พ่อหลวงคิดอะไร
-
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล - กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
๔ ก.ย. ๔๕ ณ ศาลากลาง จ.นครราชสีมา
ต่อจากฉบับที่ ๑๕๙
เรื่องอย่างนี้ต้องช่วยกันเผยแพร่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งบทเรียนบทแรกที่ผมได้รับมาถวายงานในปี
พ.ศ. ๒๕๒๔ ประกอบด้วยคำ ๒ คำ ทรงรับสั่งเรียกไปเลยครับ ตอนนั้นเข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ
จำไว้นะ จะทำอะไรต้องทำให้สอดคล้องกับภูมิสังคม คำง่ายๆ แต่มีความหมายลึกซึ้ง
หมายความว่าอะไร ภูมิสังคม จะทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าเรื่องเศรษฐกิจ ไม่ว่าเรื่องสังคม
เรื่องการเมือง อะไรก็แล้วแต่นั้น ต้องให้สอดคล้องกับ สภาพภูมิประเทศในเบื้องต้นก่อน
คือสภาพสิ่งแวดล้อมทั่วไป ดิน น้ำ ลม ไฟ ในเบื้องต้น อย่าไปทำฝืน
และความสอดคล้องที่
๒ ที่จำเป็นอย่างยิ่งเลย เพราะความจริงธรรมชาตินั้น เขาก็อยู่ของเขาอย่างนั้นแหละ
แต่ส่วนที่ ๒ อาจสำคัญมากกว่า คือต้องสอดคล้องกับสังคม
สังคมคืออะไร สังคมคือ มนุษย์ ไม่มีมนุษย์ ไม่มีสังคม และสังคมแต่ละแห่งนั้น
อย่าว่าแต่นอกประเทศต่างประเทศเลย เอาในประเทศของเรานี่แหละ คนทางภาคเหนือ
คนทางภาคใต้ คิดแบบคนภาคกลางหรือเปล่า หลายสถานการณ์ตัดสินใจไม่เหมือนกัน
ฉะนั้นแต่ละแห่งแต่ละอย่างนั้น
เมื่อนำมาใช้แล้ว จะต้องให้สอดคล้องกับสภาพสิ่งแวดล้อมเป็นเบื้องต้น
และสอดคล้องกับจารีตประเพณีวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นนั้นๆ อันนี้สำคัญ
ในขณะที่เรานำเอาความคิดของตะวันตกมาหรือฝรั่งมาใช้นั้น มันก็ผิดทั้งที่ผิดทั้งคน
คนไทยไม่ได้คิดแบบฝรั่ง เป้าหมายในชีวิตก็ไม่ใช่ แต่ผลสุดท้ายเราก็รับอิทธิพลเข้ามาอย่างเต็มตัว
แม้แต่ความบ้า ณ วันนี้ก็ยังมีอยู่ เอะอะอะไรก็โลกาภิวัตน์ โลกานุวัตน์
เขาสากลแล้ว อะไรแล้ว เราก็ตะเกียกตะกายตาม ตามทันหรือเปล่า ผลพวงก็เห็นอยู่รอบๆ
ตัวแล้ว ลอกแบบเขามาใช้แล้วก็ทะเลาะกันทั้งบ้านทั้งเมือง ไม่ว่าเรื่องการเมือง
ไม่ว่าเรื่องเศรษฐกิจ พังย่อยยับไป พอพัฒนามาเรื่อยๆ เสร็จ เราก็บ้า
สร้างความร่ำรวยมากขึ้นทุกที
ในแผนพัฒนาฉบับที่
๓ ถ้าผมจำไม่ผิดเกิดอาการที่ผมอยากจะเรียกว่า อย่างที่พระมหา-ประยุทธ์ได้เทศน์ให้ฟัง
เกิดมองแคบ คิดสั้น ใฝ่ต่ำ ขึ้นมา เกิดมีความฝันขึ้นมาในช่วงสัก ๒๐
ปี ผ่านมานี้ มีความใฝ่ฝันอยากจะเป็นสัตว์ จำได้ไหมใฝ่ฝันอยากจะเป็นอะไร
อยากเป็นเสือตัวที่ ๕เป็นคนดีๆ ไม่ชอบ ประหลาดไหมครับ ก็ตรงอย่างที่พระท่านเทศน์แล้ว
ใฝ่ต่ำ ไปเขียนระบุเลย การเป็นเสือ ทำเกษตรไม่ได้ รวยช้า กำหนดไว้ในแผนเลยว่า
ให้ลดการเกษตร ลองไปอ่านดูสิตั้งเป้าหมายไว้ในแผนพัฒนาฉบับที่ ๕ หรืออะไรนี่
ผมจำไม่ได้ ให้ ๒ ข้างนี่เท่ากัน อุตสาหกรรม กับ การเกษตร ละทิ้งสิ่งที่สอดคล้องกับภูมิสังคมของเราไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง
ซึ่งไม่ได้สอดคล้องกับภูมิสังคมของเราเลยแม้แต่น้อย แต่อยากรวย หน้ามืด
โลภ
ทีนี้เหลียวดูเสือ
๔ ตัว เขาเกิดเป็นเสือขึ้นมาได้อย่างไร ก็ปรากฏว่าเขาไม่ทำการเกษตรกันเลยทั้ง
๔ ประเทศ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี เขาไปสู่กิจกรรมที่เราเรียกกันในยุคนี้ว่า
อุตส่าห์หากรรม ชื่อมันก็บอกแล้ว ลองออกเสียงดีๆ ว่าใช่หรือเปล่า และกรรมนั้นก็ได้รับแล้วด้วย
คราวนี้เอาใหญ่เลย พัฒนาอุตสาหกรรมกันใหญ่ เราก้าวย่างไปสู่อุตส่าห์�์หากรรมนั้น
เราต้องการอย่างน้อย ๓ อย่าง เงิน เราต้องการเงิน เพราะต้องลงทุนอย่างมโหฬารเลย
ถามว่า มีเงินหรือเปล่า ไม่มี ไม่มีไม่เป็นไร เรื่องเล็ก ธนาคารโลกมี
ธนาคารพัฒนาเอเชียมี นอกจากนี้ มีคนให้กู้เยอะ-แยะเลย เมื่อได้เงินแล้วซึ่งไม่ใช่ของเรานะครับ
ยืมเขามา พอมีเงินเสร็จแล้ว ทำอุตสาหกรรมได้ไหม ยังไม่ได้ ต้องมีอะไรตามมาอีกตัวหนึ่ง
เทคโนโลยี เราสร้างเทคโนโลยีหรือเปล่า ไม่สร้าง ไม่มี มีแต่เทคโนโลยีชาวบ้าน
สำหรับเพื่อการเกษตร ไม่เป็นไร เรื่องเล็ก ซื้อเขามาสิ เคลื่อนย้ายมา
ภาษาฝรั่งสำหรับท่านที่เข้าใจนะครับ คือ transfer of technology คือ
เคลื่อนเทคโนโลยีจากจุดหนึ่งมาใช้อีกจุดหนึ่ง มีเงินแล้ว มีเทคโนโลยีแล้ว
ทำอุตสาหกรรมได้หรือเปล่า ยังทำไม่ได้ มันต้องมีคนบริหาร ระบบการศึกษาของเราผลิตคนระดับสูงขึ้นมาบริหารกิจกรรมอันสลับซับซ้อนอย่างนั้นไหม
คำตอบคือ-ยัง ปฏิรูปการศึกษาอยู่ที่ไหน ถามผมอดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สภาพัฒน์) ผมก็บอก ไม่รู้ อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ แล้วถ้ามันออกมาอย่างนี้
มันจะเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของเราทันทีทันใดหรือเปล่า อีก ๑๐ ปี
คนไทยมักจะเชื่อว่า พอเขียนอะไรลงในกระดาษแล้ว มันจะเกิดขึ้นเลย เขียน
๓๐๐ กว่ามาตรารัฐธรรมนูญ แล้วประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นบนแผ่นดินนี้เลย
ไม่ใช่ เป็นเรื่องยาก มันต้องการเวลาของมัน แต่ละเรื่องแต่ละราวมันบันดาลไม่ได้หรอก
ก็ไม่เป็นไร ฝรั่งเจ้าของเงิน เจ้าของเทคโนโลยีเขามาบริหารเงินและเทคโนโลยีของเขา
แล้วลองสังเกตพอเราก้าวย่างเข้าไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมนั้น เราไม่มีฐานอะไรของเราแม้แต่น้อย
ณ วันนี้ เราบอกทุนเงินไม่มี
ยืมเขามา ทุนเทคโนโลยีไม่มี เอาเขามา ทุนคนไม่มี สรุปคือรวยจากปัจจัยภายนอกทั้งสิ้น
แล้วปัจจัยภายในดิ่งลงเหวไปทุกที คือพวกท่านทั้งหลาย เพราะว่าพออุตสาหกรรมเกิดขึ้นใครจะไปหลังขดหลังแข็งได้มาร้อยกว่าบาท
แทบดิ้นแทบตายสู้ไปเป็นคนงานในโรงงานดีกว่า สบายแล้ว ไม่ต้องเหนื่อยยากอะไร
คนก็เฮละโลเข้าเมืองต่างๆ
ชนบทมีอยู่ช่วงหนึ่ง ตอนนั้นผมรับผิดชอบพัฒนาชนบท ไม่มีแรงงานอยู่เลย
คนหนุ่มคนสาวออกจากหมู่บ้านหมด เหลือแต่คนแก่กับเด็ก คนหนุ่มคนสาวไปขายแรงงานต่างประเทศโน่น
เข้าเมือง โครงสร้างการเกษตรมันพังนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
อิทธิพลที่จะเอาเงินเป็นเป้าหมายนั้น
มันลามเข้ามาสู่การเกษตรด้วย การเกษตรแท้ที่จริงดูลึกๆไปแล้ว มันเป็นวิถีชีวิต
ปัจจัยสี่ที่พระคุณเจ้าได้กล่าวสั่งสอนเรานั้น มาจากการเกษตรทั้งนั้นเลย
ยามาจากเกษตร อาหารมาจากเกษตร บ้านเรือนที่อยู่อาศัยมาจากเกษตร เครื่องนุ่งห่มมาจากเกษตรหมดเลย
เกษตรนั้นคือวิถีชีวิต พอนำวิถีชีวิตมาเป็นธุรกิจ นับแต่นั้นความหายนะเกิดขึ้นเลย
ไม่ว่าสังคมไหน พังทลายราบหมด และเป็นกิจ-กรรมที่ผมเรียกว่าถูกสาป
เป็นกิจกรรมที่ถูกสาป กรรมการคงสงสัย เชิญผมมาเพื่อให้กำลังใจ ปรากฏว่าพูดๆ
ไปบั่นทอนกำลังหมดเลย แต่ต้องยอมรับสภาพกันเสียก่อน ทำไมถึงถูกสาป
ฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง เกิดสภาพแห้งแล้งมา เกษตรพัง ปีไหนทั่วประเทศ ดินน้ำอุดมสมบูรณ์
ผลิตได้มาก ทุกแห่งผลิตได้มาก เกษตรพังไหม พัง เพราะว่าราคาตก เห็นไหมครับ
ถึงแม้ว่าปัจจัยสิ่งแวดล้อมดีที่สุดแต่ก็พัง เลวที่สุดคือแห้งแล้งสุดก็พัง
มา ณ จุดนี้ อยากจะชักจูงว่าเรื่องการเกษตรนั้นมันเป็นวิถีชีวิตและต้องรักษาเส้นทางสายกลางคือมัชฌิมาปฏิปทาให้จงได้
และวิถีชีวิตของเรานั้นจะอยู่รอด
ส่วนมากไม่ค่อยจะดูการเกษตรอย่างนี้หรอก
ผมค่อนข้างจะดูแปลกกว่าคนอื่นเขา ดูเกษตรเป็นเงิน ทำให้คนเสียคน เกษตรกรที่เคยช่วยเหลือตัวเองอยู่ได้
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ไม่เอาแล้ว เลิก ผลิตมันอย่างเดียว ในเอกสารคุณก็เขียนไว้
ข้อมูลเอามาจากเอกสารคุณนั่นแหละ ระหว่างออกจากกรุงเทพฯ มา ผมก็นั่งอ่านมาเรื่อย
ไปปลูกพืชเชิงเดี่ยวหมด ข้าวอย่างเดียว ยางอย่างเดียวสับปะรดอย่างเดียว
ปออย่างเดียว อ้อยอย่างเดียว เอาวิถีชีวิตที่เคยช่วยตัวเองได้นั้น
ไปผูกติดกับเงิน เพราะฝรั่งเขาสอนว่าอย่างนั้น และเราก็ตาม ผลสุดท้ายความไม่แน่นอนก็เกิดขึ้น
เพราะว่าในกิจกรรมเกษตรเองก็เสี่ยงอยู่แล้ว จากสภาวะแวดล้อมธรรมชาติที่ไม่สามารถมีใครคุมได้
และแถมเอาความคิดในเชิงธุรกิจเข้าไปจับอีก ก็พังทลาย พอดูเป็นเงินเสร็จจะทำยังไง
ก็ผลิตอย่างเดียวให้มันเยอะที่สุด เมื่อผลิตโดยธรรมชาติมันไม่เยอะ
ก็ต้องอัดฉีดอะไรเข้าไป ต้องเอายาปราบแมลงเข้าไป มันทางลัดดี ปุ๋ยเคมีใส่เข้าไป
ผลผลิตจะได้สูงขึ้น เงินก็เยอะขึ้น แล้วเอาเงินนั้นไปซื้อข้าวของ ชีวิตเกษตรกรเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่เสี่ยงอย่างมากๆ
อยู่ในสภาวะหลายครั้งช่วยตัวเองไม่ได้ เพราะไปผูกติดกับปัจจัยที่ไม่ได้อยู่ในมือของเรา
พอผลิตเพื่อขายปั๊บ
เราเป็นคนคุมราคาหรือเปล่า ไม่ใช่ ตลาดโลกเป็นผู้คุมราคา
เพราะฉะนั้นชีวิตต้องคิดให้หนัก
เหลียวมาดูทางด้านเศรษฐกิจก่อน อุตสาหกรรมที่เราหวังว่าจะช่วยให้เราเป็นเสือตัวที่
๕ แต่ตอนนี้พูดยกเสือขึ้นมา บุญแล้วนะ วันก่อนนี้ด็อกเตอร์จรัล ซึ่งแกเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องควาย
แกเชิญผมไปเปิดงานควาย ไม่รู้ผมมีอะไรเกี่ยวกับควายหรือเปล่าไม่รู้
อาจารย์จรัลก็รายงานผม เรียนท่านประธาน
เมื่อ ๗-๘ ปีที่แล้ว
มีควายถึง ๒ ล้านตัว วันนี้เหลือเพียง ๗ แสนตัวเท่านั้น ขืนปล่อยอย่างนี้ไป
จะสูญพันธุ์แน่ พอผมกล่าวเป"ดการประชุม ผมก็ไม่ได้อ่านตามที่แกร่างไว้
ผมบอกว่าตัวเลขที่อาจารย์จรัลนั้นผิด ใครบอกควายเหลือ ๗ แสนตัว มันเหลืออยู่
๖๕ ล้านตัว บวกอีกหนึ่งตัวนั่งอยู่นี่ด้วย ไม่เชื่อผมใช่ไหม ในห้องนี้ไม่เชื่อผมใช่ไหม
อยากจะให้เขียนคำว่า คน ลงบนกระดาน ใช้ตัวอะไรสะกด ควาย แล้วฅ.ฅนหายไปไหน
ฅนนั่นแหละสูญพันธุ์ไปแล้ว ฅ. ฅนเราก็มี แปลกจริง ไม่ใช้ดื้อๆ งั้นแหละ
ไม่ฉงนใจบ้างเหรอ ครูบาอาจารย์มีอยู่ในห้องนี้หรือเปล่าก็ไม่รู้ ไม่เคยใช้
ฅ.ฅน สะกด ฅน เลย เอาควายมา ก็เลยครึ่งควายครึ่งคนอย่างนี้ ก็เลยหลงผิดอะไรไปทั้งสังคม
ก็ขออภัยนะ ผมบวกตัวผมด้ว
ย อย่ามาตีหัวผม ทั้งห้องบวกหนึ่ง ยังเหลืออีกหนึ่งตัว นั่งอยู่นี่
เพราะฉะนั้นเรามองควายหรือมองสัตว์นี่
เป็นการมองในลักษณะเศรษฐกิจแบบที่เขาทำกันอยู่หรือเปล่า คือมองคนเป็นปัจจัยการผลิตเหมือนควายเท่านั้น
ถึงเวลาเทียมเกวียนไถ จะพอใจไม่พอใจหรือเจ็บป่วยไม่รู้ นี่เป็นผลพวงของการพัฒนาหรือเปล่า
ทำให้เรามองทุกอย่างเป็นปัจจัยการผลิต แม้กระทั่งคน ซึ่งมีฐานะเป็นคนและกำลังงานด้วย
แต่คนก็มีฐานะเป็นมนุษย์ด้วย เพราะฉะนั้นแผนพัฒนาฉบับที่ ๘ ผมจึงได้เปลี่ยนใหม่หมดเลย
แผนพัฒนาฉบับที่ ๘ นี่เขียนกลับมาว่า คนนั้นเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
คนจะต้องเป็นคนตัดสินใจ มีบทบาทในการตัดสินใจทั้งหมด คนไม่ใช่ควาย
จะต้องมีสิทธิ์ จะต้องร่วมคิด จะต้องมีความคิด ต้องเป็นสังคม ต้องเป็นชุมชนอะไรต่ออะไรที่ท่านกำลังทำอยู่ขณะนี้นั่นแหละ
และอย่าลืมตอนที่ผมทำแผนพัฒนาฉบับที่ ๘ นั้น ภารกิจยุ่งยากลำบากหลายเท่า
เนื่องจากตอนนั้นฟองสบู่ยังไม่แตก คนยังไม่เจ็บตัว กำลังฟุ้ง ทุกคนจะต้องคาดนาฬิกาโรเล็กซ์
ผมเรียกโรแหลก เพราะซื้อทีไรกระเป๋ามันแหลกทุกที รถเบนซ์ ๓,๐๐๐ คัน
จำได้ไหม ๓ อาทิตย์ขายหมดเลย วันนี้ ๓,๐๐๐ คัน อยู่ครบหมด อยู่ถนนรัชดา
เป็นรถมือสอง เจ้าของไม่สามารถจ
ะเก็บไว้ได้ ไม่รู้จะซื้อไปทำไมคอนโดเท่าไหร่ซื้อมา ที่ทางซื้อกันบ้าเลือด
มันไม่มีเหตุผลจริงๆ ที่จะซื้อ ซื้อเพื่อขายให้มันแพงขึ้น เพื่อเอาเงินๆๆๆ
เงินเป็นปัจจัยสำคัญ
ใช่ครับ แต่ไม่ใช่อย่างเดียว คนเราต้องการหลายอย่าง และเหนือสิ่งใดก็ตรงที่ผมได้เรียนเมื่อตอนต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเตือนสติมาครึ่งศตวรรษกว่าประโยชน์ใดๆ
ที่จะก่อขึ้นนั้น ต้องให้คิดว่าเป็นประโยชน์ที่ก่อความสุข ตอนวางแผนพัฒนาชนบททำไมถึงมาพูดเรื่องคุณภาพชีวิต
ต้องมีเงิน ซี แล้ว
คุณภาพชีวิตจะเกิดขึ้นเอง
แต่กลับกลายยิ่งมีเงินมากเท่าไหร่ ก็ตายเร็วมากเท่านั้น เริ่มกินอาหารดีๆ
เส้นเลือดอุดตันตาย โรคหัวใจกินตาย ความรวยมันทำลายนะ เชื่อผมซิ
ใครเขาถามผมว่า
ช่วงชีวิตผมตอนไหนมีความสุขที่สุด ตอนบวชเป็นพระ มีความสุขที่สุด แล้วท่านทั้งหลายอาจจะแปลกใจก็ได้
ในชีวิตผม ผมบวชมา ๔ หน ครั้งสุดท้ายเมื่อปีที่แล้วนี่เองแล้วมาอยู่ภาคอีสานนี่แหละ
อยู่จังหวัดสกลนครกับอาจารย์แบน ใครไปกระซิบอาจารย์ไม่รู้ว่าผมอยากจะสำเร็จเร็วๆ
อาจารย์เลยให้ไปอยู่กลางป่าองค์เดียว กลัวแทบตาย บรรลุธรรมะไม่เท่าไหร่
สยองขวัญน่ะอยู่คนเดียว เสียงเสิงอะไรกลางค่ำกลางคืน พิลึกกึกกือ มีผ้าอยู่
๔ ผืน มีบาตรอยู่ใบหนึ่ง กาน้ำอันหนึ่ง เสื่อ มีกลดอยู่อันหนึ่ง กุฏิขนาดโต๊ะนี่
โต๊ะครึ่ง มีความสุขที่สุด
ดูซิครับมีเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร
ฉันมื้อเดียว ใช้ชีวิตชาวกรุงมัน ๔ มื้อ ก่อนนอนยังเป"ดตู้เย็น
ถามหาหมอ ไขมันขึ้นอีกแล้ว มีไหมชาวนาคนไหนไขมันขึ้น ไม่มีขึ้นหรอก
ละลายไปกับแสงแดดหมด นี่หัวใจเต้นเร็วนะ เดี๋ยวเส้นเลือดชักตันแล้ว
ต้องกินยาละลาย เพราะกินเข้าไป ๔ มื้อ แล้วพอเป็นพระมื้อเดียว เราแย่แน่
แต่แท้ที่จริงพอกินมื้อเดียวร่างกายของเราต้องการของน้อยที่สุด ฉันมื้อเดียวนี่อยู่ได้สบาย
แล้วไม่ใช่นอนจำวัดตลอด ที่วัดอาจารย์แบนไม่ใช่กวาดวัด แต่กวาดภูเขาทั้งลูก
เดินธุดงค์เหงื่อแตก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบอก our loss is our
gain ขาดทุนคือกำไร เราบอกเราขาดทุน เหงื่อกาฬมันแตกไปหมด พละกำลังมันถูกใช้ไปหมด
ขาดทุนสิ แต่กำไรกลับคืนมา น้ำหนักผมหายไป ๘ กิโล ผมนึกว่าคงวันละกิโลๆนี่
ขืน ๓๐ วัน เหลืออีก ๓๐ กิโลเดินออกจากวัด คงเป็นไม้เสียบผีเดินออกไป
แต่ความจริงพอมันหายไป ๘ กิโลมันหยุดเลย ฉะนั้นน้ำหนักจริงๆของเราแค่นั้นแหละ
ไอ้ ๘ กิโล คือ กิโลสังคม กิโลหูฉลาม สเต๊ก ปรากฏว่ามีความสุขที่สุด
ร่างกายแข็งแรง ก่อนบวชเริ่มเป็นเบาหวาน ต้องกินยาคุมตอนเช้าหนึ่งเม็ด
ปรากฏว่าเข้าไปอยู่วัดทิ้งยาไปเลย น้ำตาลอยู่ระดับปกติ
เพราะฉะนั้น
ความสุขนั้นเกิดขึ้นมาจากสิ่งที่พอเพียงเท่านั้น พอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รับสั่งเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ตีความกันใหญ่ ไปบรรลุธรรมอีกข้อหนึ่งตอนบวชนี่เอง
คือ วันหนึ่งอยากจะฉันน้ำชา ก็เอาถ้วยชามาตั้ง กาน้ำร้อน กระติกน้ำร้อน
เอาชาใส่ อาจารย์สอนอยู่คำเดียวบอกว่า เวลาบวชนี่ไม่ต้องสอนอะไร ระดับ
ด็อกเตอร์ถือสติไว้เป็นหลัก ทำอะไรให้มีสติ ภาวนาตลอด ทำอะไรให้ภาวนา
ภาวนาคือสตินั่นเอง สติเราก็จับอยู่กับถ้วยน้ำชา แล้วเราก็เอาชาใส่
เอาน้ำร้อนเทใส่ กระรอก ๒ ตัว กำลังวิ่งไล่ สติละจากน้ำชาที่เติมนั้น
ไปจับอยู่ที่กระรอก เพราะเป็นคนชอบสัตว์ ก็ดูกระรอกวิ่งไล่กันเพลิน
เหลียวกลับไปอีกทีหนึ่งน้ำล้นถ้วยชา ล้นถ้วยชาเสร็จ เปื้อนโต๊ะ ไหลลงไปเปื้อนเสื่อที่ข้างล่าง
วิ่งไปหยิบสบงซึ่งซักเอาไว้แล้ว มาซับแล้วเอาสบงไปใส่กระป๋องเพื่อจะซักต่ออีก
กะว่าจะใส่พรุ่งนี้เช้า เป็นอันว่าชวดแล้ว ใส่ไม่ได้แล้ว
(อ่านต่อฉบับหน้า)
-เราคิดอะไร
ฉบับที่ ๑๖๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖-
|