ธรรมพุทธสุดลึก
พุทธสิกขา หมวด ๑
ใจเป็นประธาน ๑
ใจเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง ใจเป็นใหญ่ ใจประเสริฐที่สุด ทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ
(มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ คาถาธรรมบท ข้อ ๑๑) |
ธรรมเป็นที่หนึ่ง ๑
ธรรมทาน ชนะทานทั้งปวง (สัพพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ)
รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง (สัพพัง รสัง ธัมมรโส ชินาติ)
ยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง (สัพพัง รติง ธัมมรตี ชินาติ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ คาถาธรรมบท ข้อ ๓๔) |
ศีลเยี่ยมที่หนึ่ง ๑
ศีลยอดเยี่ยมในโลก (สีลัง โลเก อนุตตรัง)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๗ สีลวีมังสนชาดกข้อ ๘๖) |
สัจจะเดียว ๑
สัจจะมีอย่างเดียวเท่านั้น มิได้มีสอง
(เอกัง หิ สัจจัง น ทุตียมัตถิ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๙ จูฬวิยูหสุตตนิเทส ข้อ ๕๔๙) |
อาหารเป็นหนึ่ง ๑
สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ เพราะอาหาร
(สัพเพ สัตตา อาหารัฏฐิติกา)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ สามเณรปัญหา ข้อ ๔) |
พุทธสิกขา หมวด ๒
ข้ามโอฆะ ๒
การข้ามโอฆะ (ห้วงน้ำอันคือกิเลสที่ท่วมทับจิตใจ) ข้ามได้ด้วย ๒ อย่างนี้
๑. เราไม่พัก (อัปปติฏฐัง)อยู่ (เท่ากับยังเพียรต่อไป)
๒. เราไม่เพียร (อนายูหัง)อยู่ (เท่ากับพัก หรือไม่ต่ออายุอิทธิบาท) เราข้ามโอฆะ (โอฆมตรินติ) ได้แล้ว
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๕ โอฆตรณสูตร ข้อ ๒) |
ถูกกล่าวหา ๒
ผู้ถูกกล่าวหา พึงตั้งอยู่ในความดี ๒ ประการ
๑. ความจริง (สัจจะ)
๒. ความไม่หวั่นไหวขุ่นเคือง (อกุปปะ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๗ ปาติโมกขฐปนขันธกะ) |
ธรรมคุ้มครองโลก ๒
ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ย่อมคุ้มครองโลก
๑. หิริ (ความละอาย ต่อการกระทำผิด)
๒. โอตตัปปะ (ความเกรงกลัว ต่อการกระทำผิด)
หากไม่มีธรรม ๒ อย่างนี้ คุ้มครองโลก โลกจะถึงความสำส่อนกัน เยี่ยงดิรัจฉาน
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ ปฐมปัณณาสก์ ข้อ ๒๕๕)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
หิริ (ความละอาย, ละอายใจต่อการทำความชั่ว)
โอตตัปปะ (ความกลัวบาป, เกรงกลัวต่อความชั่ว) |
ปัจจัยเกิดสัมมาทิฏฐิ ๒
ปัจจัย ๒ อย่าง ที่ทำให้สัมมาทิฏฐิ เกิดขึ้น
๑. ปรโตโฆสะ (การได้ฟังสัจจะมุมอื่น จากผู้รู้อื่นๆ หรือจากบัณฑิตอื่น จะไม่ติดยึด แต่ภูมิรู้ เดิมๆ ของตน)
๒. โยนิโสมนสิการ (ปรับใจ ปฏิบัติกระทำใจ ให้ละเหตุแห่งการเกิดกิเลสที่ใจ กระทำใจ ละให้เป็น ให้ถ่องแท้ ให้หยั่งลงไปถึง แดนเกิด คือ สมุทัย ที่ใจ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ มหาเวทัลสูตร ข้อ ๔๙๗)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ปรโตโมสะ (เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้น หรือชักจูงจากภายนอก คือ การรับฟัง คำแนะนำ สั่งสอน เล่าเรียนความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูง ของผู้อื่น โดยเฉพาะ การสดับ สัทธรรม จากท่านผู้เป็น กัลยาณมิตร)
โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจ โดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลาย ด้วยความคิด พิจารณา สืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผล จนตลอดสาย แยกแยะออก พิเคราะห์ดู ด้วยปัญญา ที่คิดเป็นระเบียบ และโดยอุบายวิธี ให้เห็นสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะ และ ตามความสัมพันธ์ แห่งเหตุปัจจัย) |
ทาง ๒ สาย
๑. ทางไปสู่ความเป็นอาริยะ (อลมริยา)
๒. ทางไปสู่ความไม่เป็นอาริยะ (นาลมริยา)
(พตปฎ. เล่ม ๙ ข้อ ๒๖๓-๒๖๔) |
รูป ๒
๑. มหาภูตรูป (คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม รูปกายภายนอก)
๒. อุปาทายรูป (รูปที่อาศัยมหาภูตะไปอยู่ในใจ)
(พตปฎ. เล่ม ๑๔ ข้อ ๘๓)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
รูป ๒ (สภาวะที่แปรปรวน แตกสลาย เพราะปัจจัยต่าง ๆ อันขัดแย้ง, ร่างกาย และ ส่วนประกอบ ฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งพฤติกรรม และคุณสมบัติของมัน, ส่วนที่เป็นร่าง กับทั้งคุณ และอาการ)
๑. มหาภูต หรือ ภูตรูป ๔ (สภาวะอันปรากฏได้เป็นใหญ่ ๆ โต ๆ หรือเป็นต่าง ๆ ได้มากมาย, รูปที่มีอยู่ โดยสภาวะ, รูปต้นเดิม ได้แก่ ธาตุ ๔)
๒. อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป ๒๔ (รูปอาศัย, รูปที่เป็นไป โดยอาศัย มหาภูต, คุณและอาการแห่ง มหาภูต) อุปาทายรูป ๒๔ ได้แก่
๑. จักขุ (ตา) ๒. โสต (หู) ๓. ฆาน (จมูก)
๔. ชิวหา ( ลิ้น) ๕. กาย (กาย)
ทั้ง ๑- ๕ นี้เรียก ปสาทรูป ๕
๖. รูปะ (รูป) ๗. สัททะ (เสียง) ๘. คันธะ (กลิ่น)
๙. รสะ (รส) ๑๐. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)
ทั้ง ๖-๑๐ นี้เรียก โคจรรูป หรือ วิสัยรูป ๕ แต่ข้อ ๑๐ นี้ไม่นับรวมใน ๒๔
เพราะเป็น อันเดียวกับ มหาภูต ๓ คือ ปฐวี เตโช และ วาโย ในมหาภูต
๑๐. อิตถัตตะ, อิตถินทรีย์ (ความเป็นหญิง)
๑๑. ปุริสัตตะ, ปุริสินทรีย์ (ความเป็นชาย)
ทั้งข้อ ๑๐-๑๑ เรียก ภาวรูป ๒ (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ)
๑๒. หทัยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งใจ,หัวใจ) เรียก หทยรูป ๑ (รูปคือหทัย)
๑๓. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต) เรียก ชีวิตรูป ๑ (รูปที่เป็นชีวิต)
๑๔. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว, อาหารที่กิน) เรียก อาหารรูป ๑ (รูปคืออาหาร)
๑๕. อากาสธาตุ (สภาวะคือช่องว่าง) เรียกปริจเฉทรูป ๑ (รูปที่กำหนดเทศะ)
๑๖. กายวิญญัติ (การเคลื่อนไหว ให้รู้ความหมายด้วยกาย)
๑๗. วจีวิญญัติ (การเคลื่อนไหว ให้รู้ความหมายด้วยวาจา)
ข้อ ๑๖ , ๑๗ รวมเรียก วิญญัติรูป ๒ (รูปคือการเคลื่อนไหว ให้รู้ความหมาย)
๑๘. (รูปัสส) ลหุตา (ความเบา)
๑๙. (รูปัสส) มุทุตา (ความอ่อนสลวย)
๒๐. (รูปัสส) กัมมัญญตา (ความควรแก่การงาน, ใช้การได้)
ข้อ ๑๘ ๒๐ และวิญญัติรูป ๒ รวมเรียกว่า วิการรูป ๕ (รูปคือ อาการที่ดัดแปลง ทำให้แปลก ให้พิเศษได้) แต่วิญญัติรูป ๒ ได้นับไว้ ก่อนหน้านี้แล้ว
๒๑. (รูปัสส) อุปจย (ความก่อตัวหรือเติบขึ้น)
๒๒. (รูปัสส) สันตติ (ความสืบต่อ)
๒๓. (รูปัสส) ชรตา (ความทรุดโทรม)
๒๔. (รูปัสส) อนิจจตา (ความปรวนแปร แตกสลาย)
ข้อ ๒๑-๒๔ รวมเรียกว่า ลักขณรูป ๔ (รูปคือลักษณะ หรืออาการ เป็นเครื่องกำหนด |
อายตนะ ๒ (เครื่องอาศัย) ของพระอรหันต์
๑. เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
๒. สัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาที่เคล้าเคลียอารมณ์
ผู้ที่รู้แจ้งนิโรธ ย่อมอาศัยอายตนะ เพื่อรู้การสิ้นอวิชชาสวะ
(อายตนะ ๒ เป็นสิ่งอาศัย ซึ่งกันและกัน ใช้เป็นเครื่องอยู่อาศัย เป็นนิโรธลืมตา ที่มีความรู้ ตื่นเต็ม)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ ฌานสูตร ข้อ ๒๔๐) |
อุปัญญาตธรรม ๒ (ความรู้ทั่วถึงในคุณของธรรม)
๑. ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรม (อสันตุฏฐิตา) กุศลไม่เที่ยง จึงบูรณาการได้อีก
๒. ความเป็นผู้ไม่ย่อหย่อนในความเพียร (อัปปฏิวาณิตา)
(พตปฎ. เล่ม ๒๐ ข้อ ๒๕๑)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อุปัญญาตธรรม ๒ (ธรรมที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงปฏิบัติ เห็นคุณประจักษ์ กับพระองค์เอง คือ พระองค์ ได้ทรงอาศัย ธรรม ๒ อย่างนี้ ดำเนินอริยมรรค จนบรรลุ จุดหมายสูงสุด คือ สัมมาสัมโพธิญาณ)
๑. อสนฺตุฏฺฐิตา กุสเลสุ ธมฺเมสุ (ความไม่สันโดษในกุศลธรรม, ความไม่รู้อิ่ม ไม่รู้พอ ในการสร้าง ความดี และ สิ่งที่ดี)
๒. อปฺปฏิวาณิตา ปธานสฺมึ (ความไม่ระย่อ ในการพากเพียร, การเพียรพยายาม ก้าวหน้า เรื่อยไป ไม่ยอมถอยหลัง) |
พุทธสิกขา หมวด ๓
การละทิฏฐิ ๓
๑. รู้เห็นด้วยองค์แห่งสัมผัส จักษุ/ตา (รวมถึง รูป จักษุสัมผัส จักษุวิญญาณ รู้อยู่ เห็นอยู่ แม้สุข-ทุกข์-ไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดโดยจักขุสัมผัส) โสต/หู (รวมถึง เสียง โสตสัมผัส โสตวิญญาณ รู้อยู่ เห็นอยู่ แม้สุข-ทุกข์-ไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดโดยโสตสัมผัส) ฆานะ/จมูก (รวมถึง กลิ่น ฆานสัมผัส ฆานวิญญาณ รู้อยู่ เห็นอยู่ แม้สุข-ทุกข์-ไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดโดย ฆานสัมผัส) ชิวหา/ลิ้น (รวมถึง รส ชิวหาสัมผัส ชิวหาวิญญาณ รู้อยู่ เห็นอยู่ แม้สุข-ทุกข์-ไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดโดย ชิวหาสัมผัส) กาย (รวมถึง โผฏฐัพพะ กายสัมผัส กายวิญญาณ รู้อยู่ เห็นอยู่แม้สุข-ทุกข์-ไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดโดยกายสัมผัส) มโน/ใจ (รวมถึง ธรรมารมณ์ มโนสัมผัส มโนวิญญาณ รู้อยู่ เห็นอยู่ แม้สุข-ทุกข์-ไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดโดย มโนสัมผัส) ซึ่งเห็น โดยความไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงละมิจฉาทิฏฐิได้
๒. รู้เห็นด้วยองค์แห่งสัมผัส จักษุ/ตา (รวมถึง...) โสต/หู (รวมถึง...) ฆานะ/จมูก (รวมถึง...) ชิวหา/ลิ้น (รวมถึง...) กาย (รวมถึง...) มโน/ใจ (รวมถึง...) ซึ่งเห็นโดยความเป็นทุกข์ (ทุกขโต) จึงละสักกายทิฏฐิได้
๓. รู้เห็นด้วยองค์แห่งสัมผัส จักษุ/ตา (รวมถึง...) โสต/หู (รวมถึง...) ฆานะ/จมูก (รวมถึง...) ชิวหา/ลิ้น (รวมถึง...) กาย (รวมถึง...) มโน/ใจ (รวมถึง...) ซึ่งเห็นโดยความเป็นอนัตตา (อนัตตโต) จึงละอัตตานุทิฏฐิได้
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๘ ข้อ ๒๕๔ - ๒๕๖) |
กิเลส ๓
คือความชั่วที่ชักพาจิตใจให้ทำชั่ว มี ๓ ระดับ
๑. วีติกกมกิเลส (กิเลสหยาบๆ เห็นง่ายๆ ในสามัญสำนึก)
๒. ปริยุฏฐานกิเลส (กิเลสขั้นกลาง ผุดเกิดในจิตใต้สำนึก)
๓. อนุสัยกิเลส (กิเลสละเอียด แตกตัวลึกๆ อยู่ในจิตไร้สำนึก)
(ทางเอก ภาค ๒ หน้า ๕๕)
|
คนที่หาได้ยาก ๓
บุคคลที่หาได้ยากในโลก ก็คือ
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. ผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
๓. ผู้กตัญญูกตเวที (รู้คุณและตอบแทนคุณ)
(พระไตรปิฎกเล่ม ๒๐ ทุลลภสูตร ข้อ ๕๕๔)
|
ญาณทัสสนะ ๓
คือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นตามเป็นจริงในอาริยสัจ
๑. สัจจญาณ คือปัญญาหยั่งรู้จริงในอาริยสัจ กำหนดรู้ให้ครบ (ปริญเญยยันติ)
๒. กิจจญาณ คือปัญญาหยั่งรู้กิจในอาริยสัจ กิจที่กำลังละล้างกิเลส (ปหาตัพพันติ)
๓. กตญาณ คือปัญญาหยั่งรู้การทำกิจแล้วในอาริยสัจ รู้การจบกิจแล้วให้แจ่มแจ้ง (สัจฉิกาตัพพันติ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๔ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ข้อ ๑๖)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ญาณ ๓ คือความหยั่งรู้, ปรีชาหยั่งรู้
๑. สัจจญาณ (หยั่งรู้สัจจะ คือ ความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่างตามที่เป็นๆ ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
๒. กิจจญาณ (หยั่งรู้กิจ คือ ความหยั่งรู้กิจ อันจะต้องทำ ในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างว่า ทุกข์ ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัย ควรละเสีย ทุกขนิโรธ ควรทำให้แจัง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ควรเจริญ
๓. กตญาณ หยั่งรู้การอันทำแล้ว คือ ความหยั่งรู้ว่า กิจอันจะต้องทำ ในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างนั้น ได้ทำสำเร็จแล้ว |
ตัณหา ๓
ความดิ้นรนปรารถนา (ตัณหา) มี ๓ อย่าง คือ
๑.กามตัณหา (ใคร่อยากในกามภพ อันอาศัยรูปภายนอก)
๒.ภวตัณหา (ความใคร่อยากได้รูปภพภายใน และอรูปภพ)
๓.วิภวตัณหา (อยากได้ความไม่มีภพ หรือ อยากพ้นไปจากภพ, หรือปรารถนา สิ่งที่ไม่ใช่ภพ เพื่อตน เป็นตัณหาแห่งอุดมการณ์ ที่อาศัยไว้ เพื่อดำเนินความดีไป เช่นนั้นเอง)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ ตัณหาสูตร ข้อ ๓๗๗)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ตัณหา ๓ (ความทะยานอยาก)
๑.กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กามคุณ คือสิ่งสนอง ความต้องการ ทางประสาท ทั้งห้า
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ, ความอยากในภาวะของตัวตน ที่จะได้จะเป็น อย่างใด อย่างหนึ่ง อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป, ความใคร่อยาก ที่ประกอบด้วย ภวทิฏฐิ หรือ สัสสตทิฏฐิ
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ, ความอยากในความพรากพ้นไป แห่งตัวตน จากความเป็น อย่างใด อย่างหนึ่ง อันไม่ปรารถนา อยากทำลาย อยากดับสูญ, ความใคร่อยาก ที่ประกอบด้วย วิภวทิฏฐิหรือ อุจเฉททิฏฐิ
|
ไตรลักษณ์ ๓ /สามัญลักษณะ ๓
คือ ลักษณะ ๓ อย่างของทุกสรรพสิ่งในโลก
๑. อนิจจัง (ความไม่เที่ยง)
๒. ทุกขัง (ความเป็นทุกข์)
๓. อนัตตา (ความไม่ใช่ตัวตน)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ คาถาธรรมบท ข้อ ๓๐) |
ทั้งหมดของพรหมจรรย์ ๓
ทั้ง ๓ อย่างนี้เป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของพรหมจรรย์ คือทั้งสิ้นของศาสนา (พรหมจรรย์ คือ การประพฤติธรรม อันประเสริฐ)
๑. มิตรดี (กัลยาณมิตโต) มิตรผู้มี ทิฏฐิ ตรงกัน ปรารถนาดีต่อกัน
๒. สหายดี (กัลยาณสหาโย) มิตรดี ผู้มีความร่วมมือ ร่วมประโยชน์ดี
๓. สังคมสิ่งแวดล้อมดี (กัลยาณสัมปวังโก)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ อุปัฑฒสูตร ข้อ ๕)
|
เทพ ๓
เทพหรือเทวดา คือ ผู้ที่มีจิตใจสูง
๑. สมมติเทพ (คนที่มีสภาวะจิตเสพโลกียสุขได้สมใจ)
๒. อุปปัตติเทพ (คนที่มีสภาวะจิตเกิดความเป็นอาริยะ)
๓. วิสุทธิเทพ (คนที่มีสภาวะจิตบริสุทธิ์ขั้นอรหัตตผล)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๓๐ โสฬสมาณวกปัญหานิคมนิเทส ข้อ ๖๕๔)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สมมติเทพ (เทวดาโดยสมมติ ได้แก่ พระราชา พระเทวี และพระราชกุมาร)
อุปปัตติเทพ (เทวดาโดยกำเนิด ได้แก่เทวดา ในกามาวจรสวรรค์ และ พรหมทั้งหลาย เป็นต้น)
วิสุทธิเทพ (เทวดาโดยความบริสุทธิ์ ได้แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระอรหันต์ ทั้งหลาย) |
ปริญญา ๓
ปริญญาคือการกำหนดรู้กิเลสรอบถ้วน (แยกแยะด้วย ธัมมวิจัย สัมโพชฌงค์) ๓ อย่าง
๑. ญาตปริญญา (กำหนดรู้ตัวกิเลสเมื่อผัสสะ)
๒. ตีรณปริญญา (กำหนดรู้แยกแยะพิจารณากิเลส)
๓. ปหานปริญญา (กำหนดรู้การลดละเลิกกิเลส)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๙ คุหัฏฐกสุตตนิเทส ข้อ ๖๒)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ญาตปริญญา กำหนดรู้ด้วยให้เป็นสิ่งอันรู้แล้ว, กำหนดรู้ขั้นรู้จัก, กำหนดรู้ ตามสภาวลักษณะ คือ ทำความรู้จัก จำเพาะตัว ของสิ่งนั้นโดยตรง พอให้ชื่อว่า ได้เป็นอันรู้จัก สิ่งนั้นแล้ว เช่นว่ารู้ นี้คือเวทนา เวทนาคือ สิ่งที่มีลักษณะ เสวยอารมณ์ ดังนี้ เป็นต้น
ตีรณปริญญา กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา, กำหนดรู้ขั้นพิจารณา, กำหนดรู้โดย สามัญลักษณะ คือ ทำความรู้จักสิ่งนั้น พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เช่นว่า เวทนาไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไป เป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ดังนี้เป็นต้น
ปหานปริญญา กำหนดรู้ด้วยการละ, กำหนดรู้ถึงขั้นละได้, กำหนดรู้โดยตัดทาง มิให้ฉันทราคะ เกิดมี ในสิ่งนั้น คือรู้ว่า สิ่งนั้นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ว ละนิจจสัญญา เป็นต้น ในสิ่งนั้น เสียได้
|
ปัญญา ๓
การเกิดปัญญา (ความรู้) มี ๓ อย่างคือ
๑. จินตามยปัญญา (ปัญญาสำเร็จ ด้วยการคิดทบทวน)
๒. สุตมยปัญญา (ปัญญาสำเร็จ ด้วยการฟังบัณฑิต)
๓. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาสำเร็จ ด้วยการกระทำ อบรมจิต จนรู้แจ้งเห็นจริง ในผลการปฏิบัติ ที่ละได้ของตน)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ สังคีติสูตร ข้อ ๒๒๘)
ความหมายจากพจนานุกรมพุทธศาสน์
๑. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดแต่การคิดการพิจารณา หาเหตุผล
๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดแต่การสดับ การเล่าเรียน
๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดแต่กาฝึกอบรม ลงมือปฏิบัติ |
ปาฏิหาริย์ ๓
ความน่าอัศจรรย์ (ปาฏิหาริย์) ๓ อย่างนี้ คือ
๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (แสดงฤทธิ์ทางใจได้น่าอัศจรรย์)
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ดักทายใจ หยั่งรู้จิตอื่น อันต่างกันได้น่าอัศจรรย์)
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (สอนวิชชา ๘ ให้พ้นทุกข์ได้จริง น่าอัศจรรย์) ตถาคต เล็งเห็นโทษ ในอิทธิปาฏิหาริย์ และ อาเทสนาปาฏิหาริย์ จึงอึดอัด (อัฏฏิยามิ) ระอา (หรายามิ) เกลียดชัง (ชิคุจฉามิ) ในปาฏิหาริย์ ๒ อย่างนี้
(พระไตรปิฎก เล่ม ๙ เกวัฏฏสูตร ข้อ ๓๓๙-๓๔๑)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์, แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์)
อาเทศนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ, รอบรู้กระบวนของจิต จนสามารถกำหนด อาการที่หมาย เล็กน้อย แล้วบอกสภาพของจิต ความคิด อุปนิสัย ได้ถูกต้อง เป็นอัศจรรย์)
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือ อนุศาสนี, คำสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติ ได้ผลสมจริง เป็นอัศจรรย์)
|
เพียรพยายามจะมีผล ๓
ความเพียร (วิริยะ) ความพยายาม (วายามะ) จะมีผล เพราะ
๑. ไม่เอาทุกข์ทับถมตน ที่ไม่มีทุกข์ทับถม
๒. ไม่สละความสุข ที่เกิดโดยธรรม
๓. ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในความสุขนั้น
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ เทวทหสูตร ข้อ ๑๒) |
มนุษย์ชาวชมพูทวีป
ประกอบด้วยลักษณะ ๓
๑. เป็นผู้กล้า (สุรา)
๒. เป็นผู้มีสติ (สติมันโต)
๓. เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์อันเยี่ยม (อิธ พรหมจริยวาโส)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ ฐานสูตร ช้อ ๒๒๔) |
ละทิฏฐิ ๓
ทิฏฐิ (ความเห็น) ที่ไม่ดี ๓ อย่างนี้ละได้ด้วย
๑. รู้เห็นความไม่เที่ยง (อนิจจตา) ด้วยองค์แห่งสัมผัส ๖
จึงละมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ได้
๒. รู้เห็นทุกข์ (ทุกขตา) ด้วยองค์แห่งสัมผัส ๖
จึงละสักกายทิฎฐิ (ความเห็นว่า กิเลส เป็นตัวเราได้
๓. รู้เห็นความหมดตัวตน (อนัตตา) ด้วยองค์แห่งสัมผัส ๖
จึงละอัตตานุทิฏฐิ (ความเห็นที่ยึด เป็นตัวตน)ได้
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๘ มิจฉาทิฏฐิสูตร ข้อ ๒๕๔-๒๕๖)
องค์แห่งสัมผัส ๖ ได้แก่
๑) จักษุ รูป-จักษุวิญญาณ-จักษุสัมผัส-เวทนา ๓ อันเกิดจากจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย
๒) หู เสียง โสตวิญญาณ...
๓) จมูก- กลิ่น- ฆานวิญญาณ...
๔) ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ...
๕) กาย-โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ...
๖) ใจ ธรรมารมย์- มโนวิญญาณ... |
ลัทธินอกพุทธ ๓
๑. ปุพเพกตเหตุวาท (ลัทธิที่มีวาทะ มีความเชื่อว่า ทั้งหมด มีแต่กรรมเก่า เป็นเหตุ)
๒. อิสสรนิมมานเหตุวาท (ลัทธิที่มีวาทะ มีความเชื่อว่า ทั้งหมด ล้วนแต่พระเจ้า หรือ เทพเจ้า เนรมิต)
๓. อเหตุอัปปัจจยวาท (ลัทธิที่มีวาทะ มีความเชื่อว่า ทั้งหมดล้วน ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ ติตถยตนสูตร ข้อ ๕๐๑) |
วิชชา ๓
คือความรู้แจ้งอันพาสู่ความพ้นทุกข์หมดกิเลส
๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (การย้อนระลึกถึง การเกิดกิเลสเก่าก่อน มารู้อาริยสัจจะ จนหายโง่ จากอวิชชา)
๒. จุตูปปาตญาณ (รู้เห็นการเกิด-การดับของจิตที่ดับเชื้อกิเลส แล้วเกิดเป็น สัตว์เทวดา หรือ สัตว์อาริยะ)
๓. อาสวักขยญาณ (ญาณที่รู้การหมดสิ้นอาสวะกิเลสของตน)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ สันทกสูตร ข้อ ๓๑๐)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้, ระลึกชาติได้)
จุตูปปาตญาณ (ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติ แห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไป ตามกรรม, เห็นการเวียนว่าย ตายเกิด ของสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุญาณ)
อาสวักขยญาณ (ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย, ความรู้ที่ทำให้ สิ้นอาสวะ, ความตรัสรู้)
|
วิโมกข์ ๓ , นิพพาน ๓
๑. สุญญตวิโมกข์ , สุญญตสมาธิ (นิพพานโดยการเห็นความว่าง ของตัวกิเลส หมดความยึดมั่น จากอำนาจกิเลส)
๒. อนิมิตตวิโมกข์ , อนิมิตตสมาธิ (นิพพานด้วยไม่ต้องถือนิมิต)
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ , อัปปณิหิตสมาธิ (นิพพานโดยไม่ทำความปรารถนา)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๓๑ มหาวรรควิโมกขกถา ข้อ ๔๖๙)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้น ที่เกิดจาก ปัญญา พิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วย เห็นอนัตตา แล้วถอน ความยึดมั่น เสียได้)
อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้น ที่เกิดจากปัญญา พิจารณาเห็น นามรูป โดยความเป็น อนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วย เห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิต เสียได้)
อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้น ที่เกิดจาก ปัญญา พิจารณา เห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วย เห็นทุกขตา แล้วถอน ความปรารถนา เสียได้) |
วิเวก ๓
วิเวกคือความสงบสงัดกิเลส มี ๓ อย่าง
๑. กายวิเวก (กายอันคือกองประชุมสงบสงัดกิเลส) = เนกขัมมะ
๒. จิตตวิเวก (จิตสงบสงัดกิเลส) = บำเพ็ญฌาน
๓. อุปธิวิเวก (ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่า อุปธิ) ขันธ์อันปราศจากอุปธิ = นิพพาน
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๙ คุหัฏฐกสุตตนิเทส ข้อ ๓๓)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
กายวิเวก คือความสงัดกาย ได้แก่ อยู่ในที่สงัดก็ดี ดำรงอิริยาบถ และเที่ยวไป ผู้เดียว ก็ดี
จิตตวิเวก คือความสงัดใจ ได้แก่ทำจิตให้สงบ ผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ สังโยชน์ และอนุสัย เป็นต้น หมายเอา จิตแห่งท่านผู้บรรลุฌาน และ อริยมรรค อริยผล
อุปธิวิเวก คือความสงัดอุปธิ ได้แก่ธรรมเป็นที่สงบระงับ สังขารทั้งปวง ปราศจากกิเลส ก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขาร ก็ดี ที่เรียกว่า อุปธิ หมายเอา พระนิพพาน |
ศาสดา ๓ จำพวกที่ควรทักท้วง
๑. ไม่บรรลุธรรม บอกสอนสาวกเขาก็ไม่ฟัง และสาวกก็ไม่ได้บรรลุธรรมตาม
๒. ไม่บรรลุธรรม สอนสาวกก็เคารพเชื่อฟังดี แต่สาวกก็ไม่ได้บรรลุธรรมตาม
๓. บรรลุธรรมแล้ว บอกสอนสาวก แต่ไม่เชื่อฟัง และสาวกเอง ก็ไม่ได้บรรลุธรรมตาม
ศาสดา ที่ไม่ควรท้วงคือ เป็นผู้บรรลุธรรมแล้ว ย่อมบอกสอน ให้สาวก บรรลุธรรม ตามได้
(พระไตรปิฎก เล่ม ๙ โลหิจจสูตร ข้อ ๓๕๑) |
สมาธิ ๓
๑. ขณิกสมาธิ (จิตตั้งมั่นชั่วขณะ)
๒. อุปจารสมาธิ (จิตตั้งมั่นจวนจะแน่วแน่)
๓. อัปปนาสมาธิ (จิตตั้งมั่นแน่วแน่ - แนบแน่น)
(พระไตรปิฎก อรรถกถาแปล เล่ม ๗๕ หน้า ๒๓๒ และ คัมภีร์วิสุทธิมรรค)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สมาธิ ๓ (ความตั้งมั่นแห่งจิต, ภาวะที่จิตสงบนิ่ง จับอยู่ที่อารมณ์ อันเดียว)
๑. ขณิกสมาธิ (สมาธิชั่วขณะ)
๒. อุปจารสมาธิ (สมาธิจวนจะแน่วแน่)
๓. อัปปนาสมาธิ (สมาธิแน่วแน่) |
สังโยชน์ ๓
คือกิเลสที่ผูกมัดจิตใจไว้กับทุกข์
๑. สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นว่ากิเลส (ระดับหยาบ) เป็นตัวเรา
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยในตัวตน สักกายะกิเลส)
๓. สีลัพพตปรามาส (การถือศีลอย่างลูบๆ คลำๆ ย่อหย่อนในศีลพรต ทำเหยาะๆ แหยะๆ ไม่เอาจริง ยังอสุรกายอยู่)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ สังคีติสูตร ข้อ ๒๒๘)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สักกายทิฏฐิ คือความเห็นว่า เป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น
วิจิกิจฉา คือความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ
สีลัพพตปรามาส คือความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่า จะบริสุทธิ์ หลุดพ้นได้ เพียงด้วย ศีลและวัตร |
สัมมากัมมันตะ ๓ (ที่ยังเป็นสาสวะ)
อันเป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญญภาคิยา)
ให้ผลแก่ขันธ์ (มีอุปธิวิบาก , อุปธิเวปักกา)
๑. งดเว้นจากปาณาติบาต (ปาณาติปาตา เวรมณี)
๒. งดเว้นจากอทินนาทาน (อทินนาทานา เวรมณี)
๓. งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร (กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๗๒) |
สัมมาสังกัปปะ ๓ (ที่ยังเป็นสาสวะ)
อันเป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญญภาคิยา)
ให้ผลแก่ขันธ์ (มีอุปธิวิบาก , อุปธิเวปักกา)
๑. ความดำริออกจากกาม (เนกขัมมสังกัปโป)
๒. ดำริในความไม่พยาบาท (อพยาปาทสังกัปโป)
๓. ดำริในความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสาสังกัปโป)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๖๒) |
สุขอุปบัติ ๓ อย่าง
๑. สัตว์พวกที่ยังความสุขให้เกิดขึ้น ๆ แล้วย่อมอยู่เป็นสุข มีอยู่ เช่น พวกเทพเหล่า พรหมกายิกา
๒. สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุข มีอยู่ สัตว์เหล่านั้น บางครั้ง บางคราว เปล่งอุทานว่า สุขหนอ ๆ ดังนี้ เช่น พวกเทพเหล่า อาภัสสรา
๓. สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุข มีอยู่ สัตว์เหล่านั้น สันโดษ เสวยความสุขทางจิต อันประณีตเท่านั้น (ไม่เปล่ง) เช่น พวกเทพเหล่า สุภกิณหา
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ ข้อ ๒๒๘) |
เสพไม่รู้จักอิ่ม ๓
สิ่งที่เสพไม่รู้จักอิ่ม ๓ ประการคือ
๑. เสพความหลับ
๒. เสพสุราเมรัย (ของมึนเมา)
๓. เสพเมถุน (ร่วมประเวณี)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ อติตติสูตร ข้อ ๕๔๘) |
โสดาบัน ๓
คือผู้เริ่มเข้าถึงกระแสธรรม ที่เที่ยงต่อการตรัสรู้
๑. เอกพีชี (โสดาบันที่เกิดอาริยชาติ อีกเพียงส่วนเดียว แล้วจักทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้ (พระบาลี ไม่มีคำว่า ชาติ หรือ เป็นการเกิด แบบเป็นตัว ๆ เลย)
๒. โกลังโกละ (โสดาบันที่เกิดในสุคติภพ อีก ๒-๖ ส่วนสังโยชน์ ก็จักทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้)
๓. สัตตักขัตตุปรมะ (โสดาบันที่เวียนเกิด ในสุคติภพ หรือ อาริยชาติ อีกเพียง ๗ ส่วนสังโยชน์ ก็จักทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ เสขสูตร ข้อ ๕๒๘)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
เอกพีชี (ผู้มีพืชคืออัตตภาพอันเดียว คือ เกิดอีกครั้งเดียว ก็จักบรรลุอรหัต)
โกลังโกละ (ผู้ไปจากสกุลสู่สกุล คือ เกิดในตระกูลสูงอีก ๒-๓ ครั้ง หรือเกิดในสุคติอีก ๒-๓ ภพ ก็จักบรรลุ อรหัต)
สัตตักขัตตุปรมะ (ผู้มีเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง คือ เวียนเกิดในสุคติภพ อีกอย่างมาก เพียง ๗ ครั้ง ก็จักบรรลุ อรหัต) |
หญิงที่ไปนรก ๓
หญิงที่ประพฤติ ๓ อย่างนี้ ย่อมเข้าถึง
อบาย (ฉิบหาย)
ทุคติ (ไปชั่ว) วินิบาต (ทุกข์ทรมาน) นรก (เร่าร้อนใจ) คือ
๑. เวลาเช้า มีความตระหนี่ กลุ้มรุมจิตใจ
๒. เวลาเที่ยง มีความริษยา กลุ้มรุมจิตใจ
๓. เวลาเย็น มีกามราคะ กลุ้มรุมจิตใจ
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๘ มาตุคามสูตร ข้อ ๔๖๗) |
อธิปไตย ๓
คือความเป็นใหญ่ที่ถูกต้องดีงาม
๑. อัตตาธิปไตย (คนที่มีตนเป็นใหญ่โดยละชั่วทำดี มีสติพิจารณา จนเกิดอธิปไตย ให้แก่ตน)
๒. โลกาธิปไตย (คนที่มีโลกเป็นใหญ่ โดยละชั่วทำดี มีปัญญาเพ่งพินิจ ไปกับงาน ของโลก)
๓. ธรรมาธิปไตย (คนที่มีธรรมเป็นใหญ่ โดยละชั่ว ทำดี เป็นผู้ประพฤติ โดยสมควร แก่ธรรม)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ อธิปไตยสูตร ข้อ ๔๗๙)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่, ถือตนเป็นใหญ่, กระทำการด้วยปรารภตน เป็นประมาณ)
โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่, ถือโลกเป็นใหญ่, กระทำการด้วยปรารภ นิยมของโลก เป็นประมาณ)
ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่, ถือธรรมเป็นใหญ่, กระทำการด้วยปรารภ ความถูกต้อง เป็นจริง สมควรตามธรรม เป็นประมาณ)
|
อปัณณกปฏิปทา ๓
คือข้อปฏิบัติไม่ผิดในทางพุทธ เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ (กิเลสหมักหมม ในสันดาน)
๑. อินทรียสังวร (การสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ทวาร คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
๒. โภชเนมัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในสัดส่วน . ทั้งอาหารกาย, อาหารอารมณ์, อาหารวิญญาณ)
๓. ชาคริยานุโยค (การหมั่นทำความตื่น ออกจากกิเลสโลกีย์ อยู่เสมอ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ อปัณณกสูตร ข้อ ๔๕๕)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อินทรียสังวร (การสำรวมอินทรีย์ คือระวังไม่ให้ บาปอกุศลธรรม ครอบงำใจ เมื่อรับรู้ อารมณ์ ด้วยอินทรีย์ ทั้ง ๖)
โภชเน มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในการบริโภค คือรู้จักพิจารณา รับประทานอาหาร เพื่อหล่อเลี้ยง ร่างกาย ใช้ทำกิจ ให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนาน มัวเมา)
ชาคริยานุโยค (การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือ ขยันหมั่นเพียร ตื่นตัว อยู่เป็นนิตย์ ชำระจิต มิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอ ทุกเวลา ที่จะปฏิบัติกิจ ให้ก้าวหน้าต่อไป) |
อัตตา ๓
ความยึดเป็นตัวตน (อัตตา) มี ๓ อย่างคือ
๑. โอฬาริกอัตตา (การยึดครอง หรือได้ตัวตน วัตถุภายนอก เช่น คน สัตว์ สิ่งของต่าง ๆ)
๒. มโนมยอัตตา (การยึดครอง หรือได้อัตตา ที่สำเร็จด้วยใจ จิตปั้นจินตนาการต่าง ๆ ปั้นรูปสัญญา ไม่อาศัย วัตถุภายนอก หยาบ ๆ แล้ว)
๓. อรูปอัตตา (การยึดครองหรือได้อัตตาที่หารูปมิได้ หรือรูปละเอียด ที่ปั้นสำเร็จ ขึ้นด้วยสัญญา)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๙ โปฏฐปาทสูตร ข้อ ๓๐๒) |
อัตถะ ๓ (ประโยชน์ ๓ มิติ)
คือประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม ๓ อย่าง
๑. อัตตัตถะ (ประโยชน์ตน) คือตนล้างกิเลสได้สำเร็จ
๒. ปรัตถะ (ประโยชน์ผู้อื่น) คือทำให้มีผลดีตกแก่ผู้อื่น
๓. อุภยัตถะ (เกิดประโยชน์พร้อมทั้งสองฝ่าย)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๓๐ ขัคควิสาณสุตตนิทเทส ข้อ ๖๗๓) |
อาวุธ ๓
๑. สุตาวุธ (อาวุธคือการฟัง)
๒. ปวิเวกาวุธ (อาวุธคือความสงัด)
๓. ปัญญาวุธ (อาวุธคือปัญญา)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ สังคีติสูตรข้อ ๒๒๘) |
โอวาทปาฏิโมกข์ ๓
ผลจากคำสอนหลักของพระพุทธเจ้า (เป็นทรัพย์แท้ หรือหลักประกัน ของพระอรหันต์)
๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง (สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง)
๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม (กุสะลัสสูปะสัมปะทา)
๓. การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว (สะจิตตะปะริโยทะปะนัง)
ธรรมทั้ง ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย (เอตัง พุทธานะ สาสะนัง)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๐ มหาปทานสูตร ข้อ ๕๔)
|
พุทธสิกขา หมวด ๔
การกำหนดรูปนาม ๔
กำหนดรู้รูปนาม ตาทิพย์เห็นผี (กิเลส) - เห็นเทพ (ธรรมะ)
ได้ด้วยการอ่านรู้ นาม-รูป ๔ คือ
๑. รู้ด้วยอาการ (สภาวะขณะนั้นของจิต-กุศล-อกุศล)
๒. ลิงคะหรือเพศ ((ความต่างกันของนัยยะต่างๆ ในสภาวะจิต))
๓. นิมิต (เครื่องหมายชี้บอกสภาวะจิต)
๔. อุเทส (การยกหัวข้ออธิบายขยายความหมาย)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๐ มหานิทานสูตร ข้อ ๖๐) |
การนอน ๔ แบบ
๑. เปตไสยา (นอนอย่างคนตาย นอนไม่มีสติ คือ นอนหงายหรือคว่ำ)
๒. กามโภคีไสยา (นอนอย่างคนบริโภคกาม คือ นอนตะแคงซ้าย)
๓. สีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์ คือ นอนตะแคงขวา)
๔. ตถาคตไสยา (นอนอย่างพระพุทธเจ้า คือการนอน อย่างมีฌาน ปราศจากนิวรณ์)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ อาปัตติภยวรรค ข้อ ๒๔๖) |
กำลัง ๔
๑. ปัญญาพละ (กำลังคือ ปัญญา)
๒. วิริยพละ (กำลังคือความเพียร ขยัน)
๓. อนวัชชพละ (กำลังคือการงานอันไม่มีโทษ เป็นการงานที่ปราชญ์ไม่ติ)
๔. สังคหพละ (กำลังคือ การสงเคราะห์ช่วยผู้อื่น)
เมื่อมีกำลัง ๔ นี้ย่อมพ้นภัย ๕ คือ
๑. อาชีวิตภัย (ภัยอันเนื่องด้วยชีวิต ไม่กลัวแม้เศรษฐกิจจะแย่)
๒. อสิโลกภัย (ภัย คือ การติเตียนจากคนโลก ๆ)
๓. ปริสสารัชชภัย (ภัยคือ การสะทกสะท้านต่อสังคม)
๔. มรณภัย (ภัยคือ ความตาย)
๕. ทุคคติภัย (ภัยคือ ทุคติ เช่น อบายภูมิ นรก เดรัจฉาน ฯ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ พลสูตร ข้อ ๒๐๙)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อนวัชชพละ คือกำลังสุจริต หรือ กำลังความบริสุทธิ์, ตามศัพท์แปลว่า กำลังการกระทำ ที่ไม่มีโทษ คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมบริสุทธิ์ เช่น มีความประพฤติ และ หน้าที่การงาน สุจริต ไม่มีข้อบกพร่องเสียหาย พูดจริง มีเหตุผล มุ่งดี ไม่รุกรานให้ร้ายใคร ทำการ ด้วยเจตนา บริสุทธิ์
อาชีวิตภัย (ภัยเนื่องด้วยการครองชีพ)
อสิโลกภัย (ภัยคือความเสื่อมเสียชื่อเสียง)
ปริสสารัชชภัย (ภัยคือความครั่นคร้ามเก้อเขินในที่ชุมนุม)
อาชีวิตภัย เฉพาะพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ใช้ว่า อาชีวิกภัย แต่บาลีใช้ อาชีวิตภยํ |
ฆราวาสธรรม ๔
ฆราวาสผู้มีใจศรัทธาควรมีธรรม ๔ อย่างนี้
๑. สัจจะ (ความจริง)
๒. ทมะ (การข่มใจฝืนสู้กับความอยาก ฯลฯ)
๓. จาคะ (การเสียสละ)
๔. ขันติ (ความอดทนต่อความไม่ชอบใจ ฯลฯ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๕ อาฬวกสูตร ข้อ ๘๔๕)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สัจจะ (ความจริง, ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง)
ทมะ (การฝึกฝน, การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว, รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา)
จาคะ (ความเสียสละ, สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟัง ความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการ ของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ไม่คับแคบ เห็นแก่ตน หรือเอาแต่ใจตัว
ขันติ (ความอดทน, ตั้งหน้าทำหน้าที่การงาน ด้วยความขยัน หมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย) |
จักร ๔
คือธรรมที่นำไปถึงความเจริญ ดุจล้อหมุนนำรถไปสู่ความเจริญ ถึงที่หมายสำเร็จ
๑. ปฏิรูปเทสวาสะ (การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม เหมาะควร)
๒. สัปปุริสูปัสสยะ (การคบกับสัตบุรุษ คือคบคนที่มีความคิดเห็นถูกต้อง)
๓. อัตตสัมมาปณิธิ (การตั้งตนไว้อย่างถูกต้อง ชอบธรรม)
๔. ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้มีบุญอันได้กระทำแล้วในปางก่อน ไว้เป็นที่พึ่งอาศัย)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ จักกสูตร ข้อ ๓๑)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ปฏิรูปเทสวาสะ (อยู่ในถิ่นที่ดี มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม)
สัปปุริสูปัสสยะ (สมาคมกับสัตบุรุษ)
อัตตสัมมาปณิธิ (ตั้งตนไว้ชอบ, ตั้งจิตคิดมุ่งหมาย นำตนไปถูกทาง)
ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว, มีพื้นเดิมดี, ได้สร้างสม คุณความดี เตรียมพร้อมไว้แต่ต้น)
ธรรม ๔ ข้อนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พหุการธรรม คือ ธรรมมีอุปการะมาก |
ถูปารหบุคคล ๔
บุคคลผู้ควรสร้างสถูปเจดีย์ไว้เคารพ
๑. พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
๓. สาวกของพระพุทธเจ้า(พระอรหันต์)
๔. พระเจ้าจักรพรรดิ (ฝ่ายบุญฤทธิ์)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๐ มหาปรินิพพานสูตร ข้อ ๑๓๔) |
ทางเสื่อมของนักบวช (ผู้แสวงหาอันผิด ๆ) ๔
เมื่อนักบวชไม่ได้ถึงพร้อมด้วยวิชชา (ความรู้แจ้ง) ไม่ได้ถึงพร้อมด้วย จรณะ (ความประพฤติ) จึงกระทำทางเสื่อม ๔ ประการนี้ เป็นลำดับ
๑. ผู้ยังไม่มีวิชชาและจรณะ แต่ไปแสวงหาอาจารย์ในป่า โดยเก็บผลไม้หล่นกิน บำรุงชีพ อย่างมักน้อย มาก ๆ
๒. ไม่เก็บผลไม้กิน แต่ถือเสียม ตะกร้า หาขุดเหง้าไม้ หาผลไม้กิน ระหว่าง ออกแสวงหา อาจารย์ในป่า
๓. สร้างเรือนไฟ(ที่ทำพิธี)ไว้ใกล้หมู่บ้าน แล้วบำเรอไฟ รออาจารย์
๔. สร้างเรือนมีประตู ๔ ด้านไว้ที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง แล้วพำนักอยู่ด้วยตั้งใจว่า มีท่านผู้ใด เดินทาง มาจาก ทิศทั้ง ๔ นี้ จะเป็นสมณะ หรือ พราหมณ์ก็ตาม เราจะบูชา ท่านผู้นั้น ตามสติกำลัง
(พระไตรปิฎก เล่ม ๙ อัมพัฏฐสูตร ข้อ ๑๖๓-๑๖๖) |
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔
คือธรรมที่เป็นไป เพื่อประโยชน์สุขในปัจจุบัน
๑. อุฏฐานสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยความขยัน หมั่นเพียร)
๒. อารักขสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการรักษาให้ดี)
๓. กัลยาณมิตตตา (ความมีมิตรดี ที่พาไปสู่ประโยชน์ภายหน้า -สัมปรายิกัตถประโยชน์)
๔. สมชีวิตา (การเลี้ยงชีพอย่างเรียบร้อยราบรื่น ใจสงบ เบิกบาน มีสัมมาอาชีพ พ้นมิจฉาชีพ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ อุชชยสูตร ข้อ ๑๔๕)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อุฏฐานสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ ขยันหมั่นเพียร ในการปฏิบัติ หน้าที่การงาน ประกอบอาชีพ อันสุจริตค มีความชำนาญ รู้จักใช้ปัญญา สอดส่อง ตรวจตรา หาอุบายวิธี สามารถจัดดำเนินการ ให้ได้ผลดี)
อารักขสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรู้จักคุ้มครอง เก็บรักษา โภคทรัพย์ และผลงาน อันตนได้ทำไว้ ด้วยความขยัน หมั่นเพียร โดยชอบธรรม ด้วยกำลังงาน ของตน ไม่ให้เป็น อันตราย หรือเสื่อมเสีย)
กัลยาณมิตตตา (คบคนดีเป็นมิตร คือ รู้จักกำหนดบุคคล ในถิ่นที่อาศัย เลือกเสวนา สำเหนียกศึกษา เยี่ยงอย่างท่าน ผู้ทรงคุณ มีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา)
สมชีวิตา (มีความเป็นอยู่เหมาะสม คือ รู้จักกำหนดรายได้ และรายจ่าย เลี้ยงชีวิต แต่พอดี มิให้ฝืดเคือง หรือฟูมฟาย ให้รายได้ เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้) |
เทวทูต ๔ / นิมิต ๔
คือตัวเหตุหรือตัวแทนสื่อสาระให้เกิดความสังเวช
๑. ชิณณะ (คนแก่)
๒. อาพาธิกะ (คนเจ็บ)
๓. กาลกตะ (คนตาย)
๔. ปัพพชิตะ (นักบวช)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๐ มหาปทานสูตร ข้อ ๓๒-๓๘)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สามอย่างแรก มีชื่อเรียกรวมว่า เทวทูต ๓ เป็นเครื่องหมาย หรือสัญญาณ เตือนให้ ระลึกถึง ความทุกข์ ตามคติธรรมดาของชีวิต และบังเกิด ความสังเวช อย่างที่สี่คือ บรรพชิต เป็นเครื่องหมาย ให้มองเห็น ทางออก ที่จะพ้นไปจากทุกข์ บางแห่ง ท่านเรียกรวมๆ ไปว่า เทวทูต ๔ โดยอธิบาย ชั้นหลังว่า เป็นทูตของวิสุทธิเทพ แต่ตามบาลี เรียกว่า นิมิต ๔ |
ธรรมกถึก ๔ จำพวก
๑.ธรรมกถึกบางคนกล่าวน้อย และกล่าวคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ทั้งบริษัทก็ไม่รู้คำนั้นว่าประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๒.ธรรมกถึกบางคนกล่าวน้อย และกล่าวคำที่ ประกอบด้วยประโยชน์ และบริษัทรู้คำนั้นว่า ประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๓. ธรรมกถึกบางคนกล่าวมาก และกล่าวคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ทั้งบริษัทก็ไม่รู้คำนั้นว่า ประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๔. ธรรมถึกบางคนกล่าวมาก และกล่าวคำที่ประกอบด้วยประโยชน์ ทั้งบริษัทก็รู้คำนั้นว่า ประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์
(พระไตรปิฎก เล่ม ๓๖ ข้อ ๑๑๐) |
ธรรมะสัจจะของพุทธศาสนา ๔
(ลักษณะของศาสนาพุทธ)
๑. สัจธรรม (เป็นธรรมที่เป็นความจริงแท้)
๒. สัลเลขธรรม (มีความขัดเกลากิเลส)
๓. นิยยานิกธรรม (ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง)
๔. สันติธรรม (สงบ เรียบร้อย ราบรื่น ง่าย งาม)
(สมาธิพุทธ สาสวะ-อนาสวะ หน้า ๔๑๖) |
บุคคล ๔ เหล่า
๑. อุคฆติตัญญู (ผู้บรรลุมรรคผลได้เพียง ท่านยกหัวข้อ ขึ้นแสดงเท่านั้น)
๒. วิปัญจิตัญญู (ผู้บรรลุมรรคผลได้โดยการจำแนกเนื้อความ ให้พิสดาร)
๓. เนยยะ (ผู้บรรลุมรรคผลเป็นชั้นๆ ไป โดยอุทเทส (หัวข้อ) โดยไต่ถาม โดยทำไว้ในใจ โดยแยบคาย โดยการสมาคม โดยคบหา โดยสนิมสนม กับกัลยาณมิตร)
๔. ปทปรมะ (ผู้ฟังพุทธพจน์ก็มาก กล่าวก็มาก จำทรงไว้ก็มาก บอกสอนผู้อื่นก็มาก แต่ไม่มีการบรรลุ มรรคผล ในชาตินั้นเลย) เป็น อเวไนยที่ไม่เข้าใจโลกุตระ หรือ เข้าถึงธรรม ระดับโลกุตระได้ยาก
พระไตรปิฎก เล่ม ๓๖ จตุกกนิทเทส ข้อ ๑๐๘ (ซีกหลัง หน้า ๑๔๓)
จากพจนุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อุคฆฏิตัญญู (ผู้ที่พอยกหัวข้อก็รู้, ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง)
วิปจิตัญญ (ผู้รู้ต่อเมื่อขยายความ, ผู้รู้เข้าใจได้ ต่อเมื่อท่านอธิบายความ พิสดารออกไป)
เนยยะ (ผู้ที่พอจะแนะนำได้, ผู้ที่พอจะค่อยชี้แจงแนะนำ ให้เข้าใจได้ ด้วยวิธีการฝึกสอน อบรมต่อไป)
ปทปรมะ (ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง, ผู้อับปัญญา สอนให้รู้ได้แต่เพียงตัวบท คือพยัญชนะ หรือถ้อยคำ ไม่อาจเข้าใจอรรถ คือความหมาย) |
ปฏิปทา ๔
คือแนวทางปฏิบัติธรรม ๔ แบบ
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก ทั้งบรรลุได้ช้า)
๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่บรรลุได้เร็ว)
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก แต่บรรลุได้ช้า)
๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก ทั้งบรรลุได้เร็ว)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ ปฏิปทาวรรค ข้อ ๑๖๑)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม...
ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะ แรงกล้า ต้องเสวยทุกข์โทมนัส เนื่องจากราคะ โทสะ โมหะ นั้นอยู่เนืองๆ หรือ เจริญกรรมฐาน ที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจ เช่น อสุภะ เป็นต้น อีกทั้งอินทรีย์ก็อ่อน จึงบรรลุ โลกุตตรมรรคล่าช้า พระจักขุบาล อาจเป็นตัวอย่าง ในข้อนี้ได้)
ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะแรงกล้า ต้องเสวยทุกข์โทมนัส เนื่องจากราคะ โทสะ โมหะ นั้นอยู่เนืองๆ หรือ เจริญกรรมฐาน ที่มีอารมณ์ ไม่น่าชื่นใจ เช่น อสุภะ เป็นต้น แต่มีอินทรีย์แก่กล้า จึงบรรลุ โลกุตตรมรรคเร็วไว บาลียก พระมหาโมคคัลลานะ เป็นตัวอย่าง)
สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสบาย แต่รู้ได้ช้า เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัส เนื่องจากราคะ โทสะ โมหะ นั้น เนืองนิตย์ หรือ เจริญสมาธิ ได้ฌาน ๔ อันเป็นสุขประณีต แต่มีอินทรีย์อ่อน จึงบรรลุโลกุตตรมรรค ล่าช้า)
สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสบาย ทั้งรู้ได้ไว เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัส เนื่องจากราคะ โทสะ โมหะ นั้นเนืองนิตย์ หรือ เจริญสมาธิ ได้ฌาน ๔ อันเป็นสุขประณีต อีกทั้งมีอินทรีย์แก่กล้า จึงบรรลุ โลกุตตรมรรค เร็วไว บาลียก พระสารีบุตร เป็นตัวอย่าง |
ปฏิสัมภิทา ๔
คือความรู้แตกฉาน ๔ ด้าน
๑. อัตถปฏิสัมภิทา (ฉลาดในเนื้อแท้แห่งสัจจะ-เป้าหมาย)
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา (ฉลาดในสภาวธรรมต่างๆ ทั้งหมด)
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ฉลาดในการมีภาษาบอกกล่าว)
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ฉลาดในเชาวน์ไหวพริบ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ สัญเจตนิยวรรค ข้อ ๑๗๒)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม...
อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ, ปรีชาแจ้งในความหมาย, เห็นข้อธรรม หรือ ความย่อ ก็สามารถแยกแยะ อธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถแยกแยะ อธิบายขยายออกไปได้ โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถ คิดแยกแยะ กระจายเชื่อมโยง ต่อออกไปได้ จนล่วงรู้ถึงผล)
ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม, ปรีชาแจ้งใจหลัก, เห็นอรรถาธิบาย พิสดาร ก็สามารถ จับใจความ มาตั้งเป็นกระทู้ หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาว กลับไปหาเหตุได้)
นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ, ปรีชาแจ้งในภาษา, รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ และ ภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจ้งให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้)
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ. ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ มีไหวพริบ ซึมซาบ ในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้า สร้างความคิด และเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ ได้สมเหมาะ เข้ากับกรณี เข้ากับเหตุการณ์) |
ปรมัตถธรรม ๔
คือ การทรงไว้ซึ่งความจริงอันยิ่งใหญ่ ที่มีคุณค่าสูงสุดถึงนิพพาน
๑. จิต (ธาตุรู้ ที่รู้สภาวะ, ภาวะที่รู้อารมณ์ ฯลฯ)
๒. เจตสิก (คุณสมบัติและอาการย่อยต่างๆ ของจิต)
๓. รูป (จิตหรือนามธรรมขั้นละเอียด เป็นสิ่งที่ ถูกรู้)
๔. นิพพาน(ความดับสนิทของกิเลส ตัณหา อุปาทาน
หมายถึงเฉพาะ อกุศลเท่านั้น ที่ดับไปจากจิต นิพพานจึงมิใช่ การดับจิต)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๓๔ มหันตรทุกะ ข้อ ๙๔๔)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
.
สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์, สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด
จิต (สภาพที่คิด, ภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์)
เจตสิก (สภาวะที่ประกอบกับจิต, คุณสมบัติและอาการของจิต)
รูป (สภาวะที่เป็นร่าง พร้อมทั้งคุณและอาการ)
นิพพาน (สภาวะที่สิ้นกิเลสและทุกข์ทั้งปวง, สภาวะที่ปราศจากตัณหา) |
ปัญญาวุฑฒิ ๔
คือธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา
๑. สัปปุริสสังเสวะ (คบหาสัตบุรุษ ผู้ที่มีความคิดเห็นถูกต้อง)
๒. สัทธัมมัสสวนะ (ฟังสัทธรรม คำสั่งสอนของคนดี)
๓. โยนิโสมนสิการ (ทำไว้ในใจอย่างแยบคาย พิจารณาลงไป ถึงที่เกิด)
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ อาปัตติภยวรรค ข้อ ๒๔๘)
สัปปุริสังเสวะ (คบหาสัตบุรุษ, เสวนาท่านผู้รู้ ผู้ทรงคุณ)
สัทธัมมัสสวนะ (ฟังสัทธรรม, เอาใจใส่เล่าเรียน หาความรู้จริง)
โยนิโสมนสิการ (ทำในใจโดยแยบคาย, คิดหาเหตุผล โดยถูกวิธี)
ธัมมานุธัมมปฏิบัติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม, ปฏิบัติธรรม ให้ถูกต้องตามหลัก คือ ให้สอดคล้องพอดี ตามขอบเขตความหมาย และวัตถุประสงค์ ที่สัมพันธ์กับธรรม ข้ออื่นๆ, นำสิ่งที่ ได้เล่าเรียน และตริตรอง เห็นแล้วไปใช้ปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามหลัก ตามความมุ่งหมาย ของสิ่งนั้นๆ) |
ปาริสุทธิศีล ๔ (ความบริสุทธิ์แห่งศีล)
๑. ปาฏิโมกขสังวรศีล (ปฏิบัติสำรวมในพระปาฏิโมกข์ทั้งปวง)
๒. อินทรียสังวรศีล (ปฏิบัติสำรวมในอินทรีย์ ๖)
๓. อาชีวปาริสุทธิศีล (ปฏิบัติเลี้ยงชีวิตอย่างชอบธรรม)
๔. ปัจจยสันนิสิตศีล (ปฏิบัติพิจารณาการบริโภคปัจจัย ๔)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ ศีลสูตร ข้อ ๑๒)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม...
ปาฏิโมกขสังวรศีล (ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้าม ทำตาม ข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัด ในสิกขาบททั้งหลาย)
อินทรียสังวรศีล (ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรม ครอบงำ เมื่อรับรู้อารมณ์ ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖)
อาชีวปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่ประกอบ อเนสนา มีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพ เป็นต้น)
ปัจจัยสันนิสิตศีล (ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย ๔ ได้แก่ ปัจจัยปัจจเวกขณ์ คือ พิจารณาใช้สอย ปัจจัยสี่ ให้เป็นไป ตามความหมาย และประโยชน์ ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา) |
ผลของปฏิจจสมุปบาท ๔
(ธรรมนิยามแห่งปฏิจจสมุปบาท ๔)
คือผลของการอาศัยกันและกันเกิดขึ้น
๑. ตถตา (ตนเป็นเช่นนั้น ๆ ได้อย่างอัตโนมัติแล้ว หรือได้ความว่าง เป็นสัจธรรม เช่นนั้นเอง ในตัวแล้ว)
๒. อวิตถตา (ความจริงที่เที่ยงแท้แล้ว-ไม่กลับกลาย)
๓. อนัญญถตา (เป็นไปอย่างนั้นแน่จริง ชนิดไม่มีสิทธิ์ เป็นอื่นอีกแล้ว อย่างนิรันดร์)
๔. อิทัปปัจจยตา (เพราะเป็นสิ่งนั้นได้จริงแล้ว จึงสืบต่อเชื้อความจริง ในสิ่งนั้นได้.. อย่างมีของแท้จริง เกิดขึ้นสืบทอด ให้กันและกันจริง)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๖ อาหารวรรค ข้อ ๖๑) |
ผู้ได้เจโตสมถะ / อธิปัญญา ๔
(บัญญัติบุคคล ๔ จำพวก)
๑. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะ แต่ไม่ได้โลกุตระ (อธิปัญญา)
๒. บุคคลผู้ได้โลกุตระ(อธิปัญญา) แต่ไม่ได้เจโตสมถะ
๓. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะ(อธิปัญญา) และได้ทั้งโลกุตระ
๔. บุคคลผู้ไม่ได้เจโตสมถะ และไม่ได้ทั้งโลกุตระ (อธิปัญญา)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๓๖ จตุกกนิทเทส ข้อ ๑๓๗ , ๕๒๕ ซีกหลัง) |
พรหมวิหาร ๔ / อัปปมัญญา ๔
คือธรรมอันเป็นที่อาศัยอย่างประเสริฐ คือธรรมอันควรแผ่ไป อย่างไม่มีขอบเขต
๑. เมตตา (จิตปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข)
๒. กรุณา (ลงมือสร้าง -ช่วยให้เขาพ้นทุกข์)
๓. มุทิตา (ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี -พ้นทุกข์)
๔. อุเบกขา (เป็นฐานอาศัย วางใจเป็นกลาง ไม่ติดยึดว่า เป็นความดีของเรา หรือผลสำเร็จนั้น เกิดจากเรา)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ สังคีติสูตร ข้อ ๒๓๔ และเล่ม ๓๕ ข้อ ๗๔๑)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
เมตตา (ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรี และคิดทำประโยชน์ แก่มนุษย์ สัตว์ทั่วหน้า)
กรุณา (ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้อง บำบัดความทุกข์ยาก เดือดร้อน ของปวงสัตว์)
มุทิตา (ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง กอปรด้วย อาการแช่มชื่น เบิกบาน อยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลาย ผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วย เมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงาม ยิ่งขึ้นไป)
อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรม ตามที่พิจารณาเห็น ด้วยปัญญา คือมีจิต เรียบตรง เที่ยงธรรม ดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วย รักและชัง พิจารณาเห็นกรรม ที่สัตว์ทั้งหลาย กระทำแล้ว อันควรได้รับ ผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุ อันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัย และปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้ง รู้จักวางเฉยสงบใจ มองดู ในเมื่อ ไม่มีกิจ ที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตน ได้ดีแล้ว เขาสมควร รับผิดชอบตนเอง หรือ เขาควรได้รับผล อันสมกับ ความรับผิดชอบของตน) |
มหาปเทส ๔
คือหลักการใหญ่ที่ใช้อ้างอิงตรวจสอบ แล้วตัดสิน
๑. สิ่งใดไม่ห้ามว่า ไม่ควร
แต่สิ่งนั้น เข้ากับสิ่งไม่ควร ขัดกับสิ่งควร สิ่งนั้นจึงไม่ควร
๒. สิ่งใดไม่ห้ามว่า ไม่ควร
แต่สิ่งนั้น เข้ากับสิ่งควร ขัดกับสิ่งไม่ควร สิ่งนั้นจึงควร
๓. สิ่งใดไม่อนุญาตว่า ควร
แต่สิ่งนั้น เข้ากับสิ่งไม่ควร ขัดกับสิ่งควร สิ่งนั้นจึงไม่ควร
๔. สิ่งใดไม่อนุญาตว่า ควร
แต่สิ่งนั้น เข้ากับสิ่งควร ขัดกับสิ่งไม่ควร สิ่งนั้นจึงควร
(พระไตรปิฎก เล่ม ๕ เภสัชชขันธกะ ข้อ ๙๒) |
โยคะ ๔ คือ กิเลสที่ผูกพันใจไว้
๑. กาม (กามโยคะ) ความใคร่อยากผูกพันใจไว้
๒. ภพ (ภวโยคะ) ความวนเกิดผูกพันใจไว้
๓. ทิฏฐิ (ทิฏฐิโยคะ) ความเห็นผิดผูกพันใจไว้
๔. อวิชชา (อวิชชาโยคะ) ความหลงไม่รู้กิเลสผูกพันใจไว้
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ โยคสูตร ข้อ ๑๐)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
โยคะ ๔ (สภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพ หรือผูกกรรมไว้กับวิบาก
ได้แก่ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา) |
โยนิ ๔
คือการกำเนิดของสัตว์โลก ๔ ลักษณะ
๑. ชลาพุชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์)
๒. อัณฑชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่ -ทิชาชาติ)
๓. สังเสทชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดจากการแบ่งตัว กำเนิดในของปฏิกูล)
๔. โอปปาติกโยนิ (เกิดใหม่ทางจิตวิญญาณ เปลี่ยนภพทันที เกิดนิโรธ ไม่มีอะไรมาคั่น เกิดแทนสิ่งดับ โดยไม่มีซาก)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ ข้อ ๒๖๓ เล่ม ๑๒ มหาสีหนาทสูตร ข้อ ๑๖๙)
จากพจนุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
ชลาพุชะ (สัตว์เกิดในครรภ์ คือ คลอดออกมาเป็นตัว เช่น คน โค สุนัข แมว เป็นต้น)
อัณฑชะ (สัตว์เกิดในไข่ คือ ออกไข่เป็นฟองก่อน แล้วจึงฟักเป็นตัว เช่น นก เป็น ไก่ เป็นต้น)
สังเสทชะ (สัตว์เกิดในไคล คือ เกิดในของชื้นแฉะ หมักหมม เน่าเปื่อย ขยายแพร่ ออกไปเอง เช่น กิมิชาติ บางชนิด)
โอปปาติกะ (สัตว์เกิดผุดขึ้น คือ เกิดผุดเต็มตัวในทันใด ได้แก่ เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางพวก และ เปรตบางพวก ท่านว่า เกิดและตาย ไม่ต้องมีเชื้อ หรือซากปรากฏ) |
รวยได้ ไม่นาน ๔ (กุลจิรัฏฐิติธรรม ๔)
ตระกูลใดถึงความเป็นใหญ่ ในทรัพย์สมบัติแล้ว จะตั้งอยู่ได้ไม่นาน เพราะ...
๑. ไม่แสวงหาของที่หายไป
๒. ไม่ซ่อมแซมของคร่ำคร่า (ของเก่าแก่ชำรุด)
๓. ไม่รู้จักประมาณ ในการกิน
๔. ตั้งบุรุษหรือสตรีที่ละเมิดศีล เป็นพ่อบ้านแม่เรือน
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ อภิญญาวรรค ข้อ ๒๕๘)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
กุลจิรัฏฐิติธรรม ๔ (ธรรมสำหรับดำรงความมั่งคั่ง ของตระกูลให้ยั่งยืน, เหตุที่ทำให้ ตระกูลมั่งคั่ง ตั้งอยู่ได้นาน)
นัฏฐคเวสนา (ของหายของหมด รู้จักหามาไว้)
ชิณณปฏิสังขรณา (ของเก่าของชำรุด รู้จักบูรณะ ซ่อมแซม)
ปริมิตปานโภชนา (รู้จักประมาณ ในการกินการใช้)
อธิปัจจสีลวันตสถาปนา (ตั้งผู้มีศีลธรรม เป็นพ่อบ้านแม่เรือน)
เหตุที่ตระกูลมั่งคั่ง จะตั้งอยู่นานไม่ได้ พึงทราบโดยนัยตรงข้ามจากนี้. |
รูปฌาน ๔
คือสภาวะจิตแน่วแน่ สงบจากกิเลส ต่อสู้เพ่งเผากิเลส จนจิตไร้นิวรณ์
๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑) มีวิตก มีวิจาร. มีปีติ มีสุข มีเอกัคตารมณ์
๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ละวิตก-ละวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจาก จิตคลายกิเลสลง จนตั้งมั่น มีสมาธิ
๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓) มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย.. เพราะปีติ สิ้นไป
๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นฐาน ให้สติบริสุทธิ์ จิตเป็นมัชฌิมา เป็นกลางอยู่
(พระไตรปิฎก เล่ม ๙ สามัญญผลสูตร ข้อ ๑๒๗- ๑๓๐)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
รูปฌาน ๔
๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา)
๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข และ เอกัคคตา)
๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และ เอกัคคตา) |
วิปลาส ๔ (เขียนว่า พิปลาส ก็มี)
กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริต ผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจ คลาดเคลื่อน จากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้ :
ก. วิปลาสด้วยอำนาจจิต และเจตสิก ๓ ประการ คือ
๑. วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า สัญญาวิปลาส
๒. วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า จิตตวิปลาส
๓. วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า ทิฏฐิวิปลาส
ข. วิปลาสด้วยยึดเอาวัตถุเป็นที่ตั้ง ๔ ประการ คือ
๑. วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง (อนิจเจ นิจจัง)
๒. วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข (ทุกเข สุขัง)
๓. วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน (อนัตตนิ อัตตา)
๔. วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม (อสุเภ สุภัง)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๓๑ มหาวรรค วิปัลลาสกถา ข้อ ๕๒๕)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
วิปปัลลาส หรือ วิปลาส 4 (ความรู้เห็นคลาดเคลื่อน, ความรู้เข้าใจผิดเพี้ยน จากความเป็นจริง)
วิปลาส มี 3 ระดับ คือ
1. สัญญาวิปลาส (สัญญาคลาดเคลื่อน, หมายรู้ผิดพลาด จากความเป็นจริง เช่น คนตกใจ เห็นเชือก เป็นงู)
2. จิตตวิปลาส (จิตคลาดเคลื่อน, ความคิดผิดพลาด จากความเป็นจริง เช่น คนบ้า คิดเอาหญ้า เป็นอาหาร)
3. ทิฏฐิวิปลาส (ทิฏฐิคลาดเคลื่อน, ความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง โดยเฉพาะ เชื่อถือ ไปตาม สัญญาวิปลาส หรือ จิตตวิปลาสนั้น เช่น มีสัญญาวิปลาส เห็นเชือกเป็นงู แล้วเกิด ทิฏฐิวิปลาส เชื่อหรือลงความเห็นว่า ที่บริเวณนั้น มีงูชุม หรือมีจิตตวิปลาส ว่าทุกสิ่ง ที่เกิดขึ้น ต้องมีผู้สร้าง จึงเกิดทิฏฐิวิปลาสว่า แผ่นดินไหว เพราะเทพเจ้าบันดาล)
วิปลาส 3 ระดับนี้ ที่เป็นพื้นฐาน เป็นไปใน 4 ด้าน คือ
1. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง
2. วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข
3. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน
4. วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม |
ศรัทธา ๔ (สัทธา ๔)
คือความเชื่อมั่นอย่างสัมมาทิฏฐิ
๑. กัมมสัทธา (เชื่อกรรมเป็นเหตุ)
๒. วิปากสัทธา (เชื่อผลวิบากของกรรม)
๓. กัมมัสสกตาสัทธา (เชื่อความที่สัตว์ มีกรรม เป็นสมบัติแท้ของตน กรรมเป็น พระเจ้าบันดาลแท้)
๔. ตถาคตโพธิสัทธา (เชื่อความตรัสรู้ของตถาคต)
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม ป.อ.ปยุตโต
ศรัทธา ๔ ข้อ ๑๗๘ เฉพาะข้อ ๔ มีใน พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ ข้อ ๔)
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
กัมมสัทธา (เชื่อกรรม, เชื่อกฎแห่งกรรม, เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไร โดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดี มีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัย ก่อให้เกิด ผลดีผลร้าย สืบเนื่องต่อไป การกระทำ ไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่า ผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอน หรือนอนคอยโชค เป็นต้น)
วิปากสัทธา (เชื่อวิบาก, เชื่อผลของกรรม, เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรม ที่ทำแล้ว ต้องมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจาก กรรมดี ผลชั่วเกิดจาก กรรมชั่ว)
กัมมัสสกตาสัทธา (เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน, เชื่อว่าแต่ละคน เป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบ เสวยวิบาก เป็นไปตาม กรรมของตน)
ตถาคตโพธิสัทธา (เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, มั่นในในองค์พระตถาคต ว่าทรงเป็น พระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง ๙ ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็น ผู้นำทาง ที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดี ก็สามารถเข้าถึง ภูมิธรรม สูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ ได้ทรงบำเพ็ญไว้ เป็นแบบอย่าง)
|
สติปัฏฐาน ๔ (ฐานปฏิบัติให้บริสุทธิ์ด้วยสติ)
คือการตั้งสติพิจารณาสิ่งทั้งหลาย เป็นทางเอก เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (กายในกาย) การกำหนดสติพิจารณากาย คือ การรวมประชุมกัน ทั้งกายนอก -ใน ให้รู้เห็นความจริง) กายนอกได้แก่..
ก. อาณาปาณสติ (กำหนดสติรู้ลมหายใจเข้า-ออก)
ข. อิริยาบถ (กำหนดรู้เท่าทันไปกับอิริยาบถ)
ค. สัมปชัญญะ (ทำความรู้สึกตัวในการกระทำทุกอย่าง)
ง. ปฏิกูลมนสิการ (พิจารณากายเป็นของไม่สะอาด)
จ. ธาตุมนสิการ (พิจารณาเห็นกายโดยความเป็นธาตุ)
ฉ. นวสีวถิกา (พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ)
๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน . . การตั้งสติกำหนดพิจารณา เวทนาในเวทนา (ทั้ง ๑๐๘ เวทนา) ให้รู้เห็นทุกข์ (ที่เป็น ทุกขอริยสัจ) ตามความเป็นจริง
๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติ พิจารณาเห็น จิตในจิต ให้รู้จิตที่เจริญขึ้น ตามสัจจะจริง
๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณา ธรรมในธรรม ให้รู้เห็นจริง ตามความจริง ได้แก่ นิวรณ์๕, ขันธ์๕, อายตนะ๖, โพชฌงค์๗, อริยสัจ๔
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๐ มหาสติปัฏฐานสูตร ข้อ ๒๗๓-๒๙๙)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สติปัฏฐาน ๔ (ที่ตั้งของสติ, การตั้งสติกำหนดพิจารณา สิ่งทั้งหลาย ให้รู้เห็น ตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเอง)
๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติ กำหนดพิจารณากายให้รู้เห็น ตามเป็นจริง ว่า เป็นเพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา)
ท่านจำแนก ปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ
อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ ๑ อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ ๑ สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะ ในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง ๑ ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบ อันไม่สะอาดทั้งหลาย ที่ประชุมเข้า เป็นร่างกายนี้ ๑ ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตน โดยสักว่า เป็นธาตุแต่ละอย่างๆ ๑ นวสีวถิกา พิจารณาซากศพ ในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน ๙ ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดา ของร่างกาย ของผู้อื่น เช่นใด ของตนก็จัก เป็นเช่นนั้น ๑
๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็น ตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา)
คือ มีสติรู้ชัดเวทนา อันเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส และเป็นนิรามิส ตามที่เป็นไป อยู่ในขณะนั้นๆ
๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติ กำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็น ตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา)
คือ มีสติรู้ชัด จิตของตน ที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมอง หรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ ฯลฯ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไป อยู่ในขณะนั้นๆ
๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติ กำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็น ตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา)
คือ มีสติรู้ชัด ธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ ๕ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริง ของมันอย่างนั้นๆ. |
สถานภาพ ๔ ที่กำหนดรู้กันได้
๑. ศีล พึงทราบได้ด้วยการอยู่ร่วมกันนานๆ
๒. ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยการปราศรัย
๓. กำลังใจ พึงทราบได้เพราะอันตราย
๔. ปัญญา พึงทราบได้ด้วยการสนทนา(แก้ปัญหา)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ข้อ ๑๓๓) |
สมณะ ๔
ธรรมวินัยนี้มีอาริยมรรคองค์ ๘ ธรรมวินัยนี้เท่านั้น จึงมี...
สมณะที่ ๑ พระโสดาบัน
สมณะที่ ๒ พระสกทาคามี
สมณะที่ ๓ พระอนาคามี
สมณะที่ ๔ พระอรหันต์
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่อย่างถูกต้อง โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๐ มหาปรินิพพานสูตร ข้อ ๑๓๘) |
สังคหวัตถุ ๔ (คุณธรรมแห่งการช่วยเหลือกัน)
๑. ทาน (การให้-การเสียสละ) ให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทานทั้งหลาย
๒. เปยยวัชชะ (ให้คำตำหนิที่ควรดื่มได้) หรือ ปิยวาจา (การพูดวาจาเป็นที่รัก) การอบรม สั่งสอนบ่อย ๆ ให้แก่คนซึ่งใจต้องการ แก่ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่า การพูดถ้อยคำ อันไพเราะ
๓. อัตถจริยา (ความประพฤติที่ให้ประโยชน์แก่นสาร) การชักชวนให้คนมี ศรัทธาสัมปทา มีศีลสัมปทา มีจาคะสัมปทา มีปัญญาสัมปทา นี้ประพฤติเป็นประโยชน์กว่า
๔. สมานัตตตา (ความสมานอัตตา ซึ่งกันและกัน) ความสมานอัตตา ซึ่งกันและกัน โสดาบัน เสมอโสดาบัน, สกิทาคามี เสมอสกิทาคามี, อนาคามี เสมออนาคามี, อรหันต์ เสมออรหันต์
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ สังคหสูตร ข้อ ๓๒ และ พลสูตร เล่ม ๒๓ ข้อ ๒๐๙)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สังคหวัตถุ ๔ (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ ในสามัคคี, หลักการสงเคราะห์)
๑. ทาน (การให้ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกัน ด้วยสิ่งของ ตลอดถึง ให้ความรู้ และแนะนำสั่งสอน)
๒. ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มน้ำใจ หรือ วาจาซาบซึ้งใจ คือ กล่าวคำ สุภาพ ไพเราะอ่อนหวาน สมานสามัคคี ให้เกิดไมตรี และความรักใคร่นับถือ ตลอดถึง คำแสดงประโยชน์ ประกอบด้วยเหตุผล เป็นหลักฐานจูงใจ ให้นิยมยอมตาม)
๓. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์ คือ ขวนขวาย ช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญ สาธารณประโยชน์ ตลอดถึง ช่วยแก้ไข ปรับปรุงส่งเสริม ในทางจริยธรรม)
๔. สมานัตตตา (ความมีตนเสมอ คือ ทำตนเสมอด้วยปลาย ปฏิบัติสม่ำเสมอกัน ในชนทั้งหลาย และเสมอในสุขทุกข์ โดยร่วมรับรู้ ร่วมแก้ไข ตลอดถึง วางตน เหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์ และสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามธรรม ในแต่ละกรณี) |
สัมปรายิกัตถประโยชน์ ๔
คือธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขในภายหน้า -โลกหน้า
๑. สัทธาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
๒. สีลสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศีล)
๓. จาคสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการเสียสละ)
๔. ปัญญาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยปัญญา)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ อุชชยสูตร ข้อ ๑๔๕)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔ (ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า, หลักธรรม อันอำนวย ประโยชน์สุข ขั้นสูงขึ้นไป)
...รายละเอียดไม่ต่างกัน... |
สัมมัปปธาน ๔
คือความเพียรประคองจิต ตั้งจิตมั่น เพื่อ.....
๑. สังวรปธาน (เพียรระวังไม่ให้บาปใหม่เกิดขึ้น)
๒. ปหานปธาน (เพียรละบาปเก่าที่เกิดขึ้นแล้ว)
๓. ภาวนาปธาน (เพียรสรรสร้างให้กุศลเกิดขึ้น)
๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ให้เสื่อมลง)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ ปธานสูตร ข้อ ๑๓ , สังวรสูตร ข้อ ๑๔)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
สังวรปธาน (เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้ง บาปอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น)
๒. ปหานปธาน (เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว)
๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี)
๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ตั้งมั่น และ ให้เจริญ ยิ่งขึ้นไป จนไพบูลย์) |
สัมมัปปธาน ๔ โดยฉันทะ
๑. ยังฉันทะให้เกิดพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศล ที่ยังไม่เกิด
๒. ยังฉันทะให้เกิดพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ยังฉันทะให้เกิดพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นกุศล ที่ยังไม่เกิด
๔. ยังฉันทะให้เกิดพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อความตั้งมั่นไม่เลือนลางจำเริญยิ่ง ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์แห่งธรรมที่เป็นกุศล ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ฯ
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ ข้อ ๒๓๐) |
สัมมาวาจา ๔ (ที่ยังเป็นสาสวะ)
อันเป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญญภาคิยา)
ให้ผลแก่ขันธ์ (มีอุปธิวิบาก , อุปธิเวปักกา)
๑. งดเว้นจากการ พูดเท็จ (มุสาวาทา เวรมณี)
๒. งดเว้นจากการ พูดส่อเสียด (ปิสุณาย วาจาย เวรมณี)
๓. งดเว้นจากการ พูดคำหยาบ (ผรุสาย วาจาย เวรมณี))
๔. งดเว้นจากการ เจรจาเพ้อเจ้อ (สัมผัปปลาปา เวรมณี)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๖๗) |
สัมมาอาชีวะ ๔ (ที่เป็น อนาสวะ เป็นอาริยะ)
๑. ความงด (อารติ)
๒. ความเว้น (วิรติ-วิรัช, วิรัติ)
๓. ความงดเว้น (ปฏิวิรติ)
๔. เจตนางดเว้น (เวรมณี)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๖๘, ๒๗๓, ๒๗๘) |
เหตุแห่งฝัน ๔
๑. ธาตุกำเริบ (ธาตุโขภะ)
๒. เคยเสพมาก่อน เคยซึมซับ จำสัญญาเอาไว้ก่อน (อนุภาตปุพพะ)
๓. เทวดาดลใจ , เทวดาสังหรณ์ [(จิตสำนึกดีทำงาน) (เทวโตปสังหาระ)]
๔. บุพนิมิต , ลางบอกเหตุ (ปุพพนิมิต)
(อรรถกถาแปล เล่ม ๖๖ ตุวฏกสุตตนิทเทส หน้า ๔๒๙
และ อรรถกถาแปล เล่มที่ ๓ หน้า ๑๐๒) |
อคติ ๔
คือความลำเอียง ความไม่ยุติธรรม (ผู้ที่พ้นอคติ ๔ จึงจะชี้ถูก-ผิดได้)
๑. ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะรัก)
๒. โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง)
๓. โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลงผิด)
๔. ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ อคติสูตร ข้อ ๑๗)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อคติ ๔ (ฐานะอันไม่พึงถึง, ทางความประพฤติที่ผิด, ความไม่เที่ยงธรรม, ความลำเอียง)
๓. โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง, พลาดผิดเพราะเขลา)
...ข้ออื่นไม่แตกต่างกัน... |
อจินไตย ๔
คือเรื่องรู้ยากที่บุคคลไม่ควรคิด หากคิดจะบ้า จะเดือดร้อน
๑. พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย (พุทธวิสยะ)
๒. ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน (ฌานวิสยะ)
๓. วิบากแห่งกรรม (กัมมวิปาโก)
๔. ความคิดเรื่องโลก จักรวาล เอกภพ (โลกจินตา)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ อจินเตยยสูตร ข้อ ๗๗) |
อธิกรณ์ ๔
๑. ความเถียงกันว่า สิ่งนั้นเป็นธรรม สิ่งนี้เป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย
เรียก วิวาทาธิกรณ์
๒. ความโจทกันด้วยอาบัตินั้น ๆ เรียก อนุวาทาธิกรณ์
๓. อาบัติทั้งปวง เรียก อาปัตตาธิกรณ์
๔. กิจที่สงฆ์จะพึงทำ เรียก กิจจาธิกรณ์
(พระไตรปิฎก เล่ม ๖ ข้อ ๗๓๒-๖๗๑) |
อธิษฐาน ๔
คือการตั้งจิตแน่วแน่จะทำสิ่งดีที่คิดไว้ให้สำเร็จ
๑. ปัญญาธิษฐาน (ตั้งจิตแน่วแน่ด้วยปัญญา รู้จริงในความจริง)
๒. สัจจาธิษฐาน (ตั้งจิตแน่วแน่จริงแท้ ไม่กลับใจ)
๓. จาคาธิษฐาน (ตั้งจิตแน่วแน่ เพิ่มการเสียสละ)
๔. อุปสมาธิษฐาน (ตั้งจิตแน่วแน่ เพื่อสงบกิเลส สงบสนิท, นิพพาน)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ธาตุวิภังคสูตร ข้อ ๖๘๒)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อธิษฐาน หรือ อธิษฐานธรรม ๔ (ธรรมเป็นที่มั่น, ธรรมอันเป็นฐานที่มั่นคง ของบุคคล, ธรรมที่ควรใช้ เป็นที่ประดิษฐานตน เพื่อให้สามารถยึดเอา ผลสำเร็จสูงสุด อันเป็น ที่หมายไว้ได้ โดยไม่เกิด ความสำคัญตนผิด และไม่เกิด สิ่งมัวหมอง หมักหมม ทับถมตน, บางทีแปลว่า ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ)
๑. ปัญญา (ความรู้ชัด คือ หยั่งรู้ในเหตุผล พิจารณาให้เข้าใจในสภาวะ ของสิ่งทั้งหลาย จนเข้าถึง ความจริง)
๒. สัจจะ (ความจริง คือ ดำรงมั่นในความจริงที่รู้ชัด ด้วยปัญญา เริ่มแต่จริงวาจา จนถึง ปรมัตถสัจจะ)
๓. จาคะ (ความสละ คือ สละสิ่งอันเคยชิน ข้อที่เคยยึดถือไว้ และสิ่งทั้งหลาย อันผิดพลาด จากความจริงเสียได้ เริ่มแต่ สละอามิส จนถึง สละกิเลส)
๔. อุปสมะ (ความสงบ คือ ระงับโทษข้อขัดข้องมัวหมองวุ่นวาย อันเกิดจากกิเลส ทั้งหลายแล้ว ทำจิตใจ ให้สงบได้) |
อนุปัสสี ๔
คือการพิจารณาตามเห็นกิเลสภายในจิต ในขณะปฏิบัติ สติปัฏฐาน และอานาปานสติ
๑. พิจารณาตามเห็นความไม่เที่ยงของกิเลส (อนิจจานุปัสสี)
๒. พิจารณาตามเห็นความจางคลายของกิเลส (วิราคานุปัสสี)
๓. พิจารณาตามเห็นความดับกิเลส (นิโรธานุปัสสี)
๔. พิจารณาตามเห็นความสละคืน (สลัดทิ้ง) กิเลส การย้อนทวนกลับไป สลัดคืน (ปฏินิสสัคคานุปัสสี)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ อานาปานสติสูตร ข้อ ๒๘๘) |
อบายภูมิ ๔
คือ พื้นเพจิตใจ ๔ อย่างนี้ เป็นเหตุแห่งความฉิบหาย
๑. นรก (นิรยะ) ความเร่าร้อนใจ มีทุกข์สาหัสมาก
๒. กำเนิดดิรัจฉาน (ติรัจฉานโยนิ) เกิดความมืดมัวโง่เขลา
๓. อสุรกาย (อสุรกายะ) ความขลาดกลัว
๔. ภูมิเปรต (ปิตติวิสัย) ความขี้โลภหิวกระหาย
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ อัคคิสูตร ข้อ ๒๗๓)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อบายภูมิ ๔ (ภูมิที่ปราศจากความเจริญ)
๑) นิรยะ (นรก)
๒) ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดดิรัจฉาน)
๓) ปิตติวิสัย (แดนเปรต)
๔) อสุรกาย (พวกอสูร) |
อรหันต์ ๔
๑. สุกขวิปัสสโก (หลุดพ้นกิเลสด้วยวิปัสสนา)
๒. เตวิชโช (ผู้ใช้วิชชา ๓)
๓. ฉฬภิญโญ (ผู้ได้อภิญญา ๖ ฝ่ายเจโตสมถะ)
๔. ปฏิสัมภิทัปปัตโต (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ทั้ง ๔ ได้แก่...
- อัตถปฏิสัมภิทา ฉลาดในเนื้อแท้แห่งสัจจะเป้าหมาย
- ธัมมปฏิสัมภิทา ฉลาดในสภาวธรรมต่างๆ ทั้งหมด
- นิรุตติปฏิสัมภิทา ฉลาดในการมีภาษาบอกกล่าว
- ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฉลาดในเชาวน์ไหวพริบ
(จากคัมภีร์วิสุทธิมรรค)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
๑. สุกฺขวิปสฺสโก (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน)
๒. เตวิชฺโช (ผู้ได้วิชชา ๓)
๓. ฉฬภิญโญ (ผู้ได้อภิญญา ๖)
๔. ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา)
รายละเอียดเพิ่มเติมดูใน อรหันต์ ๗ |
อรูปฌาน ๔ แบบพุทธ
คือ สภาพที่ตรวจอุเบกขาแท้ ของผู้มีฐานนิพพานแบบพุทธ
๑.อากาสานัญจายตนฌาน (เข้าถึงสภาวะอากาศ หาที่สุดมิได้)
เพราะล่วงเสีย ซึ่งรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญา ดับไป ..เพราะไม่ใส่ใจ ซึ่งนานัตตสัญญา
๒. วิญญาณัญจายตนฌาน (เข้าถึงสภาวะวิญญาณหาที่สุดมิได้)
เพราะล่วงเสีย ซึ่งอากาสานัญจายตนะ มีมนสิการว่า
วิญญาณหาที่สุดมิได้
๓. อากิญจัญญายตนฌาน (เข้าถึงสภาวะไม่มีอะไร น้อยหนึ่งก็ไม่มี)
เพราะล่วงเสีย ซึ่งวิญญาณัญจายตนะ มีมนสิการว่า ต้องดับให้หมด น้อยหนึ่ง ก็ไม่ให้มี
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน (เข้าถึงสภาวะหมายรู้ก็ไม่ใช่ ไม่รู้ก็ไม่ใช่)
เพราะล่วงเสีย ซึ่งอากิญจัญญายตนะ แจ้งชัดขึ้นว่า ต้องไม่มีอะไรที่จะไม่รู้
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ ข้อ ๒๓๕, เล่ม ๑๘ โมคคัลลานสังยุตต์ ข้อ ๕๑๙)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อรูป หรือ อารุปป์ ๔ (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ คืออรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึง อรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม
๑. อากาสานัญจายตนะ (ฌานอันกำหนดอากาศ คือช่องว่างหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์ หรือ ภพของ ผู้เข้าถึงฌานนี้)
๒. วิญญาณัญจายตนะ (ฌานอันกำหนดวิญญาณ หาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์ หรือภพของ ผู้เข้าถึงฌานนี้)
๓. อากิญจัญญายตนะ (ฌานอันกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์ หรือภพของ ผู้เข้าถึงฌานนี้)
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ฌานอันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่ หรือ ภพของ ผู้เข้าถึงฌานนี้) |
อาริยบุคคล ๔
คือบุคคลผู้ประเสริฐ เพราะห่างไกลจากกิเลส เป็นผู้บรรลุ ธรรมอันวิเศษ มี ๔ ฐานะ
๑. พระโสดาบัน (ละสังโยชน์ ๓ ได้)
๒. พระสกทาคามี (ผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้เด็ดขาด และทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง ลงมากแล้ว)
๓. พระอนาคามี (ผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ได้อย่างเด็ดขาด แต่ยังยึดขันธ์ ๕ บริสุทธิ์ เป็นของ ๆ ตน)
๔. พระอรหันต์ (ผู้ทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ - ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๙ มหาลิสูตร ข้อ ๒๕๐-๒๕๓)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อริยบุคคล ๔
๑. โสดาบัน (ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, ผู้ถึงกระแส)
๒. สกทาคามี (ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, ผู้กลับมาอีกครั้งเดียว)
๓. อนาคามี (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก)
๔. อรหันต์ (ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, ผู้ควร ผู้หักกำแห่งสงสารแล้ว) |
อาริยสัจ ๔
คือความจริงอันประเสริฐสุดของชีวิต
๑. ทุกขอาริยสัจ (รู้แจ้งทุกข์) อุปาทานขันธ์ ๕ ล้วนเป็นทุกข์ ต้องกำหนดรู้ ปริญเญยยะ สภาวะจิต ที่เกิดทุกข์
๒. ทุกขสมุทัยอาริยสัจ (รู้แจ้งเหตุให้จิตเกิดทุกข์) คือ ตัณหาอยากสุข มี ตัณหา ๓ เป็นเหตุ
๓. ทุกขนิโรธอาริยสัจ (รู้แจ้งสภาวะที่จิตดับทุกข์ จากเหตุของกิเลส) วิราคะ ดับตัณหาสิ้น โดยไม่เหลือ
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอาริยสัจ (รู้แจ้งข้อปฏิบัติให้ถึง การดับเหตุแห่งทุกข์ คือ กิเลส ตัณหา ดับด้วยอาริยมรรค มีองค์ ๘)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ ตถาคตสูตร ข้อ ๑๖๖๔ , เล่มที่ ๓๕ ข้อ ๑๔๔ )
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อริยสัจ ๔ (ความจริงอันประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้ ผู้เข้าถึง กลายเป็น อริยะ)
๑. ทุกข์ (ความทุกข์, สภาพที่ทนได้ยาก, สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสาร และ ความเที่ยงแท้ ไม่ให้ความพึงพอใจแท้จริง, ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ การประจวบกับ สิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพราก จากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง โดยย่อว่า อุปาทาน ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์)
๒. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์, สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา)
๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป, ภาวะที่เข้าถึง เมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหา สิ้นแล้ว ไม่ถูกต้อง ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ คือ นิพพาน)
๔. ทุกขนิโรธคามีนิปฏิปทา (ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์, ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง มรรคมีองค์ ๘ นี้ สรุปลงใน ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา)
|
อาศัยกันเกิดเป็นผล ๔
ทุกสิ่งอาศัย ๔ อย่างนี้เกิดเป็นผล
๑. เหตุ (เค้ามูล) มีผัสสะกระทบ
๒. นิทาน (เรื่องราว) มีการพิจารณาปรุงแต่ง
๓. สมุทัย (ก่อเกิด) มีปฏิกิริยาตอบสนอง
๔. ปัจจัย (ผลสืบต่อ) มีผลเป็นไป
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๐ มหานิทานสูตร ข้อ ๕๘) |
อาศัยเกิดแล้วละเสีย ๔
๑. กายนี้เกิดขึ้นด้วยอาหาร อาศัยอาหารแล้ว พึงละอาหารเสีย
๒. กายนี้เกิดขึ้นด้วยตัณหา (ความดิ้นรนปรารถนา) อาศัยตัณหาแล้ว พึงละตัณหาเสีย
๓. กายนี้เกิดขึ้นด้วยมานะ (ความถือดี) อาศัยมานะแล้ว พึงละมานะเสีย
๔.กายนี้เกิดขึ้นด้วยเมถุน ควรละเมถุนเสีย การละเมถุนเรียกว่า เสตุฆาต (การฆ่ากิเลสด้วย อาริยมรรค)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ อินทรียวรรค ข้อ ๑๕๙) |
อาสวะ ๔
คือกิเลสที่หมักหมมอยู่ในสันดาน(นอนเนื่องแตกตัว อยู่ในก้นบึ้งของ จิตวิญญาณ
๑. กามาสวะ (กามที่หมักหมมอยู่ในสันดาน)
๒. ภวาสวะ (ภพที่หมักหมมอยู่ในสันดาน)
๓. ทิฏฐาสวะ (ความเห็นผิดที่หมักหมมอยู่ในสันดาน)
๔. อวิชชาสวะ (ความหลงผิดที่หมักหมมอยู่ในสันดาน)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๓๕ จตุกกนิทเทส ข้อ ๙๖๑)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อาสวะ คือสภาวะอันหมักดองสันดาน, สิ่งที่มอมพื้นจิต, กิเลสที่ไหล ซึมซ่านไปย้อมใจ เมื่อประสบ อารมณ์ต่างๆ |
อาหาร ๔
อาหารคือเครื่องค้ำจุนชีวิต เครื่องยังสัตว์ให้อยู่ได้
๑. กวฬิงการาหาร (คำข้าวเป็นเครื่องค้ำจุนชีวิต)
พึงกำหนดรู้ความยินดีในกิเลสกามคุณ ๕
๒. ผัสสาหาร (ผัสสะเป็นเครื่องค้ำจุนชีวิต)
พึงกำหนดรู้ใน เวทนา ๓ (ผัสสะกระทบ ให้เกิดเวทนา)
๓. มโนสัญเจตนาหาร (จิตเจตนาเป็นเครื่องค้ำจุนชีวิต)
พึงกำหนดรู้ในตัณหา ๓ (อาหารใจ ที่เจตนามุ่งกับตัณหา)
๔. วิญญาณาหาร (ความรู้แจ้งอารมณ์เป็นเครื่องค้ำจุนชีวิต)
พึงกำหนดรู้ ในนามรูป (อาหารของวิญญาณ คือ กำหนดรู้จัก แยกแยะ นาม-รูป แล้วกำจัด เฉพาะอาสวะ ให้จบสิ้น)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๖ ปุตตมังสสูตร ข้อ ๒๔๐)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อาหาร ๔ (สภาพที่นำมาซึ่งผล โดยความเป็นปัจจัยค้ำจุน รูปธรรมและนามธรรม ทั้งหลาย, เครื่องค้ำจุนชีวิต, สิ่งที่หล่อเลี้ยง ร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดกำลัง เจริญเติบโต และวิวัฒน์ได้)
๑. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว ได้แก่ อาหารสามัญ ที่กลืนกิน ดูดซึมเข้าไป หล่อเลี้ยง ร่างกาย เมื่อกำหนดรู้ กวฬิงการาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ราคะ ที่เกิดจาก เบญจกามคุณ ได้ด้วย)
๒. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ ได้แก่ การบรรจบแห่ง อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัย ให้เกิดเวทนา พร้อมทั้งเจตสิก ทั้งหลาย ที่จะเกิดตามมา เมื่อกำหนดรู้ ผัสสาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ เวทนา ๓ ได้ด้วย)
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา ได้แก่ ความจงใจ เป็นปัจจัยแห่ง การทำ พูด คิด ซึ่งเรียกว่า กรรม เป็นตัวชักนำมา ซึ่งภพ คือ ให้เกิดปฏิสนธิ ในภพทั้งหลาย เมื่อกำหนดรู้ มโนสัญเจตนาหารได้แล้ว ก็เป็นอัน กำหนดรู้ ตัณหา ๓ ได้ด้วย)
๔. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ ได้แก่ วิญญาณเป็นปัจจัย ให้เกิดนามรูป เมื่อกำหนดรู้ วิญญาณาหารได้แล้ว ก็เป็นอัน กำหนดรู้ นามรูป ได้ด้วย) |
อิทธิบาท ๔
(คุณที่เป็นบาททะยานยันไปสู่ความสำเร็จในธรรม)
คือธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสำเร็จ
๑. ฉันทะ (พอใจรักใคร่ในธรรม ในเป้าหมาย)
๒. วิริยะ (พากเพียรลดละกิเลส เพียรเอาชนะกิเลส)
๓. จิตตะ (เอาใจทุ่มเทโถมเข้าใส่ ฝักใฝ่ไม่ท้อถอย)
๔. วิมังสา (หมั่นตริตรองพิจารณา ทบทวนธรรมเสมอ ๆ)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๐ ชนวสภสูตร ข้อ ๒๐๐)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อิทธิบาท ๔ (คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณธรรมที่นำไปสู่ ความสำเร็จแห่งผล ที่มุ่งหมาย)
๑. ฉันทะ (ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้น อยู่เสมอ และ ปรารถนา จะทำให้ได้ผลดี ยิ่งๆ ขึ้นไป)
๒. วิริยะ (ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้น ด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระ ไม่ท้อถอย)
๓. จิตตะ (ความคิด คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและสิ่งนั้น ด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจ ให้ฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไป)
๔. วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณา ใคร่ครวญ ตรวจตรา หาเหตุผล และตรวจสอบ ข้อยิ่งหย่อน ในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไข ปรับปรุง เป็นต้น) |
อุปาทาน ๔
คือกิเลสความยึดมั่นถือมั่นเป็นเรา ๔ อย่าง
๑. กามุปาทาน (ถือมั่นติดยึดในกามภพ บำเรอรูป รส ฯ)
๒. ทิฏฐุปาทาน (ถือมั่นติดยึดในทิฏฐิ เช่น เห็นว่า ผีมีตัวตน)
๓. สีลัพพตุปาทาน (ถือมั่นติดยึดในศีล และวัตรปฏิบัติธรรม)
๔. อัตตวาทุปาทาน (ถือมั่นเข้าใจในอัตตา หรืออาตมัน ได้แค่วาทะ แต่ไม่เคยรู้เห็นอัตตา ตัวปรมาตมัน จริง ๆ นั้นเลย)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ จูฬสีหนาทสูตร ข้อ ๑๕๖ , เล่ม ๑๑ ข้อ ๒๖๒)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
อุปาทาน ๔ (ความยึดมั่น, ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส, ความยึดติด อันเนื่องมาแต่ตัณหา ผูกพัน เอาตัวตน เป็นที่ตั้ง)
๑. กามุปาทาน (ความยึนมั่นในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ น่าพอใจ)
๒. ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี คือความเห็น ลัทธิ หรือ หลักคำสอน ต่างๆ)
๓. สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลและพรต คือ หลักความประพฤติ ข้อปฏิบัติ แบบแผน ระเบียบ วิธี ขนบธรรมเนียม ประเพณี ลัทธิพิธีต่างๆ ถือว่าจะต้อง เป็นอย่างนั้นๆ โดยสักว่า กระทำสืบๆ กันมา หรือ ปฏิบัติตามๆ กันไป อย่างงมงาย หรือ โดยนิยมว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์ มิได้เป็นไป ด้วยความรู้ ความเข้าใจ ตามหลักความสัมพันธ์ แห่งเหตุและผล)
๔. อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน คือ ความถือ หรือสำคัญหมาย อยู่ในภายในว่า มีตัวตน ที่จะได้ จะเป็น จะมี จะสูญสลาย ถูกบีบคั้น ทำลาย หรือ เป็นเจ้าของ เป็นนาย บังคับบัญชา สิ่งต่างๆ ได้ ไม่มองเห็นสภาวะ ของสิ่งทั้งปวง อันรวมทั้ง ตัวตน ว่าเป็นแต่เพียง สิ่งที่ประชุม ประกอบกันเข้า เป็นไปตาม เหตุปัจจัย ทั้งหลาย ที่มาสัมพันธ์ กันล้วน ๆ) |
โอฆะ ๔
คือกิเลสที่ท่วมทับจิตใจ ด้วย.....
๑. กาม (กาโมฆะ) ความใคร่อยากท่วมทับ
๒. ภพ (ภโวฆะ) ความวนเกิดท่วมทับ
๓. ทิฏฐิ (ทิฏโฐฆะ) ความเห็นผิดท่วมทับ
๔. อวิชชา (อวิชโชฆะ) ความหลงไม่รู้กิเลสท่วมทับ
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ สังคีติสูตร ข้อ ๒๕๘)
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม
โอฆะ ๔ (สภาวะอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์, กิเลสดุจน้ำท่วม พาผู้ตกไป ให้พินาศ - the Four Floods) ได้แก่ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา (กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ) |
โอวาทปาฏิโมกข์ ๔
๑. ความอดทน คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง (ขันตี ปรมัง ตโป ตีติกขา)
๒. ท่านผู้รู้ทั้งหลาย แม้จะกล่าวอย่างไร ก็ลงสู่นิพพานอย่างยิ่ง (นิพพานัง ปรมัง วทันติ พุทธา)
- ทั่วไปท่านแปลว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสว่า นิพพานเป็นธรรมะอันยิ่ง
๓. ผู้ฆ่าสัตว์อื่น ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต (น หิปัพพชิโต ปรูปฆาตี)
๔. ผู้เบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย (สมโณ โหติ ปรัง วิเหฐยันโต)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ข้อ ๒๔)
อ่านต่อ พุทธสิกขา หมวด ๕-๗ พุทธสิกขา หมวด ๘-๑๖ |