ทรัพย์แท้...ของมนุษย์ ตอนที่ ๔
โดย พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๔
ในงานปลุกเสกสมณะแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ ๑๕ ณ พุทธสถาน ศีรษะอโศก

ต่อจากหน้า ๑

เพราะฉะนั้น ฆ่าสัตว์ พระพุทธเจ้ามาตรฐานต้น มีจิตหิริโอตตัปปะ เมื่อคุณเกิดจิตเมื่อไหร่ คุณเริ่มเป็นเทวดาอุบัติแล้ว เป็นอุบัติเทพแล้ว จิตเกิดหิริ เป็นเทวดา พระพุทธเจ้าถึงบอก หิริกับโอตตัปปะ เป็นตัวชี้ ตัวยืนยันว่า มันเกิดความเป็นเทวดา จะเห็นชัดเจนเลยว่า จนกระทั่ง คุณทำแล้ว แต่มันซ้อนเชิงนะ อาตมาขออธิบายตัวสูงไว้อีกด้วย คนที่จิตไม่ทำได้จริงแล้ว อาการของ หิริโอตตัปปะ ก็หายไป สติสัมปชัญญะมี หรือว่าอัตโนมัติเลยไม่ฆ่า จิตเฉย คือจิตอุเบกขาแล้ว นี่ขออธิบายตัวสูง จิตอุเบกขา มันไม่รู้สึกสงสาร โอ๊ย! ไอ้โน่นไอ้นี่มาก นอนไม่หลับ มันไม่หรอก แต่คนที่กำลังเกิดกำลังเป็นเทวดา ในระดับอุบัติเทพ ยังไม่วิสุทธิเทพนี่นะ โอ๊ย! จะแรง บางคน ยิ่งใหม่ๆนี่ ไม่ได้หรอก เห็นคนบี้มดหน่อย ละว้าย! อื้อฮือ มันแรง มีหิริมันแรง โอตตัปปะมันแรง มันสงสารแรง เมตตามาก แต่คนที่ท่านสูงเสร็จแล้วท่านก็ไม่มีวี้ว้า ไม่มีวี้ดว้ายอะไรหรอก เหมือนกับ คนเฉยๆ เพราะอุเบกขาแล้ววาง แต่รู้ แต่ตัวเองไม่ทำแล้ว ตัวเองมีเมตตาอย่างเพียงพอ ที่จะไม่ทำแล้ว นี่เป็นภาวะซับซ้อนตีกลับ ซึ่งซับซ้อน อย่างนี้ต้องเข้าใจดีๆ อย่าไปเห็นว่า ดูซินี่ เห็นเขาฆ่าสัตว์ก็ยังดูเฉยอยู่เลย ไม่วี้ดว้ายเหมือนคนวี้ดว้าย แล้วจะบอกว่า คนวี้ดว้ายนั่นแหละ คือคนภูมิสูงกว่า บางทีไม่ใช่ แต่มันซ้อนกัน เห็นไหม คนอุเบกขาเฉยๆ กับคนหน้าด้าน คนที่ไม่กระตุกอะไรเลย มันเหมือนกัน คนเดียวกัน ยอดต่ำกับยอดสูงคนเดียวกัน เป็นได้อย่างนี้ เหมือนกันนะ ฟังดีๆ อันนี้ เข้าใจดีๆ แล้วอย่าไปตีขลุมว่าตัวเองเป็นยอดนะ ที่จริงตัวเอง อาจจะ นึกว่าตัวเองเป็นตัวหัว แต่ที่จริงตัวเองเป็นตัวเท้า อยู่ที่เท้า ระวัง เป็นได้

เพราะฉะนั้น ในระดับคนที่กำลังเกิดหิริโอตตัปปะ ก็จะเป็นอย่างนี้ ไปจนกระทั่งเข้าใน แล้วก็ปล่อยวาง ไม่ฆ่า ไม่ลักทรัพย์ คนที่มีหิริโอตตัปปะ ไม่เอาละ เอาไม่ไหวละ ลักทรัพย์เขา โกงเขา ปล้นเขา จี้เขา ไม่เอา จะฉลาดเท่าไหร่ก็ยิ่งไม่เอา เพราะเราเชื่อในความฉลาดว่า มันเลี้ยงตนได้ คนฉลาด คนขยัน คนอดทน สร้างสรร เลี้ยงตนได้ ไม่ต้องไปเลี้ยงตนด้วยความโกง ไม่ต้องไปเลี้ยงตน ด้วยทุจริต มันมั่นใจ มันมีศรัทธาความเชื่อ มีปัญญาเข้าใจ ชัดเจนเลยว่า นี่เป็นบาป เป็นกรรม ไม่ต้องทำ เลี้ยงตนได้ พึ่งตนได้ด้วยฝีมือ ด้วยความสามารถ เป็นคนมีคุณค่า อย่าว่าแต่เลี้ยงตนได้เลย คนอื่นยังพึ่งเราได้ด้วย เราก็ได้บุญอีกมากมาย ที่เราจะทำให้คนอื่นพึ่ง ขยันขันแข็ง พากเพียรอะไรก็ตาม เป็นความเชื่อมั่น เป็นปัญญา เป็นความจริงที่เราเห็นชัดเจน แล้วเรา ก็จะเป็นคนอย่างนี้

เพราะฉะนั้น ไม่ไปเอาของใครแล้ว มีแต่จะทาน บอกแล้วว่า อทินนาทาน ศีลข้อที่ ๒ อย่าว่าแต่แค่ ไม่ลักขโมย ไม่เอาของเขาเลย จะเป็นคนมีสัมมาอาชีพ มีความขยันหมั่นเพียร สร้างสรร สัมมาอาชีพ ประเภทถึงพ้น มิจฉาชีพ ระดับไม่แลกลาภ ไม่ทำเอาเลย ไม่แลกเปลี่ยนอะไร อย่างที่เรามา เป็นไปได้นี่ แม้แต่เป็นฆราวาส ทำให้ด้วยทาน จาคะ ทำอย่างเสียสละแจกจ่าย อยู่นี่แหละ นี่เป็นตัวยืนยันพิสูจน์ เห็นไหม พวกเรานี่ทำให้เขา อทินนาทาน นี่ข้อ ที่ว่าไม่ลักทรัพย์ ไม่ลักอะไร มีสัมมาอาชีพ ทำงานทำการ ขยันหมั่นเพียร ตื่นแต่ตี ๒ ตื่นตั้งแต่ตี ๑ ตื่นแต่ ๒ ยาม สร้างสรร ทำงานทำการอะไรก็เอา แล้วก็ไป เราไม่ได้อะไร ก็แบ่งกินแบ่งใช้อยู่ในนี้เท่านั้นเอง นอกนั้น ก็เกื้อกูลผู้อื่นเป็นทาน ไม่ได้แค่ที่ไม่เอาของคนอื่นด้วย นี่มันก็จะเป็นเทวดาชั้นสูงที่ซ้อนเชิง มีอาชีพชั้นสูง ขึ้นไปเรื่อยๆ มีสัมมาอาชีพที่สูงสุดอย่างนั้น ขึ้นไปเรื่อยๆอย่างนั้น ละความโลภ ความเห็นแก่ตัว เป็นผู้ที่มีสังคหวัตถุที่จริง มีทรัพย์ที่เป็นศีล ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา มีสูงเท่าไหร่ไป ก็ยิ่งมีตัวจริงเท่านั้น มีทรัพย์ที่สูงเท่าไหร่ ก็ปัจจุบันนี้พิสูจน์ได้อยู่ ยืนยันได้

นี่พวกเรามีตัวจริง แหม! ถ้าไม่มีตัวจริง ศาสนานี้ไม่เกิดแน่ๆเลยในโลก นี่ศาสนาเกิดมีตัวจริง ยืนยันได้ ไม่ใช่พูดลอยลม ย่อมเป็นได้ ในกลียุคสร้างไม่ขึ้นหรอก คนนี่ประพฤติปฏิบัติอย่างไร ก็ไม่ขึ้นในกลียุค เพราะฉะนั้น กลียุคหมด ศาสนาก็หมดไป เอาศาสนาของพระพุทธเจ้า ให้มาตีกลับ อย่างนี้ด้วยแล้ว เลิกเลย นี่มาตีกลับอย่างที่ว่านี่ มันอัศจรรย์ต่างๆนานา โอ้ ! มันแปลกนะพวกเรา นี่ ไม่รู้จะพูดอะไรกัน ไม่รู้มาทำอะไรกันก็ไม่รู้ เอามาพูดอย่างขึ้นรายการเย็นๆ อย่างนี้ หลายคนเห็นว่า ไม่เป็นความสำคัญ รายการเย็นนี่ เป็นรายการพิสูจน์ความจริง เป็นคนมาบอกความจริง หมายความว่า เปิดเผยความจริง ไอ้นี่เป็นตัวทฤษฎี อาตมาพูดเป็นหลักทฤษฎี เป็นหลักการ หลักวิชา เสร็จแล้วอัดต่อภาคก่อนฉัน ภาคกลางวัน ก็ว่ากันไป เสริมๆๆ พอภาคเย็น มันลงตัวแล้ว รายการของเรา ปลุกเสกฯ พุทธาภิเษกนี่มันลงตัว มันลงล็อคแล้ว เป็นตัวยืนยัน เดี๋ยวนี้ไม่ได้ยืนยันธรรมดา นั่น แน่ะ ก่องานอะไรๆออกไป กำลังเร่งรัดพัฒนา ปีนี้ก็มีสวนฟ้านาบุญ เสียอีกน่ะ ขึ้นไปแล้ว อะไรอย่างนี้เป็นต้น มันเป็นไปนะ แล้วค่อยก้าวหน้าไปเรื่อยๆ มันเป็นระบบขึ้นมา มันเป็นตัวสภาพธรรม ตามสภาพธรรมขึ้นมา

ศีลอย่างข้อที่ ๓ ข้อที่ ๔ ข้อที่ ๕ ก็เหมือนกัน เราจะมีหิริ มีโอตตัปปะ เรื่องกาม เรื่องราคะ ศีลข้อ ๓ เรื่องคำพูด วาจา เราก็จะละอายนะ พูดอย่างนี้ละอาย เราไม่พูดหรอก ไม่อยากพูด ไม่เอาละ พูดอย่างนี้ โดยจิตที่เราไปเป็น อย่างที่มันเป็นคำพูด ที่ไม่น่าพูด วาจามุสา วาจาที่พูดเพ้อเจ้อ หรือว่าพูดหยาบ หรือว่าพูดส่อเสียดอะไรต่างๆนานา มันจะรู้สึกว่า เราพูดไม่ดี อันนี้ส่อเสียด พูดอย่างนี้ หยาบนะ พูดอย่างนี้ ไม่ดีน่ะโดยใจ มันมีอารมณ์ร่วมนะ พูดหยาบที่มี อารมณ์ร่วมนี่อร่อย อย่างอาตมาพูดหยาบ อาตมาไม่ได้ไปอร่อยหรอกนะ อาตมาพูดธรรมะ พูดภาษา อยู่ดีๆ ก็ไม่พูดหรอก คำหยาบ คำอะไร พูดซื่อๆ พูดธรรมดาๆ ต่อคนก็เป็นเจตนา บางทีก็พูดเพื่อสอน เพื่อยืนยันว่าอะไรอย่างนั้น เราจะรู้ภาษา คำพูดว่าอะไรที่มันละอาย ที่มันควรละอาย เราก็มีศีลของเรา ไม่พูดอย่างนั้น อย่างนี้เราไม่พูด เราก็ลด เราก็เลิก เราก็หัดวาง หัดอย่าพูดอย่างนี้ อย่าหัดพูดอย่างนี้ ก็เป็นศีลที่เราจะหัด จะทำให้เกิดวาจาข้อ ๔ ข้อ ๕ ไอ้สิ่งนี้เป็นสิ่งเสพ เป็นสิ่งติด เป็นสิ่งมอม เป็นสิ่งเมา สุดท้ายศีลข้อ ๕ นั่นแหละ บอกแล้วว่า ปฏิบัติธรรมเพื่อศีลข้อ ๕ มีสติเต็มที่ เป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะ ปัญญา เป็นคนที่หลุดพ้น สมบูรณ์หมด ไม่ติดอะไรเลยในโลก

แม้แต่ความดี พระพุทธเจ้าสร้างสมบัติที่เป็น สัมมาสัมโพธิญาณ เป็นสมบัติมหาศาล ก็ไม่ติด ไม่เมา ไม่หลงเป็นเลิศ เป็นลอย อะไรหรอก ท่านมีมหาสมบัติ อภิมหาสมบัติ มีสัพพัญญุตญาณ มีสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่ง บรรลุเป็นพุทธญาณอันบริสุทธิ์บริบูรณ์ยิ่งใหญ่ เป็นสมบัติมหาศาล ท่านก็ไม่หลง ไม่ติด ไม่เมา ไม่ใช่เป็นของเรา สุดท้ายก็ต้องทิ้งกัน จากกัน ให้คืนไปแก่โลก แล้วท่านให้ไว้หมดแล้ว เราก็รับกันเอาไว้ซิ พวกสืบมรดก สืบทอด อาตมาก็รับไว้แอ้ๆๆ แล้วก็ทำต่ออีก สะสมไว้ใหม่ต่อไปอีกต่อไปๆ ถ้าถึงที่สุด อาตมาก็เอาไว้นะ ได้เวลาไปละนะบ๊ายบาย ปรินิพพาน ก็เลิก พวกคุณก็รับไว้ ก็สืบทอดไว้ได้ ถ้ารับไว้ไม่ได้ มันก็สูญ เพราะฉะนั้น ศาสนาพุทธก็ต้องหมด แต่ศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าก็ต่อทอดให้พระโพธิสัตว์ที่เป็นลูก รับไว้เรื่อยๆ จงรับให้ได้ ยังไงๆ อาตมาก็มีละ มีลูกอยู่นี่ ตอนนี้ จดทะเบียนอยู่ไปเรื่อยๆ จดทะเบียนปลอม จดทะเบียนจริงยังไม่รู้ละ รับไปเรื่อยๆ แล้วรับจริง ต้องสะสมจริงๆ สะสมให้ได้ เป็นสมบัติจริงๆ สุดท้ายก็ที่จิตนี่แหละ ศีลข้อที่ ๕ นี่จิต ศีลข้อที่ ๔ น่ะมันวาจา ๓ ข้อน่ะ มันเป็นกรรม สัมมากัมมันตะ ก็นี่แหละปาณา อทินนา กาเมสุมิจฉาจาร นี่พ้นมิจฉาอันนี้ ก็เป็นสัมมาวาจาก็ ๔ มิจฉาวาจา ก็มุสา ปิสุณวาจา แล้ว ก็ผรุสวาจา สัมผัปปลาส ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ นั่นแหละ เป็นมิจฉา ก็มาละลด ให้มันเลิก ให้มันหมดไปจริงๆ

เพราะฉะนั้น มันจะละอายต่อสิ่งที่เรามีศีล ศีลเราตั้งไว้ขนาดไหน อธิศีลขนาดไหน น้ำหนักของมัน เนื้อหาของมันขนาดนั้น ขนาดนี้ มันจะเกิดจริงๆ ว่าเรานี่ไม่ดีละ ละเมิดศีลนี่ไม่ดี จนกระทั่ง บริสุทธิ์ บริบูรณ์ด้วยศีล จะบริสุทธิ์บริบูรณ์เดี๋ยวจะได้อธิบาย วันนี้จะถึงหรือไม่ถึงก็ดู บริสุทธิ์บริบูรณ์ ได้อย่างไร เมื่อบริสุทธิ์บริบูรณ์ จนกระทั่งสุดท้าย บริสุทธิ์บริบูรณ์ก็ถึงขั้น เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้นั่นแหละ เป็นตัวบริสุทธิ์บริบูรณ์สูงสุด จะโดยศีล หรือ โดยศรัทธา ก็ตาม สุดท้าย ก็ไปหาความบรรลุหลุดพ้น ศรัทธา หรือศีลนี่

เพราะฉะนั้น ตัวหิริโอตตัปปะ สุตะนี่ เป็นตัวเสริมๆๆๆ สุดท้ายจริงๆ คือจาคะ จาคะ แม้แต่บารมี ๑๐ ทัศน์ อาตมาก็ยืนยันว่า ตัวสุดท้ายก็คือตัวที่สุด จริงๆ ตัวที่บรรลุสูงสุดก็คือ ทานตัวเดียว ทานคือตัวผล ที่เราจะต้องทำให้เป็นสุดท้ายยังชีวิตอยู่ด้วย เมื่อทาน จิตเป็นทานหมดจริงๆแล้ว ทานแม้กระทั่งตัวเราเอง เราก็ไม่ถือว่าเป็นตัวของเรา แล้วก็ไม่ติดใจว่าเป็นเรา เป็นของเราจริงๆเลย มันทานถึงขนาดอย่างนั้น เสร็จแล้วเราก็มีชีวิตอยู่ด้วยอุเบกขา และเมตตา บารมี ๑๐ ทัศน์ สั่งสมทรัพย์สูงสุด ก็คือทานจนสำเร็จ พอทานสำเร็จแล้ว ชีวิตยังไม่ตาย ก็อยู่ด้วยอุเบกขา หรือ เมตตาบารมีสองตัว ส่วนนอกนั้น คุณจะต้องสร้าง ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะบารมี ปัญญาบารมี แล้วก็มีหน่วยเสริม คือวิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เป็นตัวเสริมที่จะให้เกิดเนกขัมมะ เกิดศีล เกิดปัญญา เกิดเนกขัมมะก็ออกนั่นแหละ ละออกนั่นแหละ เนกขัมมะจากโลกเก่า มาสู่โลกใหม่ให้หมดนั่นแหละ จนสำเร็จ จนกระทั่ง เกิดภูมิธรรม มีอุเบกขาเป็นตัวอาศัย มีเมตตาเป็นตัวการงาน อุเบกขาเป็นของตัวสบาย ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา อยู่สบาย ผ่องใส ผ่องแผ้ว สบายอยู่อย่างนั้น ปภัสสราก็ผ่องใส บริสุทธิ์ ปริสุทธา ก็บริสุทธิ์ บริสุทธิ์อยู่อย่างนั้นน่ะ แม้แต่จะคลุก จะเกี่ยว จะข้องกับของสกปรก ยังไงก็สะอาด ปริโยทาตา หมายความว่า มันไม่ดูด ไม่ซึมเอาอะไรอีกเลย ผุดผ่อง ผ่องแผ้ว หรือบริสุทธิ์อยู่อย่างนั้น จะอยู่กับความเน่า กับความเหม็นอะไรต่ออะไร ก็เป็นตัวแข็งแรง เป็นตัวบริบูรณ์ของตัวเอง เรียกว่าอุเบกขา มีองค์ธรรมของอุเบกขา อาตมาอธิบาย ประกอบเสมอ สำหรับพวกเรา อาตมาไม่เห็นที่อื่นเขาเรียนกันหรอก ไม่เห็นจริงๆนะ ไม่เห็นที่อื่น เขาเรียนกันหรอก อันนี้องค์ธรรมพวกนี้

เพราะฉะนั้น เราเข้าใจองค์ธรรมพวกนี้ เราก็จะได้พิสูจน์ เราก็จะได้เรียน เราก็จะได้รู้ว่า มันมีไหม มีนี่ มีองค์ธรรมอันนี้ เพื่อเป็นเครื่องยืนยัน เป็นเครื่องอธิบายให้เราได้เช็ค ให้เราได้ตรวจสอบ แล้วมันก็มีมุทุ คือ มีจิตที่แววไว มีจิตที่หัวอ่อน มีจิตที่ดัดง่าย จนกระทั่งดัดสำเร็จ มุทุ กัมมัญญา เป็นตัวที่ทำงานทำการ ทำโน่นทำนี่ อย่างดีสละสลวย งดงาม การงานอะไร ที่มีคุณมีค่า มีประโยชน์อยู่ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น อยู่ที่ตัวกัมมัญญา อยู่ที่ตัวการงาน กัมมนิยะ หรือ กัมมัญญา อยู่ด้วยงานที่เหมาะที่สม สำหรับแต่ละคนๆ มีการงานทั้งนั้น การงานเป็นตัวบทบาท

เพราะฉะนั้น เราจะอยู่ด้วยการงานที่มีเมตตา เมตตาอยู่เพื่อผู้อื่น ที่ยังอยู่นี่เมตตาพวกคุณ ถ้าไม่เมตตาพวกคุณก็ตายแล้ว ก็ตายซะ เอ้า ! พูดแล้วมันก็โก้นะ แต่ความจริงเป็นอย่างนั้น เมตตา อยู่กันก็ทำการงาน ทำไปด้วยความอุตสาหะวิริยะไป แล้วพวกคุณก็เห็นว่าเป็นค่า คุณก็อยากให้อยู่ ใครเห็นว่าไม่เป็นค่า ก็ไม่อยากให้อยู่ ไม่เห็นหน้าด้วย ถ้าใครเห็นว่าเป็นค่า ก็อยากให้อยู่ อยากจะให้ได้รับอะไร เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ถึงแม้ทำอะไรไม่ได้มาก ก็คงปากเก่ง ปากถ้าคงไม่ใบ้ ก็คงพูดได้อีกนาน อย่าชมเลยน่ะเดี๋ยวลอย ทำให้มาก ทุกอย่างอะไร มันไม่ได้มากทุกอย่างหรอก อาตมาพยายามอธิบาย ความสัมพันธ์สอดซ้อนของทรัพย์ที่ว่า ทำไมเรียกว่าศรัทธา เรียกว่าทรัพย์ ทำไมศีลเรียกว่าทรัพย์ ทำไมหิริ โอตตัปปะ สุตะ เรียกว่าทรัพย์ โดยเฉพาะ ทำไมจาคะ เรียกว่าทรัพย์ มันกลับกันอย่างกับอะไรดี หนอย จาคะก็คือให้ไปนั่นแหละ เราได้อยู่ โอ้! ตลกนี่ ทำไมเรียกว่า จาคะคือทรัพย์ เห็นมั้ย มันไม่ใช่ว่า กว่าจะอธิบายให้คุณฟังอย่างนี้ กว่าจะเข้าใจได้ง่ายๆ กว่าจะมามีอะไร มันต้องมีของรองรับ ต้องมีความชัดเจน เชื่อ ไม่ใช่พูดเล่นลิ้น

ถ้าคนที่ไม่ได้ศึกษาอะไรมาเลย ไอ้พวกนี้ มันเล่นลิ้น แล้วชักจะพูดว่า ไอ้พวกนี้มันพูดปรัชญา แต่ก็ไม่รู้ว่า ปรัชญาคืออะไร ปรัชญาก็คือ ปัญญานี่ ภาษาสันสกฤต ปรัชญานี่เป็นภาษาสันสกฤตเอง ตัวเดียวกันนั่นแหละปัญญา ภาษาบาลีก็ปัญญา ภาษาสันสกฤตก็ปรัชญา นี่มันพูดเหมือนเชิง คนปัญญา พูดเหมือนคนมีปรัชญา มีปัญญานั่นแหละ พูดเรื่องเออ ! ไอ้ที่ได้ก็คือไม่ได้นั่นแหละ ไอ้ที่ได้ก็คือให้เขาไปนั่นแหละ อะไรอย่างนี้ เอ๊ ! อะไรต้องคิดหน่อยแหละ ต้องใช้ปัญญา ต้องใช้ความลึกซึ้งคิด อะไรอย่างนี้เป็นต้น ก็คิดแต่เขาก็ได้แต่คิด แต่คนที่ไม่คิดหรอก รู้จริง เห็นจริงแล้ว เป็นคนทำจริง แล้วเป็นอย่างนี้จริงๆนั่นแหละ ไม่ใช่มีแต่ปัญญา ไม่ใช่มีแต่ปรัชญา เป็นคนเป็นอย่างนี้จริงๆเลย เป็นตัวปัญญาแท้ๆ เป็นตัวเป็นเลย ตัวปฏิบัติเลย เป็นตัวจริงเลย โดยมีจาคะ เป็นทรัพย์เลย อยู่อย่างให้ อยู่อย่างบริจาคสร้างสรร สร้างมาก็เป็นสิทธิ์ของเรา เราทำอะไรก็เป็นสิทธิ์ของเรา ออกแรงก็เป็นสิทธิ์ของเรา ผลผลิตสร้างสรรมาก็เป็นของเรา โดยโลกเขาก็รู้ว่าเราสร้าง มันเป็นสิทธิ์ของเราใช่ไหม เราไม่ได้ไปโกง เราไม่ได้ไปเอาเปรียบเอารัด เราไม่ได้ไปทำอะไรทุจริตนะ เราสุจริตของเรา ก็เป็นของเรา แต่เราก็จาคะนั่นแหละ ยิ่งเป็นของเรา ยิ่งเป็นของเรา ยิ่งเป็นของเรา ยิ่งให้ไปเลย ให้ไปโดยตรงเลย ไม่อยากได้อะไรคืนมา ไม่มีบูมเมอแรงเลย ไม่มีโค้งงอมาหาตัวเองเลย ให้ๆตรงเลยนะ ไม่ใช่ให้ไปแล้ว โค้งโดยคนอื่น ไม่เห็นกระแสโค้ง นึกว่าตรง แต่เปล่า หลอกเขา โอ้โฮ ! โค้งไปไกล แล้วก็โค้งมา มาหาตัวอีกทีหนึ่ง นั่น มันยังมีของกู มันยังมีตัวเราอยู่ เอามาให้เราอยู่

เพราะฉะนั้น เราต้องให้ไปโดยซื่อตรง เราให้จริงๆ ให้สะอาดบริสุทธิ์ไป ยิ่งให้ซื่อ ให้ตรงเท่าไหร่ นั่นแหละจริง เป็นตัวจริง เป็นของเราตัวจริงเท่านั้น แล้วเป็นของเราที่เป็นสมบัติ ตราบที่เรา ยังไม่เลิกเกิด ตราบที่เรายังไม่ปรินิพพาน มันก็จะเป็นบุญ จะเป็นกุศล เป็นวิบาก เป็นกัมมัสสกตา เป็นของเราไปอีกนานเท่านาน คุณสั่งสมอย่างไหน อย่างสั่งสม อันธพาล ก็เป็นของคุณ ไปตลอด นานเท่านาน สั่งสมอย่างกัลยาณชน ก็เป็นของคุณไปอีกนานเท่านาน สั่งสมอย่างอริยะ ก็เป็นของเราเท่าอีกนานเท่านาน นี่มันก็สัมพันธ์กันเข้าไปอย่างนี้ๆ เอ้า ! ลองมาดูซิว่า ในคำขยาย ของพระพุทธเจ้านี่นะ ท่านขยายเอาไว้แล้ว จะขยายตั้งแต่ศรัทธาตัวแรก ศรัทธาสูตร หน้า ๘ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้ ย่อมเป็นผู้ก่อให้เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปวง บริบูรณ์
๑.ศรัทธา
๒.ศีล
๓.พหุสูต หรือสุตะ
๔.เป็นพระธรรมกถึก
๕.เข้าสู่บริษัท
๖.แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท
โอ้ย ! แต่ก่อนไม่กล้าหรอก ออกมาพูดอย่างนี้ มันสู่บริษัทนี่ มันไม่มีศรัทธา มันไม่มีปัญญา มันไม่ของจริง มันไม่กล้าหรอก พอมีความกล้า เออ! มัน ไม่สะทกสะเทิ้น มันเป็นความไม่กลัว มันพ้นภัยข้อปริสารัชภัย ข้อที่มันสะทกสะเทิ้นในบริษัท มันไม่แล้ว ไม่กลัว ไม่หวาด ไม่หวั่น อย่างนี้เป็นต้น นี่อันนี้ ข้อ ๖ เป็นผู้แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท หรือเป็นผู้แกล้วกล้าที่จะอยู่ ต่อหน้าบริษัท จะแสดงธรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยอะไรไม่สะทกสะเทิ้นหรอก เดี๋ยวค่อยอธิบาย

๗.ทรงวินัย
๘.อยู่ป่าเป็นวัตร อันนี้ก็ต้องขยายความ อยู่ป่าเป็นวัตร นี่
๙.ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก แต่มันไม่ลำบากด้วยฌานทั้ง ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในปัจจุบัน
๑๐.กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

นี่เนื้อความย่อไว้ สัทธาสูตร เอ้า ! ทีนี้ เรามาฟังดูเนื้อความคำอธิบายของท่าน สัทธาสูตรนี่

เล่ม๒๔ ข้อ ๘ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล ฟังดีๆนะ ไม่ใช่ แต่ตัวศรัทธา ตัวเดียว แต่ไม่มีศีล อย่างพวกอันธพาล ไม่มีศีลพระพุทธเจ้า ฆ่าคนก็เฉย เอาทรัพย์ ลักทรัพย์ก็เฉย แต่ไม่มีศีล อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เพราะฉะนั้น คำว่าศรัทธา ต้องมีองค์ประกอบ ถ้ามีศรัทธาเฉยๆ ไม่มีศีลหรอก มีแต่ศีลผี หลักการของผี ความเห็นของผี แล้วก็ไปเชื่อตามผี ไม่เชื่อตามพระพุทธเจ้า อย่างนี้ศรัทธาอย่างนี้ไม่ใช่ศรัทธาบริบูรณ์อะไร ศรัทธาเว้าๆแหว่งๆ เชื่อนะ เป็นศรัทธา เป็นความเชื่อนะ เขาเชื่ออย่างนั้นน่ะ แต่เขาก็มีกรรมเลว เขาต้องมีสมบัติเลวติดตัวไปแน่ๆ มีบาปติดตัวไปแน่ๆๆ

เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่าเชื่อพระพุทธเจ้าแล้ว ก็จะต้องปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ที่พระพุทธเจ้าพาให้ทำ หลักเกณฑ์ชั้นต้น ก็พูดกันมาจนไม่ใช่ปากเปียกปากแฉะหรอก ปากฉีก พูดกันมาจนปากฉีกแล้ว ศีล ๕ ก็ว่ากันไปเป็นหลักแล้วอย่างนี้ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ถ้าศรัทธาไม่มีศีลเลยอย่างนี้ เธอชื่อว่า เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วย องค์นั้น คือศรัทธาไม่สมบูรณ์แค่ระดับที่ ๑ ต่อมา เธอนั้นพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้ บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น ต้องมีศรัทธา แล้วต้องเอาศีลมาประกอบ ให้มีศีลของ พระพุทธเจ้า ต้องกำหนดลงไปหน่อยหนึ่งว่า ศีลของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ศีลของอันธพาล แม้แต่ศีลของ กัลยาณชนอื่นๆ ก็เราเอาของพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า ถ้าศาสนาอื่น เขาก็มีศีลของศาสนาอื่น ก็ดีเหมือนกัน มันก็พอเป็นไป ตามหลักตามเกณฑ์ของศีล ของแต่ละศาสดาก็เอา แต่ของเรา พระพุทธเจ้าเป็นศาสดา เราก็เอาของพระพุทธเจ้าเรา เธอนั้นพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ ด้วย คิดว่า ไฉนหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธาและศีล ปฏิบัติให้ได้ว่า เราจะมีศีล ศีลมาปฏิบัติ มันก็ทรงศีลตั้งแต่กาย วาจา จนกระทั่งถึงใจ จนเป็นอัตโนมัติ ว่า เออ ! เราไม่ฆ่าสัตว์ เป็นอัตโนมัติ เป็นตถต มันไม่ฆ่าจริงๆ เลย แม้จะไม่คุมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ นอกจากว่า มันเป็นเหตุปัจจัยที่สุดวิสัย ไม่รู้นี่ เหยียบตาย ไม่รู้จริงๆ ไม่เห็นจริงๆ ไม่ได้เจตนา หรือสังเกตแล้ว พยายามแล้วนะ แต่ก็เล็กเหลือเกิน แกก็บังเหลือเกิน ไม่เห็นจริงๆ ตายแล้วยังงี้ เราไปถือไม่ได้ เพราะไม่มีเจตนาที่แท้ พระพุทธเจ้าท่านไม่ถือเป็นธรรม เป็นบาป เป็นกรรมอะไรกันหนักหนา เพราะมันสุดวิสัย

เพราะฉะนั้น เราไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ เป็นอัตโนมัติ เป็นตถตา เป็นเอง ใจมันเป็นตัวบงการ เพราะใจเป็นประธานสิ่งทั้งปวง กาย วาจา เกิดจากใจ ใจเป็นตัวประธาน ไม่รู้ว่าที่ของคนอื่น ที่เขาไม่ได้ให้ เขาไม่อนุญาต ไม่เอา ไม่เอาจริงๆในที่ลับ ในที่แจ้งไม่เอา อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น ทำให้บริบูรณ์ด้วยศีล เราพึงเป็นผู้มีศรัทธาและศีล

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและศีล เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น มีองค์ประกอบแค่ศีลน่ะ นี่องค์หนึ่งล่ะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา มีศีล นี่เป็นองค์หนึ่งได้แล้ว แต่ไม่เป็นพหุสูต ฯลฯ แต่ไม่มีความรู้ เพิ่มเติม เป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นพระธรรมกถึก ฯลฯ เขาละ ฯลฯ คือเหมือนกันกับเมื่อกี้นี้แหละ แต่ไม่เป็นพหูสูต เราก็เอามาแทนบรรทัดบน ไม่อย่างนั้น มันก็จะต้องเขียนยาวเลยน่ะนี่ ในพระไตรปิฎก เล่าไว้ พวกคุณไม่เห็นอันนี้ อาตมาเห็นมีฯลฯ ไว้ว่า แต่ไม่เป็นพหูสูต เมื่อไม่เป็นพหูสูต นี่เธอชื่อว่า เป็นผู้ ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น มีศรัทธา มีศีล แต่ไม่มีพหูสูต ไม่มีความรู้เพิ่มเติม เช่น ไม่ฟังธรรม ไม่ฟังสัตบุรุษ หรือไม่มีความรู้ในอะไรก็แล้วแต่ ไม่อ่านหนังสือธรรมะ หรือไม่ศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้าเพิ่มเติมด้วยวิธีการใดๆ ก็ตามใจเถอะ หรือ แม้แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อให้เกิดญาณ ให้เกิดความรู้จริงๆเสริมเข้ามาจริงๆเท่าใดก็เท่าเก่า ไม่มีพหูสูตเสริม ศรัทธาก็มีแล้ว ศีลก็มีได้เท่าเก่า ติดแป้นอยู่เท่านั้นๆๆ ก็แสดงว่าเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น เท่านั้น แต่องค์ที่เจริญกว่านั้น ไม่เพิ่ม จึงต้องเพิ่มพหูสูต ต้องเพิ่มความรู้ จะรู้โดย ศึกษาทางตรรกะ ทางฟังธรรม ทางอ่าน ทางจิต ทางอะไรก็แล้วแต่ จนกระทั่งถึงตัวปฏิบัติ ที่เกิดพหุสัจจะตัวจริง เป็นตัวเข้าถึงสัจจานุปัส เข้าถึงการเกิดสัจจะเลยจริงๆ เป็นตัวรู้จริงๆ เป็นตัวจริงที่รู้ ถึงขนาดเป็นของจริงตามความจริงเลยได้ ถ้าไม่รู้ของจริงตามความจริงถึงขนาดนั้น คุณก็ไม่ถึงที่สุด แต่ถ้าคุณเพิ่มความรู้ขึ้นมา ถึงแม้จะเป็นสัจจานุรักษ์ เป็นสัจจานุโพธิ เรียนรู้เพิ่มเติม แล้วปฏิบัติเพิ่มเติมเข้าถึง เรียนรู้ก็คือสัจจานุรักษ์ สัจจานุโพธิ ก็คือพยายามเข้าไปปฏิบัติ ให้หยั่งถึง ความจริง ความรู้ขึ้นไป โดยการพิสูจน์จริง จนกระทั่งเข้าถึงเป็นที่สูงสุด ก็เป็นสัจจานุปัสสี

เพราะฉะนั้น ตัวความรู้เพิ่มนี่ จึงเป็นตัวที่จะต้องเสริมขึ้นมาเสมอ จะรู้ด้วยเพื่อนฝูง จะรู้ด้วยสัตบุรุษ ครูบาอาจารย์ จะรู้ด้วยตนเองปฏิบัติขึ้นมา เกิดความรู้ขึ้นมาก็ต้องเสริม จึงจะเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น อาตมาก็ขอสรุปเอา ง่ายๆ

ต่อมาทีนี้ เป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นพระธรรมกถึก ฯลฯ อันนี้มีพวกเราหลายคน ฟังแล้วเสียว โดยเฉพาะสมณะ ไม่เป็นพระธรรมกถึก คือเป็นพระที่แสดงธรรมไม่ได้ ก็รู้สึกน้อยใจ รู้สึกว่า แหม ! เราไม่เป็นพระธรรมกถึก แต่จริงนะ จริงนะ แม้ว่าเป็นพระธรรมกถึก พระธรรมกถึก คือเป็นพระผู้แสดงธรรม ทีนี้พระผู้แสดงธรรมนี่ ถ้าจะเป็นพระธรรมกถึกจริง ก็คือ พระที่มีความจริง ทำอย่างใด หรือเป็นอย่างใด มีอย่างใด ก็แสดงอย่างนั้น พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ก็พูดอย่างนั้น ยถาการี ตถาวาที หรือ ยถาวาที ตถาการี ทำอย่างใด พูดอย่างนั้น พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น

ยถาวาที ตถาการี วาทีคือพูด พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น การี ทำ และยถาการี ตถาวาที ทำอย่างใด พูดอย่างนั้น เข้าใจไหม มันยถากับตถา แล้วก็ วาทีกับการี

เพราะฉะนั้น ผู้เป็นธรรมกถึก ถ้ายิ่งเป็นพระธรรมกถึกจริงก็ยิ่งต้อง ทำได้ แล้วพูดก็เป็น พระธรรมกถึกแท้ แม้ทำได้ แล้วยังพูดไม่ได้ ยังกถึกกถัก มันยังไม่กถึกแท้เท่าไหร่ เพราะฉะนั้น ต้องทำได้ แสดงธรรมได้ ทำได้ พูดได้ แต่ผู้ที่ทำได้ แต่พูดไม่ได้นี่ ก็เป็นการแสดงธรรม โดยกายกรรม เป็นกายธรรม ท่านก็เป็นตัวอย่างทางกายธรรมอยู่ แสดงธรรมโดยกายธรรม แต่แสดงโดยกายธรรม มันไม่ค่อยดัง เสียงมันไม่ค่อยออก มันไม่ค่อยดัง ถ้าสาธยายด้วยปฏิภาณ ปัญญา ด้วยอะไรต่ออะไร เยอะแยะ มันยังไม่ค่อยได้ มันก็ได้รับผลน้อยกว่า แต่มันก็เป็นของจริงยืนยัน มีน้ำหนักมากเหมือนกัน ประเภทที่ว่าทำทำได้ แต่ไม่ค่อยพูด มันพูดไม่เป็นน่ะ มันพูดไม่ได้ ถ้าทำได้ แล้วก็พูดเป็น ก็มันจะไปหยุดปากได้หรือคน ส่วนมากมันพูดก่อนจะทำเป็นด้วยซ้ำ มนุษย์น่ะ ทำยังไม่ค่อยเป็นเลย พูดเก่งเสียด้วยซ้ำ แหม ! โก้เลยนะ แต่ต้วเองยังทำไม่เป็นน่ะ พอเขาย้อน บอกว่า แล้วท่านทำได้หรือยัง

มีอยู่คราวหนึ่ง อธิบดีปิ่น มุทุกันต์ กับคึกฤทธิ์ ปราโมช ถกกันใหญ่เลยนะ เถียงกันด้วย เขาเคยถกกัน เรื่องศาสนา แหม ! คึกฤทธิ์นี่ จอมยอดเลยนะ โต้กันบนเวที ไปอภิปราย ไปอะไรต่ออะไรกัน ซัดกันไป ซัดกันมา กินเหลี่ยมกันอยู่น่ะนะ คงจะเป็นนักรู้ทางศาสนา คึกฤทธิ์แกไม่ยอม อะไรแกรู้หมด แกก็เล่นกับพันเอกปิ่น พันเอกปิ่นก็สาธยายใหญ่เลยนะ แหม ! การนอนสีหไสยาสน์ นอนอย่างนั้น ทีนี้ ว่ากันใหญ่เลย คึกฤทธิ์แกก็ให้อธิบายไป มันเยี่ยมอย่างนั้น มันดีอย่างนั้น เสร็จแล้ว พออธิบายเสร็จ แกบอก "แล้วคุณทำได้หรือยังล่ะ" อธิบดีปิ่น บอก "ผมกำลังทำอยู่ กำลังหัด" คือตกม้าตายเลย ทำไม่ได้ พูดเสียโก้เลยนะ เหมือนกับตัวเองเป็นเลยนะ อย่างดีเยี่ยม มันก็ยังกับเป็นแล้ว สาธยายเป็นพระธรรมกถึกเต็มที่เลย แต่เสร็จแล้วเขาถามว่า แล้วทำได้หรือยังล่ะ ยัง ตกม้าตายเลย คนอื่นไม่ต้องพูด เขาฟัง ศรัทธามันก็ลด ความเชื่อถือมันก็ลด เพราะฉะนั้น จะทำได้เป็นพระธรรมกถึกที่ดี ก็ต้องทำให้ได้ แล้วก็สอนผู้อื่น บอกผู้อื่นมันก็ดี เหมือนกันกับอันต้น มีศรัทธา มีศีล มีพหูสูต แต่ไม่เป็นพระธรรมกถึก เพราะฉะนั้น ต้องเป็นพระธรรมกถึก จึงจะบริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น

ทีนี้ เป็นพระธรรมกถึก แต่ไม่เข้าสู่บริษัทฯลฯ ภาษาฟังยากอยู่นะ ประเดี๋ยวอาตมาจะอธิบาย ไม่ยากอะไรหรอก พระธรรมกถึก ก็คงจะเข้าใจแล้ว นะว่า เป็นพระผู้ที่จะมีธรรมะ ที่จะแสดงออกได้ ถ้าได้แค่กายธรรม พูดไม่เป็น ก็แสดงแค่กายธรรม มีทั้งกายธรรม มีทั้งวจีธรรม พูดเป็นก็แสดงทั้ง ๒ อย่าง ซึ่งก็ควรจะมาจากมโนธรรม ควรจะมาจากจิตที่ว่า ต้องเป็นได้ หรือว่าเชื่อถือ หรือว่าเป็นก่อน ถ้ามโนก็ได้แล้ว กายกรรมก็เป็นตามมโนตรงกัน วจีก็เป็นตาม มโนก็ตรงกัน ก็เป็นบริบูรณ์ ถ้ามันยังบอกว่า ไอ้พูดได้ แต่แค่ใจยังไม่เอาเลย แต่แค่ศรัทธา ยังไม่เชื่อ แต่พูดจ้อยเลยนะ แต่ตัวเอง พฤติกรรมเป็นอีกอย่างหนึ่ง ชีวิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เอาอันนี้มาขายกินนะ พูดอย่างนี้มีเยอะ เป็นพระ แหม! พระธรรมกถึกสอน เป็นพระธรรมกถึกสอน สอนเก่งนะ แต่ผู้สอนนั่น แหม ! เอา ของพระพุทธเจ้ามาสอนมาหากินนะ แต่ชีวิต เป็นอีกอย่างหนึ่งเลย นี่หลอกลวงมนุษย์ บาป เอามาหากินน่ะ ฟังให้ดีนะ มันบาปตรงที่เอามาหากิน เอาของพระพุทธเจ้ามาแล้ว ก็เอาไปเลี้ยงตน ไปเลี้ยงอย่างสำมะเลเทเมา หรือไปเลี้ยงอย่างบำเรอตน ไม่ใช่เป็นคนละลด เป็นคนสังวรอะไร นี่บาป แทนที่จะไป เออ ! ก็คุณไปฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์หากิน อาตมาว่ายังบาปน้อยกว่าเอาของพระพุทธเจ้านี่ มา หลอกคนอื่นหากินน่ะ มันไม่เข้าท่า

เอ้า ทีนี้ พระธรรมกถึกแล้ว แต่ไม่เข้าสู่บริษัท ก็ถือว่ายังไม่บริบูรณ์ ด้วยองค์ที่โตขึ้นล่ะ องค์นั้นละ องค์ขนาดนั้นน่ะ ยังไม่บริบูรณ์ขึ้นมาอีก ก็ต้องพยายามให้บริบูรณ์ให้สูงขึ้นมาอีก เพราะฉะนั้น จะต้องเข้าสู่บริษัท คือหมายความ ว่าต้องแกล้วกล้า อาจหาญ ที่จริงคำว่าแกล้วกล้า อาจหาญนี่ เป็นคำต่อไปนี่ ในบทต่อไปนี่ แกล้วกล้าอาจหาญแสดงธรรมแก่บริษัท แต่อันนี้ต้องไม่เข้าสู่บริษัท ก็คือตัวที่แก้เคล็ด ของศาสนาฤาษี ฟังเข้าใจไหม เพราะสมัยพระพุทธเจ้านั้น ต้องแก้เคล็ด ศาสนาฤาษี ศาสนาฤาษีนี่เขาอยู่ป่า ฟังดีๆนะ ในนี้มันจะมีอยู่ป่าอีกด้วย แต่ถ้าเผื่อว่า ไปถึงอยู่ป่าแล้ว จะต้องอยู่ป่าเป็นวัตร ประเดี๋ยวจะอยู่ป่าอีก มันจะค้านกัน เข้าสู่บริษัท ไม่ใช่อยู่ป่า เพราะฉะนั้น ไม่เข้าสู่บริษัท ไม่ใช่ความเจริญ เป็นความเสื่อม พวกฤาษีนี่ ปฏิบัติไม่เข้าสู่บริษัทหรอก อยู่มันในป่าในเขา ในถ้ำ อยู่ในที่เปลี่ยว อยู่คนเดียว มันคิดไปทางนั้น พระพุทธเจ้าต้องแก้เคล็ดว่า เอาเถอะ ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้ที่เก่งกล้าขึ้น มีกายธรรม ควรมีวจีธรรม และก็ควรเข้าสู่บริษัท ถ้ายังไม่มีตัวเข้าสู่บริษัทได้ เราไปเข้าสู่บริษัทได้จริงๆ ยังไม่สมบูรณ์

ทีนี้ เข้าสู่บริษัทแล้วเป็นยังไง เข้าสู่บริษัทก็จะต้องเข้าสู่บริษัทอย่าง แข็งแรง อาจหาญ แกล้วกล้า ต้องแกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัทด้วย ใครถามอะไร แสดงธรรม มีอันนี้แหละเป็นทรัพย์ เป็นสมบัติ เพราะฉะนั้น พระธรรมกถึกจริงๆ ไม่มีหรอก เงินข้าวของเงินทอง มีอันนี้แหละเป็นทรัพย์ อย่างน้อย ก็กายธรรม มาเห็นกริยากาย ก็เป็นสิ่งแสดง ยิ่งมีวจีธรรม อันนั้นมีธรรมกาย มีธรรมวจีด้วย แสดงแกล้วกล้า อาจหาญ ไม่ได้ระย่อ แต่ไม่ใช่พูดไม่หยุด ไม่มีจังหวะ ไม่มีกาละเทศะ พูดเรื่อย อัดไม่หยุด ไม่ได้ แบบนั้นคนเขาก็รำคาญ คนเขาก็เลยไม่เอาเลย เพราะฉะนั้น เราจะต้องเป็น พระธรรมกถึก ที่คนอื่นเขาจะต้องมีจังหวะจะโคน ต้องรู้ถึงกาละเทศะ ไม่ใช่เทศน์ตะพึด เข้าห้องส้วม ไม่มีใครเห็น ก็เทศน์ให้คนอยู่ข้างนอกเขาคิดว่า ต้องฟังน่ะนะ ฉันเข้าส้วมไป ฉันก็ เทศน์อยู่นั่นแหละ ทำงาน ทำอะไรไป เห็นไอ้โน่น ไอ้นี่ก็ทำ ก็เทศน์จังเลย คนเลยไม่อยาก จะทำงานด้วยหรอก โอ้โฮ ! ไอ้นี่ มันเหลือเกิน มันเหลือเกิน มันล้น ระวัง ต้องแกล้วกล้า แสดงธรรมแก่บริษัท

เอ้า! ก็ต้องปรามไว้ทั้งนั้น ประเดี๋ยวเขาก็รำคาญหมดเลย ขายไม่ออกเลย แม้จะมีธรรมะที่ดีจริงก็ตาม มันก็ขายไม่ออก คนเรามันไม่เอาล่ะ มันไม่ไหว มันต้องรู้จังหวะกาละเทศะ พระพุทธเจ้าถึงให้กำหนด ประมาณว่า ถ้าจะแสดงกับเขา ก็ต้องให้เขาศรัทธา ให้เขาเต็มใจรับ แล้วเขาก็ควรจะรับอย่างนั้น เมื่อนั้น อยู่ดีๆจังหวะจะโคน ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ตั้งใจรับ แต่ก็คิดว่า อันนี้ก็คงพอได้ ก็เอาเป็นคราวๆ แต่ไม่ใช่เสมอ ถ้าเขามาอย่างนี้ ก็เทศน์ไปเถอะ แม้แต่มาแล้วไม่เอา ยังว่าได้เลย จะมาเอา แล้วมานั่งหลับนี่หว่า ก็ว่าได้อย่างนี้ อย่างนี้มันคนละเวลาแล้ว มันกาละอย่างนี้ ต้องอย่างนี้แล้ว แต่เวลากาละอย่างอื่นละก็แหม ! ไม่ใช่กาละเลย ก็ยังเทศน์ อยู่นั่นแหละ โถ ! ประเดี๋ยวเขาก็ตุ๊บตั๊บ ให้เท่านั้นเอง ก็เหมือนกัน บอกว่า ถ้าไม่ได้อันนี้อีก แสดงว่าไม่บริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น เพราะฉะนั้น ต้องเสริมขึ้นไป ต้องเข้าสู่บริษัท ไม่ใช่อยู่แต่ในป่า ไม่ใช่อยู่แต่ในถ้ำ ไม่ใช่อยู่แต่ในที่ที่ตัวเองหมักๆ เก็บๆอยู่ตรงนั้น ไม่ใช่ ต้องเข้าสู่บริษัทได้ เข้าสู่บริษัท โดยถ้าเผื่อว่า มันจำเป็น ก็ต้องขวนขวาย หรือมันสมควรก็ต้องขวนขวาย ที่จะเข้าสู่บริษัท เข้าสู่บริษัท ก็คือ เข้าไปสู่หมู่คนนั่นแหละ เข้าไปสู่หมู่คน แล้วก็ต้องแกล้วกล้า อาจหาญ ที่จะแสดงธรรม แก่หมู่คน

เพราะฉะนั้น บางคนไม่แกล้วกล้า เพราะไม่มีทรัพย์ ไม่มีศรัทธา ไม่มีตัวเชื่อมั่น อาตมาแบ่งแล้ว บอกว่าศรัทธมีตัวเชื่อถือ นี่ก็พูดซ้ำซากนะ ฟังซ้ำซากได้ก็ฟังให้ดีๆนะ อย่าเบื่อ เชื่อถือ นี่ก็แต่ว่า เออ! ดีละๆ มีคนเชื่อถืออาตมาเยอะเหมือนกันตอนนี้ นักวิชาการ นักอะไรต่ออะไรก็มาเชื่อถือ นะ แต่ไม่ เชื่อฟัง เชื่อฟังภาษาไทยนี่ คือทำตามใช่ไหม ไม่ทำตามหรอก เชื่อ ดี ทำเถอะ ฉันยังไม่ทำหรอก บางทีก็แก้ว่า ฉันยังทำไม่ได้ ยังไม่ถึงเวลา น้ำหนักของจิต มันจะเป็นจริงๆนะ ว่ามันเชื่อแต่นั้นน่ะ แต่ถ้าน้ำหนักของจิต มีตัวศรัทธินทรีย์ ศรัทธา พละ มีศรัทธินทรีย์ที่สูงกว่านั้นจริงๆนะ เฮ้ย ! นี่ช้าไม่ได้ ต้องทำตาม ต้องทำแล้วเชื่อฟัง ถึงขั้นต้องปฏิบัติตามแล้ว ปฏิบัติตามซักหน่อยเถอะ เอาซักเรื่องเถอะ เอาซัก ๒ เรื่องเถอะ เอา ๓ เรื่องเถอะ เอาตามเถอะ เชื่อฟัง จนปฏิบัติตาม จนเกิดผล จนเห็นจริงเองเลย จะมีญาณปัญญา ญาณทัสสนะเข้าใจ ของจริงที่เราได้ ที่เราเป็น ที่เรามี เราหลุดพ้น เราเจริญบรรลุแท้จริงเลย นั่นแหละ ทีนี้คุณเชื่อมั่นอันนี้ของคุณ ไม่ได้เชื่อ ครูบาอาจารย์ ไม่ได้เชื่อเพราะปรัมปรา ไม่ได้เชื่อเพราะว่า ความเห็นเฉพาะแค่ความเห็น การวินิจฉัยเฉยๆ ไม่ได้เชื่อไอ้โน่นไอ้นี่ ไม่ได้เชื่ออะไรทั้งนั้นแหละ เชื่อเพราะของจริงที่มันเกิดจริง เป็นจริงแล้ว เป็นเชื่อมั่น ถ้าคุณมีตัวเชื่อมั่นนี่นะ คุณจะไม่กลัว บริษัทก็ไม่กลัว ต่อให้อยู่ต่อหน้าศัตรู เป็นหมู่บริษัทที่เป็นศัตรู อยู่ในกลุ่มหมู่บริษัทก็ไม่กลัว สูงสุดมันจะไม่กลัวจริงๆ มันจะแกล้วกล้า อาจหาญ

นี่ถามมาว่า สัทธาสูตร จะค้านกับกาลามสูตรหรือไม่
อธิบายจบปุ๊บ ถามมาปั๊บเลย เพราะไม่ให้เชื่อง่ายๆ ต่างกันอย่างไร กำลังอธิบาย พูดอยู่นี่ ถ้าเรายังไม่ถึงขั้นเชื่อมั่น ท่านก็บอกว่าไม่ให้เชื่อง่ายๆ ไม่ให้เชื่อตามกาลามสูตร ไม่ให้เชื่อตามคำสอน เชื่อตามปรัมปรากันมา เชื่อตามความเห็นทิฐิ เชื่อที่มันสอดคล้องกับความคิดเห็นของตน เชื่อคาดคะเนเอา เดาเอา เชื่อกับอะไรต่ออะไรต่างๆนานา ไม่เชื่อแม้แต่ครูบอก ก็เชื่อเลยทันที ไม่ใช่ ไม่ได้เชื่อแต่ครูบอก แต่ก็เชื่อครูบอกน่ะ เอาไปปฏิบัติจนเป็นจริง จนเห็นเอง เป็นเอง มีเอง เป็นกุศลอันนั้น จนบริบูรณ์แล้ว แล้วก็เชื่อมั่น มันจึงไม่ค้านแย้ง กับกาลามสูตรเลย อาตมาพูดจบ เมื่อกี้นี้เอง ถามมาทันที ไม่ได้เชื่อตามกาลามสูตร ไม่ค้านแย้งกัน กาลามสูตรว่าไว้นี่ถูกแล้ว แล้วเราก็ไม่ได้เชื่อตามนั้น แต่ก็เชื่อ ที่จริงก็เชื่อครูสอนเหมือนกัน แต่ว่ามันยังไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น มันยังไม่เห็นจริงหรอก มันยังไม่มั่นใจหรอก มันยังไม่เป็นตัวเชื่อมั่น เชื่อตามปรัมปรามา เหมือนกัน ปรัมปราพระพุทธเจ้าท่านก็อย่างนี้นะ ท่านไม่กินเนื้อสัตว์ ท่านไม่ใส่รองเท้า ท่านมักน้อยสันโดษ ยังงี้นะ ปรัมปราว่ามานะ เออ ! เหตุผล คะเน ด้นเดาเอาตามเหตุผล เออ! ใช่นะๆ มันควรจะจริง ก็เชื่อ แต่ก็ยังไม่มั่น กว่าจะเชื่อมั่น ศรัทธาพละมันต้องเกิดเองเป็นเอง พิสูจน์ถึงญาณทัสสนวิเสส มันถึงจะเชื่อ แล้วจะไม่กลัว ไม่เปลี่ยนแปลงด้วย แม้จะพูดไม่ออก ดูหน้าบริษัท เราเป็นอย่างนี้นี่ ทำไมแต่งตัวอย่างนี้น่ะ จะพูดว่าอย่างไรวะ เถียงเขาไม่ออก ไม่มีปัญหา ไม่มีภาษา ไม่มีโวหาร ไม่มีปฏิภาณ เถียงเขาไม่ได้ แต่ก็ยังเชื่อมั่นอยู่ นะ อยู่ในของตนเองนั่นแหละ แล้วก็ไม่กลัวอะไรหรอก ถ้ามันยังไม่สมบูรณ์นะ ถ้ามันสมบูรณ์ มันจะมีตัววิจิกิจฉา เอ๊ ! ทำไมเขาว่ายังงี้ ทำไมเขาถึงมา ท้วงมาทักนะ แต่ถ้าตัวที่บอกว่า ปัดโธ่เอ๊ย ! มาท้วงมาทักกันเท่านั้นน่ะ ฉันแน่ใจแล้วว่ามันดี มันวิเศษแล้ว มันสมบูรณ์แล้วมันจริง

เพราะฉะนั้น เขาจะท้วงจะทักมา เฉย ไม่หวั่นไหว ไม่วอบแวบ ไม่กระเทือนแม้เถียงไม่ออก แม้ไม่มีปฏิภาณเถียงอะไรก็เฉยๆ ไม่กลัว ไม่หวั่น ไม่ไหวจริงๆ จะต่อหน้าศัตรู ศัตรูประเภทที่มีคารม อย่างมากเลยนะ แหม ใส่ ฉอดๆๆๆๆๆ โอ้โฮ ! เถียงไม่ไหว สู้ไม่ได้ ก็ไม่กลัว ไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีปัญญาน่ะ รู้แจ้งอยู่ในใจเรา แต่พูดไม่ออก ไม่มีโวหาร ไม่มีปฏิภาณ ไม่มีความเฉลียวฉลาด พอที่จะแย้งเขาเลย

คนที่มีอริยทรัพย์ในตนจริง แต่ไม่เป็นพระธรรมกถึก จะทำให้เป็นพระธรรมกถึกได้อย่างไร
ต้องฝึกฝน มาให้ฝึกฝน หรือบางคนไม่มีทางเป็นธรรมกถึกเลย เป็นแค่กายสักขีได้อย่างเดียว ก็พยายามซิ เป็นแค่กายสักขี คือหมายความว่า ได้มีกายธรรม พูดไม่เป็น อธิบายไม่ออก มันก็ได้บอกแล้ว มันก็เป็นได้แค่นั้น แสดงได้แค่นั้น ถ้าแสดงด้วยวาจาได้ด้วย มันมีประโยชน์มาก แล้วมันก็มีบุญมาก เราได้แสดงทั้งปาก ทั้งภาษาพูด ทั้งกายธรรมด้วย มันก็มีบุญ ได้บุญมากด้วย แต่คนอื่น ก็ได้ประโยชน์มากด้วย

นักการเมืองมีอุดมการแต่ไม่มีศีล เป็นกรณีเดียวกันกับมีศรัทธา แต่ไม่มีศีล ใช่ไหมครับ

มีศรัทธา ก็บอกแล้วว่า มีศรัทธาอย่างไร มิจฉาศรัทธา ศรัทธาที่มันไม่ถูก ที่มันไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า ไม่เป็นตถาคตโพธิศรัทธา เป็นศรัทธานักการเมืองรุ่นก่อน ที่เป็นนักการเมืองประเภทเขี้ยวลากดิน หรืออะไรก็แล้วแต่ อะไรพวกนี้ พวกผี พวกมาร พวกไม่เข้าท่า พวกมิจฉา พวกไม่ดี ไปศรัทธาพวกนั้น มันก็มีหลักการพวกนั้น มันก็แย่ แต่ถ้ามีศีลของพระพุทธเจ้า มีศรัทธาของพระพุทธเจ้า มีความจริง แล้วก็ตัวเองเป็นจริง มันก็มี ถ้าไม่มีศีล ไม่มีศรัทธาของพระพุทธเจ้า มันก็ไม่ได้ศีล จนกระทั่ง ปฏิบัติบรรลุด้วยนะ เพราะเมื่อเจอลาภ ยศ สรรเสริญ อุดมการก็เพี้ยน แตกต่างกับ อุดมการด้วยศีลด้วย ใช่ ถ้าเจอลาภ ยศ สรรเสริญ เพราะว่ามันจะต้องละลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นโลกุตรบุคคล

เพราะฉะนั้น การเมืองในระดับโลกุตระนี้ อาตมายังไม่ได้พูดมาก ให้เขาไว้ใจ จนกระทั่งอาตมา จะสาธยาย การเมือง ๓ ระดับไว้ก่อน ตอนนี้ก็พูดให้พวกเราไปเท่านั้น อาตมายังไม่พูดถึง เรื่องการเมือง หรือว่ารัฐศาสตร์ จนกระทั่งเป็นวิชาการพวกนี้มากนัก เพราะว่าเขาโฆษณากัน มานานว่า ศาสนาไม่เกี่ยวกับการเมือง พูดไปแล้ว เขาก็หาว่า พวกนี้น่ะ มันนอกทางศาสนาพุทธ เขาเชื่ออย่างนั้น แต่ศาสนาพุทธนั้น มีโลกุตระแล้วจริง แล้วไม่ไปเล่นหรอก เอาจริงๆ อาตมาไม่เล่นหรอก เอาจริงๆ แล้วอาตมาก็ไม่ไปรับตำแหน่งหรอก อย่างฆราวาส เพราะอาตมา เอาวรรณะสมณพราหมณ์ อาตมาไม่เอาหรอก วรรณะแค่วรรณะกษัตริย์ หรือวรรณะแค่ผู้บริหาร ไม่เอา ใครจะรับก็รับไปเถอะ อาตมามั่นใจว่า อาตมาจะเอาตำแหน่ง หรือเอาวรรณะสมณพราหมณ์ อาตมาไม่ทำงานในระดับแค่กษัตริย์ แต่บอกได้ สอนได้ แนะนำได้ ระดับบริหาร ระดับบริการ ระดับนักผลิตก็ได้ แต่ไม่ไปยึดตำแหน่งด้วย ไม่ไปทำด้วย ไม่ไปเอาเป็นหน้าที่ด้วย หน้าที่รับผิดชอบ โดยตรง ไม่เป็นปุโรหิต เป็นปุโรหิต เป็นที่ปรึกษา หรือเป็นผู้ที่แนะนำให้ความรู้

ในฐานะที่จะพูดได้ก็คือ พ่อท่านองค์เดียว แต่ในฐานะอื่น ควรระวัง ไม่ควรทำตาม ก็มีคนกลัว เสียประโยชน์ ในพวกเรา ก็เลยอยากจะเป็นพระธรรมกถึก กลัวที่จะไม่ได้บริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น ก็เลยจะทำก่อน

ก็ระวังนะ ไม่ดีเหมือนกัน ไม่แกล้วกล้าที่จะแสดงธรรมต่อบริษัท นี่ต้องพยายามทำให้แกล้วกล้า เพราะฉะนั้น พวกเราหลายคน อย่างเมื่อคืนนี้ ขึ้นเวที แต่ก่อนนี้บอกว่า สมัยก่อนผมไม่กล้าเลยนะ ใครเล่า รินธรรม รินทองก็พูด รินธรรมก็พูดไม่ใช่เหรอ ทั้ง ๒ คนแหละ รินธรรมก็พูด เขาก็พูดเหมือนกันว่า ไม่กล้าหรอก แต่ก่อนไม่กล้า แต่เดี๋ยวนี้ ก็ไม่กลัวหรอก รินทองก็เหมือนกัน แต่ก่อนนี้กลัวนะ ไม่กล้าพูด แต่ตอนนี้ ทำไมมันกล้า มันกล้า เพราะมันมีทรัพย์ มีสมบัติ มีความเชื่อมั่น โดยเฉพาะศรัทธา ถึงขั้นเชื่อมั่น โดยปัญญา บอกแล้วว่า ปัญญามันแทรกทั้งหมด ทั้งศรัทธา ทั้งศีล ทั้งหิริ ทั้งโอตตัปปะ ทั้งตัวอะไรต่ออะไร มันแทรกอยู่ มันมีกำลังพิเศษนะ เป็นศรัทธินทรีย์ เป็นศรัทธาพละ มันมีกำลัง กำลังจริงๆ กำลังปัญญา กำลังศรัทธาประกอบกัน แล้วมันก็กล้าต่อบริษัท กล้ามันไม่หวั่นหวาดหรอก เพราะว่า เอ๊ ! มันแน่ บอกแล้วว่า ยิ่งมีตัวเชื่อมั่น มีตัวพละกำลังที