พุทธศาสนาเป็นหลักการแห่งประชาธิปไตย
ให้เกียรติแก่ทุกคนในการเรียนรู้ ศึกษาหลักธรรม คำสอนของพระองค์ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ
ละเว้นความชั่วทั้งปวง ไม่มีการบังคับใดๆ ใครใคร่ทำ ทำ
จิตสำนึกเท่านั้น
เป็นตัวชี้นำ รู้ดี ทำดี ก็ได้ดี รู้ชั่ว ทำชั่ว ก็ได้ชั่ว นี่คือความเสมอภาค
ตามครรลองของประชาธิปไตย และ พระพุทธเจ้า คือ นักประชาธิปไตยที่แท้จริง
!
อ่านบทสัมภาษณ์พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์
ถึงงานในหน้าที่สืบสานพระพุทธศาสนาได้ ณ บัดนี้
: ถาม
ระยะหลังๆ นี้ พระผู้ใหญ่เริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น
พ่อท่านมีความเห็นอย่างไรคะ
: ตอบ อาตมามีความเห็นสอดคล้องกันกับพระผู้ใหญ่เหล่านั้น ว่า พระต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง
กับการเมือง ต้องเป็นพระจริงๆ นะ พระที่มีอัตตา อัตตนียาน้อย หรือ
ไม่มีเลย ต้องช่วยสังคม โดยเฉพาะการเมือง แต่ไม่ใช่ไปเกี่ยวข้องในลักษณะ
ทำงานการเมือง โดยตรง แต่ต้องเข้าไป ออกความเห็น เข้าไปแสดงความคิดเห็น
เข้าไปแนะนำ และ นำพาการเมือง สอนนักการเมือง อบรมนักการเมือง ให้คนเข้าใจการเมืองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับนักการเมือง
เพื่อให้นักการเมือง ได้พัฒนาตัวเอง แต่ไม่ใช่ตัวท่านเข้าไปเล่นการเมืองเอง
จะบอกว่า พระไม่ควรแสดงความคิดเห็น ทางการเมือง ไม่ควรไปเกี่ยวข้องอะไรกับการเมือง
พระคืออะไร พระคือผู้ละกิเลส ละความเห็นแก่ตัว คือ ผู้ได้เรียนรู้ และ
ฝึกฝนเรื่องนี้จริง ก็ย่อมมีคุณธรรม เห็นแก่ตัวน้อยกว่าคนไม่ได้ฝึกอบรม
พระเป็นผู้สะสมกุศล หรือ ต้องมีกุศลบ้าง ก็น่าจะมากกว่า คนไม่ได้ฝึกฝนมาเลย
พอตัดพระ ออกจากการเมือง มันก็เท่ากับตัดกุศลออกจากการเมือง เมื่อตัดมือ
ตัดตีน ตัดเรื่องกุศล เรื่องดีออกจากการเมืองหมด การเมืองถึงได้เละ การเมืองถึงได้เน่า
เพราะออกกฎหมายกันไว้หมด ไม่ให้คนดี คนมีจิตใจเป็นกุศล คนที่มีจิตใจเสียสละอย่างพระ
มาเกี่ยวข้อง กับเรื่องการเมือง นี่เป็นความผิดพลาดอย่างมหาศาล ในสังคมประเทศไทย
ที่ถูกแล้วควรจะให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกุศล
มีจิตเป็นกุศล มีใจเสียสละสร้างสรรเพื่อผู้อื่น เข้าไปเกี่ยวข้อง กับการเมืองให้มาก
ไม่ใช่ปล่อยให้คนที่เห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ มักมากอยู่อย่างนั้น มายุ่งเกี่ยว
กับการเมืองแต่ฝ่ายเดียว เพราะฉะนั้น เมื่อถือว่า พระเป็นผู้มีคุณธรรมแท้ๆ
จริงๆ ใช่ไหม ก็ควรให้เข้าไปเกี่ยวข้องการเมือง เพียงแต่ไม่ใช่เข้าไปเกี่ยวข้อง
ในการเป็น ตัวปฏิบัติเสียเอง แต่เข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะของปุโรหิต เกี่ยวข้องในฐานะผู้ที่นำพา
ผู้ที่ช่วยคิดช่วยอ่าน ช่วยออกความเห็น ช่วยอบรมคนในการเมืองเลยจริงๆ
อย่างนี้จะถูกต้อง จะดีมาก แล้วผู้ที่จะทำงานการเมือง ก็ควรจะรับฟังพระด้วย
ไม่ใช่ไปกีดกันพระ เกิดอะไรขึ้นก็บอกว่า ไม่ใช่กิจของสงฆ์ แล้วไล่พระหนีออกหมดเลย
อย่างนี้สังคมถึงได้บรรลัย ตัวเองจึงทำทุจริต ได้เต็มไม้เต็มมือ เพราะไม่มีใครมาขวาง
ไม่มีใครมาห้ามกั้น ไม่มีใครมาพูด ให้รำคาญหู มันก็ยุ่งกันใหญ่ ทรุดเสื่อมไปกันใหญ่
ผู้ที่เป็นพระจริงๆ
ก็จะต้องแนะนำในสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง อะไรเป็นสัจธรรมก็แนะนำไปตามนั้น
ฉะนั้น อย่าไปบอกว่า ถ้าพระเข้าข้างใคร คือ พระผิด อย่างนี้ก็เอาข้างเข้าว่า
มันไม่ได้เอาความยุติธรรม เอาสัจธรรมมาพูดกัน จึงไม่ใช่ว่าพอพระไปเข้าข้างโน้นข้างนี้
จะไม่ถูก แต่ผู้ที่เป็นปราชญ์ เป็นอาริยบุคคลจริง จะต้องเข้าข้างฝ่ายที่ถูกต้อง
อันนี้ก็ต้องชัดเจนอีกเหมือนกัน จะบอก ไม่เข้าข้างซะเลย ต้องเป็นกลางก็ไม่ได้
พระจะต้องเข้าข้างสิ่งที่ถูกต้อง ผู้พิพากษาก็ต้อง เข้าข้างคนถูก
หรือ ต้องเข้าข้างความถูกต้อง ต้องสนับสนุน ส่งเสริมสิ่งที่ถูกต้องนั้น
ๆ อาจจะถึงขั้นช่วยเผยแพร่ให้ฝ่ายถูก ถ้าพระรู้ว่าสิ่งใดถูกต้อง
ก็ต้องส่งเสริม ต้องให้คะแนน ให้ค่า โดยสิ่งที่ถูกต้องนั้น อาจเป็นพฤติกรรมของรัฐบาล
หรือ อาจเป็นพฤติกรรมของกลุ่มชุมชน ประชาชนก็ได้ หรือ แม้แต่ฝ่ายค้าน
ก็ต้องฟังท่านบ้าง ว่าท่านจะโน้มเน้น จะโอนเอนไปทางไหน ที่เป็นความถูกต้อง
จะบอกว่าความถูกต้อง คือ ต้องเป็นกลาง โดยไม่บอกว่า อะไรดี อะไรชั่ว
ไม่บอกว่าอะไรถูก อะไรผิด กลางๆ ที่ไม่รู้ว่าอะไรดำ อะไรขาว อะไรถูกก็ไม่เน้นถูก
อะไรผิดก็ไม่เน้นผิด กลัวถูกกล่าวหาว่าลำเอียง อย่างนี้ก็ไม่ได้
เราเองต้องเป็นนักศึกษาจริงๆ
ถ้าปราชญ์ หรือ ผู้รู้นั้น พูดไม่เข้าข้างเรา ก็ควรต้องมาพิจารณา ตัวเองว่า
เรามีความผิดพลาดตรงไหน จริง หรือ เปล่า ไม่ใช่เอาแต่โกรธเข้ามาเลย ยึดตัวของกู
อย่างดันทุรัง ไม่เข้าข้างกู แล้วผิดทั้งนั้น ต้องต้านต้องทำลาย อย่างนี้ก็บรรลัยหมด
อย่างนี้ ไม่เป็นสัจจะ
: ถาม
ในทางพุทธศาสนา กล่าวถึงมีแม่ทางโลก
และ แม่ทางจิตวิญญาณ ซึ่งแม่ทั้งสองลักษณะนี้ มีความแตกต่างกัน อย่างไรคะ
: ตอบ แม่ทางโลกคงไม่ต้องขยายความอะไรมาก เพราะเป็นแม่ทางธรรมชาติ
แม่ทางรูปธรรม แม่ทางวัตถุธรรม ก็คือผู้คลอดลูก ก็ได้ชื่อว่า แม่
ก็จบ ต่อจากนั้น เป็นแง่ธรรมะ ขั้นต้น หมายถึง การทำหน้าที่ของแม่ให้เป็นกุศล
ถ้าไม่เป็นกุศล ก็เป็นแม่ยักษ์ แม่มาร ลูกก็จะเป็นมาร เป็นยักษ์ ร้ายมากร้ายน้อยตามความสามารถของแม่
ถ้าเป็นกุศลก็เช่น แม่จะมีหน้าที่ เลี้ยงลูกให้ดีอย่างไร จะพยายามสร้างกุศลให้ลูกได้อย่างไร
ส่วนลูกก็ต้อง กตัญญูต่อแม่ ซึ่งเป็นคุณธรรมโลกีย์ ศาสนาไหน เขาก็รู้ทั้งนั้น
เป็นกุศลทางโลกีย์ ลูกกับแม่ ก็ทำคุณค่า สร้างสรรแก่กัน และ กัน ถ้าลูกสามารถ
ที่จะเกื้อกูล มีสุจริต มีกุศลอะไร ลูกต้องช่วยเหลือ มีกตัญญูกตเวทีต่อแม่
แม่ก็ต้องรักลูก ปรารถนาดีต่อลูก ช่วยเหลือเกื้อกูล สร้างลูกให้เป็นคนดี
ขึ้นไปเรื่อยๆ จนเป็นอภิชาตบุตร เป็นบุตรที่ดี เก่ง ฉลาด มีคุณค่าคุณงามความดี
มีกุศล มีภูมิธรรมสูงกว่าแม่ได้ก็ยิ่งดี นี่คือความหมายของแม่ที่เข้าใจกันทั่วไป
ส่วนคำว่า แม่มี
ภาษาบาลีว่า อัตถิ มาตา ซึ่งเป็นข้อที่ ๗ ใน สัมมาทิฐิ
ของพระพุทธเจ้านั้น หมายถึงต้องมีญาณปัญญา เป็นสัมมาทิฐิว่า ในโลกนี้มี
แม่ ทางโอปปาติกะ ซึ่งจะทำให้กำเนิด ทางจิตวิญญาณกันจริงๆ การกำเนิดทางจิตวิญญาณภาษาบาลีว่า
โอปปาติกโยนิ โดยความหมาย ของแม่ในที่นี้ มีนัยที่ลึกซึ้ง มันหมายถึงคุณลักษณะทางวิญญาณ
วิญญาณของความเป็นแม่ แม้แต่อยู่ในร่าง ตัวอย่างเช่น อาตมามีความเป็นแม่
ต้องเลี้ยงลูก ลักษณะทำให้ลูกเกิด การเพาะฟักตัว ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
จนเกิดการคลอด ทำให้ลูกเดินได้ คือมีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่ดีได้อย่างไร
และ จะส่งเสริมอย่างไรให้มีจิตตัวนี้จริงๆ มีวิญญาณของความเป็นแม่ ตัวนี้จริงๆ
ทำหน้าที่มีพฤติกรรมนี้จริงๆ
เพราะฉะนั้น ในคนที่มีวิญญาณอย่างนี้
เป็นแม่อย่างโพธิสัตว์กวนอิม เป็นแม่ที่สามารถ ให้กำเนิดจิตวิญญาณ
ที่เป็นอาริยะขึ้นมาจริง เป็นแม่ที่จะมีลักษณะจ้ำจี้จ้ำไช มีลักษณะจู้จี้
มีลักษณะละเอียด ละเมียด จนถึงขั้นละเอียดด้วยซ้ำ ไม่เหมือนลักษณะปุริสภาวะ
แต่เป็นลักษณะ อิตถีภาวะ เป็นต้น นี่คือ คุณลักษณะของความเป็นแม่ที่ลึกซึ้ง
ถึงขั้นโลกุตระ ถึงขั้น สัจธรรมที่ลึกซึ้ง
อะไรที่เอามาคู่กันแล้ว
จับกันเป็นเพศผู้เพศเมีย เพศเมียเป็นแม่ เพศผู้เป็นพ่อ ศีลกับปัญญา อาตมาเอามาจับคู่กัน
ศีลเป็นแม่ ปัญญาเป็นพ่อ อย่างนี้เป็นต้น ถ้าศีลมีบทบาท สามารถขัดเกลา
ไปถึงกาย-วาจา-ใจ และ บรรลุถึงวิมุติญาณทัสนะก็จะมีปัญญาเป็นพ่อร่วมไปด้วยเสมอ
เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า ศีลอยู่ที่ไหน ปัญญาอยู่ที่นั้น
ปัญญาอยู่ที่ไหน ศีลอยู่ที่นั้น เป็นต้น ศีล และ ปัญญาจะต้องร่วมกันเสมอ
จึงจะก่อเกิดผล หรือ ลูก ปัญญา ต้องนำไปเสมอ ตั้งแต่ปฏิบัติศีลควบคุมศีลโดยมีปัญญาตัวเองรู้ว่า
เราปฏิบัติศีลถูกต้อง ศีลของเราสมาทานเท่านี้ เราทำถูกขอบเขตไหม เราทำได้ละเอียดลออถูกต้องไหม
ได้ขัดเกลากาย-วาจา-ใจ ขัดเกลาสิ่งที่มีกิเลส ขัดเกลาได้จริง มีปัญญาเห็นความจริงตาม
ปฏิบัติตาม จนเห็นกาย-วาจา-ใจเปลี่ยนไปในทางสุจริตเป็นกุศล ดีขึ้นเรื่อยๆ
ไหม อย่างนี้ก็จะเป็นปัญญาที่เห็นทั้งศีล ทั้งสมาธิ เห็นทั้งตัวปัญญา
เห็นทั้งตัววิมุติ เป็นวิมุติญาณทัสนะจนตลอดสาย
เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงเป็นพ่อ
ส่วนศีลไม่ได้ตามไปจนกระทั่งถึงปัญญาถึงวิมุติอย่างลึก เหมือนปัญญา ศีลเป็นตัวหลักเกณฑ์ต้น
ในแนวนอกแนวระนาบซึ่งเห็นได้ง่าย ก็คอยประคบ ประหงมกันไป จู้จี้จุกจิกกันไปเป็นอิตถีภาวะ
และ ทำให้ขัดเกลาตามนี้ๆ ขัดเกลาได้สำเร็จ เป็นวิมุติ ศีลจึงเป็นแม่
ส่วนปัญญานั้น มีตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนจะเลือกศีลให้เหมาะกับตน ก็คือปัญญา
ศีลปฏิบัติถูกไหม ปัญญาก็ดูแลควบคุม ได้ผลเป็นวิมุติใช่ หรือ ไม่ ปัญญาก็ตามรู้ตามเช็คผล
ผิดก็คิดแก้ไข แม้ที่สุด เกิดวิมุติแล้วสมบูรณ์ มีวิมุติรสอย่างไร ปัญญาก็ต้องรู้ชัด
ต้องตามไปจนจบตัดสิน มีลักษณะปุริสภาวะ นี่คือพ่อ