ตอบสารพัดปัญหาครั้งที่ ๒ หน้า ๒
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๓ ณ พุทธสถาน ปฐมอโศก

ต่อจากหน้า ๑


ทีนี้ ใครเห็นตาม ไม่คิดมาก ก็ปฏิบัติประพฤติน่ะ อาตมาไม่ได้ห้ามนะ ไอติมนี่ อาตมาไม่ได้ห้าม พวกคุณสังเกตได้ ไม่ได้ห้าม แล้ววันนี้มีมาหรือเปล่า เห็นไหม ไม่ได้ห้ามนะ ฟังให้ดีนะ คุณอย่าไปมองผิดเลยนะ คุณพูดนี่ เหมือนอาตมานี่ แข็งเป๊ก ทำอะไรๆไม่ได้ห้ามนะ แต่อาตมาติง อาตมาว่าอาตมาเตือน เพราะฉะนั้น คนที่มันยังดื้ออยู่ มันจะยังเป็นอยู่ เอามา บางคนเขาจะทำ ของเขา เขาไม่กินเสียบ้าง บางคนก็บอก แอบก็รู้ เอาล่ะ กินมันหน่อย มันก็มีอยู่อย่าง นี้...อาตมาก็ว่า เออ ! ก็เอาไปตามขั้น ตามตอน ตามฐานะ นี่คือวิธีการ นี่คือ สิ่งที่อาตมากระทำอยู่ ไม่ได้เป็น อย่างที่ คุณพูดเลย คุณพูดน่ะ อ้อ ! คุณพูดผิด แล้วเข้าใจผิด เข้าใจไหม เข้าใจหรือเปล่า ไม่ใช่อาตมาไม่มีอนุโลม ไม่ใช่อาตมาไม่มีขั้นตอน ไม่ใช่อาตมาไม่มีวิธีการ มีศิลปะ วิธีการ อธิบายมากกว่านี้ไม่ได้ เพราะว่าถ้าเปิดเผยหมด ไม่มีท่าเลย เปิดไต๋อะไร ก็ไม่เข้าท่าทั้งนั้น นี่ ก็เปิดไปมากแล้ว ไม่อยากจะพูดเลย ที่จริงน่ะ... คุณเข้าใจไหม

อันนี้ ผมเข้าใจ...เข้าใจพ่อท่าน

คุณเริ่มเข้าใจเดี๋ยวนี้ ที่คุณเข้าใจมานั่น ผิดมาตั้งนานแล้ว หลายอย่าง แล้ว อาตมาก็พึ่งฟัง อยู่เหมือนกันน่ะ

ที่ผมเข้าใจผิดนี่ เข้าใจผิดหมู่กลุ่มครับ ไม่ใช่เข้าใจผิดหมู่กลุ่ม... เข้าใจถูกหมู่กลุ่ม ในการหมู่กลุ่มของเรานี่ ที่ปฏิบัตินี่ว่า ไอ้นั่นไอ้นี่ ไอ้นี่ ไอ้นั่นเป็นบาปไหม แค่นั้น แค่นี้ รู้สึกมันๆๆ มันถามลักษณะไม่รู้ แต่ว่า...

ภูมิของเขา ภูมิของเขา คุณเองภูมิของคุณก็เข้าใจของคุณ ภูมิของคนอื่น เขาก็เข้าใจตามของเขา

เพราะฉะนั้น บางคนเขาจะทนของเขา เขาจะไม่ทนของเขา บางคน เขากินเพื่อศึกษา บางคนเขากิน เพราะเขาทนไม่ได้ ... มันต่างกันนะคุณ บางคน เขาบอกว่า เขาไม่กินนี่แหละ เป็นการศึกษา บางคนนี่... เขาไม่กินนี่แหละเป็นการศึกษา เป็นการประพฤติของเขา มันไม่เหมือนกันนะคุณ ไม่เหมือนกัน

อย่าง...อย่างที่พ่อท่านลดลงมานะฮะ เรื่องที่ให้มาเล่นดนตรีนี่... อันนี้ความเข้าใจของผมนะครับว่า พ่อท่านลดลงมาให้คนอยู่ในระดับที่ถือศีล ๕

ไม่ใช่ทั้งหมด

ให้ถือศีล ๕ นะฮะ

ไม่ใช่ทั้งหมด และอาตมาก็ไม่ให้ไปร้องเพลงที่ไหน

อันนี้ผมเข้าใจ พ่อท่านลดลงมาเป็นขั้นเป็นตอน คราวนี้นี่ ผมมีความสงสัยอยู่ว่า ในหมู่กลุ่มเรานี่ นะฮะ จนกระทั่งพระเอย ฆราวาสเอย เห็นคนเล่นดนตรี ทำไมถึงไปรังเกียจด้วย ทำไมเห็นเพื่อนเล่นดนตรี

คุณห้ามเขาไม่ได้หรอก ไอ้นี่มันเป็นลักษณะกิเลสของเขา หรือว่า ตัวอัตตาของเขา แล้วเขาเพ่งโทษ เพ่งแข็ง เพ่งแรง เขาอนุโลมยาก มันก็ เรื่องจริตนิสัยของเขา คนเขาที่อนุโลมได้เลย เขามีปัญญาเข้าใจ อนุโลมได้ เขาก็ไม่ทุกข์ของเขา มันก็เป็นเรื่องของกำไรของเขา ปัญญาของเขา แต่คน ที่เขาอนุโลมไม่ได้ เขายังถืออยู่ ถืออยู่ เคร่ง ดีไม่ดีอย่าว่าแต่แค่มาฟังดนตรีเลย กินข้าวหาดนี่ เขายังไม่มาเลย เขายังไม่เห็นด้วย แล้วเขาไม่มาเลย เขาบอกว่า ไร้สาระ มันก็ไม่เห็นแปลกอะไร อาตมาก็ เอ้อ! ก็เข้าใจเขา อาตมาก็ไม่โทษเขา เขาเป็นคนจริตอย่างนั้น

ผมเข้าใจว่าเขานี่นะครับ ปฏิบัติธรรมนี่นะฮะ ไม่ถูกทางแล้ว คือ ลักษณะของพวกฤาษี ชอบติดอะไร เลิกอะไร จะเลิก ก็เลิกไปเลยทั้งหมด โดยที่ไม่เข้ากับหมู่กลุ่ม ไม่เข้ากับสังคม สังคมของระดับตัวเอง ที่ผ่านศีลเป็นขั้นเป็นตอนมานี่ ไม่มีศีลเป็นขั้นเป็นตอน ไปจับสูงปั๊บ ยึดสูงปั๊บทั้งหมด ตีแหลกหมด จริงๆแล้ว ถ้าผ่านมาถึงขนาดว่าตัวเองนี่ เคยติดเสียงเพลงมา แล้วก็ละเสียงเพลงมาขั้นทีหลัง แล้วก็เป็นวิญญาณเบาขึ้น สูงขึ้น...เป็นขั้นเป็นตอน ไม่น่าจะรังเกียจนะฮะ

ไม่ใช่หรอก คุณเองคุณเข้าใจของคุณ คุณเองน่ะ อนุโลมให้แก่ตัวคุณ เองมากเสียด้วยซ้ำ คุณถึงช้าไง คนที่เขาได้นี่ เขาสูงกว่าคุณ คุณไปโทษเขานั่น เขาสูงกว่าคุณนะ

ครับ เขาสูงกว่า แต่ทำไมเขา...

แต่มันเป็นเรื่องของสังโยชน์ชั้นสูง เป็นมานะ เป็นความถือดี แล้วเขาก็รังเกียจ มันเป็นเรื่องของเขา นะคุณ แล้วเรื่องพวกนี้นี่ มันจะวัดเกรด หรือ วัดขนาด วัดฐานะนี่ยาก อาตมากำลังบอกคุณอยู่ว่า คุณกำลังไปโทษเขา ที่เขาสูงกว่าคุณด้วยซ้ำน่ะ ผิด

ครับ พ่อท่าน แล้วที่เขาสูงขึ้นไปนะฮะ เขาเคยละขั้นล่างมานะฮะ ละมาแล้วนี่ เขาต้องไปติด เสียงเพลงอีกขั้น ก่อนที่จะสูงกว่านี้หรือเปล่าครับ ก่อนที่จะสูงกว่า เลิกเล่นดนตรีนี่ เลิกฟังเสียงเพลง เลิกสิ่งฟังเสียงไพเราะ เสียงอะไรต่างๆ เขาติดช่วงนี้หรือเปล่า ก่อนที่จะขึ้นไป ข้างบน

เขาจะติดก็มี คนติดก็มี คนไม่ติดเลย แล้วเขาก็ถือสา เขาก็มีมานะด้วยว่า ไปติดทำไม ก็มี มีทั้ง ๒ ชนิด ไม่ติดมาเลย แล้วเขาก็ถือสาคนอื่นเขาติด ติดแล้วเขาก็ละมาได้ พอละมาได้ ก็ภาคภูมิ แล้วเขาก็ถือสา คนที่ไปติดอยู่ ก็มี ลักษณะมานะอย่างนี้ มีทั้งคู่ มี

แล้วชาตินี้ ไม่เคยติดเลย ก็มีหรือครับ

มี ชาตินี้ไม่เคยติดเลยก็มี...

เอ๊ะ มันเป็นไปได้ยังไง

เอ๊ะ! มันเป็นไปได้ยังไง ก็เขาไม่ติด เขาไม่ได้สนใจ เขาไม่ชอบหรอกเรื่องเพลง เขาไม่ชอบมา มี

เพราะจิตวิญญาณที่เบาบางขั้นหนึ่ง มันต้องมีติด

ไม่ คุณอย่าไปเดาซี เดาไม่ได้ เขาไม่สนใจ เขาไม่ติดก็มี แต่ส่วนมากน่ะติด เสียงเพลงน่ะส่วนมากติด แต่บางทีไม่ติดเลยก็มี คนไม่ติดเสียงเพลง ไม่รู้เรื่องเพลงเลยก็มี ไม่เอาถ่านเลยตลอดชีวิต ไม่ต้อง ไปเอาอะไรมาก ยายอาตมานี่ ดุเลย ใครร้องเพลงนี่ดุเลย อาตมาเกิดมาเจอยาย จนกระทั่งยายตาย ดุมาจนกระทั่งตาย เสียงเพลงไม่รู้เรื่องกับเพลงเลย ท่านไม่เอาเลย หนังเหนิงอะไร มหรสพไม่เอาเลย

แล้วพวกนี้ พวกที่สูงขึ้นไปนี้ รู้ไหมครับว่า ไอ้เสียงเพลงนี่ จิตวิญญาณนี่ มันมีอัตตา มีตัวตนในการติดนี่ มีความหนัก ความเบาแค่ไหน พวกนี้ทราบไหมครับ

ไม่ทราบ ก็ไม่เป็นไร ท่านหลุดพ้นแล้ว ท่านไม่ติดก็ดีแล้ว แต่ท่านมีมานะ ล้างมานะตัวนี้ให้ท่าน มันก็จบแล้ว เพราะไม่ติดเลยนี่ ก็ผ่านไป

อย่างนี้เขาก็ไม่เข้าใจเลยนะฮะว่า...

ก็ไม่เป็นไร ไม่เข้าใจ เขาก็สอนเรื่องนี้ไม่ได้เท่านั้น แต่เขาก็หลุดพ้นของเขา

สอนไม่ได้ ทำไมมาตีพวกนี้ด้วย มาตีไอ้คนร้องด้วย คนเล่นด้วย ไม่รู้ก็ ไม่รู้ไปเลยซี...

อ้าว! ก็มันมีมานะ ที่มาถามว่า ทำไมต้องมาตี ก็เพราะมีมานะถือดีว่า อันนี้มันไม่ดี เมื่อมันไม่ดี ก็ไม่เป็นไรนี่ มันไม่ดีก็คนเขาติดอยู่ เรารู้ เราก็สอนให้เขาละอันนี้มา แต่สอนไม่ได้ เมื่อมีมานะ ก็ตีเขา แต่เมื่อหมดมานะ มันจะไม่ตีเขา ทีนี้ คนที่ยังมีมานะอยู่นั่นแหละ ตีเขา เขาถึงสอนอยู่ อาตมาก็ยัง สอนเขาอยู่ คนที่ไปตีเขา คนที่ไปดูถูกสังคม หรือดูถูกโลกเขาแบบนั้น เขามีมานะถือดีอยู่ เขาก็ตีอยู่ เขาก็เพ่งโทษคนอื่นอยู่ ทีนี้ พอล้างให้เขาไม่เพ่งโทษได้แล้ว เขาก็สอนไม่ได้เท่านั้น แต่เขาก็ออก หลุดพ้นหมดทุกอย่างว่าง ก็จบ เขาก็สอน เขาไม่มีความรู้ในเรื่องนี้กับคนอื่นเท่านั้นเอง มันก็แคบ นี่ล่ะ ลักษณะมันมาจากฤาษี มันเป็นอย่างนี้ ของพระพุทธเจ้าถึงต้องโลกวิทู แม้จะไม่รู้ ก็ควรมารู้ ยิ่งเป็นโพธิสัตว์แล้ว ไม่ได้ รู้ไปทั้งหมดเลย ต้องมาเรียนรู้สิ่งที่ควรรู้

เพราะฉะนั้น บางอย่างบางสิ่งนี่ โพธิสัตว์นี่ เด๊อเด๋อ อินโนเซนส์ที่สุดเลย อาตมาก็งงๆ หลายอย่าง เหมือนกัน ไอ้โลกียะเขานี่ โอ๋ อะไรมันถึงขนาดนี้ งงๆหลายอย่างเหมือนกัน เราไม่ตีเขานะ แต่อาตมา ก็ยังต้องเรียนรู้กับเขา ต้องดู เอ๊! มันอะไรกันวะนี่ ถ้าไม่อย่างนั้น อาตมาก็สอนเขาไม่ได้ เพราะไม่รู้ แล้วก็พูดไม่ถูก หรือว่าเราเข้าใจสิ่งลึกซึ้งเขาไม่ได้ พระโพธิสัตว์นี่ต้องรู้อย่างนี้ คุณพูดนี่แน่ะ อาตมาเข้าใจหมดนะ เพราะอาตมาเป็นโพธิสัตว์ เรียนรู้โลกวิทูทั้งนั้น แล้วฐานที่คุณพูด ไม่ใช่ฐานสูง อะไรมากมาย อาตมาเข้าใจ ทีนี้คุณเอง คุณอย่าไปเพ่งเขามาก มันจะไม่สบายใจตัวเอง มันจะเป็น ภัยแก่ตัวเอง

ลักษณะไม่ได้เพ่งนะฮะ คือผมพูดด้วยใจจริง ไม่ได้เพ่งเลย ลักษณะ

คุณพูด ปากของคุณไม่เพ่ง แต่ใจคุณเพ่ง

คือผม...

ปากของคุณนี่ไม่ยอมรับ ปากคุณว่าไม่เพ่ง แต่ใจคุณเพ่ง มันอึดอัดฟัดเหวี่ยงอยู่ในเรื่องนี้พอสมควร ไม่ต้องปฏิเสธ เรื่องจริง คุณไปตรวจใจคุณเถอะ ปากของคุณไม่เพ่ง แต่ใจของคุณเพ่งแล้ว

คือผมเห็นการกระทำนี่นะฮะ การกระทำ

นั่นแหละ ไอ้เห็นนั่นแหละ คือเพ่งแล้ว แล้วก็ไปถือสาอย่างโน้น เอ๊ะ! ทำไมอย่างนี้ เอ๊ะ! ทำไมอย่างโน้น เอ๊ะ! ทำไมนั่นแหละ คือตัวเพ่ง

คือ คือ ผมรู้สึกเสียดายนะฮะ

อาการ อาการที่ไม่เพ่งนี่ก็... อาตมาจะอธิบายให้ฟังด้วยภาษา เอ๊ะ! ทำไมต้องทำอย่างนี้วะ มันไม่เข้าท่านี่หว่า นี่คือเพ่งแล้ว แต่ถ้าบอกว่า อ๋อ! อย่างนี้น่ะหรือ มันไม่ดีนะ แล้วคุณก็ไม่มีปัญหา อะไร ก็เฉย ก็เข้าใจ เออ! เขาก็เป็นอย่างนั้นละ มันเป็นเช่นนั้นแหละ ตถตา เออ! อย่างนั้นแหละ อันนี้คือไม่เพ่ง แล้วก็รู้อยู่แล้ว่า ไอ้นี่ดีหรือไม่ดี สูงหรือไม่สูง จะถูกหรือไม่ถูก ยกไว้ก่อนน่ะ ดีหรือไม่ดี แม้ไม่ดีเราก็ไม่อึดอัดใจ แม้ไม่ดี ก็ไม่อึดอัดใจ ไม่ทุกข์ ไม่อะไร ก็บอก เอ๊อ! ก็คงจะเป็นของเขาล่ะนะ เขาเป็นของเขาอย่างนี้ นี้คือไม่เพ่ง เข้าใจไหม

แล้วมีอีกอย่างนะครับ คือ ผมคุยกับทิดสุรินทร์บ่อยๆนี่ คือการปฏิบัติธรรมนี่...

ทิดสุรินทร์นี่มีภพเยอะ

ครับ ... การปฏิบัติธรรม

คนอื่นไปพบกับเขาไม่ค่อยได้หรอก คือเขามีภพเยอะ เขาจะอยู่ในภพของเขา ปิดประตูของเขา แล้วคนอื่นไปพบไม่ค่อยได้... เยอะ สุรินทร์นี่...

การปฏิบัติธรรมแนวเขา กับแนวผมนี่ มันคนละแนวกัน

ไม่ต้องอธิบาย อาตมาก็รู้ชัดเจน

คนละอย่างกันเลย

ใช่... ใช่ เห็นอยู่...

เอาอีกหลัง... ไม่รู้

ไม่เป็นไร เขายิ้ม เขาไม่ได้กัดฟันเลยนี่... ไม่มีปัญหา

ดินกันคนละแนวเลยนะฮะ เสร็จแล้วก็มานั่งคุยกัน เขาเดินแนวเขา ผมก็เดินแนวผม แต่ว่า...ผมพอเข้าใจ...

ดี อาตมาว่าดี คนละขั้วนี่ รวมกันดี มันจะได้ศึกษาอะไรๆกัน มันขาดคนละอย่าง มันจะได้รับ

ทีนี้...จะขอ คือ ขอความรู้จากพ่อท่านหน่อยนะฮะ คือ สมัยที่พ่อท่าน เป็นฆราวาสนี่ ที่พ่อท่าน เริ่มหันปฏิบัติธรรมนี่ ครั้งแรกเลย ที่รู้สึกตัวเองว่า เอ๊ะ! อยู่ในสถานะอย่างนี้นี่ มีความอึดอัด ขัดข้องอะไรต่างๆ พ่อท่านเริ่มลด เริ่มละ เริ่มขจัดไอ้ความอึดอัดขัดข้องนี่ โดยใช้ศีลเท่าไหร่ก่อนครับ ใช้ศีลเท่าไหร่ หรือศีล ๕

ใช้ศีล ๕ ศีล ๘ มา

เริ่มศีล ๕ สตาร์ทนี่นานเท่าไหร่

ไม่นาน มันอาตมาไว

ไม่นาน ไม่นานก็แปลว่า...

โดยเฉพาะศีล ๘ มันง่าย เพราะอาตมาไม่มีคู่นี่ อาตมาไม่ได้แต่งงาน แล้วก็อาตมาเรื่องอาหาร การกิน เรื่องอะไรต่ออะไรต่างๆ นานา ศีล ๘ นี่ ดอกไม้ ดอกไร่อะไรต่างๆนานา มันไม่ยาก อาตมาไม่ยากหรอก ถ้าจะว่ากันจริงๆนะ ศีล ๘ นี่ ดนตรียังนานกว่าเพื่อนด้วยซ้ำ อย่างที่เคยเล่า ให้ฟัง นี่ก็เป็นจริตของอาตมา ที่ไปเที่ยวได้เพ่งไอ้ดนตรีไว้เท่านั้นเอง อันอื่นมันก็ง่าย

และ... อบายมุขของพ่อท่านนี่ ที่เริ่มสตาร์ท มีอบายมุขติดอยู่หรือ เปล่าครับ ตอนที่เป็นฆราวาส

อ๋อ! อบายมุขที่อาตมาติด ก็คือเล่นไพ่

เล่นไพ่

เล่นเผ เล่นไพ่

แล้วตอนที่พ่อท่านทิ้งอบายมุขครั้งแรกเลยนะฮะ รู้สึกว่า...

ไม่ยาก ...

คือไม่ติดสิ ถ้าอย่างนั้น... ไม่ติดมาก่อน

ไม่ มันไม่ติดหรอก ก็มันก็หมายความว่า มันก็อร่อยอยู่อย่างนั้นแหละ แล้วอาตมาเล่นนี่ เล่นไพ่นี่นะ ส่วนมาก เขาเรียกอาตมานี่ ตือบะ

หมูใช่ไหมครับ

ที่เขาชอบ เออ ! ชอบชวน แล้วก็ชอบ แล้วก็เล่นเสีย เสียเรื่อยแหละ ไปที่ไหนเขาก็ต้อนตือ เสียอยู่เรื่อยล่ะ จนมันไม่เก่งหรอก แต่มันก็เล่นบิลเลียด อย่างนี้โอ้โห! เล่นไปเถิด ยิ่งเล่นยิ่งเสีย เราก็ดีแต่ว่าเอ๊ะ! ทำไมเราจะเอาชนะมันไม่ได้ มันก็ฮึดอยู่อย่างนั้น ก็เล่นไปเถอะ ก็มีแต่เสีย แต่เสร็จแล้ว มันก็รู้สึกว่า มันเป็นการอยากจะเอาชนะ เป็นมานะนี่แหละมาก

เพราะฉะนั้น เรื่องเสียเงิน ฉิบหายอะไร อาตมาก็ไม่ค่อยว่า ศักดิ์ศรีจะเอาชนะ แต่มันก็ชนะยาก ไอ้เรื่องเอร็ดอร่อย ไอ้เรื่องสนุกสนาน มันก็มีบ้าง มันก็มีเป็นรสของมัน แต่ว่าจะเอาชนะคะคานนี่ มันดูใหญ่ มันก็เป็นฐานอย่างนี้ จิตอย่างนี้ เสร็จแล้ว พอเวลาเราปฏิบัติธรรม พอเรารู้ตัวปฏิบัติธรรม ก็รู้ชัดๆ นี่แหละว่า ไอ้เรื่องนี้ มันเรื่องหยาบ เรื่องต่ำ เรื่องไม่มีท่าอะไร ก็รู้ตัว ก็เฮ้อ! เลิกเถอะ ก็เลิก ก็เลิกเลย อาตมาก็ตั้งใจปฏิบัติธรรมจริงๆจังๆ พอตั้งใจปฏิบัติธรรมจริงๆแล้วเลิก ก็เลิกเลย ก็ไม่ยากอะไร

ไอ้จุดที่ตั้งใจจะปฏิบัติธรรมนี่ คือพ่อท่านรู้สึกตัวเองว่ามัน..

ก็รู้ว่ามันไม่ดี ละชั่ว ประพฤติดียังไง ก็ง่ายๆ

ไอ้คำว่ารู้นี่ หมายถึงว่า

เกิดเอง

มันเกิดความอึดอัดขัดข้องอะไรต่างๆขึ้นมา เลยหันมาทางนี้หรือเปล่า

ไม่ได้อึดอัดอะไร ไม่อึดอัด ไม่เดือดร้อนว่าไม่มีเงินจะไปเล่น ไม่มีเงินจะไปเล่น ไม่มีเวลาจะไปเล่น ก็ไม่ใช่ แต่มันก็เป็นเหตุปัจจัยทั้งนั้นแหละ มันก็เวลา มันก็กระเบียดกระเสียนอยู่นั่นแหละ บางทีที่ ทำงานมาดึก ๒ ยาม อาบน้ำแล้วจะนอน เพื่อนมาเคาะกดออด เฮ้ย! แก้มือ แก้มือ ก็ต้องไปเล่น ทั้งคืนอีก รุ่งเช้าไม่ได้นอน ตื่นก็ต้อง...ไม่ได้นอน ก็ต้องไปทำงาน ต้องหนีงาน มานอน อะไรอย่างนี้ มันก็ง่วง มันก็อะไร มันก็เป็นบ้าง มันก็เห็นว่า เอ๊! มันเสียนะ มันไม่ได้ดีอะไรต่ออะไร มันก็เห็นเหตุ เห็นผลทั้งนั้นล่ะ แล้วเราก็พอเห็น ว่ามันเป็น โดยค่ารวม เราก็รู้อยู่แล้ว การพนัน มันก็ไม่ใช่เรื่องดี มันจะไปยาก อะไรนักหนา...

ครับ แล้วที่พ่อท่านปฏิบัตินะฮะ พอเข้าใจปั๊บ ปฏิบัตินี่ รูปแบบที่พ่อท่านทำ ที่พ่อท่านทำได้... พ่อท่านทำได้แล้ว รู้สึกว่าจิตใจนี่ มันตอนระยะนั้นนะฮะ มันค่อยสูงมาเป็นขั้นเป็นตอน มาหรือเปล่าครับ

เป็นๆ เป็น

เป็นขั้นขึ้นมาเลยนะฮะ รู้สึกตัวว่า...

แต่มันไว มันเหมือนกับว่า ไม่เป็นขั้น มันไว แต่ว่าอาตมารู้นี่ มันรู้ รู้ มันลิ่ว อาตมาก็ลิ่ว

ผม...ผมเข้าใจพ่อท่านรู้ท่าน...เหมือนกับไม่ลิ่วขึ้นไปเลย ผมสงสัยตอนนี้ว่า พ่อท่านรู้สึกว่า ไปเหมือนกับเจโต ที่นำพรวดไปเลย

ลิ่ว ... ใช่

ทีนี้ก็เลยไอ้วงรอบต่างๆที่พ่อท่านจับวงรอบต่างๆ

แต่ก็เป็นระดับๆ

ผมว่ามันต้องเป็นระดับเข้าไป

เป็น... ก็เป็นระดับ

ต้องขึ้นไปทีละขั้นๆ

ถ้าอาตมาไม่เป็นระดับ อาตมาจะไม่มาสอนพวกเราว่า ๑.โลกอบาย ๒.โลกกาม ๓.โลกธรรม เป็นสาม ๔. ต้องโลกอัตตา อาตมาจะไม่มาวางกฎ ระเบียบสอนเป็นระดับอย่างนี้มาหรอก คุณเข้าใจไหมเรื่องนี้ ไม่ใช่อาตมาพูดวันนี้ อาตมาพูดมาตั้งแต่ต้นแล้ว สอนอย่างนี้มา เป็นระดับมา ตั้งแต่ไหนแต่ไหน อบายมุขมาก่อน กามคุณ โลกธรรม แล้วก็มาถึงอัตตาตัวตน มานะสังโยชน์สูง เป็นลำดับ อาตมาไม่ได้สับสน

ครับ ครับ แล้วเวลาเวียนขึ้นมานี่ พ่อท่านนี่ ตอนที่พ่อท่านปฏิบัติช่วงนั้น ไม่มีครูบาอาจารย์ ไม่มีอะไร เพียงแต่ความรู้สึกของตัวเองกับ... ที่เล่าเรียน มาโดยจากหนังสือหนังหา อะไรบ้างพอสมควรนี่ แล้วการพัฒนาขึ้นโดยอาศัยศีลนี่ พ่อท่านเวียนนี่ รู้สึกตัวว่าขึ้นมาแล้ว จิตสูงขึ้นมาแล้ว ละพวกนี้ลงไปได้ ละในลักษณะรูปธรรมได้ จิตก็ละเอียดขึ้นได้ ความสุขมีเกิดขึ้นๆ เป็นขั้นๆ เป็นตอนนี่ มีความสุข สดใสอยู่ตลอดเวลา เป็นขั้น เป็นตอนเลยหรือเปล่าครับ

มันมีระดับของมัน ที่มันจะต้องพากเพียร เพื่อที่จะรู้ เพื่อที่จะอ่านลีลาของกิเลส หรือลีลาของสิ่ง ที่มันมาฉาบ มาพอก กิเลสมาฉาบมาพอกนี่ มันมีฤทธิ์อย่างไร มันขึ้นมา มันก็รูดลงมาด้วย มันขึ้นได้ มันก็รูดลงมาบ้าง มีให้เราได้ศึกษา

แต่มีความสุขได้ มีความสดใส

สงบ...

มีความอิ่มเอิบอยู่ตลอดเวลา ในช่วงปฏิบัติธรรมนั่นใช่ไหมครับ คือ เป็น ช่วงๆไป

ไม่ ไม่ ไม่ปิติ อาตมาเป็นคนไม่มีปีติมาก อาตมาเป็นคนไม่มีปีติมาก อาตมาเป็นคนไม่มีอุเพงคาปีติ อาตมาเป็นคนมีผรณาปีติ หมายความว่า อาตมาเป็นคนไม่มีวูบวาบในเรื่องปีติ รู้ว่าดี ก็เออ ก็ดี ก็พอแล้ว เรื่อยๆ ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเอิ๊กอ๊าก ภูมิใจ ปลื้ม ดูครึ้มอยู่หนักๆ อุเพงคานี่ หมายความว่า เป็นปิติที่แรง ผรณาปิติ นี่เป็นปีติที่ซึมซับ ซ่าน บางๆเบาๆอ่อนๆอยู่ แต่ก็เป็น อย่างนั้นอยู่นาน อยู่ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องไปวูบวาบ แรง แล้วก็ค่อยลด แล้วก็ไม่ค่อยเป็น อาตมาไม่ใช่เป็นคนมีอุเพงคาปีติ อาตมาเป็นคนมีผรณาปีติ

ลักษณะที่จิตเบา แล้วก็ว่าง น้ำหนักโทสะ น้ำหนักโลภะ น้ำหนักอะไร ต่างๆนี่ ลดลงไป มีขีดมีขั้นนี่ พ่อท่านรู้สึกเป็นอย่างนั้นขึ้นมาไหมครับ เป็นช่วง เป็นตอนขึ้นมาไหม

รู้ได้ รู้จากใจตัวเอง แต่อาตมาเอง อาตมาไม่ได้เป็นคนมีมาก แล้วก็ลดลงมามาก เพราะเห็นชัด ไม่ใช่ อาตมาเป็นคนไม่มีมาก แต่แม้ไม่มาก ลดลง อาตมาก็รู้ว่า มันลด ญาณของอาตมาละเอียดนะ

ครับ ปฏิบัติธรรมอย่างลักษณะที่ว่าของพ่อท่านนี่นะฮะ ไอ้ความสดใส คือความสุขถึงขั้นไป ปีติ ลิงโลดอะไรนะฮะ ความเบาบาง ว่างมีนี่ หน้าตาจิตใจรู้สึก มันจะผ่องใสขึ้นมาเป็นระดับขั้นตอน ตลอดระยะที่ว่า พ่อท่านเดินทางขึ้นมาสูงๆนี่ เป็นอย่างนี้ตลอดเลยไหมครับ คือความสดใส ความผ่อง ความอะไรต่างๆนี่ มันจะค่อยๆเดินขึ้นมาทั้งร่างกาย และจิตใจนี่ จะปฏิบัติธรรม ละอบายมุข ละอบายมุขก่อน แล้วขึ้นมาศีล ศีลสูงขึ้นๆ สูงขึ้นนี่

มันเป็น มันจะเป็นจริง

จะไม่มีลักษณะความกลัดกลุ้ม ความกลัดกลุ้มต่างๆ จะไม่มี คือจะมี มี เป็นขั้นเป็นตอนน้อยลงๆ น้อยลงไปเรื่อยๆ ความผ่องใสก็จะมีสูงขึ้น เป็นขั้นเป็นตอน เป็นขั้นเป็นตอน จิตวิญญาณที่เบา ที่ว่าง ก็เบา ก็ว่างเป็นขั้นเป็นตอน มีอย่างนี้ ตั้ง แต่เริ่มขั้นต้นมาหรือเปล่าครับ

ใช่ ก็มีอย่างนั้น

เอาอย่างนี้นะฮะ คราวนี้นี่ ผมไม่ได้เพ่งโทษนะ คือผมเห็นแล้ว ผมก็สงสาร บางคนในหมู่กลุ่ม ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว หน้าเหี่ยว หน้าแห้ง หน้าซีดหน้าเซียว หงอยๆเหงาๆ บางทีจะบ้าจะบอไป อย่างนี้ ผมว่ามันผิดขั้นผิดตอน

ไม่ผิดหรอกคุณ

เพราะว่าไม่ได้เดินตามทางนะ...

คุณเองนี่ คุณเองนี่ มีมีสูตรเดียว

ครับ

สูตรพระพุทธเจ้ามี ๔ สูตรน่ะ... มีการปฏิบัติด้วยปฏิบัติปฏิปทา ๔ น่ะ ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มันมีถึง ๔ อย่าง คุณพูดนี่ คุณเพ่งทิศเดียวทางเดียว จะต้องเอาสุข จะต้องเอาเป็นระดับเดียว ทุกข์หน้านิ่ว คิ้วขมวด ไม่ได้ คุณจะเอาอย่างนี้ ไม่ใช่ ปฏิปทาของคนปฏิบัติ จริตไม่เหมือนกัน มีได้ถึง ๔ ทาง มีชัดเจน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คุณอย่ามาเที่ยวได้เอา จะเอาทางเดียวมาตีของคนอื่นเลย คุณอย่าไปมอง เพ่งของเขา ของคุณก็ของคุณไป คุณจะรู้สึกของคุณ แล้วคุณจะรู้สึก ว่าคนที่ต่างกว่าคุณนั้น เขาผิด อย่าไปรู้สึกอย่างนั้น ปฏิปทามีทั้ง ๔ ทาง

คือ ผมเห็นว่า มันจะไม่เจริญ ครับ คือไป...

ก็นั่นแหละ คุณก็ยืนยัน เอาของคุณไปวัดคนอื่นอยู่เรื่อย ไม่ได้ บางคนก็ชอบประเภท ต้องมีหน้าเคร่ง เอาไว้เรื่อยๆ ขมวดไว้เรื่อย อย่างนี้แหละถึงจะยอด แล้วบางคนก็เหมาะสม เร็วด้วย เป็นขิปปาภิญญา ได้เร็ว บางคนอาจจะช้า แต่เขาชอบอย่างนี้ ถนัดอย่างนี้ เจริญได้ด้วยอย่างนี้ เพราะฉะนั้น คุณอย่าเอาของคุณ ไปเที่ยววัดคนอื่นเขา ลักษณะปฏิบัติมีทั้ง ๔ ทาง ๔ อย่าง

ผมเห็นลักษณะอย่างที่ว่า หน้าซีดหน้าเซียว เคร่งๆ เครียดๆอะไรนั่น เห็นมันร่วงแล้ว ไม่เป็นท่าเลย ไม่มีฐานรับเลย...

เออ! คนร่วงก็มี คนร่วง เหอ! ของอาตมาเหรอ ของอาตมาเรียกอะไรก็ได้ ของอาตมามัน สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ไม่มีปัญหาอะไรหรอก มันเป็นตัวที่ดีที่สุด สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา นี่ดีที่สุด ของคุณนี่ อาตมาบอกให้ ของคุณน่ะ สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา คุณอย่าเอาไปเทียบคนอื่นเขา... ของคุณทันธาด้วยนะ ให้ช้า แปลว่าช้า ของคุณนี่ชอบสบายๆ แล้วช้า

ผมต้องทำรอบให้รอบให้ดีก่อน

นั่นแหละ เพราะรอบจริตของคุณ คุณอย่าพูดเลย

ถ้าทำไม่ดี

คนอื่นเขาอาจจะทันธาภิญญา แต่ไอ้จิต ทุกขาปฏิปทา แต่ขิปปาภิยญา เขาอาจจะหน้านิ่วคิ้วขมวด แต่เขาเร็วก็ได้ คุณอย่าไปเพ่งโทษเขา คุณอย่าไปมองเขาอย่างนั้น อย่าเอาของตนเองไปว่าคนอื่น แล้วว่าผิด ไม่ได้ มันมีถึง ๔ แบบ

ขอบคุณมากครับ

ดี ได้ประโยชน์นะ นี่ อาตมาว่า...พยายามอธิบาย พยายามที่จะค่อยๆ ให้คุณเปลี่ยน แล้วมีอะไรนี่ เพราะว่า พวกเราอาจจะมียังไม่ชัดเจนพวกนี้อยู่เยอะ เพราะฉะนั้น พูดไปแล้วนี่ มันเป็นความรู้นะ มันดีใช่ไหม เราจะได้เข้าใจ ประเดี๋ยวจะไปไอ้นั่นไอ้นี่อยู่...ประเสริฐได้ คนอื่นเขาได้ อะไรได้...เป็น ประโยชน์ดีแล้วละ

ครับ ครับ


มนัสการพ่อท่านครับ พ่อท่าน ผมขอถามปัญหาหน่อยครับ เพราะไม่เคยถาม วันนี้จะเป็นถาม ครั้งแรก เพราะสงสัยครับพ่อท่าน

เอาเลย

คือ เมื่อวันนั้นน่ะ ผมนั่งคุยกับเพื่อนๆนี่ นะฮะ คุยกับจักรพันธ์ คุยกับทีมงานเรานี่ พวกศาลางาน กินข้าวศาลางานทุกวัน ไม่ขึ้นศาลาวิหาร คือนั่งคุยกัน แล้วคุยกัน แล้วผมเข้าใจอยู่คนเดียว เลยผมอยากจะมาถามพ่อท่าน เผื่อมีรายละเอียดเหตุผลยังไง ที่จะอธิบาย ให้ผมเข้าใจเพิ่มขึ้น ให้เพื่อนๆ เขาเข้าใจได้ คือว่า ที่จริงนะ ผมสงสัยคนเดียว ผมไม่ถามหรอก เพราะว่า ผมไม่สงสัยน่ะ แต่ว่าถ้าได้ประโยชน์ผมเดียวผมไม่ถาม นี่มันได้ประโยชน์เพื่อนด้วย ถ้าว่าเป็นความเข้าใจผิดน่ะ คือเขาคิดว่าอย่างนี้ คิดว่าโพธิสัตว์นี่ ไม่มีเสพ พูดเรื่องเสพ กับเรื่องไม่เสพ คือว่า เขาว่าโพธิสัตว์ ท่านไม่เสพแล้ว ผมว่าไม่จริงหรอก โพธิสัตว์นี่ยังเสพอยู่ เพราะว่าโพธิสัตว์ นี่ เริ่มเป็นตั้งแต่ พระโสดาบัน ก็เป็นพระโพธิสัตว์ระดับโสดาบัน

ใช่ คุณเข้าใจถูก

ครับ

ทีนี้คุณว่าพระโพธิสัตว์เสพหรือไม่เสพนี่ ถ้าจะพูดถึงว่า คำตอบที่เขาพูดนั้นน่ะ ถ้าพระโพธิสัตว์ ตั้งแต่โสดาบัน ก็ยังเสพ สกิทาก็ยังเสพ พระโพธิสัตว์ที่มีอนาคามีภูมิก็ยังเสพ พระโพธิสัตว์ที่เป็นอรหันต์ ในรอบที่ยังหมุนเวียนอยู่ ยังมีเสพ ไม่เสพ เสพไม่เสพ เสพไม่เสพ ตามระดับชั้นสูง

ครับ

จนกว่าจะถึงอีกรอบ สูงขึ้นไปอีก ถึงจะมีความไม่เสพ

แล้ววิภวตัณหา นี่จะหมดไหมครับ ถ้ายังเป็นโพธิสัตว์อยู่

ไม่หมด พระพุทธเจ้าก็ยังมี มีวิภวตัณหา

แล้วที่พ่อท่านเขียนไว้ว่า ถ้าหมดความอยาก คือหมดตัณหา ก็สิ้นความเสพ หมดความอยาก ถ้าว่าสิ้นความเสพเมื่อไหร่ ก็ไม่มีความอยาก วิภวตัณหา ก็เป็นความอยากชนิดหนึ่ง

ความอยากที่เสพนั่นคือกิเลส ความอยากที่ไม่ได้เสพ อยากจะสร้างศาสนา อย่างพระพุทธเจ้านี่ ท่านไม่ได้เสพ

ครับ

แต่ท่านมีวิภวตัณหา แต่ท่านไม่ได้เสพ ท่านทำแล้ว ท่านไม่ได้ฟูใจ แม้มันไม่ได้ ไม่มีคนมาต้านทาน มีอุปสรรค ท่านไม่ได้เสียใจ อย่างอาตมานี่ อาตมาไม่ได้เสียใจเลย ที่เขามาฟ้องศาลอะไร อาตมา ก็ไม่ได้เสียใจ แล้วอาตมาก็ไม่ได้ดีใจ ที่มันจะได้อะไรมานี่ ได้โน่น ... นี่ขึ้นมา อาตมาก็ไม่ได้ดีใจ ไม่ได้เสพในอันนั้น แต่ว่ามีความอยาก มีความปรารถนาวิภวตัณหาได้ วิภวตัณหา เป็นตัณหา อุดมการณ์

พ่อท่านครับ พระโพธิสัตว์นี่ ยังมีชอบมีชังอยู่ไหมครับ

มี

ในระดับต่ำๆ มีไหมครับ ระดับโสดา ก็มีชอบมีชังอยู่

ถ้าโสดา สกิทา อนาคา ยังมีชอบ มีชังอยู่ตามภูมินะ เลยอรหันต์ไปแล้ว ก็จะไม่มีชอบมีชังได้ ถ้ามาทางกิเลส มันก็ดูดมาหานี้แหละ มาหามิติที่ ๑ นี่แหละ แต่ว่าแม้มันจะไม่เป็นอย่างนั้น มันก็จะมาผูกพัน พ่อแม่ ลูก ผูกพันกันก็ผูกพันกัน ติดยึดกันแน่นหนาเหมือนกัน แต่ไม่ได้เพ่งไปหา คุณลักษณะเน้นอยู่ที่ความผูกพัน ถ้าเน้นอยู่ที่ความผูกพันแล้วละก็ มันก็หยาบ ถ้าเอาเนื้อหา ถูกต้อง ขึ้นไปเรื่อยๆ ถูกต้องเนื้อหาขึ้นไปเรื่อยๆ ก็สูงขึ้นหรือเจริญขึ้นได้เรื่อยๆ

เพราะฉะนั้น มันจะห่างขึ้นมาจากญาติ แล้วก็มาหามิตรสหาย กว้างขวางออกไปตามลำดับ วนอยู่ ในเรื่องศรัทธานั้นๆ ถ้ามันวนน้อย หรือว่าวน ในมิติที่สูงขึ้นๆเรื่อยๆ ก็สูงขึ้นตาม เป็นความรัก ที่สูงขึ้นตาม ถ้ามันมีหยาบ ลงมาหามิติที่ มากเท่าไหร่ ก็หยาบขึ้นมาเรื่อยจริงๆ อย่างนั้น


นี่แผ่นสุดท้าย ยาวกว่าเพื่อน
คนที่เขามีลูก แล้วเขายากจน บางทีไม่มีเงินซื้อนมให้ลูก จนต้องยืมเงินผู้อื่น ดิฉันก็สงสาร ให้เงินเขาไป ๒๐๐ เพื่อซื้อนมให้ลูกเขา ต่อมาเขาบอกว่า เขาเห็นผู้หญิงคนหนึ่ง มีลูกผอมมาก น่าสงสาร เขาเลยให้เงิน ๒๐๐ ที่ดิฉันให้ไป

โอ ! มียังงี้เนาะ

ดิฉันฟังแล้วก็รู้สึกว่าเขาทำไม่ถูก เพราะผิดจุดประสงค์ของดิฉัน เขาเป็นชาวอโศก และดิฉัน ไม่อยากเห็นเขาเที่ยวไปยืมเงินคนอื่น ซึ่งไม่ใช่ชาวอโศกด้วย พ่อท่านว่าเขาทำถูกหรือไม่ และดิฉัน ผิดหรือไม่ ที่คิดว่าเขาทำไม่ถูก

โอ๊! เห็นไหมล่ะ มันมีอะไรตั้งหลายๆอย่างซ้อนๆอย่างนี้ มากมายก่ายกอง เรื่องที่เรายังนึกไม่ถึง ประสพการณ์ มันมีเยอะแยะล่ะนะ อย่างนี้ตัวอย่างอย่างนี้ เอ๊ะ! อย่างนี้ก็มีด้วย เห็นว่าเขาไม่มีเงิน จะซื้อนมให้ลูก ก็เอา ก็อุตส่าห์ให้เงินไปซื้อ แล้วผ่าไม่ซื้อเสียอีก ดันไปเห็นคนอื่นที่แย่กว่าตัว แล้วก็มีใจ เมตตาด้วย แผ่ให้เขาเสียอีก เอ๊ ! เขาผิดหรือเราผิด จะบอกว่าดิฉันผิด หรือว่าเขาผิด แล้วก็เลยโกรธเขา นี่แหละความยึดไปอยู่โน่น ถึงโน่น ไปโกรธเขา ไปไม่เข้าใจเขาน่ะ เราให้ไปแล้ว ก็ถือว่าให้ไป ทีนี้ว่าให้ไปแล้วก็ให้ไป ถ้าเราไม่ตามติดเขา ให้ไปแล้วก็ให้ไปแล้ว เราก็ไม่ทุกข์ เขาจะเอาไปยังไง เราก็ไม่ทุกข์ แต่ทีนี้ เราจะศึกษา เอ๊ ! แล้วเขาเอาไปให้เขาต่อนี่นะ ผิดหรือถูก ไอ้จะตอบตายตัวเลยว่า ถูก มันก็ไม่ได้นะ เพราะว่า คนเรานี่ บางที มันองค์ประกอบต่างๆ ปัจจัยอย่างนี้ ประสบการณ์ หรือปัจจัย เราไม่รู้รายละเอียดกับเขา ถ้ารายละเอียดของเขาว่า เออ ! นี่ เขาต้องให้ ก็เพราะว่า โอ้โห ! ทนไม่ไหวหรอก เป็นคุณ คุณก็ต้องให้เขาอีกแหละ เพราะไอ้คนนี้ มันแย่จริงๆ นะ มันจะตายแล้ว มันจะต้องให้เงิน ๒๐๐ นี่ไปก่อน แล้วถึงยังไง เราก็ยังไม่ถึงขั้นนั้น เรายังได้น่ะ แต่เขานี่ มันไม่ได้หรอก ต้องรีบด่วน ต้องให้เขา จะไปตัดสินว่า เขาให้นั่นผิดก็ไม่ได้ มันก็ต้องสมควรแล้วล่ะ แต่ถ้าเผื่อว่า เอ๊อ! มันก็ไม่สมควรขนาดนั้นหรอก เมตตาเกินประมาณ ตัวเองก็ยังช่วยตัวเองไม่ได้ แล้วยังผ่าไปช่วยคนอื่น คนนี้ก็ผิด นี่มันตอบตายตัว มันก็ตอบไม่ได้ใช่ไหม ก็เพราะว่า เราไม่รู้ข้อมูลอีก ต่อไปอีก นั่นว่ามันเป็นยังไง คนนี้ไปทำกับคนโน้น เขามีข้อมูลแค่ไหน เราไป เอ๊ะ! ตอนพฤติกรรมแค่ว่าเขาไปให้ต่อ อันเดียวเอามาตัดสินทันที มันไม่ได้ สงสารหน้าเขียวๆ เมตตาเกินประมาณ ส่วนโน่นเขาก็ถึงแม้ก็จะต้องการช่วยก็จริง แต่ตัวเองก็ไม่ได้ช่วยตัวเองได้เลย แล้วก็อุตส่าห์ไปให้เขาอย่างนั้น ตัวเองก็เมตตาเกินประมาณ ก็ผิดเหมือนกัน ในความจำเป็น ของทางโน้น มันมากถึงขนาดจะต้องถึงอย่างนั้นหรือ คุณเองคุณก็ โถ ก็รับเขามาแท้ๆ ถ้ามันมี เหตุผลเพียงพอ ก็ว่าเขาไม่ได้ ถ้ามันไม่มีเหตุผลข้อมูลเพียงพอ เขาก็ถือว่าไม่สมควรเหมือนกัน... ภูมิใจ ก็แสดงว่า อยากจะทำความดีนะซี...

ขอโอกาสค่ะ ขอเรียนถามปัญหาน่ะคะว่ามีบุคคล ๒ คน สมมุติว่า เจ็บป่วยทั้ง ๒ คนค่ะ มีโรคประจำตัวทั้ง ๒ คน แต่ว่าคนหนึ่งนี่ ทำงานได้ผลงานมาก แต่ว่าตายเร็ว กับอีกคนหนึ่ง ประคับประคองตนเอง ได้ผลงานน้อย แต่อายุยืนน่ะค่ะ บุคคลไหน ควรจะเอาเป็นแบบอย่างคะ

บุคคลไหนจะตายเร็ว หรือจะอายุยืนก็ตาม ปฏิบัติธรรมให้ได้มากๆ ก็เอาคนนั้น เอาแบบอย่างคนนั้น

คือว่า

ปฏิบัติธรรม แล้วก็ทำงานมากๆ แล้วก็ตายเร็ว แต่เขาก็ปฏิบัติธรรม มีสัมมาทิฏฐิดีนะ ปฏิบัติธรรมได้มาก ทำงานก็ตายเร็วน่ะ แต่ปฏิบัติธรรมได้มากด้วย ก็เอาอันนั้นแหละ

คือ กรณีการทรมานตนนะคะ อะไรควรจะเป็นมิเตอร์วัดได้ว่า เป็นทรมานตน

โอ ! ตอบไม่ได้หรอก ตายตัวไม่ได้หรอก พระพุทธเจ้าเราก็ยังทรมานตนเลย ตายก่อนกัป ตั้ง ๒๐ ปี

อย่างดิฉันสงสัยนะคะ อย่างพ่อท่านอย่างนี้นะคะ บางทีถ้าเกิดขวนขวายสอนธรรมะแบบหนักๆ นี่ ก็อาจจะอายุสั้น กับประคองสังขารสอนน้อยลง แต่ว่าอายุยืนนี่ค่ะ แต่ว่าควรจะมีมาตรการอะไร ที่แบบเป็นหลักที่พิจารณา

ถ้ามันได้ผลมากๆ ได้ผลดีพอสมควร มันก็เสียสละ ถึงว่าเราจะอายุสั้นลง ก็ไม่เห็นจะเป็นอะไรนี่ อย่างพระพุทธเจ้านี่ อายุสั้นมาตั้ง ๒๐ ปี แต่ได้ผล ต้องรีบๆหน่อย เพราะว่ามันยุคนี้ มันต้องรีบรัด อย่างนั้นของท่าน ก็ไม่เห็นจะผิดอะไรนี่ ก็ทำให้มันได้พอเหมาะเจาะที่สุดล่ะ จะบอกว่ารีบเร่ง มันก็ไม่ มันได้เร็ว เท่าที่ควรจะเร็ว จะบอกคำภาษาอะไร ก็รู้ไม่รู้จะทำยังไง เพราะภาษาที่ได้ดีที่สุด

คือสมมุติว่า ถ้าทำคือ ทำยังไงถึงจะรู้ว่า มันเป็นการประคบประหงมตนเองเกินไป หรือว่าเป็น การทรมานตนเองเกินไป

คุณก็ต้องดูตัวเองว่า ถ้าเผื่อว่า คุณทำอย่างนี้ แล้วผลมันเป็นยังไง แล้วตัวเองทนได้ไหม ถ้าทนได้ แล้วก็ได้ผลดีที่สุด น่ะ ได้ผลดีที่สุด คุณก็ทนเอา แต่ถ้าเผื่อว่า ทนแล้ว ผลก็ไม่ดีที่สุด คุณก็ลดลงมา ทนเฉยๆ แต่ผลมันไม่ดี

สมมุติว่า ทำงานหนักมาก สมมุติว่า จะยกของหนัก แล้วก็ต้องไปนอน ๒-๓ วัน อย่างนี้ ค่ะ กับทำงานเบา แต่ทำไปได้เรื่อยๆ ได้ทุกวันนี่นะค่ะ อย่างนี้

ไอ้ถามปัญหาโลกแตกแบบนี้ มันถาม ตอบตายตัวไม่ได้สักอย่าง เหมือนกับเมื่อกี้นี้ คุณไปยกอะไรล่ะ ยกสิ่งที่ควรยกขนาดไหน มีค่ามากมาย จะไปนอนอีก ๕ วัน ยังคุ้มเลย ยกอะไรล่ะ แค่หม้อแกง มันคุ้มไหมล่ะ ... มันไม่คุ้ม มันก็ แหม! แต่ยกหม้อแกงวันนี้หนัก แล้วก็ไปนอน ๓ วัน อย่างนี้ไม่เห็น จะคุ้มอะไร หมายถึงยกอะไรล่ะ คุณยกอะไร คุณทำงานอะไร ไปเสียสละอันนั้นมันคุ้มไหม มันควรจะคุ้มไหม มันจะต้องมีองค์ประกอบ มันหลายอย่าง หลายด้าน

ขอโอกาสครับ พ่อท่านครับ พอดีผมมีคำถามต่อเนื่องอันนี้พอดีครับ อย่างสมมุติว่า

อ่านต่อ หน้าถัดไป

ตอบสารพันปัญหาครั้งที่ ๒ เนื่องในการกินข้าวหาด / FILE:1439B