บันทึกความทรงจำ
: ๑๒ เพล(า) ในไต้หวัน
-
ระหว่างวันที่ ๗ - ๑๘ เมษายน ๒๕๔๕
(ตอน ๔)
(ต่อจากตอน ๓)
วันอังคารที่ ๑๖
เมษายน ๒๕๔๕
กลับคืนไทเป
อาหารเช้ากับเด็กที่มีปัญหาทางสมอง
ตื่นเช้าขนของลงมาใส่รถ เพิ่งได้เห็นเด็กๆ
หลายคน ทราบว่าบางคนอาศัยอยู่กับพ่อแม่ในชุมชนข้างวัด แต่มาทำ กิจกรรมในวัด
ตอนเช้าเด็กต้องสวดมนต์ ทำวัตรเช้า และทานอาหารเช้าที่นี่ น้าติ๋วลงมาสอน
ชี่กงให้น้องๆ หนุ่มๆ ไปผจญภัยถ่ายรูปในวัด ตัวมังกรเลื้อยบนกำแพงวัด
สะท้อนกับแสงอาทิตย์ ยามเช้า งดงามมาก
แม้จะดูเป็นมูลนิธิจนๆ ของวัด แต่พี่เลี้ยงที่นี่ดูมีน้ำใจกับพวกเรามาก
ทำอาหารอย่างดี รสชาติอร่อย จนพวกเรา อายเด็กๆ มากที่พวกเขามีกับข้าว
เพียงอย่างเดียว คือ ข้าวต้ม ไข่เจียวหอมใหญ่ แววตา ที่มักหันกลับมาดู
พวกเรา รับประทาน ทำเอาบางคน ตื้นตันเอาดื้อๆ พวกเราแบ่งปันขนม ผลไม้
ที่ตุนมา ตลอดทาง ให้แก่เด็กๆ พร้อมด้วยเงิน บริจาคอีก 3,000 NT ที่มอบให้ด้วยความปิติ
ผลิตภัณฑ์ผลไม้
หมีเจียน
รถเดินกลับไปทางอี่หลาน
(Elan Country) แวะโรงงานแปรรูปผลไม้(ส้มกิ๊ก หรือ คัมควอท) หมักน้ำผึ้ง
ซึ่งถือว่าเป็น Orange Country เพราะเป็นแหล่งปลูกส้มกิ๊ก แห่งเดียว
ของไต้หวัน (Home of Kumquat) ตามตำนานเล่าว่า มีการพบว่าส้มตกลงในรังผึ้งแล้วไม่เน่า
จึงดองส้มนี้ด้วยน้ำผึ้ง เพื่อให้คนรัก นำติดตัว เดินทางไกล เหมือน
Sweet Farewell ในนิทานเรื่อง Butterfly lover เป็นที่มาของการถนอมอาหาร
ด้วยน้ำผึ้ง ที่มีชื่อเสียง ส้มกิ๊ก (Kumquat) มีผลสีทองลูกเล็ก คล้ายมะปราง
มีรสเปรี้ยว ประโยชน์ ระงับ อาการไอ ช่วยย่อยอาหาร ผลิตน้ำลาย ลดความอ้วน
ลดกลิ่นบุหรี่ ช่วยให้ดูอ่อนเยาว์ ผิวดีและตื่นตัว ทำให้เสียงดี
ออกจากห้องบรรยาย
พวกเราก็ได้รับเชิญ ให้ชิมโน่นชิมนี่ ยังไม่ทันจะควักกระเป๋าซื้อ เหมือนมีระฆังช่วย
เพราะมีรถบัส สามคันใหญ่ เข้ามาจอด ลูกค้าเนืองแน่น จึงต้องเลี่ยง
ไปดูโรงงานผลิต ซึ่งพวกเรา ก็ได้แต่ ชะเง้อชะแง้ แลผ่าน กระจก เท่านั้น
(เพื่อสุขลักษณะของโรงงาน และการไม่ไปล้วง ความลับการผลิต)
ขั้นตอนการผลิต
คัดขนาด - ล้าง -
ดองด้วยเกลือ Sodium metabisulphite from browing - ล้างน้ำเกลือออก
- หั่นชิ้น -ถ
แช่อิ่มน้ำผึ้ง
- อบแห้ง Hot air drying เ บรรจุ
มื้อกลางวันด้วยการเข้าไปคารวะ
ออกจากโรงงาน ยังไม่มีแผนว่าจะพักเที่ยงกันที่ไหน
ภิกษุณีท่านเฉียบไว ขอแวะคารวะธรรม ท่านเจ้าอาวาส วัดฟู่เหยียนฉัง
ไฉนเลย ท่านจะไม่เชิญพวกเรา ร่วมรับประทาน อาหารกลางวัน กับพระภิกษุ
และ ฆราวาส ในวัด
วัดนี้มีโต๊ะรับประทานอาหารแป้นตรงกลางหมุนด้วยไฟฟ้าขนาด
๒๕ ที่นั่ง ทุกคนเอ่ยปากเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่เคยเห็นโต๊ะ รับประทานอาหารที่ไหน
ใหญ่เท่าโต๊ะตัวนี้เลย แล้วไยอาหารที่เสริฟ จะไม่มีปริมาณ ที่ทำให้เรา
หนังท้องตึงได้เล่า ที่นี่ให้เกียรติสตรี มีฐานะเท่าเทียมกับบุรุษ
ไม่มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ แม้แต่ คนใช้แรงงาน เจ้าอาวาสจะร่วมรับประทานอาหารพร้อม
ๆ กับสมาชิกทั้งสตรีและบุรุษ ประดุจเป็น ครอบครัว เดียวกัน เป็นกิจวัตร
เลียบแปซิฟิคกลับสู่ไต้หวัน
เวลาบ่ายคล้อยรถทั้งสองคันสามัคคีเดินทางกลับด้วยเส้นทางถนน
เรียบฝั่งแปซิฟิก จนถึงเมืองจี้หลง มีเรือสินค้า ขนาดใหญ่ เรือทราย
และเรืออีกหลายชนิด เป็นเมืองที่มี เศรษฐกิจดีมาก มีโรงงานทำรองเท้า
ที่มีชื่อเสียงของไต้หวัน ระหว่างทางพวกเราผลัดกันคุยผลัดกันหลับ ด้วยเห็นใจท่านตุ๋ย
ที่มาช่วยเป็น พระสารถี ขับรถแทนภิกษุณี ที่ท่านชอบ ทำตื่นเต้น กับลีลาการขับ
แล้วจอดแบบกระทันหันเสมอ
เยี่ยมแดนสุขาวดีที่ยังไม่มีใครอยากไปอยู่
(ตอนนี้)
ขบวนรถ พาพวกเรามุ่งหน้า
ขึ้นเหนือสุด เพื่อขึ้นเขาจินซัน (ภูเขาทอง) ไปที่สุสานชินเป่าซาน
(Chin Pao San) เพราะนอกจาก ทิวทัศน์งดงาม บนยอดเขาเสียดฟ้า และแลลงมา
เป็นเวิ้งทะเล กว้างใหญ่แล้ว
ที่นี่ยังเป็นที่ฝังศพเติ้งลี่จิง
นักร้องสาวชื่อดังก้องโลก ชาวไต้หวัน ซึ่งมาจบชีวิต ขณะมาพักผ่อน ที่ภาคเหนือ
ของประเทศไทย ด้วยโรคหอบหืด ขณะอายุได้ สี่สิบเศษ บริเวณสุสาน จะมีเสียงของเธอ
เปิดให้ฟัง ตลอดเวลา มีพวกเราบางคน ไม่รู้จักเธอเลย แต่พอฟังเสียง
ก็ถึงบางอ้อได้ ทุก ๆ วัน จะมีนักท่องเที่ยว เดินทางมาจากทั่วสารทิศ
เพื่อมาให้ถึงสุสานเติ้งลี่จิง จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง
ของไต้หวัน
โดยปกติ ร่างที่จะนำมาฝังที่สุสานแห่งนี้
จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายประมาณ ๗๐ ล้านบาท แต่สำหรับสุสาน ของเติ้งลี่จิงนั้น
เสียค่าใช้จ่ายเพียง ๑ บาท เนื่องจากเป็นผู้ที่มีคุณูปการ นำชื่อเสียง
มาสู่ประเทศชาติ สังเกตได้ว่า บริเวณสุสาน ของเธอ อยู่ในมุมที่สวย
และกว้างใหญ่กว่าคนอื่น นับสิบเท่า ในขณะที่สุสานอื่นๆ เป็นเสมือน
ทาวน์เฮาส์ ปลูกต่อกัน (นับตารางเมตรได้)
สุสานแห่งนี้ย่อมต้องเป็นสุสาน
สำหรับคนรวยแน่นอน ดำเนินการโดย นักธุรกิจเอกชน ที่วาดความฝันว่า จะให้เป็น
ดินแดนสวรรค์สุขาวดี ของคนที่ตายจาก โลกมนุษย์นี้ สังเกตจาก สภาพฮวยซุ้ย
ซึ่งสร้างด้วย หินอ่อน สวยงาม มีหินแกะสลัก รูปพระ เทวดา นางฟ้า สัตว์ต่าง
ๆ รายล้อม
ที่สำนักงานขาย
มีใบจองสุสาน และจัดเป็นพิพิธภัณฑ์อยู่ในอาคารที่สร้างเป็นลักษณะสถูปสูง
ซึ่งเป็นที่ รวบรวม รายชื่อ ของผู้ตายทั้งหมด มีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้ง
เหมือนจริง ของอรหันต์ ๑๘ พระองค์ จากอินเดีย รูปร่างหน้าตา ค่อนข้างดุดัน
บางองค์น่ากลัว (ไม่งดงาม) ด้วยเหตุที่มหายานถือว่า คนเป็นอรหันต์
ไม่สมบูรณ์ แต่รูปปั้น พระโพธิสัตว์ จะมีรูปร่าง หน้าตางดงาม ข้างในพิพิธภัณฑ์
มีไม้จันทน์ขนาดกว่า ๑๐๐ กก. แกะเป็นหมอนสวดมนต์ มีบาตรใหญ่ที่สุดในโลก
และมีรูปปั้น ต้าซือจือหูหว่า (ผู้ดูแลมนุษย์ ที่ฉลาดและโง่) ที่ลือชื่อ
ขากลับเข้าเมืองไทเปได้เลียบทะเล
ที่ไม่พลุกพล่านจอแจด้วยรถบรรทุกใหญ่เหมือนเมื่อเช้า และวันที่ผ่านมา
ด้วยผ่านเลย เมืองท่าใหญ่มาแล้ว เป็นเย็นที่ผ่อนคลาย หลังจากผจญภัย
มาสามวัน กลางคืน แวะรับประทาน เต้าหู้ยัดไส้วุ้นเส้น ที่มีชื่อเสียงของเมือง
ที่จำชื่อไม่ได้ หลายๆ คนสนุกกับ "ทุกอย่างสิบบาท" ซึ่งเป็นร้านโชวห่วย
ที่ขายของใช้ประจำวัน คืนนี้กลับไปนอนถิ่นเดิม ที่สำนักสงฆ์เหมี่ยวกงซือ
วันพุธที่ ๑๗ เมษายน
๒๕๔๕
..เก็บตกไทเป
มูลนิธิการเกษตรลีน-กุง
ในฐานะที่เป็นทีมต.อ.ภิกษุณีท่านเลยพยายามติดต่อหาที่ดูงาน
ที่จะเกิดประโยชน์ให้มาก เช้านี้จึงไปดูงานที่ Lin-Kung Foundation
Taipei ซึ่งเป็นศูนย์วิเคราะห์ทางเคมี ผลิตภัณฑ์การเกษตร (Agricultural
Chemical Analysis Center www.linkung. org. tw.) มูลนิธิการเกษตรลีน-กุง
ไทเปนี้ เป็นองค์กรเอกชน ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน โดยการฝากเงิน ๑,๒๐๐
ล้าน NT ให้มูลนิธินำดอกผลไปใช้ ในกิจการ ให้คำแนะนำเกษตรกร ในการเพาะปลูก
พืชไร้สารพิษ
และทำหน้าที่หลัก
ในการตรวจสอบสารเคมี ในผลิตผลการเกษตร ตรวจสอบสารฆ่าแมลง ตกค้างในอาหาร
ตรวจสอบ เครื่องดื่ม ด้านคุณค่า ทางอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภค มีความเชื่อมั่น
ใช้สัญลักษณ์ อันซิน ซึ่งแปลว่า วางใจ รวมถึงทำการเผยแพร่ ให้ความรู้แก่ผู้บริโภค
ให้รู้จักเลือกสินค้า ทั้งนี้การดำเนินกิจกรรมครึ่งหนึ่ง ช่วยเกษตร
อีกครึ่งหนึ่ง ช่วยรัฐด้วยการ ตรวจสอบผลิตภัณฑ์นำเข้า ที่ผ่านท่าเรือ
สนามบินใช้เวลา ๒ วัน ถึงจะปล่อยสินค้า ออกสู่ตลาดได้ โดยทำงานร่วมกับภาครัฐ
๓ หน่วยงาน ได้แก่ สาธารณสุข เกษตร พาณิชย์ องค์กรนี้ มีเจ้าหน้าที่
๑๗ คน สามารถตรวจผลิตภัณฑ์ได้ ๗,๐๐๐ รายการต่อปี
ประวัติความเป็นมา
ขององค์กรนี้ คือ ในปี ๑๙๘๖ มูลนิธิได้ถูกก่อตั้งขึ้น เพื่อทำการวิจัย
และพัฒนา การเกษตร ตรวจวิเคราะห์ สารเคมีตกค้าง ในปี ๑๙๙๑ ตั้งเป็นศูนย์ดูเรื่องความปลอดภัยอาหาร
และ ศูนย์ข้อมูล ด้านสุขภาพ โดยร่วมมือกับสหรัฐอเมริกา ในการพัฒนาเทคนิค
การตรวจวิเคราะห์ สิ่งที่ตรวจ วิเคราะห์ ได้แก่ สารตกค้างในผัก ผลไม้
ดิน น้ำ ด้วยวิธี GC Test HPLC
เรามีโอกาสเดินชมห้องปฏิบัติการ
Lab โดยละเอียด เครื่องมือและเทคโนโลยีชั้นสูง ก็เกินกว่า ศักยภาพ
ของต.อ. ที่จะเข้าใจ หรือนำมาประยุกต์ใช้ได้ แต่ก็ถือว่า เปิดโลกทรรศน์ไว้
สำหรับ การประสานงาน กับหน่วยงานอื่น
ในห้องทำงานมีการควบคุมคุณภาพ
ความปลอดภัย และการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น มีฝักบัว ล้างเนื้อตัว
กรณีถูก สารพิษ และตู้ดูดสารพิษ เพื่อความปลอดภัย ของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่
Lab ๑ คน จะทำงาน ครบวงจร มีการวางแผนงานล่วงหน้าแต่ละวัน การตรวจวิเคราะห์
มี ๒ ประเภท คือ ประเภท organic compound เช่น คาร์โบไฮเดรท, ไขมัน
และไม่ใช่ organic compound ซึ่งเป็นส่วนประกอบอื่น ๆ ของอาหาร สารเคมีที่ใช้
ทางการเกษตร ที่มีกว่า ๔๐๐ ชนิด สามารถตรวจได้ ๑๕๐ ชนิด
อุปกรณ์ เครื่องมือ
เครื่องตรวจอัตโนมัติ จัดแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ในห้อง HPLC มีเครื่องมือวิเคราะห์ทั้งสิ้น
ราคากว่า ๑๐๐ ล้าน NT รวมถึงมีอุปกรณ์ ระบบการวิเคราะห์ผล อัตโนมัติ
ซึ่งมี soft ware สำหรับแปรผล พิมพ์รายงานผล การวิเคราะห์ได้ทันที
มีห้อง GC/MS (ตรวจยืนยันผล) ห้องตรวจโลหะหนัก ปรอท ตะกั่ว สังกะสี
เป็นต้น อาหาร ที่ตรวจแล้ว จะเก็บแช่แข็ง ในห้องแช่แข็งไว้ ๓ เดือน
เพื่อดำเนินการทางกฎหมาย ห้องเก็บเอกสาร หลักฐาน ผลการตรวจ วิเคราะห์
เก็บไว้ ๗ ปี โดยจะเผยแพร่ ให้ความรู้ผู้บริโภค ได้เลือกสินค้า ที่ปลอดภัย
อุดมการณ์(เดียวกัน)
: จะเผยแพร่ธรรมะให้ท่วมโลก
หลังอาหารกลางวัน
เราได้ไปตามสำนักงานเผยแพร่ธรรมะต่าง ๒-๓ แห่ง เช่น สำนักเผยแพร่ธรรมะ
ที่ท่านภิกษุ จิ้งคงฝ่าซื่อ สนับสนุน ท่านโดดเด่น ในด้านการเผยแพร่สื่อธรรมะ
มีเทป, VCD, หนังสือ ฯลฯ
แต่ละแห่งมักมีบริการห้องสมุดเพรียบพร้อมอุปกรณ์โสตให้ยืมอ่าน
ฟังศึกษาธรรมะด้วยตนเอง บางแห่ง เป็นแหล่ง รวบรวม หนังสือธรรมะ ของพระภิกษุ
ในพุทธศาสนา ชาติต่างๆ โดยเผยแพร่ทั้งภาษาจีน อังกฤษ และอื่นๆ เช่น
มีหนังสือท่านอาจารย์ชา ที่พิมพ์เป็นภาษาจีนด้วย
พวกเราสองคน ได้รับเชิญให้ขึ้นไปบนห้องผู้จัดการ
เขาไถ่ถามเรื่องของพวกเรา ซึ่งมีอุดมการณ์ ในการเผยแพร่ธรรมะ ให้ท่วมโลก
เช่นกัน เขาขอให้แจ้งชื่อ และจำนวนหนังสือ ที่ต้องการ เพื่อจะจัดส่ง
ทางไปรษณีย์ให้ โดยเราไม่ต้อง แบกกลับเอง เราบอกขอเพียง ๑ ชุดก็พอ
เพื่อนำมาไว้ที่ ห้องสมุดสันติอโศก เพื่อให้เด็กเรา ฝึกเรียนภาษาอังกฤษ
หรือสำหรับการค้นคว้า ของชาวต่างประเทศ ที่มาขอใช้บริการ ต่อรองกันไป
ต่อรองกันมา เขาบอกว่าน้อยจังเลย เราเลยบอกว่า สิบชุดก็แล้วกัน เพื่อจะได้ส่งไปยัง
ห้องสมุด พุทธสถานต่างๆ ก่อนจาก เขาแจ้งความจำนงว่า ยินดีสนับสนุน
สำหรับพิมพ์หนังสือธรรมะดีๆ แม้ว่า จะพิมพ์เผยแพร่ ในประเทศไทยก็ตาม
เราเลยบอกเรื่องนี้ต่อ กับท่านลักขโณ และคุณแก่น ให้เรียน ให้พ่อท่านทราบ
หรือประสานงานกับ ผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
..สาธุ
ที่ไต้หวันการเผยแพร่ธรรมะผ่านสื่อก้าวหน้าไปไกลมาก
ทั้งทางโทรทัศน์มีรายการทางธรรมะ หลายช่อง ทีเดียว โดยเฉพาะสื่อที่เผยแพร่
ในรูปของการให้ โดยไม่คิดมูลค่า เช่น หนังสือ เทป VCD ภาพโปสเตอร์
สำหรับ กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ตั้งแต่เด็ก ๆ จนถึงวัยผู้สูงอายุ มีให้เลือกสรร
ตามความใฝ่รู้ ของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ แหล่งจำหน่าย ศาสนาวัตถุต่าง
ๆ ก็ได้รับความนิยม จากบุคคลทั่ว ๆ ไป จะเห็นว่า แหล่งขาย ไม้แกะสลัก
เซรามิค หินแกะสลัก ฯลฯ ก็ล้วนเป็นรูปของ พระอรหันต์ และ พระโพธิสัตว์
ภาคต่างๆ ทั้งสิ้น
ช้อปส่งท้าย
ภาคบ่ายเป็นรายการช้อปส่งท้าย
แยกเป็นสองทีม ทีมหนุ่มๆ สนใจคอมพิวเตอร์ เครื่องไฟฟ้า มีย่านคอมฯ
บริเวณ กว้างใหญ่ สองข้างถนน และช่วงกลางถนน เป็นอาคารยาวสี่ชั้น และมีชั้นใต้ดิน
สนนราคา ไม่ถูกเท่าใด คงเป็นเพราะ ค่าเงินนั่นเอง แต่พวกเราก็ได้อุปกรณ์เสริม
ชิ้นเล็กชิ้นน้อยกัน ส่วนทีมสาวๆ สนใจหาซื้อเทปธรรมะ บทสวดมหายาน ซึ่งแทบ
จะร้องได้ขึ้นใ จเพราะได้ฟังตลอดการเดินทาง ที่แสนไกล
รับประทาน อาหารค่ำ
ที่ภัตตาคารตรงข้าม (อ่านดีๆ นะ) ห้างสรรพสินค้า Living Mall จิงฮัวเชิ๊น
ซึ่งเป็น ห้างใหญ่ที่สุด ในไต้หวัน ขึ้นบันไดเลื่อน เหมือนขึ้นยานอวกาศ
มีทั้งหมด ๑๑ ชั้น สินค้าทันสมัย
จัดกระดูกพระถนอมรอบสอง
คืนสุดท้ายที่ไต้หวันส่งท้ายโดยการไปพบท่านถนอม
เพื่อทำการจัดกระดูกของคณะทีมงาน ที่ยังคลอนแคลน ให้เข้าที่เข้าทาง
คืนนี้ก่อนนอน ทบทวนเหตุการณ์ต่าง ๆ ความเอื้ออาทร ความเมตตาปรานี
ที่มีให้ต่อกัน เก็บบันทึก ประทับไว้ เป็นความทรงจำที่ดี หลับลงด้วยจิตใจที่สงบสุข
ผ่อนคลาย
วันพฤหัสบดีที่
๑๘ เมษายน ๒๕๔๕ : วันสุดท้าย ณ ไต้หวัน งานเลี้ยงที่ต้องมีวันเลิกลา
เสมอ (ตามสัจจธรรม)
กตัญญูสถานที่ก่อนจาก
เช้าตื่นมาด้วยความกระปรี้กระเปร่า
พวกเรารวมแรงร่วมใจกัน กตัญญูต่อสถานที่ โดยการทำความสะอาด สถานที่พักอาศัย
และบริเวณโดยรอบ ของสำนักสงฆ์ ห้องน้ำ เก็บผ้าคลุมเบาะ และปลอกหมอน
ออกซักตาก รับประทานอาหารเช้า โดยฝีมือท่านภิกษุณี เมตตาทำให้รับประทาน
เช่นทุก ๆ วันไม่เคยขาด จากนั้น มีการสรุป บทเรียน ของทุก ๆ คน แล้วออกเดินทางจากวัด
เพื่อไปขึ้นเครื่องบิน กลับสู่ประเทศไทย โดยเป็นเวลาช่วง เที่ยงพอดี
จึงหาอาหารใส่ท้อง เป็นขนมปังกับสาคูเม็ดส่งท้าย
ระหว่างทางท่านเห็นว่ายังพอมีเวลา
จึงแวะดูงานการแพทย์ธิเบต ซึ่งรักษาโดยการจัดกระดูก และรมควัน (ยาสมุนไพร)
ทางสายสะดือ โดยผู้ที่มารับการรักษา ต้องผ่านการตรวจเช็คร่างกาย ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
รายงานผลเป็นกราฟ ซี่งสามารถบ่งบอกได้ว่า อวัยวะภายในของเรา มีความเสื่อม
ในจุดใดบ้าง แล้วจึง พบแพทย์ และ ได้รับการรักษา ตามความเหมาะสม ในส่วนของการรักษา
โดยการรมสะดือนั้น สืบเนื่องจาก ความเชื่อที่ว่า คนเราเกิด ตอนอยู่ในท้องแม่
หายใจรับอาหาร จากแม่ผ่านสะดือ การรักษาโรค สุขภาพ จึงทำเหมือน ตอนอยู่ในท้องแม่
โดยใช้ยาจีน ทำเป็นเส้นเผาเอาควันรมซึม ผ่านทางสะดือ เป็นเวลา ประมาณ
๔๐ นาที
ใครน้ำตาซึมก่อนจาก
ถึงสนามบินเจียงไคเช็คทันเวลา
ท่านลักขโณ ท่านมหาชุติโรจน์และภิกษุณีเยี๋ยนติ้ง กรุณามาส่ง คณะทีมงานทั้งหมด
๑๐ ชีวิต ขึ้นเครื่องการบินไทย เที่ยวบิน TG 635 เวลา ๒๐.๐๐ น. กราบอำลา
พระภิกษุ และภิกษุณี อำลาไต้หวัน กลับคืน สู่ประเทศไทย โดยสวัสดิภาพ
ถึงกรุงเทพฯ เวลาห้าทุ่มเศษ
=============================================
บันทึกบทเรียนที่ได้สรุปกัน
ท่านลักขโณ
พ่อท่านว่านโยบายช่วยกันหาข้อผิดข้อพลาด
ในชุมชนอโศก ให้เราเห็นข้อบกพร่องของตนเอง แล้วให้ ปรับปรุงแก้ไข แต่ส่วนตัวมองว่า
แต่ละคนภายใต้สภาพการทำงาน ที่บีบรัดตนเอง ควรมองคน ในแง่ดี จะไปรอด
ตึงจะไปไม่รอด ดังที่ว่า "เคร่งครัดที่ตน ผ่อนปรนผู้อื่น"
มองทุกคน เป็นพระพุทธเจ้า เหมือนกัน เชื่อมั่นว่า เขาดี เขาเก่ง จากการอยู่ที่ไต้หวัน
เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อคนอื่นก็ดีเช่นเรา อย่าเชื่อ ในสิ่งที่เห็น เขาอาจไม่เป็นเช่นนั้นก็ได้
คุณแก่นฟ้า
อาเปิ้มให้ข้อมูลทางสมณะชาวอโศกว่า
การที่พวกเราพูดในสิ่งที่ดีของไต้หวัน เป็นการสร้าง กระแส ให้คนอยากมา
รุ่นที่ ๑ จึงสรุปออกมาว่า จะไม่พูด แต่ก็ไปดูที่สันติฯ ในตอนเช้า
ซึ่งเกิดกระแส ทำให้คนอยากมาดูงาน จึงขอให้ระวัง ในการให้ข้อมูล สำรับรุ่นที่
๒ พูดไปคนก็อยากมาอีก อาเปิ้มก็ถูกสมณ ะเรียกไปพูดคุย เพราะฉะนั้น
ขอให้ระมัดระวังข้อมูล ที่จะนำไปเสนอพูดคุยต่อ ๆ กันด้วย ในส่วนของ
การสาธารณสุข กลับไปจะพานักเรียน มาเรียน การจัดกระดูก (ทีมงานให้ข้อคิด
ควรหันมาสนใจ การออกกำลังกาย / การรับประทานอาหารที่ดี / Positive
thinking ไม่ต้องพึ่งพาเครื่องมือ)
คุณมนทิรา
ก่อนจะมาคิดว่ารู้หมด และไม่ชอบมหายาน มาครั้งนี้ เห็นความตั้งใจ ศึกษาจริง
เด็กเล็ก ๆ ตัดกิเลส กินเจ บวชวัดที่ไม่นอน ค่อย ๆ คิด เขาทำได้ น่าชมเชย
เมื่อก่อนรู้สึกว่า เมืองไทยเจริญแล้ว แต่ตอนนี้รู้ว่า เมืองไทย ล้าหลังมาก
การบริจาคเงินในชาวอโศก นับว่าน้อยมาก การปฏิบัติธรรม บรรลุเป็น พระอรหันต์
ของพ่อท่านสูงมาก มาครั้งนี้ รู้สึกชื่นชม ไม่ต่อต้านมหายาน เขาก็มีดีของเขา
คุณสงกรานต์
เคยได้ยินอาจารย์สุลักษณ์วิพากษ์พระว่า
"เถรวาทถือตัว" ควรดูพระมหายาน ยิ่งใหญ่ ขนาดไหน ยังรับไหว้
ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ พอมาพบคุยกับท่านตุ๋ย และได้เห็นการทำงาน ของพระมหายานที่นี่
รู้สึกทึ่งพ่อท่าน เข้าใจเรื่องมหายาน และเถรวาท ได้อย่างเหมาะสม โดยส่วนตัว
มีความเข้าใจ การทำงาน และ อุดมการณ์ ของมหายานมากขึ้น เห็นรูปธรรม
ของมหายานมากขึ้น
คุณแก่นฟ้า
วัตถุประสงค์การมาครั้งนี้ (๑) เรื่องมหายาน (๒) การแพทย์ทางเลือก
(๓) SME - SME ของไต้หวัน เราต้องมาพัฒนา SME ของชาวอโศก มีแนวคิดว่า
ต้องเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ผลักดัน ให้เกิดในอโศก ได้แก่ เต้าหู้ และ
เรื่องจุลินทรีย์ โดยเอาวัตถุดิบ ดูว่าเขาจะช่วยพัฒนา วิชาการได้อย่างไร
ต้องนำกลับไป วิเคราะห์ข้อมูล เสียดาย ไม่มีโอกาส ได้ดูงานโรงงานต่าง
ๆ กับคุณโย่ง
การรับเลี้ยงในการรับประทานอาหาร
ที่เขาเต็มใจเลี้ยง ควรรับเลี้ยงด้วยความเต็มใจ ขอให้เป็น ความผูกพันว่า
บุญคุณ ต้องทดแทน (ไม่ใช่ว่าต้องจ่ายเงิน) คณะหน้ามา ถ้าใครเลี้ยง
รับเลี้ยงให้หมด แล้วจะมีจิตใจ ที่ผูกพันกัน เป็นตัวอย่างที่ดี
ท่านลักขโณ
อาตมาจะวิเคราะห์เจี๋ยเหยี๋ยน
: เขาผูกโซ่ความดีกับเรา เขาทำดีกับเรา เราทำดีกับคนอื่น คนไทย มีมหาโพธิสัตว์
แต่กล้าให้น้อยกว่า อาตมาได้รับเงินทำบุญ มหาศาล ขนลุกขนพอง ไม่รู้จักกัน
เขาให้ได้ ไม่กลัว คุณจะชั่ว การให้ความดีครั้งนี้ ฉันจะเปลี่ยนจิตใจคุณได้
ในระบบราชการ สร้างบุญคุณ แต่เจตนา ต่างกัน ยืมตรงนี้ มาใช้แยกยาก
ใช้วัฒนธรรมที่ดี เพื่อประโยชน์ตน
คุณเพชรตะวัน ไม่คิดว่าจะได้มาเจอสิ่งดี
ๆ ท่านสมณะให้อุปการะ รู้สึกท่านมีจิตใจเมตตา มาอยู่นี่ไม่ง่าย ต้องต่อสู้
ท่านก็ยังอยู่ได้ ให้ความเอื้อเฟื้อ เพื่อให้คนไทย ได้มาดู ท่านภิกษุณีจิตโพธิสัตว์
พระไทยมาดูแลเรา กรุณามาก ที่นี่เปิดกว้างไม่ควบคุม กลับดูแลปฏิบัติได้ดี
มาดูแล้วเข้าใจ ที่ท่านสมณะ นำเครื่อง ออกกำลังกาย ไปให้ รู้สึกซาบซึ้ง
ในความเมตตา ของพระและภิกษุณี ด้านสุขภาพ ได้ความรู้เพิ่มขึ้น เรื่องการดูม่านตาบอกโรค
ดูสีหน้าบอกโรค ได้ถูกต้อง มีสุขภาพทางเลือก และเทคโนโลยี มากมายหลาย
ๆ ด้านที่เราไม่มี คิดว่าน่าจะไปประยุกต์ ใช้ได้บ้าง กลับไป จะเป็นแกนนำ
ด้านสุขภาพ และจริงจังมากขึ้น การออกกำลังกาย คงต้องต่อเนื่อง การดูงานโรงเต้าหู้
ทำเล็ก ๆ สมตัว พัฒนาไปได้ด้วยดี เหมาะสม เราน่าจะนำไปใช้ ด้านศาสนา
แต่ก่อนคิดว่า มหายาน คือการหย่อนยาน ความจริงจิตสูง ช่วยเหลือ คนทุกข์ยาก
ได้ประโยชน์มาก เห็นบทบาทของสตรีมากขึ้น ที่จะเป็นข้อคิด ไปใช้ทำงานต่อ
คุณสุรชัย
ถูกชวนให้มาแบบฉุกละหุก
ขอคำตอบเดี๋ยวนั้นเลย ต้องผ่านด่านเจ้านายจังหวะที่มาไม่ดี เพราะลูกน้อง
ออกไป ได้รับข้อมูลว่า โอกาสมายากมาก ถ้าไม่มา รุ่นหน้าอาจจะไม่ได้มา
เจ้านายยังไม่ทราบ ว่าไปไหน ประทับใจ ท่านสมณะ ภิกษุณีในทุก ๆ ด้าน
ปกติเวลาไปไหนต้องระวัง มาที่นี่นอนก็เปิดประตู รู้สึกสบายใจ ไม่ต้องห่วงอะไร
เป็นคนกินจุ และกินช้า จะเสร็จทีหลังทุกที ข้อบกพร่อง ของตนเอง คือ
วางตัวบางครั้ง อาจจะไม่ถูก ข้อบกพร่อง ของผู้อื่น คือ นอนกรน (ได้ข้อสังเกตว่า
ถ้านอนหนุนหมอน จะไม่กรน) เรื่องอาหารเจ กินได้ กลับไปหากมีคนทำเจให้
ก็จะทาน
คุณต้นกล้า
ก่อนมาเหนื่อย
มาแบบไม่รู้ตัว มีการคัดค้านในการมา เมื่อก่อนภาพลักษณ์ไต้หวัน คือ
ทุนนิยม เจ้าแม่กวนอิม เต๋า เทวนิยมมาก คุยกับสุ ถึงมูลนิธิฉือจี้แล้ว
มีความรู้สึกน่ามา ตนเองป่วยด้วย อยากพัก อากาศที่นี่ดี ได้ลองเกือบทุกหมอ
หมอตา เจาะลึกอธิบายได้ละเอียด จัดกระดูกทั่วร่างกาย ทำให้ไม่ปวด อีกเลย
หมออู๋ จัดกระดูกให้ ขาก็ไม่เจ็บอีกเลย แต่ก่อนจะคิด ก็ไม่อยากคิด
อยากหลับ เป็นไทรอยด์ รู้สึกดีขึ้น มีปัญหาตรงไหน หมอก็แก้ไข ให้ตรงนั้น
ได้ประโยชน์ สามารถวิเคราะห์ การรักษา โดยเอาตัวอย่างเขาไป จะหาผู้ไปศึกษา
จากพระถนอม (ท่านจะเดินทางกลับไป ประเทศไทย ที่เชียงรายประมาณ ๑ เดือน)
ด้านศาสนา ได้เรียนรู้ เรื่องมหายาน มากขึ้น
คุณน้าอาภรณ์ ตั้งใจมาดูงานเรื่องจุลินทรีย์
รู้จากข้อมูลว่าที่นี่บูม รู้สึกผิดหวัง เพราะทำคนละแบบกัน (ทำเป็นรูป
แบบแคปซูล) ได้เห็นไต้หวัน บ้านเมืองสวยงาม ภัยธรรมชาติ ก่อให้เกิดความรัก
สามัคคี อนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ร่วมตัวกัน สร้างบ้านเมือง ทำอย่างไร
รัฐบาลจะรณรงค์ให้คนไทย มีสำนึกบ้าง การออกกำลังกาย ไม่เห็นเป็นกลุ่ม
เหมือนจีนแผ่นดินใหญ่ เห็นมาก คือ การเดินเขา เห็นว่าคนไต้หวัน สนใจสุขภาพ
รวมถึงเรื่องอาหารด้วย ถ้าเราศึกษา จะทำให้สุขภาพดี บ้านเมือง สนใจยกย่องพระดี
ไม่เห็นขอทานเมืองไต้หวัน แต่กลัวเรื่องการขับรถ รู้สึกสับสน ในการจราจรที่นี่
ประทับใจการแพทย์ หมออู๋ ยังห่วงใย เมตตาถามถึง ศึกษาดูงานครั้งนี้
แปลกมาก คือไปกับพระ รู้สึกอบอุ่น เป็นการศึกษา ที่มาราธอน กลับ ๓
ทุ่ม ๔ ทุ่ม เห็นน้ำใจพระทุกรูป ภิกษุณีที่กรุณา พวกเรามาก ไม่แสดง
ความเบื่อหน่ายเลย
คุณสุรีย์
มาครั้งนี้ไม่ได้คาดหวังอะไรไว้
ส่วนใหญ่ปัทม์จะชวนไปดีทั้งนั้น ประทับใจภาพชัด ๆ คือ ความเมตตา ที่คนมีต่อกัน
สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ เสริมสร้างคน ปกติศึกษา การปฏิบัติดี ไม่ได้สนใจ
เรื่องมหายาน หรือเถรวาท มานี่ทำให้เข้าใจ มหายานมากขึ้น สิ่งที่รู้สึกมากที่สุด
คือ เรื่องกตัญญู รำลึกถึงแม่ ตลอดทาง ไปไหน จะคิดถึงแม่ กินอาหารเจ
นึกถึงแม่ ซื้ออาหารเจไปฝาก เมื่อ ๒๕ ปีมาแล้ว นำบทสวดมนต์ จากสวนโมกข์มาให้แม่
แม่ก็สวดมนต์ ตั้งแต่นั้นมา มาที่นี่เห็นหนังสือธรรมะ ก็เอาไปฝากแม่
เพราะเมืองไทย ไม่ค่อยมีหนังสือ ธรรมะภาษาจีน จะเป็นประโยชน์กับแม่
ซึ่งสนใจศึกษา ด้วยความพากเพียร มีความเข้าใจ อโศกว่า แต่ละคนมีจริตของตนเอง
และพยายามพัฒนา ไปให้ดีที่สุด ขอบคุณ คุณปัทม์ที่ให้มีโอกาสมา สุดท้ายขอขอบพระคุณ
พระและภิกษุณี เพราะปกติ จะไม่เข้าใกล้พระ ท่านให้ความเป็นกันเอง ในใจ
มีความศรัทธาอยู่ แต่รู้สึกว่าว่าช่องว่าง ซึ่งพระ และ ภิกษุณีที่นี่ไม่มี
ทำให้เข้าใจถึงคำว่า ไม่มีเพศ ไม่มีการ แบ่งชั้น รู้สึกเป็นเพื่อนร่วมทุกข์
เกิดแก่เจ็บตาย รวมทั้ง ขอบคุณ เพื่อนทุก ๆ คน
คุณสุวิไล
สุรีย์คิดถึงแม่แล้วเราคิดถึงพ่อบ้าง
เพราะพ่ออายุมากแล้ว ให้พ่อได้อ่านหนังสือธรรมะดี ๆ ก่อนจบชีวิต จะได้ไปแดนสุขาวดี
ซาบซึ้งการอยู่กันแบบพี่น้อง ๆ ชัดเจนในจุดหมายปลายทาง ได้ตรวจสอบ
อารมณ์ตนเอง ยินดี ที่ได้รับใช้หมู่กลุ่ม ท้ายที่สุด ขอขอบพระคุณในความเมตตากรุณา
ของพระภิกษุ และภิกษุณี หวังเป็นอย่างยิ่งว่า พวกเราทุก ๆ คนจะมีโอกาสได้รับใช้ตอบแทนพระคุณท่าน
ในโอกาสหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อท่านไปที่เมืองไทย
คุณปัทมาวดี
คงเหมือนคนอื่น
ๆ สุดท้าย คือ กราบขอบพระคุณท่านสมณะลักขโณ ที่ทำให้เราเห็น มุมต่างๆ
กลุ่มที่มา เป็นกลุ่ม ต.อ. หากเรามีเป้าหมายหลัก กลุ่มมีพื้นฐานใกล้เคียงกัน
ก็จะเกิด การจัดองค์ประกอบ การเรียนรู้ การสมานหมู่ ในหมู่ต.อ. เกิดความเข้าใจร่วมงาน
อีกประการ ที่ได้ประโยชน์ คือ ด้านสุขภาพ
คุณแก่นฟ้า
คุณโย่งคุยไว้ว่าทำอย่างไร
จึงจะมีธุรกิจของไทยในไต้หวัน (อยากให้เรานำแนวพุทธ ของพ่อท่าน มาเผยแพร่
ในไต้หวัน) ทำอย่างไร เราจะมองในอนาคตว่า หาโอกาสให้คนไทย (อโศก) มีโอกาส
ได้มาเรียนรู้ ในไต้หวัน โดยผลกำไร ที่ได้จากบริษัทภูมิบุญ จะนำเป็นทุน
ในการให้โอกาสคนอโศก มาดูงาน
คุณปัทมาวดี ประเด็นการมาไต้หวัน
ขอให้มาอย่างสง่าผ่าเผย มีเป้าหมายนำมาเอาประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์
กับชุมชน น่าจะไปสรุปบทเรียน คุยกับสมณะผู้ใหญ่
ภิกษุณี ยินดีต้อนรับ
เพราะจะได้มีโอกาสฝึกฝนตนเอง ข้อแนะนำ ฝึกแยกขยะ
คุณปัทมาวดี Set
agenda ดี ขอให้มีช่วงเวลาในการเตรียมตัว/ มีการปฐมนิเทศ การใช้ห้องน้ำ
แยกขยะ/ ควรมีการ ประสานงาน ระหว่างสมณะ และฆราวาส ในการรู้เรื่องแผน
ว่าจะไปที่ใด จะได้เตรียมตัว ได้ถูกต้อง
ภิกษุณี
การแยกขยะไม่เหมือนกัน
ทางไต้หวัน แยกขยะพลาสติกและกระป๋องโค้ก/ กระดาษ/ แก้ว/ ขยะรวม (ผลไม้)
ขยะรวมต้องซื้อถุงเพิ่ม ในเรื่องของการช่วยเหลือส่วนรวม หากต้องการให้ทำอะไร
จะบอก
ท่านมหาชุติโรจน์
ได้ฟังธรรมะบันเทิง
จากพวกเรา รู้สึกสนุกสนานกันดี คิดเพียงว่า ทำอย่างไร พวกเรา ปลอดภัย
ที่สุด ขอชมเชย ปกติคนทั่วไป รายการพลิกแพลงอย่างนี้ คงทนลำบาก เพราะพวกเรา
ฝึกมาดี ไม่เครียด ไปแบบสบาย ๆ สดชื่นดี พวกเรามากี่วัน นอนดึก ตื่นเช้าหน้าตา
ก็ยังสดใสดี ไปกับคณะ เราง่าย ไม่มีปัญหา เป็นสารถีตลอด ไม่ว่างานไหน
ตั้งปณิธานไว้ว่า จะไม่แบ่งแยกว่าหมู่ไหน คณะไหน นิกายไหน เพราะว่าอยู่เมืองไทย
เคยเดินธุดงค์ แล้วหาที่พัก โดยมาก จะได้รับคำถามว่า บวชวัดไหน นิกายไหน
ถ้าผิดนิกาย ก็ไม่ให้ที่พัก บิณฑบาต นอกขอบเขต ก็โดนว่า ในช่วงนั้น
ได้ข้อคิดว่า คนเราทั้ง ๆ ที่เป็นชาวพุทธเหมือนกัน ทำไมต้อง มีการแบ่งแยก
พระพุทธเจ้า มีความเมตตา พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ ไม่มีการแบ่งแยก
อาตมาถึงศรัทธามหายานว่า เขาใจกว้าง เขามีจิตพุทธะอยู่ ทำให้มองข้ามคน
ๆ ไปไม่ได้ ในบางช่วง อาจมีกิเลสตัณหา มาบดบัง แต่จริง ๆ มีจิตพุทธะอยู่
ในช่วง ที่อยู่เมืองไทย เห็นการแบ่งแยกนิกาย เป็นเรื่องหนัก ในช่วงนั้น
จึงตั้งปณิธานว่า จะไม่มี การแบ่งแยก จะทำตามหน้าที่ ของตนไป ถือว่าได้ช่วยคน
จึงเป็นความสุข และความดี ที่ได้เสียสละออกไป แม้เป็นสารถี อำนวยความสะดวก
ให้ทุกคน ได้ศึกษาได้เรียนรู้ ขอชมเชยพวกเราทุกคน ได้รับการอบรม จากพ่อท่าน
มาดีแล้ว ก็ไม่ต้องเสริมอะไร อาตมา อาจปฏิบัติ สู้ญาติโยมไม่ได้ ก็ยังอยู่ในช่วงปฏิบัติอยู่
หากทำอะไร ขาดตกบกพร่อง ผิดพลาดโดยเจตนา หรือไม่เจตนา ก็ขอให้วางไว้ตรงนี้
ไม่มีอะไร
ท่านลักขโณ
หากไต้หวันรวมกับไทยได้ เถรวาทรวมกับมหายานได้ อรหันต์รวมกับพระโพธิสัตว์ได้
พระพุทธเจ้า ก็จะเกิดขึ้น (พุทธะก็จะเกิดความสมบูรณ์) ด้านเศรษฐกิจ
คุณโย่ง + คุณแก่นฟ้า (นำไทย ร่วมกับไต้หวัน) ด้านศาสนา อโศก : ไต้หวัน
(๗๐ : ๓๐) อโศกจะสมบูรณ์ จะทำให้พ่อท่านเบาลง
==============================
เก็บมาฝาก : ๑๒
วันในไต้หวัน
Y ประเทศไต้หวันขนาดเท่าจังหวัดเชียงใหม่
ระยะทางเหนือจดใต้ราว ๔๐๐ กิโลเมตร ตะวันตกไปตะวันออก ๑๕๐ กิโลเมตร
แนวเขาเป็นเทือกขนานตะวันออก - ภาคกลาง ประเทศ ยาวเหนือจดใต้ พื้นที่
๓๐ % ของประเทศ เป็นพื้นที่ เพาะปลูก ดร.ซุนยัดเซ็น เป็นผู้นำประชาธิปไตยสู่จีน
ไต้หวันมี ๔ ฤดูกาล ประชากร หนาแน่น อันดับ ๒ ของโลก ประชากร ๒๓ ล้านคน
กินเจประมาณ ๕ ล้านคน คนฮกเกี้ยน นับถือพุทธศาสนา แนวมหายาน เศรษฐกิจ
โดยภาพรวมสูง มี SME มากที่สุด เศรษฐกิจไต้หวัน เชื่อมโยงสหรัฐอเมริกา
ในเชิงอุตสาหกรรม ถูกญี่ปุ่น ครอบครอง ประมาณ ๑๐๐ ปี ทรัพยากรธรรมชาติ
คือ ภูเขา หินแร่มากมาย
Y ขับรถพวงมาลัยซ้าย
รถแท๊กซี่สีเหลืองทั้งคัน สีเดียวกันทั้งประเทศ
Y ไต้หวันพัฒนากว่า
๓๐ ปี มีแรงงานไทยอยู่ไต้หวันกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน ส่งเงินกลับเดือนละ ๑๐,๐๐๐
บาท เพราะฉะนั้น ส่งรายได้ เข้าไทยเดือนละกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท คนไทยมาตาย
จากการระเบิดภูเขา ตกตอหม้อ พายุฝน ทราย ฝนชะ กลบเสียชีวิต มีราชการช่วยเหลือ
เพียงเล็กน้อย รัฐบาลไทย น่าจะพิจารณา ให้ความช่วยเหลือ ให้การดูแล
กลุ่มคนไทยเหล่านี้ มากกว่าที่เป็นอยู่
Y ความหลากหลายทางการแพทย์ทางเลือก
ทีมที่ไปแต่ละคนหันมาเอาใจใส่ สุขภาพมากขึ้น ตื่นตัว เห็นความจำเป็น
และความสำคัญ ของการออกกำลังกาย รู้จักอุปกรณ์ และวิธีการใช้ เครื่องมือต่าง
ๆ ที่ได้รับบริจาคไว้ที่ พุทธสถาน ต่าง ๆ และตั้งใจที่จะกลับไปเช็ดถู
ปัดฝุ่นนำออกมา ให้บริการ กับผู้ที่จำเป็น
Y การแพทย์ทางเลือก
ที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานนั้น นับเป็นความโชคดีอย่างที่สุด ของทีมงาน
เนื่องจาก ท่านสมณ ะลักขโณ ได้อุทิศตนเอง เป็นคนไข้ทดลอง มาร้อยกว่าแห่งแล้ว
เพราะฉะนั้น แต่ละแห่ง ที่พาทีมงานไปศึกษาดูงาน จึงผ่านการคัดกรอง
จัดสรรแล้วทั้งสิ้น อีกทั้งยังได้รับสัมผัส ด้านคุณธรรม ที่หมอ แต่ละท่าน
มีจิตใจเมตตา ต่อผู้ที่มา รับการรักษา บางท่านคิดค่ารักษา และค่ายา
เท่าที่จำเป็นจริง ๆ จะกล่าวไปใย ถึงบางท่าน ที่ไม่คิดค่ารักษา พยาบาลเลย
แถมยังให้ความรู้ เป็นวิทยาทาน มอบอุปกรณ์ ที่จะช่วยให้ สุขภาพร่างกาย
ของเราดีขึ้นอีก มุมมอง ที่เห็นได้ชัดแจ้ง คือ การที่ "ข้ามากับพระ"
เป็นบุญ เบิกทาง ในการสื่อสาร ทุกขั้นตอน วิเคราะห์ได้ชัดเจนว่า ชาวไต้หวัน
เป็นผู้ที่ศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ให้ความเคารพเลื่อมใส ให้เกียรติต่อภิกษุ
และภิกษุณี เป็นสื่อที่สัมผัสสัมพันธ์กัน เพราะภิกษุ และภิกษุณี ที่พบเห็น
ได้ประพฤติตน เป็นแบบอย่างที่ดี อุทิศตนให้กับพระพุทธศาสนา และสังคม
ผูกจิต วิญญาณ ฆราวาส ให้มั่นคง ปฏิบัติตน ตามแนวทางสายพุทธะ
Y ระหว่างทางสังเกตว่า
ตามถนนนอกเมือง จะพบเห็นหลอดนีออนสารพัดสี ส่องประกายแว๊บ ๆ กระพริบ
ให้เห็น เด่นชัด (แม้จะเป็นเวลากลางวัน) ติดคู่กับตู้กระจก มองทะลุตู้กระจก
จะพบสาว ๆ รุ่น ๆ แต่งกาย ด้วยเสื้อผ้า น้อยชิ้น กางเกงหรือกระโปรงสั้น
ๆ นั่งไขว่ห้าง สอบถามได้ข้อมูลว่า คือ "สาวขายหมาก" เนื่องจาก
ชาวไต้หวัน นิยมเคี้ยวหมาก โดยเฉพาะในกลุ่มคนขับรถ การเคี้ยวหมาก เหมือนการดื่ม
เครื่องดื่ม ชูกำลังทั้งหลายในไทย ช่วยทำให้ กระปรี้ กระเปร่า สดชื่น
Y ก่อนวันจะกลับเรื่องที่พวกเราให้ความสำคัญเป็นพิเศษอีกเรื่องหนึ่ง
คือ เรื่องของน้ำหนัก ของที่แต่ละคน สามารถ ใช้สิทธิ์ ของตนเองได้
ได้ข้อสรุปว่า มีสิทธิ์ ขนของได้กัน คนละ ๒๕ กิโลกรัม (ไม่นับกระเป๋าถือ
ที่แต่ละคน ถือขึ้น เครื่องกันเอง) สมาชิกของ Royal Orchid บัตรทองและบัตรเงิน
จะได้รับสิทธิพิเศษ คือ ได้คนละ ๓๐ กิโลกรัม ถ้าจะให้ดี ไปเป็นทีม
จะได้รับการผ่อนปรน หากน้ำหนักรวมไม่เกิน จนน่าเกลียด เพราะฉะนั้น
เป็นข้อเตือนใจ บรรดานักจับจ่าย ทั้งหลาย ให้ระมัดระวัง คำนวณน้ำหนักของ
ของที่จะเป็น ภาระด้วย ไม่ควรไปสร้างภาระ ให้กับเพื่อนร่วมทีม ต้องรับผิดชอบ
ร่วมกันตน
บันทึกธรรมะระหว่างทางของท่านลักขโณ
ุ พิจารณา ถ้าเราชอบให้วิปัสสนาสิ่งที่เราชอบ
ดูว่าไม่เที่ยง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในเวลาเกิดผัสสะ อย่าคิด ให้ดูอาการว่าชอบ
ไม่ชอบ หรือเฉย ๆ ดูอาการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป (เป็นหัวใจของพุทธศาสนา)
พิจารณา กับ วิปัสสนาต่างกัน ทำให้มันเฉยให้ได้ ใหม่ ๆ เราจะทำจิตเฉยไม่ได้
ดูจิตที่มันขึ้น ตั้งอยู่ชั่วคราว แล้วจะดับไป เราจะเกิด ความภาคภูมิใจ
ุ ใช้ขันติเพียงนิดหนึ่ง
ทะเลก็ดูกว้าง ทั้งนภาก็แลแจ่มใส ถอยหลังเพียงก้าวเดียว คลื่นพลันสงบ
ลมก็ราบเรียบ (ถอยมานิดหนึ่ง ก็จะเห็นอะไรมากขึ้น) โศลกธรรมในถ้วยดื่มชาแดนสิงคโปร์
นิทรรศการ กระเบื้องปั้นดินเผา
ตุ๊กตาทหารจิ๋นซีฮ่องเต้
ยืมจากจีนมาตั้งแสดงไต้หวัน สะท้อนวัฒนธรรม กระเบื้องปั้นดินเผากว่า
๒,๐๐๐ ปี การปั้น เป็นคน ให้ค่ามากกว่า การปั้นถ้วยชาม โยงใยเรื่องราวต่าง
ๆ ดึงดูดความสนใจมากกว่า เช่นเดียวกับ การแกะสลัก ตุ๊กตาไม้ โพธิธรรมตั๊กม้อ
ทำให้คน (คุณอาภรณ์) อยากได้มากกว่า ตุ๊กตาช้างไม้
ุ หนังสือ ประวัติศาสตร์
รอบอ่าวบ้านดอน เขียนโดยอาจารย์พุทธทาส และธรรมทาส กล่าวถึง ประวัติศาสตร์ไทย
เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ร้อย กรุงศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี เจริญรุ่งเรือง
ราว พ.ศ. ๑๒๕๐ เมืองพังพาน มีอารยะธรรมสูงเจริญ มีกฎหมายจริงจัง ประวัติพระธาตุไชยา
ประวัติพระแก้วมรกต สร้างในสมัยที่ พลัดไปนครวัตร กลับอยุธยา ไปลาวกลับไทย
สมัยพระเจ้าตากสิน ในที่สุด
ความหลัง ขำขัน
v เหิรฟ้า หรือ แก่นฟ้า
วิชาดมสะดือ หรือ รมสะดือ ท่านโชติรัตน์ หรือ ท่านชุติโรจน์
v ใครเอ่ย ไม่ทานเต้าหู้เหม็น
??? แต่หันไปสั่งรัวจนทอดให้ (แทบ) ไม่ทัน
v เข้าเมืองตาหลิ่วแต่ยังไม่มีต้นแบบ
เลยไม่ได้หลิ่วตาตาม นำเบาะรองนั่ง ไปแทนที่หมอนกราบพระ
v ฉันเข็ดแล้ว เจ็บไปหมดทั้งตัว
ไม่สบายเลย (แต่อาสาวิ่งให้หมอรักษาเป็นรายแรกทุกทีไป - แม้กระทั่งการรมสะดือ)
v แล้วก็ยังมีการแข่งกันเล่าขำขัน
ระหว่างการเดินทางที่ยาวนาน ผู้ที่ได้รับการโหวต ว่ามีมุขเด็ดๆ คือ
อาอ๋อย ส่วนน้าติ๋ว เล่าเรื่องผีได้สยองมาก (เล่าเฉพาะ ช่วงดึกเท่านั้น)
ส่วนสุรีย์ไม่ต้องเล่า ก็ขำแล้ว เพราะพี่แก กลัวคน แย่งพูด เลยมีศัพท์แปลกๆ
ออกมา จนเป็นโรคติดต่อกันทั้งรถ
=============================================
อรหันต์ตายสูญ?
ความเชื่อของ มหายาน-เถรวาท
ความต่างที่สุดขั้วจริงหรือ
ในช่วงเวลาการดูงานที่
ไต้หวัน ได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับ พระตุ๋ย
พุทธวิริโย ซึ่งเป็นคนไทย
เคยบวช ในนิกาย เถรวาท ที่เมืองไทย ปัจจุบันบวชเป็นพระ
ในนิกายมหายาน อยู่ในไต้หวัน
มากว่า ๑๐ ปี ได้ศึกษา พระไตรปิฎก ของมหายานมาพอสมควร
ประเด็นหนึ่ง ซึ่งคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
ตามแนวคิดความเชื่อ ในนิกายมหายาน
ต้องถือเป็นเรื่อง สำคัญอย่างยิ่ง ถึงกับกำหนดเป็น พระวินัย
ที่ถ้าเชื่อผิด มีโทษแรงที่สุดทีเดียว
ในเรื่องการเป็น พระอรหันต์
แล้วจะกลับ มาเกิดได้ หรือไม่ ซึ่งเป็นความเชื่อที่แตกต่าง
ตรงข้ามกับความเชื่อ
ของนิกายเถรวาท อย่างประนี ประนอม ไม่ได้เลยทีเดียว
(ในความเห็นของ พระตุ๋ย และ คงสอดคล้อง กับพระวินัย ของมหายาน)
คติของเถรวาท
เชื่อว่าพระอรหันต์ตายแล้ว
ต้องตายสูญเท่านั้น
จะเกิดมาอีกไม่ได้ ดังนั้น ผู้ที่เป็น พระโพธิสัตว์ ซึ่งตั้งจิตปรารถนาพุทธภูมิ
จึงเป็นพระอรหันต์ ไม่ได้เด็ดขาด
เพราะกลับมาเกิด เพื่อบำเพ็ญเพียร ต่อไปไม่ได้อีก หรือแม้เป็นพระอริยะ
ระดับต้น คือ พระโสดาบัน ก็จะเกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ ก็จะนิพพาน และ
ตายสูญไป ซึ่งก็คงมีเวลา ไม่เพียงพอ จะบำเพ็ญเพียร ให้ไปถึงพุทธภูมิ
หรือแม้แต่ เป็นพระโพธิสัตว์ ระดับสูง ก็คงมีเวลาไม่พอแล้ว
ส่วนคติของมหายาน
ไม่เพียงเป็นความเชื่อ
แต่กำหนดเป็น พระวินัยที่มีโทษสูงสุด
ระดับปราชิก ๑ ใน ๑๐ ข้อทีเดียว
ถ้าใครเชื่อว่า พระอรหันต์
ตายแล้วสูญเท่านั้น จะมาเกิดอีกไม่ได้
เพราะถือว่า เป็นความเชื่อ แบบ
มิจฉาทิฏฐิ อย่างรุนแรง โดยมีเหตุผลว่า
ความเชื่อแบบนี้
ไร้เมตตาธรรม หรือพูดอย่างแรงๆ
ก็ว่าเป็น ความเชื่อ ที่เห็นแก่ตัว ที่เชื่อว่าพระอรหันต์ คือผู้ที่ปฏิบัติ
เพื่อให้ตนเองพ้นทุกข์ เอาตัวรอดแต่เพียงผู้เดียว แล้วไม่กลับมาช่วยผู้อื่น
ให้พ้นทุกข์อีกเลย (ตายสูญไป) ทั้งๆที่มีภูมิธรรมสูงสุด ที่รู้วิธีพ้นทุกข์
แต่กลับปล่อยให้ตายไปกับตัว อย่างไร้ เมตตาธรรม ต่อเพื่อน มนุษย์ เทวดา
มาร พรหม สัตว์ ฯลฯ อีกมากมาย ที่ยังมีทุกข์อยู่ ทั้งๆที่๑ใน๓
พุทธคุณหลัก
(บริสุทธิคุณ กรุณาธิคุณ และปัญญาธิคุณ) ก็คือ พระมหากรุณาธิคุณ
แต่ทางมหายานเชื่อว่า พระอรหันต์ หรือ
พระอริยะ ทุกระดับ ตายแล้ว จะกลับมาเกิดอีก เพื่อช่วยเพื่อนมนุษย์
บำเพ็ญเพียร เป็นพระโพธิสัตว์ ที่มีปณิธานเข้มข้น
แตกต่างกัน พระโพธิสัตว์บางองค์ ตั้งปณิธานว่า จะช่วยมนุษย์ ให้พ้นทุกข์
หมดก่อน จึงจะปรินิพพาน (ไม่มาเกิดอีก) บางองค์ จะช่วยทั้งมนุษย์ และ
สัตว์ให้หมดก่อน เป็นต้น ซึ่งแสดงถึงแสดงถึง พระมหา กรุณาธิคุณ ของพระโพธิสัตว์
แต่ละพระองค์ และคุณธรรมนี้ ได้ถูกเผยแพร่ ถ่ายทอดไปสู่ ประชาชนทั่วไป
ทำให้เกิด
วัฒนธรรม แห่งการเกื้อกูลกัน หรือ ต้องการเป็นผู้ให้ก่อน
โดยเชื่อว่า
เป็นการผูกปัจจัย ไว้ให้มี
เหตุปัจจัย เมื่อผู้ที่เขาได้ให้ก่อน
(ผู้รับ) ได้บรรลุธรรม เขาจะมาช่วยผู้ให้ได้บรรลุธรรมด้วย โดยเรียกว่า
เป็นวัฒนธรรม "เจี๋ยเหยียน"
ซึ่งแพร่หลายกัน โดยดูได้จาก
ความมีน้ำใจไมตรี ของคน ไต้หวัน
ในชีวิตประจำวัน
เช่น
ที่เราได้พบกันเสมอ คือไม่ว่า ได้ไปพบใครที่ไหน เขาจะขอให้เราก่อน
แม้ของนั้น จะเป็นของซื้อขาย
อย่างน้อย ก็ขอให้ได้ถวายพระ ที่ไปด้วยกันก่อน ซึ่งของบางอย่าง มีราคาแพงก็กล้าให้
หรือ เมื่อเราไปถามเส้นทาง เขาถึงกับ วางมือ จากงานที่ทำอยู่ จับมอเตอร์ไซด์
พาเราไปจนถึงที่ หรือขณะขี่รถอยู่แล้ว ก็ยอมออกจากเส้นทาง ของตนเอง
นำเราไปส่งก่อน การกระตือรือร้น ต้อนรับแขก การแนะนำงาน ที่เราไปขอดูงาน
ด้วยน้ำใจไมตรี อย่างดียิ่ง เป็นต้น
ก็คงเป็นเพียงนำเสนอ
ความเชื่อที่แตกต่างกัน
ซึ่งก็ดูจะตรงข้าม
จนยากจะประนีประนอมได้จริงๆอย่างที่ พระตุ๋ย ท่านแสดงความเห็นไว้ ส่วนใครจะเชื่ออย่างไร
ก็คงเป็นไปตามภูมิธรรม ของแต่ละคน และไม่น่า จะประนาม หรือ ดูแคลนความเชื่อของคนอื่น
ว่าไร้เหตุผล เสียทีเดียว น่าจะพิจารณา ตามความเชื่อ ของมหายาน อีกประเด็นหนึ่งคือ
ทุกคนกำลังอยู่ระหว่าง
การพัฒนาตัวเอง ไปเป็น พระพุทธเจ้า ทุกคน ถ้าคิดได้อย่างนี้
เราก็คงให้อภัย ไม่โกรธ เกลียดใครๆ ได้ง่าย เพราะเขาเหล่านั้น ก็คือ
ว่าที่พระพุทธเจ้า
ทั้งนั้น
จบ
(ดอกหญ้า
เริ่มลงตั้งแต่ฉบับที่ ๑๐๓)
|