เศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงพุทธ ตอน
๑๓
ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา
บทความชุดนี้ตั้งใจจะเขียนขึ้น เพื่อทำความเข้าใจ เกี่ยวกับธรรมชาติของ "อำนาจรัฐ" และชี้ให้เห็นช่องทาง
ที่จะเป็นทางออก จากตรรกะ แห่งความขัดแย้ง ของขุมอำนาจดังกล่าว จากรากฐาน
ทางพุทธปรัชญา อันอาจกล่าวได้ว่า เป็นแนวคิด "เศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงพุทธ"
(ต่อจากฉบับที่๑๓๗)
รากฐานทางจริยปรัชญาของลัทธิเศรษฐกิจ แบบทุนนิยมเสรี และลัทธิคอมมิวนิสต์
ล้วนมาจาก สำนักประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ที่ถือว่าความดี คือการกระทำ
ที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุข ที่มากที่สุด แก่คนจำนวนมากที่สุดในสังคม
(The greatest happiness for the greatest people)
แต่ความไม่สมบูรณ์ของระบบจริยปรัชญาแบบประโยชน์นิยม
ทำให้เกิดปัญหาความไม่กลมกลืนทางตรรกะ ระหว่างเป้าหมาย ในมิติด้าน
การสร้างประโยชน์สุข ในปริมาณที่มากที่สุด (the greatest happiness)
กับเป้าหมายในมิติด้าน การสร้าง ประโยชน์สุข สำหรับคน จำนวนมากที่สุด
(the greatest people)
ขณะที่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีเน้นเป้าหมายหลัก
ไปที่การสร้างประโยชน์สุขที่มากที่สุด ให้แก่สังคม โดยอาศัย ความมั่งคั่ง
(wealth) ซึ่งเกิดจากผลิตผล มวลรวมของสังคม เป็นดัชนีบ่งชี้ถึง ปริมาณประโยชน์สุข
ของสังคมโดยรวม ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ระบบเศรษฐกิจ แบบคอมมิวนิสต์ จะเน้นเป้าหมายหลัก
ไปที่การสร้างประโยชน์สุข สำหรับคน จำนวนมาก ที่สุด โดยอาศัย การกระจาย
ผลผลิต อย่างเท่าเทียมกัน และการสลายช่องว่าง ระหว่างชนชั้นในสังคม
เป็นดัชนีบ่งชี้ ถึงประโยชน์สุข ที่คนจำนวนมากที่สุด ในสังคม นั้นๆ
ได้รับ
เมื่อระบบทุนนิยมเสรีอาศัยวิธีแบ่งงานกันทำตามความถนัด
และใช้กลไกการแข่งขัน ในตลาด โดยมีกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สิน เป็นรางวัล
ชักจูงใจ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ (productivity)ให้ได้มากที่สุด ก็จะนำไปสู่การเกิดช่องว่าง
ระหว่างกลุ่มคนรวยส่วนน้อย ที่ยึดกุม "ตลาด"
(market) กับ "ทุน" (capital) เอาไว้ในมือ กับกลุ่มคนยากจนส่วนใหญ่ ของสังคมที่ต้องพึ่งพาตลาด และ
แหล่งทุน เพื่อความอยู่รอด (ดังที่ได้กล่าวมา ในตอนก่อน) ส่งผลให้ประโยชน์สุข
ที่มากที่สุดดังกล่าว ไม่ได้ตกอยู่กับคน จำนวนมากที่สุด
ส่วนรัฐคอมมิวนิสต์ใช้วิธียึดผลิตผลทั้งหมดมาเป็นของรัฐ
แล้วจัดสรรผลผลิต ให้แก่ประชากรอย่างทั่วถึง โดยเท่าเทียมกัน เพื่อหวัง
กระจายประโยชน์สุข ให้แก่คนจำนวนมากที่สุด แต่ก็ทำให้ผู้คน พากันเฉื่อยชา
ในการแข่งขันกัน สร้างผลผลิต ด้วยศักยภาพ สูงสุด (เพราะถึงขยัน ทำงานมาก
ก็ถูกรัฐยึดเอาไป เป็นทรัพย์สิน ส่วนกลางหมด ฉะนั้น ก็จะทำงาน ด้วยศักยภาพ
ระดับต่ำสุด เท่าที่จะไม่ให้ มีความผิด และถูกลงโทษ) ส่งผลให้ปริมาณประโยชน์สุข
ของสังคมโดยรวม ลดน้อยกว่า ระดับที่พึงจะเป็น
สำหรับเศรษฐศาสตร์บุญนิยมที่มีรากฐานจากพุทธปรัชญานั้น
เป็นทางสายกลางที่อยู่ระหว่างปัญหา เขาควาย (dilemma) ของความ สุดโต่ง
๒ ด้าน ในลัทธิทุนนิยมเสรี กับลัทธิคอมมิวนิสต์ ตลอดจนเป็นระบบ ที่สร้างความกลมกลืน
ทางตรรกะ ระหว่างเป้าหมาย ด้านการแสวงหา ประโยชน์สุข ที่มากที่สุดของสังคม
กับเป้าหมาย ด้านการกระจายประโยชน์สุข ให้แก่คน จำนวนมากที่สุด ในสังคม
แนวคิดเศรษฐศาสตร์บุญนิยม วางอยู่บนสมมติฐาน
ของหลักการทางพุทธปรัชญา อย่างน้อย๔ ข้อ คือ
๑. อริยสัจข้อแรกในพุทธปรัชญาชี้ให้เห็นว่า
แก่นสารของชีวิตมนุษย์ ไม่ใช่อยู่ที่การแสวงหาความสุข แต่อยู่ที่ การแสวงหา
ความพ้นทุกข์ หรือแสวงหา ความเป็นอิสรภาพ จากภาวะความบีบคั้น เป็นทุกข์โดยสรรพปัญหาต่างๆ
อารยธรรม และ ความรู้ทั้งหมด ที่มนุษย์สะสมพัฒนาขึ้น ก็คือสิ่งบ่งชี้
ถึงความเพียรพยายาม ที่ต้องการ จะตอบปัญหา และแก้ปัญหา เพื่อลดภาวะความบีบคั้น
เป็นทุกข์ของชีวิตมนุษย์ จากในมิติใดมิติหนึ่ง ระดับใด ระดับหนึ่ง
หรือในแง่มุมใด แง่มุมหนึ่ง ความสุขจริงๆ แล้วไม่มี
มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ และทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
เหมือนความเย็นจริงๆ แล้วไม่มี มีแต่อุณหภูมิความร้อนที่ลดต่ำลง
แล้วเราสมมติเรียกภาวะนั้นว่า เป็นความเย็น ฉันใด เราก็สมมติ เรียกภาวะ
ความทุกข์ที่บรรเทา ลดน้อยลงว่า เป็นความสุขฉันนั้น เช่น จุดเยือกแข็งที่มีความเย็น
๐ องศาเซลเซียส อันที่จริง ก็คือจุดที่มี อุณหภูมิความร้อนอยู่ ๓๒
องศาฟาเรนไฮด์ หรือ ๒๗๓ องศาสัมบูรณ์ เป็นต้น
การลดทอนมโนทัศน์เรื่องความสุข
ให้อยู่ภายใต้มโนทัศน์ของความทุกข์ ที่บรรเทาลดน้อยลง จะช่วยแก้ปัญหา
จุดอ่อนของ จริยะ ปรัชญาแบบประโยชน์นิยม ได้หลายเรื่อง เช่น หากถือว่า ความสุขเป็นเป้าหมายสูงสุด ของชีวิต ถ้าเช่นนั้น จุดที่เป็น
ความสุข สัมบูรณ์ (absolute happiness) หรือเป็นความสุข ที่มากที่สุด จะอยู่ตรงไหน และจะไปถึงจุดนั้น ได้อย่างไร
นอกจากนี้ ความสุขยังมีอยู่ หลายประเภท เราจะใช้เกณฑ์อะไร ในการตัดสินว่า
ความสุขประเภทไหน เหนือกว่าแบบไหน ตลอดจนระหว่าง ความสุข ประเภทที่มี
คุณภาพสูง (อาทิ ความสุขจากการ แสวงหาปัญญา) แต่มีปริมาณน้อย กับความสุข
ประเภทที่มี คุณภาพต่ำ (อาทิ ความสุข จากความอิ่มหนำสำราญ ในการบริโภค)
แต่มีปริมาณสูง เราจะใช้เกณฑ์วินิจฉัยอะไร ในการตัดสินว่า ทางเลือกไหน
เป็นสิ่งที่ดีกว่า ฯลฯ ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จริยปรัชญาแบบประโยชน์นิยม
ไม่สามารถ ให้คำตอบ ได้ชัดเจน แต่ถ้าลดทอน มโนทัศน์เรื่องความสุข ให้อยู่ในรูปของ
ความทุกข์ที่ลดน้อยลงแล้ว จะตอบปัญหา เหล่านี้ได้
๒. อริยสัจข้อที่
๒ ในพุทธปรัชญาชี้ให้เห็นต่อไปว่า ตามนัยของกฎ ปฏิจจสมุปบาท
ในพุทธธรรม เอกภพ โลกหรือ ภพชาติ ที่มนุษย์ รับรู้นั้น เป็นสัมพัทธภาพ
ระหว่าง กาล-อวกาศ ๔ มิติ อันเป็นสิ่งที่ "ถูกรู้" หรือ
"รูป" กับจิตวิญญาณที่เป็น "ธาตุรู้" หรือ "นาม"
ในมิติที่ ๕ โดยจะแยก สิ่งที่ถูกรู้ (รูป) กับสิ่งที่ทำหน้าที่รับรู้
(นาม) ให้เป็นอิสระจากกันนั้นไม่ได้ เราจึงมีหนทาง ที่จะควบคุมเอกภพ
หรือโลกแห่ง รูป-นาม ๕ มิติ (อวกาศ ๓ มิติ + มิติที่ ๔ ของเวลา + มิติที่
๕ ของจิตวิญญาณ ที่เป็นธาตุรู้) จากการควบคุม มิติที่ ๕ ของจิตวิญญาณ
ที่เป็นธาตุรู้ ในมนุษย์แต่ละคน พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ใน โรหิตัสสสูตร
จตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่า "ในร่างกาย ที่ยาววาหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย
สัญญาและใจนี่เอง ตถาคตได้บัญญัติโลก เหตุเกิดของโลก ความดับไม่เหลือของโลก
และทางให้ถึง ความดับไม่เหลือ ของโลกเอาไว้"
เหมือนความเร็วของยานอวกาศ ๒ ลำ
ที่เป็นสัมพัทธภาพกัน คุณลักษณะของภาวะแห่งความเป็น "สัมพัทธภาพ"
(relativity) ทำให้เรามีช่องทาง ที่จะควบคุมความเร็ว ของยานอวกาศ ลำที่ถูกเห็นข้างหน้า
ด้วยการควบคุม ที่ความเร็ว ในยานอวกาศ ลำที่เราอยู่ อาทิ ถ้าอยากบังคับ
ให้ยานอวกาศลำข้างหน้า วิ่งช้าลง ก็แค่เร่งความเร็ว ในยานอวกาศของเรา
ให้เพิ่มขึ้น หรือ อยากบังคับ ให้ยานอวกาศ ที่เห็นลำนั้นหยุดนิ่ง ก็แค่ปรับความเร่งของเรา
ให้เท่ากับยานอวกาศลำนั้น เป็นต้น
คุณลักษณะของภาวะแห่งความเป็นสัมพัทธภาพ
ระหว่างสิ่งที่ถูกรู้ (รูป) กับสิ่งที่เป็นธาตุรู้ หรือ ผู้รับรู้
(นาม) ก็ทำให้เรา มีช่องทาง ที่จะควบคุมโลก ที่ถูกรับรู้ ด้วยการควบคุมจาก
ในมิติที่ ๕ ของจิตวิญญาณ ที่เป็นธาตุรู้ แบบเดียวกัน ฉันนั้น
ในขณะที่ตัณหา ๓ (กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา) เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะ ความบีบคั้นเป็นทุกข์ (สมุทัยอริยสัจ)
เราจึงมีหนทาง ที่จะเข้าถึงแก่นสาร ของเป้าหมายในชีวิต อันคือภาวะแห่งความเป็นอิสรภาพ
ที่สัมบูรณ์ จากความบีบคั้น เป็นทุกข์ โดยสรรพปัญหา ต่างๆ ด้วยการปลดปล่อยตัวเรา
ให้เป็นอิสระ จากอำนาจครอบงำ ของกิเลสตัณหาอุปาทาน ที่เป็นเหตุ แห่งทุกข์นั้นๆ
๓. จากอริยสัจ
๒ ข้อแรก ในพุทธปรัชญาตามที่กล่าวมาในข้อ ๑,๒ เราสามารถสรุปความคิดรวบยอด
(conceptualization) เป็นแบบจำลอง ทางคณิตศาสตร์ง่ายๆ ได้ คือ
ถ้า H = ความสุข
P = ปัญหาหรือภาวะความบีบคั้นเป็นทุกข์
D = ความต้องการ S = สิ่งตอบสนองความต้องการ
เนื่องจากความสุขแปรผันเป็นสัดส่วนกลับกับความทุกข์ (หรือความสุขสัมพันธ์กับภาวะความบีบคั้นเป็นทุกข์ที่ลดน้อยลง)
H
. . . H = (เมื่อ a คือ ค่าคงที่ในสมการ)
ขณะที่ภาวะความบีบคั้นเป็นทุกข์หรือปัญหา
(P) จะแปรผันเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความต้องการ (D) และแปรผันกลับ กับสิ่งตอบสนอง
ความต้องการ (S)
P
D/S
. . . P = b. D/S (เมื่อ b คือค่าคงที่ในสมการ)
ถ้ากิเลสตัณหาอุปาทานที่เป็นความต้องการส่วนเกินของชีวิต
มีปริมาณลดน้อยลงเท่าใด (Dลด) ภาวะความบีบคั้น เป็นทุกข์ หรือปัญหา
(P) ก็จะยิ่งมีปริมาณ ลดน้อยลงเท่านั้น และเมื่อภาวะความบีบคั้น เป็นทุกข์จากปัญหา
มีลดน้อยลงเท่าไร (Pลด) ความสุข ก็จะยิ่งทวี ปริมาณเพิ่ม มากขึ้นเท่านั้น
(H เพิ่ม)
เราจึงมีหนทางที่จะเพิ่มประโยชน์สุข
หรือเพิ่มอรรถประโยชน์ของผลผลิต หรือสิ่งตอบสนองความต้องการ (S) ในจำนวน
เท่าเดิม เพื่อให้เกิด ประโยชน์สุขสูงสุด (maximum utility) ต่อชีวิตของเราได้
ในอีกวิถีทางหนึ่ง ด้วยการลดปริมาณ ความต้องการ ส่วนเกิน ในชีวิต ให้ลดน้อยลง
(ลดค่า D ในสมการ เพื่อทำให้ P ลดลง และ H เพิ่มขึ้น ในขณะที่ S มีปริมาณ
เท่าเดิม)
๔.
พุทธศาสนาเชื่อในเรื่องกฎของกรรม เมื่อเราสร้างกรรมหรือการกระทำไว้อย่างไร
ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกาย (กายกรรม) ทางวาจา (วจีกรรม) หรือทางใจ
(มโนกรรม) แรงสนามของกรรม ที่เกิดจากการกระทำดังกล่าว จะเหนี่ยวนำ
ให้เราได้รับผล เป็นวิบากของกรรม ในทิศทาง (ทิศที่เป็นกุศลหรืออกุศล)
และระดับความเข้มข้น ที่สอดประสานสัมพันธ์กับกรรม หรือ การกระทำนั้นๆ
มูลค่าแท้จริง
(real value) ของผลผลิตต่างๆ ที่เราสร้างขึ้น จึงควรจักเท่ากับมูลค่า
ของแรงงาน (หรือกรรม) ที่เราใช้ไป ในการผลิตสินค้า หรือบริการดังกล่าว
ซึ่งหลักการข้อนี้ สอดคล้องกับทฤษฎี มูลค่าเกิดจากแรงงาน (Labour Theory
of Value) ของนักเศรษฐศาสตร์
สำนักคลาสสิค และสำนักมาร์กซิสม์
ฉะนั้นการตักตวงเอาประโยชน์สุขส่วนเกิน(surplus
value) ที่มากกว่ามูลค่าแท้จริงของกรรม อันเป็นสิทธิ์ตามธรรมชาติ
(natural right) ที่เราพึงจักได้รับตอบแทน จากกรรมหรือ แรงงานของเรามาสะสมไว้
เพื่อบริโภคมากกว่า ที่ควรจะเป็น จึงเป็นการสร้าง "อกุศลกรรม" ให้เกิดขึ้น เพราะทำให้ความสมดุลของธรรมชาติ ตามกฎกรรมนิยาม
ถูกกระทบ อันจะนำไปสู่ ภาวะความบีบคั้น เป็นทุกข์จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากความเสียสมดุล
ในระบบธรรมชาติ ของสังคมมนุษย์ ดังกล่าวตามมา ตลอดจนเป็นการสั่งสมความโลภ
(เพิ่มค่า D ในสมการ) ซึ่งจะทำให้ประโยชน์สุข ของสังคมโดยรวม ลดน้อยถอยลง
(ทำให้ P มีระดับสูงขึ้น และ H มีค่าลดลง)
จากกราฟ เส้น MSB เป็นเส้นแสดงประโยชน์สุขทางสังคมของผลิตผลหน่วยสุดท้าย
แต่ละหน่วยที่เพิ่มขึ้นมา ในสังคม (marginal social benefit) และเส้น
MSC เป็นเส้นแสดงต้นทุนทางสังคม ของผลิตผลหน่วยสุดท้าย แต่ละหน่วย
(marginal social cost) ที่เพิ่มขึ้นมา ดังกล่าว
ในภาวะที่สังคมไม่มีผลผลิต
(S) ที่จะตอบสนอง ความต้องการของผู้คน ระดับปัญหาของสังคม (P) ก็จะมีค่าสูง
แต่เมื่อสามารถ สร้างผลผลิต ได้มากขึ้น ประโยชน์สุขทางสังคม (social
benefit) ของผลผลิตหน่วยต่อๆ ไป (marginal) ที่เพิ่มขึ้นมา แต่ละหน่วย
จะมีผลต่อการ ช่วยแก้ปัญหาของสังคม ได้ลดน้อยลง โดยลำดับ (ตามกฎการถดถอย
ของอรรถ ประโยชน์ เหมือนคนที่ ท้องเริ่มอิ่ม ประโยชน์สุขของก๋วยเตี๋ยว
ชามที่ ๒,๓,๔ สำหรับบุคคลผู้นั้น ก็จะค่อยๆลดน้อยถอยลง โดยลำดับ เป็นต้น)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้แบบวิถีการผลิตแบบทุนนิยมเสรี ที่อาศัยโลภจริต ของผู้คนเป็นสิ่งชักจูงใจ ให้เกิดการแข่งขันกัน สร้างผลผลิต
จำนวนมากๆ แต่เมื่อความมั่งคั่ง ที่เกิดจากผลิตภาพ ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว
ไปกระจุกตัว อยู่ในกลุ่ม คนร่ำรวย ส่วนน้อย อรรถประโยชน์ หรือประโยชน์สุข
ของผลิตผลหน่วยสุดท้าย ในสังคม ซึ่งถูก "คนมือยาว" สาวเอาไปดังกล่าว ก็จะมีค่าลดน้อยลงกว่า ที่พึงเป็น (ดังที่ได้อธิบายมา
ในตอนก่อน) เหตุปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เส้น MSB มีลักษณะลาดลง
ขณะเดียวกัน ในการสร้างผลผลิตแต่ละหน่วย
จะมีต้นทุนทางสังคม ของผลกระทบภายนอก (externalities) ขยายตัว เพิ่มขึ้นด้วย
อาทิ
ก) ทรัพยากรของโลกที่ร่อยหรอลง จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติส่วนที่เหลือ (เช่น
น้ำมันดิบ เป็นต้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ต้นทุน ทางสังคม ในการสร้างผลผลิต
หน่วยต่อ ๆ ไป จึงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
ข) มลภาวะที่เกิดจากการผลิต และการบริโภคของมนุษย์ ที่สะสมตัว จะทำให้ต้นทุนทางสังคม
ที่เกิดจากผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม ในการสร้างผลผลิต หน่วยต่อๆ ไปมีแนวโน้ม
เพิ่มสูงขึ้น (เช่น ขณะที่น้ำในคูคลอง ยังใสสะอาด การปล่อยน้ำเสีย
ลงไป ทีละหน่วย น้ำเสีย หน่วยแรกๆ อาจไม่มีผลกระทบอะไร แต่เมื่อปริมาณน้ำเสีย
สะสมมากขึ้นๆ จนใกล้จุดมวลวิกฤติ การปล่อย น้ำเสีย ลงไปอีกหน่วย อาจทำให้ปลา
ในคลองตายไป ๕ ตัว พอปล่อยน้ำเสียหน่วยที่ ๒ เพิ่มลงไป ปลาอาจตายเพิ่มเป็น
๕๐ ตัว และเมื่อปล่อยน้ำเสียหน่วยที่ ๓ ลงไป ปลาอาจตาย เพิ่ม เป็น
๕๐๐ ตัว ก็ได้ ขยายความรุนแรงของผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้น
เป็นลำดับๆ เป็นต้น)
ค) เมื่อมีการสร้างผลผลิตเพิ่มขึ้น ก็ต้องหาทางกระตุ้นความต้องการ ในการบริโภคของผู้คน
ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นตาม เพื่อจะได้ สามารถ ขายผลผลิต ดังกล่าวได้หมด
ยิ่งสร้างผลผลิต มากเกินกว่าระดับ ความจำเป็น ในการบริโภค ของมนุษย์เท่าไร
ก็ต้องยิ่งปลุกเร้า ความต้องการส่วนเกิน หรือกิเลสตัณหาอุปาทาน ในจิตวิญญาณของมนุษย์
ระดับที่หยาบ และรุนแรง ให้ขยายตัว เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น (ทำให้ค่า
D เพิ่ม) ส่งผลให้ปัญหาต่างๆ ของสังคม ขยายความรุนแรง เพิ่มขึ้นตาม (ค่า P เพิ่มตาม)
องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้เส้น
MSC มีลักษณะที่ลาดชันขึ้น และจะตัดกับเส้น MSB (ที่มีลักษณะลาดลง)
ณ จุดๆ หนึ่งคือที่จุด C ถ้าระดับการผลิตต่ำกว่าจุด C ปัญหาของมนุษย์โดยรวม
จะเพิ่มมากกว่าที่ควรเป็น เพราะผลผลิต ที่ไม่เพียงพอ ต่อการบริโภค
จะทำให้เกิด ความอดอยาก ขาดแคลน อันจะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ
แต่ถ้าระดับการผลิตสูงกว่าจุด C
ในกราฟ ปัญหาของสังคมมนุษย์ก็จะกลับขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น มากกว่าที่ควรจักเป็นอีก
อันเนื่องมาจาก ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ ที่ร่อยหรอลง ปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม
ตลอดจน ปัญหาต่างๆ ที่เกิด ตามมา จากระดับ ของความต้องการ ส่วนเกิน
หรือกิเลสตัณหาอุปาทาน ในโครงสร้างส่วนลึกทางสังคม ที่ถูกปลุกเร้า
ให้ขยายตัว เพิ่มมากขึ้นๆ
แบบวิถีการผลิตของลัทธิคอมมิวนิสต์
จะสร้างปัญหาให้แก่สังคมมนุษย์ ในทิศที่ค่อนไปทางซ้ายของกราฟ ขณะที่
แบบวิถี การผลิต ของลัทธิทุนนิยมเสรี จะสร้างปัญหาให้แก่ประชาคมมนุษย์
ในทิศที่ค่อนไปทางขวาของกราฟ ส่วนแบบวิถีการผลิต ในระบบบุญนิยม ตามแนว
เศรษฐกิจพอเพียง จะปรับตัว เข้าสู่จุดกึ่งกลาง (เข้าใกล้จุด C ) ของกราฟ
อันจะช่วยคลี่คลาย ปัญหาของสังคม ให้ลดน้อยลง ถึงจุดต่ำสุด เท่าที่จักพึงเป็นไปได้
ภายใต้บริบท ของเงื่อนไขต่างๆ ในสังคมขณะนั้น
การรณรงค์ให้ประชาชนประมาณ
๑ ใน ๔ หันมาใช้วิถีการผลิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ที่เน้นการผลิต แบบผสมผสาน
ในครัวเรือน เพื่อการยังชีพ ส่วนเกินค่อยนำออกจำหน่าย แทนการผลิตสินค้า
ประเภทเดียว ครั้งละจำนวนมากๆ (mass production) เพื่อการจำหน่าย ในตลาด
ตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
จึงเป็นหนทางสำคัญ ในการปรับ ระบบการผลิต ให้เข้าสุ่จุดดุลยภาพ ของจุด
C ในกราฟ เพื่อช่วยคลี่คลาย ปัญหาของสังคม ให้ลดน้อยลง ตามกรอบ การวิเคราะห์
ที่กล่าวมาข้างต้น
(อ่านต่อฉบับมี่
๑๓๙)
(เราคิดอะไร
ฉบับที่ ๑๓๘ มกราคม ๒๕๔๕) |