สมาธิ และ สัมมาสมาธิ ตอนที่ ๒

โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๓ เม.ย.๒๕๓๓
เนื่องในงานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ ๑๔ ณ พุทธสถานศาลีอโศก


วันนี้ วันที่ ๓ แล้ว งานคราวนี้ อาตมาเห็นว่า มันเป็นความเรียบร้อย เป็นความเรียบร้อยขึ้นมากเลย เข้าระบบ มันรู้งาน มันรู้ไอ้นั่นไอ้นี่ อะไรต่ออะไรดีขึ้นมาก แล้วพวกเราก็ดูเหมือนจะเป็นคนเก่า เสียเยอะ อย่างนี้ มันจะเข้าเป็นแกนใน มันก็จะขัดเคี่ยว เพราะฉะนั้น แม้แต่อย่างนี้ เราก็อย่าพึ่ง ตายใจ อย่าพึ่งคิดว่ามันดีแล้ว มันดีขึ้น แต่ดียังมีอีก มีดี ดีกว่า ดีมาก ดีที่สุด อ๋อ มีดีมากที่สุด อีกเหรอ โอ้โฮ !เสริมอีก มันมีดีอย่างนี้เรื่อยไป มันจะต้องดี คือ หลายๆอย่าง เราอย่าไประมาทว่า ไอ้นี่จบแล้ว เราอย่าประมาทว่า นี่จบแล้วง่ายๆ โยนิโสมนสิการ ตรวจตรา ญาณปัญญา ที่ละเอียดลออ สุขุม ประณีต แยบคาย มันจะเกิดจริงๆ มันจะค่อยๆพิจารณา ค่อยๆเห็นสิ่งที่ดี ยิ่งกว่านั้นอีก มีอีก เราต้องพากเพียร มันจะยากขึ้น มันจะต้องพยายามเข็น ที่จริง มันไม่ยาก ขึ้นหรอก มันง่ายกว่าเก่าที่จริง มันละเอียดขึ้นนี่ มันง่ายกว่าเก่า แต่ว่าคนเรามันติด มันติด สบาย มันติดที่ว่า ได้ดีขนาดนี้แล้ว มันก็เอ้า มันก็ได้อาศัยดีแล้ว แล้วมันก็ไม่อยากจะทำต่อ ซึ่งถ้าไปคิด อย่างนั้นแล้วละก็ ไปไม่รอดน่ะ

พวกเราก็รู้สึกว่าหมู่นี้ต่างกับเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วเยอะ ก็มีการปรับตัวกันได้ง่ายขึ้น แต่ก็จะต้องได้ ง่ายขึ้นอีก ปรับตัวกันได้ง่ายขึ้น มันไม่ดื้อเหมือนเก่า แต่ละคนๆ มันไม่ดื้อเหมือนเก่า แต่ใครยังดื้ออยู่ รู้ตัวนะ ที่มันไม่ยอมอยู่นั่นแหละ ไม่ปรับ ไม่อะไรต่ออะไร มันก็มีด้วยเหตุที่เป็นหลักๆ ก็คือ อวิชชา คือ มันไม่เข้าใจ มันไม่รู้ มันโง่ มันไม่รู้ตัว มันดูไม่ออก นึกว่าตัวเองนี่ดี ตัวเองนี่ถูก นี่เป็นตัวร้ายที่สุด มันหลงว่า ตัวเองดี ตัวเองถูกอยู่นั่นแหละ มันก็ไม่ปรับ ไอ้อย่างนี้ มันประเภท อวิชชาแท้ๆ มันโมหะ มันหลงผิด มันเข้าใจว่า เอ๊ เราถูก เราดี เราถูก เราดี มันก็ไม่ปรับ นี่ อันหนึ่ง อีกอันหนึ่ง มันรู้ว่า เราเองไม่ดี เราเองไม่ถูก แต่มันดื้อ มันดื้อ เขาเรียกถัมภะ มันดื้อ รู้ว่ามันไม่ดีล่ะ แต่ดื้ออยู่อย่างนั้น ไอ้อย่างนี้ เราไม่รู้ว่า จะแก้มันอย่างไร เพราะตัวเองดื้อเอง ทั้งโง่ ก็ไม่รู้จะแก้ อย่างไรเหมือนกัน พูดอย่างไร มันก็ไม่รู้ อธิบายยังไง มันก็ไม่รู้ แหม ไม่รู้จะทำอย่างไร ชี้อย่างไร มันก็ยัง เอ๊ ก็ว่าตัวถูก อยู่นั่นแหละ ก็คงจะเหมือนทางโน้นเขาเหมือนกัน เขาว่า เอ๊ โพธิรักษ์นี่ ทำไมมันดื้อจัง ก็คงจะว่า เราโง่ เราดื้อล่ะน่ะ ทั้งโง่ ทั้งดื้อล่ะ เอ๊ ทำไมมันโง่นัก ก็มันไม่ถูก ให้แก้ก็ไม่แก้สักที ให้เปลี่ยน ไม่เปลี่ยน ดื้อ สู้ ต่อสู้อยู่นั่นแหละ เขาคงว่าเราเหมือนกันนะ เขาหาพ่อท่านฉลาด แต่ดื้อ ฉลาดก็ยืนยันนะ ไม่ใช่ดื้อ มันไม่สอดคล้องกันหรอก ฉลาดแต่ดื้อได้เหรอ ไอ้นั่น ไม่ฉลาดจริงหรอก นั่นน่ะ เฉกตา ฉลาดแกมโกง ถ้าจริง มันต้องฉลาด มันต้อง ชัดเจน คม ชัด ว่านี่ มันดีจริงๆ เมื่อดีจริงๆ แล้ว เราก็ยืนหยัด ยืนยันอันนี้ ไม่ใช่ดื้อ ยืนหยัด ยืนยัน มั่นคง นั่นเรียกว่า ฉลาดจริงๆ เอาล่ะ ถึงยังไงๆ ไอ้ตัวดื้อนี่ มันมีดื้ออย่างยักษ์ ดื้ออย่างใหญ่ ดื้ออย่างกลาง ดื้ออย่างเล็ก ดื้ออย่างบรรจุซอง มันก็ดื้อหลายขนาด เพราะฉะนั้น ก็ลองดู เป็นคนว่าง่าย สอนง่าย อาตมาจะเอา โสวัจจัสตา การเป็นคนว่าง่าย มาให้มีลักษณะ ๑๑ ประการ นี่นะ เป็นคนว่าง่าย เราลองมองดูซิว่า ถ้าเราเป็นคนว่าง่ายนี่ มันจะเป็นอย่างนี้ไหม ถ้าเรายังไม่ เป็นอย่างนี้ มันยังดื้ออยู่ ไม่ดื้ออย่างยักษ์ ก็อาจจะดื้อบรรจุซองอยู่ก็ได้ ตรวจสอบดูซิ มันจะเข้าหลัก เข้ารอยว่าเป็นว่าง่าย เราเป็นคนว่าง่าย หรือเปล่า ลักษณะเป็นคนว่าง่าย ๑๑ ประการคือ

๑. ไม่กลบเกลื่อน เมื่อถูกว่ากล่าว ตักเตือนนี่ ไม่กลบเกลื่อน ลองตรวจดูซิว่า เราเป็นคนอย่างนั้น หรือเปล่า พอถูกว่ากล่าวตักเตือนแล้ว เออ เราก็ไม่กลบเกลื่อน ไม่เลี่ยง ไม่อะไรต่ออะไรไปล่ะ

๒. ไม่อยู่นิ่งเฉย นอกจากไม่กลบเกลื่อนแล้ว พอเขาบอก ก็แก้ไขเลย ปรับปรุงเลย เปลี่ยนแปลงเลย ไม่อยู่นิ่งเฉย เมื่อถูกตักเตือน ข้อ ๑. ไม่กลบเกลื่อน เมื่อถูกว่ากล่าวตักเตือน ๒. ไม่อยู่นิ่งเฉย เมื่อถูกตักเตือน

๓. ไม่มีจิตเพ่งโทสผู้ว่ากล่าว สั่งสอนผู้ว่ากล่าว สั่งสอนนี่นะ ไม่ได้หมายความว่า เป็นครูเราเท่านั้น เป็นผู้ที่เราศรัทธาเท่านั้น เพราะฉะนั้น คนดื้อนี่ มันไม่ดื้อเท่าไหร่หรอก ไม่ดื้อเท่าไหร่หรอก ผู้ที่ศรัทธายกให้ ยอมแล้วนะ มันก็ไม่ค่อยดื้อเท่าไหร่หรอก แต่มันจะไปดื้อกับไอ้คนที่พอๆกัน หรือว่าไปเข้าใจ ว่าเขาแย่กว่าเรา เขาต่ำกว่าเรา เรามันก็ดื้อไปเลย คือมันเพ่งโทสเขาก่อน ข่มเขาก่อน อย่างนี้ อย่างนั้นก็พวกดื้อเหมือนกัน ไม่ใช่พวกโสวจัสสตา ไม่ใช่พวกว่าง่าย ความไม่มีจิตเพ่งโทส ผู้ว่ากล่าวสั่งสอน

๔. เอื้อเฟื้อต่อคำสอน และต่อผู้สอนเป็นอย่างดียิ่ง ไม่เพ่งโทส แล้วก็ไม่กระด้างด้วยนะ เอื้อเฟื้อ เขาว่าอย่างไรก็ เออ มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ ที่ยอมรับ โยงใยอย่างดี เอื้อเฟื้อต่อผู้ที่ ไม่เป็นการ ประชดประชัน กระด้าง กระทบ กระแทก ประชดต่ออะไร ไม่มีนะ

๕. เคารพต่อคำสอน และต่อผู้สอนเป็นอย่างดียิ่ง เคารพ นอกจากเอื้อเฟื้อแล้ว ก็มีความคารวะ มีความเคารพอยู่ในตัว ลักษณะพวกนี้ ละเอียดนะ เคารพคารวะนี่ ถ้าเราจะเคารพคนใหญ่คนโต คนสูงแน่นอน เราก็เคารพได้ง่ายๆ ไม่มีอะไร มันก็เคารพอยู่แล้ว อยู่เฉยๆ พอเดินสวนก็เคารพ อยู่แล้ว อย่างนี้ มันไม่มีปัญหาอะไรหรอก ต่อผู้สอน หรือคำสอน แต่เราจะเคารพคนที่เขาสอน คำสอนของเขา ผู้สอน ซึ่งไม่ใช่ผู้ที่เราเคารพนี่ซิ นี่ ทดสอบใจนะ อ่านใจตัวเองว่า คำสอนของคนมีค่า ยิ่งเขาสอนถูก จะเป็นใครเขาสอนเราก็ตาม เด็กก็ตาม เขาสอนเรา พอบอกเราเตือนเรา เด็ก เด็กซื่อๆ บางทีมันสอนเลยนะ แต่คำสอนนั้น มันเป็นความจริงนะ มันความถูกต้อง มีค่า มีประโยชน์ ถ้าเราฟัง เราว่า เออ ไอ้แบบนี้ มันเคารพได้นะ เคารพ แม้เราจะไม่ทำรูป เพราะว่า เราเป็นผู้ใหญ่ เด็กเขาสอน แต่เราก็รู้สึกในใจของเรานี่ จิตของเรา มันเป็นตัวเร็วๆ ทีเดียวล่ะ มันเป็นตัวที่มันจะดี หรือมันจะไม่ดี มันก็อยู่ความจริงที่จิต จิต ถ้าเรามีความสำนึก มีความเคารพ การเคารพนี่ อยู่ในใจเราก็ได้ เราอาจจะไม่ทำออกข้างนอก เพราะว่าเด็กนี่ เออ เขาเป็นเด็กนะ แล้วเราก็จะไปเคารพ ประเดี๋ยวเด็กก็จะไม่เข้าใจ จะกลายเป็น อย่างโน้นอย่างนี้ เด็กก็จะกลายเป็นมานะ แต่เราก็รู้สึกว่ าเราเคารพในใจนะ จิตอย่างนี้ มันเป็นได้ แล้วเรารู้สึกได้ เราเข้าใจเราได้ เพราะฉะนั้น ต้องมีจิตที่แยบคาย โยนิโสมนสิการ รู้ใจตัว แล้วก็ทำ ถ้ามันไม่เป็น ต้องทำ รู้สึกแล้วต้องฝึก เมื่อเข้าใจแล้ว มันมีเหตุการณ์ มีเรื่องราวจริง ต้องฝึก ฝึกให้ได้ กระทำให้ได้เสมอ มันไม่เลวลงหรอก ไม่เชื่ออย่าเชื่อ มันไม่เลวลงหรอก

๖. มีความอ่อนน้อม ถ่อมตนเป็นอย่างดียิ่ง อันนี้ไม่ต้องอธิบายล่ะ อ่อนน้อมถ่อมตน ถ้ามันดื้อด้าน แล้วมันก็อ่อนไม่ลงล่ะ

๗. มีความยินดีปรีดาต่อคำสอนนั้น รู้สึกว่า เออ คำสอนนั้น พยายามถ้าจิตใจมันไม่รู้สึกยินดี มันไม่รู้สึกปรีดิ์เปรม มันไม่รู้สึกว่า โอ้ มันน่าดีอกดีใจนะ คำสอนอย่างนี้ แม้เล็กแม้น้อย ถ้าผู้ที่ยิ่งละเอียดลออนี่ จะเห็นว่า แม้แต่คำสอนนิดๆหน่อยๆ เล็กๆน้อย ไม่ใช่คำสอนที่จะแก้ไข ปรับปรุงใหญ่โตอะไรหรอก แก้ไขเล็กๆน้อยนี่ เพราะเวลาคนเรามันดีมากๆๆ แล้วมันจะมีเหลือ ส่วนเศษอะไร เล็กๆน้อยๆเท่านั้นแหละ มันไม่ใช่เรื่องใหญ่เรื่องโต เรื่องใหญ่เรื่องโตเราทำได้แล้ว ก็เหลือเรื่อง ละเอียดลออ เรื่องเล็กๆน้อยๆ บกพร่องนิดๆหน่อยๆ คำสอนเล็กๆน้อยๆ เหล่านี้แหละ เราก็มีความยินดี โอ้ นี่ แหม ได้เติม ได้เพิ่ม บางทีมันหลง บางทีมันหลุด บางทีมันยาน มันไม่ละเอียด ปัญญาเราไม่ละเอียด มีคนนั้น คนนี้เตือนได้ ติได้ เขามองเห็นได้ เล็กๆน้อยๆ เท่านี้ เราจะเป็นคนที่มีญาณรู้ว่า อ้อ นั่นแหละ คนที่แยบคาย คนที่ละเอียดลออสุขุมประณีต เขาก็จะเห็น เห็นได้ รับได้ จับได้ อ้อ นี่ นิดหนึ่ง น้อยหนึ่ง มีค่า น่ายินดีปรีดานะ เราก็จะต้องรู้สึกอย่างนั้น

๘. กำปั้นทุบดิน ไม่ดื้อรั้น ผู้ว่าง่ายก็คือ ไม่ดื้อรั้น

๙. ลึกเข้าไปอีก จะต้องมีใจละเอียดอีก ไม่ยินดีในการขัดคอ ระวัง ไปยินดีกับไอ้คนที่เขา แหม ขัดคอกัน อย่างโน้นอย่างนี้ เหมือนพระพุทธเจ้า ไปยินดีที่เห็นชาวประมงฆ่าปลา ชาวประมง กำลังฆ่าปลาอยู่ ท่านก็ไปยินดี ใจท่านมีอาการยินดีนิดหนึ่งกับเขาไปเท่านั้นเอง โอ้ เป็นวิบากมาก ก็ต้องมาปวดหัว เพราะวิบากไปยินดี เห็นคนฆ่าปลา เขาฆ่าปลา ไปมีใจแว็บ ไปยินดีกับเขาได้ อย่างนี้ เป็นต้น นี่เป็นความละเอียด เราต้องลึกซึ้งขึ้น เราอย่าไปยินดีการขัดคอ คนทะเลาะเบาะแว้งกัน ทำอะไรต่ออะไร ใครเขาจะชนะคะคาน ใครเขาจะเถียงกัน จนอย่างนั้น ก็อย่าไปสะใจ อย่าไปไอ้โน่นไอ้นี่อะไรกับเขานัก อย่าไปยินดี ในการขัดคอ

๑๐. มีปกติรับโอวาทเอาไว้ดีเยี่ยม ละเอียดขึ้นไปอีก มีปกติรับโอวาทเอาไว้อย่างดีเยี่ยม มีปกติรับ คำกล่าว คำเตือน โอวาทคำสอน คำที่เขาให้ เราก็เป็นคนที่ว่าง่าย เป็นคนที่ จริงๆแล้วก็ไม่ใช่ว่า ยินดีจะต้องรับดูเนื้อเรื่อง เนื้อหาที่เขาให้ โอวาทนั้น มีเนื้อเรื่องอะไร มีเนื้อ แม้จะมีเนื้อ ไม่ค่อยมากล่ะ มีเนื้อนิดๆ มีน้ำเยอะๆ อะไรก็ช่าง ก็เราก็ต้องดูเนื้อ ดูน้ำอะไรของเขา ถึงแม้จะเนื้อนิด อย่างที่ว่านี่ คือ มีเนื้อหาสาระไม่มากหรอก เป็นโอวาท เป็นอะไรโหรงๆเหรงๆ ไปอย่างนั้นก็ตาม เราก็เป็นปกติ ทำให้เป็นผู้ที่มีความยินดีต่อผู้ที่จะให้โอวาท ให้อะไรๆกับเขา อย่าไปลบหลู่ดูหมิ่น อย่าไปเที่ยวได้ทำใจ อะไรต่ออะไร ไปในทิศทางที่มันไม่ดี นี่ เป็นความละเอียด เราไม่ได้พยายาม รู้สึกไตร่ตรอง ไม่พยายามที่จะได้กระได้ฝึกฝน มันจะหยาบๆ อยู่อย่างนั้น อ่านดูดีๆ แล้วใคร่ครวญดู ถ้าเผื่อว่า เราได้ฝึกปรือ กับความรู้สึกพวกนี้เข้าไปอีก เราจะเป็นคนที่มีจิตละเอียด แล้วก็รู้จักความดี เก็บความดี ที่ยิ่งละเอียดๆ มันยิ่งเล็ก ยิ่งน้อยอะไร เก็บความดีที่ละเอียดเหล่านี้ขึ้นได้

๑๑. เป็นผู้อดทนๆ มงคลสูตรข้อที่ ๒๘ ที่บอกว่า โสวจัสสตา แปลว่า คนว่าง่ายนี่ จะมีคุณลักษณะ ต่างๆ ที่เราจะต้องเก็บละเอียด ดูแล พยายามปรับ พยายามทำอะไรเข้าไป ก็ขยายความ ให้ฟังบ้างแล้ว เล็กๆน้อยๆ เพราะฉะนั้น พวกเรานี่ นับวัน เรามีดี เรามีอะไรที่เจริญขึ้น เราก็ควรจะเจริญขึ้นไปเรื่อยๆ มีอะไรที่ยิ่งฐานะของบุคคลแต่ละคน บางคนก็เก็บละเอียดก่อน บางคนก็ทำหยาบก่อน ก็ได้ บางคนก็ทำไปทั้งสองด้าน หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง จะต้องเป็นคน ที่มีจิตใจ ที่จะต้องดูจริงๆ อะไรที่มันเป็นอกุศล อะไรที่มันมีข้อบกพร่อง อะไรที่เป็นของที่ไม่ค่อยดี เรารู้ตัว เราก็พยายามปรับ พยายามกระทำ เราได้พัฒนา พวกเราชาวอโศก ในหมู่กลุ่มกันมานี่ จนกระทั่งทุกวันนี้ อาตมาว่า พวกเรานี่ มีความมั่นใจ เป็นผู้ที่มั่นใจ ความมั่นใจที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะว่า มันมีเวลานานๆ เฉยๆ บางคน มันนานถึงขนาดนี้นี่ มาถึงวันนี้แล้ว เราก็อยู่มา ๖ ปี ๘ ปี แล้ว สมควรเวลาควรจะจากกันได้แล้วมั้ง เพราะว่า มันไม่เข้าท่าเลย ยิ่งอยู่ไปนาน ก็ยิ่งเหลาะแหละ ยิ่งเห็น ไม่ได้เรื่อง นี่ เรียกว่า ไม่มั่นใจ แม้จะอยู่นาน ยิ่งอยู่นานยิ่งไม่เข้าท่า จะต้องจากไปแล้ว จะต้องอยู่รวมไม่ได้แล้ว จะเป็นอย่างนี้ ไม่ได้ต่อไปแล้ว

เพราะฉะนั้น การอยู่นานๆ ก็ไม่ได้หมายความว่า มันจะมั่นใจ ที่มั่นใจ ยิ่งอยู่นาน ยิ่งมั่นใจ มันก็ต้องมีอะไรล่ะ จะต้องมีความจริง ความจริง อาตมาได้เน้นมีนัยะถึง

๑. ความจริง จะต้องมีเงื่อนไขว่า มันต้องเป็นความดี เป็นนิยาม จำกัดความว่าความจริง ที่จริงความชั่ว มันก็เป็นความจริง แต่ว่าเราไม่เอาล่ะ ความจริงอันนั้น อย่างนั้น เรามาปฏิบัติความจริง นี้ก็คือสัจจธรรม โดยเฉพาะ ยิ่งเป็นอริยสัจ อริยสัจคือ ความจริงอันประเสริฐ อริยสัจ อริยะนี่คือ ความประเสริฐ ความจริงอันประเสริฐ เพราะฉะนั้น เราจึงจำกัดความของเรา ลงไปว่า ความจริงนั้น จะต้องมีความดี เป็นความดี

๒. ต้องเป็นประโยชน์คุณค่าๆ ดีงาม เป็นความดี เป็นความถูกต้อง เป็นสองนัย แบ่งเป็นหลายๆ นัย ก็ได้ เป็นความดี ๑.เป็นความดี ๒.เป็นความถูกต้อง

๓. เป็นความเป็นประโยชน์คุณค่า ความถูกต้อง ความดี ความถูกต้อง จะแบ่งเป็นอีก เป็น ๕ ก็ยังได้ หนึ่งดี สองถูกต้อง สามเป็นประโยชน์คุณค่า สี่

๔. เป็นความพ้นทุกข์ๆๆ ตัวสำคัญจริงๆ ที่อาตมาย้ำจริงอยู่ทุกทีว่า ความจริงคืออะไร คือความเป็นไปได้ ต้องเป็นไปได้ ต้องทำได้ พอสสิเบิ้ล ไม่ได้อิมพอสสิเบิ้ล ต้องเป็นไปได้ ต้องทำได้ เพราะฉะนั้น ในความดี เราจะคิดถึงความดีที่เลิศลอย วิเศษวิเสโส แต่คนเป็นไปไม่ได้ อันนั้น ไม่ใช่ความจริงหรอก มันความเพ้อฝัน คนเราทุกวันนี้ ชอบคิดอะไรเพ้อๆ ฝันๆ บ้าๆบอๆ อะไรเยอะ เพราะฉะนั้น เราจะต้องมานิยามความจริงกันลงไปให้ได้ว่า ความจริงจะต้องไม่ใช่สิ่งเพ้อฝัน บอกว่าความจริงนี่ ต้องคิดให้ดี วาดภาพอะไรต่ออะไรให้ว่าดี แต่เสร็จแล้ว มันเป็นไปไม่ได้ มันไม่เอาล่ะ เมื่อจะเป็นความจริง ว่ามันดีแล้ว เราต้องมาทำพิสูจน์ เราต้องมาทำให้เป็นไปได้ ทำให้เป็นไปได้

อาตมาถึงเห็นว่า ในพวกเรา มีความจริงๆขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะเป็นไปได้ เป็นไปได้อย่างที่น่าอัศจรรย์ แล้วเราก็ทบทวนกันดูอยู่ว่า เรามาจนลงอยู่อย่างนี้ มาจนอย่างที่เราจน มันไม่ดีหรือไง แล้วอย่างที่เรา จนลงไปนี่ มันไม่เป็นประโยชน์หรืออย่างไร เรามาหัดจนนี่ ยกตัวอย่างง่าย ทางโลกเขากลัวนัก ความจน แต่เสร็จแล้ว เราไม่ค่อยกลัวหรอกความจน หนักๆเข้า บางทีหลายคน มาอยู่ที่นี่ ไม่อยากให้เพื่อนรู้หรอกว่า เรามี มันแปลก ทางโลกเขาอยากให้คนรู้ว่าฉันมี ฉันร่ำรวยนะ ฉันเยอะแยะ มาอยู่ที่นี่ ไปๆมาๆหนักเข้า ไม่อยากให้เพื่อนรู้ว่ามี เพราะเพื่อนจะรู้ว่า เราไม่ค่อย เอาออก ใช่ไหม เดี๋ยวเพื่อนจะรู้ว่า เราไม่ค่อยเอาออก คนมี แล้วมันก็ เอ๊ ก็เพื่อนเขาเอาออกเรื่อยๆ จนเขาจะหมดแล้ว เขาจะเป็นคนจนได้สำเร็จแล้ว เราเองไม่ค่อยเอาออก เพื่อนมันก็อาย มันก็ไม่ เหมือนกันกับทางโลก ทางโลกมันอยากจะให้คนเขารู้ว่า ไม่มี มันยังอวดทำเป็นมีเลย โอ้ย ขี้เก๊ ไม่ค่อยมี แหม ข้างนอก หรูหราฟู่ฟ่า จ่าย อวดอ้าง กลับบ้านล่อข้าวกับน้ำปลา ข้างนอกล่ะ ทำเป็นเขื่อง เป็นอะไรต่ออะไร แบกนั้นน่ะโลกๆ พวกนี้เขากลับกัน ทางเรานี่ ว่าเรามาสละออก เรามาเป็นผู้ที่อยู่ได้อย่างไม่มีอะไร มันไม่ใช่เรื่องง่ายนะ เรามาอยู่ได้โดยไม่ต้องสะสมอะไร ไม่มีอะไรล่ะ ทรัพย์สมบติอะไร ก็ไม่มีอะไร เป็นเรื่องจริงๆถึงขั้นอนาคามี อนาคามี หรืออนาคาริก อนาคาริยะ เป็นผู้ที่ไม่มีทรัพย์ศฤงคาร ไม่มีบ้านช่องเรือนชานแล้ว แต่มันอยู่ได้ มันเป็นเรื่องที่ ท้าทายมากในโลก ไม่ใช่คนจรจัด คนจะมีเพื่อน มีมิตรดี สหายดี มีญาติมาก ไปไหนก็มีที่พักที่พิง มีพี่มีน้อง สังคมอย่างนี้ บุคคลอย่างนี้ มันต้องมีสังคมล จะไม่มีสังคม มันไม่ได้

ทุกวันนี้ มันไม่มีสังคมอย่างนี้ ถ้าโดดเดี่ยวเดี่ยวดายให้ดีนะ ไปโน่น ไปนี่ มันไม่ไว้ใจกันแล้ว ถึงแม้จะรู้ว่าดี ยังพึ่งได้ยากเลย จะอยู่กันได้สักกี่วัน เป็นคนดีไป คนนี้ดี ไปบ้านโน้น บ้านนี้ แหม ไอ้นี่อยู่นาน มันไม่ออกจากบ้าน มันยังมาพะอยู่ที่บ้านอั้ว อย่างนั้น อย่างนี้ ทั้งๆที่เขาทำดีให้ บางทีเขาไม่ค่อยชอบหรอก แต่ถ้าพวกเรานี่ มีน้ำใจ มีโน่น มีนี่ อะไรต่ออะไรกัน อบรมเป็นวัฒนธรรม มีระบบ มีความเป็นไป ทางกาย วาจา ใจกัน สุดท้าย แม้แต่ แก่เฒ่า ป่วย พิการอะไรไปถึงขั้นนั้น ก็ตาม เราก็มีน้ำใจ มีเรี่ยวแรง มีความเกื้อกูลกัน ไม่ใช่คนเดียว แบ่งเบากันหลายๆคน ช่วยกัน คนละไม้ คนละมือ เห็นอก เห็นใจกัน เข้าอกเข้าใจว่า มาหนักอยู่คนเดียว มันก็ยาก ก็ลำบาก ต่างคน ต่างเห็นใจกัน ก็ไปผลัด ไปเปลี่ยนกันบ้าง เกื้อกูลกันบ้าง คนนั้นบ้าง คนนี้บ้าง ก็ยังไม่ตายจากกัน ก็ดูแลกันไป ช่วยเหลือกันไป สังคมอย่างนี้ เป็นสังคมมนุษย์ประเสริฐ มนุษย์แท้ๆ เป็นเมืองสวรรค์ เป็นสังคมที่เราจะต้องสร้าง เป็นสังคมที่เป็น ศรีอริยเมตไตย เป็นสังคมที่ จิตวิญญาณ เราเข้าใจ แล้วก็ฝึกฝน เห็นความจริงพวกนี้ ให้ได้ว่า มันเป็นความดีงามของมนุษย์ มนุษยชาติ ควรจะต้องเป็นอย่างที่กล่าว อย่างนี้ใช่ไหม หรือใครเห็นว่าไม่ดี ก็ไม่ต้องเอานะ ไม่ต้องอยู่ด้วยกันล่ะ ถ้าอยู่ด้วยกัน ก็ต้องมาเอาดีอันนี้ ฝึกฝนอันนี้จริงๆ ทำกันให้ได้ กี่ปี กี่เดือน กี่ชาติก็ทำ อาตมาว่า มันเป็นอย่างนี้ไป ไม่ใช่ว่าเฉพาะยุคนี้ สมัยนี้เท่านั้นแหละ อีกห้าร้อยปี ก็ไม่เอาแล้ว อย่างนี้นะ มีจิตใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูล เลี้ยงดูกันอย่างนี้ เขาไม่เอาแล้ว ไม่จริงล่ะ อีกห้าร้อยปี อีกห้าพันปี อีกห้าหมื่นปี มันก็ต้องอย่างนี้ มนุษย์น่ะ จริงๆ ไอ้อยู่อย่างแตกแยก อยู่อย่างระแหง อยู่อย่างตัวใครตัวมัน อยู่อย่างไม่เกื้อกูลกัน เอ้า ลองเดาดู ในใจลองคาดคะเนดูซิ ชาติไหน มันควรจะทำ ยุคไหน มันควรจะทำอย่างนี้ ยุคไหน มันก็ไม่สมควร นอกจาก มันทำไม่ได้ ใช่ไหมๆ นอกจากมันทำไม่ได้ ยุคไหนมันก็ไม่สมควรน่ะ ที่จะไม่ทำ มันจึงต้องทำอย่างนี้ จะต้องเกื้อกูลกัน เอื้อเฟื้อกัน เพราะฉะนั้น เราจะเกิดมายุคไหน สมัยไหน สัจจะที่ว่า มันเป็นความดี มีความถูกต้องจริงๆ มันก็ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงหรอก ที่มันเปลี่ยนแปลง ก็เพราะความไม่ดี ไม่งาม ความไม่ค่อยชอบมาพากล กิเลสมันเก่ง มันก็เลยไปกันใหญ่

เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่าเกิดมา เรายังมีคุณธรรม เรายังมีพุทธธรรม เรายังมีความรู้ คุณจะเกิดมา ในท่ามกลางกลียุค ซึ่งเป็นคนเห็นแก่ตัว กิเลสจัดจ้านอย่างไรๆ คุณก็จะไม่เห็นว่า โอ้ คนแก้ไขไม่ได้ ปรับปรุงไม่ได้ ก็จริงอยู่ แต่ความดี มันก็คืออันเดียวกันนั่นแหละ เราก็ทำของเรา เราทำได้คนเดียว สองคน ห้าคน ก็ทำกันไป ทุกวันนี้ ได้ขนาดนี้ ดีแค่นี้ อย่านึกว่า ดีใจว่าจะชมมากว่านี้นะ ได้ขนาดนี้ ดีแค่นี้ ก็ยังยาก แต่ยากก็ต้องทำ มันต้องทำให้ดียิ่งขึ้น ดีกว่านี้ ดีมากกว่านี้ เท่าที่เราจะพากเพียร มันพากเพียรให้ดีเท่านั้นแหละคนเรา แล้วก็ เมื่อมีมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดีอย่างนี้ มันหาง่ายที่ไหน แหม พูดแล้ว ไม่อยากจะพูด จริงนะ สังคมกลุ่มที่มันจะเป็นอย่างนี้ สังคม กลุ่มที่มันจะได้ขนาดนี้ อย่างนี้ มันไม่ใช่หาได้ง่ายๆ ยิ่งยุกกาลทุกวันนี้ มันแย่จริงๆ มันแย่ เราจะต้องพยายาม ให้เนียนยิ่งขึ้น ให้เจริญยิ่งขึ้น อย่าดูดาย ถ้าเราได้สั่งสม ได้อบรม ประพฤติ ให้มันดียิ่งขึ้น มันเป็นพลวปัจจัย เป็นวิบาก เป็นกัมมทายาโท เป็นมรดกของแต่ละคนๆๆ เป็นของ ตนๆ ไม่มีใครปล้นจี้เอาได้ ถ้าคุณไม่ทำก็ไม่ได้นะ คุณจะผลัดไปวันนี้ จนกระทั่ง ผลัดไปชาตินี้ ชาติหน้า มันก็ไม่ได้อยู่ทั้งชาติน่ะ ชาติหน้ามันก็ยังไม่ได้ ผัดไปมันยังไม่ได้ ขนาดได้บ้างแล้ว มันยังกร่อน ฟังคำว่ากร่อนแล้ว เพราะว่ากาละก็ อะไรก็ดี สัญญาก็ดี มันประกอบกัน สัญญาคือ ความจำ มันเป็นเจตสิกหนึ่ง ของสิ่งที่เป็นองค์ประกอบ ของจิตวิญญาณๆ มันมีสัญญา มันมีพวกนี้ สั่งสม มีสัญญานี่แหละ เป็นตัวสั่งสม เป็นตัวความจำ เป็นตัวกำหนดรู้ พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า สัญญาเที่ยงหรือเปล่า

ตอบ ไม่เที่ยง
สัญญาก็ไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น มันจะมีความเสื่อม มันจะมีความกร่อนอยู่ในตัวของมันเหมือนกัน ที่มันติดตัวเราไป มันติดตัวไปด้วยสัญญาๆมันจำ เป็นความสั่งสม เป็นความวิจิตรของจิต ถึงแม้กระนั้น มันก็ไม่เที่ยง สัญญาก็ไม่เที่ยง มันได้สัญญานี่ จำ หรือว่าผนึก หรือว่าสั่งสม เป็น พลวปัจจัยได้แน่น ได้แข็งแรงขนาดนั้น จริงๆแล้ว มันต้องมีเสื่อมอยู่ในตัวของมันบ้าง เพราะฉะนั้น ทำให้มันแม่น ทำให้มันมั่นคง ให้มั่นคงยิ่งขึ้นๆๆ มันไม่เที่ยงแท้ เราถึงต้องขวนขวาย ถึงต้องอุตสาหะ วิริยะอยู่เรื่อย ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ มันมั่นคงก็เพราะ เราสั่งสมมันมาก ไม่ได้หมายความว่า มันจะเป็นเอง มันไม่งอกเองนะ มีแต่มันจะเสื่อม เพราะฉะนั้น สั่งสมคุณค่า ความอดทน สั่งสมความเมตตา สั่งสมคุณค่า ความเฉลียวฉลาด อะไรก็แล้วแต่เถอะ ความสามารถในด้านนั้น ด้านนี้ สั่งสมลงไปนั่นแหละ สั่งสมไว้มากๆๆๆๆ มันจึงอยู่ได้คงทน หรือว่า ได้นาน ได้แข็งแรงนาน เพราะการสั่งสม มันจึงต้องทำอยู่ตลอดเวลาๆ ในสิ่งที่เราต้อง เข้าใจ ว่านั่นคือ ความมี ทีนี้กลับกัน ในความไม่มี เราปรารถนาให้อะไรไม่มี กิเลส ปรารถให้กิเลสไม่มี ขนาดกิเลสเราทำไปแล้วนี่ อาตมาจะพูดให้ฟัง ถึงเรื่องของอจินไตยอย่างหนึ่ง เราได้ยินมาว่า สิ่งที่ล้างสะอาดได้แล้ว สุญญตาสนิทแล้ว เสร็จจบแล้ว มันก็ไม่มี ความไม่มี มันก็ไม่เที่ยง อาตมาจะพูดให้ฟังนี่ มันเรื่องของพระโพธิสัตว์ เราก็ไม่มีแล้ว กลับมาเกิดใหม่ เอ๊ มันมีอีกแฮะ มันมีอีก เพราะโลก มันมอมเมาเรา โลกมันเอามาโป๊ะเราไว้ ก็ว่าเรามี มีไปตามโลก แต่มันก็ สลัดออกได้ เพราะเราเคยทำมาแล้ว มันจะต้องถึงคราว ที่เราจะร่อนไปได้เกลี้ยง เราเคยทำ เกลี้ยงแล้ว มันได้ ถ้าได้ถึงรอบที่เราทำสะอาดได้ มันก็เป็นของจริง ทีนี้ ถ้ามันร่อนได้ อย่างมัน มีระดับ อีกเหมือนกัน ร่อนได้ระดับที่เรียกว่า ร่อนได้อย่าง แหม ติดยาก มันก็อาบพอก ได้หลวมๆ สลัดปรื๊ด ก็เกลี้ยง ร่อนอย่างชนิดเรียกว่า ยังมีเนื้อดูดนิดๆ ทีนี้ล่ะ สลัดออกยากเลยทีนี้ นี่ เหตุผลง่ายๆ เหตุผลจริงๆ คุณฟังเอาก็แล้วกัน

เพราะฉะนั้น ถึงไม่ต้องไปคิดนึกอะไรเลย อย่าประมาทเอาให้มันได้เกลี้ยง ให้มันร่อน ให้มันหมดไป จนกระทั่ง มันมาแตะปั๊บนี้กระเด็นเองเลย ให้มันถึงอย่างนั้นเลย เพราะทุกอย่าง มันเกิดจากกรรม เกิดจากการสั่งสมทั้งนั้น แม้แต่เรื่องที่ไม่มี เพราะฉะนั้น ถ้าบอกว่ากิเลสเราไม่มี อย่าไปนึกว่า เราไม่มีแล้ว จบแล้ว อย่าไปเข้าใจตื้นๆ ว่านี่หมดแล้ว ถอนอาสวะสิ้นแล้ว หมดแล้ว เกลี้ยงแล้ว ไม่ต้องทำอีกแล้ว จริง ไม่ต้องทำอีก แต่รอบที่มันจะแน่นๆๆๆๆ จริงๆนั้น ไม่ใช่เรื่องภาษาพูด เพราะผู้นั้น รู้จริง แล้วก็ไม่ทำ ไม่รับเอง ไม่รับจริงๆ แล้วก็พยายามทั้งรู้ ทั้งทำเจโต ทำจิตให้เกลี้ยง อยู่เรื่อยๆๆๆๆๆ สะอาดอยู่เรื่อย ไม่ใช่ไปประมาท ไม่เป็นไรหรอก เราร่อนได้แล้ว ดูดๆๆๆๆ ประเดี๋ยวมันก็กลับ มันเวียนวน มันเวียนวน ถ้าคุณเข้าใจอันนี้แล้ว คุณจะไม่สงสัยว่า เอ๊ ทำไม ก็ว่าหมดแล้ว ทำไมกลับมามีเหมือนกับมีอีกล่ะ มันมีอีกได้ แต่จะมีอีกในระยะที่เรียกว่า มันแบบหลวมๆ แบบง่ายๆ แบบที่เรียกว่า มันก็ถูกหลอกๆ มันเล่นๆ ไปชั่วคราว อะไรก็ได้ มันเป็นโลกๆ โลกีย์หลวมๆ มันไม่ใช่แก่นแท้ แล้วถ้าผู้ที่ได้แล้ว แม้ล้างออก ละออกแล้ว ได้ก็ได้ ผู้นั้นทำได้แล้ว มีพลวปัจจัยจริงๆ ก็ทำได้ แต่ร่อนอย่าง สะอาดบริสุทธิ์อย่างวิเศษขนาดไหนล่ะ ถ้าวิเศษมากก็สลัดง่าย ถ้าไม่วิเศษมาก ก็หนักของคุณอยู่นั่นแหละ เพราะฉะนั้น อย่าประมาทเลย ถ้าเผื่อว่าเราเห็นว่า สิ่งที่ไม่ให้มี ก็ต้องไม่ให้มีไปเรื่อยๆ บำเพ็ญไป ทุกระยะไป อย่าไปเที่ยวชะลอ อย่าไปเที่ยวได้ประมาท อย่าไปชะลอ อย่าไปประมาทเป็นอันขาด สิ่งใดควรจะสะสม ให้มีความขยัน หมั่นเพียร ความเมตตาเกื้อกูล ความเอื้อเฟื้อ ความอดทนอะไร ต่างๆนานาพวกนี้ ในด้านที่จะต้อง อาศัยมัน สิ่งที่จะมี คุณก็ต้องสั่งสมไปทั้งนั้น ถ้าไปเรียนอย่างฤาษีแล้วละก็ ไอ้พวกนี้ นอกจากกิเลส จะหมดจริง ก็ไม่จริง อย่างที่พระพุทธเจ้าไม่ยอมรับ แม้แต่แค่โสดาบัน จะไปนั่งกดข่ม ไปนั่งทำลืม อะไรอยู่ แค่ไหน ก็แล้วแต่ มันไม่จริง มันไม่จริง มันไม่ค่อยได้เรื่อง พระพุทธเจ้าท่านบอก ไม่รู้จะเอาเกรดอะไรไปตัด เพราะว่ามันไม่รู้แล้ว แล้วไม่รู้เอาไปจมบ่อ เอาไว้ที่ไหน นั่งสะกดจิต มันไม่เข้าสูตรน่ะ ท่านก็ไม่ยอมรับ แม้แต่โสดาบัน ทีนี้ ถ้าเข้าสูตรของพระพุทธเจ้า ท่านรู้จัก อย่างกลาง อย่างสูง อย่างต่ำ อย่างอะไรต่ออะไร เข้าใจกิเลสจริงๆ เข้าใจเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยนี่ เรียกว่า อบายมุข นี่เรื่อง เลวร้ายของสังคมโลก รู้โลกวิทู อันนี้ เขาเรียกว่า ไอ้นี่หยาบๆ ต่ำๆ อย่างนั้น อย่างนั้นน่ะ แล้วก็กิเลสเราไปติด ไปผูกพัน ไปยึด ไปอะไรอยู่ ก็รู้ กิเลสด้วย เหตุปัจจัยก็ต่ำ กิเลสเราก็หยาบ ไปผูกพันมันอยู่ จนกระทั่ง กิเลสหยาบ กิเลสกลาง กิเลสละเอียด กิเลสหมด ไอ้เรื่องต่ำก็หมดไป ไอ้เรื่องสูง เรื่องกลาง เรื่องอะไรต่ออะไร รู้โลกวิทู รู้จริงๆ ลักษณะอย่างไรๆ อย่างไรๆ แล้วกิเลสอย่างไร ถ้ากิเลสหมด ไม่หมดอย่างไร มันมีลักษณะของมันหมด ชัดเจน ไม่ใช่คลุมเครือ ไม่ใช่เดา ไม่ใช่ปิดประตู ไม่รู้เรื่อง ขังมันไว้ตรงโน้นล่ะ ไหนล่ะ ไม่มี เอ้า ไม่มีอยู่ไหน ปิดขังไว้ เป็นอะไร ไม่รู้เรื่อง ขังมันไว้ มันแตกตัวยังไง มันใหญ่ มันโต เขี้ยงงอกอย่างไร ไปกด ไปดันมันไว้อย่างไร เหมือนขังเสือ เสือมันโต เขี้ยวมันยาว เขาไม่รู้เรื่อง สักวันหนึ่ง มันก็ออกมากัด ตัวเอง ลักษณะของฤาษี ลักษณะของผู้ที่ทำไม่ถูกทาง เป็นแบบนั้นน่ะ แล้วเขาก็หลงไปชาติหนึ่ง สองชาติ ไปตามเรื่องตามราว กดข่มจนมากๆ ติดต่อกันเนิ่นนาน กันหลายๆชาติ มันก็กดข่ม ได้เยอะนะ

เพราะฉะนั้น สายกดข่มได้เยอะพวกนี้ เขาไม่ค่อยเชื่อ พวกนี้ช้า มาฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ค่อยรู้เรื่องล่ะ เพราะเขากดข่มเอา เขาก็ทำลักษณะของเขานั่นแหละ แล้วก็ว่าของเขาได้ เขาฟังไอ้อย่างนี้ ไม่รู้เรื่อง รายละเอียดพวกนี้ ไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะฉะนั้น กว่ามันจะได้กลับมา ฟังธรรม ของพระพุทธเจ้ารู้เรื่อง กว่าจะรู้รายละเอียดอะไรต่ออะไร ถ้าใครไปเที่ยวได้หลงทาง ไปอยู่กับฤาษี ไปแบบฤาษีไปมากๆๆๆๆๆ จะกลับมา โอ้ ยาก

เพราะฉะนั้น ทางใคร ก็ทางใครทางมัน บริวารใครก็บริวารมัน จริงๆนะ บริวารใคร ก็บริวารมัน เพราะฉะนั้น บางทีบางคน อาตมาเห็นแล้ว พบแล้ว เอ้อ อย่าไปพูดเลย มันคนละสกุล คนละสปีซี่ คนละแฟมิรี่ คนละไฟรั่ม แยกไปละเอียดๆ ไปเลย มันแยกไปคนละพวก คนละเหล่า ไปคนละกอ คนละเชื้อ คนละสาย มันพูดกันไม่รู้เรื่อง เพราะฉะนั้น ก็ไปกันก่อน ใครเข้าสายได้ เราก็ว่าของเรา อย่างนี้นะ นี่สายฤาษีลิงดำก็ไป ขณะที่ว่าพุทธเหมือนกันน่ะนะ เอ้า นี่ สายพระเทพเวที ก็ไปเฮอะ แม้แต่ที่สุด แยกกันละเอียดอีกสายนั้น สายนี้ ยังมีแนวร่วมกันบ้าง มันก็ยังคล้ายๆ ใกล้ๆกัน พอไปพอมา มันก็ยังไม่ค่อยเข้ากันอยู่นั่นแหละ เพราะฉะนั้น กว่าจะเข้ากันได้สนิทเนียน เห็นตรง เห็นไปได้ช่องเดียวกัน ไม่ได้ง่ายๆเลย เขาก็คงว่ากันเหมือนกันกับเราว่านะหนอ ไอ้พวกนั้น มันพวกสาย คนบ้า มันไปเฮอะ เขาสายคนดี มาดูเขาก็ว่าบ้าๆ บอๆ กินก็ไม่เหมือนโลก อยู่ก็ ไม่เหมือนโลก มานั่งทำเป็นพูดหัดจน เราจะมาเป็นคนจน ดูซินี่ มันร่ำรวย ดูซิน่ะ มันทำออกไปแจก ทำอย่างกับโอ้โฮ มหาเศรษฐีแนะ จริงด้วยซิ เพราะเราจน เราจึงแจกได้ เพราะเรากล้าจน เราจึงแจก ได้เก่ง เขาไม่กล้าจนเท่านั้น เขาก็ไม่พอบำเรอตน มันจะไปแจกอะไรเขาได้ สัจจะมันจะต้อง สอดคล้อง เพราะเรากล้าจน มันถึงมีแจก ถ้าเราไม่กล้าจน มันจะเอาอะไรไปแจก กล้าจนแล้ว ก็ ไม่ใช่ขี้เกียจด้วย กล้าจน แล้วขยันด้วยนะ สร้างอยู่ ทำอยู่ ไม่ใช่ไปคว้าเอาของคนนั้น คนนี้มาแจก สร้างเอง ต่างคนต่างช่วยกันสร้าง เสร็จแล้ว เราก็ซ้อนลึกลงเข้าไปอีก เราไม่ผลาญด้วย สร้างแล้ว ก็ไม่ผลาญ ชีวิตเราก็เลี้ยงง่าย ถูกๆ ไม่แพง กินนิดหน่อยๆก็พอแล้ว สังเคราะห์ได้ดี สรีระเก่ง กินเข้าไปน้อยทีเดียว แต่สังเคราะห์เป็นแคลอรี่มาก ไม่ใช่ใส่เข้าไปตั้งโอ้โฮ ไม่สังเคราะห์เลย มันพิษด้วย เลอะ สรีระไม่ดี ร่างกายธาตุไฟ ธาตุน้ำ ธาตุลม อะไร ร่างกายเรา ไม่ดี กินไปก็ สังเคราะห์ไม่ออก อย่างโน้นอย่างนี้ไม่ได้ ไม่ได้ภาพที่ดีออกมา ใช้เลี้ยงร่างกาย มันก็ทั้งนั้นล่ะ มันก็ถูกแล้ว มันก็ไม่สมดุล มันก็ไม่ดี มันก็ไม่เจริญ แต่ถ้าดีแล้วนะ สรีระร่างกาย กินก็ไม่ค่อยมาก ไม่ค่อยอะไรหรอก สังเคราะห์ไปได้สัดส่วน แคลอรี่ที่ได้ธาตุพอเหมาะ พอสมเอาไปเลี้ยงร่างกายได้ดี แข็งแรง ทำงานได้มาก สุขสบาย มันจะค่อยๆปรับปรุง ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆนะ ทั้งยีนส์ ทั้งตัวบุญ ทั้งตัวบาป ทั้งตัวพลวปัจจัยของเรานี่ บางคนอายุสั้น อายุยาว มันเป็นเรื่องของบุญ ของกรรม อย่างที่เราว่า บางคนสรีระเกิดมาไม่มีโรค ไม่มีภัย อวัยวะดี ตับดี ไตดี ไอ้นั่นดี แข็งแรงอะไรดี มันก็เป็นของเราน่ะ บางคนเกิดมา หัวใจไม่ดีมาตั้งแต่เกิดแล้ว อย่างเล็กอย่างนี้ เห็นไหม ผ่าตัดแล้ว ต้องตาย แล้วก็ของเขาน่ะ เขาก็ทำมาของเขา ไตไม่ดีตับไม่ดี สรีระส่วนนั้นส่วนนี้ไม่ดี ใครมันก็อยาก ได้ดีๆทั้งนั้นล่ะ มันจะดี หรือไม่ดี มันก็บุญ ก็กรรมของเรา

เพราะฉะนั้น สั่งสมไปเถอะ คุณค่าความดี แล้วก็ทำไปให้ดี อย่าไปขี้เกียจ อย่าไปรังเกียจ ไอ้สิ่งที่มันถูกต้อง มันดีงาม บอกให้กินถั่ว ให้กินงา ให้กิน ไอ้โน่น ไอ้นี่บ้าง เอาแต่กิเลสเป็นเจ้าเรือน มันไม่ชอบ ไม่ชอบก็กินซิ ก็มันเป็นธาตุน่ะ ธาตุมันจะรู้เรื่องอะไรล่ะธาตุ ให้ธาตุ มันสมธาตุ ให้มันได้สัดส่วนของธาตุ ธาตุที่ดีๆ เข้าไปแล้ว มันก็จะไปสังเคราะห์ ไปปรับปรุง มันก็เป็นไปเอง ไปสั่งสม ไอ้สิ่งที่มันไม่เข้าท่าไป ไอ้นั่นก็เว้า ไอ้นี่ก็แหว่ง ชาติหน้าก็แหว่ง ต่อ ตับแหว่ง ไตแหว่ง หัวใจแหว่ง ฟังดีๆนะ มันเป็นพลวปัจจัย อย่าไปคิดตื้นๆ น่ะ เพราะฉะนั้น เราพากเพียรพยายามนี่ เราทำทุกอย่าง อย่าไปทำ ด้วยอำนาจกิเลส ต้องทำด้วยความรู้ ต้องทำด้วยวิชา ทำด้วยอำนาจวิชา อำนาจความรู้

เพราะฉะนั้น เราต้องพยายามพากเพียรอะไร แม้แต่กิน แม้แต่อยู่ แม้แต่ทำการงาน แม้แต่ขยันหมั่นเพียร ทำโน่น ทำนี่ พวกเรานี่ เรียบร้อย เห็นไหมนี่ มาก็ เอ๊ะอะมะเทิ่งกันน้อย ได้ระบบ ระเบียบขึ้นมา แต่ละวัน แต่ละเดือน ปีนี้ ปีที่ ๑๔ มานั่ง มาถึงเวลาอะไรมาก็นั่งกัน เรียบร้อย อะไรต่างๆนานาๆ แหม คิดถึงเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ได้โละเละ เดี๋ยวนี้ มันก็เข้าใจ ต่างคนต่างก็รู้ มันชำนาญไปในตัว ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยหรอก ค่อยๆเป็นไป เราไม่ได้จับ เหมือนอย่าง ทหารเข้าแถว ทำไม่ได้ก็ต้องหัดบ่อยๆ ให้มันพร้อมให้มันตรง ให้มันได้สัดได้ส่วน เป็นแบบบีบบังคับ เราไม่ถึงขนาดบีบบังคับ ทุกคนค่อยๆปรับๆๆๆๆ ค่อยๆถ้อยที ถ้อยอาศัยกัน ค่อยๆแบ่ง ค่อยอะไรกันไป อย่างนี้ แต่มันก็จะจัดสรร จัดส่วนอะไรของมันเอง ลงตัวของมันเลย แต่ละเดือน แต่ละปีมาเรื่อยๆ เรามาแบบธรรมชาติ ไม่ใช่ไปรีบบีบ รีบบี้เอา

เพราะฉะนั้น ใครเองก็ตาม ส่วนตัว แต่ละคน ถ้าเรายิ่งสังวร ระวัง ดี เออ เราเข้าใจ เรารู้จักนั่ง รู้จักยืน รู้จักไป รู้จักมา คนนั้นก็เร็ว คนนั้นก็เป็นหลักได้ก่อน ใช่ไหม คนนั้นก็เร็ว คนนั้นก็เป็นหลัก ได้ก่อน แล้วก็รู้จักเข้าใจ จำได้ อะไรไวไว เขาก็เป็นหลัก เป็นอะไร คนอีกหลายๆคน คนนั้น คนนี้ ได้อีก รวบกันเสริมสานเป็นรูป เป็นแบบ เป็นอะไรต่ออะไร ไปหลายๆคน คนไหนเฉื่อยๆ เซ่อๆ เขาเก่งไปตั้งนานแล้ว เขารู้หมดแล้ว ตัวก็ยังเซ่อคลำอยู่อย่างนี้ งุ่มง่าม เอ้า ไม่ค่อยรู้เรื่อง พูดอย่างนี้ ก็คงเข้าใจ มันเป็นธรรมดา อยู่ที่ใครจะพากเพียร อบรมฝึกฝนปฏิบัติ ประพฤติสิ่งเหล่านี้ ดูเหมือนเล็กน้อย ดูเหมือนมันไม่ใช่ปรมัตถ์ แต่เป็นพลวปัจจัย ไม่ขาดทุนหรอก ได้ก็ได้ ในชาตินี้แหละ มีแล้ว เราแคล่วคล่อง มีกิริยา มารยาท มีการสังวร รู้จักระบบระเบียบ รู้จักกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม พฤติกรรม อะไรที่ดีๆ งาม เราก็ได้ใช้ ได้อาศัย ไปอยู่ที่ไหน ก็เป็นคนดี มีพฤติกรรมที่ดี กาย วาจา ใจอย่างนี้ แม้คุณจะเอาชาตินี้ ชาติเดียว เป็นอรหันต์ชาติเดียว แล้วก็จะเลิกเลยก็ตาม มันก็ได้ดีชาตินี้ ได้อาศัยชาตินี้ แต่ แน่ใจไหมเล่าว่า จะได้อรหันต์ ชาตินี้ชาติเดียว แน่ใจไหมเล่า ว่าจะได้อรหันต์ชาตินี้ เพราะฉะนั้น ชาติหน้า ถ้าไม่ได้อบรมเอาไว้อีก ชาติหน้ามาก็ แหม ลิงเอ๊ย เกิดมาอีกแล้ว นอกจากลิงแล้ว มันยังเหมือนควายอีกด้วย เซ่อ ลิงผสมควาย เกิดมาอีกแล้ว เพราะไม่ได้อบรมไว้แต่ชาตินี้ ชาติหน้ามาก็ โอ้โฮ ถ้าไปเจอผู้ที่เขา อดทนได้ก็ดีไป ไอ้ลิงกับควายนี่ ฝึกมันเถอะ ลิงกับควาย ฝึกมันให้มัน ถ้าไปเจอไอ้ที่ เขาไม่อดไม่ทน เขาก็ดีดส่งไปเลยไป ไอ้ลิงไอ้ควาย เขาก็ไม่เอาเท่านั้นเอง ไม่มีเพื่อน ไม่มีหมู่ แต่ถ้าเราดีไปแล้ว เราก็จะได้เป็นหลัก ที่นั่นที่นี่ อย่างโน้นอย่างนี้ มันเป็นพลวปัจจัย ไม่น่าปฏิเสธหรอก

เพราะฉะนั้น เราเองเราศึกษากันไปบางที่บางแห่งสอนปรมัตถ์ไอ้นี่ มันไม่ใช่หรอก ไอ้นี่มันสมมุติ เท่านั้นแหละ เมื่อไม่กี่วันนี้ อ่านของเสฐียรพงษ์ วรรณปก พูดถึงปรมัตถ์กับสมมุติ เขาเถียงกันกับ คนอื่น คนอื่นเขาติเตียน เขาน่ะ ติเตียนเขาถึงเรื่องเขาพูดผิดไป เขาก็ติเตียน พูดถึงเรื่องสัจจะ เขาก็แย้งไปหาสัจจะ แหม รู้น่ะ รู้ เขาติเตียนไปถึงเรื่องความถูกต้อง ความดีงาม อะไร เขาก็ตะแบงไปพั้บ เอ๊อ เรื่องปรมัตถ์ มันไม่มีดี ไม่มีชั่ว ที่ผมหมายน่ะ หมายถึงปรมัตถ์ คุณมาพูดนี่ มันเป็นเรื่องของสมมุติสัจจะเท่านั้นน่ะ ทำเป็นถือสาอยู่ เรื่องดี เรื่องชั่วไปโน่นเลย โอ้โห ! เจ๋งจริงๆๆๆ มันเลี่ยงได้ เถียงได้ เรื่องปรมัตถ์ ไม่มีดี ไม่มีชั่ว แต่ปรมัตถ์ที่ดี พระอรหันต์เจ้า ท่านเป็น คนดี มีพฤติกรรมที่ดี ไม่ดีน่ะหยาบๆจริงในสัดส่วน บางทีก็ยังมีหยาบอยู่บ้าง แต่หยาบนั้น จะต้อง มีน้ำหนัก ของปรมัตถ์ที่สมบูรณ์น่ะ เป็นพระอรหันต์ แล้วก็ยังมีน่ะปรมัตถ์ บางที พระอรหันต์ดื้อๆ พระอรหันต์ถ่อยๆก็มี พระอรหันต์หยาบคาย ที่บกพร่องบางสิ่งบางอย่าง ก็มีอยู่บ้าง แล้วคุณอยาก จะเป็นเหรอ ถ้าเลือกเอาได้ แล้วคุณจะเลือกอย่างไร เป็นพระอรหันต์ดีๆ ก็แล้วกัน เพราะฉะนั้น อย่างน้อย ก็ต้องได้อาศัย สั่งสมไป ทั้งสองด้าน จะเป็นสัจจะ ด้านสมมุติก็ตาม เป็นสัจจะ ด้านปรมัตถ์ก็ตาม

เพราะฉะนั้น จะไปนั่งสอนกันว่า เราอย่าไปวุ่นวายเลย เรื่องพวกนั้น มันไม่เข้าท่าหรอก ที่จริง มันเป็นอุปการะ บางคนมีสมมุติสัจจะเจ๋งเลยน่ะ แต่ปรมัตถ์ไม่มี สวย กิริยา มารยาท ความอ่อนน้อม ถ่อมตนอะไรก็ตามแต่ สมมุติทั้งนั้นนะพวกนี้ ความอดทน ความเมตตาเกื้อกูล อะไรต่างๆ สมมุติทั้งนั้น พวกนี้มีมาก มีดี แต่ปรมัตถ์ไม่มี ถึงแม้ว่า ไม่มีปรมัตถ์ มีสมมุติสัจจะดี แล้วสอดคล้องอย่างวิเศษ ยังทำให้คนหลงว่าเป็นพระอริยเจ้า ได้เลยใช่ไหม เพราะแนวโน้มของคน มันเข้าใจว่า พระอรหันต์ หรือพระอริยะ จะต้องเป็นคนดี เขาไม่มีแนวโน้มว่า พระอริยะ หรือ พระอรหันต์จะต้องเป็นคนไม่ดี ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ขอให้ดีเถอะ ให้เป็น สมมุติสัจจะ นี่แหละ ดีนี่แหละ ให้ดีพร้อม แม้ว่าปรมัตถ์ยังไม่เก่ง ฝึกฝนแต่ดีๆๆๆๆๆๆๆ สมมุติสัจจะนี่ดีๆๆๆๆๆ มากมายๆๆๆๆๆๆ มันก็เป็นคุณค่าของโลกแล้ว คนก็เข้าใจ ยกย่องชมเชย หรือว่า คนรักคนบูชา เคารพนับถือได้แล้ว ยิ่งมีปรมัตถ์ด้วย เราก็เรียนปรมัตถ์กันอยู่ มันก็ไปด้วยกัน อุปการะกันไปหมดเลย เจริญไปด้วยกันหมดเลย

Š เพราะฉะนั้น อย่าไปประมาทสมมุติสัจจะ สายบางสาย ศึกษาธรรม ประมาทสมมุติสัจจะ แล้วทิ้งขว้าง ไม่สมบูรณ์ทั้งสองด้าน แล้วมันก็ยากด้วยนะ ยิ่งเขานึกว่า เฮ้ย อย่าไปวุ่นเลยสมมุติ เอาแต่จิตๆ สายนั่งหลับตา ไอ้นั่นอย่าไปยุ่ง สายนั่งหลับตานี่ เอาแต่ใจ เอาแต่จิต เอ้ ไอ้นั่น อย่าไปยุ่ง ศึกษาอะไรนั่น ไอ้พวกนั้นสมมุติ เอาเข้าไปที่จิตพวกนี้แหละ พวกหลงทิศหลงทาง จริงๆแล้ว มันอุปการะกัน ถ้าเข้าใจมรรคองค์ ๘ แล้ว ไปด้วยกัน มาด้วยกัน ในการปฏิบัติกาย วาจา ใจ ทั้งนั้น แล้วก็คือ กรรมทุกกรรมๆ เพราะฉะนั้น เมื่อปฏิบัติทั้งกรรมทุกกรรม กาย วาจา ใจทุกกรรม มันก็ยิ่งละเอียดเนียน ที่จะอ่านจิตวิญญาณได้ดี มีสติสัมโพชฌงค์ มีธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ แล้วก็พากเพียรกระทำ ประพฤติไปเรื่อยๆ มันก็ได้ปรับทั้ง สมมุติสัจจะ กาย วาจา ใจ ปรับพฤติกรรมดีๆๆๆ แล้วมันก็จะได้อ่าน ยิ่งดีอย่างนี้ มันจะมีสภาพซับซ้อน สภาพย้อนแย้ง เอ๊ ! เรามีท่าทีดีอย่างนี้ สัมผัสก็อย่างนี้ จะเป็นยังไง ท่าทีเราไม่ดีอย่างนี้ สัมผัสกันอย่างนี้ จะเป็นอย่างไร มันจะเกิดจิต อย่างไร ผลสะท้อนตอบ Action Reaction ต่างๆ นานา มันจะให้เราได้อ่าน ละเอียดลออ แล้วบวกกับเหตุปัจจัยที่ว่า แล้วคนจริตอย่างนี้ล่ะ กระทบอย่างนี้ สัมผัสอย่างนี้ ด้วยกายกรรม อย่างนี้ วจีกรรมอย่างนี้ มโนกรรมอย่างนี้ คนดื้อด้าน คนว่าง่าย คนที่หยวนกับคนที่ไม่หยวนง่าย อะไรต่างๆนานา อีกสารพัดอีก มันก็จะทำให้เรานี่แหละ ได้อ่าน ได้รับความรู้พวกนี้

เพราะฉะนั้น สายที่จะเอาแต่จิต เอาแต่นั่งไม่สัมผัสอะไร ไม่คบกับใคร ไม่วุ่นกับใคร ไม่มีทาง บรรลุธรรม ไม่มีทางเป็นพระอรหันต์ ขอยืนยัน เอาหัวชนเสาเลย ไม่ใช่ชนฝา ยืนยัน ขอยืนยัน เพราะมันไม่ได้ชัดเจน มันไม่ได้ละเอียดลออ พระอรหันต์จะต้องล้างอนุสัย อาสวะทุกอย่าง ลักษณะอย่างนั้น แล้วมันจะไปล้างอนุสัยอะไรได้ ไม่ได้หรอก มันไม่มีการรู้เรื่องรู้ราว ไม่มีสภาพแง่เชิง ที่สลับซับซ้อน ละเอียดลออ มันไม่มีน่ะ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าถึงไม่ยอมรับ ประเภทที่ ไปเที่ยวหลบหลับ มุดอยู่ที่ไหน แบบฤาษีชีไพร ซึ่งโถ ! เขาค้นพบก่อนพระพุทธเจ้า มาตั้งไม่รู้ กี่กัปกี่กัลป์ พวกอาจารย์แบบฤาษีอย่างนั้น พระพุทธเจ้ามาค้นพบ ทฤษฎีของท่าน ถึงบอกว่า อ๋อ ของท่านนี่ มีสัมผัสเป็นปัจจัย ล้างมิจฉาทิฏฐิ ล้างสักกายทิฏฐิ ล้างอัตตานุทิฏฐิ ออกให้หมดเกลี้ยง โดยการเห็นอนัตตา เห็นความสูญของกิเลส อย่างชัดเจน อย่างนี้จริงๆ แล้วท่านก็ เอามาสอนคน พิสูจน์ ท่านพิสูจน์ของท่านแล้ว ท่านก็พิสูจน์ แล้วมันก็ไม่ใช่ทฤษฎีพึ่งเกิด เป็นทฤษฎีที่พระพุทธเจ้า มีมาตั้งไม่รู้กี่องค์แล้ว มหายานเขาบอกว่า พระพุทธเจ้า มีจำนวนเท่ากับ เมล็ดทราย ในมหานที มีมาตั้งเมื่อไหร่ เราก็ไม่รู้ แล้วมันเป็นทฤษฏี ที่มีมานานแล้ว พระพุทธเจ้า เท่านั้น ค้นทิศทางนี้เท่านั้น สกุลนี้เท่านั้น ที่ค่อยๆสั่งสมเรียนรู้ แล้วก็เข้ามาๆๆ แต่ไม่ได้ หมายความว่า สกุลนี้ จะไม่มีเวลา ไม่มีโอกาส จะไปเรียนสกุลอื่นนะ บางครั้ง ไปเรียนเมืองนอก เหมือนกัน ไปเรียนสกุลอื่นชั่วคราว ชั่วชาติ เป็นชาติ เป็นครั้ง เป็นคราวบ้าง ไปเรียน ศึกษา เป็นโลกวิทูบ้าง เป็นอะไรต่ออะไรบ้าง ศึกษาบ้างเหมือนกัน

นี่ ก็ขยายความ หรือเล่าอะไรต่ออะไรให้ฟัง ให้ได้รายละเอียดๆขึ้น จะได้เข้าใจอะไรลึกๆขึ้น แล้วจะได้ไม่ประมาท หลายแบบมีเยอะ อย่างผู้ที่เคยไปเรียนสายเจโต สายจิตอย่างที่ว่านี่ ดูถูกสมมุติ อย่าดูถูก อย่าประมาท แล้วเราจะต้องเนียนขึ้น ดีขึ้น ทุกอย่างมันจะอุปการะกันหมด เมื่อเราทำทั้งสัจจะ ที่เป็นสมมุติ ทำทั้งสัจจะที่เป็นปรมัตถ์ เรารู้หลักแล้ว มันไปด้วยกัน เสร็จแล้วหมู่ กลุ่มของเราก็มีอีก ต่างคนต่างดีขึ้นมา มันก็จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แล้วมันก็จะเร็วขึ้น ดีขึ้น มีอะไรต่ออะไร ที่ยังไม่สมบูรณ์ มันก็จะสมบูรณ์ขึ้น มีอะไรละเอียด มันได้ละเอียดขึ้น มันก็จะเสริม ละเอียดขึ้นไปอีก เหมือนกับฐานที่มันมีฐาน ฐานที่มันมีฐาน แล้วมันก็ไปได้จริง ไม่ใช่มานั่ง สมมุติเอา ไปได้จริง เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่สูงด้วยกัน มันก็ไปสูงด้วยกันไม่ได้ จะต้องมีสูงขึ้นๆๆ ด้วยกัน มันถึงจะไปสูงขึ้นๆได้ มีความละเอียดลอออย่างนั้น นี่ เราก็จะต้องพยายามพากเพียร ต้องทำให้ดีขึ้น

อาตมาไม่นึกว่า สมพงษ์ อภิสุข จะ แหม จับอะไรต่ออะไรเก่งนะ เอาภาษา อาตมามาใช้ อาตมานี่ เป็นคนถึงขนาดกัดไม่ปล่อย อื้อฮือ ไม่ใช่เบานะ หยาบน่าดูเลย กัดไม่ปล่อย คือยึดมั่น ถือมั่น เป็นภาษา ทางธรรมน่ะนะ แหม ยึดมั่น ถือมั่นน่าดูเลย กัดไม่ปล่อยเลย จริงโดยสมมุติ อาตมามีสมมุติ กัดไม่ปล่อย นี่เป็นสมมุติยึดใช่ไหม อาตมาจะยึด อาตมาจะสร้าง อาตมาจะทำนะ กัดไม่ปล่อย อาตมาจะทำ ทำจริงๆ แต่โดยปรมัตถ์ของอาตมา ยึดหรือไม่ยึด มันเรื่องของใจอาตมา ปรมัตถ์ของอาตมา อาตมาจะใช้ อาตมาจะยึด จะสร้างสรร จะเป็นอะไร อาตมาจะปล่อย หรือไม่ปล่อย ก็เรื่องถ้าอาตมาจะปล่อยได้ หรือไม่ได้ มันก็เรื่องของอาตมาอีกใช่ไหม แต่คนโลกๆ เขาก็อะไร ก็เป็นอันนั้น เขาเองเขาทำไม่ได้สองด้าน ไม่ได้สองส่วน มันก็เป็นไปด้านเดียว ทีนี้ เพราะฉะนั้น ทำได้ทั้งสองด้าน ด้านนี้ สัจจะของพระพุทธเจ้า ถึงมีสองด้าน มีทั้งสมมุติ และทั้งปรมัตถ์ เพราะฉะนั้น ปรมัตถ์ ดีแล้ว สมมุติเราจะเป็นอะไรก็ได้รอบตัว ปรมัตถ์ดีแล้ว นี่บอกแล้ว แม้แต่ที่สุด จะเกิดก็ได้ จะตายก็ได้ ปรมัตถ์สมบูรณ์ จะเกิดก็ได้ จะตายก็ได้ เลือกเอาสบายๆ จะเกิดต่อก็ได้ ไม่เกิดต่อก็ได้ สูญไปเลยก็ได้ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น มันเป็นอย่างนั้น จริงๆ เมื่อได้แล้ว มันก็ได้ทุกอย่าง เมื่อยังไม่ได้ จะไปเอาสิ่งที่ยังไม่ได้นั้น มาได้ยังไง สิ่งที่ยังไม่ได้ ก็ต้องฝึกเพียรเอาจนได้ แล้วมันก็จะได้สมบูรณ์ทุกอย่าง คำพูดนี้ ก็เป็นภาษาพูด เพราะฉะนั้น คุณฟังไป ถ้าคุณยังไม่ถึง คุณก็ได้แต่ฟัง แต่ถ้าคุณได้จริงแล้ว คุณก็จะรู้ว่า เออ เราทำอะไร ได้แค่ไหน เราก็ควรจะทำ

เอ้า ทีนี้ มาขยายความอะไรต่ออะไรให้เพิ่มเติม แล้วทีนี้ ก็มาสู่ อานาปาณสติ อ่านจตุกะ ที่ ๒ จตุกะที่ ๑ นั้น เรื่องกาย กายานุปัสสสนา ต่อมา เวทนานุปัสสนา

ปีติปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
เธอนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจออก คำว่าจักหายใจออก จักหายใจเข้า นี่จะมีกำกับไปอยู่ตลอดเวลา คือคำว่า อัสสสิสสามีติ นั่นแหละ เป็นการหายใจออก เพราะฉะนั้น เราดูตรงนี้ เราก็จะได้เห็นได้ว่า อัสสะนี่ แปลว่า หายใจออก ปัสสะ แปลว่าหายใจเข้า ปีติปฏิสังเวที หมายความว่า สภาพรู้พร้อม เฉพาะซึ่งปีติ ปฏิสังเวที การรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออกก็อัสสะ อัสสสิสสามีติ หายใจเข้าก็ ปัสสสสามีติ สิกขติ นั่นคือ การศึกษา เราย่อมศึกษา ในบทศึกษานั้น สิกขติ

ปีติ ก็เป็นเจตสิก เป็นอาการของเจตสิก ตัวสำคัญทั้งดุ้นเลย

โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ฯ
นี่ จะต้องมีสติ ตัวหลักข้อที่ ๑.เลย หายใจออก หายใจเข้า เมื่อจะเอาอานาปานสติ ซึ่งเป็นสูตร ว่าด้วยลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ก็ต้องมีสติเป็นตัวหลัก เสร็จแล้วก็รู้ ศึกษาข้อที่ ๒. ทีฆะ หรือ ทีฆัง นั่นยาว หายใจออกยาว ทีฆัง หายใจออกยาว ก็ให้รู้ว่ายาว หายใจออกสั้น ก็ให้รู้ว่าสั้น รัสสะ หรือ รัสสัง หายใจออกสั้น หรือหายใจออกยาว นี่เป็นข้อที่ ๒. มีสติให้รู้

ข้อที่ ๓. ก็ให้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกาย กายทั้งปวง สัพพกายะปฏิสังเวที คือรู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง สัพพกายะ กายทั้งปวง หายใจออก รู้เฉพาะ หายใจเข้า เฉพาะกายทั้งปวง หายใจออก หายใจเข้า อัสสะ กับ ปัสสะ อัสสะ กับ ปัสสะ

Š ข้อที่ ๔. กายสังขาร เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบระงับ ปัสสัมภยัง สงบระงับ กายสังขารัง ให้รู้สภาพที่มันสงบระงับ เมื่อวานนี้ ก็ยังอธิบายเลย กายสงบระงับ ไม่ใช่กายสั่นเทิ้ม แล้วก็สงบ ระงับ คือความเรียบร้อยของกาย เรานั่งแล้วมันก็จะโยกเอนไป เอนมา ก็คือ ความไม่ค่อยสงบระงับ ก็ได้พูดน่ะ เมื่อวานนี้ กายน่ะ ให้รู้ด้านนอกก่อน ทีนี้ ต่อมาก็ เวทนา ด้านใน เพราะฉะนั้น ปีติ ข้อ ๕ หายใจออก หายใจเข้านี่ เป็นหลักอยู่ตลอดแหละ เราไม่ต้องละไว้ในฐานที่เข้าใจน่ะ หายใจออก หายใจเข้านั่นแหละ ทีนี้ ก็มีปีติ เสริมมา เรียกว่า เป็นเจตสิก หรือเป็นเวทนา ต่อมาก็เป็นสุข เป็นอารมณ์ พวกนี้ อารมณ์ปีติ อารมณ์สุข อารมณ์ปีติ อารมณ์สุข พวกนี้ ท่านก็เรียกว่า จิตสังขาร อย่างหนึ่งเหมือนกัน มันเป็นอารมณ์ ในจิตสังขาร ในข้อที่ ๓. จิตตสังขารังปฏิสังเวที คือการรู้พร้อมเฉพาะ จะใช้ไปตลอด ทั้งกายนี่ ก็มีปฏิสังเวที เวทนาก็มีปฏิสังเวที ไปถึงจิตตานุปัสสนา ก็มีปฏิสังเวทีทั้งนั้นแหละ จิตตสังขาร เป็นจิตตสังขาร หายใจออก หายใจเข้า จะต้องรู้

ข้อที่ ๘ รู้ ทำให้จิตสังขารนั้นระงับ อันแรก กายสังขารระงับ อันที่สอง ทำให้จิตสังขารระงับ สรุปง่ายๆ ก็คือ ทำนอก ทำใน ข้างนอกก็เป็นเรื่องของกาย เป็นเรื่องขององค์ประชุม ที่มันจะหยาบอะไร ก็ทำให้มันเรียบร้อย ให้พอเหมาะพอดี ถ้าจะทำแบบสมาธิฤาษี จะทำแบบเจโตสมถะ เราก็ดู เอานั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง แล้วก็ดำรงสติคงมั่น หายใจเข้า หายใจออก เริ่มต้น ก็ดูไปทีเดียว ดูองค์ประชุม ดูกาย จนถึงกายสังขาร กายทั้งปวง ดูกายทั้งปวง สัพพกายะ ดูกายทั้งปวง ดูกายสังขาร อันแรก ก็แค่นั้นเอง ในหมวดที่ ๑. หมวดกายานุปัสสนา ๑. มีสติ ๒. ดูลมหายใจเข้า ลมหายใจออก และดูสั้น ดูยาว นั่นข้อ ๒. ลมหายใจ ออกยาว เข้ายาว ลมหายใจเข้ายาว สั้นยาว หรือ ว่าสั้น หรือยาวอะไรอยู่แค่นั้น มีสั้นกับยาว มีออกกับเข้า เกี่ยวกับลมหายใจ ข้อ ๒.
ข้อ ๑. สติ จะมีลมหายใจเข้า หายใจออกอยู่
ข้อ ๒. สั้นยาว กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
ข้อ ๓. ก็ดู สัพพองค์ประชุม สัพพกายะทั้งปวง กับกายสังขาร ข้อ ๓. กายทั้งปวง
ข้อ ๔. กายสังขาร ส่วนมาถึงเวทนานั้น ก็ดูปีติ ดูสุข คือยกตัวอย่าง ที่จริงมันมีมากกว่านั้น อารมณ์ มีมากกว่านั้น ทีนี้ ในเรื่องของฌาน ท่านเอาปีติ เอาสุขเท่านั้นมาใช้ ถ้าเราระงับนิวรณ์ได้ เราก็จะรู้สึกว่าเราได้ดี มันจะดีใจ อารมณ์ดีใจนั้น เป็นอารมณ์ชนิดหนึ่ง เป็นความฟูใจ มีอุปกิเลสซ้อน มันได้ดีขึ้นมา เออ สงบได้นะ ได้ทำความสงบได้ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า แล้วเราก็ทำสงบ ได้ นี่ เราพูดถึงเรื่องของสภาพสมาธิแบบฤาษีก่อนน่ะ สมาธิแบบอานาปานสติ

(อ่านต่อหน้า ๒)
FILE:๐๖๖๓A.TAP