สมาธิ สัมมาสมาธิ ตอนที่ ๓ หน้า ๑

โดย พ่อท่าน สมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๓๓ เนื่องในงาน พุทธาภิเษก สุดยอดปาฏิหาริย์ของพุทธ ครั้งที่ ๑๔
ณ พุทธสถาน ศาลีอโศก จังหวัดนครสวรรค์


วิจัยให้ออกว่า อารมณ์ง่วง คืออะไร ส่วนเวลาเอาความง่วง อารมณ์ง่วง ลักษณะอาการที่มันมีรสง่วง และก็จะทำสภาพรับรสง่วง ได้ง่วงๆลงไป ได้ทำหรี่ๆ หลับๆ อะไรลงไปนั่น มันเป็นรสอร่อย มันไม่ได้ง่วง มันไม่ได้หลับ มันเป็นรสฝืน มันเป็นรสทุกข์ ถ้าได้หลับหรี่ๆ อะไรลงไปในขีดหนึ่งๆ เราเรียกว่า รสอร่อย วิจัยให้ออก แล้วสลัด แล้วทำให้จางคลาย ทำให้ออก ให้มีสภาพแม้จะ เข้าไปอยู่ในการหลับตา หรือว่า อยู่ในสภาพภวังค์ อยู่ในภพ อยู่ในภวังค์ เราก็จะต้องให้รู้สึกตัว ให้เห็นว่า มันเป็นจิตที่มีสติเต็ม จิตที่ใส สติเต็ม กับจิตที่มี อารมณ์ง่วงๆ ที่มันไม่ได้สมใจ ก็เป็นอาการทุกข์ๆอย่างหนึ่งเป็นเวทนา ทีนี้ เมื่อมันได้ง่วงมันได้หรี่ มันได้ดับๆ หลับๆลงไป แล้วก็รู้สึกว่า มัน เออ สบายดีๆ อร่อยดี อาการอย่างนั้นๆแหละ เป็นอาการของกิเลส เป็นอาการของเวทนา เป็นอาการของตัวกิเลสที่เป็นเวทนา รู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ ไม่สมใจ ก็ทุกข์ๆ พอสมใจ ก็สุขๆ นั่น แหละ เราขจัดมันออก ทำให้มันเป็นสติที่เต็ม ตื่น จะอยู่ในภวังค์ ก็อยู่ไป ตื่น รู้สึกตัวทั่วพร้อมดี ใส สดใสขึ้น อาการจิตสดใสขึ้นมา ฝึกจริงๆ อย่าให้มันมีอาการง่วงเหงา เศร้าซึม อย่างนั้นเรียกว่า ถีนมิทธะแท้ๆ ร้อยเปอร์เซ็นต์ หัดฝึกออก ขจัดออก อย่าไปให้มันมี แล้วก็ติดอยู่อย่างนั้น สะลึมสะลืออยู่อย่างนั้นกับมันไม่ได้ เอามันออกจากอารมณ์จิต เมื่อไหร่ๆ ก็ช่าง

เพราะฉะนั้น ถ้าอยากจะพักอยู่ในภวังค์ จะนอนลงไปหรือว่าจะนั่งอยู่ก็ตาม หัดอย่างนั้นไว้เสมอ ภวังค์ใสๆ อย่างนั้น แล้วเรารู้ได้ว่า เราพักโดยฌาน หรือโดยหลับชั้นสูง จะเรียกว่าหลับก็ได้ หลับชั้นสูง ต้องพยายามดู พยายามเข้าใจอันนี้ให้ดีๆ แล้วฝึก ทุกคนมีอยู่ในตัวเอง ตัวเองต้องผ่าน ต้องพบทุกคน แล้วฝึกให้ดี

ก่อนอื่น ต้องทำใจให้แจ่มใสเสมอๆ เมื่อไหร่ๆ ก็ทำใจให้แจ่มใส มีอะไรมากระทบ อย่างโน้นอย่างนี้ มันชวนให้โกรธ ชวนให้ไม่ชอบใจ ชวนให้มันอึดอัด ขัดเคือง อะไรต่ออะไร เอามันออกจากอารมณ์จิต ให้รู้เลยว่า อารมณ์นั้น เป็นอารมณ์ที่เราเอามันออก โดยความสามารถ แล้วก็ปรับจิตเราให้สดใส สบาย รู้มันว่า เอามันออก คืออย่างนี้ ด้วยเหตุด้วยผล ว่าอย่าไปมีเลย อาการอย่างนี้ ไม่ใช่อาการของคนที่มีจิต ประภัสสร เป็นคนที่มีจิตไม่ประภัสสร พระอริยเจ้า จะมีจิตประภัสสรเสมอ ทำ ทำจิตอย่างพระ อริยเจ้านั่นแหละ ทำจิตให้บริสุทธิ์ ตามโอวาทปาฏิโมกข์ ว่า ทำจิตให้บริสุทธิ์นั่น แหละ ทำเสมอๆ อย่างน้อย เราก็ขจัดที่มันไม่ชอบใจ มันหม่นหมอง มันอึดอัดขัดเคือง มันน้อยใจ เสียใจอะไร พวกนี้สายโทสมูล เอามันออกเลย นั่นคือ เอาความเป็นกิเลสในสายโทสะ เอาออกจากจิต ทำจริงๆ อย่าไปปล่อยเอาไว้ รู้ตัวเมื่อไหร่ ก็พยายามขจัดออกอย่างรู้ๆ อย่างรู้ๆ อย่าให้มันมัวซัว ทำออก เราเอาออก แล้วมันเอาออกได้ เร็วขึ้นๆๆ เอาออกแล้วจิตใจใสโปร่ง แล้วมันจะมีดียังไง จิตใจใสโปร่ง มันจะมีดียังไง มันจะรู้เองน่ะ ไว้ตอนที่ มันมัวซัว มันอึดอัด ขัดเคือง ดีไม่ดี มันโมโหโกรธาอยู่ในใจ แล้วมันพาเราเป็นยังไง มันจะรู้ จะรู้ดีเอง มันไม่ได้เข้าท่า มันไม่ได้ทำให้เราได้มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่ดีอะไรเลย แต่ถ้าเราใจใสโปร่งสบาย มีความเบิกบาน ร่าเริงดี มันจะพาเราเป็นยังไง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม แม้แต่นึกแต่คิด แม้แต่จะปรุง จะสร้างอะไร มันพาให้เราดียังไง จะเห็นอานิสงส์แห่งการที่ไม่มีโทสะ โลภะ แม้แต่ราคะ มันไม่มี มันไม่ใช่ว่า มันจะเป็นคนแห้งเหี่ยวอะไรหรอก

เอา มาฟังสูตรอีกสูตรหนึ่ง ประกอบ คือ รโหคตสูตร รโหคตะ ก็คือ รห กับคตะ นั่นแหละ อ่านรโหคตะ ถูกแล้วละ มีวงเล็บแปลเป็นภาษาอังกฤษ ไว้ให้เสียด้วยนะ ไปแล้วในที่ลับ (Gone) ไปแล้วในที่ลับนะ หรือว่า ไปส่วน ตัว (Being in private)ไปโดยส่วนตัวนะ เป็นไปอยู่ในความส่วนตัว รโหคตะ ไปแล้วในที่ลับ ชื่อของสูตร รหคตะนี่ รห แปลว่า อันเป็นที่ลับ คต แปลว่าไป คต คโต แปลว่า ไป ชื่อสูตรก็บอกอยู่แล้วว่า มันเป็นเรื่องลับๆ มันเป็นเรื่องลึกซึ้ง มันเป็นเรื่องที่ไม่ใช่รู้ได้ง่ายๆ มันลับๆซับซ้อน ไม่ใช่เรื่องที่จะเห็นโจ่งๆ แจ้งๆ ได้ง่าย มันจะซับซ้อน บังซ่อนอะไรต่ออะไรอยู่ มันซับซ้อนลึกซึ้งอยู่ นั่นเอง โดยความหมาย

เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะอ่านโดยภาษาธรรมดา แล้วก็เข้าใจตื้นๆ ระนาบเดียวนี่นะ สูตรนี้ ไม่ใช่ๆ ชื่อสูตร ก็บอกอยู่แล้ว รหคต รโหคตะ เป็นเรื่องลึกลับสำหรับคนที่ไม่รู้ เป็นเรื่องลึกซึ้งสำหรับคนรู้ เพราะฉะนั้น ถ้าพาซื่อ เถนตรง อ่านภาษาแล้วก็ไปซื่อๆ อย่างนี้นี่นะ มันจะไปลับอะไร ก็เปิดโจ้ง มันก็แบไว้ เท่านั้นเอง ไม่ใช่เรื่องของความแปลเอาเข้าไว้ตื้นๆ อย่างนั้นไม่ใช่ สูตรนี้เป็นเรื่องลึกซึ้ง เป็นชื่อสูตร ไม่ได้เป็นเรื่องอะไร เป็นเรื่องเดี๋ยวจะรู้ เป็นเรื่องปรมัตถ์นั่นเอง ไม่ใช่เรื่องอะไร อ่านดู หมายถึง สังขารเป็นของไม่เที่ยง ว่างั้นนะ

ว่าด้วย เวทนา ๓ เราจะปฏิบัตินี่ จะปฏิบัติสมถะ หรือจะปฏิบัติวิปัสสนา อะไรต้องรู้จิต รู้เวทนา รู้ความรู้สึก รู้อารมณ์

พระไตรปิฎก เล่ม ๑๘ ข้อ [๓๙๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าแต่พระองค์ ขอประทานพระวโรกาส ความปริวิตกแห่งใจ เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ ผู้หลีกเร้นอยู่ในที่ลับ อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกข์เวทนา อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาค ตรัสเวทนา ๓ อย่างนี้ ก็พระผู้มีพระภาค ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นทุกข์ (นี่ ยืนยันชัดแล้ว ความเสวยอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ แม้จะเป็นอารมณ์ อทุกขสุข หรือว่าอุเบกขา ก็แล้วแต่ )

ดังนี้แล พระผู้มีพระภาค ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นทุกข์ ดังนี้ ทรงหมาย เอาอะไรหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถูกแล้วๆ ภิกษุ ดูกรภิกษุ เรากล่าวเวทนา ๓ นี้ สุขเวทนา ทุกขเทวนา อทุกขมสุขเวทน เรากล่าวเวทนา ๓ นี้ ดูกร ภิกษุ เรากล่าวคำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นทุกข์ ดังนี้ ดูกร ภิกษุ ก็คำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นทุกข์ ดังนี้ เรากล่าว หมายเอา ความที่สังขารทั้งหลายนั่นเอง ไม่เที่ยง (สังขาร เพราะฉะนั้น สังขารอยู่ที่ไหน สังขารตัวนั้น ไปยึดไม่ได้ เอาละ เดี๋ยวค่อยอธิบาย) ดูกรภิกษุ ก็คำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ เรากล่าวหมายเอา ความที่สังขารทั้งหลาย นั่นแหละ (ท่านกล่าวหมายเอาสังขารนั่นแหละ เพราะฉะนั้น การไปยึด หรือการไปเสพ หรือ การไปเอาสังขารทั้งหลาย ทั้งที่เป็นของไม่เที่ยง แต่เราก็ไปยึดเอา นั่นเป็นตัว ที่โง่แล้ว มันเป็นทุกข์ เพราะงั้น ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็น ทุกข์ นี่ เราหมายเอาความ ที่สังขารทั้งหลาย นั่นแหละ) มันมีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดาฯ

ต้องเห็นความจริงอันนี้ให้ได้ว่า สังขารมันเป็นเรื่องไม่เที่ยง เป็นเรื่องที่แปรปรวนอยู่ เพราะฉะนั้น มันจะเป็นทุกข์ ก็แปรปรวน ประเดี๋ยวเป็นทุกข์ ประเดี๋ยวเป็นสุข มันเป็นความแปรปรวนทั้งนั้น หรือ แม้แต่ที่สุด จะว่าไม่ทุกข์ ไม่สุข ประเดี๋ยวมันก็มามีอาการ เป็นสุขเป็นทุกข์อะไรต่ออะไร ตามควรของมันได้ ในคนที่ยังเห็นสุข เห็นทุกข์ ในคนที่ยังเห็นว่า จะต้องได้ รับรสสุข

[๓๙๒ ]ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ลำดับนั้นแล เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขารทั้งหลาย โดยลำดับ (ดับสนิท แห่งสังขาร ที่จริงไม่ได้ไปดับที่เวทนา ดับที่สังขารอยู่ในเวทนา แล้วเวทนามันจะบอกเราว่า เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอทุกขมสุขบ้าง อะไรยังงั้นต่างๆนา)
คือ เมื่อภิกษุ เข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ (วาจา นิรุทธา โหติ)
เมื่อ เข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมดับ (วิตักกวิจารา นิรุทธา โหนติ)
เมื่อเข้า ตติยญาน ปีติย่อมดับ (ปีติ นิรุทธา โหติ)
เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ย่อมดับ
เมื่อเข้า อากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าวิญญาณัจจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมดับ
เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุผู้สิ้นอาสวะย่อมดับ ฯ

[๒๙๓] ดูกร ภิกษุ ลำดับนั้นแล เรากล่าวความสงบแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ คือ
เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมสงบ
เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมสงบ ฯลฯ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญา และเวทนาย่อมสงบ
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมสงบฯ

[๓๙๔] ดูกรภิกษุ ปัสสัทธิ ๖ อย่างนี้คือ
เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมระงับ
เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมระงับ
เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมระงับ
เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ย่อมระงับ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและ เวทนา ย่อมระงับ
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุขีณาสพ ย่อมระงับ ฯ

เอาละ ลองฟังภาษาดู ถ้าฟังภาษา บอกแล้วว่า ฟังภาษาอย่างระนาบเดียว ทวนไปตั้งแต่บรรทัดท้ายไปเลย

ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุขีณาสพ ย่อมระงับ หมายความว่า ระงับ หรือ ดับ เป็นปัสสัทธิๆ แปลว่า ความระงับ แปลว่าความสงบเหมือนกันแหละ คำว่า สมถะ ก็เหมือนกัน ระงับ ดับ สุดท้าย เราหมายเอาราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุขีณาสพ ระงับ หรือดับ เราไม่ได้หมายเอาอันอื่นดับ

ทีนี้ ถ้าปฏิบัติเข้ารูปร่างของฌานต่างๆนานา พวกนี้จริงๆ ราคะ โทสะ โมหะ ก็ระงับจริงๆ ย้อนขึ้นไป

เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนา ย่อมระงับ นี่ แล้วเขาก็บอกว่า ดับ ถ้าแปลเต็มๆ เข้าก็แปลว่า ดับเลย สัญญาและเวทนา ดับ หรือสัญญาและเวทนา ระงับๆ หรือดับ ในอันข้างหลังนี่ ในข้อ ๓๙๒ ดู เมื่อเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนา ย่อมดับ นี่ เขาใช้ว่า นิรุทธาๆ แปลว่า ดับ ปัสสัทธิ แปลว่าระงับ มันแปลโดย ภาษาไทยว่ายังงั้น ที่จริงมันก็คล้ายๆกัน เหมือนกันนั่นแหละ

ถ้าบอกว่า สัญญาและเวทนา ดับนี่นะ คนที่เคยทำสภาวะมาแล้วนี่ สัญญา และเวทนาดับนี่ คือไม่รู้เรื่องอะไร ถ้านั่งทำเป็นสมาธิ ก็จะดับ ท่านเรียกว่า อสัญญี อีกภาษาหนึ่ง ไม่มีเวทนา คือไม่มีความรู้สึก เพราะไม่กำหนดอะไร ไม่ระลึกถึงความจำ ไม่ระลึกถึงปัจจุบัน ไม่ระลึกถึงอนาคต สัญญาไม่กำหนดรู้ อะไรเลย ดับสัญญา ภาษาทางบาลี เรียกอยู่คำว่าอสัญญี หรืออสัญญา อสัญญีสัตตายตนพรหม เป็นพรหมชนิดหนึ่ง อสัญญีสัตตายตนพรหม สัตะ+อายตนะ คือ อายตนะ นั่นระงับ ไม่กำหนดอะไร ไม่ให้ตัวสัญญาๆนี่ คือธาตุที่กำหนดรู้ลงไป หรือ ธาตุที่มันจำอะไรได้ต่ออะไรได้อยู่มา มันผ่านอะไร ๆมา ก็จำได้ ปัจจุบัน มันก็กำหนดรู้ เป็นปัจจุบัน ถ้าจะกำหนดรู้ย้อนสัญญา ก็ย้อนความจำของตนเอง ถ้าจะกำหนดรู้ในปัจจุบัน ก็ปัจจุบัน ถ้าจะนึกคิด เขาเรียกว่า สังกัปปะ นึกคิดไปข้างหน้า ไกลไปอีก เขาเรียกสังกัปปะ ถ้าจะเอาเดี๋ยวนี้ก็ สัญญา กำหนดรู้ แล้ว ก็หยั่งรู้ลงไป ถ้าไม่ระลึกอะไร ไม่นึกคิดอะไร ไม่มีสังกัปปะ ไม่มีตรรกะ ไม่มีระลึก ไม่มีดำริ ไม่มีนึก ไม่มีคิด ไม่มีการกำหนดรู้อะไรเลย ก็เรียกว่า ดับไปเลย ไม่รู้เรื่อง เรียกว่าไม่รู้เรื่องไปเลย ดับไปเลย สัญญาและเวทนาดับไปเลย ถ้าไปเข้าใจในขณะที่นั่งฌาน นั่งสมาธิ เขาเข้าใจว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ นี่คือ นิโรธ นี่คือดับ ไม่รู้เรื่องอะไร ดับเวทนา ดับสัญญา ก็คือ ดับนิ่งดิ่งไปเลย นี่ แปลอย่างระนาบ ตามบัญญัติ ตามภาษาชั้นเดียว เขาแปลอย่างนั้น และเขาก็แปล กันมานัก และขยายความเป็นภาษา สฺา จ เวทนา จ ปฏิปฺปสฺสทฺธา โหนฺติ ฯ ย่อมเกิดสภาพระงับ โหนติ คือ การย่อมเกิด สฺา จ เวทนา จ นิรุทฺธา โหนฺติ ฯ ย่อมเกิดความดับ ดับเวทนา และสัญญา เขาแปลตาม คำอธิบายนี้ ที่จริงในนี้ มีสัญญากันไปทั้งนั้น อ่านย้อนขึ้นไป ในหน้า ๑๓ สัญญาย่อมดับ พอสัญญาเวทยิตนิโรธ ก่อนจะถึงอันนี้ อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เมื่อเกิดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว อากิญจัญญายตสัญญานั่นแหละ สัญญานั่นแหละ สัญญาในลักษณะ อากิญจัญญายตนะสัญญา อย่างอากิญจัญญายตนสัญญานั้นแหละดับ ไม่ใช่ว่า ดับสัญญาทั้งหมด เข้าใจไหม

ทีนี้ มีเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ในบางสูตรมีเหมือนกัน แต่ท่านไม่เห็นว่า เมื่อเข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับ ไม่มี เห็นไหม ไปบอกว่าสัญญาหรือเวทนา ไม่ได้บอกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับ ไม่ได้บอกว่าอย่างนั้น คือ ไม่ได้ดับหรอก มันเป็นสภาพ เนวสัญญา ถ้าไม่รู้สภาวะแล้ว คนที่ไม่ได้ทำสภาพจิตจริงๆ แล้วนี่ จะไม่รู้ตัวว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ ขนาดไปทำจิตจริงๆ ยังไม่รู้นะ แล้วก็ไม่เข้าใจตรงพยัญชนะพวกนี้ ไม่ง่าย

เนวสัญญานาสัญญายตน คือ สภาพรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง จะว่ารู้ก็ไม่ใช่ จะว่าไม่รู้ก็ไม่เชิง แปลมาเป็นไทยว่ายังงั้น จะว่ารู้ก็ไม่ใช่ จะว่าไม่รู้ก็ไม่เชิง อะไรอย่างนี้ เขาแปลว่า จะรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง ก็คือ ความรู้ที่ไม่เต็มนั่นเอง

เพราะฉะนั้น ถ้าอยู่ในอารมณ์ภวังค์ ก็สะลึมสะลือ แต่ถ้าอยู่ในความหมายของพุทธ ก็คือไม่ใช่สะลึมสะลือ คือรู้ที่ไม่ชัด รู้ที่ไม่เต็ม รู้ที่ไม่สมบูรณ์ รู้ที่ไม่ครบพร้อม ไม่รู้รอบถ้วน ไม่รู้แจ้งแทงทะลุนั่นเอง เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ก็คือ กำหนดลงไป สัญญาคือ การกำหนดรู้ที่ยังไม่แจ้ง รู้ไม่ถึงที่สุด รู้ไม่สมบูรณ์ รู้ไม่แทงทะลุรอบ ให้พ้นลักษณะนี้ ให้เกิดการรู้สมบูรณ์ รู้ครบรอบ รู้แจ้งแทงทะลุให้หมด เป็นตรัสรู้ให้ได้

เพราะฉะนั้น สัญญาเวทยิตนิโรธ จึงหมายความว่า สัญญาและเวทนา นั่น สมบูรณ์ เพราะไม่มีอะไร เป็นอวิชชาอยู่เลย ดับอวิชชาหมด นิโรธ คือ ดับอวิชชา สัญญาเป็นวิชชา เวทนาเป็นวิชชา เห็นมั้ย ภาษา
เพราะฉะนั้น มันเป็นรโหคตะ บอกแล้ว มันเป็นเรื่องลึกซึ้ง ไม่ใช่ระนาบตื้น ไม่ใช่เรื่องที่จะรู้กันได้โดยหยาบๆ เพราะฉะนั้น ความดับ นั่นคือ อวิชชาสวะดับ มีแต่วิชชา มีแต่ความรู้ยิ่งหมดเลย เพราะฉะนั้น สัญญา ไม่ใช่ดับ ดับสัญญาที่มันเป็นตัวสัญญา ที่มันอยู่ในลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ เนวสัญญานาสัญญายตนดับ อากิญจัญญายตนสัญญาดับ วิญญาณัญจายตนสัญญา ทีนี้ ลองมาดับวิญญาณดูซิ เป็นไง ถ้าไปบอกว่า มันดับมาเรื่อยๆ นี่ใช่ไหม ถ้าบอกมันนิรุทธามาหมดเลย เอามาแต่ แรกๆ ก็ได้ เริ่มต้นตั้งแต่ปฐมฌาน วาจาย่อมดับ เป็นคนใบ้เลย เอา ไล่มาเรื่อยๆนา หน้า ๑๓

เข้าฌานแรก วาจาย่อมดับ ตอนนี้ กำลังเข้าฌานที่ ๑ แล้ว ไม่มี วาจา ใช่มั้ย นี่เข้าฌานหนึ่งแล้ว ไม่มีวาจา เข้าฌาน ๔ กันทั้งนั้นเลย ไม่มีวาจา นี่เรียกว่า หมากรุกชั้นเดียว

วาจา มันหมายความถึงเรื่องราว หมายถึงเรื่องวจีสังขาร สังขาร เป็นเจตสิกหนึ่งในจิต เราเรียนองค์ธรรมของ สังกัปปะมาแล้ว มีตรรกะ องค์ธรรม ๗ ของสังขาร ของสังกัปปะ ตกฺโก วิตกฺโก สงฺกปฺโป อปฺปนา พฺยปฺปนา เจตโส อภินิโรปนา วจีสงฺขาโร หรือ วจีสังขาร หรือวาจาสังขาร มันเป็นการปรุงชนิดหนึ่ง ท่านบอกแล้วแต่ต้น แหละว่า สังขารทั้งหลาย ท่านไม่ได้บอกว่า ตัวนั้นหรอก สังขารทั้งหลายโดยลำดับ เป็นการดับสนิท แห่งสังขารทั้งหลาย ไม่ได้ไปหมายเอาตัวตรงๆ แต่สังขารนี่ มันปนอยู่กับสิ่งเหล่านั้น ปนอยู่กับวาจา เสียงของอาตมา กำลังพูดนี่ วาจาดับ ดับ เพราะวาจานี้ ปราศจากสิ่งอันสุดท้าย ราคะ โทสะ โมหะ ดับ ของผูสิ้นอาสวะ ไม่ใช่เป็นผู้ตายแหงแก๋ ไม่ใช่เป็นผู้ที่หมดลมหายใจนะ

มาดูที่ข้อจตุตถฌาน เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ย่อมดับ เมื่อถึงฌาน ๔ แล้วหมดลมหายใจ คนหมดลมหายใจแล้วทำไง เอาไปป่าช้า คนหมดลมหายใจ แล้ว เอาไปป่าช้า

เพราะฉะนั้น พอเข้าฌาน ๔ เรียบร้อย เข้าฌาน ๔ แล้วหมดลมเข้า ลมออกแล้ว หามไปป่าช้าได้ นี่ถ้าพาซื่อ หมากรุกชั้นเดียว จะเป็นอย่างนี้ ท่านบอก สังขารของลมหายใจ บอกแล้วแต่ต้นว่าสังขาร สังขารทั้งหลาย ของวาจา ของวิตก วิจาร มีวิตก วิจารอยู่ ไม่ใช่หมายความว่า ไม่มีวิตกวิจาร นะ

เพราะฉะนั้น ในฌาน รูปฌานนี่ ยังมีวิตกวิจารไปถึงอรูปฌาน อากาสาฯ วิญญาฯ ค่อยไม่มีวิตกวิจาร ไม่มีวิตกวิจาร ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีสัญญา ไม่มีเวทนา มีสัญญาเวทนา เวทนาเจริญด้วย เป็นสัญญา เวทนาที่บริสุทธิ์ เป็นสัญญา เวทนาที่สะอาด เป็นสัญญาเวทนาที่ผ่องใส เป็นประสิทธิภาพของสัญญาเวทนา ของแต่ละคน จะเป็นผู้ใดก็แล้วแต่ มีบุญบารมี สัญญาดี เวทนาดี ผู้นั้นก็มีสัญญาและ เวทนาของผู้นั้นแหละ ที่ได้ฝึกอบรมมา ได้สร้าง ได้ทำสัญญาเวทนาให้บริสุทธิ์ หรือ ให้มีประสิทธิภาพ ความจำได้เก่ง ความกำหนดรู้ได้เก่ง ลึกซึ้งอะไรก็แล้วแต่ ก็เป็นประสิทธิภาพของสัญญา ประสิทธิภาพของความรู้สึก เป็นคนที่มีความรู้สึกเร็ว ที่เราเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า เซ้นซิตีฟ หรือ เซ้นซิเบิ้ลอะไรอย่างนี้ เป็นต้น มันเร็ว มันเป็นความรู้สึก ที่รับได้เร็ว แววไว รับรู้รับอะไร แต่ขจัดสังขารออกจากเวทนา ออกจากความรู้สึกได้ เพราะฉะนั้น ความรู้สึกเร็วรับรู้ แต่ไม่ได้มีสังขาร รับรู้อะไรไวเร็ว ประสิทธิภาพของเวทนาก็คือ ความรับรู้สึก ได้เร็ว มันเป็นความเร็ว แห่งการรับกระทบ และก็ลึก มันจะลึก แล้วเร็ว มันก็เป็นประสิทธิภาพของเวทนา ของแต่ละบุคคล

เพราะฉะนั้น ลองมาไล่ดูนะ
ผู้เข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ หรือวาจาย่อมระงับ ในหน้า ๑๔ บอกว่า ระงับ หน้า ๑๔ ย่นย่อเหลือ ๖ เท่านั้นเอง ไม่มีอรูปฌาน จะเห็นได้ว่า จตุตถฌาน สัญญาเวทยิตนิโรธเลย ไม่มีอรูปฌาน อาตมาเคยอธิบายว่า เวลาเราจะใช้งาน เราไม่ต้องไปใช้อรูปฌานหรอก เพราะอรูปฌานเป็นผล มันเกิดสภาพว่าง จิตอากาสาฯ จิตมันว่างลง ว่าง อากาสาฯ แปลว่า ที่ว่างด้วย แปลว่า ความสว่างด้วย แปลว่า แสงสว่าง หรือแปลว่า ความว่างด้วย อากาสาฯนี่ ความว่าง มันว่าง มันโล่ง มันโปร่ง มันใส มันสะอาด

หมายถึงนามก็คือ แสงสว่าง หมายถึงรูปก็คือ ความว่าง อาการอย่างนั้นแหละที่จิต จิตมันว่าง มันโล่ง มันโปร่ง มันสว่าง ก็คือ มันรู้ มันแจ้ง มันชัด มันเห็นหมด เห็นไฝ เห็นฝ้า เห็นอะไรอธิบายในอภิญญา ที่บอกว่า เหมือนคน ส่องกระจก หญิงสาวที่รักใบหน้า เหมือนมีกระจกส่อง เหมือนกับหญิงสาว ที่ชอบแต่งตัว เหมือนมีกระจกส่องใบหน้าว่า มีไฝ มีฝ้า มีริ้วรอยไม่สะอาด ไม่สวยไม่งามตรง ไหนๆ เหมือนกับน้ำ ที่ในแม่น้ำ เห็นน้ำใส ใสจนกระทั่งมองเห็นหอย เห็นปู เห็นปลา เห็นอะไรต่ออะไรเกาะอยู่ ตรงนั่นตรงนี่ อะไรต่างๆนานา นั่นเรียกว่า แสงสว่าง เรียกว่าถึงระดับแสงสว่าง ถึงระดับญาณที่แจ้งชัดทะลุ ปรุโปร่ง ใสสะอาด แทงทะลุ หมดอย่างนั้น รู้รอบ นี่เป็นความหมายที่ลึกซึ้ง รโหคตะ ไม่ได้หมายความว่า เป็นความหมายที่ ตื้นๆ เขินๆ พาซื่อ หมากรุกชั้นเดียว พวกเถนส่องบาตร ใครไม่เคยได้ยินนิยายเรื่อง เถนส่องบาตรบ้าง ใครไม่เคยได้ยิน โอ เยอะหนอ อาว เล่าให้ฟัง เถนส่องบาตร คืองี้

มีพระเถระ เขาเรียกเถน พระเถระที่จริงนั่นนะ เขาก็เรียกไปยังงั้น แหละ เถน พระเถระผู้ใหญ่นี่ ท่านก่อนจะออกบิณฑบาต ท่านก็เอาบาตรมาส่อง ทำยังงี้ เอาบาตรมาทำส่องยังงี้ มาทำดูยังงี้ มีเณรน้อย อยู่กับพระเถระ คอยสังเกตเห็นอาจารย์ ก่อนจะออกบิณฑบาต ส่องบาตรทุกทีเลย ดูบาตร ปัดเช็ดอะไร ของท่าน แล้วท่านก็ออกไปบิณฑบาต กลับมาเต็มบาตร รวย เณรน้อย ไปบิณฑบาตทีไร มันไม่เต็มบาตร เหมือนพระเถระสักที แหม พระเถระนี่ มีเคล็ดแหงๆ เลย พอเห็นเช้าๆ ท่านก็เอาบาตรมาส่องดู ตรวจตราไป ทุกที ท่านก็ค่อยไปบิณฑบาต กลับมาเต็มบาตรทุกที เณรก็เอาบ้าง พอถึงก็เอาบาตรส่อง เล็งทำเหมือนเลย ทำเหมือนพระเถระทำ ส่องเสร็จแล้ว ทำเหมือนกันเลย แล้วก็ออกไปบิณฑบาต กลับมาก็พร่องอยู่อย่างเก่า มันก็ไม่เต็มบาตรอยู่อย่างเก่า ก็ทำ ทำหลายวัน ทำแล้วทำเล่า ก็ทำเหมือนอย่างพระเถระทำ ท่านส่อง ก่อนจะไปทุกที แต่มันก็ไม่รวยเหมือนพระเถระสักที ก็เลยสุดท้าย ก็เลยบอก เอ้ ไม่ใช่แล้ว ไม่ใช่แล้ว นี่ไม่ได้ท่องคาถาแน่ๆเลย นึกว่าท่านส่องทำพิธีแล้วก็ท่องคาถาถึงเฮง บิณฑบาตได้รวย แท้ๆไม่ใช่ ก็อดไม่ได้ ก็เลยต้องถามท่าน บอกท่านทำอะไรยังงั้น ท่านตรวจตราบาตร บาตรมันจะทะลุ มันจะเป็นรู เป็นอะไรไม่ได้ อาบัตินะ ท่านต้องซ่อม เวลาจะไปบิณฑบาต หรือเวลาจะใช้บาตร ต้องใช้บาตรที่ดี ให้สะอาดสะอ้าน ให้เรียบร้อย อย่าให้มันทะลุ อย่าให้มันโหว่ อย่าให้มันเป็นแผล เป็นอะไรต่ออะไร แล้วก็ต้องแก้ไขซ่อมแซม นั่นคือ เรื่องราว นั่นคือ เนื้อหา ไม่ใช่มานั่งส่องบาตรเป็นพิธี สวดมนต์เป่ามนต์ เพื่อให้มันเฮงไปบิณฑบาต ไม่ใช่ ท่านเฮง ก็เพราะท่านเป็นพระเถระ มีคนศรัทธาเลื่อมใส เพราะเณรยังไม่มีอะไร มีใครจะไปใส่ให้มากๆ

เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจอย่างเณรนั่นแหละ เรียกว่า เข้าใจอย่างเถนส่องบาตร เข้าใจตื้นๆ หมากรุกชั้นเดียว แค่เห็นท่านส่องบาตร ก็นึกว่า ท่านท่องคาถา ท่านทำพิธีการอะไร ก่อนจะไปบิณฑบาต ไม่ใช่ เนื้อหาของท่าน ท่านตรวจตราบาตร เรียกว่าเถนส่องบาตร เพราะงั้น คนตื้นๆ แบบเถนส่องบาตร ก็แบบนี้ หมากรุกชั้นเดียว นึกว่าท่านท่องคาถา ก็ทำตาม ทำอย่างบ้าง

เพราะฉะนั้น อันนี้มันไม่ใช่เรื่องตื้น ไม่ใช่หมากรุกชั้นเดียว ไม่ใช่ เรื่องเถนส่องบาตร เป็นเรื่องลึกซึ้ง เรารู้แล้ว ตอนจะใช้จริงๆ แล้ว อรูปฌาน ไม่ได้ใช้หรอก เป็นผลนะ

อากาสาฯ คือ สภาพของความบรรลุชนิดหนึ่งของพุทธ นี่ ของพุทธ ก่อนวิญญานัญจา ก็คือ ความมีวิญญาณ เข้าถึงสภาพวิญญาณที่บริสุทธิ์ขึ้น ว่างขึ้นแล้ว ปราศจากกิเลส อะไรแล้ว

อากิญจัญญายตนะ ยังไม่พอ ตรวจอีก อะไรมีอีก เศษเล็กเศษน้อย ส่วนที่เหลือ เอาให้ไม่มี อากิญจัญญะ แปลว่า นิดหนึ่ง น้อยหนึ่งก็ไม่มี ไม่ให้เหลือ แม้แต่นิดหนึ่ง น้อยหนึ่ง นั่นเอง ไม่ให้มีอีก ตรวจอีก เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็คือ ตรวจอย่างครบครัน ให้รู้แจ้ง เห็นจริง สัญญาเวทยิตตัง เวทยิตตะ แปลว่า การเคล้าเคลียอารมณ์ ให้สัญญาทำงานเคล้าเคลียอารมณ์ เคล้าเคลียลักษณะของจิต เจตสิก ให้ครบหมดเลยว่า มันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีอารมณ์ค้างที่เหลือ ไม่มีอารมณ์เศษที่เหลือ อารมณ์ที่มันไม่บริสุทธิ์ อารมณ์ที่มันยังเป็นลักษณะเหลือส่วนเศษ ของราคะ หรือ เหลือส่วนเศษของโทสะอย่างละเอียด จะมีอย่างบาง อย่างเบา อย่างธุลีละออง จะนอน จะเนื่อง จะค้าง จะหลบ จะเลี่ยง อยู่ที่ไหน ให้ตรวจให้เสร็จ เคล้าเคลียอารมณ์ ตรวจอารมณ์นั่นเอง ตรวจให้หมดให้เกลี้ยง สัญญาเวทยิตนิโรธ จนเห็นว่าดับสนิท ไม่เหลือ อะไรที่ดับสนิทไม่เหลือ สมุทัย ไม่ดับอะไรหรอก ในศาสนาพุทธ ไม่ใช่ไปดับเอาไม่เข้าท่า ดับสมุทัย ไม่ใช่ไปดับจิต จิตไม่ต้องไปดับหรอก เพราะจิตมันไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน จิตไม่ใช่อะไร จิตมันเกิดก็เพราะมีเหตุ มีปัจจัย ยังมีรูป นามขันธ์ ๕ มันยังมีรูป ยังมีสัญญา สังขาร ยังมีเวทนา ยังมีวิญญาณ อยู่กับร่าง ที่เป็นรูปธรรม มันอาศัยอยู่เท่านั้นเอง เมื่อเวลาจิตไม่ตั้งอะไรอีก ไม่มีภพอะไรอีก ไม่ต่ออะไรอีกเลย พระอรหันต์เจ้า ไม่ต่อภพ ไม่ต่อภูมิ ไม่ตั้งอะไรอีก ไม่หยั่งลงในอะไรอีกเลย วางได้จริงๆ ปล่อยได้จริงๆ ไม่เหลือเชื้อตัณหา แม้ วิภวตัณหา วิภวตัณหาจะน้อยจะเล็ก จะละเอียดอีกแค่ไหน ท่านก็ไม่เอา ไม่มี วาง เลิก ล้างหมด หยุด พอร่างกายแตกดับ รูป ดิน น้ำ ไฟ ลม ธาตุน้ำ ดิน น้ำ ไฟ ลม แตกดับ วิญญาณ ก็หายไปในตัว เพราะก็มันไม่ใช่ตัวตนอะไร มันไม่ใช่สิ่งเกาะกุม มันไม่ใช่ตุบป่องๆไป มันตุบป่องอยู่ ยังรวมกันอยู่กับวิบาก เพราะมันมีตัวตัณหา ยางเหนียว ท่านเรียกตัณหาว่ายางเหนียว แม้เป็นวิภวตัณหา ก็รวมอยู่ ยังไม่ปล่อย

เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะยังต่ออยู่ มีภพอยู่ ก็ยังมีตัณหาอยู่ พระโพธิสัตว์ ยังมีตัณหาอยู่ คือ วิภวตัณหา ตัณหาอุดมการณ์ ไม่ใช่ตัณหาเพื่อตัวเอง หมดตัวหมดตน ก็หมดไปได้ แต่เพื่อผู้อื่น เพื่อโลก เพื่อใครๆ แต่ก็ยังเป็นสภาพ เป็นความปรารถนาดี เป็นความต้องการ เป็นความไม่ปล่อย เป็นความยังเหลืออยู่

ในขณะที่ สอุปาทิเสสนิพพาน ก็ยังเหลืออยู่ เป็นพระอริยเจ้า เป็นพระอรหันต์ ก็ตาม ก็ยังเหลืออยู่ ยังทำอะไร ต่ออะไรอยู่ ในสิ่งที่จะต้องสร้างสรร เป็นไป ยังไม่หมด ยังไม่วาง

อนุปาทิเสส ไม่เหลือเลย ทีนี้ไม่เหลืออะไรเลย หมดทุกอย่าง โดยเฉพาะ ตัณหาที่ว่านี่ หมด

อย่างพระพุทธเจ้า ท่านปลงอายุสังขารนี่นะ ตอนแรก พอทำไปตามระยะปัจจุบัน พระพุทธเจ้าตรัสรู้ปั๊บ ท่านก็มีความมุ่งหมาย ที่จะไปถึงที่สุด เมื่อถึงที่สุด ท่านตรัสรู้ ท่านบอกสุดแล้ว จบ หยุด ในขณะนั้น จิตหมด วางหมด ไม่มีตัณหา พระพุทธเจ้าก็สว่าง โปร่งใสที่สุด

พระพุทธเจ้า ท่านก็ตรัสกับพระอานนท์ อันหนึ่งว่า ตถาคตนั้น ย่อมมีจิตที่ โปร่ง เบา ว่าง ใสที่สุด ๒ ครั้ง

ครั้งที่ ๑ คือ ตรัสรู้ ตอนท่านตรัสรู้
ครั้งที่ ๒ คือ ปลงอายุสังขาร

นั่นบอกว่า เลิก ละหมดแล้ว ทีนี้ ไม่ต้องทำงานต่อแล้ว จบ หยุด ปลงอายุสังขาร จิตจะวางใส เลิกแล้ว ยังไม่ทันตาย ยังไม่ได้ปรินิพพาน ยังไม่ทันตาย ปลงใจสังขารก่อนตาย ๓ เดือน นั่นแหละ พอปลงอายุสังขาร ปั๊บ วางนั่นเอง นั่นแหละสว่าง ว่าง โล่งที่สุด ๒ ครั้ง นี่เป็นเรื่องของจิต ถ้าคนไม่รู้ มาอธิบายให้คุณฟัง ไม่ออกหรอก ใครก็เคยอ่านประวัติ พระพุทธเจ้า ท่านตรัสกับพระอานนท์ อ่านพระไตรปิฎก ก็เคยอ่านกัน มหาเปรียญ เคยอ่านพระไตรปิฎก หลายๆมหาเปรียญ ก็คงจะได้ฟัง จิตมันว่างจริง มันปล่อยจริง คือวาง ไม่มีตัณหา แต่ไม่มีตัณหา นี้เป็นไม่มีตัณหาโดยธรรม โดยเจตนารมณ์ ไม่เอาแล้ว ไม่ปรารถนาที่จะทำ อะไรต่อ ในขณะที่ปรารถนาจะสร้างศาสนา ให้เป็นปึกแผ่น พอเริ่มต้นวางแล้ว ท่านก็จะไม่เอาอะไรแล้ว ก็เหมือนกับจิตที่มันจะไม่เอาอะไร เดือดร้อนถึงพระพรหม มองดูอะไรมันก็ทุกข์ โอ๊ ยากหนอ เห็นคน พระพุทธเจ้าเกิดมาในยุคนี้ โอ้โฮ พระพุทธเจ้าองค์นี้ โลกมันเต็มไปด้วยกาม เต็มไปด้วย มานะการถือดี สงสัยจะเหนื่อยเปล่าเสียละมั้ง มันจะช่วยไหวฤานะ พระพุทธเจ้าท่านก็ปริวิตกอย่างนั้น แว๊บเดียว เท่านั้นแหละ เรียกว่า ปริวิตกไปในแง่ลบนะ อย่างนี้นะ ไม่ค่อยดีแล้ว เดือดร้อน พระพรหมบอก ฉิบหาย แล้วหนอๆ พระพรหมบ่นเลย เป็นบุคลาธิษฐานนะ พระพรหม ก็จิตของพระพุทธเจ้าเองนั่นแหละ จิตเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นั่นแหละ จิตผู้ที่จะต้องเห็นแก่มนุษยโลก จะต้องสร้างสรร จะต้องช่วยเหลือ จะต้องเกื้อกูล มีพระมหาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ต้องเป็นจิตอย่างนั้น ถ้าขืนจิตอย่างนั้นก็ที่จริงควรลงโทษ คิดไม่ดีแล้วนะ พระพุทธเจ้า นี่พูดหยาบๆ พูดหนักๆ คิดไม่ดีแล้ว จะไม่สอนมนุษย์เสียหายนะ มันฉิบหายแล้ว นะโลก แต่เราไม่ไปเพ่งโทษพระพุทธเจ้าหรอก เราก็บอก ฉิบหายแล้วหนอโลก ไปให้พระพรหมนั่นเพ่ง ที่แท้ก็ตัวเองนั่นแหละ เป็นความสำนึกของตนเอง ว่าเราอย่าไปคิดชั่ว เราอย่าไปคิดผิด อย่าไปคิดในทางลบ อย่าไปคิดในทางไม่ดี แม้นิดน้อยนี้ ท่านปริวิตก ท่านก็ต้องสำนึกตนเอง ท่านก็รู้ตนเอง

นี่ บรรยายให้ฟัง โดยเนื้อหา โดยความหมาย แต่ทำเป็นบุคลาธิษฐาน สำหรับคนที่โง่ๆ บอกว่าไปดูถูก พระพุทธเจ้า ไม่ใช่ดูถูกหรอก มันมีแง่ลบ แง่บวกอยู่ในตัว แว็บหนึ่งได้ พอแม้ท่านปริวิตกนิดหนึ่ง ชั่วแว็บเดียว ว่า เอ ไม่สอนเสียดีมั้ง มนุษย์นี่ แหม่ ทำไม โอ้ย แย่เลย ไม่มีพระเมตตายังงี้ได้ยังไง ใช่ไหม ไม่สอนเสียดีมั้ง กามมันก็เยอะ มานะมันก็ใหญ่เหลือเกิน อาตมาคิดอย่างนี้กับพวกคุณ ซะดีมั้ง นี่ หึ มานะมันก็เยอะ กามมันก็แยะ เดี๋ยวพระพรหมร้อง พวกคุณเป็นพระพรหมเหรอ โอ้โฮ เป็นได้เหรอ พวกคุณเป็นพระพรหม เลยเหรอ ร้องเลยเหรอ ฉิบหายใหญ่แล้วหนอ พระโพธิรักษ์ไม่สอนคนแล้วละนะ ฉิบหายใหญ่

นี่ เป็นบุคลาธิษฐาน เป็นธรรมาธิษฐาน ต้องฟังให้ชัด แล้วรู้ให้จริง ถ้ารู้จริง มันก็ชัด มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้น เราไม่ได้ลงโทษหรอก เป็นลักษณะที่มันเป็น พระพุทธเจ้าปริวิตกแว็บหนึ่ง ชั่วเหยียดแขนออก คู้แขนเข้า เร็วแว๊บหนึ่ง ท่านก็ต้องรีบกลับตัว เหมือนกับพระพรหม ที่ต้องอาราธนา ไม่ได้นะ

พรหมา จ โลกาฯ. เขาก็เขียนเป็นบทไว้อย่างนั้นแหละ ที่จริงเขียนขึ้นใหม่ พรหมา จ โลกา ธิปติ สหัมปติ อะไรนี่นะ ก็ต้องอาราธนา หรือตนเองนั่นแหละ ไม่ได้ ต้องรีบนึกคิดเปลี่ยนเสียใหม่ ตนเองต้องทำกิจ พระพุทธเจ้า ไม่ทำกิจ ไม่ทำพุทธกิจ ไม่ทำโพธิกิจ ไม่ได้ ต้องทำพุทธกิจนั้น ต้องทำงานนั้น เพราะ ปรารถนาไป เพื่อที่จะต้องช่วยโลก ช่วยมนุษย์ เป็นโลกานุกัมปายะ เป็นพระโลกนาถ ต้องช่วยมนุษย์ เท่าที่จะช่วย มันจะยังไงๆ ก็ต้องช่วย เป็นกิจ เป็นหน้าที่ เป็นวาระ ถึงวาระแล้ว ก็ต้องทำ นี่เป็นลักษณะของ นามธรรม เป็นลักษณะที่ลึกซึ้งทั้งนั้น เป็นลักษณะที่ลึกซึ้ง เมื่อท่านตั้งจิต พอแว็บเดียว ท่านก็รีบตั้งจิต ก็ต้องทำงาน พอว่างโล่งนิดเดียว อื้อฮือ มันไม่ว่างแล้ว ตอนนี้ ต้องทำงานแล้ว ทีนี้ เพราะต้องทำงานแล้ว

อาตมาว่างนานนะ อยู่วัดอโศการาม ว่างนาน ตอนนี้ ไม่ว่างเลย อยู่วัดอโศการามนาน พระพรหม กว่าจะอาราธนา ออกมาจากวัดอโศการามได้ นาน ไม่เหมือนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าขืนนานอย่างอาตมา โลกฉิบหายใหญ่เลย พระพุทธเจ้า ถ้าขืนไปเผลอไผล ทำเป็นว่างนานๆ อย่างอาตมาไม่ได้ อาตมานานกว่า พระพรหมจะลากออกมา ไม่ใช่อาราธนา คือ ความรู้สึกของเรา กว่าจะรู้ตัว กว่าจะไหวพริบ กว่าจะทัน กว่าจะรู้ว่า เอ๊ะ ข้าฯเป็นใคร ข้าฯต้องทำอะไร กว่าจะรู้ตัว นานเลย เมามึน โอ้โฮย เสวยไอ้ภพ ไม่เข้าเรื่อง อยู่นั่นน่ะ มุ่นอยู่นั่นน่ะ เพราะฉะนั้น ใครถึงถามว่า ทำไมล่ะ เป็นเจโตสมถะ อยู่ที่นั่นหมด ไปจมอยู่วัด อโศการาม ทำไมไม่ให้ผมไปเจโตสมถะ เหมือนท่านอยู่วัดอโศการาม มั่งล่ะ ทำไมให้ออกมาทำงานๆ น่า ช้างขี้ อย่าขี้ตามช้างเลยน่า ไม่ดีหรอก เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง ไปซะหมด มันไม่ถูก

ฟังดีๆ พวกนี้อธิบายอะไรผสมผเส เพื่อให้เราได้เข้าใจอะไรลึกซึ้งขึ้น ฟังไปเรื่องนิด เรื่องหน่อย แถมทำให้เกิด ญาณปัญญา เกิดปฏิภาณ มันลึกซึ้ง ละเอียด ที่พูด ที่อธิบายนี่ มันเป็นเรื่องที่มันมีนัยะต่างๆนานา หลายเรื่อง ที่คุณเคยได้ยิน ได้ฟังธรรม ฟังเทศนาหลายอย่าง ไม่เคยได้ยินได้ฟัง อ๋อ มันหมายอย่างนี้ เหรอ มันจะเข้าใจ ลึกซึ้งขึ้น ของเก่า แต่มีอะไรใหม่ๆ มีองค์ประกอบ มีวาระ มีเรื่อง มีราว มีโน่น มีนี่มาประกอบกันเข้า อ๋อ อย่างนี้ๆเหรอ มันเข้าใจลึกขึ้นไปอีก แต่ก่อนนี้ ว่าเข้าใจแล้วนะ แต่ตอนนี้ เข้าใจอีก เข้าใจลึกซึ้งไปเรื่อยๆ อานิสงส์ในการฟังธรรม จะมีอานิสงส์ ๕ ประการ อย่างนี้จริงๆ

เพราะฉะนั้น ในความหมายที่ว่า มันมีอะไรซ้อนอยู่ในเจตสิก หรืออยู่ในจิตวิญญาณ อยู่ในจิต อยู่ในอะไร ต่างๆ นานา พวกนี้ มันไม่ใช่เรื่องตื้นเขิน มี อย่างพระอภิธรรมแยกเอาไว้ เจตสิกมากมาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และยังมีวินิจฉัย มีวิจารณญาณ มีโน่นมีนี่ อาตมาอ่านแล้ว ก็เยอะ ก็รู้นะ ไม่ใช่ไม่รู้นะ

ทีนี้ กลับเข้าสู่อันนี้นะ เมื่อนิดหนึ่ง น้อยหนึ่ง อะไรไม่มีแล้ว เนวสัญญานาสัญญา ไม่ใช่ไม่รู้ ต้องให้รู้ ต้องให้รู้หมด รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง จะว่ารู้ก็ไม่ใช่ จะว่าไม่รู้ก็ไม่เชิง ไม่ได้ ต้องรู้อย่างพ้นวิจิกิจฉาอย่างสูงสุด หมดสงสัย รู้แจ้งแทงทะลุ เหมือนมันทะลุโลกไปถึงไหนๆ โน่นเลย มันเหมือนรู้ เหมือนอะไรจะไม่รู้ ไม่มี ! มันบางที มันเถลไถลไปถึงขนาดนั้น อาตมาเคยเล่า ตัวเอง ตอนที่มันรู้ มันชัด มันแจ้ง โอ้โฮ เรานี่ แหม ตอนนี้นี่ อะไรหนอ จะมีให้เรารู้อีกเนี่ย ก็มันรู้จริงๆนะ มันรู้หมดเลย นี่อะไรนี่ มันก็รู้หมดเลย สงสัย แหม่ ในโลกนี้ ไม่มีอะไรมาให้เรารู้ มันเหมือนอย่างนั้นเลยนะ ที่ไหนได้ล่ะ ยังมีอีกตั้งเยอะ ที่เรายังไม่รู้ มันตอนนั้น มันเป็นยังงั้นจริงๆ โอ้โฮ ไม่กลัวอะไรเลย โลกนี้ เรารู้หมดทุกอย่าง จะยังมีอะไรให้เรารู้อีกบ้างนี่ โอ มันรู้จริงๆ เลยนะ มันรู้สึกอย่างนั้นจริงๆเลย แล้วมันผยองจริงๆเลย มันผยอง ตอนหลังๆ บอกว่า โอ้ คิดจรวด ก็ยังไม่เป็นเลย โธ่ ไปรู้หมดได้ยังไงเนาะ หลายๆอย่าง เราก็ยังไม่รู้เลย ตอนนั้น มารู้สึกอย่างนั้นจริงๆ เป็นอย่างนั้นจริงๆเลย มันรู้ว่า เรารู้สิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง มันรู้จริงๆ รู้รอบ รู้อะไรต่ออะไร มันบรรยายไม่ถูก ว่าจะบอกคุณได้ยังไง ก็บอกได้เป็นภาษาหยาบๆแค่นี้

สัญญาเวทยิตนิโรธ บอกแล้วว่า ไม่ใช่ไปดับสัญญา ดับเวทนา แต่ ดับอวิชชา ฟังให้ชัด พ้นอวิชชา พ้นความไม่รู้นั้น พ้นอวิชชานั้น อวิชชานั้นดับ อวิชชาสวะดับ ไม่ใช่ไปดับสัญญา ดับเวทนานะ สัญญา มันยิ่งเจ๋ง สัญญาและเวทนา นั้น ถึงซึ่งนิรุทธา สัญญา และเวทนาถึงซึ่งนิรุทธา ถึงซึ่งความดับหมดเลย ดับสิ่งที่ควรดับ ก็คือ อวิชชาสวะ ในสัญญา เวทนานั่นแหละ ไม่ใช่ในอื่น ภาษาสั้นๆ ก็ เหมือนเอาไปดับอันนี้ เอาไปขยายอันนี้ ไวยากรณ์ เขาก็ว่าของเขาไป ตามเรื่องตามราว เอาเถอะ คุณอธิบายไวยากรณ์ภาษา ขยายโน่น ขยายนี่ คุณขยายกันไป ขยายมันได้แต่ขยายขนาดหนึ่ง อาตมาขยายไปได้อีก เขาก็ขยายได้ ขนาดของเขา อาตมาขยายไปได้อีก เขาขยายไปได้ระนาบหนึ่ง อาตมาขยายไปได้อีกระนาบหนึ่ง หลายมิติกว่านั้น ไปดับเวทนา ดับสัญญานั้น มันไม่ใช่นะ อันนั้นมันได้มี ธาตุรู้ แล้วก็ไม่ได้มีอะไร ยิ่งไปดับไว ไปดับเวทนาสัญญา ดับปื๊บ ก็ดับเลยๆ ยิ่งโง่อยู่ตรงนั้นน่ะ ยิ่งไม่ได้เรื่องอะไรเล๊ย ไม่ได้ปรุงอะไร ไม่ได้สังขารอะไร ไม่ได้คิดนึกอะไร ไม่ได้ตักกวิตักกะ ไม่ได้ตรวจตราอะไร วินิจฉัยอะไรเลย ไปถึงก็ปั๊บ แหม่ เก่งนะ นิโรธเก่ง ปื๊บ ปั๊บ เข้าไปถึงวินาทีก็ดับเลย ได้ เขานิยมอย่างนั้นเสียด้วยนะ ดับนั่นแหละ คือนิโรธ ฌานสมาบัติ นิโรธสมาบัติ เสร็จแล้ว ก็ยิ่งไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย แล้วก็จมอยู่ในภพนั่นแหละ ภพดับนั่นแหละ มันก็ยิ่งไม่ได้เรื่อง นี่ก็ผล

ทีนี้ ก็มาที่เหตุ วาจาก็คือ เรื่องราว ก็คือวจี สังขารมันปรุง มันอะไร ต่ออะไรต่างๆนานา ที่มันมีสังขาร ที่เป็นส่วน ที่จะต้องรู้ว่า สังขารนี้ เป็นอัสสาทะ สังขารนี้ เป็นเรื่องอกุศล เป็นเรื่องทุจริต สิ่งที่มีส่วนของกิเลส ตัณหา อุปาทาน เอามาร่วมสังขาร เอามาร่วมปรุง ไม่ได้หมายความว่า คนไม่มีสังขาร พระอรหันต์เจ้า ก็ยังมีสังขาร มีรูปนามขันธ์ ๕ มีเวทนา สัญญา สังขาร เป็นปุญญาภิสังขาร ถ้าส่วนของเราเหลือ กิเลสเรา ยังเหลืออยู่ เราก็ล้าง ส่วนที่มันปรุงกับกิเลสของเราออก เรียกว่า ล้างสังขาร ส่วนที่มันไม่ควร จะมาสังขารกัน ในจิตวิญญาณของเรา

อะไรล่ะ ที่จะไม่ควรมาปรุงอยู่กับใน มาปนอยู่ มันเป็นส่วนไม่ดี มันเป็นมลพิษ เอามลพิษนั่นออก อย่าให้มามี สังขาร เอาแต่ของสะอาด ปรุงอยู่กับของสะอาด เป็นปุญญาภิสังขาร สร้างเพื่อผู้อื่น สร้างเพื่อบุญ เพื่อกุศล สร้างเพื่อคุณค่า ไม่ใช่เพื่อตัวกูของกูเสพ บอกแล้ว ไม่เสวยอารมณ์สังขาร ไม่เสวยอารมณ์ ในนี้บอก ชัดๆ อยู่แล้ว ไม่เสวยอารมณ์

เพราะฉะนั้น เมื่อเราเข้าใจแล้วถึงวาจาย่อมดับ ก็คือ เรื่องราว เบื้องต้นเสร็จแล้ว ก็ต้องวิตกวิจารต่อ ต้องตรึก ต้องนึก ต้องคิด ต้องตรวจ ต้องทำงาน จนกระทั่งได้ดีเพิ่มขึ้น เรียกว่าได้ปีติ วิตก วิจาร ก็ไม่ต้องต่อแล้ว เพราะคิดได้แล้ว ตรวจเห็นแล้ว แยกวิเคราะห์ได้แล้ว สภาพที่เอาออก ก็เอาออกได้แล้ว สภาพที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ทำตั้งมั่นได้แล้ว สภาพที่ล้างออก และก็ให้ตั้งมั่น แข็งแรง ให้มั่นคง ทำสมาธิ คือ อย่าให้มีกิเลส จิตก็แข็งแรง ตั้งมั่น ทำได้ชั่วคราว จนกระทั่งเก่งขึ้น มั่นขึ้น ยืนนานขึ้น ต่อเนื่องได้ยาวขึ้นไปอีกเรื่อยๆ นี่ คือสภาพของ การทำสมาธิ ให้อารมณ์ที่เราต้องการ สภาพที่ปราศจากนิวรณ์ ให้มันได้ต่อเนื่อง ให้มันแข็งแรง คงทน ทำได้เรื่อย ก็คือ ได้ดียิ่งขึ้น ได้ดีขึ้น คุณก็จะมีจิต ปีติ ที่เป็นอุปกิเลสซ้อนด้วย และหรือได้ดียิ่งขึ้น นั่นคือ ผ่านปฐมฌาน ผ่านทุติยฌาน ขึ้นมาเรื่อยๆ เป็นตติยฌาน จนกระทั่งมีปีติ มีได้ดี หรือถ้ามีอุปกิเลส ที่เป็นปีติ ก็ดับส่วนที่เป็นอุปกิเลส ที่เป็นปีตินั่นออกไป แต่ไม่ใช่ดับความดีที่เราได้ ดับสิ่งที่เราได้ขจัดนิวรณ์ออกจากจิต ไม่ใช่ อาการที่ทำนิวรณ์ออกจากจิตได้นั้น เป็นจิตที่ดี เป็นจิตบริสุทธิ์ เป็นจิตที่เพ่งเผากิเลสออกได้ เป็นตัวฌานแล้ว ไม่ได้ทิ้งฌาน แต่ฌานนั่น มีอานิสงส์อะไรรู้ไหม ฌานมีอานิสงส์อะไร สุข ฌานเป็นสุข สุข อันวูปสโมสุขด้วย

เพราะฉะนั้น เราก็พยายามที่จะอ่านด้วย อ่านรสของผู้มีฌาน เรานั่นแหละอ่านของเรา อย่าไปอ่านของคนอื่น อ่านของคนอื่นไม่ออกหรอก แล้วอย่าไปอุตริว่าคนอื่นชิมแกง เราก็เลยรู้รส ไม่ได้ เราต้องชิมแกงเอง เราก็ ถึงจะรู้รส เราจะต้องทำฌานเอง เราก็รู้รสแกงของเราเอง รู้รสฌานของเราเอง เสร็จแล้ว จตุตถฌาน ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ย่อมดับ แหม ตอนนี้ล่ะ ก็ ต้องหามไปเผาแล้ว

คือ หมายความว่า เราไม่ต้องคำนึง เราไม่ต้องไปเกี่ยวข้องกับองค์ประชุมที่ไม่เกี่ยวข้อง อัสสาสะปัสสาสะ หมายถึงกาย หมายถึงองค์ประชุม เพราะฉะนั้น องค์ประชุมที่เราเองอาศัย เราอาศัยลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ตอนนี้ไม่แล้ว อยู่กับสภาพที่เป็นสิ่งที่ต้องการ สิ่งที่เป็นนามธรรม เป็นใน องค์ประชุมใน วิเคราะห์ วิจัยทำอะไร อยู่กับสภาพของจิต ถ้าเรียกกาย ก็เรียกกายในกาย องค์ประชุม ถ้าเรียกเวทนา ก็เวทนาในเวทนา เข้าไปเรื่อยๆ เวทนาคือ ความรู้สึก เมื่อความรู้สึกมีสุข มีทุกข์ ก็เรียกว่าเวทนา ที่ยังนอก หรือยังเป็นองค์ประชุมหยาบ มีสุขก็ดี มีทุกข์ก็ดี ขจัดสุข ขจัดทุกข์ออก ขจัดเหตุแห่งทุกข์ออก ขจัดออก ก็จะเกิดความรู้สึกเวทนา รู้สึกสะอาดขึ้น รู้สึกว่างขึ้น รู้สึกสงบขึ้น สงบขึ้นไป เราก็จะต้องเอาจิตของเรา เข้าไปแนบแน่น ไปรู้สึก

เพราะฉะนั้น องค์ประชุมนอก ก็คือ อัสสาสะปัสสาสะ หรือ กายนอก หมดไปเรื่อยๆๆ ดับไปเรื่อยๆ

(อ่านต่อหน้า ๒)

FILE:0675A.TAP