สร้างครู...สร้างคน
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔
ณ พุทธสถานปฐมอโศก

ต่อจากหน้า ๑


เพราะฉะนั้น เรื่องหาเงิน ถ้าเผื่อว่าเลี่ยงได้ก็เลี่ยงนะ ไม่ต้องไปสอนให้เด็กหาเงินหรอก เพราะว่าเด็ก ยังอยู่ในฐานที่เรียกว่า ยังพูดเข้าใจยากกว่า เข้าใจยากกว่าผู้ใหญ่ ที่เป็นนักปฏิบัติธรรมพวกเรา แล้ววงเล็บด้วยนะว่า เป็นนักปปฏิบัติธรรมพวกเราแล้ว ยาก ยากกว่าน่ะเอา ก็ค่อยๆทำ ตั้งแต่ให้สร้าง พยายามสอนให้สร้างแล้วรักษา จะมีศีลธรรม หรือพุทธธรรมอยู่ที่ว่า สร้างหรือรักษา นั้น เพื่อทุกๆคน เพื่อสละ ไม่ใช่เพื่อตัวตน ไม่ใช่เพื่อตัวกูของกู จะมีวิธีทำตัวอย่าง เราเป็นตัวอย่าง เราจะมีกลเม็ด ในวิธีการพูด ในวิธีการสอน ในวิธีการอธิบายอย่างไร กระทำเข้าไปทุกๆคน ช่วยกันคิด ช่วยกันหากลวิธี อะไรดี อะไรได้ผล ก็พยายามตรวจสอบวิธีพูด วิธีทำให้มันได้ผล เขาถึงจะได้อะไรดี อะไรได้ผล ก็พยายามตรวจสอบวิธีพูด วิธีทำให้มันได้ผล เขาถึงจะได้อะไรขึ้นมา นี่ก็เนื้อหา พูดเสียยาว อธิบายอะไรต่ออะไรขึ้นมาให้เห็นเด่นชัดขึ้น ได้ความรู้ทั้งผู้ที่นั่งฟังธรรม ทั้งครูด้วย ว่าจริงๆแล้วในโลกนี้ ไม่มีอะไรเลย มันมีคือการเรียนร้ เรียนรู้เพื่อละกิเลสเท่านั้นเอง เกิดมาในชีวิต ไม่มีอะไรหรอกที่ได้ละกิเลสได้มาก คือได้สร้างได้มากๆ แล้วไม่เอาเป็นตัวกูของกู นั่นคือ ละกิเลสได้มาก แสดงว่าตัวเรานี่มีใหญ่ เพราะเราได้สร้างได้มาก ก็คือตัวเราได้มีใหญ่ แล้วก็ได้พิสูจน์ความจริงว่า ยิ่งเราได้สร้างได้มากๆ เราได้มีใหญ่ๆ แล้วเราก็ไม่เอา เราก็ได้เสียสละ ไม่เป็นตัวกูของกูได้เท่านั้น แล้วเป็นข้อพิสูจน์ เราก็มั่นใจ คนอื่นก็เห็นจริง จึงจะเป็นพระอรหันต์

คำว่า เป็นพระอรหันต์ ไม่ใช่ผู้งอมืองอเท้าเลย พระอรหันต์คือผู้มีอิทธิบาท พระอรหันต์ คือผู้สงบแล้ว สมณะของพระพุทธเจ้า ผู้มีอายุอยู่ คือผู้มีความเพียร เพียรอะไรล่ะ เพียรในการงาน สร้างสรรเท่านั้นแหละ อิทธิบาทก็ทำงาน มีฉันทะในการงาน มีความยินดี ในการงาน เห็นงานแล้ว วิ่งใส่ ไม่ใช่เห็นงานแล้วเลี่ยงหนี ไม่ใช่เลย นั่นไม่ใช่สมณะของพระพุทธเจ้าเลย สมณะของ พระพุทธเจ้า เห็นงานแล้ววิ่งใส่ เห็นงานแล้วยิ่งกว่าพระพยอมว่า คันไม้คันมือ เห็นงานแล้ววิ่งใส่ สมณะของพุทธเห็นงานแล้ววิ่งใส่ นี่ขอแรงหน่อย ได้ยินแล้ว แต่ทำเป็นไม่ได้ยิน ยังห่างไกลสมณะ เยอะ น่ะ มีฉันทะในงาน มีวิริยะ มีความเพียร ความเพียรที่ดี อิทธิบาทนี่ ฟังดีๆนะ พระพุทธเจ้า ท่านสอนเอาไว้ ชัดเจนมาก อาตมายืนยันว่าชัดเจน เพราะอาตมาชัดเชน อาตมาเข้าใจดี อาตมาก็บอกพวกคุณๆ พวกคุณก็ควรจะชัด เพราะพูดกันมา ตั้งไม่รู้เท่าไหร่แล้ว สมณะของเรา สมณะก็คือ ผู้สงบจากกิเลส สมณะที่ ๑ สมณะ ที่ ๒ สมณะที่ ๓ สมณะที่ ๔ ยิ่งสูงใช่ไหม ก็ถือยิ่งเป็นสมณะแท้ ยิ่งสูงยิ่งแท้

ถ้าเป็นสมณะ ก็คือผู้ยิ่งมีเพียรกระปรี้กระเปร่า ขยัน โอ ตัวความเพียร หรือตัวอิทธิบาท ตัวคล่องแคล่ว ตัวฉันทะในงาน ตัวที่เป็นจักรกลของงาน ตัวจักรกลของงาน นั่นคือสมณะ เพราะฉะนั้น สมณะจะเป็นสมณะจริงหรือไม่จริง ตัวนี้เห็นได้ก่อน ถ้าประเภทที่เฉื่อย เลื้อยเฟื้อย เลี่ยง นั่นไม่ใช่สมณะของพุทธหรอก ของฤาษีของใครก็แล้วแต่ ที่เขาสอนประเภทสงบ อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่เลย เพราะฉะนั้น ตัวนี้อ่านได้ก่อนเลย ของพุทธ ส่วนการจะเป็นสมณะของพุทธอีก จริง หรือไม่จริง ก็คือทำแล้ว มีโกรธมีโลภไหม สร้างหรือรักษา มีโกรธ มีโลภไหม ถ้าสร้างแล้ว มีโกรธ มีโลภ ผสมๆๆๆ นั่นคือไม่ใช่สมณะของพุทธ มากน้อยเท่านั้นๆ

เพราะฉะนั้น คนของพุทธ หรือพุทธศาสนิกชนนี้ อยู่ในโลกเหนือโลก นี่แหละ เป็นผู้สร้าง เป็นพระเจ้า เป็นลูกพระเจ้าที่แท้จริง สอดคล้องกับศาสนาทุกศาสนา เป็นลูกพระเจ้าที่แท้จริง ยกเว้นศาสนาฤาษี สอดคล้องกับศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม เขาสร้างสรรทั้งนั้นแหละ แล้วมันก็เป็นศาสนาจริงๆ แล้วคนก็ต้องนิยม เพราะว่าในโลกในมนุษย์ ตามประชาธิปไตย คนในโลกส่วนใหญ่ เขาก็ต้องยินดีปรีดาในการสร้างสรร ในการเป็นคนขยันหมั่นเพียร ทั้งนั้นแหละ เสร็จแล้ว เราไม่เอา หรือเราไม่มีโลภ ไม่มีโกรธ ไม่มีโลภ ไม่มีโกรธ ในการสร้าง ในการงาน ทีนี้ ถ้าเราไม่สร้าง ถ้าเราไม่มีการงาน เราไม่ทำอะไร เราก็ไม่โลภอะไร ให้รู้ให้เห็นน่ะซิ เพราะเราอยู่เฉยๆ เราจะไปโลภ ไปโกรธอะไรล่ะ แต่มันก็มีเหมือนกันนะไม่ทำอะไร ขี้โลภ อยู่ดีๆ ก็ขี้โกรธ นั่งหน้าหงิก นั่งหน้างอก็มี แต่จริงๆแล้ว มันไม่โลภก็ได้ มันไม่โกรธก็ได้ แต่นั่งอยู่เฉยๆ หรือมันไม่มีเหตุปัจจัย จะทำให้โลภ ให้โกรธ แล้วมันจะไปพิสูจน์ได้ยังไงว่าคนนี้ขี้โลภ หรือขี้โกรธหรือไม่ เพราะฉะนั้น ยิ่งเราสร้างสรร ยิ่งเราทำงาน ก็ยิ่งเป็นสิ่งที่จะได้พิสูจน์ว่า เราโลภ หรือเราโกรธหรือไม่ เพราะฉะนั้น คนไหน ที่ยิ่งขยันหมั่นเพียร ก็ยิ่งใจเย็น ยิ่งไม่ข่มขี่คนอื่น ยิ่งสร้างสรร ยิ่งให้ ยิ่งใจดี ไม่แสดงอัตตา ไม่แสดงมานะ เป็นคนใจเย็น ใจดี แล้วยิ่งเข้าใจผู้อื่น รู้จักผู้อื่น เป็นลูกศิษย์ เข้าใจผู้อื่น รู้จักผู้อื่น ผู้จะเป็นลูกศิษย์เราได้ ก็คือผู้ที่เขาศรัทธา เขายินดีจะให้เรา บอกเราสอนเราใกล้เรา นั่นคือลูกศิษย์ คนไหนห่างเรา ไม่ใช่ลูกศิษย์หรอก เขากลัว เขาเกลียด แล้วเขาก็ไม่เข้าใกล้ ไม่ศรัทธา ไม่ใช่ลูกศิษย์

เพราะฉะนั้น ทำอย่างไร เราจะเป็นครู เกิดมาในโลก ต้องพยายามเป็นครู ครูคือผู้ที่คนอยากเข้าใกล้ คนที่จะเป็นครู ได้ดีที่สุดก็คือ เป็นสมณะที่ดีที่สุด สมณะคือผู้ที่ขยัน หมั่นเพียร ผู้ที่สงบด้วยกิเลส สร้างสรรเก่ง แล้วก็สงบ คือไม่มีโลภ ไม่มีโกรธ ไม่มีหลง นั่นแหละเป็นครู แล้วเราจะได้สอนเขา เขาอยากให้เราสอน ผู้ที่มีอัตตามากๆ หลงตัวมากๆ นึกว่าตัวเองดี นึกว่าตัวเองรู้ นึกว่าตัวเองเก่งแล้ว อยากสอนผู้อื่น แล้วเขาไม่ได้อยากเป็นลูกศิษย์เลย ไม่อยากฟังเลย นั่นคือ ผู้หลงตัว มีอัตตา มีมานะหลง ไม่ใช่ครูหรอก ไม่ได้เป็นครู แต่อยากเป็นครู

สรุป สุดท้ายสำหรับพวกเรานี่ มันเกิดมาโดยธรรม เป็นครูมาโดยธรรม และอาตมาไม่ได้สอน ไม่ได้แนะนำ ไม่ได้อะไรต่ออะไรมาเลย อาตมาไม่ได้เรียนวิชาครูมาโดยตรง แต่อาตมาก็ทำหน้าที่ ครูมา แต่เดิมมา ก็ไม่ได้มีความรู้อย่างที่พูดให้ฟังนี่เท่าไหร่หรอก ก็สอนเขา แต่สร้างอยู่ในทางโลก ไม่ได้สอนเสียสละอะไรเท่าไหร่ จนตอนหลังมาปฏิบัติธรรมแล้ว ถึงสอนเสียสละ มาหลังจริงๆ อาตมาสอน วิชาศีลธรรม ไม่สอนวิชาอื่น หนักเข้าสุดท้าย เป็นครูก็สอนวิชาศีลธรรม เป็นวิชาสุดท้าย แล้วสอนวิชาศีลธรรม แล้วก็ไม่เอาเงินด้วยซ้ำ ได้ค่าสอน เอาไปทำให้รางวัลเด็กหมด ค่าสอนนี่เอาไป ไม่พอด้วย ต้องเอาเงินส่วนตัวมาทำรางวัล ให้รางวัลเด็กหมด ไม่ได้เอาเงินเอาทอง สอนก็ไม่ได้ เอาเงิน เอาทอง ตอนหลังก็สอนศีลธรรม นั่นอาตมาว่ามันก็เป็นมาโดยธรรมนะ เป็นมาโดยตรง ตามที่อาตมาว่า ตามที่อาตมาได้เน้นไปให้ฟังแล้ว มาเป็นมาโดยตนเอง ที่เอามาพูดนี่ ก็มันเข้ากับ อธิบายมานี่ ที่เป็นมาแล้ว

อาตมาคงบรรยายไม่เก่ง คนฟัง ฟังไม่เข้าใจที่อาตมาบรรยาย แล้วก็เลยถามมา อาตมาไม่ได้บอกว่า เด็กพุทธธรรมสอนยากเลย นี่ถามว่าทำไมเด็กนักเรียนพุทธธรรมสอนยาก ว่าอย่างนั้น เมื่อกี้ อาตมาพูดไปว่า เด็กพุทธธรรมสอนยากเหรอ ใครถาม โอ้โห คุรุศาสตร์บัณฑิต ฟังบรรยายยังไง ไม่ใช่ เด็กนักเรียนพุทธธรรมที่ว่าสอนยากนี่ หมายความว่า ผมว่า ใช่ไหม...หา... นี่ยืนยันว่าว่านี่ยังไง... ตอนหลังจึงว่า อาจจะเป็นเพราะว่า สิ่งที่เราสอน มันทวนกระแสของ ความอยาก ของเด็กหรือเปล่า แต่พ่อท่านบอกว่า เด็กที่มาทางธรรม สอนยากกว่าเด็กทางโลก เพราะอะไรครับ ยืนยันว่า... ผมพูด นี่ ยืนยันมา...นะ

ที่พูดเมื่อกี้นี้ มันซ้อนนะ นี่ล่ะ ถึงบอก เอ้ มันยากนะธรรมะนี่ ไม่ได้บอกว่าเด็กสอนยาก บอกว่า การสอนเด็กทางพุทธธรรม มันซับซ้อน มันยากกว่าการสอนทางโน้น จะสอนอย่างไร ที่ให้ศีลธรรม ลงไปในวิชาอะไรก็ได้ เมื่อกี้ก็พูดไปหมดแล้ว คุณจะเอาวิชาทางโลกมาสอนได้ทุกอย่าง ก็บอกแล้ว แต่ว่าเรา เมื่อกี้ก็พูดไปแล้วว่า แต่เราไม่เอามาสอนทุกอย่างหรอก เพราะเราจะเอาวิชาที่สำคัญใน ความสำคัญมาสอน ไม่ต้องไปสอนอะไรมาก วิชาทางโลก มันเป็นวิชาปรุงแต่ง วิชาที่มันเอาไปหาเงิน สรุปรวมแล้ว ก็พูดมาอย่างนั้น

เพราะฉะนั้น วิชาที่จะสอนเด็กนี่ เอาวิชาในนี้ ที่มีในนี้ เอาเรื่องในนี้ เท่านั้นล่ะ มาสอนมีต้นไม้ก็สอน ต้นไม้ มีน้ำสอนให้ทำน้ำให้สะอาด มีปัดเช็ดถูอะไรก็ได้ สอนอย่างนี้ สอนสร้าง เพราะฉะนั้น สอนให้เข้าไปหาปัจจัย ๔ ที่พูดกว้างๆ พูดรวมๆ แล้วพูดให้เห็นว่า เราต้องเห็นความสำคัญ ในส่วนเหล่านี้ เพราะฉะนั้น คุณก็ไปแจกเอง ว่าในพวกเรานี่ มีอะไรบ้าง มันมีอะไรก็... ในนี้มีโรงทอ ไปสอนโรงทอเด็ก พอใจช่างก็ไปสอนช่าง เด็ก อยากจะทำยาไปทำยา เด็กจะหัดเช็ดปัดกวาดอะไร ก็ทำอะไรอย่างนี้ เป็นต้น เราให้เห็นความสำคัญในสิ่งเหล่านี้ ว่าชีวิตเรา ก็อยู่กับสิ่งเหล่านี้ ถ้าจะไปเรียนอะไรต่ออะไรต่างๆนานา ยิ่งไปเรียนวิชาดีไซน์ ไปเรียนวิชาอะไรพวกนี้ มันไปหาเงิน แล้วมันไม่มีความจำเป็นอะไรเลย ในชีวิตไม่ประเสริฐเลย ไปเรียนวิชา อะไรที่ยิ่งฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือยออกไปทางโลกๆนอก นี่บอกให้พวกเราเข้าใจ จะได้แนะนำเด็กให้ถูก เด็กมันถูกค่านิยม ของสังคม ครอบงำมอมเมา วิชาอะไรที่มันจะหาเงิน ได้มากๆ มันก็ดูแล้ว โอ วิชานี้นี่รวย ร่ำรวยนะ.. นี่วิชานี้หาเงิน ได้หน้าได้ตา ดังนะ เดี๋ยวนี้ตอนนี้ เปิดโรงเรียนเป็นนักร้องนี่รวย เพราะว่าถ้าไปร้อง อย่างเบิร์ด ประเดี๋ยวก็รวย ประเดี๋ยวก็แสนตลับ ประเดี๋ยวก็ล้านตลับ ประเดี๋ยวก็ได้อย่างอ้อม ประเดี๋ยวก็ได้อย่างอะไรนี่ มันจะไปกันใหญ่เลย แล้วมันฉาบฉวย ผิวเผินเต็มที เพราะฉะนั้น เพียงขนาดหินชนวน อยากจะเปิดการสอนวิชาดนตรี... อย่าๆๆอย่าเพิ่ง อย่าเพิ่งบ้า วิชาเปลือก ที่เอามาทำนี่ เอาอาศัยข้างนอกเขานิดๆหน่อยๆเท่านั้นเอง ที่จริง อาตมาไม่อยากบอก แล้วก็ไม่บอกหรอกน่ะ ทำไมอาตมาทำเพลง อาตมาไม่บอก มันมีอะไรลึกๆ ทำไมต้องทำ มันมีอะไรลึกๆ... ซึ่งมันซับซ้อนหลายชั้นมาก ... เพราะถ้าบอกไปแล้ว พวกเราประเดี๋ยวก็ไม่ทำ ประเดี๋ยวก็ไม่ช่วยกัน... ไม่ใช่ อะไรหรอก แม้แต่ทุนรอนก็ไม่ช่วย ก็แย่กันพอดี...หลายๆอย่างนะ

เพราะฉะนั้น อาตมาที่ทำนี่ ที่ทำมันมี คือเราทำทั้งต่อสู้กับสังคม มันเป็นวรยุทธหลายชั้น ที่อาตมา ต้องต่อสู้กับกระแสสังคม บอกนิดหนึ่งก็ได้... อาตมา ใช้สอนเขา จะพูดให้มันหนำใจ สำหรับ พวกเรานะ จะพูดกระทบกระเทือนเขา ก็หนำใจพวกเรา ใช้สอนเขา คือเขาจะไม่อยากจะด่ากัน ในโลก และไม่กล้าด่ากันในโลก เพราะฉะนั้น อาตมา จะเห็นได้ว่า ยิ่งเพลงหลังๆ จะแรง จะลึกขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ลึกประเภทที่ จะซ่อนๆๆๆๆ จะต่างกันกับเพลงต้นๆ ง่ายๆ ไม่มีอะไรมาก ยิ่งหลังๆยิ่งลึก ตอนแรกๆน่ะ พวกคุณเข้าใจไม่ค่อยได้ แต่มันก็ไม่แรงนัก เพ่งมองผ่านเมฆ เฉกใจให้ช้ำ มันไม่ค่อยจะรู้เรื่องเท่าไหร่ แต่ก็ว่าเขา แต่เบา เดี๋ยวนี้เทียบกับเพลง สังคมใจเลือด เทียบกับเพลงใหม่ๆ โอ๊ย ยิ่งแรง แล้วเข้าใ ขึ้นกว่าเพลงก่อน เข้าใจยิ่งกว่าเพลงก่อนๆ แล้วลึก แรงกระแทกกระทุ้ง เปิดเผย จัดขึ้นมา แล้วสังคมไม่มีใครกล้า ที่จะทำอย่างนั้น ถึงเขาจะพูด เขาก็พูดแต่แค่... มันไม่เหมือนกัน แล้วก็ไม่ใช่ตัวเป้าด้วย ไม่ใช่ตัวเป้าที่เขาจะว่าเลย อาตมาว่านี่ ว่าตัวเป้าหลักๆ แล้วว่าในวงการด้วย โดยเฉพาะวงการในด้านศีลธรรมด้วยกันก่อน เพราะฉะนั้น วงการของนอกๆนี่ยังไม่ วงการในศีลธรรมก่อนน่ะ ในศีลธรรม อาตมารับได้ว่าเเขารับสิ่งเหล่านี้อยู่ มันจะไปเป็นตัวหนังสือไป หรือว่าเป็นเสียงเพลงไป ไม่เท่าไหร่หรอก ไม่เท่าไหร่ มันจะเป็นเสียง เป็นเท็ป ออกกระจายหรือไม่ มันกระจายออกทั้งตัวหนังสือ ทั้งเป็นอะไรต่ออะไรไป ให้มันมี องค์ประกอบเท่านั้น ว่าเป็นเพลงเป็นโน่นเป็นนี่ แล้วคนคนนี่รู้ว่าอะไรนี่ มันมีแพร่หลายน่ะ รู้ว่าอะไรแพร่หลาย เขาก็จะต้องรู้ว่า มันไปมีบทบาทกับมนุษย์

ถ้าเราด่าใครคนหนึ่ง ด่าแล้วได้ยินกัน ๒ คน เขาก็ไม่กังวลเท่าไหร่ แต่คำด่านี้ เฮ้ย ด่าเรานี่ มันแพร่หลายออกไปแล้วนะ โอ้โห เจ็บปวดมาก ต่างกันใช่ไหม... เพราะฉะนั้น เราพูดกันแต่ในนี้ ไม่แพร่หลาย หรือเราว่า ไม่แพร่หลายมันก็ไม่รู้สึก มันก็ไม่สะเทือน แล้วไม่แก้ ไม่ระวังตัว ถ้ารู้สึกว่า เอ๊ะ นี่มันด่าเราไปทั่วบ้านทั่วเมืองแล้วนะ มันแพร่หลายออกไป ดูซิ มันด่าเราเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ อาตมาจะบอกให้ว่า ขณะนี้ ปราชญ์กำลังกระเทือน เพราะอาตมาเน้นคำว่าปราชญ์ แวดวง ของปราชญ์ กำลังกระเทือน ลูกน้องปราชญ์กำลังดิ้นดาลเดือด ตอนนี้... อาตมาพยายามบอก ให้คุณฟัง ให้คุณสังเกตนะ เพราะฉะนั้น ผลสะท้อนออกมา reaction ของสิ่งที่ทำออกไป มันออกมา ให้เราเห็น reaction ผลสะท้อนตอบมา หรือว่าสิ่งที่เกิดปฏิกิริยา react ไม่ถึงกับผลสะท้อน ไปแค่ปฏิกิริยา react มันมาแล้ว มันมาให้เห็นเรื่อยๆ จะได้เห็น...ถ้าเผื่อว่าใครรับได้ ก็จะเห็นได้ว่า เขาแสดงอะไรออก ตอบอะไรออกมา เขาตอบออกมาในการแสดง ความเดือดร้อนว่า ในเชิงข่ม ความเป็นปราชญ์กัน ตอนนี้น่ะ แสดงข่มความเป็นปราชญ์กัน

เพราะฉะนั้น จะต้องดูถูกกันให้เห็นว่า มันชั้นต่ำฉันชั้นสูงน่ะ ชั้นต่ำกับชั้นสูงนี่ มันแสดงออกมา เอาละ ตอนนี้ไม่ได้เจตนาจะมาพูดเรื่องเหล่านี้...เอ้า มีอะไร พวกคุณมีอะไรจะไต่ถาม จะซักซ้อม อะไรบ้าง มีข้อที่เป็นปัญหา อะไรต่ออะไร ทำงานกันมาขนาดนี้แล้ว ที่บอกว่า สอนยากนี่ ที่ถามมานี่น่ะ มันยากโดยธรรม บอกแล้วว่า ที่เราทำว่ามันทวนกระแส อย่างที่คณพูด ก็ถูกแล้ว แล้วก็ไม่มีวิธี คนทางโลกไม่สอนเลย แล้วพวกเรานี่ ก็บอกกันแล้ว บอกวิธีแล้วว่า ครูพุทธธรรม ไม่ใช่ครูข้างนอก แต่ก็อาศัยงานเหมือนกับครูข้างนอกเขาสอนงานนั่นแหละ สอนสร้าง สอนอะไร ต่ออะไร สอนสร้าง สอนทำ แล้วให้มีศีลธรรม ให้มีคุณธรรม อย่างที่ว่า ตัวพุทธธรรม ก็คือตัวสร้างเพื่อให้ สร้างเพื่อไม่เป็นของตัวของตน สร้างไม่เพื่อลาภ เพื่อยศ เพื่อสรรเสริญ พูดรวมๆ แล้วเราก็จะต้องรู้จริงด้วย เราต้องรู้ว่า ตัวเราต้องทำเป็นตัวอย่าง แล้วเราก็พยายามอะไร ที่มันจะทำ ทำอย่างนี้ บอกอย่างนี้ แนะอย่างนี้ เด็กจึงจะได้ผลทางพุทธธรรม

ขอโอกาสพ่อท่านนะครับ มันอาจจะไม่เกี่ยวกับพุทธธรรมนะครับ คือ ฟังพ่อท่านที่บอกมาว่า โลกมันไม่อุดมสมบูรณ์นี่ ผมรู้สึกว่า ในความรู้สึกนะครับ พื้นที่เกษตรกรรมในโลก มันพอจะเลี้ยงคน ในโลกอยู่เหมือนกัน ถ้าเรารู้จักใช้มัน อย่างเหมาะสม แต่นี่ แทนที่เราจะปลูกพืช ให้มันได้โปรตีน ๑ หน่วย อย่างนี้ เราก็เอาไปเลี้ยงสัตว์ซะ ซึ่งจะต้องใช้พื้นที่มากกว่าถึง ๗ เท่า ๙ เท่า หรือแล้วเท่านี้ ยังไม่พอนะครับ ก็ผลผลิตที่ได้นี่ มันก็ไปกระจุกอยู่กับคนส่วนหนึ่ง ไม่ว่าพลังงาน อะไรต่างๆ ก็ใช้ไปในการทำสงคราม หรือใช้ไปในสิ่งที่มันฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยมากกว่าถ้ามันเอามาผลิต ผลิตผล เพื่อเลี้ยงคนในโลกจริงๆ ผมว่ามัน อุดมสมบูรณ์พออยู่เหมือนกัน

ใช่ ทุกวันนี้ ไม่ใช่ว่าไม่พอกิน ไม่พอใช้ ขนาดที่เอาไปทำลาย หรือ เอาไปทำเล่นเสียเยอะนี่ ก็พอกิน พอใช้อยู่ ทุกวันนี้ พอกินพอใช้ ถ้าไม่พอกินไม่พอใช้ มันก็ตายกันหมดแล้วซี...ในโลก ก็ที่มันไม่ตาย คนมันเพิ่มขึ้นๆไปตั้ง ๕ พันล้าน ในโลกแล้วนี่ ก็เพราะว่า มันพอกิน มันกินได้ มันมีกินอยู่ มันพอ มันยังไม่อดอยาก ถึงขนาดนั้นหรอก จริง บางที่บางแห่ง บางประเทศ มันอาจจะมีน้อยหน่อยก็เถอะ แต่มันไม่ได้หมายความว่า มันไม่พอ แต่มันไปทำเล่น ทำผลาญ แล้วมันก็ไปปรุงแต่ง เล่นอะไร เปลืองผลาญไป มากเกินไป เราพูดไปไม่ไหวหรอกนะ พูดกว้างไปอย่างนั้น ไม่ไหว พูดไปก็ไม่มีวันจบ พูดไปแล้ว ก็แก้ไขไม่ได้น่ะ นอกจากพูดไปแล้วไม่จบ แล้วก็ยังแก้ไขไม่ได้ด้วย

เพราะฉะนั้น เราถึงมาแก้ไข อย่างที่มันเป็นไปได้ อย่างที่เราทำอยู่ นี่ เราทำอย่างที่เป็นไปได้ เรารู้อะไรสำคัญ เราทำสิ่งสำคัญนั้น เรารู้อะไรควร เราก็ทำควรอันนี้ คุณพูดว่าควร คุณพูดนี่ เหมือนกับ คุณรู้ว่าอะไรควร ใช่ไหม นั่นแหละ เราก็มาทำอันควรนั้น ในแวดวงคนที่เข้าใจด้วยกัน มีทิฏฐิสามัญญตา มีศีลสามัญญตา เราก็มาทำอันนี้กัน แล้วทำอันนี้ จะเกิดความจริงขึ้น แล้วความจริง อันนี้คือครู ความจริงนี้คือการศึกษา ความจริงนี้มันจะเป็นบทบาทของครู แล้วมันก็ จะให้คนอื่นมารับ สำหรับคนมีดวงตา คนมีปัญญา เขาเห็นว่า อันนี้ควรศึกษาควรรับ เขาก็รับ คนไหนยังโง่อยู่ คนไหนยังไม่มีดวงตา ยังไม่เห็นคุณค่า เขาก็ไม่รับ จริงๆนะ มันไม่ได้แปลกอะไร หรอก การที่จะมาเป็นนักเรียน การที่จะมาเป็นครูนี่ นะ นักเรียนมันวิ่งหาครูเองแหละในโลก ในโลกนักเรียนวิ่งหาครูเอง อยู่ที่ว่า นักเรียนมันต้องการอะไร นักเรียนมันต้องการวิชาโจร มันก็ไปหา ไอ้โจรเป็นครู ใช่ไหม นักเรียนมันต้องการหาเงิน มันก็ต้องไปหาคนที่หาเงินเก่งๆเป็นครู นักเรียนที่ ต้องการวิทยาศาสตร์ ก็ไปหาครูวิทยาศาสตร์เป็นครู นักเรียนต้องการศิลปะ มันก็ไปหาศิลปะเป็นครู นักเรียนต้องการร้องเพลง มันก็ไปหาคนร้องเพลงเป็นครู นักเรียนต้องการสร้างค่า มันไปหาสร้างค่า เป็นครู ทีนี้ นักเรียนที่ว่านี่ ใครจะสามารถบอกคนให้ได้ว่า คนๆนี้ อยากเรียนอะไร อาตมากำลังเน้นว่า วิชาการเกษตร วิชาทำนานี่เป็นหนึ่ง เราก็ควรอยากเรียนการเกษตร แล้วไม่ง่าย เพราะค่านิยมของสังคมนั่น มันดูถูกดูแคลนชาวนามาตั้งแต่ไหนแล้ว ไม่มีใครอยากเป็น ชาวนาเลย ทุกวันนี้ คนที่เป็นชาวนาอยู่ทุกวันนี้ เพราะความจำนน ความจำนนด้วยระบบของสังคม ๑. มีความจำเป็น เขาต้องทำ แล้วเขาจำเป็นต้องปลูก เพราะเขาทำอะไรไม่เป็น และเขาต้องกิน แล้วก็ถูกมัดไม้มัดมือ ถูกกลไกของสังคมนี่ ทำให้เขาเป็นอื่นไม่ได้ เขาก็เป็นอันนี้ พอเป็นแล้ว เขาก็ต้องอยู่อย่างนี้ กลไกนี่ ไม่รู้จะพูดยังไง มันปลดไม่ออก แล้วเขาก็พยายามดิ้นที่จะปลด ชาวไร่ชาวนาไม่อยากทำ ก็วิ่งเข้ามาในเมืองในกรุง ในอะไรต่ออะไร... แล้วก็กลัว ว่าตัวเองจะลืม วิธีทำนา เพราะทำมาแต่อ้อนแต่ออก พอหน้านาก็กลับไป พอไม่ใช่หน้านา ก็วิ่งเข้ามาหาเงิน พอคนไหน ได้งานดีๆ ได้เงินดีๆ ไม่เอาแล้วนา เบื่อแล้ว ไม่ไปแล้ว ไม่ทำ มันก็จะมาอย่างนั้นละ ตลอดเวลา มันไม่ได้อยากทำนา ลูกชาวไร่ชาวนา ก็ส่งมาเรียนมาร่ำ มาเป็นอะไรต่ออะไรที่จะหาเงิน ที่อะไรต่ออะไรหมด แล้วก็ดูถูก ถูกดูถูกเหยียบย่ำไปหมด ซึ่งมันเป็นเรื่อง ผิดสัจจะ

อาตมากำลังจะมาชี้สัจจะให้เห็นว่า คนที่สร้างปัจจัย ๔ เป็นคนที่มีคุณค่าที่สุด โดยเฉพาะ ยิ่งอาหาร แล้วเราก็จะต้องลึกซึ้ง เข้าไปในอาหารต่างๆ อาหารคืออะไร อาหารคือพืช ผัก ผลไม้ ยิ่งเรายิ่งชัดเจน เพราะว่าเรากิน อาหารพืช ผัก ผลไม้ เราก็กินอาหารมังสวิรัติ สัตว์ ไม่ใช่อาหารนี่ เราก็จะต้อง มีความรู้ ในเรื่องของพืช ผัก ผลไม้ เรามีความรู้ถึงเรื่องเกษตร หรือพืช ผัก ผลไม้ ให้ดี รักษาแล้ว สร้างให้ดี เป็นหลักเป็นแกนให้ดีเลย อื่นๆ เป็นองค์ประกอบ จะว่าไปแล้ว ประเดี๋ยวจะว่า ไม่เห็นความสำคัญของช่าง ไม่เห็นความสำคัญของอะไรต่ออะไร ไม่ใช่หรอกนะ ก็มีความสำคัญ ความสำคัญของช่าง อะไรก็มีความสำคัญ ซึ่งครบองค์ประกอบเป็นของเรา แล้วเราทำอันนี้ ให้อุดมสมบูรณ์ให้ดี แล้วจะเป็นรูปแบบตัวอย่าง เพราะฉะนั้น ที่จะเลยไปคิดอย่างนั้น คุณเข้าใจดีแล้ว แล้วเราจะเข้าใจไปเรื่อยๆ เพราะว่า เราไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่รู้อะไรๆ ในส่วนความกว้างของโลก เราจะปิดหูปิดตา เราไม่ปิดหูปิดตา เราจะเข้าใจ ความสัมพันธ์ของมัน ทั้งหมดแหละ ที่คุณถามมา มันเป็นการบอกคำ มันเป็นคำตอบ ให้อาตมารู้เหมือนกัน ว่าคุณรู้อะไร ดีแล้ว

ขอโอกาสค่ะพ่อท่าน การที่ทำมา ก็มีครูที่ดีนะคะ เขาเคยบอกดิฉันบอกว่า เด็กที่นี่สอนยาก เพราะว่า ไม่เหมือนกับหลักวิชาการที่เขาสอนมาค่ะ เท่าที่ประสบการณ์มานะคะ คือ รู้สึกเขาบอกว่า มาสอนให้เด็กนี่ เปลี่ยนพฤติกรรม ให้มาทางศีลธรรมนี่ รู้สึกว่ามันยาก แต่ถ้าระบบของทาง หลักวิชาการ ของเขานี่ มันเรียนเข้าล็อคไปเลย ใช่ไหมคะ

เพราะฉะนั้น เด็กทุกคน มันก็เลย เลยต้องยอม ยอมหมด

ใช่คะ แต่ของเรานี้ เราสอนนี่ รู้สึกเราแบบให้เป็นธรรมชาติใช่ไหมคะ บางครั้งเด็กมันจะมีความรู้สึก ว่า อยากมาเรียน แต่บางทีมันรู้สึก มันเบื่อๆ มันก็ไม่มา อย่างนี้นี่ คือตัวที่ว่า ที่ท่านยุทธฯถาม บอกทำไมเด็กพุทธธรรมถึงสอนยากเหลือเกิน ซึ่งดิฉันก็ดูสิ่งแวดล้อมในเด็ก รอบใกล้ๆ วัดอย่างนี้นะคะ คือเขานึกอยากมาเรียน เขาก็มา พอเขานึกไม่อยากเรียน เขาก็ไม่มา เพราะว่า ๑. ไม่ชอบความซ้ำซาก ๒.บางทีเขาเบื่อครูคนโน้น คนนี้ ที่จริงไปจ้ำจี้จ้ำไช

เอาละ ไม่ต้องวิจัยหรอกนะ เรื่องนี้เป็นเรื่องของกิเลสทั้งนั้น มันเป็นเรื่องของกิเลส ที่มันมีค่านิยม ของโลก บอกแล้ว ว่าทางโลกเขานั่น เขาจำเป็นจะต้องเรียน เพื่อไปหาเงิน เด็กมันก็รู้เหมือนกันว่า เรียนไปเพื่อความจะยังชีวิตต่อไป

แต่มาเรียนที่นี่ เราไม่ได้เรียนวิชาที่เขาจะยังชีวิตต่อไป แต่เรากลับมาสอนสิ่งที่จะขัดเกลา สิ่งที่เป็นกิเลสเขา ที่เขาชอบ แล้วก็มาล้างความชอบเขา เรื่อยๆๆๆ จะปล่อยหรือจะจับเขา ยิ่งบังคับ ยิ่งไม่มาเลย จะบอกให้ ยิ่งจะเอาหลักแบบโลกมาบังคับเลย ยิ่งไม่เอาเลย ยิ่งจะเบื่อไวที่สุดเลย ยิ่งจะกดดัน มากที่สุด

ที่ผ่านๆมา ก็เห็นเด็กบางคนขี้โลภนะคะ อย่างอยากได้ของนี่ ที่มานี่ มาอยากได้ของ อย่างที่ดูนะ อย่างที่เวลาเราไม่ให้เขานี่ รู้สึกเขาก็ไม่อยากมา

ใช่ เพราะว่าโลกน่ะ สอนเพื่อที่จะให้เขาไปได้ แต่ทางเรานี่ สอนเพื่อที่ให้ล้างละให้น่ะ เพราะฉะนั้น เด็กของเรียนพุทธธรรม นี่ ถ้าเรียนอย่าง ป. เรียนโลกุตระเรียนกันอย่างเอาผล เอาพุทธธรรม ที่ดีจริงๆ แล้วละก็ ให้มันได้ผลจริงๆแล้วละก็ยาก ไม่ใช่ง่ายหรอก ถ้าบอกว่า เด็กสอนยาก ก็สอนบอก คือ ที่จริง มันคือวิชาการที่สอนนี่ วิชาศีลธรรม ของเราใส่เข้าไป นี่มันสอนยาก ทางโลกน่ะ สอนวิชา อย่างโลกๆ มันจะไปสอนยากอะไร ก็สอนไปเพื่อไปหาเงิน เด็กมันก็รู้เหมือนกันว่า สอนไป เพื่อไปหาเงิน มันก็รู้ เพื่อจะยังชีวิตไป ทำไมเด็กมันไม่รู้ เด็ก ป.๓ ป.๔ มันก็รู้แล้วว่า พ่อแม่ทำงาน ได้เงินได้ทองมากๆ อย่างนี้ ก็เพราะว่า เรียนมาตั้งแต่ป. ๑ เรียนมาตั้งแต่อนุบาล เด็กมันก็รู้ มีปฏิภาณรู้แล้ว

เพราะฉะนั้น ต้องเรียน แม้ว่าจะขี้เกียจไปเรียนยังไง ก็ต้องเรียน เพราะมันจะต้องถือหิ้วกระเป๋า ไปโรงเรียน ทุกวัน ต้องเรียน ไม่อยากตื่น ไม่อยากไป ก็ต้องไป ถ้าเด็กคนไหน ที่มันมีตัวในๆ ของมันเองว่า ข้าจะต้องรีบเรียน ข้าจึงจะได้เงินมากๆ บางครอบครัวจน ข้าต้องเร่ง จะไม่จน เหมือนพ่อแม่ หรือบางครอบครัวรวย ข้าจะได้รวยอย่างพ่อแม่ รวยยิ่งกว่าพ่อแม่ มันก็ขยันไปเรียน ขยันมากๆแข่งเขา แต่ที่นี่ เราไม่ใช่อย่างนั้น ให้ลดให้ละ ให้ทำฟรีด้วย ไม่ให้ได้สนใจอะไร ต่ออะไรด้วย มันขัดเกลา มันมีตัวขัดแย้งอยู่ที่ตัวขัดเกลา นี่แหละ เพราะฉะนั้น มันจึงยากกว่า แน่นอน แต่เราจะทำยังไง เราจะสอนลูกว่า สอนนักเรียนพุทธธรรม เขาสอนวิชาของ...มันโลก มันวิชาสร้างนี่แหละ แล้วไม่ต้องไปวุ่นวาย วิชาสร้างอะไรมากมายในโลกเขา เขาสอนเยอะแยะ วิชามาก เราก็เอาวิชาที่เข้าหาเป้าสำคัญของความสำคัญในชีวิต เพราะฉะนั้น มีอะไรก็สอน ที่สำคัญๆ ของเรามี

อ๋อ นี่อุตส่าห์ไปทบทวนเลย...ไปฟังทวนอีกทีเลย โอ้โห ก็หลายคน เขาฟังนี่ เขาก็ฟังเขาทั้งนั้นเลย เขาไม่ได้ ผมว่าอย่างนั้น คุณน่ะว่า ว่า ผมก็ว่า เอ๊ เราไม่ได้สอน เราไม่ได้พูดอย่างนั้นเลยนี่นะ เมื่อกี้นี้ ดี ไปทวน เพื่อความแน่ใจก็ดี สอนนักเรียนพุทธธรรมน่ะสอนยาก สอนนักเรียนโลกๆ สอนวิชาโลกๆ มันสอนไม่ยากหรอก เพราะฉะนั้น เราเป็นครูนี่ เป็นครูยากกว่า แล้วก็ขึ้นต้นให้ฟังแล้วว่า เป็นครูทางพุทธธรรม ไม่จำเป็นว่าจะต้องจบดอกเตอร์ จบปริญญา จบวิชาครู จบอะไร มาจากโลกๆ หรอก บอกแล้ว แม้แต่เมื่อกี้ ก็พูดไปแล้ว ไม่ได้เรียนหนังสือมาเลย อ่านหนังสือ ไม่ออกสักตัว ก็สอนได้ สอนให้สร้าง กับสอนให้มีศีลธรรม สอนให้สร้าง กับสอนให้มีพุทธธรรม

ขอโอกาสพ่อท่านครับ งานพุทธธรรมนี่ มันคงเกี่ยวข้องกับผู้ปกครองด้วยนะครับ ผมว่า ถ้าเกิดมอง ในส่วนครูพุทธธรรมอย่างเดียว ไม่มองผู้ปกครองด้วย คงไม่สมบูรณ์ อยากจะให้เห็นความสำคัญ ของการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย แม้ผู้ปกครองของเราเองนะครับ เวลาไปงานต่างๆนี่ หมายถึงว่า ทั่วๆไปนี่ ภาชนะที่จะใช้ส่วนตัวอย่างนี้ ยังต้องให้ส่วนกลางหอบหามไปอย่างนี้ มันไม่มีลักษณะ ที่เป็นตัวอย่าง ให้กับเด็กๆ อยู่เหมือนกันนะครับ ที่จะไปสอนเขาให้เขาเห็นว่า จะต้องมาใช้ ชีวิตอย่างเรียบง่าย

ครูใช่ไหม

แม้ผู้ปกครองเองนะครับ หมายถึง

ผู้ปกครองไม่ใช่เด็กนักเรียนพุทธธรรม เขาก็ไม่มีนิสัยอย่างนั้น เขาก็ไม่ทำ คุณจะไปสอน ให้ผู้ปกครอง เป็นเด็กนักเรียนพุทธธรรมได้ด้วยไหมล่ะ ถ้าได้ก็เอาซี เขาจะได้หอบไป เป็นครูไปในตัว

คือ ถ้าจะสอน คงจะหมายให้พ่อท่านสอนน่ะครับ

คุณก็มาโทษอาตมาอีกละเนาะ... ตกลง มันเกี่ยวกันหมดละ ที่จริงมันเกี่ยวกัน อย่างที่คุณพูดนี่ก็ถูก มันเกี่ยวกันหมดทั้งนั้นแหละ ตกลงอะไรที่มันยังไม่ดีนี่ ไม่ใช่ เพราะคุณไม่ดี คุณยังเป็นครูไม่ดี ไม่ใช่หรอก อาตมาเป็นครูไม่ดี เป็นครูยังไม่ดี หัวต้นเลย จริงๆนะ ไม่ใช่พูดเล่น ไม่ใช่พูดประชดอะไร พูดจริงๆ อาตมาทำได้เท่านี้น่ะ แล้วก็ช่วยกันน่ะ คุณก็พยายามพัฒนา อาตมาก็พยายาม พัฒนาขึ้นอีก เอ้า ว่าไง ครูคนนั้น

ขอโอกาสครับ ผมมีปัญหาเกี่ยวกับเด็ก ก็คือว่า ขอบเขตของการที่เรา จะควบคุมบังคับ หรือแม้แต่ลงโทษนี่ครับ เราจะมีหลักการ หรือว่าพิจารณายังไง ครับ เป็นหลัก เกี่ยวกับเพราะว่า บางทีเราก็ตามเด็กไม่ได้ทุกเรื่อง แล้วเขาก็เลยคิดว่า ... นี่อยากจะให้พ่อท่านช่วยแนะนำเกี่ยวกับว่า เราจะบังคับเขา ไอ้คำว่าบังคับนี่ขนาดไหน บังคับควบคุม หรือแม้แต่จะลงโทษนี่ครับ พอจะ...

ก็บังคับ ก็ควบคุม ลงโทษกันพอสมควรแหละ เพราะว่าอยู่ในกรอบในข่าย ถ้าคนไหนที่เราว่า เป็นนักเรียน ก็หมายความว่า เราจะต้องดูแล จะต้องบังคับ จะต้องใช้ ถ้ามันขนาดขั้นรุนแรง ถึงขั้น เราก็ไม่ถึงขั้นตีกันล่ะนะ ทีนี้ ไอ้บังคับที่ว่านี่ มันเหตุอะะไร เรื่องอะไรล่ะ มันจะไปกำหนดตายตัว ได้ยังไง เหตุบางเหตุ บางเรื่อง เรื่องไหนจะเอามาบังคับ ไม่เอามาบังคับ จะต้องบอกกัน ให้รู้ว่า เรื่องอย่างนี้ๆ ก็ตกลงกันกับหมู่กลุ่มครูหรือสมณะ บอกไม่ได้ว่าเรื่องนี้จะบังคับ ว่าขนาดนี้ บังคับไหม หรือว่าปล่อย ขนาดนี้ก็ปล่อย อะไรอย่างนี้ มันก็บอกตายตัวไม่ได้ มันต้องบังคับ บังคับในสิ่งนี้ จะต้องให้ทำอย่างนี้ ขนาดนี้ก็ต้องบังคับในอันนั้น

ถ้าอย่างนั้น ผมจะลองยกตัวอย่างนะครับ...คือ อย่างไปปลุกเด็กนี่ครับ ถ้าเด็กไม่ลุกนี่ครับ เจอบ่อยครับ พุทธธรรมนี่ครับ ปลุกปลุกแล้วเขาก็ไม่ลุกนะครับ ให้เขาปลุกกันเอง ใช้วิธีดึงมุ้งออก ให้นอนตากยุง บางทีแกก็นอนตากยุงอยู่อย่างนั้น เลยนะครับ เขาก็ ...

เอ้า ก็ต้องบังคับ นั่นคือการบังคับแล้ว เราต้องบังคับ บังคับ ถ้าเผื่อว่า เราเห็นว่า อันนี้มันไม่เกิน ไปหรอก มันไม่ทารุณ มันไม่เกิดให้เสียสุขภาพ นอกจากจะไม่เสียสุขภาพทางกายแล้ว ก็ไม่เสียสุขภาพทางจิตด้วย บางที ระวังๆเหมือนกันล่ะ สุขภาพทางจิต บางทีมันไม่ค่อยเข้าที ก็ต้องบังคับ บังคับในขอบเขตนั้น ทีนี้ ในเมื่อบังคับแล้ว ยังดื้อยังดึงอะไร ก็จะต้องให้มีผล ที่เขาจะต้อง ได้รับทัณฑ์ หรือทุกข์ทันที อย่างที่ว่า... เอ้า ดึงมุ้งออก แล้วก็ยุงกัด ก็ยังทนทรมานอยู่ อะไรต่ออะไรพวกนี้ เขาก็ได้รับบ้างล่ะน่ะ ได้รับบ้าง จริงๆ แล้วนี่นะ เรื่องของโรงเรียน นักเรียนกับครู นักเรียนต้องมาสมัครน่ะ มาสมัคร พอใจยินดีที่จะมาเรียน แล้วครูก็ค่อยรับสอน นี่คือโรงเรียน

ทีนี้ ของเรานี่ มันไม่ใช่อย่างนั้น ของเรา ไม่รู้ว่าเอาเศษเอากาก อะไรมาบังคับ มาเรียนนี่ เราก็เลยยาก โรงเรียนทางโลกเขานี่ ต้องไปเสียเงินด้วย จ้างเรียนด้วย เข้าใจไหม เพราะฉะนั้น มันจึงต่างกัน กับของเรา ของเราเขาถึงบอก แหม บางทีนี่ ก็อย่าไป serious อะไรมากนักเลย มันไม่ได้ก็ ปล่อยๆ ทิ้งๆ ไปเถอะ เพราะว่ามันไม่ใช่นักเรียน อาตมาถึงได้กำชับกำชานักหนาเลยว่า กศน.นี่ ต้องเอาเด็ก เต็มใจเรียน ผู้ปกครองเต็มใจที่จะให้เรียน ทั้ง ๒ ส่วนเลยนะ จึงจะเอา ถ้าไม่อย่างนั้นไม่เอา เพราะการมาเรียน การมาฝึกฝน อบรม ต้องฝืน ต้องขัด ต้องเกลา ต้องล้าง โดยเฉพาะ ยิ่งพุทธธรรมด้วย โอ้โห! ยิ่งขัดยิ่งเกลาขนาดไหน จนเอาศีลธรรมใส่เข้าไปเพื่อล้างนี่ ยิ่งยากกว่า ทางโลก โลกบอกแล้วว่า เรียนไปเอา เรียนไปสร้าง มันยังไง มันก็ยังอยากได้ ยังแข่งขัน เพื่อที่จะโลภ โมโทสัน มันก็ยังดีกว่า ไอ้นี่มันกลับกันเลย ตรงกันข้ามเลย แสนยากกว่ากัน เพราะฉะนั้น ยิ่งจะมา แบบนี้ด้วยแล้ว โอ๊ย ไม่ได้เรื่องหรอก ไปกันใหญ่เลย

เพราะฉะนั้น จะต้องให้เป็นนักเรียน หรือโรงเรียนจริงๆว่า นักเรียน คือผู้ที่มาสมัครใจจะเรียน ทีนี้มันไม่ได้ ก็คุณมาถาม อาตมาก็ไม่รู้จะตอบยังไง มันก็ฝืนอย่างนั้นล่ะนะ เพราะเด็กที่ว่านี่ ไม่ใช่เด็ก... เป็นนักเรียน

ครับ เข้าใจแล้วครับ ขอบพระคุณครับ

มันไม่ใช่นักเรียน ไปเก็บมาติดป้ายว่านักเรียนเอา ไม่ได้สมัครใจจะมาเรียนเลย ถ้าเขาเสียสตังค์ได้ บอกว่า อย่าเอาฉันไปสอนได้ไหม เขาจะเสียนะ มันต่างกันกับทางโน้น ... ทางโน้น เขาไปเสียสตางค์ เพื่อที่จะเรียนใช่ไหม... เพราะมันจะต้องอย่างนั้น ทางโน้น มันก็เป็นนักเรียน ใช่ไหม โรงเรียนเขาทั้งหมด ทางนี้ถ้าเผื่อว่า ไปเอาเขามาสอนนี่นะ นักเรียนของเรา ตัวนักเรียนของเรานี่ แหม ถ้ามันมีสตังค์ แล้วเอาสตังค์ให้บอกว่า นี่เอาไปๆ เอาไป ค่าไม่เป็นนักเรียน ฉันจะให้ มันก็จะไม่เรียน อาตมาว่า ถ้ามันเป็นไปได้ มันจะทำนะ มันต่างกันเลยเห็นไหม มันคนละเรื่องเลยใช่ไหม นี่มันยากเย็น แสนเข็ญอย่างนี้... เพราะฉะนั้น ตอนนี้ถึงบอกว่า มันไม่ต้องดิ้นรนมากนักหรอก กศน. ที่นี่ยังไม่เกิด ก็ยังไม่ต้องเกิด ไม่มีปัญหาอะไรหรอก อย่างที่ว่านี่ แม้แต่พุทธธรรมนี่ก็เถอะ ก็กะร่องกะแร่งไปอย่างนั้นน่ะ เพราะว่า ราจำนน ว่า เอ๊ ยังไง นี่ยิ่งจะไปเก็บมาอีก ระวังนะ ไปไหนแล้วล่ะ บุญเรือนไปไหน ไปเก็บมาอีกมันก็ โธ่... แล้วเด็กข้างๆ นี่ก็เถอะ เราก็ไม่ได้ไปบังคับเขา ใครอยากมาเรียน นายจ่อยพอใจมาเรียนก็ดีแล้ว ก็เป็นความพอใจของนายจ่อยเขา มีใครบ้างล่ะ เด็กข้างๆนี่ มีนายจ่อยคนเดียวหรือ ก็ดี ก็มัน นี่ล่ะ ก็เป็นนักเรียน เขาต้องการเรียน เขาอยากเรียน ก็เรื่องของเขา พ่อแม่เขาไม่ว่าอะไร ก็ดีแล้ว... เขามาเรียนก็เอา นี่แหละนักเรียน ใครสอนได้ ใครเป็นนักเรียนก็สอนไป คนไม่ใช่นักเรียน ได้บ้างเสียบ้าง ก็ทำยังไงได้ ก็มันไม่ใช่โรงเรียน ไม่ใช่นักเรียนอย่างที่ว่านี่ คุณเข้าใจชัดเจนไหม โดยนิยามของมันชัดๆ แล้วพวกคุณ เป็นนักเรียนอาตมา คุณไม่มาเรียน ไป จริงๆนี่ ไป ไม่มาเรียนก็ไปใช่ไหม อาตมาไม่สอนหรอก เพราะอาตมาจะสอนคนที่มาเรียน มาเป็นนักเรียน มาคุณพูดไม่อยากเอานะ ไม่อยากเอา มาเรียน น่ะอย่างนี้ นักเรียน ครูคือคนที่อยากเข้าใกล้ คุณอยากเข้าใกล้อาตมาไหม

แล้วครูบางคน นักเรียนบางคน เขาก็เป็นอย่างนี้กับครูบางคน เขาก็เป็นเหมือนพ่อท่านนี่ค่ะ คือ เด็กก็รักอยู่นะคะ แต่ว่าไม่กล้าเข้าใกล้ค่ะ

เขาเรียกว่าเกรงน่ะ ครูให้เกรงก็ดี ถ้าครูไม่เกรง นัวเนีย ๆไอ้นี่เป็นกลยุทธ เป็นวรยุทธที่สำคัญ เหมือนกัน คือในใจลึกๆ นี่ ศรัทธาเลื่อมใส อยากเข้าใกล้ แต่ต้องระวัง...ต้องระวัง ดีอย่างนี้ดี ได้สัดส่วน แต่อย่ากลัว แล้วไม่อยากเข้าใกล้เลย กลัวไม่อยากเข้าใกล้เลย เรียกให้เข้าใกล้ ก็ไม่เข้าใกล้ แล้วมีโอกาสหนีได้หนี อย่างนี้ไม่ใช่ครู

แล้วครูบางคนนะคะ เขาก็

ทำตัวเป็นครูยังไม่ได้ ดีนะ พูดอันนี้ดี เข้าใจดีๆ พูดอันนี้ดี ลักษณะครูที่ นิยามลงไปในวันนี้ สำคัญ ดีนะ ตรงนี้ ครูคือคนที่นักเรียนอยากเข้าใกล้ อยากเข้าไปหาศึกษาเสมอ แต่ครูที่เก่งก็ต้องมีวรยุทธว่า ถ้านักเรียนจะเข้าใกล้ต้องระวัง คือเกรง ต้องให้โอกาสครูด้วย แล้วก็ระวังด้วย อะไรด้วย แต่ใจลึกน่ะ อยากเข้าใกล้อยู่เสมอ แต่ว่าต้องระวัง ต้องเกรง ไม่ใช่กลัว ไม่ใช่หนี ถ้าหนีไม่ใช่ครู นิยามชัดลงไปว่า ถ้าผู้ใดจะสอนเขา แต่เด็กไม่อยากเข้าใกล้เลย ไม่อยากอยู่ แต่จำเป็นจำใจ นั่นคนนั้นทำตัว ไม่เป็นครูแล้ว ไม่ใช่ครูแล้ว ระหว่าง ๒ คน ก็เป็นไม่ใช่ครูและนักเรียนกันแล้ว ระหว่าง ๒ คน กับใครก็ตามใจ ไม่เป็นครูและนักเรียนกันแล้ว

แต่พวกเรานะคะ หรือว่า ครูโดยทั่วไปก็ตามนะคะ มักจะคิดว่า ครูที่มี นักเรียนเดินตามเป็นพรวน นี่นะคะ คือครูที่นักเรียนรักน่ะ

นั่นมิติตื้นๆง่ายๆ มิติตื้นๆ ง่ายๆไง เพราะฉะนั้น ถึงบอกวรยุทธ ต้องมีวรยุทธอย่างว่า แหม มานั่งตาม เดินตาม เดินเป็นพรวนอย่างนี้ ก็ตายละวา แต่โลกมองนี่ใช่สิ มันตื้น มันง่าย มันใช่ โอ๊ ครูคนนี้นี่เด็กรักนะ... เหมือนอย่าง กับท่านจันทเสฏโฐ นี้กับอาตมา ใครก็บอก ท่านจันทเสฏโฐ นี่สอนเก่ง สอนดี เด็กๆรัก เป็นครูที่ดี เป็นครูที่สอน ก็ดี ในฐานะของท่าน ท่านจันทเสฏโฐ เด็กๆก็ใช้วิธีนี้ก็ดีเหมือนกัน แต่เด็กก็เหมือนกันนะ ถ้าเผื่อว่า เด็กมันติด เป็นพรวนมากๆแล้ว ทีนี้ยากนะ ที่จะหัดปล่อย เพราะว่า ศีลธรรมนี่คือ ปล่อย คือไม่ติด

เพราะฉะนั้น ไปสอนให้ติด กลับไม่ใช่การสอนศีลธรรม ไม่ใช่สอนพุทธธรรม แต่ทางโลกเขาดี ทางโลกเขาใช้ได้ เด็กติดแล้ว เขาก็มาสอนง่าย บอกแล้วว่า เข้าหาแล้วนี่เด็กมันก็ไม่ต้องตามหา ไม่ต้องวิ่งตามหาเด็ก เด็กวิ่งเข้าหาครู ก็ดี แล้วเขาก็สอนวิชาๆได้ โดยที่เขาไม่ต้องคำนึงถึงพุทธธรรม ก็คือการอย่าติด นี่เขาไม่ต้องคำนึง เขาก็สอนให้ได้ๆๆ เต็มๆ อัดเข้าไปเลย มันก็ได้แล้วนี่ มันก็จบของเขา ของพุทธนี่ มันมีย้อน มียอกย้อน มันมีสภาพ

ขอโอกาสนะคะพ่อท่าน คือเท่าที่ดิฉันประสบการณ์มานะคะ เคยวางตัวอย่างนี้นะคะ วางแบบว่า ให้เป็นกันเองกับเด็กนะคะ คือเด็กมันก็ติดเรานะคะ ติดจนเราทำงานอะไรไม่ได้ ทำงานอื่นไม่ได้ นะคะ ทีนี้ใช้วิธีหนึ่งแล้วนะคะ เราจะทำอย่างไรกับเด็กพวกนี้ บางทีเขามานัวเนียกับเราอย่างนี้นะคะ จนจะทำงานอื่นก็ทำไม่ได้ แล้วก็รู้สึกดิฉันบอก เด็กก็เรียกร้องจากเรามาก จะให้เอาไอ้นั่น เอาไอ้นี่ ถ้าเป็นอย่างนี้ เด็กจะนิสัยไม่ดี

นั่นล่ะ เราต้องมีวรยุทธ ที่จะให้เด็กให้ๆเกรง ให้เกรง คือหมายความว่า ให้กลัว ให้ระวัง ให้รู้สึกว่า ถ้าเผื่อว่าให้กลัว มันไม่ดีหรอก ให้เกรง ให้รู้สึกว่า เออ อย่าไปกวนเลยนะ นี่งานมาก มีจังหวะเวลา มีอะไรต่ออะไร อย่างที่อาตมาเป็นนี่ ลองๆคิดเอาเองสิ อาตมาว่าอาตมาทำได้นะ คือนักเรียน อยากจะเข้ามาเรียนเหมือนกันแหละ โดยกว้างๆลึกๆ อยากเข้ามาเรียน อยากเข้ามากวน อยากเข้ามาใกล้ แต่ว่าก็ต้องดูเวลา ก็ต้องเกรงใจ ก็ต้องอะไรต่ออะไรอย่างนี้เป็นต้น ไม่ใช่กลัวลานอะไร ไม่ใช่กลัว หรือเกลียด อย่างนี้ไม่ใช่

ค่ะ ดิฉันใช้วิธีนี้ บอกว่า ตอนนี้กำลังทำงานอยู่นะ พวกเธออย่ามากวนอะไร เคยบอกอย่างนี้ ก็บางครั้งก็ได้ผล บางครั้งก็ไม่ได้ผล

เราจะใช้อะไรล่ะ เป็นวรยุทธ อย่างอาตมานี่ใช้การดุเป็นวรยุทธ ดุบ้างหรือว่าพูดให้มันรู้สึกว่า แหม ตอนนี้ เดี๋ยวเราเองมีอันนี้ ประเดี๋ยวเราไปเจอนี่ ประเดี๋ยวจี้แผลเรามาอะไรอย่างนี้ เป็นต้น นี่ก็อธิบาย ค่อยๆอธิบายให้ฟัง เราจะเอาอะไรล่ะ ใช้อะไรเป็นเครื่องมือให้เด็กว่า อยากจะเข้ามา เหมือนกันละ มาก็ได้ อะไรดีนะ แต่มาแล้ว ก็แหม เสร็จแล้วเราก็เจอ ก็เจ็บอีกแหละ อะไรอย่างนี้ เป็นต้น ก็แล้วแต่เถอะ นี่เป็นตัวอย่าง อันอื่นก็ลองดูสิ อันในเรื่องของเด็กนี่ มีอะไรที่แกเอง แกอยากได้จากเรา แต่แกเองแกมาแล้ว ก็โดนจี้จุดที่แกเอง แกก็รู้สึกว่า เอ๊ย ประเดี๋ยวตัวเองจะโดน ตัวเองจะโดนบ้าง นี่ คือหลักๆ หลักๆ เป็นอย่างนี้ ส่วนรายละเอียดว่าอะไรล่ะ คุณจะใช้กับเด็กคนไหน อะไรยังไง คุณก็ต้องรู้แต่ละเด็ก

กรณีครูสมัยเก่า ก็กิเลสของคนนี่ มันไม่พึงประสงค์ ทีนี้เป็นไปได้ไหม ครับ ถ้าครูคนนั้น เขายอมๆ ยอมเปลี่ยนตัว หรือยอมเสีย เสียคือยอมให้เด็กมันเกลียด อย่างนี้นะฮะ แต่เขาก็เคี่ยวเด็ก เหมือนกับๆ พวกเราหลายๆ

ไม่ดี คือหมายความว่า ลดความเป็นครูลงไปหมด เด็กเกลียดไม่อยากเข้าใกล้ ก็บอกแล้วว่า นิยามลงไปแล้วว่า นั่นไม่ใช่ครู หมดความเป็นครู

อย่างครูสมัยเก่า อย่างครู ผมเคยอ่านหนังสือครูไหวใจร้ายอย่างนี้ นะฮะ แกเคี่ยวเด็ก แล้วพอเด็กเหล่านี้ โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่นี่ เขาก็ได้ฝึกฝนมา

ไอ้นั่น เด็กอยู่ในกรอบ จับตีเอาๆตีเอา ไอ้นั่นมันคนเขียนครูไหวใจร้าย อะไร อะไรนั่น มันไม่เข้าใจ จิตวิทยาที่แท้จริงหรอก จริงๆ เป็นไปไม่ได้หรอก มันเป็นมิติตื้นๆ เอามาสร้างเป็นนิยายเฉยๆ โดยจริง ทำไม่ได้ ใจร้าย แล้วเล่นตีเล่นด่า เล่นว่า เล่นดุ เล่นแรงอะไรๆเฉยๆแล้ว รุนแรง ไม่มีเหตุผล อะไรทั้งนั้น อยากให้ดีอะไรเฉยๆ ง่ายๆตื้นๆ ไม่ได้ ต้องลึกซึ้ง จริงๆแล้ว มันเป็นเรื่องจิตวิทยา อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ ถูกแล้ว สัดส่วนที่พูดเมื่อกี้นี้ จะทำยังไง ให้เขาเกรง จะทำอะไรให้เขารู้สึกว่า ต้องเคารพ ว่า เออ เราต้องให้โอกาส เราอยากเข้าใกล้ แต่ว่าเราอย่าไปกวน รู้จักเกรง รู้จักว่า เอ๊ ไอ้นี่มันเป็นแผลของเรา ครูต้องรู้ว่า ลูกศิษย์คนไหนๆ มีอะไรเป็นจุด ที่จะต้องเอาอันนั้นแหละ เป็นตัวยั้ง ถ้าเข้ามาแล้ว เขาจะโดนจี้แผล ถ้าเข้ามาแล้ว โดนจี้แผล

แต่ก็รู้ ให้เด็กรู้ด้วยว่าจี้แผลดีแล้วละ เราจะได้รักษาแผลหาย เพราะเราต้องมาให้เขารักษาแผล นี่ มันยอกย้อนอยู่เรื่อยๆ เพราะว่าการมีแผล มันแย่ แย่ยิ่งกว่า เพราะฉะนั้น เราต้องการให้รักษาแผล แต่ก็ มันก็เจ็บ นั่นเป็นลักษณะของธรรมดา แต่ที่จริงโดยคุณธรรมแล้ว เขาจะต้องรู้ว่า ไม่กวน ถ้าเผื่อว่า ทำได้อย่างดี อย่างเยี่ยมแล้ว ไม่ดุเลยดี

คือ พ่อท่านครับ ไม่ทราบว่า ผมมองโลกแคบหรือเปล่านะครับ แต่ ผมรู้สึกว่า อย่างแม้กระทั้ง การกระทำก็ตามแต่ อย่างเราเจอครูบาอาจารย์ หรือเจอรุ่นพี่ ที่คอยเคี่ยวเข็ญ คอยเอาจริงเอาจัง มันก็เจ็บนะครับ พ่อท่านมันก็เจ็บ ด้วยกิเลสมันก็เจ็บจริงนะครับ แต่มันก็ได้ดี เพราะการเคี่ยวเข็ญ ใช่ไหมฮะ แต่ผมรู้สึกสมัยนี้นะฮะ ไปทำกับเด็กเดี๋ยวนี้ ไม่ได้ เพราะว่าเขาไม่เอา แล้วคุณภาพ..

ใช่ เพราะค่านิยมของเขา เขาสอนแบบนั้น ไปเคี่ยวเข็ญมากเขาไม่เอา เขาปล่อยอิสรเสรีให้เด็ก อะไรต่ออะไรมาก เขาค่านิยมเขาสร้าง

ไม่ใช่แค่ค่านิยมนะครับ พ่อครับ คุณภาพของเด็กด้วยนะครับ ผมรู้สึก นะฮะ

ด้วยก็ใช่ คุณภาพของเด็กด้วยก็ใช่ เพราะฉะนั้น เราต้องรู้ความเป็นจริง อันนี้แหละ มันเป็น status ของสังคม มันเป็นสถานภาพของสังคม มันเป็นอย่างนี้ คุณก็ทำให้มันสอดคล้องกับสภาพ ของสังคม คือไปดุมากไม่ค่อยได้ คุณเคยเห็นผมดุเด็กไหม ผมไม่ดุเด็ก ผมจะดุ ก็ดุแต่ผู้ใหญ่ เพราะพูดกันรู้เรื่อง เด็กยังไม่รู้เรื่องหรอก ผมไม่ดุเด็ก คือว่าสอนรู้เรื่อง แต่ว่าผมไม่ได้ดุเด็ก ไม่ได้ประโยชน์ บอกเด็ก บอก ผมจะดุผู้ใหญ่ แรงๆใช่ไหม โดนแรงๆ ก่อน แต่ดุเด็ก ผมไม่ได้ ดุแรงๆ นะกับเด็ก ไม่เก่ง ที่เก่งที่สุดก็คือ ไม่ต้องดุได้นั่นน่ะ เก่งน่ะ ถึงแม้ว่า อาตมาสอนพวกคุณ นี่นะ อาตมาต้องดุนี่ ก็ยังไม่เก่ง ถ้าเก่งจริงๆ แล้ว จะต้องไม่ดุ สูงสุดของมัน ต้องไม่ดุ ไม่ดุเลย พูดกันเรียบร้อย เอ้า ครู คุณก็เป็นครู


ถอดโดย ประสิทธิ์ ฝายทอง
ตรวจทาน ๑ โดย สม.ปราณี ๒๙ เม.ย.๒๕๓๔
พิมพ์โดย อนงค์ศรี เบญจโศภิษฐ์
ตรวจทาน ๒ โดย อุทัยวรรณ ตั้งมั่นสกุล ๑ มิ.ย. ๒๕๓๔
FILE:1464B