วิธีแก้จิตกระด้าง
โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์ เมื่อ ๑๒ มี.ค. ๓๐ ณ พุทธสถานสันติอโศก

เราก็มาฟังสิ่งที่สมควรจะได้ฟังต่อ เป็นการทำให้เกิดบุญกิริยาวัตถุกันให้จริง กิจวัตร หรือสภาพที่เราเป็นอยู่พวกนี้นี่ ถ้าเผื่อว่ามันดำเนินไปได้นานๆ ดำเนินไปได้คง สภาพ เขาก็เรียกว่าเที่ยงแท้ หรือเรียกว่าถาวร เรียกว่ายืนนาน

สิ่งทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่ตั้งอยู่จนนิรันดร์ แต่สิ่งใดที่เป็นความดี เป็นกุศลนี่ เราจะต้องพยายาม ตั้งใจบูรณะ ตั้งใจกระทำ ตั้งใจสืบสานด้วยอุตสาหะวิริยะเอาไว้ เมื่อสิ่งนี้แน่ใจว่ามันเป็นดี เป็นสิ่งที่ดี เป็นความดี ความถูกต้อง ที่จะต้องให้เป็นอยู่ ให้เกิด อยู่ ให้มีอยู่ เราก็จะต้องกระทำไว้ ตั้งแต่เรา ประจำตัวเรา ไปจนกระทั่งทำแล้วเป็น พฤติกรรม เป็นจารีต เป็นประเพณี เป็นวัฒนธรรม เป็นกิจกรรม เป็นกิจวัตร ที่เกิดอยู่ ในหมู่ ในกลุ่ม ในสังคม ก็จะต้องให้เกิดอยู่เสมอ ให้เที่ยงแท้ ให้ยืนนาน ให้สถิตเสถียร จนกว่าจะแน่ใจว่า มันควรเลิก ควรปลด ควรปล่อย เราก็รู้ด้วย สติสัมปชัญญะปัญญาของเรา ว่า สิ่งนี้ พฤติกรรมนี้ การกระทำอย่างนี้ ควรเลิกแล้ว ควรลด ควรรา ควรปล่อย ควรหยุด ควรไม่ให้เกิดอีก ไม่ให้มีอีก เพราะว่ามันไม่ดีแล้ว ไม่สมควรจะตั้งอยู่แล้ว ก็ค่อยเลิกไป แต่ถ้าสิ่งใดที่ยังดีอยู่ เราก็จะต้อง ยังกุศลนั้น ให้ถึงพร้อมอยู่ ด้วยความรู้ ด้วยความอุตสาหะ พากเพียร ด้วยความยินดี ใช้อิทธิบาทอยู่ มีความยินดี มีความวิริยะ มีจิตตะ มีวิมังสา วิมังสาจะเป็นตัวรู้อยู่ตลอดเวลา ว่าพิจารณาไตร่ตรองอยู่เสมอ ไม่ใช่ทำไปแล้วก็ทำสักแต่ ว่าทำเป็นสีลัพพตปรามาส ทำเป็นจารีต เป็นประเพณี โดยไม่รู้ว่ามันควรหรือไม่ ทั้งๆที่ มันล้มเหลวแล้ว มันเพี้ยน มันแปร มันถูกอะไรมาแซม มาแซง มาทำให้มันเสียรูป เสียเรื่อง เสียความจริง เสียคุณความดีคุณค่าอะไร ของมันไปแล้ว เราก็ไม่มีวิมังสา ไม่เคยได้ ตรวจตรา ไม่เคยได้ไตร่ตรอง ไม่ได้ปรับปรุง หรือว่าไม่ทำให้มันได้ดี เพราะองค์ประกอบ แต่ละอย่าง มันก็สามารถที่จะมีอะไร ผสมผสานแทรกแซง หรือว่าแปรปรวน หรือว่าไม่ เหมาะสมกับยุค กับสมัย อะไรต่างๆพวกนี้ ได้เหมือนกัน เราก็จะต้องมีวิมังสา มีธรรมวิจัย มีการรู้ด้วยสติสัมปชัญญะปัญญา ถ้าเผื่อว่าเราเป็นผู้ที่มีสติ มีสัมปชัญญะ มีปัญญา ไม่ใช่พาซื่อ ซื่อเด๋อๆไปเฉยๆ เราก็จะต้องรู้ องค์ประกอบ รู้สิ่งที่ให้ประโยชน์ ให้คุณค่า อะไรต่ออะไร อยู่นั้นไปเรื่อยๆ เรามีกิจวัตร เรามีการเป็นอยู่ มีระบบ มีทั้งระเบียบ มีวินย มีกฎ มีหลัก มีวิธีการ มีหลักการต่างๆที่เราได้ใช้ ได้กระทำอยู่ทุกวันนี้ อาตมาก็เห็นว่ามันดี หลายๆ อย่างมันก็ดี แล้วเราก็พิจารณากันอยู่ตลอดเวลา ปรึกษาหารือ ไตร่ตรอง ตรวจสอบดูว่า อะไรมันดี มันไม่ดี อะไรไม่ดีปรับปรุงขึ้นอีก อะไรที่มันดีอยู่แล้ว ก็พยายามบูรณะ พยายามกระทำให้มันทรงไว้ ตั้งไว้ อย่างที่เป็นอยู่น่ะ

นี่เป็นเรื่องของมนุษย์ที่จะต้องรู้จริงๆ แล้วก็กระทำจริงๆ เราได้กระทำสิ่งที่ มันยากนะ มันยาก ให้มันตั้งอยู่ ให้มันเกิดขึ้น กว่าจะได้ผู้ได้คนอย่างที่พวก็ราเป็นอยู่ ทุกวันนี้นี่ ดูอุดมสมบูรณ์ อบอุ่นพอใช้ทีเดียว อุดมสมบูรณ์ อบอุ่นพอใช้ นี่อาตมาพูดในฐานะ ตัวอาตมา ซึ่งอาตมาเห็นว่า ตัวเราก็เท่านี้ แล้วทำงานทำการ ทำให้พวกเราได้เกิดความรู้ ได้เกิดความเป็นไป ได้พัฒนา อะไรต่างๆนานา มาจนกระทั่งสละมาอยู่ในลักษณะมักน้อย สันโดษ อยู่กันอย่างที่เป็นอยู่ได้ ขนาดนี้นี่ กินๆอยู่ๆกันอยู่อย่างนี้ ทำงานทำการสร้างสรร พัฒนาตน มีโพชฌงค์ มีโพธิปักขิยธรรม เป็นตัวหลัก ทฤษฎีหลักของชีวิต ที่เราใช้จริงๆ นำมาประพฤติปฏิบัติอบรมฝึกฝนตนจริงๆ ใช้ทฤษฎีนั้น ทฤษฎีโพธิปักขิยธรรม หรือทฤษฎี โพชฌงค์ ทฤษฎีที่ทำอยู่ประจำวัน เป็นมรรค ๘ มรรคองค์ ๘

เราทบทวนทิฐิอยู่ทุกวัน ให้ทิฐินี้มันตรง อะไรมันเพี้ยน อะไรมันชักจะเผลอๆ ไผลๆ อะไรชักจะไม่เร่ง ไม่รัด ชักจะหย่อนๆยานๆ ชักจะไม่ค่อยจะทรงสภาพที่ดี ก็จะมีผู้รู้ ผู้เตือน ผู้คอยแนะนำกันอยู่ ตลอดเวลา ให้เกิดทิฐิที่ดี ทิฐิที่ตรง ทิฐิที่ถูกต้อง เราเตือนกันอยู่ สม่ำเสมอ ไม่ใช่ทำไปสักแต่ว่า ทำโดยไม่รู้เรื่อง สวดเป็นนกแก้วนกขุนทอง พูดเป็นนกแก้ว นกขุนทอง ไม่ใช่อย่างนั้น เราทำอย่าง ที่เรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ พิจารณาตาม ตั้งมั่นไปอยู่ ทำให้ทิฐินั้น ถูกต้อง เสร็จแล้วเราก็ต้องไป พยายาม ไปมีสติสัมปชัญญะ อบรมตน ปฏิบัติตน ตลอดแต่ละวันๆๆ ผ่านวัน ผ่านเวลาไป เราก็มีสัมโพชฌงค์ มีสติสัมโพชฌงค์ มีธรรมวิจัย สัมโพชฌงค์ ด้วยความพยายาม วิริยะ อย่างแท้จริง กระทำให้มันเกิดปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา อย่างย่อ ถ้าเราขยายเป็นโพธิปักขิยธรรม ก็อย่างครบครัน นั่นแหละ เราก็ทำอยู่ จริงๆ มีอยู่จริงๆ เป็นประจำวัน ได้ประพฤติปฏิบัติไปจนกว่า จะเสร็จกิจ แม้เสร็จกิจแล้ว เป็นผู้ที่เจริญ ประเสริฐ มีเครื่องอาศัย เป็นอรหัตผลสมบูรณ์ เป็นพระอรหันต์แล้วก็ตาม ก็จะเกิดสิ่งที่เที่ยงแท้ สิ่งที่ถาวร มีเครื่องอาศัย มีธรรมวิหาร หรือมีสิ่ง ที่เราได้บรรลุนั้น เป็นธรรมวิหาร เป็นเครื่องอาศัยอย่างแท้จริง เราก็ยังจะ... ไม่ใช่ยังหรอก มันจะเป็นไปเอง ผู้ที่บรรลุถึงขั้นอรหันต์ เป็นผู้ประเสริฐแล้ว อาตมา ไม่ต้องพูดอย่างนี้ สิ่งนั้นจะเป็นจริง ของผู้นั้นเอง เป็นสิ่งที่มั่นคง เป็นสิ่งที่ถาวร เป็นสิ่งที่ถือว่า เที่ยงแท้ เป็นหนึ่ง เป็นเอกัง หิ สัจจัง เป็นสัจจะ ที่เป็นหนึ่ง สำหรับผู้ที่เป็น พระอรหันต์ เป็นผู้ที่มี สิ่งที่ถาวร มีการดับกิเลสสนิทถาวร ไม่มีการเกิดอีก ไม่มีการเกิดกิเลสอีก นอกจากจะเรียนรู้ ที่เป็น อภิสมาจารต่างๆ เป็นสิ่งที่จะทำให้เจริญยิ่งๆ อยู่ ให้ยิ่งๆขึ้นไปอยู่ เจริญนั้นก็มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมนั้นพ้นทุกข์ แต่มโนกรรมก็ยัง มีปัญญาและมีเจโต ที่จะเจริญ จิตใจจะมั่นคง จิตใจ จะแข็งแรง จิตใจจะกล้าหาญยิ่งๆขึ้นอีก

พระอรหันต์เจ้าก็มีความกล้าหาญแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน และมีความฉลาด มีปัญญา มีเจโต ไม่เท่ากัน แต่ท่านก็ยังจะมีความเจริญยิ่งๆอยู่ วุฑฒิ วุฑฒิ อยู่ แม้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว แต่ละกาละ แต่ละเวลา เป็นผู้เจริญจริงๆ คำว่าผู้เจริญนี่ ลึกซึ้ง

เรามาปฏิบัติธรรมนี่ จะไม่เป็นผู้ที่เสื่อมบ้างเจริญบ้าง วนไปวนมา ประเดี๋ยว เสื่อม ประเดี๋ยวเจริญ ประเดี๋ยวเจริญ ประเดี๋ยวเสื่อม ประเดี๋ยวเสื่อม ประเดี๋ยวเจริญ เรามาปฏิบัติธรรมนี่ ตั้งใจจะเป็น ผู้ที่ตั้งมั่น หรือเที่ยงแท้ ไปด้วยทิศเจริญ ทิศทางที่เจริญ จะเจริญไปเรื่อยๆ เป็นวุฑฒิ วุฑฒิ จะไม่วกวน ประเดี๋ยวก็เสื่อม ประเดี๋ยวก็จิตตก ประเดี๋ยวก็จิตตั้ง ประเดี๋ยวก็จิตตก ประเดี๋ยวก็จิตตั้ง มันก็ช้ำ มันก็ระบมกันแย่ ประเดี๋ยว ตั้ง ประเดี๋ยวตก ตีลังกา หกคะเมนอยู่ ก็แย่กันพอดี

เราจะให้มาตั้งมั่น ตั้งมั่นด้วยทิศทางที่มันจิตตั้งมั่น ตั้งจิตได้ว่าไปในทิศที่เจริญ เจริญจริงๆ จึงเรียกว่าผู้เจริญ ท่านผู้เจริญ ยิ่งตั้งมั่นได้จริง ถูกทิศถูกทาง แล้วก็รู้กุศล อกุศล มีสภาพของ มุทุภูเต กัมมนิเย ฐีเต อเนญชัปปัตเต เป็นฌาน เป็นวิมุติ ยิ่งได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในฌานทั้ง ๔ และก็สั่งสมวิมุติ วิมุติ วิมุติไป มันก็ยิ่งตั้งมั่น มันก็ยิ่ง จะเป็นความเที่ยงแท้ ความสถิตเสถียรถาวรยิ่งๆขึ้น จนเป็นหนึ่ง จนตั้งมั่นไปในทิศที่เจริญ อย่างแท้จริง เป็นผู้ที่ละบาป ได้สิ้น สัพพปาปัสสะ อกรณัง ยังกุศลให้ถึงพร้อมได้จริง จิตสะอาด บริสุทธิ์ สมบูรณ์ ตามที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัส เป็นหัวใจ บางคนก็ไปเรียกว่า หัวใจพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาฏิโมกข์ ที่ว่า สัพพปาปัสสะ อกรณัง สิ้นบาป บาปทั้งปวง สิ้น ไม่มี ดับสนิท สำหรับ การกระทำของท่าน พฤติกรรมของท่าน ไม่สร้างบาปอีกแล้ว ไม่ว่าบาปเล็ก บาปใหญ่ อะไรก็ตาม ยังกุศลให้ถึงพร้อมลูกเดียว มีชีวิตอยู่มีแต่กุศล สร้างแต่กุศล อย่างเดียว จิตก็สะอาดบริสุทธิ์ ได้อาศัยจิตสะอาดบริสุทธิ์อยู่อย่างนั้น จนกว่าจะดับขันธ์ ๕ จนกว่า จะดับรูป ดับนาม พระอรหันต์เจ้าก็จะเป็นผู้ที่เที่ยงแท้อย่างนี้

เพราะฉะนั้น ในความหมายของศาสนาพุทธนั้น ต้องฟังเป็นวิภัชวาที รู้ว่าสิ่ง ที่... อะไรๆ ก็ไม่เที่ยงแท้ และก็มีอะไรล่ะที่เที่ยงแท้ เป็นคำกล่าว ๒ ด้าน ไม่ใช่มีคำ กล่าวเป็นเอกังสวาที เป็นคำกล่าวด้านเดียว พูดกันด้วยเรื่องทิศเดียว ไม่ใช่ทิศเดียวหรอก พูดกันถึง ๒ ทิศ ๓ ทิศ พูดถึง ส่วนอื่นด้วย ให้เห็นรอบด้าน ไม่ใช่เข้าใจอยู่สุดโต่งอยู่ ด้านเดียว

เพราะความว่า อะไรๆก็ไม่เที่ยงไม่แท้ ใช่ สิ่งที่มี ในสภาพสิ่งที่มีอยู่ ความ จริงมันก็ไม่เที่ยง เพราะมันไม่เที่ยง กุศลมันไม่เที่ยง เราจึงยังกุศลให้ถึงพร้อมอยู่เสมอ ด้วยความรู้ มีสติสัมปชัญญะ ปัญญา รู้ว่านี่มันเสื่อมลงไปแล้ว ความดี กุศลทั้งปวง มันเป็นความมี เป็นความตั้งอยู่ แล้วมัน จะเสื่อมไปธรรมดา เพราะฉะนั้น เราจึงต้องพยายามให้มันดี ให้มันถึงพร้อม ให้มันเจริญ เจริญ เจริญอยู่ แม้เราทำให้มันเจริญ ให้มันมีเนื้อหาสาระ ของมันที่แท้ มันก็ตั้งอยู่ ตั้งอยู่ แล้วมันก็ จะเสื่อม เพราะมันเป็นสิ่งที่มี

เข้าใจไหมว่า มันเที่ยงแท้คืออะไร และไม่เที่ยงแท้คืออะไร มันไม่เที่ยง ฟังให้ดีนะ ความนี้มันซ้อน กุศลหรือความดีที่เราบอกว่า มันสถิตเสถียรถาวรนี่ มันก็ไม่เที่ยง แต่ที่มันเที่ยงก็เพราะ เราทำ ให้มันเที่ยง เราต้องมีอุตสาหะวิริยะ เราต้องมีความเพียร เราต้องมีการกระทำด้วยความรู้ เรายังมีพฤติกรรม เรายังมีเรี่ยวมีแรง เรายังมี สมรรถนะ เราก็ต้องทำ ยังกุศลให้ถึงพร้อมอยู่

เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เจ้าจึงไม่ใช่จิต บริสุทธิ์อย่างเดียว พระอรหันต์เจ้านั้นเป็นผู้ไม่ทำบาป ไม่ทำสิ่งที่ต่ำ ไม่ทำสิ่งที่ไม่ดี ยังกุศล พยายามยังกุศลให้ถึงพร้อม ทำสิ่งที่ดีให้ดีสมบูรณ์อยู่ ตลอดเวลา พระอรหันต์เจ้าเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ว่าเอาแต่จิตบริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์ท่านก็มีของตน มีอยู่สำหรับพระอรหันต์เจ้า แล้วก็ยังกุศลอยู่ตลอดเวลา จึงเรียกว่าสิ่งที่มี จิตบริสุทธิ์ก็คือ จิตที่ไม่มีกิเลส สิ่งที่ไม่มี และสิ่งที่มัน เที่ยงแท้ ก็คือสภาพที่มันสมบูรณ์ เป็นพระอรหันต์เจ้า เป็นผู้ที่เป็นอเสขะ ไม่ศึกษา ไม่ต้องศึกษา ไม่ต้องอบรมตนอีก ก็มีสิ่งนั้นแล้ว เป็นแล้ว เป็นเจโตวิมุติ อันไม่กลับกำเริบ ได้แล้ว จริง มีปัญญารู้แจ้งเห็นจริง จะว่าเที่ยงแท้ ก็เที่ยงแท้ได้ ถาวรได้จริง เป็นสภาพที่รู้แจ้งเห็นจริง ถอนอนุสัยอาสวะแล้ว ก็เป็นเที่ยงแท้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เที่ยงแท้มีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี สิ่งที่เที่ยงแท้อย่างสมบูรณ์ที่สุด ก็คือจุดสูญของกิเลส ที่พระพุทธเจ้า ท่านค้นพบ เป็นสิ่งที่ไม่มี อย่างถูกสภาพ ถูกทฤษฎีของ พระพุทธเจ้า อย่างตรงเลย เป็นพระอรหันต์เจ้า สูญ มีสูญ จะไม่มีอีก จะไม่เกิดอีกอย่างสมบูรณ์ อย่างจบ จบได้เลย กิเลสจบ แล้วเราจะไม่เกิดอีก เป็นปรินิพพาน ไม่หยั่งลงสู่ครรภ์อีก จบ ไม่มีอีก ไม่มีเกิดอีก เมื่อดับขันธ์ ๕ ลงไปอย่างสมบูรณ์ ส่วนยังไม่ดับขันธ์ ๕ ก็เป็นสอุปาทิเสสนิพพานเท่านั้น นิพพานที่ยังเหลือ ขันธ์ ๕ ยังเหลือส่วนที่ทุกข์ ตามสภาพ ตามเหตุปัจจัย ทุกข์เพราะมันตั้งอยู่ไม่ได้ ร่างกายนี้ มันก็ตั้งอยู่ มันก็จะเสื่อมไป ก็เรียกมันว่าทุกข์ เหมือนกัน ก็ถูก หรือทุกข์อย่างที่เราเรียนมา แล้ว เป็นสภาวทุกข์ เป็นนิพัทธ์ทุกข์ เป็นอาหาร ปริเยฏฐิทุกข์ อะไรต่างๆพวกนี้ มันก็เป็นทุกข์ของมัน พระอรหันต์เจ้า ท่านรู้ดีว่า เป็นทุกข์ที่ เลี่ยงไม่ได้ เป็นสอุปาทิเสสนิพพานแล้ว ก็ยังไม่ อนุปาทิเสสนิพพาน มันก็ยังมี ส่วนทุกข์อยู่อันนี้ ก็เข้าใจแล้วว่า เหตุมันคืออะไร ปัจจัย คืออะไร ถ้าสิ้นเหตุสิ้นปัจจัย หมดลมหายใจ ดับขันธ์ ๕ มันก็ไม่มี มันจะไม่มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย เป็นสภาวทุกข์ต่อไปอีก เพราะมันไม่หยั่งลงสู่ครรภ์ อีกแล้ว มันสิ้นซาก

แม้แต่จิต วิญญาณที่บริสุทธิ์ มันไม่มีตัวนำเกิดอีกแล้ว มันก็หมด จะหมดกันตอนนั้น อนุปาทิเสสนิพพาน ธาตุไป จะไม่มีแม้แต่นิพัทธ์ทุกข์ จะต้องปวดขี้ปวดเยี่ยว จะต้องประสบ กับร้อนกับหนาวอะไรอีก ไม่มี จะต้องหากินอีก ก็ไม่ต้องหาแล้ว จะต้องมีเครื่องอาศัย ที่จะต้อง แสวงหา เครื่องอาศัยอะไรอื่นๆอีก จะต้องมีผัสสาหาร จะต้องมีอายตนะ มารับผัสสาหารก็ไม่มี จะมีอะไรก็ไม่มี ธาตุอะไรก็ไม่เหลือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ไม่เหลือ ธาตุจิตวิญญาณก็ไม่เหลือ ไม่ต้องทำงานทำการอีก เมื่อปรินิพพาน เมื่ออนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้ว เราก็ไม่ต่อภพต่อภูมิ อะไรอีก เป็นปรินิพพาน พระอรหันต์เจ้า ผู้ปรินิพพาน ไม่ต่อภพต่อภูมิ ก็จะสูญจริงๆเลย สูญอย่างเที่ยงแท้ เพราะสูญจะไม่มีอะไรไปก่อหวอด เป็นเชื้อเป็นเหตุ เป็นปัจจัยอะไรไปต่ออีก จบเหตุจบปัจจัย แม้แต่กรรมที่เป็นวิบากกรรม ก็ยังต้องล้มเลิกไป ต้องยกเลิกไป ล้มเลิกไป ได้หมด นั่นจะหมดกรรม หมดวิบากกันก็ตอนนั้น ปรินิพพานนั่นแหละ

แม้คุณจะเกิดอีก เป็นมหาโพธิสัตว์ ยังต่อเชื้อต่อภพต่อภูมิ จนเกิดมาอีก เป็นพระพุทธเจ้า ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าอีก กรรมกับวิบากมันก็ยังต้องตามอยู่อีกอย่างที่ว่านั่น จะเป็นกุศลหรืออกุศล ก็ตาม ต้องเข้าใจให้ดีว่า ศาสนาพุทธนี่ เอาอะไรเป็นสูงสุด และอะไรที่มันก็ยังเป็นไป ยังเป็นเหตุเป็นปัจจัย ขนาดเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังได้รับวิบากกรรม เป็นอกุศลวิบากก็ยังมี

ตรัสรู้เป็นผู้ยิ่งใหญ่แล้ว เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตรัสรู้แล้วนะ ทำงานก่อศาสนา อย่างพระพุทธเจ้า อกุศลวิบากยังตามมา ต้องเข้าใจให้ได้ว่า เป็นพระอรหันต์ไม่ใช่ว่าหมดวิบาก จะหมดวิบากจริงๆ ก็ต่อเมื่อสุญตา เป็นปรินิพพาน แม้คุณดับเป็น อนุปาทิเสสนิพพาน ต่อภพต่อภูมิ เป็นโพธิสัตว์ ขึ้นมาอีก คือดับขันธ์ ๕ แต่ยังไม่ดับสนิททีเดียว ยังเหลืออีก เพียงแต่ว่ ามันไม่มีขันธ์ ๕ มันมีขันธ์ ๔ ขันธ์อะไรก็ตามใจคุณเถอะ ที่มันจะเหลือเชื้ออะไรก็ตาม แล้วมันจะเวียนวนมาเกิดอีก หยั่งลง สู่ครรภ์อีก ยังไม่เป็นปรินิพพาน ยังไม่สูญ วิบากก็ยังไม่หมด จนกว่าจะสูญ วางปล่อยสนิท ผู้เป็นพระอรหันต์จะรู้เองว่า จะปล่อยอย่างไร จะวาง จะปล่อย จะสูญอย่างไร จะเอาเกิด หรือเอาไม่เกิด พระอรหันต์เจ้าจึงเป็น อมตบุคคลอย่างนั้น ท่านทำ ท่านรู้ คนไหนหลงก็หลง

สมมุติว่าพระอรหันต์เจ้านี่ ท่านไม่ได้เป็นพระอรหันต์หรอกที่จริง ท่านหลงว่า ท่านเป็นอรหันต์ ภพภูมิของท่านได้แค่โสดา มันก็ต้องเกิดมาเป็นโสดาจริงนั่นแหละ มันก็ต้องเกิดอีก แม้ว่าเรา จะไม่อยากเกิดอีก มันก็ต้องเกิด เพราะภูมิของตัวเองแท้ๆมันแค่โสดา แล้วไปหลงตัวว่าเป็นอรหันต์ มันก็ต้องเกิดตามสัจจะสภาวะที่มันเป็นมันมี หรือเป็นสกิทา มันก็ต้องเกิดตามสถานะของสกิทา หรือเป็นอนาคา หลงว่าเป็นอรหันต์ แต่แท้จริงสภาวะ ของตัวแค่อนาคา มันก็ยังเหลือเชื้ออนาคา เหลือของจริงอยู่อย่างนั้น

เพราะฉะนั้น ถึงบอกว่า เราอย่าพยายามหลงง่าย มันเป็นจริง ยิ่งหลง ตัวเองเป็นปุถุชนแท้ๆ หลงว่า ตัวเอง เป็นอรหันต์ อุ๊ย! เลอะเทอะเลย ยิ่งจะสร้างวิบาก ไม่รู้เนื้อ ไม่รู้ตัว

เพราะฉะนั้น พระอรหันต์เจ้าก็ดี ไม่ใช่ว่าหมดวิบาก ไม่ใช่ว่าหมดอกุศลเลยนะ จะมีอกุศลอยู่ก็คือ วิบากของเรา รับอกุศลวิบากนั้น มันจะตามมาเล่นงานเราได้อยู่ แม้เป็นพระพุทธเจ้า ดังที่เรามี หลักฐาน ยืนยัน มีตำนานเรื่องราว พระพุทธเจ้าเองก็ยังรับ ยังยอมรับ ตรัสตอบ ตรัสยืนยันว่า นี่เป็นวิบาก อกุศลวิบากของเรา ตั้งแต่ปางโนั้น ปางนี้ ที่เราได้ก่อมา มันก็ตามมา เล่นงาน จิตบริสุทธิ์ ของท่าน ก็บริสุทธิ์อยู่ เป็นพระอรหันต์เจ้าแล้ว จิตบริสุทธิ์ บริสุทธิ์ แต่วิบาก ไม่ได้หมดสิ้น เราต้องรู้ส่วน ส่วนของกรรมวิบาก กับส่วนของการละกิเลส เราเอาอะไร เป็นจุดที่ยืนยันว่า จุดที่จะเป็นโสดา สกิทา อรหันต์ เราเอาตัวละกิเลส เป็นเครื่องวัด ส่วนกุศล อกุศลนั้น ก็เอากรรมเป็นเครื่องวัด เอาการกระทำของเราเป็นเครื่องวัด ถ้าเรามีกุศลมาก กุศลนั้น ก็ให้เราได้อาศัย ดี อกุศลน้อย เราก็ทุกข์ลำบากน้อย ถ้าอกุศลมาก เราก็ทุกข์ลำบากมาก พระอรหันต์ บางองค์นี่ อุปสรรรคหนักหนา พระโมคคัลลา อย่างนี้เป็นต้นนะ ยกตัวอย่าง อุปสรรค ขนาด ตายยังตายโหงเลย เป็นอัครสาวก ขนาดพระอัครสาวก มีอกุศลวิบาก ตายยัง ตายโหง จะมีข้าศึกศัตรูอุปสรรคเยอะ ต้องต่อสู้ ต้องรบต้องรา ต้องมีอะไรต่ออะไร ต้องวุ่นต้องวาย อะไรเยอะ

ยกตัวอย่าง พระองคุลีมาล อย่างนี้เป็นต้น ง่ายๆ เป็นอรหันต์แล้ว ไปก็ยังถูกเขาเขวี้ยง เขาปา เลือดอาบ ไปบิณฑบาตก็เลือดอาบกลับมา ก็ต้องยอมรับต่ออกุศลวิบากของตน ลำบากลำบน ใครจะไปสร้างกรรม ให้มันเป็นอกุศลวิบาก เอาเถอะ เราจะเป็น พระอรหันต์ก็ปฏิบัติไป ส่วนกุศล อกุศลเราไม่แคร์หรอก เราทำอกุศลก็เอานะ ใครจะเอา เลือกเอา อกุศลอย่างนั้น เป็นพระอรหันต์เจ้า เดินออกไป ก็ถูกเขาทุบเขาถอง ถูกเขาขว้างเขาปา ทนได้ก็ทนได้ ทนไม่ได้มันก็ตายโหง จะเอาอย่างนั้นก็เอา หรือจะมีอกุศลอย่างอื่น ก็ยังวิบากอย่างอื่น ไม่ใช่วิบากจะต้องได้รับ แต่คนเขาทุบ เขาตี มีอย่างอื่นอีก อกุศลวิบาก อย่างอื่นอีก ก็คุณก็ก่อก็ทำไป ซึ่งเป็นอจินไตย อธิบายมันก็ยาก ก็เอาสิ่งที่เป็นตัวอย่าง หรือ ก็ยังตำนานอุทาหรณ์ อะไรพวกนี้ มายกตัวอย่าง ประกอบให้คุณฟังก็แล้วกัน คุณจะเอาอย่างนั้น คุณก็ได้อย่างนั้น

อาตมาว่าเราไม่วิปริต เราไม่ได้เป็นคนวิตถารอะไร ก็คงไม่มีใครอยากจะได้ละนะ เอาอกุศลวิบาก ไว้สำหรับ แหม! มันมันดี คงไม่มีใครจิต sadism อย่างนั้นละนะ masochist หรือ sadist ที่จะต้อง ตัวเองเจ็บ มันดี มีชีวิตอยู่กับวิบากอย่างนี้ มันดี ให้เขาทุบเขาถองให้เขาตี ให้เขาฆ่า พวกที่จิตเสื่อม จิตทราม มันเป็นอย่างนั้นจริงๆนะ มันต้องตัวเองเจ็บ มันดี อยู่เรียบๆร้อยๆ อยู่ไม่มีใครทุบใครถอง มันไม่มันเลย มันรู้สึกว่า แหม! มันจืดมันชืด มันก็วิตถารอย่างนั้นแหละ คงวิตถาร ถ้าคนไม่ วิตถารแล้ว ใครจะเอา ก็อยู่อย่างไม่ต้องมีใครทุบใครถอง ใครทุบใครตี ไม่ต้องเจ็บ ต้องปวดอะไรนี่ มันดีน่ะ คนธรรมดาสามัญ ไม่วิตถาร มันก็จะไปมีอะไร

เพราะฉะนั้นเราก็มาใฝ่ ใฝ่ทิศทางที่มันเป็นไป โดยส่วนใหญ่ส่วนรวมก็เข้าใจ อยู่อย่างนี้ ก็สร้างสรร กันอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เราจึงสร้างทั้งกรรมที่เป็นกุศล ยังกุศลให้ถึงพร้อม เป็นพระอรหันต์เจ้า ก็ยังกุศลต่อไปอีก อย่างแท้เลย แม้ไม่เป็นพระอรหันต์เจ้า เราก็ยังกุศลนั่นแหละ เรื่องอะไร เราจะไปก่ออกุศล ก็ยังกุศลให้ถึงพร้อม ด้วยความอุตสาหะวิริยะ จริงๆ มันเป็นประโยชน์ทั้งตน มันเป็นประโยชน์ ทั้งที่เรา ได้อาศัย

มันเป็นประโยชน์ทั้งท่านก็เพราะกุศล มันเป็นประโยชน์ตนประโยชน์ท่านอยู่ในตัวของมันเอง ถ้าเราปฏิบัติถูกหลักของ พระพุทธเจ้าอีก มีทฤษฎีโพธิปักขิยธรรม เรียบร้อยสมบูรณ์อีก เราก็ได้ละ กิเลสไปในตัว เพราะฉะนั้น คนทุกวันนี้ ในโลกียบุคคล เขาสร้างกุศลกัน เขาสร้างนะ สร้างกุศล เขาก็สร้าง พยายามเรียนรู้ พยายามสร้างกุศล แต่เขาไม่ได้เดินทางเข้ากระแส มาปฏิบัติ โลกุตรธรรมเลย เขาไม่รู้ว่าปฏิบัติโลกุตรธรรมคืออะไร บทจะโกรธก็โกรธ บทจะโลภก็โลภ บทจะสมราคะ ก็ทำให้กิเลสหนาๆๆ เป็นปุถุ ถึงเรียกปุถุชน กิเลสมันจะหนาขึ้นอยู่ เรื่อยๆ เพราะความไม่รู้ว่ากิเลสคืออะไร ทำกิริยากรรมอย่างนี้ สัมผัสอย่างนี้ ตั้งหลัก ตั้งใจอย่างนี้ กระทบสัมผัสอย่างนี้ๆ แล้วเกิดกิเลสอย่างไร เขาไม่รู้ เขาไม่ได้ศึกษา

พวกคุณนี่ศึกษาแล้วอย่าไปเผลอไปไผล พยายาม ขนาดบอกว่า อย่าเผลออย่าไผล มันก็อย่างนั้นแหละ มันก็รู้ นี่เราก็เผลอไปเสียอยู่เรื่อย ก็รู้ตัวกันดีอยู่ มันไม่ง่าย จะเดิน โพธิปักขิยธรรม จะมีสติปัฏฐานสมบูรณ์ มันไม่ง่าย ใช่ไหม มันไม่ง่าย พิจารณาธรรมในธรรม จะรู้นิวรณ์จนกระทั่ง จะเดินอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นธรรมในธรรม ข้อที่ ๑ กับข้อที่ ๕ ใช่ไหม พิจารณาธรรมในธรรม มีตั้งแต่นิวรณ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔ ห้าข้อ พิจารณาธรรมในธรรมพวกนี้ มันก็จะพิจารณา มันก็จะเห็น พิจารณามันจะเห็นเลยนะ ว่าเรานี่ ตรวจตรา ง่ายๆก็คือตรวจตรานิวรณ์ เราจะรู้ กระทบสัมผัสแล้ว เกิดนิวรณ์หรือไม่ เกิดกาม เกิดพยาบาท เกิดถีนมิทธะ แล้วเราเรียนรู้ถีนมิทธะ ที่เป็น สภาวะลึกซึ้งขึ้นไปแล้ว ไม่ได้หมายความว่า ถีนมิทธะคือ เราก็ตื่น เราไม่ได้ง่วงเหงา หาวนอนอะไรหรอก แต่ตอนนี้ แต่เรารู้แล้ว ลักษณะของถีนเจตสิก ถีนัง ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก จิตกระด้าง จิตมึนชา จิตที่มันไม่ทำงานเต็มที่ จิตประเภทที่สลัดทิ้ง สลัดทื่อ อะไรไปแบบสมถะเฉยๆ เราจะต้องรู้ว่า เราอบรมถีนังหรือมิทธังอยู่ ไม่ว่าจะสายปัญญา หรือสายเจโต มีถีนัง มีมิทธังได้ง่ายๆ อาตมาค้นพบตัวนี้ จิตตัวนี้ หยั่งสภาวะ พยัญชนะถีนังมิทธัง มาได้โดยความ หมายครบครันนี่ อาตมาถือว่า อาตมาได้ยอดเพชร ปี ๒๙ นี่ได้ยอดเพชร แล้วก็พยายาม ถ่ายทอดให้พวกคุณเข้าใจ คุณจะต้องรู้ด้วยคุณเอง ว่า เอ๊อ! จิตตัวนี้เป็นจิตถีนังหรือมิทธัง คุณเป็นผู้เฉลียวฉลาด กาม เราก็พอเข้าใจ พยาบาทเราก็พอเข้าใจ ถีนังมิทธัง ถ้าคุณไม่ เข้าใจ จะเลื่อนไหลไปหา อุทธัจจกุกกุจจะ ก็ยังยากอีก อุทธัจจะกุกกุจจะนี่ มันยิ่งละเอียด มันกระเด็น กระเซ็น มันทำให้เราทุกข์ร้อน ประเภทที่เรารวบไม่ติด จับไม่ติด ส่วนถีนัง มิทธังนั้นติดเลย อย่าให้มันตกผลึก จะให้มันไม่รับรู้ ไม่ทำงานจิต หน้าที่ของจิต จิตเป็นธาตุ รู้ที่แววไว ธาตุรู้ที่ยิ่งจะเฉลียวฉลาด ยิ่งจะแววไว สามารถ รู้เร็ว ดัดได้เร็ว ปรับได้เร็ว ก็ยังมุทุธาตุ เป็นมุทุภูเต ที่เขาจะแปลว่าอ่อน มันก็เอาภาษามาใช้ มุทุธาตุ มันจะไวจริงๆ มันจะยิ่งเร็ว ยิ่งไว ไม่ใช่มันยิ่ง ทื่อมะลื่อทื่อ ไม่รู้เรื่อง รู้และแข็งแรง รู้ แล้วรู้ด้วยปัญญา มีอำนาจ มีอินทรีย์พละ รู้ จะกระทบ สัมผัสอยู่นี่ก็รู้ ยิ่งรู้เร็ว รู้ละเอียด รู้ชัด รู้ยิ่งกว่าผู้เขา ทำกับเราด้วย รู้กรรม รู้กิริยา รู้บาป รู้บุญ รู้กุศล อกุศล รู้ ไม่ใช่ไม่รู้ ไม่ได้หนี ไม่ได้ปิดจิต ไม่ได้ดับจิต การดับจิตลงไปนี่คือ ถีนังมิทธัง ทั้งนั้น การตัด ปล่อย วาง ไม่เอา ไม่เอา นอกจากเราจะรู้ด้วยเหตุผล ด้วยปัญญาเลยว่า เอ้า! เรื่องนี้ตัดทิ้งแล้ว เราเข้าใจแล้วละ จบแล้ว คนนี้ไม่มี ไม่มีอะไร จะต่อกับเขาได้ เราอย่างนั้นจริงๆ ไม่ใช่เราไม่มีจิต เมตตา ไม่ใช่เราไม่มีจิตที่จะเอื้อเฟื้อ ไม่ใช่ว่า เราจิตเป็นคงใจดำ ถีนังมิทธังนี่ เป็นจิตใจดำ จิตไม่เมตตา จิตไม่พยายามที่จะเห็นใจ ไม่มีน้ำใจ ไม่มีจิต ถีนังมิทธังนี่เป็นจิตที่ดับจิต เป็นจิตที่ ปิดจิต เป็นจิตที่ คือว่าเราเข้าใจไม่ถูกนี่นะ ประเภทที่บอกอะไร ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น อะไรก็ ไม่เอา อะไรก็ดับ ตัด สลัด ปล่อย จริง หลายอย่าง เราต้องสลัดก่อน รีบตัดออกก่อน เพราะเรา สู้ไม่ไหว ในฐานะบุคคลที่ยังไม่สูง แต่ผู้จิตสูงขึ้นมานี่ คุณจะรู้ อาตมานี่มันรู้ เพราะจิตสูง ขนาดว่า อาตมา จิตสูงนี่แล้วนะ อู้! ยังจะเอา ภาษารู้จัก ถีนังมิทธัง มาอธิบายให้คุณนี่ โอ้โฮ! ใช้เวลาตั้ง ๑๐ กว่า ปีนะ กว่าจะมาแจ้ง กว่าจะมารู้นิรุตติ ปฏิภาณตัวนี้ ที่จริงอาตมามีอรรถ มีธรรมะแล้ว แต่ว่านิรุตติ ปฏิภาณนี่ เอ๊! ทำไมมันมาเอา ไม่ขยายออก ได้แต่ เอ๊! อุเบกขาเด๋อ ถีนังมิทธัง มันเป็นยังไง มันแก้ภพ แก้ภูมิ อาตมาว่า อาตมาจะแก้ภพ ถีนังมิทธังของพวกคุณออกมา แม้แต่ง่วงเหงา หาวนอน ถ้าตัวนี้เข้าใจจริงแล้ว คุณจะปรับให้เป็นจิตตื่น เป็นจิตที่แววไว เป็นจิตที่ยิ้มแย้ม ก็ยังจิตที่เบิกบาน เป็นจิตที่ทำหน้าที่ จิตเต็ม จึงเรียกว่าผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นจิตพุทธะ มันรู้ ธาตุจิตนี่มันรู้อยู่ ไม่ใช่ธาตุไม่รู้อะไร นิ่ง ดับ ไม่ดับนะ

ตราบที่คุณยังมีรูปนามขันธ์ ๕ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แม้คุณจะนอนหลับ มันก็จะ... ถ้าคุณเก่งคุณสูงจริงๆ แม้จะนอนหลับ จิตนี้ก็จะรู้ตื่นเบิกบานคุณนึกไม่ถึงหรอก พระอรหันต์เจ้า มากองค์ ก็ยังนอนหลับ แล้วก็รู้ตื่นเบิกบานอยู่ โดยที่ไม่อยู่ในภพก็ไม่ได้ ยังต้องอยู่ ในภพด้วยซ้ำ ผู้ที่จะมีตื่นเบิกบาน รู้ตื่นเบิกบาน อย่างสอนเทวดา เหมือนพระพุทธเจ้าน่ะ โอ้โห! ไม่ได้เป็นได้ ง่ายๆนะคุณ จิตพุทธะ ขนาดพระพุทธเจ้านี่ ถ้าคุณเข้าใจอันนี้ คุณจะ โอ้โห! เห็นว่า พุทธะ กับถีนมิทธะ มันตรงกันข้ามกันจริงๆเลย จิตถีนมิทธะ กับจิตพุทธะนี่ มันตรงกันข้ามกัน เหลือกำลังวังชา มันเป็นจิตไม่ตาย เป็นจิตไม่ตาย ไม่ดับ เป็นตัวธาตุรู้ที่รู้ ธาตุรู้ที่ตื่น ไม่ใช่ธาตุรู้ที่ดับ มันจะตื่นอยู่จริงๆเลย จะตื่นอย่างขนาดที่อาตมาว่า อย่าง พระพุทธเจ้า แม้ท่านนอนหลับ ท่านก็สอนเทวดานี่ คุณก็อย่าไปหวังว่าเป็นอย่างนั้นง่ายๆ แต่เราก็ต้องฝึกเพียรให้เป็น

พระอรหันต์เจ้าทุกองค์ก็ตื่นไม่ได้เท่าเทียมกัน เป็นจิตที่ตื่น จิตที่รู้ ใสสว่าง เบิกบานอยู่ตลอด ไม่ ก็ตกภพ พระอรหันต์เจ้าก็ตกภพ พอถึงเวลาหลับ เวลา... ท่านก็ตกภพอยู่นั่น ปล่อยให้จิต มันไปตามจิต จิตมันจะดับ มันจะพัก หรือมันจะมี เทพนิมิตอะไร ไปตามฐานะของพระอรหันต์เจ้า แต่ละรูป ก็ไปตามเทพนิมิต ดีไม่ดีมันธาตุ โขกยังได้เลย พระอรหันต์กินผิดกินถูก ท้องเสีย ไม่รู้เรื่องอะไร วุ่นกันเลย ก็มีได้ พระอรหันต์เจ้า จะว่าไปแล้ว มันไม่แน่นอนหรอก อาหาร บางที ก็มีเชื้อ มีไอ้นั่นไอ้นี่ มันก็ไม่ได้ละเอียดลออถึงปานนั้น ได้เหมือนกัน นี่ก็ไขความอะไรต่ออะไร ให้พวกเรา ได้เข้าใจเพิ่มขึ้นมา เพราะฉะนั้นในการ พิจารณาธรรมในธรรม ของผู้ที่ปฏิบัติธรรมนั้น นิวรณ์ ๕ แน่ๆเลย เราจะอ่าน เราจะรู้ สภาวะ แล้วเราก็จะกระทบสัมผัส ยืนเดิน นั่ง นอน มีลมหายใจ เข้าออกอยู่ เราจะมีสติปัฏฐาน ธรรมในธรรมแล้วพิจารณา อย่างน้อยพิจารณานิวรณ์ เพราะนิวรณ์เป็นอาหารของอวิชชา ก็เรายังไม่หมดอวิชชา ก็ต้องตรวจนิวรณ์ของเรา ผัสสะเมื่อไหร่ เราก็จะต้องรู้ ตอนนี้หม่ำนิวรณ์เข้าไปเป็นอาหารเสียแล้ว คุณก็จะต้องรู้ว่า โอ้โห! วันนี้สวาปาม นิวรณ์ ไปเสียบานเลยวันๆ มันก็เท่ากับ อวิชชาก็อ้วนๆปี๋ๆๆอยู่นะซี คุณได้นิวรณ์เป็นอาหาร มันก็เป็น อาหารของอวิชชานั่นเอง เพราะฉะนั้น เราก็ควบคุมกาย วาจา ซึ่งมันเป็นอาหาร ต่อเนื่อง มาถึงนิวรณ์ ทุจริต ๓ เป็นอาหารของนิวรณ์ เราก็อย่าให้มันทุจริต อย่าให้มันไปผัสสะ อย่าให้มัน ไปเกิด การกรรมนี้มันร่วมสร้างร่วมสรรอะไรขึ้นมา มันก็จะรวมไปทั้งกรรม รวมไปทั้ง พฤติกรรม ที่เรามีทฤษฎีเอก โพธิปักขิยธรรม พิจารณานิวรณ์ พิจารณาอุปาทานขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ พิจารณา อุปาทานขันธ์ ๕ รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณของเราตลอดเวลาเวทนาก็ วิจัยให้ฟังแล้ว เวทนาในเวทนา ตั้งแต่ย้อนไป สติปัฏฐานเวทนา จิตยังไงก็พิจารณาไป หรือแม้แต่รวมไปหมด ตั้งแต่หลักเวทนาก็คือต้นของเจตสิก จิตก็คือรวมหมดทั้งสัญญา สังขาร วิญญาณ มันก็รูปนาม ขันธ์ ๕ อะไรมันเป็นกิเลส อะไรเป็นอุปาทาน อะไรมันเป็นตัณหา ก็รู้ว่าเราติดอยู่นะ เราเป็นตัณหา เรายังมีอุปาทาน เพราะอุปาทานยังเหลือ ตัณหาจึงยังเหลือ แม้จะเป็นตัณหา ในระดับภวตัณหา หรือวิภวตัณหา เดี๋ยวค่อยไปขยายตัณหากันอีก ละเอียดๆกันอีก เป็นครั้งเป็นคราว ซึ่งอาตมา ก็คิดว่า จะอธิบายละเอียดในพุทธาภิเษก อธิบายตัณหา อธิบายนิโรธอะไรกันให้สมบูรณ์ ส่วนมรรคนั้น ก็สอนมาอยู่เรื่อย ก็คงอธิบาย ไม่ใช่น้อยเหมือนกันแหละ ที่พออธิบายมรรคองค์ ๘ นี่ เราก็รู้ รู้ พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม พิจารณาองค์ประชุมกาย จะประชุมข้างนอก ตั้งแต่วัตถุนอก เข้ามาทางทวาร ๕ ทวาร ๖ อายตนะ ทั้ง ๖ รู้เรื่องที่รับอันนั้นอันนี้มาสัมผัส แล้วเกิดนิวรณ์อย่างไร มันก็ละเอียดลออไป พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต จิตก็เจโตปริยญาณ ๑๖ สติปัฏฐาน ๔ จิตก็ เจโตปริญาณ ๑๖ เรารู้ราคมูล โทสมูล โมหมูล หรือรู้อราคะ หรือจนกระทั่งจนถึงวิมุติ ไม่ตัองย้ำอีก ว่าจิตจะเป็นอย่างไร มันเจริญไหม มันมีความเจริญของจิตเราอย่างไรๆ พิจารณาไปจนถึงธรรม จนถึงกระทั่งอายตนะ ๖ แล้วโพชฌงค์ ๗ มีอยู่ตลอดไหม อริยสัจ ๔ เราทำได้ถูกต้องไหม รู้ทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ แล้วก็ได้ดับทุกข์ เห็นว่าเราได้ดับได้ลด มันไม่ ถึงดับ มันรู้ว่าอนิจจานุปัสสี วิราคานุปัสสี นิโรธานุปัสสี ตอนนี้ฟังให้ดีนะ นี่อาตมาอธิบาย เอาคำภาษาหลักการ ภาษาวิชาการ มาต่อให้ฟังนี่ ถ้าคนมาฟังใหม่ๆวันนี้ ก็นั่งซึมไปเลยล่ะ ก็มันภาษาต่อภาษา มันต่อกัน ขยายความกันนี่ ละเอียดลอออย่างนี้ ถ้าเรายังไม่เคยได้ยิน ได้ฟังว่าความนั้น คำนี้มันคืออะไร คุณก็ฟังตื้อไปเท่านั้น มันไม่รู้เรื่อง แต่ผู้ใดฟังพอรู้เรื่อง ว่าคำนั้นคำนี้คืออะไร มันก็จะเข้าใจว่า มันขยายกันอย่างไร แล้วมันมีบทบาทยังไง มันจะมีของจริงอย่างที่กล่าวนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อยิ่งเราปฏิบัติ แล้วเราเห็นอนิจจานุปัสสี เห็นความไม่เที่ยงของกิเลส ไม่เที่ยงอย่างที่เราละ หน่ายคลายด้วย ไม่เที่ยงเป็นปรมัตถ์ ไม่ใช่ไม่เที่ยง เพราะสวาปามกิเลสเป็นอาหาร ตัณหา อุปาทาน เป็นสิ่งที่สั่งสมลงไป ไม่เที่ยง แต่ยิ่ง หนาขึ้นๆเป็นปุถุ ก็ไม่ใช่ มันไม่เที่ยงเพราะอนิจจานุปัสสี ก็อธิบายแล้ว เพราะเรา ทำให้ไม่เที่ยง เพราะเราละหน่าย คลายมันลงไป เป็นวิราคานุปัสสี เห็นอยู่ รู้อยู่ วิราคานุปัสสี คุณก็ได้พิจารณา เห็นนิโรธ รู้ว่าเราทำนิโรธ ได้สร้างนิโรธให้แก่ตัวเอง ได้พิจารณาอริยสัจ ๔ อยู่อย่างนั้น เห็นทุกข์ เห็นเหตุแห่งทุกข์ ได้ทำนิโรธ เห็นจนกระทั่ง ถึงนิโรธานุปัสสี เห็นจนกระทั่งปฏินิสสัคคานุปัสสี ว่าเราดับได้สนิท เราสลัดคืนได้แล้ว เรา จะสลัดคืนก็คือย้อนทวน ประเภทสภาพย้อนทวนอนุโลม ปฏิโลม แต่ก่อนเราดูวิดีโอไม่ได้ จะต้องปฏิบัติธรรม อย่างผู้ไม่ดูวิดีโอ แต่ขณะนี้ ฐานะอย่างนี้ ศีลเท่านี้ อินทรีย์พละเท่านี้ ดูวิดีโอแล้วเหมือนกับ แหม! แตะเข้าแพ้มันทุกที ก่อกิเลสเพิ่มขึ้น อนิจจานุปัสสีเหมือนกัน แต่กิเลสหนาขึ้น เราก็รู้ตัว เพราะฉะนั้นผู้ใหม่ๆนี่ นอกวัด มาดูวิดีโอนี่ ของเรานี่ ก็พอได้ เพราะว่าเรา อย่างน้อย เราก็คัดเลือกอยู่แล้ว แต่ถ้าไปดูเองที่บ้านนะเสร็จอีด่าง อนิจจานุปัสสี ตามเห็น แต่เขาไม่ตามเห็นหรอก เขาไม่อนุปัสสี เขาไม่ตามเห็นกิเลสเขาหรอก เขาไม่ได้ตามเห็น ความไม่เที่ยงอันนั้นหรอก แต่มันไม่เที่ยงแน่ๆเลย มันหนาขึ้น กิเลสมันหนาขึ้น รับเอากิเลสใส่ตัว ไปดูวิดีโอ อย่างนี้เป็นต้น ตัวเองก็ต้องหนาขึ้น โดยที่ตัวเองยังไม่มีอินทรีย์พละ แต่มาอยู่ในวัดนี่ เราเลือกมา ถึงแม้ว่าเราจะมาดูหนังในวัด คนที่มีอินทรีย์อ่อนปานใดก็ตาม เราก็แนะนำกัน ถ้ายิ่งมาทำวัตรด้วย ได้รับคำวิจัยวิจารณ์ ได้รับคำความรู้อย่างโน้นอย่างนี้ แม้ในตอนนั้น เราไม่รู้เท่าทัน เราก็จะได้ศึกษาเพิ่มเติมขึ้นว่า อ๊อ! เราดูวิดีโอเรื่องนั้นเรื่องนี้ ตอนดูก็สนุกไปนะ กิเลสมันก็เข้านะ แต่พอเวลามาฟังแล้ว อ้อ!ท่านดู ท่านได้รู้ อย่างนี้ๆๆ ท่านยิ่งดูท่านยิ่งเห็นทุกข์ ท่านได้ดู ท่านก็ได้ต่อสู้ในสนามรบ ดูวิดีโอไป ก็รบรา ฆ่าฟันกับกิเลสตัวเองไปนะ ดูไปๆ อะไรมันน่าซาบซึ้งเป็นกุศล ยังกุศลให้ถึงพร้อม ให้เรา เองมีธาตุที่จะเกิดอุตสาหะ วิริยะ พาก็พียร ธาตุที่จะทำให้เราเกิดอินทรีย์พละแก่กล้าขึ้น มันก็เกิดจริงๆนะ ดูวิดีโอนี่ ก็เป็นเครื่องอุดหนุน ให้เราเป็นอย่างนั้นได้ เราก็จะรู้จริงๆเราก็จะได้ประโยชน์จากมันจริงๆ อย่างน้อย บอกแล้วว่า ที่ให้มาดูเรื่องเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องที่จะหยาบคาย มอมเมา ดูแล้วก็จะกิเลสโตขึ้นอย่างจัดจ้าน ไม่จัดจ้านหรอก ไม่โตขึ้นจัดจ้านหรอก เพราะว่าไม่ได้ไปเลือกเอาอย่างที่มันจะมามอมเมาถึงขนาด อะไรที่มันราคะแรงจัด โทสะแรงจัด อะไรที่มันไม่ค่อยเข้าท่าเข้าทีอะไรนักหนา บู๊หั่นแหลก ราคะท่วมจอ ประเภทที่เขาก็ทำกันมายั่วย้อมกันมากมาย เราก็ไม่ถึงขนาดนั้น แต่ก็พอมีลีลาสื่อให้รู้ นี่มันก็เป็นลีลาของมนุษย์ ชีวิตเรื่องราว ประกอบไปด้วยรัก ด้วยชัง ประกอบไปด้วยราคะ โทสะ อย่างนี้แหละเป็นหลัก เราก็ได้ดู ก็คลายโมหะ คลายความหลงผิด เข้าใจชัดๆ รู้ชีวิต รู้พฤติกรรม รู้ความเป็นไปของมนุษย์ แล้วก็ยิ่งเกิดความเบื่อหน่าย เกิดความเห็นทุกข์ คลายจาง อะไรขึ้นมา มันก็เกิดคุณค่าประโยชน์ อย่างนี้เป็นต้น เราดูไปเราก็รู้ จิตใจของเราได้อะไร หรือไม่ได้อะไร ได้ทำอะไรต่อผัสสะต่างๆ เป็นตัวอย่างว่า แม้แต่ผัสสะจากหนัง จากละคร เวลาไปเจอ ของจริงเข้าล่ะ มันจะพอระลึกได้ไหม มันจะพอเตรียมตัวเตรียมใจได้ไหม มันก็เหมือนกันกับ ผู้ที่ชกหุ่น ชกกับหุ่น ฝึกหัดกับหุ่น กับอะไรต่ออะไรไป หรือไม่ใช่หุ่นหรอก มันจะมีการตอบโต้ เหมือนกับในหนัง เขาเอาหุ่นฟางที่จะเป็นคู่ซ้อมของวรยุทธ์นะ เห็นไหม ทำเป็นหุ่นฟาง ต่อสู้กัน อะไรต่ออะไร มีผู้ถามว่า ถ้าโยมบางคน ขณะนี้มีอยู่ ซื้อหรือเช่าชุดวิดีโอ เรื่องเดียวกับที่ฉายที่วัด ไปดูที่บ้านของตนเอง มีโทษหรือคุณครับ ตอบได้ชัดเจน ฟังให้ดี ผู้ที่ซื้อวิดีโอชุดเดียวกับ ที่วัดเซ็นเซอร์แล้ว แล้วเอาไปดูที่บ้านตนเองคนเดียวนั่นนะ มันก็ดีกว่า คุณไปซื้อ โดยคุณ ไม่รู้เรื่องอะไร ก็ดูสะเปะสะปะเลย ก็ดีกว่า แต่ถ้าดูที่วัดนั้น มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีมิตรสหายดี มีความระมัดระวังดี คือมันช่วย มันมีอำนาจของวัด ของผู้คน ของอะไรต่ออะไร มันเตรียมตัว เหมือนกับเรานั่งอยู่บนศาลานี่ จะกินข้าว เราก็ต้องสังวรระวัง มากกว่าไปดูที่บ้านเอง ผีมันอยู่ล้อมเลย ผีมันก็เอาคุณไปกินมากกว่า แม้เรื่องนั้นจะเป็นเรื่องที่ เซ็นเซอร์แล้วก็ตาม มันก็กินตัวเราได้มากกว่า แต่ก็ดีกว่าเรื่องที่ ไม่ได้เซ็นเซอร์ เรื่องที่มอมเมาจัดจ้าน มันก็เอาไปลงนรกหมกไหม้ไปเลยร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าเรื่องที่มันเซ็นเซอร์บ้าง ก็เอาไปนรกไม่ลึก มันก็ดึงลงไป ไม่ใช่มันไม่มีบทรักบทชังนะ มันมีนะ มันมีสิ่งที่จะย้อมกิเลสให้เกิดราคะ เกิดโทสะเหมือนกัน เพราะฉะนั้น คุณไปดูเอง ไม่มีผู้เตือนสติ ไม่มีผู้คอยระมัดระวัง ไม่มีสิ่ง แวดล้อมอะไรเอื้อ แทนที่จะได้ประโยชน์เท่า มันไม่ได้เท่า แต่ก็ดีกว่าที่ไปซื้อเอาเอง ไปดูเอาเอง จากเขาส่งมา โดยแม้แต่ ก.บ.ว. ก็เท่านั้น พ่ายแพ้อำนาจโลก โลกีย์ ขนาด ก.บ.ว. มีน่ะ ก็ได้ขนาดนั้นแหละ มันก็ล้มๆเหลวๆอยู่ขนาดนั้น อาตมาก็เป็น ก.บ.ว.ของพวกเราขึ้นอีกชั้นหนึ่ง พยายามอยู่ เพราะฉะนั้นสรุปแล้ว ซื้อไปดูเองก็ดี ดีกว่าที่ไม่เอาเรื่องที่ตามที่เราเซ็นเซอร์ หรือดูสะเปะสะปะไปเลย เปิดรับจากช่อง ๓ ช่อง ๕ ช่อง ๗ ช่อง ๙ อะไรเอาเองเลย เขาส่งขี้หมูขี้หมาอะไร ก็ล่อเละไปเลย ทั้งโฆษณา ทั้งอะไรต่ออะไร สารพัดสารเพ ยิ่งโฆษณาแล้ว ยิ่งมันพยายามที่จะแหกคอก ยั่วย้อมเรา ให้มันดูดดึง ให้มันติดตรึงอะไรนักหนา สารพัน ทั้งที่มันไม่เกี่ยวกันเลย อะไรก็ไม่รู้ ดึงราคะ ดึงโทสะอะไรมาใส่ ส่วนมากก็ราคะ จะดูดดึงให้ติดน่ะ โฆษณาส่วนมากก็สร้างราคะ ยั่วย้อม เพราะฉะนั้น จะเห็นได้เลยว่า มันไอ้เรื่องไม่เกี่ยวกับผู้หญิงโป๊ ผู้หญิงเปลือย มันก็เอาผู้หญิงโป๊ผู้หญิงเปลือย เข้ามาประกอบเป็นเรื่อง โฆษณาสินค้า หรือโฆษณา สิ่งที่มันจะให้ดึง มันอย่างนั้นนะ ทุเรศทุลังการ มันก็ คนมันรู้น่ะ มันรู้ว่ากิเลสคนคืออะไร มันก็ทำ ต่างๆนานา พวกนี้ ถ้าไปดูเสียเอง มันก็ไปถูกพวกนี้ ซึ่งเราเอง เราจะไม่มีอินทรีย์พละเพียงพอ อดไม่ได้ ทนไม่ได้ ก็มันเปิด มันก็รับ เมื่อรับไปแล้ว มันก็ทนไม่ได้ มันก็เสียผลมากกว่าที่จะได้ผล เพราะฉะนั้น ที่เราอยู่นี่ เหมือนกับเราอยู่ในห้องปฏิบัติ ที่มีผู้ดูแล ควบคุม มีผู้ช่วยเหลือ พลาดพลั้งยังไงก็ช่วยกันทัน พยาบาลกันทัน ช่วยเหลือเฟือฟายกันได้ มันต่างกัน ก็ดี มีซักแทรกขึ้นมา ให้รู้เรื่องรู้ราว ว่ามันสมควร ไม่สมควรแค่ใด หลายคนก็ประมาท บอก เอ๊ย! เราดีแล้ว รู้แล้ว เราเข้าใจแล้ว เราศึกษามาแล้ว พร้อมวิทยายุทธ์ ก็ไปดูเอง ก็ถ้าเผื่อว่าคนนั้นดีจริงๆ ก็ช่วยตัวเองได้บ้าง ก็ได้ แต่อย่าประมาท อย่าอวดดีนก อวดดีแล้วก็เสียผล ตกไปแล้ว ก็ไม่รู้ใค รจะช่วยใคร ตัวเองก็ทำเอง แต่ถ้าพรักพร้อม อย่างที่เราทำกันอยู่ เป็นหมวดเป็นหมู่เป็นกลุ่ม ช่วยกันดูแลพิจารณา ช่วยกันรักษาสิ่งที่มันจะเสียหาย มันก็ดีกว่าน่ะ พูดถึงวิดีโอต่อ อาตมาเอง อาตมาก็บอกแล้วว่า วิดีโอนี่จะเป็นเรื่องใหม่ จะเป็นเรื่องที่เราเอามาใช้เป็นอุปกรณ์ในการศึกษา เอามาใช้จริงๆ เพราะฉะนั้นถ้าเผื่อว่าฐานไม่พอ อินทรีย์ไม่พอ เราก็อย่าดู ก็ไม่ได้ว่าอะไรกันน่ะ ผู้ใดที่เห็นแล้วว่า ดูแล้วดูไม่ไหวหรอก เราเสียผลทุกที นั่นอย่างหนึ่ง นั่นดูอย่างผู้รู้นะ อีกอย่างหนึ่ง ผู้ที่ไม่ดูวิดีโอนเพราะจิตของตนเองยังถีนัง จิตมันยังกระด้าง มันยังมึนชาอยู่ จิตถีนัง มิทธัง คือจิตยังเพ่งโทษ จิตยังไม่รับ ไม่เปิดจิต เพราะฉะนั้นทุกคนจะดูได้ เป็นพระอริยเจ้าสูงขึ้นมานี่ ดูได้ทุกองค์แหละ พยายามเข้าใจให้ดีนะ หนึ่ง มันไม่ใช่อริยเจ้า หรืออริยเจ้าอ่อนแอ มันดูไม่ไหว นั้นก็ต้องตัดรอบไป อย่าดู อย่าเพิ่งดู แต่รู้ว่าเราดูไม่ได้ เรายอมรับว่าเราดูไม่ได้ เราดูแล้วเราอ่อนแอ เราดูแล้วเราเสียผล เราดูแล้วกิเลสมันเกิด กิเลสมันขึ้น ก็รู้ตัวเอง เอ้า! อย่าดู ห้ามใจให้ได้ แล้วมันจะอยากดูนะ เพราะฉะนั้น ต้องห้ามใจตัวเราเอง ว่าอย่าดู อย่าดูเลย เราดูแล้วเราเสียผล รู้ตัวเองน่ะ เพราะฉะนั้นต้องถือศีลให้เคร่ง ว่าเราอย่าดู ถือศีล ๘ ให้เคร่ง อย่างเราไม่ดูมหรสพ การละเล่นเลย จะดียังไง จะคัดเลือกมาอย่างไร เราก็ดูไม่ไหว ดูแล้วเราสู้ไม่ได้ ต้องพรากไม้ ที่ชุ่มด้วยยาง ออกจากน้ำเสียก่อน นี่ฐานะหนึ่ง อีกฐานะหนึ่งก็ที่จริงน่ะ ตัวเองจะดูได้ หรือดูไม่ได้ ยังไม่รู้เลย จิตถีนัง จิตมิทธัง พ่อต้านลูกเดียว ไม่เอาลูกเดียว ปฏิเสธลูกเดียว ไม่เห็นว่าดี พวกซื่อบื้อ คือ ไม่รู้จักศีล อธิศีล ไม่รู้จักฐานะ ไม่รู้จักอะไร ก็ไม่เอาลูกเดียว เพ่งโทษลูกเดียว เอ๊ย! ไม่ดีหรอก พาให้ตกต่ำ พาให้อะไรต่างๆนานา อาตมาคิดว่า หลายคนนะ จะรู้สึกว่า ตอนแรกๆ นี่ต้านจริงๆ เหมือนกัน เอ๊! ทำไมมันมีอย่างนี้ เพราะมันใหม่มันแปลก มัน เอ๊! อะไร เอาอันนี้มาเป็นเครื่อง อุปกรณ์ การเรียนการศึกษาปฏิบัติธรรม หนอย! ปฏิบัติธรรมอย่างเราปฏิบัติธรรม โลกุตระซะด้วย เอ๊! มันจริงหรือ มันตลกหรือเปล่า หลายคน อาจจะเกิดจิตผลัก หรือจิตไม่เชื่อ ไม่อะไรต่ออะไร พอได้ค่อยๆศึกษามา ค่อยๆสัมผัส ค่อยๆอบรมตน ค่อยๆฟังตาม ค่อยๆพิจารณาตาม ค่อยๆ ปฏิบัติไป นี่ก็นานพอสมควรแล้ว เออ! จิตก็คลายก็เปลี่ยน เออ! จริงนะ ได้ผลกว่านะ ได้ประโยชน์นะ แทนที่จะเสียประโยชน์ ได้ประโยชน์จริงๆ ทำให้เราดีขึ้นนะ ปฏิบัติธรรมดีขึ้น หลายอย่าง ว่าเออ! เราเห็นทุกข์ เราได้ต่อสู้ ได้ซ้อมเหมือนกับโรงซ้อม มีเครื่องไม้เครื่องมือซ้อม เหมือนนักมวย มีหุ่น มี punching ball มีกระสอบทราย มีตัวนกหุ่นที่มันชกตอบอะไร หรือมีคู่ซ้อม สมมุติคู่ซ้อมขึ้นมา นักมวยนี่เขาก็มีคู่ซ้อม สมมุติคู่ซ้อมขึ้นมาชกจริงๆ อะไรจริงๆขึ้นมา ก็เหมือนกันกับชกจริงๆ อะไร เอ๊อ! เราได้ฝึกฝนจริงๆ เราได้รับเรียนรู้ อย่างน้อยมันจะเพื่อเกิดอะไร ก็แนะนำนะ ดูนี่ ดูให้ดีนะ จะได้เห็นบทบาท ของทุกข์เพื่อให้เกิดการรู้ทุกข์ ทุกเรื่องคือเรื่องของ บทบาท ของทุกข์ทั้งนั้น ไม่ละเว้น ทุกเรื่อง คุณจะดูยังไง ไม่ใช่เรื่องดูให้เกิดบทบาทสุข มันเกิดบทบาททุกข์ทั้งสิ้น ทุกข์หยาบ ทุกข์ละเอียดอย่างไร ก็ดูกันให้รู้ก็แล้วกัน สอง ได้เพื่อจะได้ เข้าห้องซ้อม เข้าทำแบบฝึกหัด นี่ลีลาพวกนี้ กระทบสัมผัส บทราคะ บทโทสะ อะไรธรรมดา ของโลกนี่แหละ สาม วิจัยซ้อนลงไปให้เห็นว่า อะไรที่ควรซาบซึ้ง อะไรที่ควรยังไว้อาศัยเป็นกุศล อะไรที่ควรจะต้องประทับใจ เอามาไว้สำหรับใช้ฝึกฝนเป็นเครื่องมือที่จะสร้างเป็นเครื่องอาศัย มันจะมีคุณค่าความดี สิ่งนั้น สิ่งนี้ หรือจิตใจของเรามันเฉื่อย มันเฉย ไอ้ตรงนั้นตรงนี้ มันน่าจะเป็น ตัวกระตุ้นให้เราตื่น ให้เราเห็นดี ยินดีในสิ่งที่น่ายินดีบ้าง เราก็จะนกได้รู้ อะไรที่มันไม่น่ายินดี แต่เราหลงยินดีอยู่ เราก็จะได้รู้ตัวรู้ตนชัด เราก็จะได้ โอ๊! อันนี้ต้องดับ ต้องพัก สิ่งใดน่าประทับใจ ไอ้ที่อาตมาเน้นตัวยินดี ก็เพราะว่าพวกเรานี่มันตกภพ มันจะเฉื่อย มันจะแฉะ มันอะไรก็จะไม่เอา จะมะลื่อตื้อๆ อีกหน่อยก็เดินลงเหว เดินเข้ารู กลายเป็นฤาษี อีกหน่อยก็พากันเดินขบวน ไปอยู่ ยอดเขา Everest กันหมด อาตมาจะอยู่กับใครล่ะ พวกคุณหนีกันหมดแล้ว หนีเข้าไปอยู่เขา Everest หมด อาตมาก็อยู่คนเดียวไม่ได้ อาตมาไม่ อยากให้คุณหนีเข้าไป โอ๊ย! ไปแล้วสงบ บ๊ายบาย ไปสู่ที่ชอบที่ชอบ สงบขึ้นนั่นแน่ะ ภูเขาหิมพานต์ ป่าเขาลำเนาไพรไป หนีโลก เอาเข้าจริงๆ มันเป็น อย่างนั้นนะ มันก็จะไปอย่างนั้นจริงๆ อย่างพวกเรานี่หลายคน เห็นอย่างนี้ไปไม่รอดหรอก เขาจะเห็นอย่างนั้น ไปไม่รอดหรอกอย่างนี้ เดินเข้าหาสังคม มันทุกข์ แล้วเขาก็มีอินทรีย์พละ แบบนั้น แล้วเขาเชื่อว่า ทฤษฎีที่ถูกต้อง จะต้องหนี เดินเข้าป่าเข้าเขาเข้าถ้ำ ที่มันโต่งไปอีกทางหนึ่ง อย่างที่อยู่กับสังคมนี่ มันมีสมถะ มันมีสงบ มันมีดับสนิท อาตมาขอยืนยันว่า ศาสนาพุทธ ไม่หนีโลก เหนือโลก โลกุตระเหนือ ไม่หนี ส่วนหนีนั้นนะ ยิ่งปฏิบัติยิ่งเห็นว่า ออกไปอยู่ป่าดีกว่าๆๆ แล้วก็ใจก็โน้มไปในป่า แม้คำตรัสที่บอกว่า เรายินดีในป่า ยินดีในป่านี่นะ มันก็ไม่ใช่โต่ง ไม่ใช่สุดโต่ง ว่ายินดีในป่า ก็ยิ่งเห็นป่าช้าป่าชัฏ ที่มันลึก มันเงียบ มันสงบ แล้วก็จะยินดีในป่า

(อ่านต่อหน้า ๒)

File 0466A.TAP