ตอบสารพัดปัญหาครั้งที่ ๒ หน้า ๓
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๓ ณ พุทธสถาน ปฐมอโศก

ต่อจากหน้า ๒


ขอโอกาสครับ พ่อท่านครับ พอดีผมมีคำถามต่อเนื่องอันนี้พอดีครับ อย่างสมมุติว่า เรามาอยู่วัดนี่ เราเจองานหนักๆ แล้วปฏิบัติธรรมไปด้วยนี่ มันเกิด หนักมากๆ แล้วมันจะตีกลับ เป็นว่า ต่อไป มันจะเริ่มเลี่ยง เริ่มหลีกนี่ เราจะมีวิธีแก้ ยังไงครับ

ก็อ่านให้ชัดซิว่า เราเองเลี่ยง เราเองหลีกนะ เราเองเราไม่อดทนเอง เราไม่แข็งแรงเองนะ ใจไม่สู้เองนะ

มันเป็นความเสื่อมลงใช่ไหมครับ

เป็นความไม่แข็งแรงของเรา ไม่เจริญ ไม่ใช่ความเสื่อมลง เป็นความไม่เจริญของเรา

ถ้าเราจะแก้ไข เราจะเพิ่ม จะหาวิธียังไงครับ

ต้องพยายามอุตสาหะขึ้นบ้างสิ อุตสาหะขึ้นไปบ้าง พยายามขึ้นบ้าง ไม่ใช่เลี่ยงหนี

ก็ได้ บางทีตีลังกาฟัง ก็ยังได้เลย จะอนุโลมกิเลสอะไรบ้าง ก็ไม่มีใครรู้ ใครเห็น มันต่างกันเยอะนะ

ไม่ทราบค่ะ เวลาฟังธรรม ถ้าไม่ได้ฟังใช่ไหมคะ ก็ไปยืมมาแล้ว ก็นั่งฟังแบบนั่งฟังจริงๆนี่คะ เวลาที่...

พนมมือด้วยเลยหรือ

เปล่าค่ะ แต่นั่งฟังเฉยๆ คนเดียว แบบจดด้วยอะไรยังงี้ล่ะค่ะ แบบนั่งไปจดไปด้วย อย่างนี้ล่ะค่ะ ได้ใช่ไหมคะ

ก็ได้ แต่ว่า ถ้าจริงๆแล้วนี่ มันควรจะพร้อมอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส เรื่อง อปริหานิยธรรม พรั่งพร้อมกันทำ พรั่งพร้อมกันเลิก อะไรต่ออะไรนี่มันดี แต่ถ้ามันไม่ได้ก็ยกไว้ ก็ไม่ได้ว่าอะไร ก็มีอยู่ในพวกเราทั้งนั้นแหละ มีคนทำงาน รับผิดชอบ บางคนก็ แม้ว่าอาตมาจะรู้อยู่บ้างเหมือนกัน ว่าคนนี้ จริตไม่ค่อยชอบฟังธรรม แล้วก็อ้างให้เกิดเหตุผล แล้วก็ทำแต่งาน ไม่ค่อยจะขึ้นศาลาอะไร โน่นนี่ ก็เข้าใจอยู่ ก็พยายามบอก บอกแก้ไขได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ก็เอา ก็ไม่รู้จะไปบังคับกันยังไง

แล้วอย่างนี้ จะไปทำให้เขาเจริญได้ไหมคะ ถ้าเขาทำแต่งาน

ถ้าปฏิบัติธรรมะเป็น มันก็เจริญได้เหมือนกัน แต่ว่ามันไม่สัมพันธ์กันทั้งหมด แม้แต่งาน ก็จะไม่เจริญกว้าง มันก็จะแคบอยู่ในเรื่องของเรานี่แหละ แต่ ถ้าเผื่อว่า ขึ้นสัมพันธ์กับหมู่นี่นะ มันจะมีทักษะ มันจะมีความกว้าง มันจะรู้อะไรต่ออะไรอีกเยอะแยะ แม้แต่งานเรา เราจะได้รับข้อมูล อะไรต่ออะไร จากสิ่งที่สัมพันธ์กับหมู่ฝูง แทนที่จะอยู่ในรูของเราเท่านั้น งานของเราเท่านั้น หมกอยู่ เท่านั้นใช่ไหม นี่ก็เป็นเหตุผลง่ายๆ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ไอ้สิ่งเหล่านี้ มันจะเจริญมากกว่ากัน มันจะได้อะไรมากกว่ากัน ถ้าทำถูกระบบของพระพุทธเจ้าทั้งหมด พอ จะมึนแล้วนะ นี่ปัญหา

ผมอายุก็ป่านนี้มาแล้ว ก็ไปงานศพหลายงาน แล้วก็เห็นการที่คนตายนี่ เขาจะมีการอาบน้ำศพ นับเป็นกุศโลบายของคนสมัยก่อนนี้ ที่สมัยอาบน้ำศพนี้ ปกติ แขกจะต้องรดน้ำ เขาเรียกอาบน้ำศพ แต่ใช้มือมาแบบแบออกมานี่ เป็นลักษณะที่ ผมเข้าใจว่าเป็นลักษณะที่ ... แปลว่าเป็นลักษณะที่ กุศโลบายไว้ ฉันไปมือเปล่านะ ฉันไม่ได้เอาอะไรไปเลย อะไรอย่างนั้น จะใช่ความถูกต้องไหมครับ หรือจะมี...

ไม่ใช่ ไม่ใช่หรอก ไม่ใช่คือมันเป็นความคิดนึกของคนเอง อาบน้ำศพนี้ มีหลายศาสนานะ มีหลาย ยิ่งศาสนาอิสลามด้วย โอ้โห! เขาไม่ได้ล้างธรรมดาเลยนะ ล้างอย่างรีดท้อง รีดอึอะไรด้วย ล้างกันจริงๆเลย เขาถือว่าทำความสะอาด มันเป็นความเชื่อของเขาน่ะ

เพราะฉะนั้น เรื่องล้าง หรืออาบน้ำศพนี่ เป็นการทำความสะอาด หรืออย่าดูให้มันสกปรกเลอะเทอะ หรือแม้ว่าคนเรานี่ เห็นศพตายแล้วนี่ ศพตาย ส่วนมาก มันไม่ค่อยสะอาด จะตายด้วยโรคภัย หรือยิ่งตายด้วย อุปัทวเหตุนี่ มันไม่สะอาด เราก็ทำให้มันสะอาด ตบแต่งให้มันดูดีก่อนนะ คนเราติดยึดว่า นี่มันก็เป็นตัวตน ก็เลยทำ ความจริงมันก็ไม่มีอะไรหรอก ทีนี้ เมื่อคำว่าอาบน้ำ ล้างศพ ติดมาเรื่อยๆๆๆ หนักเข้าตอนหลังก็บอก โอ้โห! ถ้าล้างศพ แล้วช่วยอาบล้างน้ำอะไรนี่ มันเป็นบุญนะ ได้บุญนะ ก็เลยอยากจะแบ่งบุญให้คนอื่นเขามาอาบด้วย คนนั้นคนนี้มาอาบ ก็จะไปอาบอะไรกันหวาดไหวล่ะ ก็มานั่งเอาศพมาให้ล้างกันอยู่ก็เลยเอาอาบ แต่แค่นี้ก็แล้วกัน สมมุติว่า อาบเอาราดมือแค่นั้น สมมุติว่าอาบ ราดมือ ไม่ได้หมายความว่า ไม่ได้เอามา มีแต่มือแบ ไอ้นั่น มันตีความหมายเอาเองอีกทีหลัง

กราบพ่อท่านครับ มีคนบอกว่า อยากให้พ่อท่านอธิบายเรื่องปฏิปทา ๔ หลัก ๔ น่ะ มีคนหลายคน ไม่เข้าใจครับ

อ๋อ ! ปฏิปทา ๔ นั้นหรือ ปฏิปทา ๔ มี

๑.สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา หมายความว่า คนที่มีจริตชอบปฏิบัติสบายๆ ไม่ต้องเคร่งนัก ไม่มีตบะ เยอะแยะอะไรนัก ไปเรื่อยๆ แต่สุขาปฏิปทานี่ มีข้อแม้นะว่า ไม่ใช่ไม่มีบทปฏิบัติตามสบายๆ แบบเบิร์ด ไม่ใช่ สุขาปฏิปทานี่ ต้องตั้งตนอยู่บนความลำบาก แต่ลำบากน้อยๆ ไม่ต้องลำบาก อย่างหน้าเขียว หน้าแดงอย่างที่คุณประเสริฐว่านี่นะ ชอบ เอาไปขนาดนี้ เคร่งขนาดเรานี่ พอสบายๆ แต่ต้องอยู่ ตั้งตนอยู่ในความลำบาก อันนี้แหละสำคัญ คนในโลกเขาไม่เข้าใจ เขาเข้าใจว่า สุขาปฏิปทา ก็คือปฏิบัติตามสบายๆ ที่จริงเอากิเลสมาตัดสินแล้ว มันไม่ได้มีตั้งตน อยู่ในความลำบากแล้ว มันกิเลสไปแล้ว แล้วมันก็ไม่มีผลอะไร เพราะฉะนั้น จะต้องมีตั้งตนอยู่ ในความลำบาก รู้ว่าเราตั้งตบะอันนี้ เพื่อสู้กับกิเลสอย่างนี้ๆ จริงๆ แล้วคุณได้รู้ว่า ตัวเองได้สู้อยู่ จริงๆ ไม่ใช่เรื่องสบายๆ แต่มันก็ไม่ถึงเครียด ไม่ถึงยากไม่ถึงลำบาก ไม่ถึงหนักหนา คนจริตอย่างนี้ก็มี และเขาปฏิบัติอย่างนี้ นี่แหละ เขาได้เร็ว เพราะเขามีปัญญาดี น้ำหนักของเจโต เขาก็ดี ไปได้แรง ได้ไวน่ะ ของเขาดี เจโตก็ดี ปัญญาก็ดี ก็ขิปปาภิญญา บางคนนี่ ต้องกระหนาบมัน หน่อย ชอบทุกขาปฏิปทา ต้องทำให้ลำบาก หนักๆเข้าไว้ มีตบะสูงๆ แล้วขิปปาภิญญา ก็จะได้เร็ว บางคน ได้เร็วอย่างนี้ บางคนก็ ทุกขาปฏิปทา แต่ช้า บางคนก็สุขาปฏิปทาทำไป แค่นี้เรื่อยๆ ไม่ต้องเคร่งเครียดนัก ไม่ต้อง อย่า ตบะแรงหนักแต่ช้า แบบคนนี้ เจโตก็ไม่ค่อยดี ปัญญาก็ไม่ค่อยดี แต่ชอบแบบนี้ ไปเรื่อยๆ แต่ก็ตั้งตนอยู่ในความลำบากเหมือนกันน่ะ ข้อแม้ที่สุด ปฏิปทานี่ ไม่ใช่ว่า ตามสบาย ตามอารมณ์ ตามกิเลส ต้องมีข้อปฏิบัติที่ต่อสู้ มีความลำบาก ตั้งตนอยู่ ในความลำบาก ด้วยจริงๆ ตัวปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ไปปล่อยปละละเลย แต่ว่าของเขาเจโตไม่ค่อยดี ปัญญาไม่ค่อยดี เป็นทันธาภิญญา ช้าก็ได้

สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญานั่น ที่พ่อท่านว่าเร็วด้วยนี่ คือพวกนี้คือเขา

เจโตดี ปัญญาดี

ครับ คือพวกนี้ หนักไม่ค่อยเอา แต่เบานี่เขาสู้ตลอด หรือยังไงครับ พ่อท่าน

ไม่ใช่ คือพวกนี้ไม่ใช่หนักไม่เอา เบา ไอ้นั่นเรื่องงาน เรื่อง ตบะของเขา เรื่องกสิณของเขา

คือเรื่องปฏิบัติด้วยน่ะครับ คือเขาแบบว่ามี

เออ! เรื่องงานนี่ ก็อีกเรื่องหนึ่ง คนชอบทำงานหนัก กับคนชอบทำงานเบาๆนี่ มันก็จริตอีกอย่างหนึ่ง นี่เรื่อง เรื่องของงาน ที่จริงมันต้องหนักเอา ไอ้เบามันสู้อยู่แล้ว มันต้องหนักเอา ไอ้งานนี่ คนที่ไม่หนักเอานั่น มันไม่ใช่คนเสีย คนต่ำอะไรหรอก ไอ้คนที่หยิบโหย่ง หนักไม่เอานี่ คนเสีย คนหยิบโหย่ง คุณจะพูดถึงแง่งาน หรือจะพูดถึงแง่ปฏิบัติธรรม

ครับ ผมพูดถึงแง่ปฏิบัติธรรมน่ะครับ คือเขามีปัญญา คือ คนพวกนี้ จะไม่ค่อยหลับ ผมว่าคือ เขามีความขยัน แต่ขยันงานที่ว่าละเอียดหน่อยนะฮะ นี่ เขาไม่ค่อยหลับเท่าไหร่ คือเขาไป ทั้งวันทั้งคืน พวกนี่ดูเขามีเวลาทำงานเยอะ เขาขยัน ส่วนคนที่ไม่ขยัน คือทำงานใหญ่ แล้วก็หยุดใหญ่ อย่างนี้ ถ้าอย่างนั้น ก็คือ ผมที่พ่อท่านบอกว่า

เขาก็รู้ ใครก็รู้ ทำงานหนักๆ แบกหาม เหงื่อแตกซักๆ แล้วจะไม่ให้หยุดได้ยังไง ใครเขาก็รู้ว่า อย่างนี้ จะพักมากนัก พอสมควร เขาก็เข้าใจ

ที่พ่อท่านพูด ผมรู้ว่า พ่อท่านพูดถูกผมแล้ว เพราะผมตั้งตนอยู่ในความลำบากแล้ว ค่อนข้าง เช่นนั้นล่ะนะ คือผมนี่ ถ้าว่า ถ้าหนักๆนี่เอา แต่ถ้าว่ามา เบาๆนี่ ผมไม่ค่อยสู้

ไม่เป็นไร คนถนัดงานอย่างนั้น ก็ไม่มีปัญหา ก็ดี แล้วมันก็ดีด้วย คนบอกว่า คนหนักเอานี่ดี คนหนักไม่เอา เอาแต่เบาสู้นี้ มันไม่ค่อยดีหรอก เอาแต่ เบา

คือผมนี่ ถ้าให้ไปนั่งอ่านหนังสือ ไปเขียนหนังสือ ผมไม่ถนัด

บอกแล้ว คุณถนัดก็ดีแล้วนี่ ถึงแม้ว่าคนเอาแต่เบานี่ ควรจะทำงานหนัก ให้มันสู้ด้วย สู้หนักด้วย มันควรจะเอา มันดีกว่าแน่นอน ไม่มีคนปฏิเสธหรอก หนัก ก็เอานี่ คนหนักก็เอานี่ ใครเขาก็ว่าดี ทั้งนั้นแหละ ไม่ใช่เบาสู้ แต่หนักไม่เอานี่ เขาว่าไม่ดีทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น หนักก็เอา เบาก็สู้ นี่เขาถึงเรียกว่าคนดี

ครับ คือยังไง อย่างที่เขาว่า

ไม่ว่าอะไรแต่เรื่องตบะเรื่องธรรมะ หรือเรื่ององค์ประกอบของศีล ของวินัย หรือของหลักการปฏิบัติ ของเรานี่ คุณก็ว่าไปอีกอันหนึ่ง ไม่ใช่งาน ไอ้นั่น มันเรื่องงาน

ครับ คือ ผมบางที ตอนนี้บางที แม้กระทั่งสมภาร ท่านว่าผมว่าทำอะไร นี่น่ะ คุณไปคนเดียวสิ คุณไม่ต้องมาบังคับใคร คุณไม่ต้องมาเร่งรัดใคร ผมบอก ผมไปไม่ได้หรอกคนเดียว เพราะว่าเขาช่วยผมด้วย ผมไปคนเดียว ผมทำไม่ได้ เพราะงานมันใหญ่ ผมต้องไปสูงนะครับ ขึ้นสูงไม่ได้ ผมว่า นกไม่มีขน คนไม่มีเพื่อน นี่ขึ้นที่สูงไม่ได้ ผมไปแล้วคนเดียว ไม่มีเพื่อนนี่ ผมเป็นกองหน้า ไม่มีกองหนุน ผมไปกองหน้าอยู่คนเดียว ไปหน้าเหี่ยวอยู่คนเดียว ไม่มีกองหนุน ช่วยส่งเสบียง ไม่มีคนช่วยหนุนช่วยนี่ ผมไปไม่ได้ พ่อท่านก็ช่วยเน้นหน่อย เพราะว่า

เน้น ก็เน้นกันอยู่ เข็นกันจะตาย แต่คนมันไม่ชอบหนัก พวกเรานี่ พวกตีนไม่ค่อยติดดินกันทั้งนั้น มากันนี่ พวกชาวไร่ชาวนาจริงๆ มาก็ยังจะอยากเบาเลย

พ่อท่านคะ ดิฉันขอถามหน่อยค่ะ คือการฟังอะไรทุกอย่างนี่ ฟัง ตอนฟังก็เข้าใจ แต่ฟังเสร็จก็ลืม มันเป็นวิบากอะไรที่...

เป็นวิบากที่มันขี้ลืม สั่งสมแต่ความไม่ค่อยใส่ใจ พอดีอะไรก็วาง อะไรก็ทิ้ง อะไรก็วาง อะไรก็ทิ้งไว เกินไป อีกอย่างหนึ่ง ก็คือความสับสนของเราเยอะ แล้วก็ลืม ไม่ซักซ้อมสัญญา นั่นก็ทำให้ลืมเก่ง ความสับสนมาก ก็ทำให้ลืม ลืม ลืมได้มาก หรือจำไม่ค่อยเก่งเหมือนกัน

แล้วจะสร้างบารมีในการ...

ก็อย่าให้อะไรสับสน แล้วก็พยายามที่จะต้องฝึกความจำเน้น...มีสติ สัมปชัญญะ แล้วก็รู้ว่า เอ้อ ! อันนี้ พยายามจำ พยายามจำ ไม่ใช่ว่าพยายามปล่อย พยายามลืม พยายามวาง

ค่ะ ขอแค่นี้ล่ะค่ะ

ขอโอกาสครับ คือว่างานหนักนะครับ ทีนี้เรื่องงานนะครับ พ่อท่านจะตอบ หรือจะไม่ตอบ ก็ช่างนะครับ ว่างานหนักของ... แต่ว่ายังไงล่ะครับ พ่อท่านว่าพวกนี้ คนไหนที่ทำงานหนักยากที่สุด คนนั้นจะเด่นที่สุด ใช่ไหมครับท่าน พ่อท่าน คนไหนทำงานหนักได้มากที่สุด คนนั้นเจ๋ง ยกยอสรรเสริญ อันนี้พ่อท่านว่า คิดว่าจะมีส่วนบ้างไหมครับ

เอาละ สรุปให้ฟังนะ เท่าที่อาตมาจับความได้น่ะ เมื่อกี้ก็พูดให้ฟังแล้วว่า คนทำงานหนักๆ ได้เก่ง คล่อง ทนอะไรนี่ มันก็ดี หนักเอา เบาสู้ ฉะนั้น คนที่บอกว่า เอามาทำงานหนักอย่างเรานี่ซี ให้มันได้ ที่จริงก็แนะนำ ดี ถ้าเราทำไม่ได้ เราก็ค่อยๆทำ ถ้าว่าทำไม่ได้ ก็ค่อยๆทำ ถ้าทำยังไม่ได้อย่างนั้น เราก็เรียกว่า เรายังไม่ดี ยังไม่ดีเท่า แล้วคนอื่นเขาอยากจะให้เราดี อย่างนั้นบ้าง มันก็ไม่ผิดอะไรนี่น่ะ อย่างนี้เราทำไม่ได้ เราก็ค่อยๆซี ค่อยๆพยายามไป อะไรต่ออะไรไป ก็ไม่ต้องไปมองว่า เขามาข่มอะไรนี่ หรือว่าคนที่ทำดีๆๆ ทำได้มากๆ แต่ถ้าเราไปมีลีลา มีลักษณะข่มเขาไป มันมีลีลานะ มันมีลักษณะกิเลส หรือไปข่มคนอื่น ได้ข่มคนอื่น ก็มันหัวใจ หรือว่ามันรู้สึกว่า มันใหญ่ มันเป็นมานะกิเลสอันหนึ่ง ก็เป็นบาปของเขาเอง เป็นมานะกิเลสของเขาเอง ได้ ดีแล้วก็ไม่ใช่ บอกอย่างเดียว บอกให้เขามาเอาอย่างเราซิ เขาไม่ได้บอกอย่างเดียว แต่เสร็จแล้ว จะไปข่มเขา เล่นด้วย มีเชิงลีลาไปข่มเขาด้วย แล้วก็ มันสมกิเลสของตัวเองด้วย ก็เป็นความซวย ของตัวของ เขาเอง คุณจะไปตกอกตกใจอะไรมากมาย เขาบอกด้วยหวังดี เราก็มองความหวังดีนั้นเขาซะ เกิดเขาจะมีกิเลส ออกมาเพ่นพ่าน อย่างโน้นอย่างนี้ มันก็เรื่องของเขา เขาได้กิเลสของเขา เราไปเสียอะไรกับเขาล่ะ เราระวังใจของเราก็แล้วกันว่า ใครมาข่มเราก็ไม่ยอม ไอ้อย่างนี้เราเสีย ใครๆเขาจะข่มเรา จะข่มก็ข่มไปซี แต่เขาพูดถูก ถ้าพูดถูกเราก็ฟังเขา เราทำยังไม่ได้ ก็ค่อยๆ อ่อนน้อม ประนมกร อะไรไปกับเขาไปเท่านั้นเอง ก็จบแล้วนี่ เราอย่าไปเสียท่าว่า ข่มไม่ได้ ข้าประพฤติประชดเสียเลย ฮึ ! ไอ้นั่นก็รู้แล้วว่าดี กูไม่ทำหรอก ดีก็ดี ชั่งมันเถอะวะ คุณก็ซวย ของคุณเอง อีกนั่นแหละ เข้าใจไหม ซึ่งมันก็ซับซ้อนอย่างนี้อยู่

พ่อท่านคะ การที่จะตัดใจเรื่องของความรักแต่ละมิติ มันขึ้นอยู่กับที่พละอินทรีย์ ที่จะมีกำลังใจ ในการตัดใช่ไหมคะ พอพรากจากมิติที่ ๑ (คือ เรื่องผู้หญิงผู้ชาย)มา แล้วมาติด มาแวะติดอยู่ที่มิติที่ ๒ รู้สึกว่าห่วงหาอาลัย อาวรณ์ถึงพ่อแม่ พี่น้อง มากกว่าสมัยที่ยังไม่พรากจากคู่เวรคู่กรรม (มิติที่ ๑) เรื่อง ของความรัก มันเป็นเรื่องของการเกาะเกี่ยว ใช่ไหมคะ ความรักมันเป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะเดิน ไปสู่จุดสูงไปเรื่อยๆ ใช่ไหมคะ

ใช่ ที่ถามมานี่ คุณพอมีปฏิภาณรู้ทั้งนั้นล่ะนะ ใช่ เพราะฉะนั้น แม้คุณพลาดจากคู่รัก จากมิติที่ ๑ เป็นคู่รักของผู้หญิงผู้ชาย แล้วคุณก็เลยมาเห็นชัดว่า โอ๊! มันก็ยังมาติดอยู่กับพี่ๆน้องๆ ญาติโก โยติกานี่อีกนะ ก็รู้สึกอาลัยอาวรณ์ห่วงหาอีก คุณก็ต้องพรากอีกเหมือนพรากมิติที่ ๑ นั่นแหละ มาถึงมิติที่ ๓ ฐานนี้อีก ก็พรากอีก พรากน่ะ ปุตตะ ปุตโตใช่ไหม พันธนิยมนี่ มิติพันธนิยม ก็พรากจากพี่ จากน้องจากลูกจากหลานแล้วก็ไปสู่ จากพันธนิยมก็ไปหาอะไร พันธนิยม ก็ไปสังคมนิยม สิใช่ไหม ปิตะปิตตานิยม พันธนิยม...ญาตินิยม นอกจากลูกจากพ่อ จากแม่ นัวเนียกันแล้ว ก็ไปญาตินิยม ญาติ จากญาติที่มันห่างขึ้นไปอะไรๆไป มันกว้างขวางขึ้น แล้วก็ไปสู่มิตร เป็นชุมชนนิยม ชุมชนนิยมคือมันกว้าง จากมิตรสหาย ไปเป็นอะไรต่ออะไรอีก เยอะแยะ มากมายขึ้นไป จนกระทั่งไปถึงชาตินิยม ชาตินิยมก็คือ กลุ่มใหญ่ ชาติก็คือ ประเทศ คือหมู่กลุ่มเชื้อชาติใหญ่น่ะ นอกจากชาตินิยมแล้ว ค่อยไปสากลนิยม แล้วไปเทวะนิยม แล้วแต่คุณไปฐานไหน คุณก็ไปติด คุณจะเห็นว่า มันกว้าง และเราเองก็มีประโยชน์คุณค่า หรือเราเอง ก็มีวงแคบที่เราไปละอยู่ใน วงแคบๆ ที่จะมีผลประโยชน์อยู่กับที่ไอ้แคบๆนี่ คุณจะเลิกละ มาได้เรื่อยๆ เพราะฉะนั้น จะไปติดอยู่มิติไหน ก็ต้องทำลายมิตินั้นทุกมิติไปน่ะ ให้ได้ชัดเจน

พ่อท่านครับ ขอโอกาสอีกครั้ง คือผมเคยพูดนะครับ ผมว่าผมพูด ไม่รู้จะถูกผิดนะครับพ่อท่าน

เดี๋ยวๆๆๆ นี่ขอจะตัดปัญหาสดแล้ว มีปัญหาแห้งอีกบานตะโก้เลย

อันนี้ผมพูดก่อนคือ ผมว่าความลำบากสร้างคนน่ะ ความอันนี้ ผมรู้มาก่อนน่ะ ที่ผมรู้ ผมพูดทีหลัง พูดกับแม่ครัว บอกความอร่อยนี่ทำลายความเป็นอริยะนะ ความไม่อร่อย นี่สร้างอริยะ ก็เหมือนกับ ความลำบากสร้างคนน่ะ ความไม่อร่อยนี่ สร้างพระอริยะนะ ผมว่าผมเข้าใจ พูดอย่างนี้ ถูกไหมครับ

ไม่ถูกทีเดียว ความอร่อยฆ่าคนน่ะจริง ความลำบากสร้างคน ความลำบากสร้างคนนี่ ก็ได้ส่วนหนึ่ง ความลำบาก ในสัดส่วนที่พอเหมาะน่ะสร้างคน ความไม่ลำบากนี่ ทำให้คนเขาเรียนรู้ว่า เอ๊! ถ้าไม่ลำบากแล้วนี่ เราก็ไม่แข็งแรง มันก็ได้เหมือนกันนะ

ครับ แล้วความอร่อย ทำลายอริยะนี่ ถูกไหมครับ

ความอร่อย ความอร่อยมันก็เป็นบทเรียนให้อริยะก็ได้ด้วย

ทำลายก็ได้ ทำลายก็ได้ เป็นบทเรียนให้แก่อริยะก็ได้

ครับ คือ เมื่อวันนั้น วันที่คุยกับฝ่ายเราคือ พ่อท่านมีวันปล่อยเปรต วันหนึ่ง วันกินข้าวหาดนี่ครับ

ก็นี่แหละ ให้เรียนรู้ทุกรอบไง ทุกมุม เพราะฉะนั้น นี่มันเป็นรสชาตินี่ รสชาตินี่มันเป็นการศึกษา มันเป็นบทเรียนก็ได้ มันทำลายก็ได้

แล้วพ่อท่าน พ่อท่านก็กำหนดวันปราบเปรตหรือยังครับ

ปราบเปรตของอาตมา ปราบอยู่มากอยู่แล้ว แทบทุกวัน ปราบเปรตนี่ ไม่ต้องไปกำหนดวัน กำหนดวันไม่ไหวหรอก กำหนดเดือนหนึ่งมีวันเดียวไม่ไหวหรอก

ไม่มี ไม่มีวันพิเศษหรือ มีวันปราบธรรมดา ไม่ปราบพิเศษหรือ... ปราบธรรมดาๆ ไม่เหมือน

โอ้โห! ปราบพิเศษเลยหรือ

ครับ

ก็อย่างปลุกเสกฯ อย่างนี้เป็นต้น พุทธาภิเษก นี้พิเศษแล้วไง .จริตของคุณมันชอบอย่างนั้น คุณจะเอา หนักๆเน้นๆ ชอบ ทุกขาปฏิปทา คุณก็ทำไปเถอะ

ครับ ครับ

ส่วนตัวจะมาสุดโต่งไปคนละข้าง มันชักจะเป็นอย่างนั้น เหมือนกันกับเสริฐ เหมือนกัน กับสุรินทร์ ชอบที่จะคอยกำหนด ให้คนอื่นเขาเรื่อย

แล้วอย่างนี้ ที่ผมทำ ถูกไหมครับ พ่อท่าน ผมพยายามลด รสชาติอาหารที่โรงครัว อย่าให้เขาปรุงแต่งมาก นี่ผมทำถูก หรือผมทำผิดนี่นะฮะ

อย่าพึ่ง อย่าพึ่งไปเที่ยวได้ควบคุมเขามาก เพราะว่า เขาเองก็ทำกับคนส่วนมาก เขาไม่ได้ทำส่วนคุณ คุณจะเอา จริตของคุณไปเพ่งไม่ได้

คือ ผมว่า ทำอย่างนั้นนะ เขาเจริญขึ้น เขาสูง ช่วยหนุน ผมได้น่ะ

เออ! มันก็ใช่ คุณอย่าพึ่งไปเร่งรัด ไม่ได้ ประเดี๋ยวมันก็โค่น ประเดี๋ยวมันก็ไปไม่รอด ก็นั่นแหละ ยิ่งจะแย่ใหญ่เลย ไปไม่รอด มันยิ่งจะแย่

เมื่อเช้า เจ๊เกียว เอาเงินมาใหัผม ๓๒๐ ให้ไปจ่ายกับข้าว นี่วัน พี่เกียวไปนครสวรรค์ ไปเลี้ยงมังสวิรัติ ๕ ธันวา แกให้ผมช่วยดูแลครับ ถ้าผมทำอย่างนี้ ถ้าผมทำแล้ว แล้วว่าครัวไม่เจริญ ไม่ดีขึ้น ที่ว่า ผมว่า ผมทำได้ ผมก็ไม่ทำนะครับ

คำว่าดีขึ้น หมายความว่า ทำแล้วพอเหมาะ ไม่ใช่ทำแล้วมันเคร่ง อย่างนี้ เรียกว่าสุดโต่ง คุณจะทำอย่างคุณ คนเดียวไม่ได้ ต้องพอเหมาะ หมายความว่า เราจะต้องมีปริสัญญุตา รู้หมู่กลุ่ม รู้คนอื่นด้วย ไม่ใช่รู้แต่ตัวเราเอง แล้วจะให้เหมือนอย่างเราเองคนเดียว ไม่ได้

พ่อท่านครับ พอผมเสนอว่า ลดอาหารปรุงแต่ง พรุ่งนี้กินอาหารธรรมชาติกันสักวัน จักรพันธ์ เขาบอกว่า ถ้าให้ลดอาหารธรรมชาติ ไม่กินเลยดีกว่า อย่างนั้น เขาว่าจักรพันธ์น่ะ

ก็อย่างนั้นเป็นต้นไงล่ะ มันไปไม่ได้ไงล่ะ ก็อย่างนี้เป็นต้น คุณเสนอคนเดียว เขาก็ยังไม่รับกับคุณเลย แล้วอีกกี่คน ที่คุณไม่ได้ถามเขา เขาจะไปเอา อย่างคุณคิดอยู่คนเดียวได้ยังไง ไม่ได้นะ คุณจะกินอย่างนี้ไม่ได้

พ่อท่านครับ ผมต้องการให้ลดนะครับพ่อท่าน ผมไม่ได้ให้...

ก็คุณต้องการน่ะ คุณต้องการ แต่คนอื่นเขายังไม่ได้ คนอื่นเขาไม่เอาน่ะ

กระผมไม่ได้บังคับเลย ผมทำเฉพาะส่วนนั้น ส่วนอิสระ ส่วนตัวของใคร ของมันนะ คือเป็นอาหารที่ว่าเราเน้นหน่อย แต่ว่าส่วนรวมไม่ได้บังคับนะ ใครทำได้ก็ทำ ทำไม่ได้ก็ไม่ต้องทำ คือแล้วแต่อินทรีย์พละของคนน่ะ ผมว่าอย่างนั้นนะ แต่ผมจะพยายามครับ เพราะผมอยู่ไม่ได้เหมือนกัน เพราะว่าโตไม่ได้ ผมก็ต้องตายนะ พ่อท่านนะ เพราะผมปฏิญาณไว้แล้ว

หมายความว่าอะไร โตไม่ได้หมายความว่าอะไร

คือจิตผมน่ะ ถ้าว่าผมพัฒนาให้ดีขึ้นกว่านี้ไม่ได้ ผมก็ต้องตายนะครับ

ก็ของคุณ แต่เรื่องพวกนี้มันเป็นตบะธรรม มันเป็นเรื่องของปฏิปทาของคน จริตของเขา คุณจะเอา สูตรอะไรก็ตามแต่ จะเอาทฤษฏีอะไรก็ตามแต่ การประมาณการกระทำก็ตามแต่ นี่ ไอ้นี่แหละ สำคัญมาก คุณไปเป็นครูคนไม่ได้ เพราะแบบนี้แหละ ลูกศิษย์ของคุณ เหลือไม่กี่คนหรอก คุณทำไม่กว้างขวางหรอก คุณไม่มีปัญญารู้ว่า เออ ! คุณจะอนุโลมประมาณได้เท่าไหร่ อะไรของเขา คุณจะเอาแต่ จะให้มันเคร่งๆๆๆ อย่างเดียว เหลือน้อยที่สุดน่ะ

คือพ่อท่าน พ่อท่านครับ ระหว่างนักมังสวิรัติกับนักปฏิบัติธรรมนี่ มันมีความแตกต่างกัน ยังไงครับ พ่อท่าน พวกเรานี่ เป็นกรรมฐานของพวกเราโดยตรงครับ ผมเห็นว่า

เอ้า ! นักปฏิบัติธรรมกับนักมังสวิรัติ มังสวิรัติมันง่ายกว่าการปรุงแต่ง รสชาติเป็นไหนๆ ก็ขนาดนักมังสวิรัติ ยังไปปลอมเนื้อเป็ด เนื้อไก่ เนื้อหมู น้ำปลา อะไรอยู่เลย

แล้วนักมังสวิรัตินี่ เขาจะคิดเรื่องลดรสชาติหรือเปล่าครับ

คิดซิ

นักมังสวิรัตินี่คิดหรือครับ

คิด... มันมีหลายระดับ หลายขั้น

นักมังสวิรัติเเห็นเขาว่าเน้นอร่อยครับ อาหารมังสวิรัติทำยิ่งอร่อยขึ้น เพราะว่าเครื่องปรุงมันพร้อมน่ะ

ก็ใช่สิ เขาปรุงอยู่ เพราะฉะนั้น เราก็ค่อยๆมาลดกันไป มันถึงบอกว่า มันจะไปเลิกทันทีไม่ได้ ไปบอกนักมังสวิรัติ คือไม่ปรุงรสเลย ไม่ใช่

ไม่ ผมเข้าใจ เขาตั้งใจลด คือเลิก มันเลิกยากน่ะ ต้องลดลงทีละน้อย ทีละน้อย... ผมว่าอย่างนี้ แต่ตะกี้ ผมเสนอเรื่องลดนั่นนะ เขาก็ปลดแล้ว คือปลดระวางแล้วเรื่องนั้น ไม่พูดถึงกันแล้ว เขาไม่รับเลย ผมไม่เสนอเรื่องเลิกนะพ่อท่าน เลิกผมว่าทำไม่ได้ ผมก็ลดมานาน กว่าจะเลิกมาได้ หลายเรื่องล่ะนะ ผมเสนอแค่เสนอลดนี่ ก็ยังเสนอไม่ได้เลย

เอ้า ก็ ก็ไม่ได้ ก็เขารู้แล้วว่าไม่ได้ เขาก็ยังไม่ได้ จะให้ทำยังไง

ผมว่า ยังงั้นมันเป็นนักมังสวิรัติอยู่กับนักปฏิบัติธรรมครับ ถ้านักปฏิบัติธรรม ก็ตั้งใจนะครับ พ่อท่าน ถึงจะไม่ได้ ก็นับว่าดี แต่ตอนนี้ยังทำไม่ได้ ก็ยังบอกตรงๆอย่างนี้

แล้วเขาก็ไม่บอกหรือ เขาก็บอกไปแล้ว ว่าเขาไม่ได้

บางทีเขาก็ไม่คือไม่มีปฏิกิริยาตอบรับเลยครับ คือ ไม่ยอมลด...บางที

เอ้า ! มันก็ยังลดไม่ได้ เขาก็ไม่ยอม ไม่ยอมลดน่ะซี

ครับ

พ่อท่านคะ ขอโอกาสค่ะ เขาชอบทานอาหารไม่ปรุงแต่งใช่ไหมคะ จับไปอยู่สันติ ๑ เดือน คือ อาหารปฐมนี่ ปรุงแต่งน้อยแล้วนะคะ สันติยิ่งกว่านี้อีกค่ะ ไปอยู่สิคะ สักเดือนหนึ่ง บังคับให้ขึ้นศาลาด้วยนะ

สันตินั่นหย่อนยานกว่าปฐมตั้งเยอะ

สันติไม่มีงานให้ทำครับ

มีสันติก็มี สันตินี่นะเป็นคนระดับคนเมืองในระดับที่เรียกว่ากองขยะ ขยะของนักปฏิบัติธรรม อีกเยอะที่สันตินี่ ขยะ กองขยะนักปฏิบัติธรรมเยอะ เพราะฉะนั้น ถึงบอกว่า มาอยู่ปฐมนี่ อยู่ไม่ค่อยได้หรอก คนสันตินี่บอกให้มาเถอะ นอกจาก มาอย่างนี้ มีบันเทิงมาเล็กน้อย มาเที่ยวๆ อย่างนี้บ้าง ก็พอมา ถ้าจะให้มาจริงๆ ให้มาอยู่นี่นะ ไม่มาหรอก คนสันตินี่ อ่อนแอกว่าคนปฐม อีกเยอะ จริงๆ ไม่ต้องว้า! หรอก เป็นเรื่องจริง แต่ก็ช่วยไม่ได้ คนเมืองกับคนชนบท คล้ายๆกัน อดทนผิดกัน ปฐมอโศกนี่มันลักษณะคนคนชนบท มันต่างกันน่ะ วันนี้รู้ฐานที่จริงไว้ในนี้ด้วย

ขอโอกาสครับ คือตอนนี้นะครับ ในบรรดาสมาชิกที่ทานข้าวก่อนพระนะครับ ก่อนสมณะนี่ พวกเราก็เห็นว่า มันเป็นสิ่งที่ไม่ดีก็เลย... มาทานกัน แล้วก็คิด ว่าเราจะมีการปุจฉาวิสัชนากันขึ้น เพื่อปรับความเห็นกันนะครับ มันก็มีข้อที่ความเห็นไม่ตรงกัน ก็มีการปุจฉาวิสัชนากันนะครับ ทีนี้ก็มีการเสนอ อะไรขึ้นมาต่างๆนะครับ ก็เลยมาเรียนให้พ่อท่านทราบ มันเป็นอย่างนี้ คุณสุรินทร์ ก็เลยให้มาถาม ก็มาถามพ่อท่าน อย่างนี้นะครับ

ก็บอกไปแล้ว บอกว่าอย่าพึ่งไปเร่งรัดอะไรให้เกินการ... ขนาดนี้แล้ว คุณก็อยากได้คนมาช่วยงาน ยิ่งไปลดอาหารเข้า กินก็ไม่ลงกัน ก็เลยหนีไปหมด ก็เลยไม่ต้อง ก็ไม่เป็นไร คุณก็อยู่คนเดียวของคุณ ไม่มีใครช่วยงานคุณหรอก คุณอย่าทรมานตัวเองซี อีแบบนี้ฆ่าตัวเองนี่ โดยวิธีการน่ะ วิธีการนั้น มันไม่ใช่วิธีการ ช่วยตัวเองด้วยนะ วิธีการช่วย อยากได้ แต่ไปทำตรงกันข้ามกับสิ่งที่มันจะเกิด มันจะไปได้อะไรมา

เอ้า ตอบปัญหาแห้งบ้าง โอ้โห! นี่เต็มมือแล้ว

ปางกฤษณะเป็นอย่างไรบ้างคะ ช่วยเล่าพอไม่ให้งงทีค่ะ

ปางรามนี่นะ เอาปางรามนี่ก่อน ปางรามนี่ คือปางของนักบุ๋น อย่างพระรามนี่ ไม่บู๊ รบ ยังไม่รบเองเลย ให้น้องชายไปรบ ให้พระลักษณ์ไปรบ ตัวเองนี่เฉยอยู่ ไม่ไปลุยอะไรหรอก ใจดี เมตตาเกื้อกูล เอื้อเฟื้อ ปางรามนี่ ใจดีน่ะ

ส่วนปางกฤษณะนั้น จะเรียกว่าใจแรง ใจแรง บู๊น่ะ มีฤทธิ์ มีลักษณะบู๊ละ อาตมาจะว่ายังไง ก็มันไม่รู้ จะเอาอะไรมาเป็น ภาษาที่จะสื่อให้ดีกว่าคำว่าบู๊ เป็นปางฤทธิ์ มีใช้ฤทธิ์ใช้แรง ใช้ลักษณะ ที่ว่า ตัดสิน ด้วยประเภทที่เรียกว่า แบบออกไปเชิงโลกีย์เยอะน่ะ แต่ว่ามันไม่ใช่โลกีย์หรอก ถ้าเผื่อว่า เรื่องธรรมะแล้ว ไม่ใช่โลกีย์ มันใช้ธรรมะแต่ว่าเด็ดขาด แล้วก็ต้องใช้ ประเภทต้องตัดสินอย่างนั้น ถ้าลักษณะอย่างนั้นแล้ว โลกสมัยนั้น สังคมสมัยนั้น ยุคนั้น อย่างนั้นมันต้องมีอันนั้นเกิดขึ้นมา เป็นเครื่องใช้ จะเรียกว่าเครื่องใช้ก็ได้นะ อย่างพระกฤษณะจะต้องเกิดปางนั้น ก็เป็นเครื่องใช้ ของสังคม ในระดับนั้น หรือเป็น ผู้มาโปรดสัตว์ในสังคมชนิดนั้น ให้ได้ผลที่สุด มันถึงจะเหมาะสม กับสังคมยุคนั้น อย่างนั้น ก็ต้องใช้อย่างนั้น... เรียกว่า ปางกฤษณะ เอ้า! นี่ ก็ถาม เอ้อ! นี่ก็ตอบ ดีเหมือนกัน

เมตตาเกินประมาณ มีลักษณะเช่นไร ขอบเขตของสัมมาของเมตตา วัดจากอะไร ภูมิธรรมของ แต่ละบุคคล จะทำให้ระดับเมตตาเกินประมาณต่างกันไหม เช่น พระเวสสันดร เมตตาชูชก จะถือเป็นเมตตาเกินประมาณ ในสายตาคนโลกๆ ไหม

เอ้า ! ตอบมาตั้งแต่อันหลังมาก่อน ได้พูดมาบ้างแล้ว เรื่อง พระเวสสันดรเมตตาชูชกนั้นน่ะ จะเมตตาเกินประมาณไหม ถ้าคนสายตาโลกๆ ก็ถือว่าเมตตาเกินประมาณ แล้วไปทรมานลูกชาย เพราะเขาไม่รู้ค่าของพระเวสสันดร ท่านต้องเสียสละ เสียสละลูก แล้วให้ลูกเสียสละซ้อน ให้แก่ท่านอีก จะไม่เข้าใจอันนี้ เมื่อไม่เข้าใจอันนี้ มันก็เป็น สภาพที่เข้าใจไม่ได้ แล้วมันก็ไม่ถูกต้อง เมตตาเกินประมาณ ก็หมายความว่า เรามีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดยที่ว่าไม่ดูตัว เช่น เราจะช่วย เงินทองเขา แล้วเราก็ไม่มี เมื่อไม่มี เราก็ไปยืมเงินเขามา บางทีเสียดอก แล้วก็เอามาช่วยคนนี้ อย่างนี้มันไม่ใช่การเมตตา ที่สมสัดสมส่วน เพราะว่าสร้างทุกข์ทับถมตน หรือเรียกว่า เตี้ยอุ้มค่อม เรียกว่ามันเกินตัว ไปยืมหนี้ ยืมสินอะไรเขามาช่วยคนอื่นเขา อย่างนี้มันไม่สมเหมาะสมควร อย่างนี้เป็นต้น ยกตัวอย่างวัตถุธรรมง่ายๆให้ฟัง เรื่องลักษณะคล้ายๆกันอย่างนี้แหละ ลักษณะแบบนี้ มันเกินตัว เกินประมาณ เมตตาเกิน บางทีเราเอง สอนคนไม่ได้ แต่เสร็จแล้วก็ ไปหาคนที่จะสอนมา แล้วก็มายัดให้ครูบาอาจารย์หรือให้ใครนี่ ทั้งๆที่ไปรับเละมา อะไรก็ไม่รู้ เก็บมาจากข้างถนนอะไรมา อย่างไรก็ไม่รู้เรื่องล่ะ โอ๊ย! เห็น เขาตกทุกข์ได้ยาก เห็นเขาเป็นอะไรมานี่ เคยซัดกันไปหลายทีแล้ว อย่าไปเก็บมา นะ เอาขยะอะไรมาก็ไม่รู้ เราเอาเข้ามา แล้วก็ลำบากลำบน ในหมู่ อย่างนี้ก็ เมตตาเกินประมาณน่ะ มันใจใหญ่เกินไป จะเกื้อกูลเขาโดยที่ทั้งๆที่เราเอง ก็ไม่สวย ไม่งาม หรือเราก็ไม่มีอะไรเพียงพอ ถ้าจะเมตตาคนอื่น ต้องดูตัวเองว่าเรานี่ มีอะไรจะช่วยเขา สิ่งที่เรามีนี่ อย่าไปรบกวนคนอื่นน่ะ แล้วเรามีพอจริงหรือเปล่า หรือว่ามันเกินตัว ถ้าเกินตัว เรียกว่า เกินประมาณ เมตตาเกินประมาณ

ในสมัยพระพุทธเจ้า พระองค์ได้บอกสอนในเรื่องเกี่ยวกับอาหารกายหยาบๆ ไว้โดยละเอียดลออ หรือไม่ เพราะเหตุใด ในเมื่อพระองค์ตรัสไว้ว่า อาหารเป็นเรื่องเอก เป็นเรื่องสำคัญ ของการ ปฏิบัติธรรม อย่างเช่นว่า ควรจะกินอาหารประเภทนี้ ไม่ควรกินอาหารประเภทนี้ ควรอด อาหารบ้าง หรือ พระองค์ต้องการให้เรียนรู้ ศึกษาให้เกิดปัญญาเองในแต่ละคน

ท่านบอกเหมือนกัน อาหารที่ควรกิน ไม่ควรกิน ท่านก็บอกบ้าง แต่สมัยโน้น อาหารมันไม่วิจิตร พิสดาร มันไม่วุ่นวาย มันไม่มากมายเหมือนสมัยนี้ สมัยนี้ปรุงแต่งเยอะ แล้วก็มีธาตุพิษเยอะ สมัยโน้น ธาตุพิษมันก็ไม่เยอะ เพราะฉะนั้น อาหารเขาก็กินได้ทั้งนั้นแหละ อาหารสมัยก่อน ไม่มีธาตุพิษ ยกเว้น ไม่กินเนื้อสัตว์ออกไปแล้ว พิษน้อยแล้ว พิษน้อยแล้ว สมัยโบราณ ปรุงแต่ง ก็ไม่มาก อาหารก็เป็นธรรมชาติเสียส่วนใหญ่ จะปรุงแต่งก็ปรุงแต่ประเภทง่ายๆ มันไม่วิจิตร มันไม่หรูหรา มันไม่มากมาย แล้วคนก็เข้าใจอาหารอันประณีตนี่ผิดน่ะ ถ้าจะไปมองในแง่โลกๆ บอกว่า อาหารอันประณีตนี่ ก็หมายความว่า อาหารที่ดี ที่มีคุณค่า สมอาหารน่ะ มีสิ่งที่ดี มีความรู้ทางโภชนาการ มีสิ่งที่ดีสมอาหาร เป็นธาตุอาหารที่ดี เรียกว่าอาหารประณีต ทีนี้ คนมาเข้าใจผิดว่า อาหารประณีต คืออาหารที่ปรุงอย่างหรูหรา ปรุงอย่างสะสวย ปรุงด้วยรส อย่างละเอียดลออ อะไรอย่างนี้ เรียกว่าอาหารประณีต ไอ้นั่นไม่ใช่ประณีตหรอก มันยิ่งแย่ มันยิ่งหยาบ ไม่ใช่ประณีต อาหารยิ่งหยาบ เพราะว่ามันแรงไปด้วยโลกียะอะไรมากมาย แต่คนเข้าใจผิด

เพราะฉะนั้น คนไม่เข้าใจธรรมะจะมองคำว่าประณีตผิดนะ อาหารที่ประณีตก็คือ อาหารที่ว่า นั่นน่ะ ไม่ได้หมายความว่า อาตมาเสพ อาตมาชิม รู้ว่ารสอย่างนี้แซ่บ หมายอย่างนี้ล่ะถึงใจ อย่างนี้ ของอีสานอย่างนี้ แต่ของภาคกลางอย่างนี้ อย่างนี้แหละ ถึงใจของภาคกลาง เสพนะก็คงจะพอ เข้าใจขึ้นนะ ฉะนั้น ถามว่าเสพอะไร เสพนี่ หมายความว่า เราบำเรอกิเลส เราบำเรอ เราติด เราก็จะต้องเสพให้ได้รสนี้ ทีนี้ เสพนี่เราก็ไม่รู้ ส่วนมากมันเสพ ๒. เรารู้ แต่เราก็ยังทนไม่ได้ ต้องเสพ ๓ ไม่รู้ว่า ตัวเองแอบเสพ มันสำคัญนะอันนี้ ไม่รู้ว่าตัวเองแอบเสพ ตัวนี้แหละ สำคัญมาก เพราะฉะนั้น ต้องพยายามรู้ตัวเองว่า เอ๊! ที่ตัวเองว่าไม่เสพๆ หรอกนะ แต่ว่าเราก็ต้องทำให้เขา อะไรอยู่บ้าง ทำให้เขาอะไรอย่างนี้ แต่เราก็ไม่รู้ว่า เราแอบเสพนี่ ต้องอ่านให้ละเอียดอย่างนี้ ถ้าไม่เช่นนั้น เราหลอกตัวเองอยู่ตลอดเวลา เราไม่ได้แก้ เราไม่ได้ล้าง ก็ติดต่อไป

คนที่ยังมีจิตฤาษีหลงเหลืออยู่ จะมีสีหน้าเบื่อหน่ายเกิดขึ้น เมื่อกระทบผัสสะที่ไม่ชอบใจ ใช่ไหมคะ แล้วแก้ไขยังไงคะ

ยังมีจิตฤาษีหลงเหลืออยู่ ฤาษีนี่มันไม่ได้หมายความว่าเป็นสภาพที่จะหรี่ จะหลบ จะหลับ อย่างเดียวนะ ฤาษีนี่หมายความว่า เดียรถีย์ทั้งสิ้น มันออกนอกสัมมาทิฏฐิของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่หมายความว่า นี่คงจะถามในแค่ในมุมว่าฤาษีนี่ คือสภาพของ พวกที่ไปหลบเป็นเจโต ติดยึดอยู่เฉยๆ อยู่ในภพ เสร็จแล้วคนอื่น มากวนภพ ก็ชักไม่ชอบใจ สีหน้าเบื่อหน่าย พอกระทบ ผัสสะ ก็ไม่ชอบใจน่ะ แม้หน้าไม่หงิก ก็หน้างอๆ หรืออะไรอย่างนี้น่ะ ถ้าหมายถึงอย่างนี้ จะแก้ไขอย่างไร ก็ต้องรู้ความจริงให้ได้สิว่า เราเอง เราไปหลงตัวเอง ติดตัวเองอยู่ทำไม... อย่างที่ เราชอบ ถ้าเราไม่ชอบแล้ว เราก็หงิกหรืองอ ออกมา ... ถ้าไม่ชอบอยู่ในใจ บังคับเอาไว้ อย่าให้มัน ออกมา ถึงหน้าถึงตา ถึงภาษาความอะไรก็ยังดี... แต่ให้รู้ว่า นี่เราควบคุมได้นะ กาย วาจา เราไม่ออก แต่ใจเรายังมีอยู่ ก็ล้าง พยายาม อย่างนี้ๆ ไม่ดีนะ อาการของใจที่ไม่ชอบไม่อะไรนี่ เราต้องเข้าใจ ความจริงให้ได้ ว่า อย่างนี้เป็นของเขา เป็นอย่างนี้ มันจะเกิดอย่างนี้ มันจะมีอย่างนี้... แล้วเรา ห้ามเขาได้ไหม ห้ามได้ก็ห้าม หรือจะพยายามลองห้ามดู ก็ห้าม แต่ถ้าห้ามไม่ได้ แล้ว เราก็ต้องวาง ถ้าเรายังอยากจะช่วยเขาอยู่ ก็ต้องหาผู้อื่นที่เขาจะห้ามได้ หรือเขาจะช่วยได้ ไปหาใครก็ตาม ผู้ที่เขาจะไปห้ามได้ หรือไปช่วยได้ ก็ไปบอก หรือไปขอร้อง ไปอาศัยผู้นั้น ให้เป็นผู้ช่วยเขา ไม่เช่นนั้น เราก็ต้องวางเฉยๆ ไป ทิ้งไป ปล่อยไป เขาก็จะมีผู้ไปบอกเขาเอง... เราไม่ขวนขวายมากกว่านั้น ก็แค่นั้น แก้ไขยังไง ก็แก้ไขที่เรานั่นแหละ ต้องอ่านให้ชัด

สายโทสะ ธรรมะสามารถเปลี่ยนสายราคะได้ไหมคะ

ได้

เช่น พ่อท่าน ก่อนนี้เป็นสายราคะ แต่ตอนนี้คล้ายโทสะ

จริง อาตมาบอกได้ว่าจริงน่ะ...เมื่อก่อนนี้ สายราคะ แต่ตอนนี้คล้าย โทสะ จริงน่ะ มันเป็นการติด เหมือนกัน มันเป็นการติด ที่อาตมาทำนี่นะ ที่อาตมาเหมือนลักษณะโทสะ นี่ก็เพราะว่า ทุกวันนี้นี่นะ มันเป็นยุคโรแมนติคอิสซึ่ม อย่างที่อาตมาเคยพูด เคยบอก แต่ก่อนนี้น่ะ มันไม่ใช่สายของ.. แล้วก็ปางด้วย ยุคด้วย รามาวตารนี่ อย่างที่อาตมาบอกแล้วว่า ในยุคพระรามนี่ เป็นยุคบู๊... บุ๋นยุครัก โรแมนติคลิสซึ่ม ไม่ใช่ยุคกฤษณะ เป็นยุคบู๊ เป็นยุคซาดิสซึ่ม

เพราะฉะนั้น จะต้องเล่นกันด้วยวิธีโฉ่งฉ่างฉัวะฉะ เด็ดขาดแรง ต้องอย่างนั้นจริงๆ เพราะฉะนั้น ยุคนั้น ยุคนี้เป็นอย่างนี้ด้วย คนอื่นก็เป็นด้วย แล้วเราก็จะต้องเป็นไปด้วย มันก็ไปด้วยกัน เลือดสุพรรณ ก็ลงทะเลยะเยือกเย็นหมด มันจะไปอะไร มันต้องแก้มุมมาบ้าง เพราะฉะนั้น อาตมาถึงต้องเอานี้ ทั้งๆที่รู้อยู่แล้ว ว่า เรานี่สายโรแมนติคนะ อาตมานี่สายโรแมนติค แต่เสร็จแล้ว ก็มาทำอย่างนี้ ก็ด้วยเห็นว่ายุคกาล มันก็เป็นอย่างนี้ แล้วอาตมาก็ทำ ตั้งใจทำอย่างนี้ เพื่อที่จะแก้ สภาพอันนั้นด้วย และทำแล้วก็ถนัดขึ้นมาเรื่อยๆ ชินขึ้นมาเรื่อยๆ ก็เลยได้อย่างนี้ อยู่...

อีกข้อหนึ่ง บอกว่า

เราจะรู้ตัวเองได้ยังไงว่า เป็นพระโสดาบันแล้ว

ต้องมีญาณจริงๆนะ แต่เอาเถอะ คนที่อยู่มีภูมิแค่โสดาบัน จะรู้รายละเอียดว่าตัวเองเป็นโสดาบัน ได้สมบูรณ์ หรือถูกต้องจริงๆนั้น มันไม่ค่อยได้หรอก มันก็ประเมินคาดๆ คาดๆ ตัดเคิร์พเอา ตามภูมิ ของเรา เออ! ขนาดนี้นะ ละอบายมุข อาการของจิต ของใจของเราก็หลุดพ้น อาการใจของเรา ก็ลดน้อยลงมาได้ อย่างนี้ๆๆๆล่ะ มันก็ยังมีขนาดนี้บ้าง อะไรต่างๆนานา ตามสูตรตามทฤษฏี สังโยชน์ อะไรต่างๆนานานี่จริงๆ เราก็ประเมินค่าของเราได้บ้าง เพราะฉะนั้น จะตอบว่า เราจะรู้ได้ยังไง ก็คุณต้องมีญาณ ต้องมีญาณจริงๆ ได้รู้อย่างชัดเจนเลยว่า ความหมายที่ท่าน จำกัดความเอาไว้อย่างนี้นะ สักกายะ ก็คือ ตัวหยาบตัวใหญ่ อาการของกิเลสตัณหาตัวใหญ่ ขนาดนี้ อย่างนี้ของเรานี่ มันไม่มีจริงๆล่ะนะ หรือมัน จะเหลือเป็นสังโยชน์เบื้องสูง เขาก็มีรำๆไรๆ ไอ้หยาบๆ คายๆ แม้แต่ทางวัตถุธาตุ อบายมุขที่เยี่ยงทางโลก เขาก็ชัดเจนแล้ว อารมณ์โกรธ อารมณ์โลภ หยาบๆ จัดๆ จ้านๆ ก็รู้แล้วว่า เออ! อย่างนี้เราไม่มี มันไม่เป็นจริงๆ จะโลภมากมากขนาดนี้ จะโกรธโทสะจัดๆขนาดนี้ มันไม่แสดงออกหรอก มันแสดงออกไม่ไหว แสดงออกไม่ได้ เราก็จะรู้เลยว่า เออ! เราไม่มีจริงๆ มันลดไปได้จริงๆ เราก็จะรู้...ว่าเราได้ขนาดอย่างนั้นๆ ขนาดไหน คุณก็ต้องอ่านเอาเองจริงๆ ต้องรู้ มีญาณ จะได้ยังไงก็ต้องเกิดญาณ ถ้าไม่ไม่เกิดญาณจริงๆ มันก็ไม่ได้ อาตมาก็บอกได้แต่ภาษาอย่างนี้ แล้วก็คุณไปรู้ว่า ญาณมันคืออันนี้ นี่เรารู้นะนี่ รู้ของเราเอง อย่างนี้ๆ แล้วคุณก็จะออกอ่านออก...

ภูมิใจก็แสดงว่า อยากจะทำความดีน่ะซี

...ฯลฯ...

เอ้า พวกเราก็เห็นว่าได้เวลา

ตอนนี้ ก็ ๓ โมงเท่านั้นครับ

เอ้อ ! ๓ โมงแล้วไป นี่แยกย้ายกันไป มีกิจกรรมอะไรบ้างจะกลับ ทางกรุงเทพฯบ้าง ก็จะได้กลับไป วันนี้นะ วันนี้ ๓ โมง


ถอดโดย ประสิทธิ์ ฝายทอง
ตรวจทาน ๑ โดย อุทัยวรรณ ตั้งมั่นสกุล ๓๑ มี.ค.๒๕๓๔
ตอบสารพันปัญหาครั้งที่ ๒ เนื่องในการกินข้าวหาด
FILE:1439C