจิต แต่เหตุปัจจัย มันไม่ถึง มันก็ไปไม่ได้ ถ้าเรามีเหตุปัจจัยถึง แม้ไม่ตั้งจิต มันก็จะไปเหมือนกัน เมื่อไม่ตั้ง มันอาจจะขลุกขลิกๆ ประเดี๋ยวมันก็จะไปตามอำนาจของเหตุปัจจัย มันก็จะช้า ไปนิดหนึ่ง แต่ถ้าตั้งใจด้วย มีเหตุปัจจัยพอด้วย ปั๊บ มันก็ตรงไปเลย ไวขึ้น

ร้องเพลงอย่างไร จึงไม่ผิดศีล

คือร้องอย่างไม่มีกิเลส ทีนี้จะร้องอย่างไม่มีกิเลสนี่ คุณก็จะต้องมีความสามารถจริงๆ ที่คุณจะร้อง ทำอะไรก็แล้วแต่ แต่คุณจะทำกาย วาจา ใจ อย่างไรนี่ โดยที่กิเลสมันไม่เข้าได้จริงๆ มันไม่ติด ไม่ยึด ไม่ชอบ ไม่ชัง คุณสามารถปรุงได้ด้วยน่ะ ปรุงให้ไปตามนั้นก็ได้ ปรุงให้เป็น อย่างที่สมมติสัจจะเขาเป็น ดูเฉยๆ แต่เสร็จแล้ว มันไม่ได้ไปติดใจ มันไม่ได้ไปซับดูด แม้ว่าเราจะเป็น ตั้งใจจะทำอย่างนั้น ก็หมายความว่า เราดูดอยู่ ไม่ได้ผลักหรอก คนที่ตั้งใจจะ ทำอย่างนั้น ไม่ได้ผลักหรอก แต่ถึงแม้ดูด มันก็ไม่ติด มันก็ไม่ดูดอะไร เป็นแต่เพียงว่า อย่างนี้ เราจะทำลองดู ทำอย่างนี้ ไปตามที่เราจะเจตนารมณ์ เท่านั้นแหละ

ขอโอกาสก่อนครับ

ท่านติกขวีโรถามว่า มีพวกเรานี่แหละ ทั้งคนข้างนอกด้วย ตั้งจิตจะเป็นพระพุทธเจ้า ว่าอย่างนั้นน่ะ ตั้งได้ ตั้งได้โดยความรู้ หรือความไม่รู้ คนไม่รู้ ก็ตั้งอย่างคนไม่รู้ แต่เสร็จแล้ว ก็ไม่รู้องค์ประกอบ ในการประพฤติปฏิบัติอย่างไร จะเป็นพระพุทธเจ้า มันไม่รู้ มันก็ตั้งไป อย่างนั้นแหละ แม้แต่พระอริยเจ้า ก็ยังเป็นไม่ได้เลย จะเป็นพระพุทธเจ้า โอ้โฮ! ตั้งไปเถิด ลมๆแล้งๆ มันจะไปมีปัญหาอะไร ก็ลมๆแล้งๆ ไปอย่างนั้นแหละ แม้เป็นพระอริยเจ้าแล้ว ตั้งมันก็ยังเข้าท่ากว่าใช่ไหม แต่มันก็ยังไม่ถึงขีดอยู่นั่นเอง ใช่ไหม ก็มาเป็นไป จนกระทั่งได้เป็น โสดา สกิทา อนาคา อรหันต์ แม้แต่เป็นอรหันต์ จะต่อไปถึงอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
อีกก็ตั้งมาก ตั้งมาย ใช่ไหม อย่างที่เราเข้าใจแล้วนี่ ก็แค่ต้องตั้ง ต้องตั้งซี่ เรื่องอะไร เราจะเดินไหน เหมือนกับตันเรือนี่ จะไปไหน ก็ต้องตั้งเข็มทิศจริงๆ จะให้มันเหลาะแหละ ตรงไปแล้ว ก็พยายามขับเคลื่อนให้ตรงไปได้ดี จะได้ไม่โค้ง จะได้ไม่คด จะได้ไม่เสียเวลาชักช้า ไปตรงแล้วก็เร็ว ต้องตั้งซี แล้วขี้มักจะเจอลมมรสุม เจอลม เจอหิน เจอร่องดูด ร่องเหลวอะไร เละละๆ อยู่ตลอดเวลาแหละ เพราะเราจำเป็นจะต้องตั้งให้ดี ตั้งเพราะอุปสรรคในโลกนี้มีมาก ถ้าไม่ตั้ง แหม มันไปลมเพลมพัด ไปไม่ค่อยตรงหรอก มีความเป็นไปได้ แต่ไม่ใช่จะถึงเอา วันนั้น มันก็ต้องสั่งสม เหตุปัจจัยไปซี แต่ตั้งนั้นดีแล้ว ได้ พระอริยเจ้า ประมาณ ตัวได้ดีหน่อย แต่ถึงแม้เป็นปุถุชุน จะตั้งก็เอา ศึกษาให้เข้าทางหน่อยซี นี่ อริยเจ้าเบื้องต้น ยังไม่เป็น แล้วอยากเป็นพระพุทธเจ้า อูย! มันไกลเหลือเกิน หนอ ยังไม่รู้จะไปลงนรก สวรรค์ที่ไหนอีก แล้วตะกละ อยากจะเป็นพระพุทธเจ้า

ขอโอกาสครับ อยากให้พ่อท่านให้ความมั่นใจกับพวกเราน่ะนา ที่มาปฏิบัติธรรมว่า พวกเรานี่ ในการปฏิบัติธรรม นี่ จะปฏิบัติธรรมจนถึงขั้นไหน หรือว่า อริยะขั้นไหน ถึงจะมีความเชื่อมั่น หรือว่ามั่นใจว่า เราจะไม่ตกร่วงจากหมู่กลุ่ม หรือว่าพรหมจรรย์นี้ มาจนถึงระดับขั้นไหนจริงๆน่ะ เราจะไม่ตกร่วง

ก็ตามหลักการ วิชาการแล้ว โดยหลักการ ยังลืมไปแล้วหรือ โดยหลักการ ก็ต้องเป็นโสดาบัน ขึ้นไปซิ เป็นโสดาบันแท้ โสดาปัตติผลนะ ไม่ใช่โสดาปัตติมรรค เป็นผู้เที่ยงแท้ไปสู่พระนิพพาน

ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป ก็ไม่ตกร่วงไปสู่โลกีย์อะไรเลยหรือฮะ

ไม่ ถ้าเป็นโสดาบันที่แท้เป็นเนื้อแท้

ถ้ามาเป็นสมณะน่ะ จะมีโอกาสแบบว่า จะสึกออกไปไหม

สึกได้ เป็นโสดาบัน ก็สึกได้ สึกไปได้ แต่สึกแล้วก็จะเจอเองแหละ จะรู้เองแหละ มันก็จะไป ตามวิบาก ของใครของมัน

คือ ก็มีสมณะบางรูป ท่านบอกว่าเป็นโสดาบันแล้วนี่ เป็นสมณะแล้วนี่ ไม่น่าจะสึกออกไป ท่านมีความเห็นแบบนี้

ใช่! ไม่น่าจะสึกออกไป มันน่าเคาะกบาลด้วยซ้ำไป แต่สึกออกไป มันก็เป็นได้

มันก็เป็นไปได้ อ๋อ

จริงๆก็ไม่น่า ใครๆก็รู้ดี เอ้ย ! เป็นโสดาบันแล้ว มาบวชดีแล้ว สึกออกไปทำไม มันไม่น่าสึก มันน่าเคาะกบาลจริงๆ แต่สึกก็เป็นไปได้

ตกล่วง นี่ก็คือว่าสึกไปแล้ว สึกไปแล้วก็ถือว่า ตกล่วงไปแล้ว ชนิดหนึ่ง

คำถามต่อเนื่องได้ไหมครับ ถ้าเป็นญาติธรรมอะไรอย่างนี้ ถ้าเป็นโสดาบัน จะมีโอกาส ออกจาก หมู่กลุ่มได้ไหมฮะ

โสดาบัน เขาไม่ออกจากหมู่กลุ่มหรอก โสดาบันถึงแม้ว่าร่างกาย ตัวเราจะออกไปจากหมู่กลุ่ม จิตใจมันก็สัมพันธ์ โยงใยระลึกถึงว่า ไปมา มันต้องหาโอกาสอยู่ดี มันไปอย่างไร มันก็คิดถึง ยิ่งไปเจอ ไอ้สิ่งที่ไม่เข้าท่า ไม่เข้าทาง แล้วมันจะขัด เพราะมันทวนกระแสกัน มันจะเห็นชัดจริง ชัดเจนดี ดีไม่ดี โดนถีบ กลับเข้ามา อาตมาเคยใช้พูดด้วยซ้ำ จะโดนถีบกลับเข้ามา

พ่อครับ ฮะ ต่ออีก

(หัวเราะ) นางวิสาขา ก็แบบอย่างนั้นแหละ ก็แก้อย่างนางวิสาขา อย่างอ่อนๆ ยังไม่สูง ไม่ส่ง อะไร หา อะไรนะ พระโสดาบัน ยังไม่บวชก็มี เพราะฉะนั้น ถึงบอกว่า บวชแล้วสึกไปมันก็ได้ ยังไม่บวชก็มี โสดาบัน ถึงอย่างไร ก็สึก สกิทา อนาคา ยังไม่บวชก็มี ได้ โสดาปัตติผล แค่โสดาอย่างชนิด ที่ได้อย่างจาง ยังมีเลือดแห่งความสนุก แต่มันอธิบายยากน่ะ ไอ้พวกนี้นี่ ค่าของมัน ในส่วนเฉลี่ย ส่วนที่เป็น

ถ้าไม่มี สงสัยทำไมเล่าโสดา โอ!

ท่านสมณะ : โสดานี่ เที่ยงในนิพพาน

พ่อท่าน : เที่ยงในนิพพาน

แต่รูปแบบนี้

รูปแบบไม่เกี่ยวกับนิพพาน ไม่นิพพานนี่รูปแบบ โอ! ไปเอารูปแบบ ไปนิพพานตื้นตาย ว้า

ทีนี้ตอบปัญหา ที่ผมยังค้างที่ตอบคนเชียงใหม่ก็ได้ ผมจะไปเชียงใหม่

ทีนี้ ไม่รู้เอากี่ปัญหาเลย ที่นี้ ยังไม่เอาปัญหาเอ้า

ทีนี้ปัญหาของคนเชียงใหม่ เขาถามผมว่า เขาถามเรื่องพระพุทธรูป ชาวอโศก เห็นพระพุทธรูป เป็นอย่างไร ผมก็ตอบเขาได้เลย พระพุทธรูปนี่ ทำลายศาสนาพุทธ

โอ้โฮ! ใส่ตูมอย่างนั้นเลย มันก็แรงไปนะซี

เพราะผลาญเศรษฐกิจ พาให้คนหลงใหลในกรรมนิยม เป็นเทวนิยมอะไรต่างๆนานา เทวนิยม อะไรกรรมนิยม

เป็นเทวนิยม ออกจากกรรมนิยม ให้หลงใหลเทวนิยม แล้วเขาก็นั่งฟัง ฟัง ฟัง ไปแล้วก็บอกว่า เห็นด้วย เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เออ! เข้าท่า แหม ไปโดน ไปโดน ไอ้เจ้ากำหมัด

แต่ผมยังสงสัยอยู่ว่า ทำไมชาวอโศกนี่ ทำไมต้องมาใช้ไม้แกะสลัก รูปประวัติของตัวเอง (พ่อ อ้อ) ไม่ติดเคารพ ไม่ทำให้ติดเคารพรูป ติดเคารพประวัติอะไรพวกนี้ จะไม่เป็นเทวนิยม ภายภาคหน้า ต่อไปหรือ

เปล่า ไอ้นี่ ไม่ได้สร้างขึ้นมา เพื่อให้เป็นเทวนิยม ให้มานั่งกราบ เคารพบูชาอธิษฐานอะไรนี่

แล้วเขาบอกว่า เขาบอกว่า

ถ้าอย่างนั้น แม้แต่ตัวหนังสือ เขียนเป็นประวัติ ก็เขียนไม่ได้ เล่าเป็นคำพูด อย่างพระพุทธเจ้า ท่านเล่าประวัติของท่าน ก็เล่าไม่ได้

แต่หนังสือ ที่เป็นคำสอน เป็นอะไรต่ออะไรพวกนี้ เป็นคำสอน ไม่มีปัญหา

ไอ้นี่ก็เป็นคำสอน เตือนสติได้ (อ๋อ) ไม่ได้สร้าง รูปแกะสลัก ที่เป็นประวัตินี้ สร้างไม่ได้มีเจตนา ที่จะให้มากราบ เคารพบูชาอ้อนวอนร้องขออะไรเลย ที่จะเป็นเทวนิยม

แต่แกไม่เห็นด้วย ในประเด็นที่ว่า ถ้าเป็นโยมบางคน ที่เขาศรัทธา และเขาเสียสละทั้งไม้ทั้งเงิน ทั้งอะไรนี่ ไม่ว่าอะไร แต่ทำไมจะต้องไปเอาเงินส่วนอื่นมาเสริม เพื่อจะให้มันอะไรพวกนี้

เงินส่วนอื่น อย่างไร

เงินส่วนอื่น บางทีเขาพูด เขาพูด

เงินส่วนอื่นอย่างไร

เงินส่วนอื่น กองกลาง เงินกองกลาง หรือเงินอะไร ไปดึงมา

เอ้า ก็เงินกองไหน ก็แล้วแต่ ที่เขาเอง เขาจะต้องรังสรรอันนี้ ที่เขาเอง เขาทำบุญมา เขาอะไรมา เพื่อที่จะมาทำ ให้มันเกิดผล เขาให้มาโดยที่ เขาไม่รู้ว่า จะให้ทำอะไรดี เขาก็อนุญาต เขาก็เอา แล้วแต่ท่านจะเอาไปใช้ อะไร ที่มันเดี่ยวๆ โดดๆ จะเป็นปัญหาอะไร

เขาก็บอก แสดงว่า สำคัญในรูปปั้น ในรูปเคารพส่วนของตัวเองด้วย เขาว่าอย่างนั้น เขาว่าอย่างนั้น

แน่ะ ส่วนของตัวเอง ตัวของใคร ส่วนของตัวเอง

ผมก็เลยตอบเขาว่า ของกลุ่มอโศกเอง ของพ่อท่านเอง

เอ้า ก็ของกลุ่มอโศก มันดีน่ะ

ถ้าเป็นรูปพระพุทธเจ้า เขายกให้ (พ่อ เออ) ถ้าเป็นรูปพระพุทธประวัติ เขายกให

ทำไมเล่าประวัติอื่น ที่เป็นประวัติของสิ่งที่มันดีงาม

เขาก็แย้งว่า ส่วนรูปพระพุทธเจ้า รูปพระพุทธรูป อะไรพวกนี้ กลับปฏิเสธทิ้ง ไม่แยแส เขาว่าอย่างนั้น นี่เป็นคำแย้งของเขา

ก็ไม่เป็นไร ถ้าคุณไม่เห็นคุณค่า คุณเห็นแต่คุณค่าแค่ของพระพุทธเจ้า จะเอารูปประวัติ พระพุทธเจ้า ให้มีคุณค่า ให้มีประโยชน์ ที่จะนำพาคุณไปสู่นิพพานได้ก็เอาซี แต่ถ้าผู้ใด เขาจะเอารูป ของชาวอโศกนี่ โดยไม่ติดเป็นเทวนิยม เขาจะเอารูปนี้เป็นประโยชน์ ในการเดินทาง ไปสู่นิพพาน คุณจะมาแย้งเขาทำไม แค่ที่เราบอกว่าเคารพพระพุทธรูป นั่น มันเป็นเทวนิยม เราไม่ไปบอกว่า แกะเรื่องพระพุทธเจ้า ประวัติพระพุทธเจ้า เราไม่ไปส่งเสริม ศึกษาประวัติ พระพุทธเจ้า เรามีที่ไหน เราไม่เคยมี ขี้ตู่จังเลยคนนี้ หาเรื่อง (ครับ ครับ ครับ)

ครับ ครับ ครับ ก็พอได้เค้าครับ เดี๋ยวผมคงจะไปเจอเขาใหม่ ครับ

ปัดโธ่เอ๊ย! จะเอาชนะคะคานเลย แล้วคนจะหาเรื่องโมเมๆ แล้ว ไม่มีปฏิภาณเท่าเขา ไปอีก ก็แพ้มาอีก ถ้าลงไม่ทันปฏิภาณเขาแบบนี้ ไปก็แพ้มาอีก เขาก็หาเหลี่ยมเอาชนะ จนแต้มมาอีก มาให้แก้ข้อหาให้อีก เสร็จแล้ว ก็ไปเจอเขาอีก ไปแพ้มาอีก อย่าไปขายขี้หน้ามาเพิ่มดีกว่า หา เอ้าว่าอย่างไร

สม.พูนเพียร : ขอโอกาสค่ะ พ่อท่าน อันนี้ของดิฉันเองด้วย และ คนเขาฝากด้วยนะฮะ

เรื่องความโกรธค่ะพ่อ (เสียงพ่อ เรื่องความโกรธ) ค่ะ แบบว่า เวลา (พ่อท่าน- จ่าหัวแล้ว เรื่องความโกรธ) ที่คนอื่นเขาทำให้ไม่ถูกใจอะไรเรา อย่างนี้นะฮะ แล้วเราก็ไปโมโหหงุดหงิด จะให้เขา ทำให้ได้ดังใจเรานี่ แล้วเรารู้แล้ว เราก็เห็นจิตเราเกิดแล้วนะฮะ แต่ว่าเรายังทำแบบ ให้เข้าจิตเรา ที่จะให้ยอม อย่างนี้ ยังทำไม่ได้ ทำอย่างไรคะ?

ยอมให้ยอมให้ได้ คือเราก็ยังไม่ คือเราไปคิดแต่เขา ให้เขาทำให้ถูกใจเรา อย่างนี้ ใช่ไหมฮะ แต่ว่าเรามีวิธี ที่จะมาปรับจิตเราให้ยอมรับ ที่ว่าถึงเขาจะทำไม่ถูกใจเรา เราก็ไม่ต้องไป โมโหเขาอะไร หรือไม่พอใจอะไร อย่างนี้น่ะฮ่ะ เราจะทำกับจิต เราให้ยอมได้อย่างไร

ก็เห็นชัดเจนให้ได้ว่า ไอ้ที่เราไม่ยอม แล้วมันไม่ได้ดังใจเรานั่นน่ะ มันสุขอยู่หรือ พิจารณา อ่านจริงๆ เลยว่า ยิ่งปัจจุบัน ไหนที่กำลังเกิดอย่างนั้น อุ๊ย มันกำลังมัน กำลังอร่อย มันไม่ได้ดังใจ แล้วก็กำลังอร่อย มันเป็นทุกข์ใช่ไหม นั่นแหละอริยสัจ มันเป็นทุกข์ (ทุกข์ค่ะ) มันเป็นเกิดจาก เหตุที่เราไปปรารถนาอยาก ใคร่ให้ได้ดังใจเรา มันก็เป็นสมุทัย

เพราะฉะนั้น ก็อย่าไปอยากได้อย่างใจเราเลย มันเป็นอัตตา เป็นมานะ มันจะต้องเอาดังใจกู ดังใจกู ดังใจกู อยู่นี่แหละ มันก็ทุกข์อยู่นั่นแหละ มันไม่ได้ มันไม่ได้ ถ้ามันได้ มันก็จะกลายเป็น บำเรอใจ ให้ย่ามใจ ให้ติดใจ มันได้ดังใจกู กูก็จะย่ามใจต่อไป มันเลวทั้งขึ้นทั้งล่องเลย

อย่างนี้ เราต้องแบบ เราต้องวางใจ

เราก็ต้องวางใจ เราก็ต้องพยายามว่า เออ ถ้าแม้ว่า มันอย่างนี้นี่ นา มันก็ถ้าเผื่อว่า เราแน่ใจว่า สิ่งนี้ดี มันน่าจะตามที่เราคิดเราหมาย เราคิดว่า ควรจะเป็น เราก็ให้เหตุผล แล้วก็พยายาม กระทำพอสมควร เมื่อพอสมควรแล้ว มันไม่ได้ดังใจเรา ก็ต้องดูว่า มันควรจะพอแล้ว จบแล้ว เออ! เราก็วางใจ

อย่างนี้ เมื่อมันเกิดเห็นเราเกิดเมื่อไหร่ พ่อท่านก็ต้องพยายามทำ ใจ...ทำบ่อยๆ

ต้องทำบ่อยๆ ทำจิตอย่างนั้นแหละ พอฝึกแล้ว วางใจ แล้ว โอ้! มันไม่ทุกข์เหมือนกับตอนที่ ยังไม่ยอมวาง โอ๊ย! จะเอาให้ได้ มันจะไม่เหมือนกันเลย ก็ไปลองดูซี ไอ้ที่ยังไม่ยอมวาง กับไอ้ตอนที่วางลงไปนี่ จะไม่เหมือนเลย อันหนึ่งมันทุกข์ พอวางแล้ว เออ ! มันค่อยยังชั่ว มันโปร่งเลยน่ะ มันโล่งสบายกว่ากันแยะเลย ไปลองทำซี ไม่เชื่อก็เอ้า อ่านดูให้มันชัดๆ

คือ ...ทำไมพ่อท่าน ลูกคนโน้นจะทำอย่างไร ดีไม่ดี น่ะ พ่อท่านก็คือ ก็สบายใจเรื่อย อย่างนี้น่ะคะ แต่เราน่ะคะ

โอ้ ไม่ริษยาอาตมาบ้างเลยหรือ โอ้! อาตมาทำไมไม่ทุกข์ เอ้อ! ถ้าอาตมาไปเป็นอย่างคุณนี่ อาตมาตายวัน ตายพรุ่งเลย นี่ โอ๊ย ตายไอ้คนนี้ มันก็ไม่ได้ดังใจ ไอ้คนนี้ก็ไม่ทำอย่างที่ข้าว่า ไอ้ทางนี้ คนไม่ทำอย่างที่ข้าคิด ไอ้คนนี้ มันก็ทำผิดๆพลาดๆอยู่ อาตมาคงตาย แหม ตายตะแล็บแป๊บ เลย

แบบว่า บางทีน่ะฮะ พ่อท่าน บางที อย่างดูรายการอย่างนี้น่ะ ไอ้เราก็เห็นว่าคนนี้พูด ไม่ตรงเป้าเลยน่ะ เราก็เลยคิด...แต่พ่อก็มาชื่นชม (หัวเราะ) ไอ้เราก็หงุดหงิด ทำไมเขาต้องพูด อย่างนี้ ทำไมเขาต้องพูดอย่างนั้น ไม่ตัดอย่างนั้น ไม่ตัดอย่างนี้ แต่พ่อท่านก็รู้ว่า เขาพูด ไม่ตรงเป้า แล้วใช่ไหม แต่พ่อท่านก็ไม่เห็นโมโหอะไร แต่เราน่ะหงุดหงิด หงุดหงิดรู้สึกว่า คือรู้สึก ว่า...

แหม ! โมโหแทนน่ะ โอยซวยนี่แหละ เขาว่าเอามาเป็นเรา ซวยแย่เลย ไม่ใช่เราสักหน่อย ไปยึดมาเป็นเรา ทั้งๆที่อยู่ที่ท่านน่ะนา ท่านเอง ทำไมไม่เอาอย่างใจเราคิด มันก็เลยเผลอ มาเป็นเรา เราก็เลย ทุกข์เข้าให้

นี่ฮะ ดิฉันทุกข์นะฮะ พ่อท่าน รู้สึกว่า โอ้โฮย ตรงนี้น่ะดิฉัน คือถ้าหากว่าไม่มีเหตุปัจจัยน่ะ พ่อท่าน เหมือนเราไม่มี

แต่อย่ามีอย่าเผลอสติ เราต้องมีสติสัมโพชฌงค์ให้ดีว่า นี่โอยเราผิด ตายแล้ว เราผิดท่าแล้ว เราผิดท่าแล้ว ปล่อยเสียที เลิกเสียที นี่มันจะรู้อย่างนี้ มันจะฉลาด มันจะค่อยๆ ซักซ้อม จะค่อยๆ เรียนรู้เพิ่มขึ้นๆ แล้วจะรู้เท่าได้ ทำได้ขึ้นไปเรื่อยๆ

ก่อน บางที เราไม่ค่อยได้ระวัง เราก็ไม่เห็น แต่ตอนหลัง เราเห็นจิตของเรานี่เกิดน่ะฮะ แต่เรายัง ไม่มีวิธีการที่เราจะข่ม

เห็นกิเลสเราเกิด ไม่ใช่จิตน่ะ

เห็นกิเลสเกิด แต่ก็ยังไม่มีวิธีที่จะข่มให้เรา..

เราก็พยายามวิธีข่ม ข่มก็คือสมถะเท่านั้น วิธีเห็นด้วยปัญญานี่ดีกว่า เห็นให้ชัดแจ้งว่า โอ้ย เราจะไปโง่ทำไม เรื่องนี้ มันไม่ใช่ เรื่องที่เราจะเอามาเป็นเรา ไม่ใช่เรื่องที่เราจะไปติด ไปยึดอะไรนักหนา มันได้แค่นี้ก็ได้แค่นี้ ก็พยายาม ถ้าอยากได้มากอีก ก็ลองขึ้นอีก ทีนี้ก็พยายามลองแล้ว จนสุดวิสัย เราเห็นแล้วก็วาง ก็วาง ก็เลิก ก็จบ

คืออย่างนี้ค่ะพ่อท่าน บางคนเขาเลยบอกว่า นี่หลง ปัญญาน่ะ มีปัญญาไปรู้มาก แล้วก็ไปมองข้างนอก แล้วก็ไม่มองเข้าตัวเอง หรอกน่ะ ดิฉันก็บอก เอ๊!

อันนั้นแหละ มองข้างใน ที่อาตมาอธิบายนี่ มองข้างใน

ดิฉันก็บอกเขาว่า เขาว่านี่ไม่ต้องไปรู้อะไรให้มากหรอก มารู้ตัวเองดีกว่า ดิฉันบอกว่า เอ๊ ! เรามารู้ข้างนอกด้วย มาทำกับใจเราด้วยได้ไหม เพราะว่า ถ้าเราไม่รู้ พ่อท่าน เราก็ไม่เห็นจิต ของเราเกิด

ใช่ ! ต้องได้รู้ข้างนอกด้วย แล้วก็รู้ว่า เราจริงๆ ให้ได้ด้วย มันต้องรู้ทั้งนอกทั้งในที่จริงน่ะ

เพราะเราไม่ไปรู้ก่อน เราก็ไม่เห็นว่า จิตเราจะเกิดอย่างไรอีกอย่างนี้ค่ะ เหลือวิธีที่เราจะมา ทำกับตัวเรา ก็แค่นี้ กราบขอบพระคุณค่ะ

เอ้า ปัญหาก็เลยแถมไปแถมมา นี่สามนาที นี่ดีนะวันนี้รู้สึกว่า เออ ขมีขมัน รู้สึกว่าไม่เฉื่อย ไม่อะไรต่ออะไร จี้ไปเรื่องนั้น เรื่องนี้ ก็รู้สึกใส่ใจสดชื่นเบิกบานกันดี ที่จริง มันก็ควรจะมีเวลาบ้าง ประเดี๋ยว มันให้มากๆ ไปเกินไป ประเดี๋ยวเบื่อ ทีหลังไม่มีใครมา เอาไว้ค้างไว้ งวดหน้า


จัดทำโดย โครงงานรถอดเท็ปฯ
ถอด โดย จอม ศรีสวัสดิ์
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปราณี ๒๓ มี.ค.๒๕๓๕
พิมพ์ โดย อนงค์ศรี เบญจโศภิษฐ์
ตรวจทาน ๒ โดย เพียงวัน มั่นรักวงศ์ ๑๒ เมษายน ๒๕๓๕

FILE:2322B.TAP