บุญนิยมจากโลกาภิวัฒน์
ตอน ๕ (ต่อจากหน้า
๑) นี่มีอีกสูตรหนึ่ง ของพระพุทธเจ้าตรัสไว้ เป็นสุขนะ กัลยาณชนเป็นสุข ซึ่งสมาธิเช่นนี้ จะอยู่ในข่ายของ สมาธิกัลยาณชน ไม่สูงกว่านี้ เพราะเป็นสมาธิภาวนาที่ "เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน" และ หรือเป็นไป เพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็น ได้ญาณทัสสนะเหมือนกัน ได้ความฉลาดเเหมือนกัน สมาธิแบบ กัลยาณชนที่ได้ฉลาด ได้เป็นสุข เสพสุขได้ด้วย ในปัจจุบันนั้นๆ เท่านั้น ซึ่งจะไม่ จะไม่อะไร "เป็นไปเพื่อ สติสัมปชัญญะ ที่จะรู้แจ้งในเวทนา สัญญา วิตก อย่างละเอียด จะไม่เป็นสมาธิที่จะเพื่อไป รู้จักเวทนา รู้จักสัญญา รู้จักวิตกต่างๆ และจะไม่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ตัวนี้แหละ เป็นตัวหลักตัดสิน ที่ชัดเจน ไม่เป็นสมาธิที่จะเป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะอย่างสมบูรณ์สุขได้ เพราะจะไม่มีปกติ ฟังดีๆ นะ ลึกซึ้งมากนะพวกนี้ คำตรัสพระพุทธเจ้า เดี๋ยวจะได้ quote สูตรนี้ออกมาให้อ่านเลย เพราะจะไม่มีปกติ หรือจะไม่เกิดผล จนเป็นปกติ จะไม่เกิดผลจนเป็นปกติที่ได้ฝึกฝน พิจารณาเห็นความเกิด และความเสื่อมไปของอุปาทาน ขันธ์ ๕ ทั้งในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จนกระทั่งเป็น quote คำตรัสของพระพุทธเจ้า จากพระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ ข้อ ๔๑ สมาธิสูตร ท่านตรัสสรุปไว้เลยว่า ฟังดีๆ นะ อันนี้เป็น ท่านเรียกว่าคาถา ผู้ไม่มีความหวั่นไหวในโลกไหนๆ เพราะรู้ความสูงต่ำในโลก เห็นไหม ยังมีปัญญารู้โลกวิทู รู้ความสูงต่ำ ในโลก และไม่มีความหวั่นไหวในโลกไหนๆ โลกอะไรก็อยู่ด้วยได้ ไม่หวั่นไหวทุกอย่าง เพราะรู้ ความสูงต่ำ ในโลก ปราศจากควัน คือความโกรธ แค่โกรธ เป็นควัน ไม่มีแล้วนะ มันมีจุดสันดาป จุดชวาล ความโกรธ ถ้าจุดชวาลถึงรอบหนึ่ง มันจะลุกเป็นไฟ จุดชวาลหมายถึง จุดที่ถึงรอบความร้อนขนาดนั้น แล้วมันจะลุก เป็นเปลวเลย เป็นไฟเลย เรียกว่าจุดชวาล เราก็สมมุตินามธรรมเราเหมือนกัน ความโกรธ ของเรา ขนาดนี้ อื้อฮือ มันเป็นไฟแล้ว มันก็รู้ว่า มันเป็นไฟ มันมาก ไอ้นี่ ไม่มีแม้ควัน ไม่มีแม้ควัน อย่างบาง ที่สุดก็ไม่มี ปราศจากควันคือความโกรธ เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้หมดความหวัง เห็นไหม มันตีลังกากลับหมดเลย เป็นคนที่หมดความหวังแล้ว เป็นคนไม่มีหวังอะไร ไม่หวังอะไร ไม่หวังอะไรในหล้า พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า เป็นผู้ข้ามชาติและชราได้แล้ว เป็นผู้หมดแก่ หมดเกิด ชาติคือเกิด ชราคือแก่ เป็นคนไม่มี ความเกิดความแก่แล้ว เป็นอมตบุคคล คนไม่เกิดไม่แก่ เหมือนอาตมา พยายามบอกคุณว่า อาตมาหนุ่มเสมอ แต่มันจะจริงหรือไม่จริงแค่ไหน คุณก็ดูเอา แต่จะให้เนื้อหนังมันไม่เหี่ยว มันไม่ได้หรอก พระพุทธเจ้าก็ยังเหี่ยว อานนท์ เราแก่แล้วนะ เหมือนเกวียนที่มีกำเก่าคร่ำคร่า กำก็ต้องดาม กงก็ต้องดาม พระพุทธเจ้า ท่านตรัสกับพระอานนท์ มันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ความที่ไม่รู้จักแก่ อมตะนั้นคือ จิตวิญญาณ มันหนุ่มเสมอ มันเบิกบานร่าเริงสดชื่น สดชื่นอยู่เรื่อย ไม่มีความหมอง ไม่มีความหม่น ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความโกรธ ไม่ต้องไปหวังอะไรในหล้า ทำลูกเดียว ทำลูกเดียวไม่หวังอะไรในหล้า คนเช่นนี้เป็นผู้ข้ามชาติ ข้ามชราได้แล้ว เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีสมาธิอันเป็นไปเพียงเพื่อเป็นอยู่สุขในปัจจุบัน เขาก็เสพสิ่งที่เขาสมใจ เขาทำสมาธิ เพื่อจะมีฤทธิ์ เขาได้ฤทธิ์เขาก็สุข เขาทำสมาธิเพื่อจะสงบ เขาสงบเขาก็สุข เขาทำได้นะ เขาจะสมาธิ เพื่อไปล่าลาภ ล่ายศ เขาก็ได้ เขาก็สุข เพราะฉะนั้น สมาธิแบบนั้นเป็นสมาธิ อิงอามิสทั้งนั้น เป็นสมาธิที่มีเครื่องล่อ เพื่อผลเสพในใจทั้งนั้น เพราะฉะนั้น สมาธิที่เพื่อฆ่ากิเลสจนกระทั่งกิเลสหมด จึงจะชื่อว่า อาริยสมาธิ และต้องรู้แจ้งเห็นจริงกิเลส ทำกิเลสลดได้จริง เพราะฉะนั้น ท่านจะตรัสในสูตรนี้ สมาธิสูตรนี้ไว้ว่า สมาธิที่เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันก็มีอยู่ เป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ มีปัญญา ยิ่งไปล่าลาภ ล่ายศนี่ ทำสมาธิได้ปัญญา หรือเฉลียวฉลาด ที่จริงไม่ใช่ปัญญา หรือท่านเรียกญาณทัสสนะ เฉลียวฉลาด แต่ความเฉลียวฉลาดนี่ เอาไปล่าลาภ ล่ายศ ล่าสรรเสริญ ล่าอะไรก็แล้วแต่ เขาก็เป็นสุข เพราะฉะนั้น สมาธิที่เป็นไปเพื่อได้เฉพาะญาณทัสสนะก็มีอยู่ สมาธิที่เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะก็มีอยู่ เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะนี่ก็คือ สติสัมปชัญญะที่จะเป็นสัมโพชฌงค์ เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะก็มีอยู่ ท่านตรัสไว้ ๔ อย่าง เพราะฉะนั้น สมาธิ ๒ อย่างนี้เป็นโลกียะ หรือเป็นกัลยาณชนอยู่ เป็นไปเพื่อความสุข ในปัจจุบัน ได้สมใจในปัจจุบัน แขนงไหนๆ แล้วแต่ ๒. เป็นไปเพื่อญาณทัสสนะ ฉลาดมีปัญญาล่าลาภ ล่ายศ ทำความเจริญรุ่งเรืองแบบกัลยาณชน ถ้าลึกซึ้ง ก็เป็นกัลยาณชนที่ดีนะ ที่ดีมีความรู้ เสียสละ สร้างสรร เอามาก แต่ก็ให้เขามากบ้าง แต่เราก็ยังมีวิธีการ ฉลาด ที่หาได้มากๆ ได้ลาภมาก ได้ยศมาก ก็ให้เขามากๆ นั่นแหละด้วย แต่เราก็ยังได้มาก ไม่มีการสละ ออกหมด ไม่มีการปล่อยวาง เป็นสุขอยู่กับการมี การเป็น ไม่กล้าปล่อยหมด เพราะฉะนั้น ถ้ามาอาริยชนแล้ว จะอย่างพวกเรานี่ สอนพวกเราให้หัดปล่อยหมด ให้หัดปล่อยหมด ให้หัดวางหมด จนกระทั่ง หมดเนื้อ หมดตัว หมด แหม อาตมานี่ยอดปอกลอก นักปอกลอกชั้นหนึ่ง จะปอกลอกให้หมดเกลี้ยง หมดจริงๆ เลย จนสุดท้ายแล้ว หมดได้จริง แล้วเราก็มีฐานอาศัย เป็นคนที่หมดเนื้อหมดตัว หมดเกลี้ยง โดยที่ตัวเราเอง ก็อยู่ได้อย่างเบิกบานร่าเริง ไม่มีอะไรเลย เราก็ไม่กลัว เราก็อยู่ได้ เราก็มีมิตรดีสหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี เราก็มี ปุพเพกตปุญญตา เราก็มีคุณค่าความดีของเรา อยู่ได้ ไม่ต้องไปพึ่งเงินทอง ทรัพย์ศฤงคาร ไม่ต้อง ไปพึ่งอะไรต่ออะไร พึ่งความเป็นความมี ของคุณค่าที่เราเป็นเรามีอยู่ หรือแม้อย่างน้อย มีวัฒนธรรม มีมิตรดี สหายดีก็พึ่ง อาตมาบอกแล้วว่า เรามีที่พึ่งอยู่ ๓ อย่าง ๑.พึ่งตน ไอ้นี่สุดยอด เรามั่นใจในตัวเราเอง ว่าเราอยู่ได้ ด้วยความขยันหมั่นเพียร สมรรถภาพ ความดีงามของเรา เราอยู่ได้ เรามั่นใจ แล้วเราก็อยู่ แม้เราจะแก่ จะเฒ่า ทำอะไรได้น้อยลง เราก็พึ่งญาติธรรม พี่น้องเราเยอะ เราพึ่งญาติธรรม มิตรดีของเราได้ จะป่วยจะเจ็บ จะแก่จะตาย พึ่งเกิด พึ่งแก่ พึ่งเจ็บ พึ่งตายกันได้ มีวัฒนธรรมจริงๆ มั่นใจในวัฒนธรรม ๓.พึ่งบุพเพกตปุญญตา พึ่งบุญเก่า บุญไม่ใช่พวกเราทำกันในชาตินี้ ชาติไหนๆ ก็แล้วแต่ มันก็เป็นบุญ ที่เป็นวิบาก เราเป็นทายาทของกรรม เราเป็นทายาทของกรรม มันเป็นของจริงที่เรามี ซึ่งมันเป็นอจินไตย ไม่รู้จะหยิบ มาอธิบายได้ตรงไหน เราจะมี เราจะรู้ หนักๆ เข้าคุณมีมากๆ คุณจะเห็นของคุณ อาตมาพอเห็น ของอาตมาบ้าง บุพเพกตปุญญตา อาตมาก็เห็นของอาตมาบ้าง ถ้าคนไหนน้อย มันก็จะไม่ค่อยเห็น มันไม่ค่อยมีบุญเลย บุญเก่าไม่มี มีแต่บาป มันก็จะเห็นแต่บาป โอ๊ ทรมานทรกรรม ก็คุณไปทำมาเอง ใครไปว่ายังไงกัน ไม่สมน้ำหน้าก็บุญแล้ว ก็ไปทำมาเองทั้งนั้นแหละ ใครจะไปเอาของใครมา เวรวิบาก ของใคร อกุศลวิบากของใครก็ของมัน มันก็เป็นของคุณ ไม่มีใครเขามายัดเยียดเราได้หรอก บาปของฉัน คุณเอาไปรับ วิบากของฉันนี่ ทุกข์ๆ ร้อนๆนี่ คุณเอาไป แบ่งกันได้ก็แบ่งกันวันยังค่ำเลย ไม่ต้องทำมาหากิน อะไรหรอก แบ่งบาปมันทิ้งให้หมด นั่งแบ่งบาปวันหนึ่ง ตื่นเช้าขึ้นมาก็แบ่งบาป แบ่งไปๆ ใครจะมารับเอา มาเอาเน้อ ไม่เอาก็ยัดเยียด แอบ แอบให้ ไม่เอาก็แอบให้ บาปน่ะแบ่งได้หรือนะ มันแบ่งไม่ได้หรอก มันเป็นของจริงอย่างนั้น คุณเชื่อมันเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อเราทำสมาธิ (คนฟังถามที่พึ่ง ๓ ประการ) เอ้า ก็บุพเพกตปุญญตาไง ก็อธิบาย ที่ไหน ๑.ตนเอง
พึ่ง ๓ นี่ ถ้าคุณมั่นใจในที่พึ่งสามอย่างนี้ โดยเฉพาะต้องพึ่งตนเป็นหลัก คุณไม่มีที่พึ่งตนเอง คุณไม่เป็น คนดีเลย คุณมาอยู่กับหมู่เป็นหมาหัวเน่า มันไม่ได้พึ่งหรอก คุณไม่มีมิตร ก็เราเองนั่นแหละ เรามีงานไง เราเป็นคนมี กิงกรณีเยสุ ทักขตา เราเป็นคนทำงานทำการไม่ดูดาย งานน้อยใหญ่ของมวลมิตรสหาย เราก็เป็นคนเอาภาระ เป็นคนขยันหมั่นเพียร ก็อยู่ในตัวเรานี่แหละ พึ่งตนเอง ตนเองที่มี กิงกรณีเยสุ ทักขตา มีที่พึ่งของตน นาถ พึ่งงานก็งานเราทำให้เขา เราก็พึ่งงานที่เราทำด้วย เราขยันหมั่นเพียรเอง เราก็สร้าง เราก็ปลูกข้าวเองกิน เป็นสิทธิของเรา เราปลูก แบ่งให้คุณกินบ้าง ก็เป็นเรื่องของเรา จะแบ่งคุณ ไม่แบ่งคุณ เราก็แบ่งกินของเราได้ เราไม่ได้บาปอะไรนี่ ใช่ไหม ถึงแม้ว่าเราไม่ได้ทำตรง เราไม่ได้ปลูกข้าว เราทำอันโน้น เราเป็นพยาบาล ก็แลกกันหน่อย เราทำพยาบาลให้คุณ คุณก็เอาข้าวมาให้เรากินหน่อย เป็นกรรมวิธี ของมนุษย์ แบ่งแจกกัน เฉลี่ยกัน เฉลี่ยลาภ ก็ไม่มีปัญหาอะไร อันนี้เป็นสมาธิจากสมาธิสูตร และอนึ่งบุคคล ๔ ประเภท
ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ๑.บุคคลได้เจโตสมถะ แต่ไม่มีโลกุตระ โลกุตระก็คืออาริยชนนี่แหละ ของพุทธนี่แหละ ได้แต่เจโตสมถะ เป็นกัลยาณชนระดับไหนก็ตาม ไม่มีโลกุตระ มีอยู่ บุคคลประเภทนั้นมีเยอะแยะ ในสายธรรมที่เขาศึกษากัน ไม่ว่าศาสนาไหนๆ เยอะ มี ทีนี้คนที่เป็นพุทธโดยตรงเลย ไม่เอาถ่านเจโตสมถะเลย เอาแต่โลกุตระ ปฏิบัติโพธิปักขิยธรรม มรรคองค์ ๘ ได้เป็นโลกุตระ เจโตสมถะกับเขา นั่งสมาธิกับเขาก็ไม่เป็น ไม่ได้สุขในปัจจุบัน นั่งสงบหน่อยก็ไม่ได้ ไม่สงบสักที แต่ก็ได้สงบจริงจากจิต พวกนี้ก็ไม่เดือดร้อนอะไรมากมาย นั่งเจโตสมถะไม่ได้ แต่ถ้าใครทำ เจโตสมถะ แล้วให้ได้เป็นอุปการะได้ก็เอา เราอย่าไปติดมันก็แล้วกัน มันก็ช่วยได้ เรียนรู้จิต ใกล้ชิดจิต ได้เหมือนกัน เจโตสมถะนี่ อาตมาบอกแล้วว่า มีประโยชน์ ๓ ๑.เป็นการศึกษา พอเราไม่ยุ่งไม่เกี่ยวกับใคร เราก็นั่งอยู่ในภพของเราสงบ ไม่มีนิวรณ์เข้าก็พิจารณา ย้อนบุพเพนิวาสานุสติ ใสสะอาด ก็ย้อนระลึกทบทวนถึงเรื่องเก่า อะไรก็แล้วแต่ เตวิชโช บุพเพนิวาสนานุสติญาณ ดูความเกิด ความดับ เจโตปริยญาณ จนกระทั่งเห็นอาสวะ อนุสัยของตัวเองว่า แน่ ไอ้หน้าแหลม เหลืออยู่นิดหนึ่งอะไรนี่ จัดการซะ ก็เป็นประโยชน์คุณค่าอย่างนั้น บุคคลผู้ได้แต่เจโตสมถะ ไม่ได้โลกุตระ นั่นแหละคือผู้นับว่าได้สมาธิกัลยาณชน แต่ยังไม่ถึงขั้น สมาธิอาริยชน ชัดขึ้นนะ อาตมาพยายามอธิบายให้มันรอบรัด ให้มันมีขอบเขตที่ตัดรอบที่ชัดที่สุด อาตมาว่า ตำราที่เขียน ที่พยายามเขียนนี่นะ นี่แหละพยายามทำเอาไว้ อันนี้มันเหมือนอรรถกถาจารย์ ที่พระอริยะรุ่นๆ ก่อนๆ ท่านก็เป็นอรรถกถาจารย์ท่านก็ทำไว้ อธิบายไว้แต่ละยุคแต่ละสมัย อาตมาก็เป็นอรรถกถาจารย์ยุคนี้ ก็ทำไว้ ตำราพวกนี้ก็เป็นตัวอธิบายของพระพุทธเจ้าไป และอธิบาย สภาวะจริง ใครเชื่ออาตมาแค่ไหน ก็แค่นั้นนะ ไม่เชื่อก็ไม่ว่า ไม่ง้อ เรื่องอะไรจะไปง้อ ง้อหาลูก ไม่ต้องง้อหรอก เราคัดเลือกเอา ไม่ง้อ ใครอยาก เป็นลูก ก็ต้องทำตัวดีๆ เอาให้ดีๆ แต่ไม่ต้องมาเอาใจมากมายนะ รำคาญ เอาใจมากมายนัก รำคาญ นี่พูด ด้วยโวหารนะ ตอบ เพราะสมาธิต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการปฏิบัติเป็นสัมมาอริยมรรค ก็จะไม่ใช่สัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิ ที่พระพุทธเจ้า ทรงค้นพบโดยเฉพาะ จึงจะไม่พาให้ตรัสรู้ที่จะสู่นิพพานอย่างหมดสิ้นอาสวะได้จริง สมาธิ อย่างนั้น จึงไม่เข้าข่ายสมาธิสัมโพชฌงค์ คือที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ และไม่นับว่าเป็น สมาธิอาริยชน ถือว่า ยังเป็นมิจฉาสมาธิอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยืนยันไว้ชัดเจน ดังได้เคยกล่าวมาแล้วว่า ทางปฏิบัติ คือมรรคนี่นะ ทางปฏิบัติที่จะไปสู่ความบริสุทธิ์สูงสุด คือนิพพานของพุทธ มีทางเดียวเท่านั้น ไม่มีทางอื่น เอ เสว มัคโค นัตถัญโญ คือมรรคอันมีองค์ ๘ ซึ่งจะต้องเข้าใจเป็น สัมมาทิฐิ อย่างจริงๆ และต้องปฏิบัติ สัมมาสติ กับ สัมมาวายามะ อย่างเพียงพอ มีประสิทธิภาพ สามารถปรับปรุงสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีพ ให้เกิดสัมมาได้เรื่อยๆ สัมมาทั้ง ๗ ที่เกิดอย่างปฏิสัมพันธ์ ในองค์มรรคทั้ง ๗ นี้เอง ที่สั่งสมลง หรือรวมลงเป็น สัมมาสมาธิ (ดูหลักฐานในมหาจัตตารีสกสูตร) ซึ่งสัมมาสมาธินี้ เป็นสมาธิแบบพิเศษ มีหนึ่งเดียวในโลก (unique) แปลว่ามีหนึ่งเดียวในโลก มีอย่างเดียวอย่างนี้เฉพาะ ของคนอื่นไม่มีเหมือน แปลว่า unique หรือ Uniquely หรือ Uniqueness แปลว่ามีหนึ่งเดียวในโลก unique มีอย่างนี้อย่างเดียว ไม่เหมือน ของใครอื่นเลย เรียกว่า unique เป็นสิ่งพิเศษที่ไม่เหมือนใครอื่น สัมมาสมาธินี้ เป็นสมาธิแบบพิเศษ มีหนึ่งเดียว ในโลก unique เป็นสมาธิของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ ทั้งคุณลักษณะและวิธี หรือทฤษฎี ปฏิบัติให้เกิด วิธีปฏิบัติให้เกิดก็คือ โพธิปักขิยธรรม หรือมรรคองค์ ๘ โพชฌงค์ ๗ นี่แหละ ไม่เหมือน สมาธิ ใดๆ ในโลก แต่รวมจุดดีของสมาธิต่างๆ อยู่ในนี้ทั้งหมด แหม ขี้คุยชะมัดเลย ไม่เหมือน แต่รวมจุดดี ของ สมาธิต่างๆ อยู่ในนี้ทั้งหมด ทั้ง concentration, meditation ก็อยู่ในสัมมาสมาธิทั้งหมด แต่ที่ของ สัมมาสมาธิ มี meditation ไม่มี concentration ของเขาไม่มี สรุปก็คือ สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น เหนือขั้น สมาธิกัลยาณชน ขึ้นไป และต้องเข้าข่ายสมาธิอาริยชน ซึ่งเกิดจากการปฏิบัติถูกต้องตาม สัมมาอริยมรรค จนเป็น สัมมาสมาธิ จึงแตกต่างกับ สมาธิปุถุชน และ สมาธิกัลยาณชน ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น การที่จะอธิบายสมาธิก็ดี สมาบัติก็ดี อธิบายฌานก็ดี คนที่ไม่มีอุตริมนุสธรรมจริงๆ ไปอธิบายแล้ว ออกนอกทางหมด ทำให้ศาสนาเสื่อม ธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าวิบัติ หรือทำให้ ธรรมวินัย วิปริต ด้วยประการฉะนี้ ใครอวดดี อธิบายสมาธิ อธิบายฌาน อธิบายสมาบัติ อธิบายมรรค อธิบายผล อธิบาย มันไม่ได้ละเอียดลออ แล้วก็ไม่เข้าทาง ไม่ถูกชัด ฟังพอเข้าใจไหมว่า มันไม่ชัดอย่างไร แล้วมันชัดยังไง แล้วมันตรงอย่างไร ไม่ตรง อย่างไร พอเข้าใจไหม อย่าเพิ่งเชื่อว่าอาตมาตรง นี่ห้ามเลยนะ อวดดีไหม อย่าเพิ่งเชื่อ ไปพิสูจน์ ความจริง ให้ได้ เป็นเอหิปัสสิโก เหมือนพระพุทธเจ้าท่านถามสารีบุตร ท่านสอน เหมือนอย่างที่อาตมา สอนคุณ นี่แหละ ท่านสอนไปๆ สอนไปแล้ว ท่านก็โผล่ถามมาสารีบุตร เธอเชื่อเราไหม ไม่เชื่อ เอ๊อ ลูกศิษย์คนนี้ มันน่าเอากระบองตีกระบาลนะ เล่นยอกย้อนอาจารย์นะ พระสารีบุตรบอกไม่เชื่อ ทำยังไง ทำไมถึงไม่เชื่อ พระพุทธเจ้าซักต่อ เพื่อให้สงฆ์ต่างๆ ผู้อื่นได้ฟังด้วย ซึ่งก็ต้องตอบด้วยสัมมาคารวะนะ ไม่ใช่ตอบ อย่างอวดดี สารีบุตรเธอเชื่อตถาคตไหม ไม่เชื่อ ก็เอากระบองตีกระบาลเข้าให้สิ ไม่มีสัมมาคารวะ ยังไม่เชื่อ พระเจ้าค่ะ อ้า ต้องตอบมีสัมมาคารวะนะจะไม่เชื่อก็...ไม่ใช่ตอบอย่างผยอง act art เดี๋ยวถอนต้นเสา ตีเลย (ผู้ฟังหัวเราะ) พระสารีบุตรก็ตอบด้วยสัมมาคารวะว่าไม่เชื่อ แล้วพระพุทธเจ้าก็ถามต่อ ทำไมเธอ จึงไม่เชื่อ ต้องพิสูจน์ ยังไม่ได้ปฏิบัติพิสูจน์เพื่อผล เมื่อสิ่งใดปฏิบัติเพื่อพิสูจน์เพื่อผล กุศลนั้นได้สำเร็จ นั่นแล จึงจะเชื่อ ดีมากสารีบุตร แน่ะ แทนที่จะโดนกระบองก็เลยดีไปเลย ของพระพุทธเจ้าท่านเนี้ยบ อย่างนี้ ถึงขนาดนี้ เมื่อคุณฟังไป อย่าเพิ่งมาเชื่ออาตมา จะเชื่อขนาดไหนก็เรื่องของคุณ .. เอ้า นี่จบสมาธิ ตอนนี้ขึ้นตัวที่สุดท้าย ตัวที่ ๗ มีอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็คือ ผลของสมาธิสัมโพชฌงค์สุดท้าย อุเบกขา เจตสิกหรือจิต จะมีสภาพอุเบกขา เจตสิกหรือจิต จะเรียกรวมๆ ว่าจิตอุเบกขาก็ได้ หรือว่าเจตสิกก็ได้ อุเบกขาเป็นเจตสิก เป็นอาการของจิต นั่นเอง เจตสิกก็คือ อาการของจิตนั่นเอง เป็นอาการอุเบกขา ซึ่งมีลักษณะอาการวางอารมณ์เป็นกลาง ลักษณะอุเบกขานี่ เป็นลักษณะวางอารมณ์เป็นกลาง ความรู้สึกเป็นกลาง หรือไม่มีกิเลสชอบ ไม่มีกิเลสชัง อย่างไม่หลง นี้ขยายความไว้ด้วยว่า ไม่มีกิเลสชอบ ไม่มีกิเลสชังอย่างไม่หลง อย่างชัดเจน อย่างถูกต้อง อย่างเรียกว่า ต้องสมบูรณ์แบบ รู้แจ้งในจิต รู้เวทนาในเวทนาด้วยญาณ เพราะฉะนั้น เราจะฟังภาษามาว่า เวทนาในเวทนา มันมีเวทนาแล้วยังมี เวทนาในเวทนา ในๆวิจัยซ้อน มีธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ ลึกละเอียด เข้าไปเรื่อยๆ เวทนาในเวทนา รู้ด้วยญาณของเรา ญาณที่ต้องของเรา อย่าไปเอาญาณคนอื่นมา ขอสอบ มาๆๆๆ มาสอบญาณ นี่ได้ญาณ ๕ นี่ได้ญาณ ๘ คนนี้ญาณ ๘ เอ้า พูดไป มีอะไรพูดมา เออ อ๋อ ได้ญาณ ๗ ได้ญาณ ๑๖ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้อาจารย์ไปใหญ่ ไปเที่ยวได้บอกญาณให้กับคนอื่น พระพุทธเจ้าบอก ญาณนั้นเป็นปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ นั่นของพระพุทธเจ้าสอน ที่ไปสอบญาณ ให้กันอยู่ นั่นน่ะ นอกรีต ใครเคยไปเรียนมา สำนักที่สอบญาณ หือ ดิฉัน เคยเข้าสอบมาแล้วญาณ แล้วมันได้มาบ้างไหมล่ะ ญาณ ที่ว่าน่ะ ถูกเขาหลอกมา มันนอกเห็นไหม มันนอกความหมาย ที่พระพุทธเจ้า ท่านสอนไว้แล้ว ต้องปัจจัตตัง ไม่ใช่ไปให้คนอื่นเขาสอบญาณ ต้องรู้ด้วยตน มีลักษณะอาการวางอารมณ์ เป็นกลาง ความรู้สึกเป็นกลาง หรือไม่มีกิเลสชอบ ไม่มีกิเลสชัง อย่างไม่หลง ชอบกับชัง อาตมาไม่ต้องบอก วงเล็บภาษาบาลี ว่าอะไรบ้าง โทสมูลกับโลภมูลนั่นแหละ ยาวๆ ก็มีละเอียดไปอีกเยอะแยะ ไอ้ตัวชอบตัวชัง รู้แจ้งในจิต รู้เวทนาในเวทนา ด้วยญาณว่า วางเฉยได้แล้ว ไม่เกิดกิเลส ฟังนิยามให้ชัดๆ ว่ากำหนด บอกชี้ยังไง จิตมันวางเฉยได้ชัด วางเฉยได้ คือไม่เกิดกิเลส ไม่ใช่วางเฉยอย่างประเภทไม่เอาถ่าน ไม่ใช่ วางเฉยนั้นคือ มันเฉยเลย มันวาง กิเลสมายังไงก็วางแก ไม่ติดแกเลย ไม่เกาะแก ไม่เอาแกมาเกี่ยวมาข้อง กิเลสตัณหา อุปาทาน กลาง ละเอียด ยังไง รู้หน้าตากิเลส ไม่เล่นกับมัน ไม่ให้มันมามีฤทธิ์ มันเก่งด้วย แข็งแรงด้วย อุเบกขานี่แข็งแรง ประภัสสร ไม่ให้กิเลสเข้ามาทำอะไร แต่ไม่ใช่จิตเฉย จิตวางได้ เพราะไม่รับรู้ เรื่องนั้น ทุกวันนี้คนเขาบอกว่า อุเบกขาไม่รู้เรื่องนั้นเสียส่วนใหญ่ ไปแปลอย่างนี้ ซึ่งมันไม่ถูกทีเดียว ไม่ถูก คำว่า อุเบกขาเจตสิก ของพระพุทธเจ้า อุเบกขาของพระพุทธเจ้านั้น รู้เรื่องได้อย่างดี ช่วยด้วย ร่วมด้วย ทำด้วย สังขารด้วยก็ได้ แต่กิเลสไม่เกิด เฉย วางจากกิเลสจริงๆ กิเลสไม่เกิดเลย เป็นนิวตรอนเป็นกลาง ไม่ทำ ปฏิกิริยา กับกิเลส แต่ทำปฏิกิริยากับสิ่งที่ดี ไม่ใช่จิตเฉย จิตวางได้เพราะไม่รับรู้เรื่องนั้น และ ไม่ใช่จิตเฉย จิตวางได้ เพราะแค่กดข่ม หรือสะกดให้จิตวางเฉยสำเร็จ หรือจิตเฉยวางได้เพราะแค่เอาคาถาซึ้งๆ มายกอ้าง เป็นเหตุผล เอาคาถาซึ้งๆ โอ้ ทุกอย่างก็ไม่มีตัวไม่มีตน ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา อย่างนี้เป็นต้น คาถาซึ้งๆ แล้วมัน ก็เออ วางได้ มีคาถาซึ้งๆ แล้วก็ซาโตริ อะไรอย่างนี้ พวกสายมหายานชอบมาก ชอบมีคาถา แล้วก็วาง ไม่ใช่แค่นั้น ก็ยังไม่ใช่ ทว่าจิตเฉยจิตวางได้เพราะรับรู้เรื่องนั้นอย่างดีสมบูรณ์ จิตเฉยจิตวางได้เป็นอุเบกขาจิต เพราะเดินตามทางทฤษฎี เอเสว มัคโค นัตถัญโญ หรือ โพธิปักขิยธรรม ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น โดยรู้จัก รู้แจ้ง รู้จริงในความเป็นกาย เวทนา จิต ธรรม และทำได้สำเร็จ มีตาทิพย์ คือ ธรรมจักษุ หรือญาณเห็นของจริง ไม่ว่ากาย ไม่ว่าเวทนา ไม่ว่าจิต ไม่ว่าธรรมะ หยาบ กลาง ละเอียด โดยเฉพาะ เวทนาต่างๆ ที่เป็นเวทนาในเวทนา อย่างซับซ้อนลึกซึ้ง ทั้งเวทนา ๒ เวทนา ๓ เวทนา ๕ เวทนา ๖ เวทนา๑๘ เวทนา๓๖ เวทนา๑๐๘ เมื่อได้ศึกษาฝึกฝนจนเกิดจนเป็น และมีตาทิพย์ หรือญาณรู้เห็นของจริง ในตนนั้นๆ ก็จะรู้เห็นความเป็นอุเบกขาเวทนา ด้วยญาณ ด้วยความฉลาดครบครัน ว่าอุเบกขาเวทนา หรือ จิตเฉยจิตวาง ที่เข้าข่าย อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น อย่างไร ต่างกับอุเบกขาปุถุชนทั่วไป หรือต่างกับ อุเบกขา กัลยาณชน อย่างไร รู้เลยว่าอย่างนี้ อุเบกขาอาริยชน ต่างกับอุเบกขากัลยาณชน ต่างกับ อุเบกขาปุถุชน รู้อาการนะ รู้ความหมาย แล้วก็ไปรู้อาการจริงในจิต ในวิญญาณ ใน เวทนาในเวทนา ของเรา เพราะรู้จัก รู้แจ้ง รู้จริง เพราะรู้จัก รู้จักนี่หมายความว่า จับตัวได้แล้ว เพราะรู้แจ้ง ก็หมายความว่า รู้มากมาย รู้รอบ รู้ถ้วน รู้แจ้ง รู้ครบ เพราะรู้จริง ก็คือสมบูรณ์แล้ว เป็นสัจธรรม รู้จริงตามจริง เพราะรู้จัก รู้แจ้ง รู้จริง เวทนาในเวทนา ทะลุปรุโปร่ง ว่าอาการ ลิงคะ ลิงคะนี่คือลักษณะบอกความต่าง อาการ ลิงคะ นิมิต อุเทศ ของเวทนาต่างๆ เป็นจริงอย่างไร ไม่ว่าความต่างกันของทุกขเวทนา สุขเวทนา อุเบกขาเวทนา ไม่ว่าความตื้น ลึกหนาบาง ของเวทนาที่ชื่อว่าทุกข์ สุข โทมนัส โสมนัส อุเบกขา ไม่ว่าเวทนานั้นๆ จะเกิดเนื่องจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ว่าจะกำหนดละเอียดลงไปอีกว่า เวทนาจากทวารทั้ง ๖ นั้นเป็นทุกข์ เป็นสุข เป็นอุเบกขา เมื่อเกิดจากทวาร ๖ ก็แยกออกเป็น ๑๘ เวทนา ที่สำคัญคือ แยกความต่างกันของเวทนาออกได้อีก เป็น ๓๖ เวทนา เดี๋ยวค่อยมาอธิบาย อ่านให้ครบก่อนตรงนี้ เพราะผู้ที่ยังไม่เคยได้ฟังมี ผู้ได้ฟังแล้ว ก็พอเข้าใจบ้าง ว่าเป็นอย่างโลกีย์ๆ (เคหสิตเวทนา ๑๘) และเป็นอย่างโลกุตระ (เนกขัมมสิตเวทนา ๑๘) ว่าเป็นอย่างโลกีย์ ๑๘ ว่าเป็นโลกุตระ ๑๘ ที่สุดสามารถรู้จักละเอียดของเวทนา รู้จักปัจจุบัน หรืออนาคตของเวทนา ตามความเกิด ความเป็นจริงที่ได้เกิดแล้ว กำลังเกิดอยู่ และจะเกิดต่อไปได้จริง จึงสามารถรู้แจ้ง รู้จริง เพราะได้ เปรียบเทียบรอบถ้วนในเวทนาถึง ๑๐๘ เวทนา (ศึกษาจากพระไตรปิฎก เล่ม ๑๘) มีหลายสูตร เป็นต้นว่า อัฏฐสตปริยายสูตร ข้อ ๔๓๐-๔๓๗ หรือจากเล่ม ๑๔ สฬายตนวิภังคสูตร ข้อ ๖๑๗-๖๓๗ สูตรอื่น ก็มีอีกนะ อันนี้ยกตัวอย่างแค่ ๒ สูตร แต่ว่า ๒ สูตรนี้ อาตมาเอามาใช้ เคยเอามาใช้แล้วก็รู้สึก จะละเอียดกว่า ที่สำคัญยิ่งคือ สามารถดับเวทนาในเวทนา ตามความรู้ยิ่งได้ ไม่ใช่ดับเวทนาพาซื่อ ต้องการจับโจร โจรมาอยู่ ในเมืองไทย เผาเมืองไทยทั้งเมือง นั่นเรียกว่า ดับเวทนาอย่างพาซื่อ ไอ้พวกนี้มันขาดทุนยับเยินเลย ปัดโถ เวทนาดีๆ กุศลเวทนาก็มีตั้งเยอะที่ต้องใช้ ดับหมดเลย แล้วไม่มีอะไรเลย หมดเนื้อหมดตัว ประเภทพาซื่อ คนนี้ไม่เหลืออะไรเลย ไม่เหลืออะไรเลย ประเภทที่ไม่ฉลาด พระพุทธเจ้านี่ฉลาด เหลือของดีไว้ใช้ ของเลว ดับไปหมด ก็คือสามารถดับเวทนาในเวทนา ตามความรู้ยิ่งได้ จนถึงขั้นเป็น เนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์อย่างนี้ ซึ่งเป็นเจตสิกสุดท้ายของสัมโพชฌงค์ อุเบกขานี่เป็นเจตสิกสุดท้ายของสัมโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์มีมาตั้งแต่ สติ ธัมมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา อุเบกขาสัมโพชฌงค์นี่ เป็นตัวเจตสิกสุดท้าย ซึ่งเป็นเจตสิกสุดท้ายของ สัมโพชฌงค์ ที่อาศัย ในการตรัสรู้ อุเบกขาของพุทธ จึงมีองค์ธรรม หรือมีคุณลักษณะ ๕ ประการ ไปดูได้จาก ธาตุวิภังคสูตร พระไตรปิฎกเล่ม ๑๔ ข้อ ๖๙๐ อันได้แก่ ๑.ปริสุทธา หรือปริสุธะ หมายความถึง คุณลักษณะบริสุทธิ์ หรือสะอาด สภาพของจิต หรือเจตสิก ที่เป็น อุเบกขา จึงมีลักษณะแสดงตัวเอง อุเบกขานี่มันมีคุณลักษณะแสดงตัวเองว่า สะอาดหมดจด ภาษาไทย สั้นๆ ใครไม่รู้สะอาด ไม่รู้หมดจด ก็ไปเป็นชาติอื่น ใช้ภาษาอื่น ภาษาไทยอาตมามีเท่านี้ คุณลักษณะ ๑ ของ อุเบกขา คือสะอาดหมดจด ถ้าจะขยายความอีกหน่อยหนึ่งก็คือ สะอาดไม่มีกิเลส แม้ธุลีละออง ในขณะ ใดๆ ที่ทำได้ก็ขณะนั้น ชั่วขณะหนึ่งทำได้ถาวร ทำได้จากเหตุปัจจัยต่างๆ มันก็มา กระทบ กระเทือน ต่อไป ๒. ปริโยทาตา ปริโยทาตะ หมายความถึง คุณลักษณะยืนยันความหมดจดดีเยี่ยม ต้องขยายความ อันนี้ ยืนยันความหมดจดดีเยี่ยม เช่น จิตที่สะอาดนั้น แม้จะถูกสิ่งสกปรกสาดใส่ กระแทกใส่ หรือพอกย้อม ยั่วยุอยู่ ก็ยังคงรักษาความสะอาด (จากกิเลส) นั้นๆได้อย่างหมดจดอยู่เสมอ เพราะจิตนั้นได้ฝึกฝน ชำระล้าง (ปริโยทเปติ) ปริโยทเปติ นี่แปลว่า ชำระล้าง หรือทำให้สะอาด ปริโยทปิตะ แปลว่า ทำให้สะอาด มาแล้วจริง ได้ชำระล้างมาแล้วจริง จิตได้ฟอก ได้ชำระได้สำรอกได้ล้าง ได้ทำให้สะอาด มาแล้วจริง ได้ทำ ให้สะอาด สำรอกก็คือ กรรมกิริยาอย่างหนึ่ง สะอาดก็คือสะอาด ก็เป็นลักษณะหนึ่ง ใช่ไหม ลักษณะ ชำระล้างนี่ ปริโยทเปติ ลักษณะสะอาด ปริโยทปิตะ เป็นคนละลักษณะ นี่ละเอียด ภาษาบาลี ท่านเรียก เอาไว้ แต่เรามาอธิบายเป็นภาษาไทย ก็พอเข้าใจ อย่างหนึ่งชำระล้าง ได้ทำการชำระล้างมาจริง อีกอย่างหนึ่งก็คือ ได้สะอาดมาแล้วจริง ตามทฤษฎียิ่งใหญ่ คือมรรคมีองค์ ๘ ของพระพุทธเจ้า จนที่สุดเป็น สัมมาวิมุติ อย่างสมบูรณ์แบบ สภาพของจิตที่อุเบกขา จึงมีลักษณะไม่เปลี่ยนแปร ไม่เปลี่ยนแปรตัวเอง ยังยืนยัน ความสะอาด หมดจดอยู่ อย่างมั่นคง เพราะฉะนั้น จึงอยู่ท่ามกลางความสกปรกได้ ความสกปรกนั้น ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ น กัมปติ อโสกะ วิรชะ เขมัง จะถูกโลกธรรม จะถูกลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ใครจะยั่วยุยั่วแหย่ ด้วยท่าที ลีลาชวนโกรธ ชวนรัก จะต่อให้น่ารักขนาดไหนก็ไม่รัก ให้น่าเกลียดแค่ไหนก็ไม่เกลียด อย่าเอาแต่พูดนะ เจอนิดเดียวเท่านั้นเอง ก็รักซะแล้ว เจอนิดเดียวเท่านั้น ก็เกลียดซะแล้ว ต้องฝึกจริงๆ เพราะฉะนั้น เมื่อฝึกแล้ว จิตนี้จึงเป็นอุเบกขาแข็งแรง จะถูกหุ้มพอกอยู่ด้วยสิ่งแวดล้อม ที่ชวนให้โกรธ ให้เกลียด ให้โลภ ให้โกรธ ให้หลง อย่างไร ก็เป็นอิสรเสรี ก็แข็งแรง ก็เป็นตัวเองของตัวเอง ที่เยี่ยมยอด อาเนญชัปปัตเต ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน ไม่วูบวาบ ไม่กระเพื่อม ไม่มีอะไรเกิดอีกเลย ไม่มีอะไรเกิดอีกเลยนั่นก็คือ ปริสุทธะ สะอาด สะอาดหมดจด อยู่อย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้น ท้าความสะอาด และยืนยันความสะอาดได้ ก็โดยที่ว่า แม้จะมีสิ่งที่สกปรก ชวนจะสกปรก ทำให้ดูดซึม เก่งในการที่จะยั่วยุ จะพุ่งแทง จะทำให้มัน ไม่สะอาด ทำให้มันเกิดสกปรก อย่างไรๆ ก็ทำลายความสะอาดนี้ลงไม่ได้ ปริโยทาตะ เหมือนอาตมาอธิบาย อย่างหนึ่ง เหมือนน้ำกับใบบอน มันจะเอามาอาบ มาพอกมาแช่ในใบบอน ไม่มีซึมซับเอาน้ำเข้าไปเลย นี่คือ ปริโยทาตะ มีนัยต่างกันกับ ปริสุทธะ ปริสุทธะบอกตัวเอง ปริโยทาตะ บอกคุณลักษณะที่เยี่ยมยอดขึ้น มุทุ อันที่ ๓ หมายความถึง คุณลักษณะอ่อน ดัดได้ง่าย ไม่แข็งกระด้าง ไม่ดื้อดึง มุทุ คุณลักษณะอ่อน ดัดได้ง่าย ไม่แข็งกระด้าง ไม่ดื้อดึง เพราะจิตนั้นได้เรียนรู้ฝึกฝน จนมีไหวพริบ แววไว และหัดขยี้ นี่เอามา คำนี้โดยเฉพาะเลยนะ หัดขยี้ แววไว และเจอปั๊ป ขยี้เหมือนมดเหมือนเล็นเลย เหมือนมันตัวเล็กเลย ภาษาคำขยี้นี้ บาลีว่า มัททติ มุทุถึงขั้นมันดัดได้ง่าย มันจัดการกับจิตได้ง่าย เจตสิกได้ง่าย จนเป็นอุเบกขานี่ เพราะว่ามันมีมุทุ มีคุณลักษณะ มุทุภูตธาตุ ทำฌานนี่ ต้องมีมุทุภูตธาตุเป็นตัวเฟืองจักรอันสำคัญ มุทุภูเต กัมมนิเย นี่ มันเป็นตัว เฟืองจักรสำคัญ จนเกิด ฐิเต อาเนญชัปปัตเต มันต้องมีบทบาทการทำงานของเจตสิก พวกนี้ เจตสิกที่ มุทุก็คือมันอ่อน ดัดได้ง่าย ไม่กระด้าง ไม่แข็ง ไม่ดื้อ เพราะจิตนั้นได้เรียนรู้ฝึกฝนจนมีไหวพริบ แววไว และหัดขยี้ มัททติ กิเลสมาจริง หัดขยี้กิเลสมาจริง สภาพ ของจิตอุเบกขา ที่มีคุณลักษณะในประเด็นมุทุนี้ จึงมีลักษณะแววไว ยืดหยุ่นได้ แววไวยืดหยุ่นได้ ภาษา บาลีว่า มุทุกะ มุทุกะ มีลักษณะแววไวยืดหยุ่นได้ มุทุกะ ปั้นแต่งได้ ภาษาบาลีว่ามุทุตา เพราะฉะนั้น ลักษณะอาการ ลักษณะของมันนี่ มีลักษณะมุทุกะ ก็หมายความว่า มันยืดหยุ่นได้ แววไว ยืดหยุ่นได้ ความแววไวของคน มันจะยืดหยุ่นได้ รู้จักอนุโลม ปฏิโลม เรียกว่ามุทุกะ ปั้นแต่งได้ หมายความว่า จะเอา เป็นรูปโฉม อะไรต่ออะไร ก็มีประสิทธิภาพ เรียกว่า มุทุตาในตัวเอง ดังนั้น คุณลักษณะของ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่มีสภาวะมุทุนั้น จึงแววไว มีไหวพริบ รู้จักกิเลสเร็วขึ้นๆ และทั้งทำลายกิเลส ได้ง่ายขึ้นๆ ด้วย คุณลักษณะของมุทุภูตธาตุนี่ และเป็นอุเบกขา หรือจิตวาง จิตเฉย จากกิเลส ที่ควรแก่การงาน กัมมนิยะหรือกัมมนิเยนี่แหละ จึงเป็นอุเบกขาที่เหมาะควรกับการงาน เพราะว่า ทำการงานได้ เพราะมีแววไว มีไหวพริบ มีการปรับตัวได้เก่ง มีมุทุตา มีมุทุกะ เก่ง และยังแถมมี มัททติ ด้วย มี แหม มันมีเครื่องกลอยู่อันหนึ่งอยู่ในตัวอุเบกขา ขยี้กิเลสเก่งด้วย เจอหัวบีบหัวเลย เหมือนเล็น เหมือนหมัด เลย ขยี้ นี่เหรอกิเลสตัวใหญ่ก็บีบใหญ่ เพราะว่ามันตัวใหญ่ด้วย เครื่องบีบมันก็ใหญ่ มุทุนี่มันมีเครื่องมือ มีมัททติ มีตัวขยี้ได้เก่ง นี่ลักษณะมุทุ เอาไปแค่นี้ก่อน ขยายละเอียดยังไง ยกตัวอย่างอีกเยอะ เวลาก็หมดไปแล้ว ๔. กัมมันยะ หมายความถึงคุณลักษณะเป็นความคล่องแคล่วในการงาน กัมมันยะ กัมมนิเย หรือ กัมมนิยะ นี่ มันมีลักษณะ กัมเป็นตัวราก กัมมนิยะ กับกัมมันยะ มันเป็นตัวราก กัมมนิยะเป็นบทบาทในทางเจโต ส่วน กัมมันยะ เป็นบทบาททางปัญญา แต่มันเป็นคู่กัน เขาแปลว่า ควรแก่การงานด้วยกันทั้งคู่ด้วย บางที เขาก็แปล กัมมันยะว่า สละสลวย คือการงาน ที่ทำสำเร็จแล้ว ดีแล้ว ส่วนกัมมนิยะ นั่นก็คือ เหมาะควร แก่การงาน การงานนี้เราทำนี่เหมาะควร มันยังเป็นภาคมรรค กัมมนิยะ ส่วนกัมมันยะ เป็นภาคผล กัมมันยะ หมายความถึง คุณลักษณะเป็นความคล่องแคล่วในการงาน ดังนั้น ความเป็นอุเบกขาของพุทธนั้น จึงไม่ใช่ ลักษณะ เฉยนิ่งๆ วางแบบอยู่ว่างๆ แต่เป็นการเฉยได้ วางได้ต่อสิ่งที่มามีอำนาจเหนือ เช่น กิเลสอกุศลเหตุ ทว่าบทบาทของจิต ความสามารถของจิต ยิ่งดี ยิ่งเก่งขึ้น ที่จะทำในกุศลธรรม ยิ่งอุเบกขา ยิ่งแหม.. จิตอุเบกขา ของพระพุทธเจ้า ยิ่งทำกุศลกรรม ยิ่งสร้างงานได้เก่ง ยิ่งแคล่วคล่อง ยิ่งแววไว ยิ่งขยัน ยิ่งมีเรี่ยวแรง อุเบกขา ไม่ใช่อุเบกขาก็ยิ่งเฉื่อย ยิ่งหยุด ยิ่งแข็ง ยิ่งโง่ ยิ่งซึม ยิ่งนิ่ง ยิ่งเงียบ ไม่ใช่ อุเบกขาของพระพุทธเจ้านี่ยิ่งสงบ ยิ่งเสียงดัง ฟังแล้วมันก็มีสภาวะย้อนแย้งอยู่เสมอ บทบาทของจิต ความสามารถของจิต ยิ่งดียิ่งเก่งขึ้น ที่จะทำในกุศลกรรมทั้งๆ ที่ชื่อว่า เป็นจิตสภาพอุเบกขา หรือ เป็นจิต สภาพเฉยวาง นี่แหละ ก็ยังมีสภาวะที่ทำงานได้ เรียกว่ากัมมันยภาวะ สภาวะที่ทำงานได้ เรียกว่า กัมมันยภาวะ หรือที่แปลว่า ควรแก่การงาน ซึ่งจะต่างกัน ตรงกันข้ามกันเลยกับ อุเบกขาปุถุชน ที่เป็น เคหสิตอุเบกขา เพราะอุเบกขาปุถุชนนั้น เป็นจิตเฉย จิตวางที่ไม่รู้ไม่ชี้ ไม่เอาเรื่องไปดื้อๆ ไม่ยุ่ง ไม่เกี่ยว ไม่สนใจ ทิ้งเรื่องนั้นๆ ไปทั้งเรื่อง หรืออยู่นิ่งๆ เฉยๆ จริงๆ นั่นอุเบกขาของทางปุถุชนเข้าใจ ใครก็เข้าใจ เขาเคยใช้ เดี๋ยวนี้เขาก็ใช้ เอ๊อ อุเบกขาเถอะ หมายความว่า อย่าไปยุ่งกับมัน ทิ้งมันซะ อุเบกขาปุถุชน เขาเข้าใจว่าอย่างนั้น หรือร้ายกว่านั้นก็คือ วางเฉยชนิดจิตกระด้างแบบคนหน้าด้าน วางเฉยแบบอลัชชี วางเฉย แบบจิตกระด้าง คนหน้าด้าน กูจะชั่วของกูอย่างนี้ เอ็งจะทำไม หน้าด้านอยู่อย่างนั้นแหละ วางเฉยนะ อย่างกับพระอรหันต์แน่ะ ไม่สะดุ้งสะเทือนเสียด้วย แต่ก็มีลีลาบทบาทของความไม่ดีของเขา ออกมา อยู่นั่นแหละ มันต่างกัน หรือวางเฉยชนิดด้านทนด้านดื้อ ถึงขั้นประชด ดีไม่ดี ประชดย้อนแย้งกลับ ประชด ทำแดกดัน ทำอะไรอย่างนี้อีกด้วยซ้ำไป อย่างนั้นไม่ใช่อุเบกขา จิตแข็ง จิตวางเฉยได้แล้ว ประชด เข้าไปอีก ไม่ใช่ แต่อุเบกขาอาริยชน หรืออุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น จิตเฉย จิตวางเฉพาะกิเลส เฉพาะอกุศล ที่เกี่ยวกับ เรื่องนั้นๆ หรืองานนั้นๆ กาย วาจา ใจ จะยุ่งกับเรื่องนั้น งานนั้นจะเกี่ยวจะสนใจ จะไม่ทิ้งงานนั้น เรื่องนั้น จะทำส่วน ที่เป็นกุศล กับเรื่องนั้น งานนั้นได้อย่างดีเสียด้วย จะสุภาพอ่อนโยนแบบอาจหาญ แกล้วกล้า ดียิ่งด้วย เพราะจิตมีคุณลักษณะปริสุทธะ ปริโยทาตะ มุทุ กัมมันยะ และประภัสสร จริง ส่วนอุเบกขากัลยาณชนนั้น ก็เป็นจิตที่ฝึกฝนตนจนสามารถให้สงบระงับ โดยการฝึกสมาธิที่สะกดจิต ตามวิธี ต่างๆ ดังอธิบายมาแล้ว หรือจิตเฉยจิตวางได้ เพราะฝึกฝน ใช้คาถาซึ้งๆ ใช้เหตุผลมายกอ้าง จิตก็เลยเฉย เลยวาง เป็นจิตว่างสมถะแบบหนึ่ง แต่ก็ยังต่างกับอุเบกขาอาริยชน ซึ่งอุเบกขาอาริยชน หรือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น จะต้องเป็นอุเบกขาที่เข้าข่ายโลกุตระ มีมรรคมีผลอย่างสัมมาทิฐิ สามารถมีญาณ มีธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ จัดการกับเคหสิตเวทนาทั้งหลาย ไม่ว่าเคหสิตโทมนัสเวทนา เคหสิตโสมนัสเวทนา หรือ เคหสิตอุเบกขาเวทนา จนพัฒนาตนพ้น เนกขัมมสิตโทมนัสเวทนา เจริญสู่เนกขัมมสิตโสมนัสเวทนา และ สูงขึ้นถึงขั้น เนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา จึงจะพาไปถึง สัมมาวิมุติ ดังนั้น ผู้ปฏิบัติเป็นสัมมา ยิ่งได้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็ยิ่งทำงานเก่ง คล่องแคล่วในการงาน ควรแก่การงาน อย่างกระปรี้กระเปร่า ซึ่งจะยิ่งต่างกัน ตรงกันข้ามกับ อุเบกขาปุถุชน อุเบกขากัลยาณชน ที่ยิ่งเฉยเมย ยิ่งนิ่งเฉย ยิ่งนิ่ง ยิ่งว่างๆ ยิ่งเฉื่อย เพราะจะยิ่งทำงานได้ดี ได้สละสลวย มีประสิทธิภาพสมบูรณ์พร้อม ยิ่งกว่าสามัญ ด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น จิตอุเบกขาของอาริยชน ยิ่งอุเบกขา ยิ่งขยันยิ่งกว่าสามัญชน สามัญชน นั่นขยัน เพราะมีอามิส ส่วนอุเบกขาของพุทธ ถ้าได้ยิ่งจิตอุเบกขาแล้ว จิตวางเฉยจากกิเลสได้แล้ว มันยิ่ง ไม่กลัวกิเลส ใช่ไหม มันอุเบกขา มันยิ่งไม่กลัวกิเลส มันเก่งน่ะ มันก็ยิ่งขยัน มันก็ยิ่งทำงานได้คล่อง ได้สามารถมาก อ่านตัวเอง ปรับตัวเอง ยังมีผี ยังกระซิบดึงรั้งเอาไว้ ไม่เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็น อุเบกขา ของอาริยชนที่แท้ เห็นไหม ถ้าเราเข้าใจไม่ละเอียดลอออย่างนี้ เราก็จะทำมันไม่ถูก ๕.ประภัสสร หมายความถึงคุณลักษณะจิตรู้แจ่มแจ้งเจิดจ้า ไม่มี ลด มีแต่ยิ่งๆขึ้น เจิดแจ้งแจ่มจ้ายิ่งๆขึ้น คือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น ยิ่งจิตเฉยจิตวางกิเลสได้มาก ไปสู่ความหมดเท่าใดๆ ก็ยิ่งมีประสิทธิภาพ ในความรอบรู้ เฉลียวฉลาดปราดเปรื่อง ทั้งสูงทั้งมากยิ่งๆ เท่านั้นๆ ยิ่งเจริญพหูสูต ยิ่งมีโลกวิทู รู้รอบทั้ง ปรมัตถสัจจะ ทั้งสมมุติสัจจะยิ่งๆ ขึ้น คุณลักษณะของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในประเด็นที่เป็น ประภัสสร จึงคือ ความรู้แจ่มแจ้ง เจิดจ้า วาววับ โชติช่วง จะชัชวาลก็ตามใจ ยิ่งๆ ขึ้น นี่คือคุณลักษณะ ๕ ประการ ของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ซึ่งเป็นอุเบกขาที่คนจะยังเข้าใจไม่ได้ง่ายๆ เพราะมีความวิเศษที่พิเศษกว่าความ เข้าใจของปุถุชนคนทั่วๆ ไป ความหมายของคำว่า อุเบกขาของปุถุชนคนทั่วๆ ไป แม้ในสมัยพระพุทธเจ้าก็หมายถึงประเด็นวางเฉยที่ยิ่งนิ่ง ยิ่งหยุด ยิ่งว่าง ยิ่งไม่มีอะไร ไม่ได้เข้าใจลึกซึ้ง ไปถึงประเด็น วางเฉยต่อกิเลส ต่ออกุศลกันสักเท่าไหร่ ในสมัยพระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ในสมัยนี้ ก็เหมือนกัน มันเข้าใจอุเบกขาปุถุชนอย่างนั้น เขาก็เข้าใจอย่างนั้นเหมือนกัน เดี๋ยวนี้ก็เข้าใจอุเบกขา เหมือนกับ ปุถุชนสมัยพระพุทธเจ้าเหมือนกัน สำหรับอุเบกขาปุถุชน คนปุถุชนเขาเข้าใจ จึงควรศึกษา ให้ละเอียด เข้าใจลึกซึ้ง และปฏิบัติพิสูจน์กันให้ดีๆ การมีธรรมะทั้ง ๗ ข้อนี้ในตัวก็คือ สติมาจนถึงอุเบกขา นี่โดยแท้จริงคือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ตามที่ได้กล่าวผ่านมานั้น ท่านเรียกว่าเกิดโพชฌงค์ ๗ นี่แหละคือ การเกิดของ พระพุทธ เรากำลังสร้างเชื้อพระพุทธ เพราะฉะนั้น เราก็กำลังเดินด้วยก้าว ๗ ก้าว นี่ไป ๓ ก้าวแรก ถึงจะ ติดเครื่องนะ พอติดเครื่องแล้วเลยเดินปึ๊ด ปีติ ปัสสัทธิสั่งสมลงเป็นสมาธิ ลึกสุดไปหาอุเบกขา เสร็จแล้ว ก็ทำยังงี้ ข้อเหวี่ยงหมุนจักรเดินฉึกๆ ฉักๆ เดินไปเรื่อยเลย เครื่องกล โพชฌงค์ ๗ นี่ต้องเดินเครื่อง ไปเรื่อยๆ โพชฌงค์ ๓ เป็นตัวสำคัญนำไป เกิดปีติ ปัสสัทธิ สั่งสมลงเป็น สมาธิลึกสุดไปหาอุเบกขา ๓ ตัว เป็นตัว สร้างๆๆๆ เกิดปีติ เกิดปัสสัทธิ สั่งสมเป็นสมาธิ ลึกไปสุดอุเบกขา รวมสั่งสมไปเรื่อยๆๆ นี่คือโพชฌงค์ ๗ พระพุทธเจ้า เกิดเมื่อใด โพชฌงค์ ๗ เกิด พระพุทธเจ้าไม่เกิด โพชฌงค์ ๗ ไม่เกิด ตอนนี้เห็น โพชฌงค์ ๗ เกิดบ้างหรือยัง พระพุทธเจ้าเกิดแล้ว ทำไม อาจารย์อื่นเขาไม่สอนโพชฌงค์ ๗ หรือ เขาไม่ใช่ ลูกพระพุทธเจ้า ... เอาไว้กระจายละเอียดวันสุดท้าย พรุ่งนี้ เอ้า พอก่อน ถอดโดย
สุภาณี บูรณ์ภาค GLB1J.TAP |