บุญนิยมจากโลกาภิวัฒน์ ตอน ๖
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๓๗
เนื่องในงานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ ๑๘ ณ พุทธสถานศาลีอโศก

วาระสุดท้ายมาถึงแล้ว เราก็ได้ดำเนินชีวิต ชีวิตเราดำเนินไปด้วยพฤติกรรม กิจกรรม พิธีกรรม อาตมาสรุป รวมกรรมใหญ่ๆ ของมนุษยไว้แค่นั้น ทั้งด้านจิตวิญญาณ ก็มันจะต้องเรียกกรรมนั้นว่าพิธีกรรม ที่มนุษย์ พึงได้พยายาม ได้กระทำขึ้นมา เป็นรูปแบบรูปเรื่อง แล้วแต่ว่าจะสร้าง จะก่อ จะกำหนดขึ้นมาเรียกว่า พิธีกรรม แม้แต่ในทางรัฐ ทางโลก เขาก็มีพิธีกรรม เป็นรัฐพิธี เป็นงานหรือเป็นการสมมุติ ตั้งขึ้นเป็นครั้งคราว หรือ เป็นจารีต เป็นประเพณี เป็นวัฒนธรรม มันเกิดเป็นพิธีกรรมขึ้นมา สำหรับสังคมมนุษยชาติ

เราชาวอโศก เราก็มีพิธีกรรมสำหรับชาวเรา ซึ่งอาตมาก็คิดว่า พวกเราเห็นดี เห็นสำคัญ มาถึงวันนี้ นานปี ขึ้นมา ก็ยิ่งเห็นว่า พวกเราเข้าใจเห็นเป็นความสำคัญ ก็อบอุ่น อุ่นหนาฝาคั่งกันอยู่ทีเดียว ที่ได้มา พรั่งพร้อมกัน ในพิธีกรรมอย่างนี้ โดยสัจจะความจริง หลายปีมาแล้ว อาตมาดูสถิติ ก็เห็นว่า มันได้สัดส่วน ของมันขนาดนี้ ก็ดูดี พอดี ไม่เหนื่อยเกินไป ไม่วุ่นวายเกินไป แล้วก็ดูเป็นไปได้ ประมาณเฉลี่ยแล้ว ๑,๕๐๐ หรือ ๒,๐๐๐ นี่ยอดสูง ๒,๐๐๐ กว่า ไม่ถึง ๓,๐๐๐ สักที อย่างต่ำก็อยู่ในราวนี้ ๑,๐๐๐ เพราะฉะนั้น ในระหว่าง เหมือนความดันคน ต่ำก็ในราว ๑,๐๐๐ สูงก็ในราว ๓,๐๐๐ ไม่ถึง ๓,๐๐๐ ดี ความดันของคน ประมาณต่ำ ก็ประมาณ ๗๐ สูงประมาณ ๑๑๐ อะไรระหว่างนั้น คล้ายๆ กันอย่างนั้น นี่เป็น normal เรียกว่า เป็นมาตรฐาน เป็นระดับกลาง นั่นแหละอยู่ในระหว่างนี้แหละดีแล้ว และกรรมวิธีต่างๆ ที่เราพึงเป็นไป มาถึงวันนี้แล้ว เราก็จัดสรรกัน อะไรที่มันได้ความ อะไรที่มันได้ประโยชน์คุณค่า แล้วก็ซ้อนเนียนลงไป

เช่นการจัดรายการเย็น ภาคเย็นนี่ อาตมาก็ว่าทุกวันนี้ พวกเราจัดรายการได้ดี รู้จักเฉลี่ยเอาเรื่องนี้นะ เรื่องนี้เอาตัวอย่าง อันนั้นอันนี้ ซึ่งที่ไหนก็จัดไม่ได้เหมือนอย่างเราหรอก เราน่ะมีปฏิบัติกร ซึ่งเป็นวิทยากร ในตัว วิทยากรที่อื่น เขาเป็นวิทยากรจริงๆๆ เขามีแต่ความรู้ เขาไม่ได้มีภาคปฏิบัติ เขาไม่ได้พิสูจน์ เขาไม่ได้ กระทำลงไปจริงๆ จนเกิดผลตามมา แล้วเอาผลมาพูดด้วย เขาไม่ได้เป็นเช่นนั้นไปสมบูรณ์ทีเดียว น้อยมาก ที่มีบ้าง ก็มีบ้างแต่น้อย แต่ของเรานี่เนื้อๆเลย อย่างไรๆก็เอาปฏิบัติกรจริงๆ บางทีขึ้นไป ยังพูดเป็นวิทยากร ไม่ได้เลย ยังเป็นผู้ที่จะพูดถึงความรู้ ไม่ค่อยออกด้วยซ้ำ มีแต่ความจริงออกมา พูดออกมาก็เด๋อๆ ด๋าๆ ด้วยความจริง มายืนยัน มาพิสูจน์ มาแจ้งให้กันทราบว่า มันเกิดแล้วนะ เป็นแล้วนะ ได้แล้วนะ เป็นอย่างนี้ๆ เชียว ดีไม่ดีอะไรก็มาบอกกัน ซึ่งมันเป็นเครื่องพิสูจน์ เป็นเครื่องยืนยัน นานวันยิ่งจะมีมากขึ้น เพราะฉะนั้น เรายิ่งจะไม่อดปฏิบัติกร วิทยากร หรือผู้ขึ้นเวที ยิ่งจะไม่อด ยิ่งจะมีมากขึ้น เพราะว่าเราทำจริงแล้ว ก็มีสิ่ง จริงๆ ขึ้นไป ไม่ได้แข่งดีแข่งเด่นอะไรกันหรอก แต่แข่งตัวเองให้ดีสำหรับตัวเองให้เจริญขึ้นไป ทุกๆ วัน

ตั้งแต่เราปลุกเสกฯ หรือ พุทธาภิเษกฯ กันตั้งแต่เช้า ตามวิธีการ เดี๋ยวนี้มันก็เป็นอย่างนี้กันไปลงตัว อาตมา เหมาเช้า เสร็จแล้วก่อนฉันก็แบ่งกัน แต่ละองค์ๆ ก็แบ่งกันไป มีนักพูดมากขึ้นเดี๋ยวนี้ ชักบางทีถึง ๓ รูปแน่ะ ช่วยกันว่า มื้อหนึ่ง คราวหนึ่ง บ่ายก็แบ่งกันไปอีก ช่วยกันว่าไป พวกเราก็ยืนยันตามขั้นตอน ถ้าเอาแต่ อาตมาพูด อาตมาก็จะว่าไปในแนวอย่างอาตมานั่นแหละ บางคนก็ฟังไม่หวาดไม่ไหว หูหัก มันลึกเกินไป ยากเกินไป ฟังแล้วหูหัก แต่มันก็ต้องไป ทั้งกว้างและลึก ก็ต้องเปิดไปเรื่อยๆ เสร็จแล้วท่านต่างๆ สมณะเกจิ ต่างๆ ท่านก็มาซอย อย่างนั้นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ให้ดูง่ายขึ้น ดูอะไรขึ้นบ้าง อะไรก็แล้วแต่ ซอยไป แล้วแต่ลีลา ของแต่ละท่าน แล้วตอนเย็นก็มี specimen มีสิ่งที่เป็นตัวอย่าง เอามายืนยัน เอามาบอกนะ เอามายืนอธิบาย เอามาพิสูจน์ เอามาตรวจสอบ เป็น specimen เป็นส่วนที่ มันเป็นสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว ของเรามีระบบ ครบครัน พิธีกรรมเช่นนี้ อาตมาถือว่า เป็นวัฒนธรรมของเรา เป็นจารีต เป็นประเพณี ที่เราจะต้องทำต่อไป ผู้ที่รู้จักคุณค่า ความสำคัญ ก็จะมารับความสำคัญคุณค่านั้นไป

จะเห็นได้ว่า เราเข้าใจยิ่งขึ้นแล้ว หลายคนบอกว่าไม่ได้หรอก พุทธาภิเษกฯ ปลุกเสกฯ เราก็จะต้องมา พยายามดู เป็นปีๆ ปีหนึ่งก็มีตรวจมีสอบอะไรไป หลายคนห่วงอยู่เหมือนกันว่า ถ้าอาตมาตายไปแล้ว จะทำอย่างไร รายการที่อาตมาทำอยู่เป็นอย่างไร ไม่ต้องห่วง พวกเรานี่แหละ ก็จะมีอะไรไปเรื่อยๆ นำพา ไปสูงไป อาจจะเป็นทีม จัดทีมขึ้นมา เอาละเช้านี่ มี THEME มี THEME ของเรื่องขึ้นมา เสร็จแล้วก็แบ่งกัน คนไหน เอาซอยตรงไหน มันก็จะเป็นเหมือนกันนั่นแหละ แม้คนเดียวทำไม่ได้ ก็หลายคนมาช่วยกันทำ ในเรื่องหนึ่ง ให้มันเป็นหมวดหมู่ เหมือนอย่างที่อาตมาทำ อาตมาเทศน์ปลุกเสกฯ พุทธาภิเษกฯ ตอนหลังๆ นี่ เป็นเรื่องๆ เป็นหมวดหมู่ไว้ดี เทศน์ไว้แล้ว ก็ถอดเท็ปไว้แล้ว ยังไม่ได้เรียบเรียงมาเลย จะเป็นหนังสือหลักๆ เหมือนกับ หนังสือธรรมโฆษ อะไรของท่านพุทธทาสเป็นเล่ม แหม เรียบเรียงเป็นเล่มหลักๆ ใหญ่ๆ ทีเดียว ทำได้ดีทีเดียว อาตมาเอามาดูตรวจสอบใหม่ได้ ยิ่งดีใหญ่เลย เรียบเรียงมาแล้ว แต่ยังไม่มีผู้ที่จะทำ ยังไม่มี ผู้ขยัน หรือว่ายังไม่มีผู้ริอ่าน เอาไปทำ ก็ไปเรื่อยๆ มันไม่ได้ทำ ก็ไม่เป็นไร อาตมาไม่ห่วงหรอก แล้วจะมีคน มาค้นคว้า เอาไปทำเอง วันหนึ่งวันใด คุณตายหมดเกลี้ยงแล้วค่อยๆ ทำก็ได้ เอ้า จริงนะ อาจเป็นอย่างนั้น ก็ได้ ก็ไม่มีปัญหา ถึงจะมีคนทำหรือไม่ทำ อาตมาก็นำมาพูดได้อยู่ อาตมายังจำได้อยู่ ก็สาธยายอะไรไป ก็ได้ เรื่องราว อะไรไป

คำว่าพิธีกรรม นี่ยกตัวอย่างปลุกเสกฯ พุทธาภิเษกฯ หรือแม้แต่พิธีกรรมย่อยอื่น เป็นพิธีกรรมชั่วคราว พิธีกรรมเล็กๆ น้อยๆ หรือพิธีกรรมจรมา ก็แล้วแต่เถอะ คำว่าพิธีกรรมนั่นหมายถึงทางด้าน เน้นโน้มไปทาง จิตวิญญาณ เน้นโน้มไปทางนามธรรม มันจะได้สิ่งเหล่านั้นเยอะ คำว่าพิธีกรรม อาตมาลองบอกนิยาม จำกัดความ หรือว่าเอาข้อมูล เงื่อนไขอะไรของมัน เพื่อเป็นตัวขยาย เป็นตัวอธิบายให้ชัดๆ ขึ้นไว้

ส่วนกิจกรรมนั้น เป็นงานเหมือนกัน แต่เป็นงานที่ทำทั่วไป ไปทางด้านวัตถุ ไปทางด้านที่ต้อง ไปทางด้าน รูปธรรม เป็นวัตถุธรรม เป็นงานอาชีพ เป็นการกระทำงานของมนุษยชาติ ซึ่งทิ้งไม่ได้ พิธีกรรมก็ทิ้งไม่ได้ กิจกรรม ก็ทิ้งไม่ได้ ทุกวันนี้ก็อาชีพหรือกิจกรรมของพวกเรา กิจการ ขยายความขึ้นมาเป็นภาษาไทย คำว่า กิจการ อันเดียวกัน กิจการต่างๆ ก็เป็นหลักเป็นฐานขึ้น เป็นงานเป็นอาชีพที่พวกเราเข้าใจ และก็เอาใจใส่ พัฒนาขึ้น โดยมีหลักการ มีนโยบาย มีอุดมการณ์ ของกิจการต่างๆ ของเรา อุดมการณ์อย่างไร นโยบายอย่างไร ทำไปแล้ว จะให้มันเกิดมาในรูปไหน

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นว่าเราจะทำกสิกรรม เราจะพยายามทำกสิกรรมธรรมชาติ ทำกสิกรรมให้มันไร้สารพิษ ทำพืชผัก ให้มันเป็นคุณภาพที่ดี มีคุณค่าสูง แล้วก็แจกจ่ายกันในราคาถูก หรือแจกฟรีกันให้ได้ แบ่งแจก กันกิน ทำให้เกิดให้ทั่ว เป็นธรรมชาติ ที่มันเกิดอย่างสมบูรณ์มากมาย เป็น Mass Nature ให้มากมาย เป็นธรรมชาติเลย โดยทุกคนสามารถที่จะมีกินมีใช้ได้สะดวกได้มาก จนไม่ต้องหวงแหน มากจนกระทั่ง ไม่ต้องซื้อหากันได้ โอ...จะวิเศษใหญ่ และทุกคนมากจนกระทั่งไม่ต้องไปแย่งชิงใคร เกลื่อนกล่น ข้าวสาลี ที่เกิด พวกที่ไปติดง้วนดินเสียแล้ว ก็ไปเก็บมากิน ก็ต้องแย่งกัน ประเดี๋ยวก็คงวนเวียนเองแหละ เดี๋ยวก็ ขี้หวงหอบหวง ขี้เกียจเก็บก็กอบโกยมาไว้ มีระบบสิทธิของฉัน ของเธอขึ้นมา มันก็วนเวียนไปได้ แต่นั่นแหละ เราก็ต้องพยายามที่จะทำให้เข้าไปสู่จุดที่มันวิเศษอย่างนั้น เป็นอุดมการณ์ เป้าหมาย ที่ไกล ลิบลับ ขนาดไหน ก็ตาม เราจะเดิน เราจะทำ พยายามกระทำไป

เมื่อเข้าใจแล้ว เราก็มาฝึกปรือของเราให้มีพฤติกรรม กาย วาจา ใจ ให้เกิดกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มโนกรรมเป็นประธาน ใจเป็นใหญ่ มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา จิตวิญญาณ หรือใจนี่แหละ เป็นตัวประธาน เป็นใหญ่ที่จะให้เกิดกายกรรม วจีกรรมขึ้นมา ให้เกิดพฤติกรรมของคนขึ้นมา ตามที่รู้ เป็นปัญญา เป็นญาณทัศนะอันวิเศษที่เป็นตัวควบคุม วินิจฉัยตัดสิน มีธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ เป็นอัตโนมัติ มันวิจัย ของมันอยู่เรื่อย เมื่อจิตตื่น จิตรู้ จิตรับ มันก็วิจัยของมัน ทำงานของมันตลอดเวลา มันไม่ขี้เกียจหรอก ถ้ามันจริงแล้ว ถ้ามันสมบูรณ์แล้ว มันไม่ขี้เกียจ ที่เหลืออยู่ ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้านะ ไม่ใช่คุณสมบัติ มันเป็น โทษสมบัติ ขี้เกียจน่ะเป็นโทษสมบัติ ฉะนั้น เราล้างโทษสมบัติ อกุศลเหล่านี้ออกให้หมด แล้วเหลือแต่สิ่งที่ เป็นคุณสมบัติ มีแต่ความขยัน ความเพียร เป็นวิริยะ เป็นอินทรีย์ เป็นพละ มีศรัทธาพละ มีวิริยะพละ มีสติพละ สติ ก็เป็นอัตโนมัติ สติก็ระลึกรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นความเบิกบาน แจ่มใส เป็นความระลึกรู้อยู่เสมอ แม้แต่จะหลับจะพัก ก็มีตัวสติที่คุมรักษาตัวอยู่ ไม่ใช่พอนอนหลับแล้วก็ดับดิ่งไม่รู้เรื่อง เป็นตายร้ายดี อะไรใครก็ขี้เซา เรียกภาษาไทยๆว่า ขี้เซา นอนแล้วก็จิตไม่รู้ตกไปอยู่ก้นบึ้งอะไรก็ไม่รู้ ไฟไหม้แล้ว ก็ยังนอน เฉยอยู่เลย ก็ถูกคลอกเท่านั้นเอง อ้าว จริงไหมล่ะ ไฟไหม้นี่ ถึงตัวร้อนขนาดไหน ใครเขาตื่นเต้น ไฟไหม้นี่ โอ คนมันร้องมันลั่น นอนขี้เซาอยู่ได้เลย ตายแน่ๆ ไม่ตื่นกับเขา ไฟก็คลอกเอาตายเท่านั้นแหละ ฉะนั้น เราจะมี สติแววไว ฝึกจนกระทั่งเป็นสติพละ สมาธิก็คือ การสั่งสมสิ่งที่สูงส่งเข้าไปหาจิต เป็นอธิจิต ที่สมบูรณ์แบบ จะมีความเจริญในจิต ด้วยเจตสิกที่เป็นกุศลเจตสิกใด ก็จะเจริญหมด เป็นกุศลเจตสิกต่างๆ อยู่ในจิต เป็นอธิจิต และมีคุณลักษณะแข็งแรงตั้งมั่น จนกระทั่งเป็นเอง จนกระทั่งเป็นอัตโนมัติ จนกระทั่ง เป็น ตถตา เป็นเช่นนั้นเอง โดยไม่ต้องเป็น คิดว่าต้องไปสังวรให้มัน ต้องไประวังให้มัน ต้องไปบังคับให้มันทำ ไม่ต้อง ไปบังคับมันเลย มันเป็นเอง เป็นอัตโนมัติ ตถตา มันเป็นเช่นนั้นเองเลย เป็นปกติธรรมดาสามัญ ของมัน เป็นสมาธิที่เป็นปกติเท่านั้น เพราะฉะนั้น มันเป็นอย่างไรล่ะ เป็นสภาพ ฌาน ฌานทั้ง ๔ ได้โดย ไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากในฌานทั้ง ๔ สำนวนที่ท่านแปลมา ก็เป็นอย่างนั้นน่ะ มันไม่ยากไม่ลำบาก มันเป็นเองเลย เป็นฌานอย่างตถตา เป็นฌานที่เป็นเอง เป็นพระอรหันต์แล้วมีฌานที่เป็นเอง เพราะหนึ่ง นิวรณ์ ๕ ไม่มี เองเองอยู่แล้ว สามัญปกติจิตของพระอรหันต์เจ้า ก็ไม่มีนิวรณ์ ๕ อยู่แล้ว มันก็เป็นฌานอยู่แล้ว ในองค์ฌาน มีอะไร ในองค์ฌานก็มี มุทุภูเต กัมมนิเย ฐิเต อาเนญชัปปัตเต เพราะฉะนั้น ในองค์ฌาน ที่มี มุทุภูตธาตุ เป็นจิตที่แววไว จะปรับจะปรุงจะเป็นยังไงไป มีปัญญาเข้าร่วม ปัญญาก็เป็น ปัญญาพละ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นพละ เข้าทำงานร่วม ปัญญาก็เป็นอัตโนมัติ เป็นญาณทัศนะ ซึ่งเจริญ ขึ้นเรื่อยๆ ปัญญานี้ก็จะเจริญ ขึ้นเรื่อยๆ เป็นความรอบรู้ เป็นโลกวิทู เป็นพหูสูต ไม่มีตกต่ำเป็นธรรมดา ไม่มีตกต่ำ เจริญขึ้นไปในทางกุศล ยิ่งกุศล กุศลยิ่ง ยิ่งๆ กุศล กุศลยิ่งๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ จริงๆ เดินทางเดียว มีแต่ทางเจริญ มีแต่เจริญด้วยกุศล งอกงามไพบูลย์ เพราะฉะนั้น เมื่อเราเรียนรู้ในจิตของเราถึงกิเลส แล้วก็ล้างกิเลส ฆ่ากิเลส จะเอาสำนวน ที่เอามาใช้คราวนี้ สิกขมาตจินดาประทับใจนัก ใช้ภาษาไทยว่า ขยี้ แหม มัททติ ภาษาบาลีว่า มัททติ ขยี้ ถ้าจะใช้สะกดแบบไทยก็มัททติ ขยี้เราได้ขยี้กิเลสเหล่านั้น อย่าง จริงจัง ทำจนมันหมดจริงๆ เป็นพระอรหันต์ ที่เป็นปกติ มีอัตโนมัติ มีตถตา จิตไม่มีนิวรณ์ เป็นฌาน แล้วก็มีมุทุธาตุ เท่าบารมีของแต่ละคน มุทุภูตธาตุ เป็นลักษณะมุทุ แล้วก็เป็นภูตะนี่แปลว่า จิตวิญญาณ ภูเต ภูตะ แปลว่า จิตวิญญาณ ที่เขามาเรียก ภูต นี่ภูตผีพรายอะไรนี่ จิตวิญญาณ ภูตะนี่หมายถึงวิญญาณ จิตวิญญาณ

เพราะฉะนั้น จิตวิญญาณมีคุณลักษณะของมุทุ ลักษณะของความอ่อน ดัดได้ง่าย ไม่แข็ง ไม่กระด้าง ไม่ดื้อ ไม่ดึง และเป็นจิตที่มีทั้งในสายปัญญา ก็แววไว เร็ว ถึงแม้ว่ามันจะเปลี่ยนแปลงก็เปลี่ยนง่าย คือดัดได้ง่าย ปรับได้ง่าย มุทุ ความหมายสั้นๆ ความหมายหยาบๆ ก็แปลว่าอ่อนเท่านั้นแหละ จะมาแปลว่า จิตอ่อน แล้วมันก็เลอะเลยละ เขาแปลกันมานานแล้ว จิตอ่อนควรแก่การงาน โธ่เอ๋ย จิตอ่อน แล้วมันจะไปทำ อะไรไหว เพราะฉะนั้น เขาก็แปลด้วยความหมายเท่าที่เขารู้ ด้วยพยัญชนะเท่านั้น ไม่รู้สภาวะ เพราะสภาวะ ของมันลึกซึ้ง ธรรมะนี่ สภาวะมันลึกซึ้ง จะเรียกว่า อ่อนโยนก็ได้ ความหมายก็ดี จะอ่อนอย่างสุภาพก็ได้ เป็นลักษณะกุศลทั้งนั้น อ่อนก็คือ จิตหัวอ่อน ที่อาตมาเคยใช้ จิตว่านอนสอนง่าย จิตอ่อนน้อมก็ได้ จิตว่านอน สอนง่าย จิตอ่อนน้อม จิตที่ดัดได้ง่าย และมีคุณลักษณะทางสายปัญญาด้วยมุทุภูตธาตุ ไม่ใช่มีลักษณะ ทางสายเจโต เจโตก็คือเป็นจิตที่อ่อนน้อมอย่างว่า เป็นจิตที่ดัดได้ง่าย เป็นจิตที่ไม่ดื้อดึง ไม่กระด้าง ไม่แข็ง ตีไม่แตก อย่างนี้ไม่เอา ไม่ใช่ เพราะว่าเป็นจิตที่รู้เลยว่า นี่มันมีญาณ มีทั้งคุณภาพ ทางเจโต มีคุณภาพทางปัญญา คุณภาพทางปัญญาก็ อ่อนก็คือมันละเอียด อ่อนละเอียด ไว แววไว ปฏิภาณรอบ รู้เร็ว ปรับตัวง่าย และไปทางกุศลหมด รู้ก็รู้อย่างปัญญา รู้อย่างญาณทัสสนวิเศษ ไม่ใช่ไปรู้ อย่างเฉโก ไม่ใช่ไปเฉลียวฉลาดอย่างเฉโก

สรุปรวมแล้ว แม้แต่ฉลาด ก็ฉลาดรวมทั้งเฉโกของคนอื่นด้วย หรือใครจะเฉโก หรือเฉโกจะเป็นอย่างไรในโลก รู้ทัน ถ้าจะว่าฉลาดเฉโก ถ้าจะว่าฉลาดรู้จักเฉโก แต่เราไม่เฉโก เราซื่อสัตย์ ซื่อตรงเราจริงจัง จริงใจ ไม่ทำ ไอ้ที่มันโกง มันทุจริต ไอ้ที่มันเห็นแก่ตัว ไอ้ที่มันจะเสื่อม มันจะเป็นอย่างไร รู้ทันด้วย รู้นะว่าคิดอะไร รู้นะ ว่าคิดอะไรอยู่ ทำอย่างไรถึงจะได้ นี่แน่ะเห็นไหม โอ้โฮ เรียกว่าอยากได้เลยนะ โอ้ สินค้าชิ้นนี้นี่นะ พอเอามา เสนอปั๊บ ตลาดต้องการเลย ทำไงอยากได้หรือ วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐานเข้า วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เราเริ่มต้นฝึกตนเอง มาตั้งแต่พื้นฐาน ทาน ศีล ทานภาวนา ศีลภาวนา ทำมาเรื่อยๆๆๆ จนกระทั่ง มันก็มีผล ของเนกขัมมะ และปัญญานั่นแหละ คือออกจากสิ่งที่เป็นอกุศล สิ่งที่ทุจริต สิ่งที่ชั่ว เนกขัมมะ ออกจาก สิ่งที่ไม่ดี ไม่งามเหล่านั้นมา ออกมาให้ได้จนเป็นปกติ จนเป็นการสละออก หรือเป็นทานได้จริง เป็นคน ไม่เห็นแก่ตัว หรือไม่เห็นแก่ได้ ไม่ยึดเป็นตัวเป็นตน เป็นของตน เป็นลักษณะของอนัตตา อนัตตานั่นแหละ ไม่ใช่เป็นของตน ไม่ใช่มีอัตนียา ไม่มีอัตตา ไม่มีอัตตา ไม่มีอัตนียา นั่นแหละคือทาน เนื้อหาของทาน จนเป็นธรรมดา เนื้อหาของศีล จนเป็นปกติ จนเป็นอัตโนมัติ จนเป็นตถตา เนื้อหาของศีล ที่แปลว่าปกติ แปลว่าสามัญ แปลว่าธรรมดา แปลว่ามันเป็นอย่างนั้นเองเลย จนไม่ต้องไปควบคุม ไม่ต้องไปบังคับ ไปเข็ญ ไปขืนอะไร เป็นได้อย่างคล่องแคล่ว ว่องไวรอบด้าน ง่ายงาม เป็นอะไรคือ เนกขัมมะ คือออกมาจาก ความไม่ดี ไม่งามทั้งหมด ปล่อยออกมาหมด ด้วยรู้ด้วยปัญญา ด้วยปัญญา ด้วยปัญญา ทำมาเรื่อยๆๆๆ ตั้งแต่หยาบแล้ว ทำมาแล้ว เพราะฉะนั้น บารมี ๔ อันต้นนี่ ตั้งแต่รู้มาต้นๆ มาลำดับ ๆ มาเป็นหยาบ เสร็จแล้ว แรงทางใจนี่ วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน แรง ๔ ตัวนี้ต้องทำ เสริมเข้าไป ต้องมีมากขึ้นๆ

เพราะฉะนั้น พวกเราทุกวันนี้ ฐานของพวกเรานี่ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญานี่ ไม่ต้องพูดมาก ต้องมาพูดกัน เรื่องวิริยะ วิริยะหรือยัง วิริยะจริงแค่ไหน ยิ่งเผลอตัว ยิ่งอยู่กับพวกเราไม่เป็นไรหรอก เราไม่กลัวหรอก อยู่สบายแล้ว ตายก็รู้แล้วว่าเขาก็เผา เจ็บป่วยไม่ดูแลรักษา ก็ให้มันรู้กันไป คือมันชักจะมีที่พึ่งแล้ว มันก็เลย กลายเป็น เห็นแก่ตัว กลายเป็นเฉื่อย สีเฉื่อย เนือยตระกูล กลายเป็นประมาท ตัวประมาทตัวนี้แหละ มันประมาทว่า ไม่ดีหรอก ความเจริญยิ่งกว่านี้ยังมีอีก เราต้องวิริยะ ต้องอดทน นี่พวกเราไม่ค่อยอดทน เหยาะแหยะ เคยไฟแรง เคยอดทนมาเก่ามาแก่ เสร็จแล้วก็พอแล้ว ไฟไหม้ฟาง ต้องเสริมหนุน คุณลักษณะ พวกนี้ ให้ขึ้นให้มาก วิริยะ ขันติ สัจจะ สัจจะ เอาจริง เอาจริง อาตมาแปลสัจจะว่าเอาจริง ถ้าไม่เอาจริง ไม่มีการถึง ความจริง จะจริงขนาดไหนล่ะ เพราะฉะนั้น ต้องมาระลึกถึง วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน อธิษฐานต้อง ตั้งจริงๆ เลยใจนี่ อย่าตั้งไข่ล้มต้มไข่กินอยู่หน่อยเลยนะ เตาะแตะ เตาะแตะ เป็นเด็กไม่โต สักที ตั้งให้อยู่ ตั้งให้แรง ตั้งให้แข็ง ตั้งใจให้มันถาวร ตั้งใจอยู่ดีๆ อย่าเดี๋ยวเอนเอียง เดี๋ยวล้ม เดี๋ยวเลี่ยง เดี๋ยวถอย ไม่เอา ตั้งให้ตรง ตั้งให้แข็งแรง ตั้งให้เดินหน้า เอาให้ชัด ปัญญาก็มีนำพอสมควร

อาตมาไม่เชื่อนะ พวกเราฝึกหัดธรรมะมาแล้ว ถึงขนาดนี้ ๒ ทศวรรษมาแล้ว ไม่เชื่อ พวกเราไม่มีอะไร จะทำให้ตัวเอง อาตมาเชื่อว่า มีที่จะทำให้ตนเอง แต่ เหยาะแหยะ วิริยะอ่อน ขันติอ่อน สัจจะอ่อน ไม่เอาจริง เพราะอธิษฐานอ่อน เพราะการตั้งใจอ่อน ไม่แข็งแรง พยายามเข้าใจความหมาย ที่อาตมาพยายามขยาย พวกนี้ ฟังให้ดีๆ พระพุทธเจ้าตั้งทฤษฎีหลักการ ที่ท่านสอนมนุษย์เอาไว้เป็นอุเทศต่างๆ พวกนี้ ล้วนแล้วแต่ คัมภีรา ทุทฺทสา ทุรนุโพธา สันตา ปณีตา อตักกาวจรา นิปุณา ปัณฑิตเวทนียา ล้วนแล้วแต่ลึกซึ้ง ไม่ได้ตามเห็นได้ง่าย ไม่ได้ตามรู้ได้ง่าย ไม่ใช่เรื่องที่จะคาดคะเนด้นเดา เป็นเรื่องสงบที่พิเศษ สันตา เป็นเรื่องที่ ประณีตสุขุม และมันก็ซ้อนในปณีตานั่นแหละ มันประณีต ละเอียด นิปุณาก็ละเอียด ละเอียด ไม่มีภาษาไทยจะเรียกแล้ว นิปุณา มันละเอียดยิ่งขึ้นกว่า ปณีตา นิปุณา ละเอียด ไปจนกระทั่งถึงนิพพาน ละเอียดลออ สนิทเนียน ซับซ้อนก็รู้ สภาพซับซ้อนที่ไม่สับสน รู้สภาพซับซ้อนอย่างเป็นระเบียบ รู้สภาพซับซ้อน ที่รู้เลยว่า แม้จะซับซ้อน สลับไปสลับมา เป็นปฏินิสสัคคะ กลับไปกลับมา เป็นสภาพ สัจจะย้อนสภาพ อย่างไรก็ไม่สับสน ไม่วุ่นวาย ไม่วน รู้ชัดเจน จะสลับซับซ้อนอย่างไร ก็เข้าใจได้ ไม่มีภาษา หยาบ ที่จะมาพูดแล้ว จะเข้าใจได้จริงๆ ไม่งง ไม่มึน ไม่ปวดหัว ไม่วิจิกิจฉาเลย นิปุณา จึงเป็นเรื่อง ที่รู้ได้ เฉพาะบัณฑิตที่แท้ ปัณฑิตเวทนียา บัณฑิตแท้ๆ ของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรู้ได้ ท่านยืนยันสัจธรรม หรือ ธรรมะของท่าน ลึกซึ้งอย่างนี้แล้ว ก็เป็นลักษณะอย่างนี้จริงๆ

ทุกวันนี้เราพูดกันนี่ อธิบายกันนี่ เรารู้ได้ง่ายขึ้น แต่คนอื่นยัง ทุทฺทสา ทุรนุโพธา อยู่นั่นแหละ ยังเห็นตาม ได้ยาก ยังรู้ตามได้ยาก คราวนี้มีคนทดสอบ เอาดอกเตอร์มานั่งฟัง ดอกเตอร์ก็ยังนั่งฟัง อาตมาก็เห็น ดอกเตอร์ นั่งฟังอาตมาไป ก็พลิกดูหนังสือไป รู้ว่าไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่หรอก เสร็จแล้ว ยังถามเลย พวกที่นั่งอยู่ด้วย คุณมาทำอย่างนี้เพื่ออะไรกันล่ะ เขายังถามเลยนะ เพื่ออะไร จะเอาอะไรกันล่ะ มีจุดมุ่งหมายอะไรกันหรือ ดอกเตอร์มานั่งฟังอาตมาพูด หรืออาตมาอธิบายนี่ลึกซึ้งขึ้นไหม พวกคุณฟังแล้ว โอ้โฮ คราวนี้ ไม่ได้มาฟังคราวนี้ เสียดายตายเลย ก็จริง ซึ่งเราตามไม่รู้หรอก มันซับซ้อนซ่อนเงื่อน ซ่อนเชิง พราง ลวง เขาไม่อยากให้รู้ ซึ่งต่างกันกับทางธรรม ทางธรรมนี่ อยากให้รู้ มารู้ มาเอาไป บางทีเสียสตางค์ จ้างมาเอา นี่ อย่างนั้น อยากให้รู้จริงๆ ให้รู้ให้หมด ให้รู้ให้ครบ มีเท่าไหร่อยากให้หมด ยิ่งให้ยิ่งงอก ยิ่งให้ ยิ่งงาม ยิ่งเอามาแจก ยิ่งรู้สึกว่า เรายิ่งแจกเก่ง ยิ่งแจกยิ่งรู้สึกว่า เราควักกระบะของเรา ออกมาเรื่อย ยิ่งแจกยิ่ง แหม มันจะหมด ควักออกมาเรื่อย เฮ้ย ยังมีอีกนะ เนื้อควักต่อไปอีก เฮ้ย ยังมีอีก ควักออกมาอีก ยังมีอีก ควักออกไปอีก อาตมารู้สึกอย่างนั้นนะ ควักออกมาเรื่อย ยังไม่หมดเสียที ถึงบอกว่า เอ๊ ร้อยปีนี่ อาตมาจะควัก ออกแจกหมดไหมนี่ มันรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ แล้วคุณรู้สึกไหมว่า มันมีใหม่มาเรื่อยๆ จริงๆ มันมีใหม่ มันมีเพิ่ม มันมีลึก มันมีจริง มันมีชัด มันมีของละเอียดลออ มันมีของดี ดีๆๆๆ ดีทั้งนั้นเลย ออกมาเรื่อย

อาตมาก็รู้สึกอย่างนั้น ยังไม่หมด เมื่อไหร่หมดคุณก็คงรู้ละ คงจะอีกนาน มันอย่างนั้นจริงๆ และก็ไม่ได้ เคยย่อหย่อนนะ สมควรที่จะเอามา แต่มีเหมือนกันชักออกมาลึก อันนี้เอาไว้ก่อน อันนี้อย่าเพิ่งเอามา เปิดเผย ประเดี๋ยว ตาจะพร่า เพชรเม็ดนี้มันจัดไป มันจัดไป ถ้าเอามาปั๊บนี่ อื้อฮื้อ เดี๋ยวตาบอดเลย แสบตา มันรับ ไม่ได้ มันมีลักษณะอย่างนี้บ้าง เพราะฉะนั้น ยังไม่ถึงกาละ เราก็เอาไว้ก่อน แต่อันนี้ถึงกาละ ถึงเวลา เอามา มา ขนาดนั้นนะ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น globalization ก็เป็นเพชรเม็ดหนึ่งเหมือนกัน แต่ชักมาขยายแล้ว แทนที่ คุณจะตาพร่า คุณหลับตาเลย เอาอะไรมา คือมันโง่ มันไม่รับน่ะ เอาอะไรมาวะ ไม่เห็นเป็นธรรมะเลย ปิด ส่วนผู้ที่มี จริตทางนี้บอก โอ้โฮ มัน อย่างนี้มัน ฮือ ตาจะพร่าเอานะ ระวังเถอะ ตะกละตะกลาม เดี๋ยวก็ ตาพร่า กระโดดใส่เลย ระวังนะ ท้องแตก ชอบ โอ๊ อย่างนี้ใช่ ธรรมะอย่างนี้ แนวนี้เราชอบ ซึ่งธรรมะนี่ มันจะเดิน ทางสายอนุรักษ์มากกว่า ธรรมะนี่ คนจริตอย่างนี้จะน้อย จริตไปทางโลกียะ หรือว่าทาง ไม่ใช่โลกียะ จะเรียกโลกียะก็ถูก จะเรียกทางวัตถุ จะเรียกทางโลกๆ ธรรมดาสามัญออกมาหาโลกียะนี่ มันก็ใช้ทิศทางนี้ แต่เราจะทิ้ง นี่มันภาษาง่ายๆ มันก็เลยทิ้งพาซื่อ ความจริงแล้วไม่ทิ้งพาซื่อ เราให้มีตัว มันมีตัวเหมือนว่า มียาง มียางเหนียวเชื่อม โลกียะ โลกุตระ มียางเหนียวเชื่อม เราล้างไอ้ตัวเชื่อมนี่ออก ล้างตัวเชื่อมนี่ ออกหมดแล้ว เราก็อยู่ด้วยกันกับโลกียะ โลกุตระ ไม่ติดกันแล้ว

เพราะฉะนั้น เราไม่ได้ไปทิ้งโลกียะ เราไม่ได้ไปทำลายโลกียะ เราไม่ได้ทำลายหรอก มันมี แต่ว่าเราก็อยู่ ด้วยกัน เกื้อกูลกัน เราอยู่อย่างมีปัญญา เราอยู่อย่างเหนือแล้ว เป็นโลกุตระแล้ว เราก็ช่วยพวกนี้ ซ้อนลงไปอีก เราก็เปลี่ยนแปลงแก้ไข โดยที่เขายินดีให้เราเปลี่ยนแปลงแก้ไขโลกียะนี่ เปลี่ยนแปลงมาในรูป ที่เราเห็นว่า ดีกว่า ไม่ได้ไปทำร้าย ไม่ได้ไปทำลายโลกียะ ไม่ได้ทิ้งขว้าง ไม่ได้ใจดำ เราเอาแต่ส่วนดี เราไม่เอาขี้กลาก เราไม่เอา มลพิษ เราไม่เอาขยะของมันมาใช้ เอาแต่ที่เนื้อๆ โลกียะเขาก็มีเนื้อ นั่นเป็นเนื้อ แล้วเราก็รู้ชัด เราเป็นคนตาดี มีปัญญารู้ดีว่า อะไรเป็นขยะ อะไรเป็นพิษ เหมือนกับมีด เราก็เอามาใช้ประโยชน์ เราไม่เอา ไปใช้โทษ เหมือนไฟฟ้า เราเอามาใช้ประโยชน์ เราไม่เอามาใช้โทษ เหมือนฝิ่น เราก็เอามาใช้ประโยชน์ เราไม่เอาใช้โทษ อยู่เหนือมันแล้ว จิตใจเราไปตกเป็นทาสฝิ่น ไม่ได้ตกเป็นทาสมีด ตกเป็นทาสไฟฟ้า ไม่เป็น ทาส ไม่โง่ ฉลาด ควบคุมได้อยู่เหนือ เอามาใช้แต่ด้านประโยชน์ อย่างนั้นโลุกตระ แต่เราก็ต้อง ใช้อันนั้น เพราะโลกุตระจริงๆ ไม่มีอะไร โลกุตระจริงๆก็คือโลกียะ โลกุตระจริงๆก็คือโลกียะที่รู้เท่าทันโลกียะ แล้วเรา ก็ใช้โลกียะแต่ส่วนกุศล คนที่ยังหลงผิดอยู่ในอกุศล ก็สอนเขาแนะนำเขา ช่วยเขาให้หลุด จากอกุศล มาเป็นกุศลด้วย นี่คือพุทธ พุทธเป็นอย่างนี้ พุทธช่วยโลกอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อได้แล้ว บารมีที่สั่งสม ก็เป็น เมตตา อุเบกขา

เพราะฉะนั้น ตอนนี้เรามาถึงฐานที่จะ เราก็ได้ขึ้นมาบ้างแล้วนะเมตตา อุเบกขา เราก็ได้ขึ้นมาบ้าง แต่มันก็ยัง ขาเกๆ อยู่บ้าง เมตตาก็ยังเป็นตาตุ่มๆ อยู่บ้าง บางทีก็เมตตาเกินประมาณไป บางทีก็เมตตาน้อย ไม่ค่อยเอื้อ ไม่ค่อยใจกว้าง ไม่ค่อยใจดีอะไรนักหนา มันก็เลยแค่นั้น เพราะฉะนั้น เราต้องอบรมกันต่อ ฝึกฝนต่อ

อาตมาได้อธิบายถึงโพชฌงค์ ซึ่งจะต้องมีอยู่ด้วยกัน โพธิปักขิยธรรม ขาดโพชฌงค์ไม่ได้ โพธิปักขิยธรรม ก็คือ แกนของโพชฌงค์ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ นี่คือ โพชฌงค์ ๓ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ อิทธิบาทคือวิริยะ ธัมมวิจัยคือสัมมัปธาน สัมมัปปธาน ๔ พวกคุณ อาจจะเข้าใจได้น้อยหน่อย เพราะว่าพูดถึงน้อย มีสังวรปทาน มีปหานปทาน หรือ จะเรียก ขยี้ปทาน ก็ได้ เป็นศัพท์ที่สิกขมาตจินดาประทับใจนักนี่น่ะ มีสังวรปทาน มีปหานปทาน หรือ มัททติปทาน ก็ตามใจ แล้วก็มี อนุรักขณาปทาน ภาวนาปทาน แล้วก็อนุรักขณาปทาน คือสังวรนี่ ก็ต้องพยายาม มีตัวระวังระไว มีตัวที่ จะต้อง สังวรอยู่เสมอ ก็ทับศัพท์ ก็พอจะรู้ว่าเป็นภาษาไทยมากแล้ว ไม่สังวรอะไร ไม่ควบคุมดูแล ไม่ระมัดระวัง ไม่ได้ ต้องระมัดระวัง ต้องรู้ตัวว่า ตัวเองเป็นนักปฏิบัติธรรม ตัวเองที่จะเดินทาง ตั้งใจ สังวร ก็คืออธิษฐาน ให้มีวิริยะ ขันติ สัจจะนั่นเอง สังวร สังวรก็คืออธิษฐาน คือตั้งใจเสมอ ตั้งให้มีสติเสมอ ให้มีธัมมวิจัยเสมอ ให้มีความแข็งแรง ให้มีวิริยะอยู่ในตัวเสมอ ให้มีวิริยะ ขันติ สัจจะ ต้องอดทนนะ สังวรนี่ อดทนนะ ทำเหยาะๆ แหยะๆ ไม่ได้ มันยิ่งสูงขึ้น สูงขึ้น มันยิ่งต้องสูงขึ้น ต้องพากเพียรนะ ภูเขาสูงนี่ อู้ย ขึ้นไปสูงนี่เมื่อย ก็มากแล้ว ไอ้ยิ่งสูงก็ยิ่งแรงดึงดูดของโลกก็มาก ไอ้ความชัน ความอะไรก็อู๊ย ยิ่งยากจริง อะไรต่ออะไร ยิ่งขึ้นไปหาปลายนี่ ไอ้ฐานจะรองรับก็น้อยลง มันหยาบๆ น้อยลงเรื่อยๆ มันละเอียดขึ้น ไปหาที่เกาะ ที่ยึด อู้ย จะลื่นเรื่อยเลย จะรูดลงมาหาที่เก่า จะลื่นลงมาหาที่เก่า ยากขึ้น มันต้องปีน ยาก ปลายเขาสูงนี่ มันอื้อฮือ แรงดึงดูดของโลกก็มาก ความสูงก็ โอ้โฮ ลมก็แรง จะพัดหลุดมิหลุดแหล่ ไอ้ที่เกาะ ก็น้อยลง

เพราะว่ายิ่งขึ้นไปหาปลายแหลม มันก็ยิ่งหยาบน้อย มันก็ยิ่งละเอียด อู๊ย จับก็ลื่น จะพานตกง่ายๆ ต้องอุตสาหะจริงๆ วิริยะมาก ขันติ อดทน ฮึดสู้ เอาจริงๆ เอาจริงๆ ถ้าไม่เอาจริงไม่ได้ถึงของจริง เพราะฉะนั้น สังวรปธานก็คือตั้งใจ คืออธิษฐาน วิริยะ ขันติ สัจจะ ให้รวมพลังเข้า เสร็จแล้ว จนหั่นมันได้ ฆ่ามันได้ ขยี้มันได้ ปหานปธาน เมื่อได้ผลก็คือ ภาวนาปธาน ภาวนะแปลว่า การเกิดผล ได้ผลก็สะสมผล แล้วก็รักษาผล อนุรักขนาปธาน อย่าให้ผลนี่เสื่อม อนุรักขนาปธาน ได้ผล รักษาให้ดีนะ เผลอๆ โผล่ๆ ระวัง เหมือนกับ ที่เขาเล่าเป็นนิทาน สานเชือกหนัง สานไป ควั่นเชือกนั้น ควั่นไปๆ แล้วมันก็หย่อนลงใต้ร่อง ไปเรื่อยๆ มีหมาอยู่ข้างล่าง กัดกินเชือกไปเรื่อยๆ ไอ้เราก็นึกว่า ไอ้เราก็เพลิน ถักเชือกหนังไปเรื่อยๆ ถักก็นึกว่า ได้ยาวแล้วนะ นึกว่า เอ้า หมากินอยู่ข้างหลังนั่น รักษาไม่อยู่ ต้องทบทวนตรวจตราผลของเราที่ได้ แข็งแรง ดีอยู่หรือ จริงหรือไม่ ตรวจสอบไปเรื่อยๆ บางทีมันหลงผิดได้ ตรวจสอบ เออจริง ยังอยู่ดีครบนะ แข็งแรง ไม่ท้อถอย ไม่เผลอไผล ไม่ประมาท ปล่อยปละละเลย ทิ้งขว้าง เออ ยังอยู่ดี แข็งแรง จะเป็นฐานแท้ ที่ซ้อนเนียน ซ้อนแข็งแรงขึ้น เป็นของจริงมากขึ้นๆ นี้สัมมัปปธาน ๔ นี่เป็นตัวปฏิบัติ เป็นตัว ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ จะต้องทำงาน อิทธิบาทหรือวิริยะเป็นนี่แหละ โพธิปักขิยธรรม สามตัวแรก สติปัฏฐาน ก็คือสติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจัยก็คือสัมมัปปธาน อิทธิบาท ๔ ก็คือวิริยสัมโพชฌงค์

นี่คือขบวนการ ๔ ๔ ๕ ๗ ๘ อาตมาว่า อาตมาหยิบหลักสำคัญของพระพุทธเจ้ามาขยาย แล้วก็พยายาม ใช้ภาษา ทำให้พวกเราเข้าใจอะไรต่ออะไร จำเป็นหลักไว้ในตัว แล้วก็มีรายละเอียดอะไร ก็ได้อธิบาย ให้คุณฟังไปแล้ว แม้คุณจะอธิบายไม่ได้เหมือนอาตมา แต่อาตมาเชื่อว่า เข้าใจในๆ นี่อธิบายไม่ออก เหมือนอาตมาหรอก เพราะคุณไม่เก่งเท่าอาตมา ไม่ต้องมายิ้ม เก่งเท่าก็ไม่ว่าหรอก อยากให้เก่งเท่านะ จะได้เบางานบ้าง อาตมานะไม่ต้องอธิบายเลย มาถึงปั๊บจะอธิบาย เอ้า คนนี้แทน อธิบายได้แทน อธิบาย ได้ปร๋อเลย เหมือนเท่า เก่งกว่าด้วย แหม ยิ่งเยี่ยมใหญ่เลย กลัวจะดีเกินน่ะนะ ดีมันมีเจ็ดดีไง ไปเจอดีเกินสิ

เพราะฉะนั้น ก็พยายามให้เกิด ๔ นี่ให้ได้ แล้วมันก็จะได้ผลตามมา ก็คือสั่งสมลงเป็นอินทรีย์พละ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพธิปักขิยธรรมอีก ๒ หลักกลาง อินทรีย์ ๕ พละ ๕ ก็คือสั่งสมให้เกิด ปีติกับปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ได้ดี แล้วก็เนียนลึกซึ้งขึ้นไป แน่แน่นมั่นคง เป็นอัปฺปนา พฺยัปฺปนา เจตโส อภินิโรปนา เป็นพละ เป็นกำลัง ก็เป็นพละ๕ อินทรีย์๕ พละ๕ สั่งสมลงไปทั้งนั้นๆ ก็ด้วยสภาพของสัมโพชฌงค์ มรรค ๘ โพชฌงค์กับมรรค ๘ นี่ของโพธิปักขิยธรรม โพชฌงค์คือตัวปฏิบัติ คือตัวที่สั่งสมให้เกิดสภาวจิตทั้งหมด ก็คือสมาธิ สั่งสม จนกระทั่ง สุดยอดแห่งสุดยอดทั้งหลายแหล่ เป็น เอเสว มัคโค นัตถัญโญ เป็นตัวหลักใหญ่ ทฤษฎีใหญ่ สูตรใหญ่ อุเบกขา อาศัย แม้พระอรหันต์ก็อาศัย พระอรหันต์ก็อาศัย มรรคองค์ ๘ พระอรหันต์ก็อาศัย อุเบกขา เป็นฐานอาศัย เมื่อเรามี เราก็ต้องอยู่ เราก็ต้องเดิน เราก็ต้องไป ก็คือทางเดิน ที่เป็นสัมมาอริยมรรค ท่านเรียกว่า สุคโต สัมมัคโต ตถาคโต ถ้าพระพุทธเจ้า เราก็เรียกว่า ตถาคโตเลย ท่านไปดีแล้ว ไปในทางไหน ก็มีสัมมาอริยมรรค นั่นแหละเป็นทาง เป็นกุศลทุกอัน กุศลเจตสิก กุศลจิต เป็นตัวทำงาน เป็นตัวบงการ กุศลจิตทุกตัว กุศลเจตสิกทุกตัว เป็นตัวบงการให้เดินไป เพราะจิต เป็นสภาวะ ยังมีอยู่ เรายังไม่ตาย เรายังมีจิตอย่างนี้อยู่ หรือคุณจะเกิดอีกกี่ชาติ ถ้าคุณเป็นอริยะ เป็นอรหันต์ จะเป็น พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ อะไร อย่างไรอีกของนั้นก็มีจริง และเป็นสัจจะว่า สิ่งที่ไม่มีไม่เป็น สัพพปาปัสสะ อกรณัง สิ่งที่มีที่เป็นกุศล ยังไม่ถึงพร้อม ไม่สันโดษในกุศลไปอีก มีอีก แม้แต่ไปเป็นพระพุทธเจ้า ก็ยังมีกุศลที่จะเจริญต่อไปอยู่ เราจะรู้จัก ทางเจริญทางกุศล แล้วก็จะมีแต่เจริญ เจริญๆๆ ไม่มีหยุดยั้ง จนที่สุด ก็เจริญต่อก็ได้ ไม่เจริญต่อ ก็ปรินิพพาน

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าถึงได้เจริญ จนกระทั่งเหลียวไปดูคนตามหลัง ท่านถึงได้ตรัสว่า อฐานะ ที่ในยุคใด สมัยใด ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติแล้ว จะมีคนที่จะมีคุณธรรมเท่าๆกัน ใกล้ๆกัน หรือคนอย่าง พระพุทธเจ้า นี่ จะเกิดพร้อมกัน ๒ คน หรือใกล้ๆ กันกับพระพุทธเจ้า มีคุณธรรมใกล้ๆ ท่านนี่ จะเกิด พร้อมกัน ในยุคหนึ่ง สมัยหนึ่ง พร้อมกัน ๒ องค์ อฐานะ ไม่ใช่ความเป็นไปได้ ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ไม่ใช่เรื่อง จะเป็นไปได้ เพราะว่าท่านไปลิ่ว ไม่ต้องเอาอะไร ...

อาตมาคืออาตมา อาตมาจะดีหรือไม่ดีก็คืออาตมา แม้คุณเอง คุณจะนับถือ ยกย่อง หรือคุณจะดูถูก ดูแคลน อาตมาก็ว่า อาตมาเป็นตัวของตัวเองแล้ว คุณจะดูถูก ดูแคลน อย่างไร อาตมาก็ไม่ได้เสื่อม ลงไปกว่า ที่อาตมาควรจะเป็นหรอก เพราะอาตมาเชื่อว่า อาตมา เป็นตัว ของตัวเอง ได้มากแล้ว เพราะฉะนั้น ใครจะมาด่า ไม่ใช่ว่าเป็นคนหน้าด้าน ด่าไม่รู้จักฟัง ฟัง แล้วอาตมาก็ว่า อาตมาฟัง แล้วเอามาคิด เอามาเปรียบเทียบ เราจะไปดูถูกดูแคลนเขาได้หรือ เรารับฟัง มีดี เราก็เห็นจริง เอ้อ จริงนะ เขาพูดถูกนะ เขาเข้าใจ เขาดี หลายอย่างเขาดีกว่าเรา หลายอย่างเขา โอ้โฮ เก่งนะ ค้นคว้าดี ใช้สัญญา จำได้ดี มีอะไรๆ ต่างๆ นานา อาตมาก็เห็นดี ... ก็เอาส่วนดีนั้น อะไรที่ยังเพี้ยนอยู่ ผิดอยู่บ้าง อาตมาก็ ท้วงบ้าง ท้วงไปบ้าง ท้วงได้ อาตมาก็ท้วง ท้วงไม่ได้ อาตมาก็ไม่ท้วง ...

เพราะฉะนั้น พวกเราจึงมีมานะที่ทะเลาะกันมาก กับคนอื่นคุณวางใจแล้ว คุณไม่ไปแข่งเขาหรอก แข่งทำไม ก็รู้อยู่แล้วว่า เขาไม่มีอะไร ดีไม่ดีเป็นมานะอีกชนิดหนึ่ง ไปดูถูกเขาข่มเขาด้วย มากไป ไปดูถูกเขาข่มเขาด้วย พอดูถูกเขา ข่มเขาแล้วนี่นะ มันก็ไม่ทะเลาะกันอย่างจุกจิกหรอก มันทะเลาะกันก็ พอเจอกันก็ว่ากันเลย ทะเลาะก็ตีกันไปเลย ถ้าไม่ตี ก็ต่อยกันไปเลย เหมือนหมาใหญ่กับหมาเล็กน่ะ หมาเล็กเห่า ...เสียงหมาเห่า... หมาใหญ่ก็เฉย ไม่กลัว แล้วก็ไม่ทำร้ายด้วย ช่างแกเถอะ ถึงแกจะกัดข้า ก็กัดไม่เข้าหมาเล็ก หมาใหญ่ก็เดิน เฉย หมาเล็กจะกัด จะงับ อย่างมากก็ เสียง แฮ่ แค่แฮ่ คำราม เท่านั้นแหละ หมาเล็ก ได้ยินเสียงวิ่งเลย จะแค่นั้นจริงๆ แต่นี่มันตัวไล่ๆ กันนี่ มันก็โอ๊ย อาตมาละเหนื่อยจริงๆ นี่พยายามอธิบาย ธรรมะให้พวกคุณ รู้ตัวนะ แก้ไขซะ ประสานกันให้ได้ สมานัตตตา แก้ไขกันให้ได้

สังคหวัตถุ ๔
ทาน
เปยยวัชชะ
อัตถจริยา
สมานัตตตา

สละให้ได้ ปล่อยให้ได้ วางให้ได้ คนอย่างพวกเรานี่ คนดี คนพากเพียรมาเสียสละ มาถึงขนาดนี้แล้ว ยังจะลบหลู่ดูถูก ยังจะมาย่ำยี ทำร้าย ทำลายอะไรกันนักกันหนา มองจุดดีกันให้ออก

เพราะฉะนั้น ผู้ใดปากไม่ค่อยดีนัก เอาแต่ตำหนิ เปยยวัชชะ พยายามดื่มคำตำหนิกันให้ได้ เออ คนนี้ทีไร ก็อย่างนี้แหละปาก ปากหนอปาก ก็ฟัง ดื่มกันให้ได้ หัดรับคำติเตียนกันให้ได้ แล้วพวกเราก็ถนัดติ ไม่ใช่ ถนัดชม ก็รู้อยู่แล้วว่า เราได้ดีเพราะติ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า เราจะติเธอแล้วติเธออีก สายท่านพุทธทาส แปลว่า กระหนาบแล้วกระหนาบอีก อาตมาแปลว่า กระหน่ำแล้วกระหน่ำอีก ก็นิคคหะ คำเดียวกันนี่แหละ พระบาลี ตัวเดียวกันนี่แหละ นิคคหะตัวนี้แหละ กระหนาบแล้ว กระหนาบอีก ติกันไป ติกันแล้วกันอีก ก็นี่แหละ เพราะเราติกันเก่ง เพราะฉะนั้นก็พยายาม คนติเก่งจนกระทั่งไม่รู้จังหวะ ไม่รู้จักกาลเทศะ ไม่ดูอารมณ์ กันบ้างเลย ก็หัดระวังบ้าง ดูกระแสลมบ้าง เป็นนักอุตุวิทยาบ้าง แหม ติกันตะพึด ไม่มีอุตุวิทยา บ้างเลย ก็ไม่ดี แล้วคนที่ถูกติ โดยประเภทที่ แหม สลาตันมา ไม่ดูฤกษ์ไม่ดูยาม รับไม่เป็น อย่าไปอ่อนแอนัก สลาตันมา อื้อฮือ โว้ยมาไม่มีท่าว่าจะบอกทันเลยนะนี่ วัดอากาศไม่ทันเลย ก็หัดรับลูกให้ดี

เพราะฉะนั้น ท่านขยายความเปยยวัชชะว่า ปิยวาจา ไอ้การมานั่งชมกัน พูดกันอันเป็นที่รัก ชมกันเป็นที่รัก อาตมา ไม่สงสัยหรอก เอาแต่ป้อยอกันเป็นที่รัก อาตมาก็ไม่สงสัยหรอก แต่ติกันแล้วเป็นคำที่รับกันได้ ถือเป็นคำที่ดี การติถือเป็นคุณค่า และรับคำติกันเป็น ติกันก็ประมาณเป็น คนรับคำติ ก็ทนทานต่อคำติได้ อย่างนี้ ถือเป็นคำที่รัก เป็นปิยวาจา เป็นวาจาที่น่ารัก เพราะในพวกเรานี่ มีวาจาที่น่ารักกว่าคนข้างนอกเขา ที่เขามีแต่คำป้อยอกัน ทำเป็นแกล้งสรรเสริญ ยกยอ ยกย่องกันไป ไม่ได้เรื่องได้ราว บางทีไม่เป็นจริง ก็แกล้ง ป้อยอกันไป ทุเรศ จริงๆไม่ได้เป็นวาจาที่น่ารักหรอก ใส่หน้ากาก pretender นักเสแสร้ง แกล้งมารยาท มารยา แต่พวกเรานี่ ทำอย่างนี้นี่แหละ แล้วเราก็รับคำกันได้ อย่างนี้เรียกว่า คำที่น่ารัก เสร็จแล้วก็เกิด อัตถจริยา

อัตถจริยก็คือ ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญานั่นเอง ไม่มีอื่น อัตถจริยา ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา จะเกิดเนื้อ ในอัตถะก็เนื้อแก่น สาระ อัตถะ พฤติกรรม จริยา ก็จะเกิดขัดเกลา แก่นจริยานี่ แก่นสารของพฤติกรรม ของเรา ขัดเกลาพฤติกรรมของเราขึ้นมาเรื่อยๆ เป็นอัตถจริยา เข้าไปหาแก่น เข้าเป็นผู้มีปาสาทิโก มีอาการ ที่น่าเลื่อมใส มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ดีขึ้นเรื่อยๆ พฤติกรรมดีขึ้นเรื่อยๆ พฤติกรรมอย่างไร มั่นคง ศรัทธาเป็น ศรัทธาพละ มั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มั่นคงในพุทธธรรม รู้จักพุทธธรรม และเรา ก็เป็นสงฆ์ ที่เป็นสมณะหนึ่ง สมณะสอง สมณะสาม สมณะสี่ เป็นเนื้อแท้ เนื้อแท้ เป็นลูก พระพุทธเจ้า แท้ๆ ขึ้นมาจริงๆ เป็นอาริยะ เป็นอาริยะทั้งสติ เป็นอาริยะทั้งธัมมวิจัย เป็นอาริยะทั้งวิริยะ เป็นอาริยะทั้งปีติ เป็นอาริยะทั้งปัสสัทธิ อาริยะทั้งสมาธิ อาริยะทั้งอุเบกขาขึ้นมาจริงๆ เลยเรื่อยๆ นั่นแหละ เป็นเนื้ออัตถจริยา ศรัทธาในสิ่งนี้ ไม่ใช่ศรัทธางมงาย ไม่ใช่ศรัทธาไม่รู้ ศรัทธาที่มีปัญญาเข้าร่วม เป็นญาณทัศนะ ที่ถามแล้วนี่ ถามเมื่อวานนี้ ย้ำมาว่า ตรงไหนขีดขอบอาริยะ

ตรงปัญญาที่เป็น ภาวนามยปัญญา มีปรมัตถ์แท้ เห็นของจริงตามความเป็นจริง เกิดบทบาท แม้กำลัง ทำได้อยู่ นิดหนึ่ง ก็กำลังเป็นอาริยะในช่วงนั้น ถ้าทำได้หนาได้แน่น ได้มากได้แข็งแรงขึ้นมาเท่าใด ก็ยิ่งเป็น สมาธิ ก็ยิ่งเป็นของจริงที่มั่นคงขึ้นๆ มั่นคงขึ้นๆ เป็นอาริยะที่แท้อย่างนั้น ศรัทธา เชื่อ เพราะมีของจริง ไม่ใช่เรื่องงมงาย เชื่อแต่แค่ภาษา เชื่อแต่แค่ความหมาย เชื่อแต่แค่ตรรกศาสตร์ ไม่ใช่เชื่อแค่นั้น ศรัทธา

ศีลล่ะ หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ให้ปฏิบัติพิสูจน์ ปฏิบัติได้หมดจนเป็นปกติ จนเป็นธรรมดา เป็นผู้ที่มีศีลที่เคร่งได้ เป็นศีลที่แข็ง เป็นศีลที่ละเอียด เป็นศีลที่ยาก เป็นศีลที่เบา อะไรก็ตามใจเถอะ ตั้งอะไร ข้ออะไร มากำหนด ก็ทำได้หมด ไม่ได้หมดก็ได้มาก ได้อย่างไม่ยาก ได้โดยสบาย มีศีลเป็นธรรมดา เป็นปกติ หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เรามีกัน โอ้ย ไม่ขัดข้อง ไม่ใช่บอกว่า อย่ามาแอบกินข้าวเย็นนะ ก็มาแอบกินอยู่ ไม่ ทำได้สบาย ไม่ละเมิด

ปีนี้ท่านบินบน ก็ให้ของดีนะนี่ พระเกจิเมื่อวานนี้ ใครละเมิดก็ไปแก้ไขดีๆ ปรับปรุงดี ไม่ต้องถล่มกันมาก หรอก อาตมาก็เมื่อยเป็นเหมือนกันนะ เพราะฉะนั้น ให้สำนึกของเราเอง แก้ไขของเราเองให้ดีๆ เพราะฉะนั้น ศรัทธาเป็นความเชื่อที่มีปัญญา ศีลก็เป็นได้แล้วเป็นปกติ จาคะก็คือตัวสละออกจริงๆ ปัญญาก็เท่านี้แหละ อัตถจริยามันมีจริง เนื้อหาของสมานัตตตานี่แหละ สมานัตตตาไม่ใช่ อัตตาทะเลาะ ต้องสมานทะเลาะ ก่อนเหรอ สมานโดยไม่ทะเลาะ ไม่ดีกว่าเหรอ ทำความรู้จักทะเลาะ หรือ ทำความรู้จัก พูดไปเรื่อย ทำความรู้จัก รู้จักกันให้ดี รับลูกกันให้เป็น แล้วก็แก้ไขกัน เอ๊า คนนี้มันหยาบอยู่ ก็แก้ไขกัน เกลากันขึ้น ให้สู่สภาพที่

(อ่านต่อหน้า ๒)

GLB1K.TAP